เพราะความลำบาก คือหนทางสู่ความสำเร็จ

ดอกเตอร์ จอยซ์ บราเธอร์ส อาจารย์ด้านจิตวิทยา เคยกล่าวไว้ว่า “คนประสบความสำเร็จ ต้องเรียนรู้ที่จะมองความล้มเหลวเป็นสิ่งดีมีประโยชน์ และเป็นส่วนที่เลี่ยงไม่ได้ของกระบวนการก้าวสู่ความสำเร็จ”

เราอาจสรุปได้ว่า “ความลำบากและความล้มเหลว คือส่วนสำคัญของกระบวนการสู่ความสำเร็จ” และข้อดีของความลำบากนั้นมีอยู่มากมาย… เราลองมาดูเหตุผลสำคัญๆ ว่าทำไมถึงต้องยอมรับความลำบาก และต้องพยายามมุ่งมั่นบากบั่นให้เต็มความสามารถ…

 

1. ความลำบาก ทำให้เกิดความยืดหยุ่น

 

ไม่มีอะไรในชีวิตที่ทำให้เกิด “ความยืดหยุ่น” ได้ดีเท่ากับความลำบากและความล้มเหลว… จากการศึกษาวิจัยซึ่งได้รับการเผยแพร่ในนิตยสารไทม์ ช่วงกลางทศวรรษ 1980 ได้ขยายความให้เห็นถึงพลังความยืดหยุ่นที่เหลือเชื่อของกลุ่มคนซึ่งสูญเสียงานของตนจากการปิดโรงงานถึงสามครั้ง!

ตอนแรก นักจิตวิทยาคาดว่าพวกเขาน่าจะท้อใจ แต่พวกเขากลับมองโลกในแง่ดีอย่างไม่น่าเชื่อ ความลำบากของพวกเขากลับกลายเป็นความได้เปรียบ เพราะพวกเขาต้องตกงาน และสามารถหางานใหม่ได้อย่างน้อยสองครั้ง นั่นแสดงว่า พวกเขาสามารถจัดการกับความลำบากได้ดีกว่าคนซึ่งทำงานกับบริษัทเพียงแห่งเดียว แล้วตกงาน…

 

2. ความลำบาก ทำให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่

 

ความลำบากทำให้คุณดีขึ้นได้ ถ้าคุณไม่ปล่อยตัวเองให้ขมขื่นจนเกินไป… อีกทั้งความลำบากยังช่วยส่งเสริมภูมิปัญญาและความกล้าแกร่ง อีกด้วย… วิลเลียม ซาโรยัน นักประพันธ์ชาวอเมริกัน เคยกล่าวว่า “คนเราประสบความสำเร็จได้ เพราะเรียนรู้จากความล้มเหลว… ลองนึกดูสิ เราแทบไม่ได้รู้อะไรจากความสำเร็จมากนักหรอก”

ในขณะที่โลกเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้นเรื่อยๆ ความกล้าแกร่งพร้อมด้วยความยืดหยุ่น จะกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ และคุณสมบัติเหล่านี้ ได้มาจากการฝ่าฟันอุปสรรคความลำบากต่างๆ…

จอห์น คอตเตอร์ ศาสตราจารย์แห่งฮาร์วาร์ด บิสสิเนส กล่าวว่า “ผมนึกภาพกลุ่มผู้บริหารเมื่อ 20 ปีก่อน กำลังถกกันเรื่องผู้สมัครในตำแหน่งงานระดับสูงสุดตำแหน่งหนึ่ง และพูดว่า ‘คนๆ นี้เคยประสบความล้มเหลวครั้งใหญ่ ตอนอายุ 32’ คนอื่นๆ ต่างก็พูดว่า ‘ใช่… ใช่… แบบนี้เป็นลางไม่ดีเลย’ แต่ถ้าพิจารณาด้วยเงื่อนไขเวลาปัจจุบัน เชื่อว่า สิ่งที่ทำให้ทุกคนหมดห่วงคือ ‘คนๆ นี้เคยล้มเหลวมาก่อน’…”

เพราะปัญหาที่เราเผชิญและเอาชนะได้ จะช่วยเตรียมความพร้อมสำหรับปัญหาในอนาคต

 

3. ความลำบาก ทำให้คุณกล้าเสี่ยง

 

ลอยด์ โอกิลวี่ เล่าว่า เพื่อนคนหนึ่งของเขาซึ่งเคยเป็นนักแสดงในคณะละคร เล่าประสบการณ์การเรียนรู้วิธีเล่นชิงช้าสูง ดังต่อไปนี้…

เมื่อคุณรู้ว่าเบื้องล่างมีตาข่ายคอยรับคุณอยู่ คุณก็จะไม่วิตกเรื่องการตกจากชิงช้าอีกต่อไป… ตอนนี้คุณเรียนรู้ที่จะตกลงไปอย่างประสบความสำเร็จ ความหมายของมันก็คือ คุณสามารถพุ่งความสนใจไปที่การคว้าชิงช้าที่กำลังเหวี่ยงตัวเข้าหาคุณ ไม่ใช่เรื่องการตกไปข้างล่าง เพราะการตกซึ่งเคยเกิดขึ้นในอดีตที่ผ่านมา ทำให้คุณมั่นใจว่าตาข่ายมีความแข็งแรงและไว้ใจได้เวลาที่คุณตกลงไปจริงๆ…

ผลของการตกลงไปและได้รับการรองรับด้วยตาข่าย คือความมั่นใจและความกล้าที่จะโหนชิงช้าสูงอย่างน่าอัศจรรย์ใจ คุณจะพลาดน้อยลง และทุกครั้งที่พลาด หรือหล่นลงไป กลับทำให้คุณกล้าเสี่ยงมากขึ้น…

 

4. ความลำบาก ทำให้เห็นโอกาสมากขึ้น

 

“การหลีกหนีปัญหา คือการจำกัดศักยภาพของเรา” ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จหลายคน ต่างก็มีประสบการณ์ หรือเรื่องเล่าเกี่ยวกับความลำบาก-ความผิดหวัง ซึ่งกลายเป็นการเปิดประตูสู่โอกาสใหม่ๆ มากมาย…

ตัวอย่างเช่น ในปี 1978 เบอร์นี่ มาร์คัส ลูกชายช่างทำตู้ชาวรัสเซียน ในเมืองนวร์ก, นิวเจอร์ซี่ ถูกไล่ออกจากบริษัทแฮนดี้แดน ร้านจำหน่ายเครื่องมือเพื่อการซ่อมแซมบ้านด้วยตัวเอง เหตุการณ์นี้กระตุ้นมาร์คัสให้ไปจับมือกับ อาร์เธอร์ แบลงค์ เริ่มต้นธุรกิจของตนด้วยกัน และในปี 1979 ทั้งสองได้เปิดร้านแห่งแรกในเมืองแอตแลนต้า, จอร์เจีย มีชื่อว่า “โฮม ดีโปต์” ปัจจุบัน โฮม ดีโปต์ มีร้านกว่า 760 แห่ง มีพนักงาน 157,000 คน ทั้งสองได้ขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ และสามารถทำยอดขาย ปีละกว่า 30 พันล้านเหรียญฯ เลยทีเดียว

เมื่อมองย้อนกลับไป เบอร์นี่ มาร์คัสคงไม่รู้สึกยินดีกับการถูกไล่ออกจากแฮนดี้แดน สักเท่าไหร่… แต่ถ้าเขาไม่เคยมีประสบการณ์เรื่องนี้ ใครจะไปรู้ว่า เขาจะประสบความสำเร็จได้อย่างทุกวันนี้หรือไม่…


5. ความลำบาก กระตุ้นให้เกิดนวัตกรรม


ช่วงต้นศตวรรษ 20 เด็กชายคนหนึ่งซึ่งครอบครัวของเขาอพยพมากจากสวีเดน เพื่อมาตั้งรกรากในอิลลินอยส์ ได้ส่งเงินจำนวน 25 เซ็นต์ เพื่อสั่งซื้อหนังสือเกี่ยวกับภาพถ่าย จากสำนักพิมพ์แห่งหนึ่ง แต่กลับได้รับหนังสือเกี่ยวกับศิลปะการดัดเสียงพูดแทน…

แล้วเขาทำอย่างไรน่ะเหรอ? เขาก็ปรับตัวและเรียนรู้ศิลปะว่าด้วยการดัดเสียงพูด เด็กคนนี้คือ เอ็ดการ์ เบอร์เกน และตลอดเวลากว่า 40 ปี เขาสร้างความสำราญแก่ผู้ชม พร้อมกับหุ่นไม้ “ชาร์ลี แมคคาร์ธี” กลายเป็นรายการโชว์ชื่อดัง “เอ็ดการ์ เบอร์เกน กับหุ่นไม้ชื่อ ชาร์ลี แมคคาร์ธี ของเขา” 

ความสามารถในการสร้างนวัตกรรมหรือสิ่งแปลกใหม่ คือหัวใจของความสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของความสำเร็จ… แจ๊ค แมตสัน แห่งมหาวิทยาลัยฮูสตัน เข้าใจความจริงข้อนี้ และได้พัฒนาหลักสูตรซึ่งนักศึกษาของเขาเรียกชื่อว่า “Failure 101”

ในหลักสูตรดังกล่าว แมตสันจะมอบหมายให้ผู้เรียนสร้างผลิตภัณฑ์จำลองที่ไม่มีใครซื้อ เป้าหมายของเขาคือ ทำให้มองความล้มเหลวเป็นเหมือนนวัตกรรม ไม่ใช่ความพ่ายแพ้… วิธีนี้ช่วยปลดปล่อยพวกเขาให้ได้ลองทำสิ่งใหม่ๆ “นักศึกษาจะได้เรียนรู้ที่จะลองทำสิ่งใหม่ๆ และพร้อมที่จะเล็งเป้าหมายอีกครั้ง” แมตสันกล่าว

ถ้าคุณต้องการความสำเร็จ คุณต้องเรียนรู้ ปรับวิธีการ และลองใหม่ซ้ำอีกครั้ง… เพราะสุดท้ายแล้ว ความลำบากจะช่วยพัฒนาศักยภาพขึ้นมาได้…

เรียบเรียงโดย LEARNING HUB THAILAND

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Ads, Google Analytics

    Statistics

  • Google Analytics

    Statistics

  • Facebook

    Marketing/Tracking

  • ActiveCampaign

    Functional

  • ActiveCampaign

    Marketing/Tracking

Save