4 ขั้นตอนการให้ Feedback ที่ช่วยให้ลูกน้องพัฒนาและรักเรามากขึ้น

“อาจารย์คะ ดิฉันให้ Feedback เพราะอยากให้ลูกน้องปรับปรุงตัวเอง แต่กลายเป็นว่าเขาไม่พอใจและยิ่งไม่เปลี่ยนแปลงตัวเองใหญ่เลย ทำอย่างไรดีคะ”

        นี่คือหนึ่งในคำถามยอดฮิตที่ผมได้รับจากบรรดาหัวหน้างาน ผู้จัดการที่ต้องดูแลคนในทีมให้ทำผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

        และเพราะอยากปรับปรุง พัฒนาผลงาน รวมทั้งพัฒนาบุคคลให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นนี่เอง การ Feedback จึงจำเป็นต้องเข้ามามีบทบาทที่สำคัญ

===

        Feedback ถ้าจะแปลความหมายแบบตรงตัวก็คือ ‘การให้ข้อมูลป้อนกลับ’ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และพัฒนาการทำงานในครั้งต่อไปได้

        แต่การให้ Feedback ไม่ใช่สิ่งที่ใคร ๆ ก็ทำได้โดยปกติวิสัย เพราะนี่คือศาสตร์และศิลป์รูปแบบหนึ่งที่ประกอบไปด้วยทักษะในการสร้างความสัมพันธ์ การสร้างความไว้วางใจ การทำให้คนเปิดใจรับฟัง ฯลฯ

        เพราะถ้า Feedback ไม่ดี หรือ ไม่มีคุณภาพนั้น เพียงแค่พูดออกไปไม่กี่คำ คนฟังก็อาจจะเกิดอาการ ‘หูดับ’ ไม่รับฟังสิ่งที่เราต้องการสื่อ เขาอาจจะคิดแก้ตัวอยู่ในใจหรือถึงขั้นพูดสวนออกมาเลยด้วยซ้ำ

===

        จากการทำงานเป็นผู้จัดการและหัวหน้าฝ่าย HR ที่ต้องดูแลลูกน้องจำนวนมากมานานหลายปี ผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่เคยประสบปัญหาเรื่องการให้ Feedback ที่ไม่มีประสิทธิภาพทำให้เสียทั้งงาน เสียทั้งเวลา และเสียทั้งความสัมพันธ์

        แต่หลังจากที่ผมตั้งใจเรียนรู้และฝึกฝนทักษะการให้ Feedback นำไปใช้จริงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงนำเอาประสบการณ์ทั้งหมดไปแลกเปลี่ยนกับบรรดาหัวหน้าและผู้จัดการของบริษัทใหญ่ ๆ ในตอนที่จัดอบรมหลักสูตร Coaching and Feedback ทำให้ผมพบเทคนิคในการให้ Feedback อย่างมีประสิทธิภาพที่จะช่วยปรับปรุงวิธีการให้ Feedback ของคุณให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้อย่างแน่นอน

===

        ต่อไปนี้คือ 4 ขั้นตอนในการให้ Feedback อย่างมีประสิทธิภาพที่ช่วยให้ลูกน้องพัฒนาตัวเองด้วยความเต็มใจ นอกจากนั้นพวกเขายังจะยิ่งรักคุณมากขึ้นอีกด้วย

1. เริ่มด้วยจุดแข็ง หรือ จุดดี

ต่อให้เป็นคนที่ทำอะไรผิดพลาดหรือไม่ได้เรื่องอย่างไรก็ต้องมีบางสิ่งที่เขาทำได้ดี แต่เป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่มักมองข้ามสิ่งดีดีแล้วไปโฟกัสที่จุดแย่หรือสิ่งที่เขาทำไม่ดีเท่านั้น

ซึ่งการเปิดบทสนทนาด้วยเรื่องที่เขาทำผิดหรือทำไม่ดีจะยิ่งทำให้เขาไม่อยากรับฟังต่อ ฉะนั้นครั้งต่อไปที่จะ Feedback ให้ถามตัวเองว่าคน ๆ นี้ทำอะไรที่เป็นข้อดีหรือมีอะไรที่เป็นจุดแข็งสำหรับเรื่องนี้บ้าง

อาจจะเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น เขาละเอียด รอบคอบ เขามีความคิดสร้างสรรค์ หรือ มีความพยายาม เป็นต้น เชื่อเถอะว่าถ้าตั้งใจมองดูดีดีคุณจะพบสิ่งดีดีได้แน่นอน

===

2. เน้นที่ความคิด

ขั้นต่อมาคือการที่เราจะพาเขามาสู่เรื่องที่เราอยากให้เขาปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือ พัฒนา ซึ่งจะต้องระมัดระวังการพุ่งโจมตีไปที่ ‘ตัวตน’ ของเขา เช่น คุณนี่เป็นคนที่ไม่มีหัวคิดเอาเสียเลยนะ” หรือ “เพราะเธอเป็นคนแบบนี้ไง งานจึงออกมาแบบนี้” ประโยคเหล่านี้ไม่ได้บ่งบอกว่าอยากให้เขาปรับตรงไหนแถมยังโจมตีไปที่ตัวตนของเขาอีกด้วย

วิธีแก้ง่าย ๆ คือ ให้พูดถึงวิธีคิด หรือ พฤติกรรมที่เขาทำให้เฉพาะเจาะจงไม่ใช่ตัวตนทั้งหมดของเขา เช่น “ไอเดียนี้อาจจะยังไม่เหมาะกับสถานการณ์นี้ ขอให้คุณกลับไปคิดมาใหม่อีกครั้งได้ไหมครับ”

===

3. สะกิดให้พัฒนา

ขั้นที่สามคือการใช้คำถามที่มีพลังเพื่อช่วยให้เขาใช้ศักยภาพของเขาในการปรับปรุงและพัฒนาสิ่งที่ทำ คุณสามารถใช้คำถามในการสะกิดหรือกระตุกเขาซึ่งอาจจะต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ร่วมกับบริบทนั้น ๆ ด้วย เช่น “งานที่เธอทำมาดูน่าสนใจเลยทีเดียว ทีนี้ถ้าจะทำให้มันดีขึ้นกว่านี้อีก เธอจะปรับอะไร ตรงไหนบ้าง”

นี่คือคำถามที่ลูกน้องหลายคนของเราต้องการ โดยเฉพาะคนเก่ง ๆ เพราะเขาอยากพัฒนาการทำงานของตัวเองให้ดียิ่งขึ้นเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว  การที่หัวหน้าบรรจงมอบคำถามที่ทรงพลังให้แก่เขาในช่วงเวลาที่เหมาะสมคือหัวเชื้ออย่างดีของการพัฒนา

===

4.ให้เวลารับฟัง

ขั้นตอนสุดท้ายคือสิ่งที่หัวหน้าหลายคนละเลย นั่นคือการให้เวลาคุณภาพในการรับฟังสิ่งต่าง ๆ ที่ลูกน้องต้องการพูด ไม่ว่าจะเป็นการตอบคำถามที่เราถามไป หรือการถามคำถามบางอย่างกลับมา

คุณสามารถช่วยให้ลูกน้องพูดมากขึ้นด้วยการถามคำถามง่าย ๆ เช่น “มีอะไรอยากบอกกับพี่บ้างไหม” หรือ “เธอคิดเห็นอย่างไรกับสิ่งที่พี่ Feedback ไป” จากนั้นให้ใส่ใจรับฟังเขาอย่างเต็มที่โดยไม่พูดแทรก พูดขัด จะช่วยให้ความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับลูกน้องพัฒนาขึ้นไปอีกระดับอย่างแน่นอน

การให้ Feedback คือ ทักษะที่ควรทำควบคู่ไปกับการ Coaching ศึกษาวิธีการ โค้ชอย่างไรที่จะเพิ่มศักยภาพได้อย่างเต็มที่ คลิก ที่นี่

===

        การ Feedback คือ ทักษะสำคัญที่ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นได้ ถ้าสนใจเรียนรู้และฝึกฝนทักษะนี้แบบลงลึก ขอแนะนำหลักสูตร High Impact Coaching & Positive Feedback  ที่จะช่วยติดอาวุธให้กับการเป็นหัวหน้างานและผู้จัดการของคุณด้วยทักษะการโค้ชและให้ Feedback คลิกดูรายละเอียดได้ที่นี่

บทความโดย

อ.อรรณพ นิยมเดชา

วิทยากร และนักจิตวิทยาองค์กรผู้ใช้แนวคิดจิตวิทยาเชิงบวกเพื่อปลุกศักยภาพคนทำงานให้มีเป้าหมายที่ชัดเจนและสร้างผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Ads, Google Analytics

    Statistics

  • Google Analytics

    Statistics

  • Facebook

    Marketing/Tracking

  • ActiveCampaign

    Functional

  • ActiveCampaign

    Marketing/Tracking

Save