ทักษะการฟังและการสื่อสาร สำหรับผู้บริหารยุค 4.0

องค์กร “ยุค 4.0” เป็นโครงสร้างธุรกิจแบบ Value-Based Economy หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” นอกจากองค์กรจะเน้นเรื่องเทคโนโลยีแล้ว ปัจจัยที่สำคัญไม่แพ้กันคือ “คุณภาพของคน” ที่จะเป็นผู้ใช้เทคโนโลยี หรือสรรค์สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ

ดังนั้น ความท้าทายที่ผู้บริหารต้องเผชิญ อาจไม่ใช่เรื่องของเทคโนโลยี หรือระบบงาน แต่เป็น “การสื่อสารระหว่างบุคคล” เพราะสิ่งที่พบคือ เมื่อคนเก่ง ทำงานกับคนเก่ง แทนที่จะสร้างผลลัพธ์ยกกำลังสอง กลับกลายเป็นติดลบ

หากเรามองปัญหานี้ให้ลึกลงไป จะพบว่า ที่มาของปัญหาเรื่องคน ล้วนมาจาก “การขาดทักษะการฟังและการสื่อสารที่ดี” นั่นเอง

 

5 ปัญหาการสื่อสาร ที่พบบ่อยในการทำงาน มีอะไรบ้าง ?

1) ความเร่งรีบในการสื่อสาร ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด และทำงานผิดพลาด

2) ทีมงานไม่ค่อยพูด ไม่กล้าเสนอความคิดเห็นในที่ประชุม

3) ลูกน้องพยักหน้าเข้าใจ แต่พอทำงานออกมา ไม่เหมือนที่สื่อสารไป

4) วิธีการสื่อสารของคนเก่ง ใช้ได้กับบางคน แต่อาจถูกต่อต้านจากบางคน

5) ปัญหาการสื่อสารระหว่างเพื่อนร่วมงาน หรือกับหัวหน้างาน

เป็นปัญหาหลักส่งผลให้สูญเสียบุคลากรผู้มีความสามารถ

และเป็นปัจจัยสำคัญทำให้พนักงานดีๆ ลาออก

 

สาเหตุที่เกิดปัญหาการสื่อสาร เพราะเมื่อเข้า “ยุค 4.0” ระบบสังคมซับซ้อนมากขึ้น ผู้คนแตกต่างหลากหลาย ทั้งในแง่ของประสบการณ์ การศึกษา ทัศนคติ ความเชื่อ ทำให้การฟังของพวกเขามีข้อจำกัดมากขึ้น การสื่อสารจึงเป็นไปได้ยากขึ้น ไม่เกิดความร่วมมือกันในการทำงาน กลายเป็นความขัดแย้งที่ไม่พึงปรารถนา

และเราจะพบอีกว่า มีผู้บริหารอยู่ 2 ประเภทในองค์กร ที่ใช้หลักการบริหารที่ต่างกัน

 

ผู้บริหารที่สื่อสารด้วย “ความกลัว”

โดยมากมักจะเป็นผู้บริหารแบบอนุรักษ์นิยม (Conservative Style) ด้วยความมั่นใจจากประสบการณ์และความสำเร็จในอดีต เขาจึงคิดว่า ลูกน้องซึ่งเด็กกว่าและอ่อนประสบการณ์กว่า ควรจะเป็นฝ่ายเชื่อฟังและทำตาม โดยไม่รู้ตัว เขามักใช้หลัก “6 บ.” ในการบริหารงาน

นั่นคือ

บี้ ชอบสั่งการแบบขู่เข็ญโดยใช้อำนาจ
ใบ้ ไม่ค่อยสอนงาน เห็นอะไรดีไม่เคยชม
เบลม ชอบตำหนิต่อว่า เห็นอะไรก็ผิดไปหมด
โบ้ย หากตัวเองทำผิด หรือตัดสินใจพลาด ก็อ้างว่าเป็นเพราะคนอื่น
เบิ้ล ถ้าลูกน้องทำผิด จะถูกซ้ำเติม หรือลงโทษทันที
บล็อก เขาไม่อยากเห็นใครทำตัวโดดเด่น และไม่ค่อยฟังความเห็นใคร

 

ผลลัพธ์จากการสื่อสาร ด้วยความกลัว

พนักงานจะรู้สึกไม่ปลอดภัยและไม่ไว้วางใจ เมื่อเกิดข้อผิดพลาดใดๆ ก็จะซุกไว้ ด้วยกลัวความผิด ซึ่งอาจทำให้ปัญหาเล็กน้อย ลุกลามไปจนยากจะแก้ไข คนที่ไม่อยากถูกตำหนิ ก็คอยระวังตัวแจ จนไม่กล้าทำอะไร เห็นสิ่งที่ไม่เวิร์คก็จะนิ่งเฉย องค์กรจะเป็นยังไงก็ช่าง ไม่ใช่เรื่องของตัวเอง ไม่มีความผูกพันกันในองค์กร ใครทนได้ทน ทนไม่ได้ก็ลาออกไป

เพื่อหลีกเลี่ยง “วัฒนธรรม 6 บ.” ซึ่งจะเป็นวงจรขาลงของการทำงาน และส่งผลเสียมากมาย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารและหัวหน้างาน ควรที่จะเรียนรู้ “ทักษะการสื่อสาร สำหรับผู้บริหารยุค 4.0” และนำไปปรับใช้ในการทำงาน


ผู้บริหารที่สื่อสารด้วย “ความรัก”

ผู้บริหารยุค 4.0 จำเป็นต้องแก้ปัญหาเรื่องคน ประสานงานให้เกิดการสื่อสารที่ลื่นไหลในองค์กร “ความสัมพันธ์ที่ดี” จึงเป็นปัจจัยสำคัญ ดังนั้นควรต้องเปลี่ยนบทบาทจากการเป็น “เจ้านาย” หรือ Boss ที่เอาแต่สั่งการและตำหนิ มาเป็น “ผู้หล่อเลี้ยง” หรือ Mentor ที่จะคอยรับฟังและให้การสนับสนุน

ทักษะการฟังและการสื่อสาร ของผู้บริหารยุค 4.0 ที่สำคัญ
ควรมี 5 ทักษะ ต่อไปนี้

1) การฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening)
ฟังอย่างไรให้พวกเขาเปิดใจพูด ฟังอย่างไม่ด่วนตัดสิน ฟังให้ลึกลงไปกว่าคำพูดของคนตรงหน้า
2) การฟังเสียงภายใน (Inner Voice Listening)
ฟังเพื่อเข้าใจตนเองอย่างถ่องแท้ ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจผู้อื่นได้มากขึ้น
3) การฟังสร้างสัมพันธ์ (Relationship Listening)
ฟังคนใกล้ตัว คู่ชีวิต สมาชิกในครอบครัว
เพื่อเยียวยาบาดแผลในใจอีกฝ่าย สานสร้างความสัมพันธ์ที่ดี

4) การฟังเพื่อผลลัพธ์ (Active Listening)
ฟังจับประเด็นได้ เข้าใจตรงกัน เมื่อมีเวลาจำกัด และอยู่ในช่วงเร่งรีบ
5) การสื่อสารเพื่อสร้างทีม 4 แบบ (4 Leadership Styles)
เมื่อเราเข้าใจความแตกต่างของแต่ละบุคคล เราจะสื่อสารได้ตรงใจผู้ฟังมากขึ้น

 

ผู้บริหารที่ดีจะมีสติตระหนักรู้ ว่าคำพูดที่ตรงไปตรงมาของเขา จะไม่ไปทำร้ายจิตใจอีกฝ่าย เขาจะเลือกใช้คำพูดที่รับผิดชอบในความรู้สึกของตัวเอง และไม่กล่าวหาโจมตีอีกฝ่าย

แทนที่จะพูดอย่างเกรี้ยวกราดว่า “คุณเอ ทำไมงานที่สั่งไปทำไม่เสร็จ รู้ไหมว่าทำงานล่าช้าแบบนี้บริษัทเสียหาย คุณจะว่ายังไง”

แต่สำหรับ ผู้บริหารยุค 4.0 จะเลือกใช้คำพูดที่ถ่ายทอดความรู้สึกและความต้องการ ว่า “คุณเอ ตอนนี้ผมเริ่มรู้สึกเครียด เพราะงานที่เราต้องส่งลูกค้าไม่เสร็จตามกำหนด ผมต้องการรักษาเครดิตของบริษัท เราควรทำยังไงดี มีอะไรให้ผมช่วยเหลือบ้างไหม”

 

ผลลัพธ์จากการสื่อสาร ด้วย “ความรัก”

ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันในการทำงาน เกิดความรักและผูกพันซึ่งกันและกัน บรรยากาศการทำงานเหมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน ทำให้พนักงานรู้สึกอยากทำงานไปด้วยนานๆ อยากเห็นองค์กรเจริญเติบโต มีความรู้สึกเป็นเจ้าของ คอยระวังความผิดพลาดและจุดบกพร่องรั่วไหล มีความคิดสร้างสรรค์ ทำสิ่งดีๆ ให้แก่องค์กรโดยไม่ต้องสั่ง และจะสร้าง “วัฒนธรรมแห่งความรัก” แบบนี้ ส่งต่อรุ่นสู่รุ่นต่อไป

“ผู้บริหารยุค 4.0” นอกจากจะต้องมีทักษะด้านการบริหารจัดการและเทคนิค (Hard Skill) ที่ดีแล้ว ควรต้องมีทักษะด้านการบริหารคน (Soft Skill) ที่เป็นเลิศ

โดยเฉพาะ “ทักษะการฟังและการสื่อสารเพื่อบริหารคน” (Listening & Communication Skill) ถือเป็นทักษะหลักที่ผู้บริหารยุค 4.0 ต้องให้ความสนใจและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ จึงจะสร้างแรงบันดาลใจและปลุกศักยภาพผู้คน และนำพาองค์กรฟันฝ่าความผันผวนและความเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วของกระแสธุรกิจในยุค 4.0 ได้ต่อไป


บทความโดย “เรือรบ” ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาการสื่อสารและการฟัง

 

ขอแนะนำ หลักสูตร “Executive Communication 4.0: ทักษะการฟังและการสื่อสาร สำหรับผู้บริหารยุค 4.0” โดย “เรือรบ” เน้น Workshop เพื่อฝึกทักษะการฟังและสื่อสารขั้นสูง และเพิ่มศักยภาพความเป็นผู้นำ ให้สามารถนำไปใช้ได้ทันที

กำหนดการอบรมในปี 2560 (จัดปีละ 2 ครั้งเท่านั้น)
รุ่นที่ 6 วันที่ 14-15 ก.พ. 60 (รับจำกัดรุ่นละ 30 ท่าน)
สถานที่  Jasmin City Hotel (BTS อโศก)
ราคา 12,000 บาท ราคารวม International Buffet  เอกสาร และอาหารเบรค 2 มื้อ ตลอดการอบรม
พิเศษ โปรโมชั่น Early Bird เหลือ 8,900 บาท เมื่อสมัครภายใน 7 ก.พ.60 (ราคาไม่รวม VAT)

คลิกดูรายละเอียด ที่นี่

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Ads, Google Analytics

    Statistics

  • Google Analytics

    Statistics

  • Facebook

    Marketing/Tracking

  • ActiveCampaign

    Functional

  • ActiveCampaign

    Marketing/Tracking

Save