วิธีจัดการปัญหา แบบทางออกทางเดียว และหลายทาง

การจะตัดสินใจแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่งให้ได้ดีที่สุด สิ่งสำคัญอยู่ที่การระบุให้ได้ว่า “ปัญหาหรือความท้าทายนั้น มีรูปแบบอย่างไร” ต้องถามตัวเองว่า “คุณมีทางออกเดียว หรือมีทางออกที่น่าพอใจมากกว่าหนึ่งทาง” การถามแบบนี้จะช่วยให้คุณคิดได้อย่างชัดเจน… ทั้งยังช่วยคุณเรื่องการตัดสินใจได้อีกด้วย…

 

ปัญหานี้ มีทางออกเดียว หรือหลายทาง

 

หากปัญหามีทางออกเดียว หรือมีหนทางแก้ไขจำนวนจำกัด และมีคำตอบแค่ ถูกหรือผิด (เช่น “2+2 เท่ากับเท่าไหร่?”, “สายการบินไหนบินตรงไปชิคาโก้บ้าง?”) ปัญหาลักษณะนี้จัดอยู่ในประเภท “มีทางออกเดียว” แต่หากมีคำตอบที่เป็นไปได้มากมาย และไม่ได้มีคำตอบที่ดีที่สุดเพียงคำตอบเดียว (เช่น “จะเสิร์ฟอาหารอะไรในงานเลี้ยงอาหารค่ำ?”) จะเรียกว่าเป็น ปัญหาแบบ “มีทางออกหลายทาง”

โดยปกติแล้ว ปัญหาที่มีทางออกหลายทาง เราพบเจอได้มากกว่าปัญหาที่มีทางออกเดียว เพราะการมองปัญหาผิดๆ คิดว่ามีทางออกเดียว ทั้งๆ ที่ไม่ได้เป็นแบบนั้น ทำให้การตัดสินใจเป็นไปได้ยากกว่าที่ควรจะเป็น อาจต้องเสียเวลาและความพยายาม ทั้งยังต้องกังวลกับการเสาะหาทางออก “เพียงทางเดียว” ให้เจอ ทั้งที่ทางออก “มีหลายวิธี”

 

การจัดการปัญหาที่มีทางออกเดียว

 

วิธีจัดการปัญหาที่มีทางออกเดียว คือต้องรีบกำจัดทางตันออกไป ลองจินตนาการถึงนักเดินเท้าสองคนที่กำลังแข่งกันไปถึงยอดเขา โดยเริ่มต้นจากจุดเดียวกัน แต่ละคนมีวิธีรับมือกับความท้าทายแตกต่างกัน

นักเดินทางที่มีความตั้งใจแบบนักบิน จะเริ่มต้นด้วยการใช้วิธีการอะไรก็ได้ ที่ทำให้เขาเข้าไปใกล้ภูเขามากขึ้น… ส่วนนักเดินทางอีกคนซึ่งมีความตั้งใจแบบนักบุกเบิก เขาจะเริ่มต้นด้วยการตรวจสอบภูมิประเทศแถบนั้นในแผนที่ เพื่อวางแผนเส้นทางทั้งหมด เมื่อทำแบบนี้ เขาจึงพบว่ามีแม่น้ำกว้างใหญ่กั้นระหว่างพวกเขากับภูเขา

ขณะที่เพื่อนของเขาจะพบแม่น้ำสายนี้ ก็ต่อเมื่อต้องมาถึงที่นี่ และต้องคิดทบทวนเส้นทางใหม่… ผู้มีความตั้งใจแบบนักบุกเบิก จะเริ่มต้นด้วยวิธีที่ต่างกัน และเริ่มเดิน “ออกห่างจากภูเขา” เพราะเขารู้แล้วว่า เส้นทางนั้นจะพาไปถึงสะพานข้ามแม่น้ำ

สำหรับปัญหาที่มีทางออกเดียวแบบนี้ (นั่นคือจุดมุ่งหมาย หรือทางแก้ปัญหาที่จำกัดและเฉพาะเจาะจง) วิธีการของนักบุกเบิก จะใช้ได้ผลมากกว่า… การใช้เวลารวบรวมข้อมูลทุกอย่างที่จำเป็นล่วงหน้า ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาและพลังงาน จากการต้องเจอทางตัน แล้วกลับมาที่จุดเริ่มต้นอีกครั้ง…

 

การจัดการปัญหาที่มีทางออกหลายทาง

 

หากคุณกำลังจัดการกับปัญหาที่อาจมีทางออกมากมาย เช่น จะไปพักผ่อนที่ไหน? จะซื้อทีวีเครื่องไหน? จะเลือกเส้นทางการทำงานแบบไหน? เคล็ดลับความสำเร็จคือ ให้ใช้กลยุทธ์แบบนักบิน คือค่อยๆ ขยับเข้าไปสู่การตัดสินใจทีละน้อย แม้ไม่มั่นใจว่าจะใช่หนทางไปสู่การตัดสินใจหรือไม่ ก็ตาม

เทคนิคนี้ดัดแปลงมาจากกลยุทธ์นักบิน โดยเริ่มจากการพิจารณาปัญหา เพื่อดูว่าจะนำไปสู่อะไรได้บ้าง? การค่อยๆ พยายามหาคำตอบ โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ จะต้องแตกปัญหาใหญ่เป็นส่วนย่อยๆ ที่มองเห็นได้ชัดเจนที่สุด แล้วลองทบทวนอีกครั้ง หากทางออกยังไม่ชัดเจน ให้แตกส่วนย่อยๆ เหล่านั้น เป็นส่วนย่อยที่เล็กลงไปอีก ลองทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนได้คำตอบ

ลองจินตนาการว่า คุณกำลังวางแผนพักผ่อนกับครอบครัว เริ่มต้นโดยพยายามหาทางออกที่เป็นทางออกทั่วไปที่สุด นั่นคือ หาสถานที่ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางสัก 2-3 แห่ง ที่เติมเต็มความต้องการเบื้องต้นของทุกๆ คน จากนั้นให้ถามตัวเองว่า จะต้องทำตามความต้องการของใครอีกบ้าง มีตัวเลือกใดหรือไม่ที่คุณนำมาปรับเปลี่ยน เพื่อจะได้มีทางเลือกมากขึ้น

ตัวอย่างเช่น หากจุดเริ่มต้นของคุณคือการพักผ่อนเที่ยวชมทิวทัศน์ ให้ดูว่ามีสถานที่ไหนใกล้ชายหาดที่ลูกๆ จะสนุกได้สัก 2-3 วัน หรือไม่? ให้ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งคุณตอบสนองความต้องการได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

 

วิธีแก้ปัญหาแบบมนต์วิเศษ

 

ลองจินตนาการว่า เมื่อตื่นขึ้นในวันรุ่งขึ้น แล้วพบว่าปัญหาของคุณอันตรธานหายไปอย่างมหัศจรรย์ โดยไม่มีเหตุการณ์ใดมาเตือนล่วงหน้า คุณจะรู้ได้อย่างไร ว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นแล้ว? ให้ลองจินตนาการถึงวันนั้นทั้งวัน และเขียนทุกอย่างลงไป (แม้กระทั่งเรื่องเล็กน้อยที่สุด) ว่าถ้าวันนั้นมีจริง จะมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง?

เทคนิคนี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่ความเชื่อ ว่าจะมีสิ่งดีๆ เกิดขึ้น… การจินตนาการถึงรายละเอียดต่างๆ ของชีวิตในอนาคต จะทำให้คุณคิดอย่างมีอิสระ ไม่มีข้อจำกัด และอาจพบมุมมองใหม่ๆ ที่ช่วยให้ปัญหาเบาบางลงในที่สุด หรือกระทั่งหลีกเลี่ยงปัญหาทั้งหมดได้…

 

วิธีแก้ปัญหาแบบเน้นด้านบวก

 

ให้ถามตัวเองว่า “จะมีเวลานั้นไหม ที่จะได้เห็นผลลัพธ์ที่ฉันต้องการ” เช่น หากลูกปัสสาวะรดที่นอน คำถามที่คุณต้องเน้นคือ “คืนไหนที่ลูกของฉันจะไม่ปัสสาวะรดที่นอน”

หากคุณต้องการหาเงินได้มากขึ้น ลองถามว่า “เมื่อไหร่ที่ฉันจะหาเงินได้มากขึ้น” หรือมองเรื่องนั้นๆ จากมุมอื่น เช่น “เมื่อไหร่ที่จะรู้สึกพอใจกับสิ่งที่ฉันหามาได้” หากระบุปัจจัยที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ต้องการได้ (แม้จะเล็กน้อยก็ตาม) ให้ลองต่อยอดจากปัจจัยนั้นออกไป…

 

เรียบเรียงโดย LEARNING HUB THAILAND

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Ads, Google Analytics

    Statistics

  • Google Analytics

    Statistics

  • Facebook

    Marketing/Tracking

  • ActiveCampaign

    Functional

  • ActiveCampaign

    Marketing/Tracking

Save