ฝึกใช้ประโยชน์จากสัญชาตญาณ กันเถอะ!

“สัญชาตญาณ” ก็เหมือน “ความคิดสร้างสรรค์” นั่นคือได้รับแรงผลักดันจากจิตใต้สำนึก ซึ่งมักปรากฏขึ้นอย่างลึกลับและเข้าใจได้ยากมากๆ… ทว่าสัญชาตญาณต่างกับความคิดสร้างสรรค์หลายๆ แบบ เพราะสัญชาตญาณจะเกิดขึ้น “ในชั่วแวบเดียว” และให้ข้อมูลแก่คุณแบบฉับพลัน…

 

มันเป็นแค่ความรู้สึกเท่านั้นหรือ?

 

เวลาเริ่มจัดการปัญหา หรือตัดสินใจเป็นครั้งแรก… เป็นธรรมดาที่คุณจะตอบสนองกลับทันทีทันใด นั่นคือการตอบสนองไปตาม “สัญชาตญาณ”

แต่คุณอาจไม่สนใจความรู้สึกนั้น เพราะไม่รู้ว่าความรู้สึกแบบนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร? และหาเหตุผลกับความรู้สึกเหล่านี้ไม่เคยได้เลย? จะเกิดประโยชน์มาก หากคุณหันมาใส่ใจ “ลางสังหรณ์เบื้องต้นเหล่านี้” มากขึ้น เพราะมีผลการวิจัยแนะนำว่า “ความรู้สึกแบบนี้มักชี้นำไปในทางที่ถูกต้อง”

สัญชาตญาณมักเกิดกับเรื่องที่คุณมีประสบการณ์มากอยู่แล้ว เช่น เราล้วนเคยชินกับการพูดคุยสื่อสารกับผู้อื่น ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่เรื่องนี้เราค่อนข้างมี “ความรู้สึกตามสัญชาตญาณ” อย่างมาก ที่จะชอบหรือไม่ชอบ… ไว้ใจหรือไม่ไว้ใจ… ทำนองเดียวกัน ผู้เชี่ยวชาญที่สั่งสมความรู้มากมายในสาขาใดสาขาหนึ่ง พวกเขามักนำประสบการณ์มาใช้ประเมินเรื่องต่างๆ ได้แม่นยำและรวดเร็ว ตามจิตใต้สำนึก!

 

ควรทำตามสัญชาตญาณดีไหม!?

 

เนื่องจาก “จิตใต้สำนึก” ของคุณ ตอบสนองและรวบรวมข้อมูลได้มากกว่า “จิตสำนึก” ดังนั้น เมื่อต้องตัดสินใจเรื่องซับซ้อน ขอให้ฟังความรู้สึกตามสัญชาตญาณก่อน… ส่วนเรื่องง่ายๆ ให้ลองหาคำตอบด้วยการใช้เหตุผล

มีกรณีหลักสองกรณีที่คุณควรใช้สัญชาตญาณอย่างระมัดระวัง กรณีแรก คือเมื่อรู้สึกกลัว หรือเกิดความปรารถนาอย่างรุนแรง เพราะความรู้สึกนี้อาจทำให้คุณไม่สามารถตัดสินเรื่องต่างๆ โดยใช้สัญชาตญาณที่แท้จริงได้ และกรณีที่สอง คือเมื่อต้องเจอเรื่องที่ไม่มีประสบการณ์เลย (หรือมีประสบการณ์น้อยมากๆ) ที่จะนำมาเป็นพื้นฐานในการใช้สัญชาตญาณ


วิธีใช้สัญชาตญาณให้ได้ผลมากที่สุด


ขั้นที่ 1


สังเกตความประทับใจครั้งแรกที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากความรู้สึกพวกนี้วิ่งไปมาผ่านจิตสำนึกของคุณเหมือนผีเสื้อ ลองฝึกจับความรู้สึกเหล่านี้ โดยใช้ความตั้งใจของคุณนั่นล่ะเป็นตาข่าย! แล้วอย่าลืมจดบันทึกทุกครั้งเวลาคุณมีอารมณ์ตอบสนองต่อสถานการณ์ใดเป็นพิเศษ…

 

ขั้นที่ 2

 

เวลาเกิดความประทับใจในช่วงแรกๆ ลองตั้งคำถามว่า อะไรที่กระตุ้นให้เกิดความรู้สึกนี้? เหตุผลที่เกิดความประทับใจแบบนี้ น่าจะเป็นเพราะอะไร? ใช่เพราะรายละเอียดบางอย่างหรือเปล่า (ที่คุณรับมาโดยไม่รู้ตัว) ที่สติของคุณเห็นว่าเรื่องนั้นไม่สำคัญ?

 

ขั้นที่ 3

 

ถามตัวเองว่า “จะเกิดอะไรขึ้น หากฉันไว้ใจความรู้สึกนี้ แล้วทำตามความรู้สึกนี้?”

 

ขั้นที่ 4

 

ตรวจสอบสมมติฐานของคุณเอง เพื่อให้แน่ใจว่า การโต้ตอบของคุณไม่ได้มีพื้นฐานมาจากความเข้าใจผิด เพราะการตอบโต้ไป “เพียงเพราะรู้สึกว่าน่าจะถูกต้อง” บางครั้งก็อาจมาจากข้อมูลที่ไม่ถูกต้องได้นะ…

 

บ่อยครั้งที่เรามัวหา “เหตุผล” ให้กับการกระทำ หรือการตัดสินใจ… เวลาเจอปัญหาซับซ้อน ยุ่งยาก ลองสงบสติอารมณ์ พยายามไม่ฟุ้งไปกับความคิด แล้วลงมือทำตาม “สัญชาตญาณแรก” ที่ตอบสนอง… บ่อยครั้งเรื่องที่ดูเหมือนซับซ้อน กลับสามารถคลี่คลายได้อย่างง่ายดาย เพียงแค่คุณเชื่อ “คำตอบแรกที่อยู่ในใจคุณ” นั่นเอง!

 

เรียบเรียงโดย LEARNING HUB THAILAND

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Ads, Google Analytics

    Statistics

  • Google Analytics

    Statistics

  • Facebook

    Marketing/Tracking

  • ActiveCampaign

    Functional

  • ActiveCampaign

    Marketing/Tracking

Save