5 วิธีสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานเจ้าอารมณ์

เป็นความจริงที่ว่ามนุษย์ออฟฟิศอย่างเราสามารถเลือกบริษัทใหญ่โตที่ดูมั่นคงเพื่อไปทำงานด้วยได้ เราเลือกโลเคชั่นหรือสถานที่ทำงานที่สะดวกในการเดินทางได้ แต่เราแทบจะไม่สามารถเลือกเพื่อนร่วมงาน หรือหัวหน้าได้เลย

เพื่อนร่วมงานดีและหัวหน้างานน่ารักย่อมทำให้ชีวิตการทำงานของเรามีความสุข แต่ถ้าเคราะห์ซ้ำกรรมซัด ต้องติดต่อประสานงานกับเพื่อนร่วมงานที่ไม่มีเหตุผล นิสัยเสีย เจ้าอารมณ์นั่นหมายความว่า ชีวิตการทำงานของเราก็คงไม่เป็นสุข ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่องาน และประสิทธิภาพในการทำงานด้วย

=====

จากประสบการณ์ในการทำงานอบรมและโค้ชผู้บริหารมานานหลายปี เราได้ถอดบทเรียนเทคนิควิธีการในการรับมือและสื่อสารกับ “เพื่อนร่วมงานนิสัยไม่น่ารัก” เหล่านั้นมาให้คุณแล้ว 


1. ปรับอารมณ์ก่อนพูดคุยกับพวกเขา

สิ่งแรกที่เราอยากบอกกับคุณก็คือ … เรารู้ว่าคุณโดนอะไรมา แต่ถ้าคุณกำลังรู้สึกแย่กับคำพูด หรือการกระทำของเขา จงอย่าตอบโต้ตามอารมณ์คุกรุ่นที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้วยถ้อยคำรุนแรงหรือท่าทางที่ไม่พอใจ  เพราะมันไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้น ทั้งยังจะทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงอีกด้วย  

การใช้อารมณ์  “เหวี่ยงร่วม(เขาแรงมาเราแรงตอบ)” นอกจากจะทำให้ตัวเราดูแย่ ยังทำให้บรรยากาศแย่ตามไปด้วย ทั้งเรื่องความสัมพันธ์ และภาพลักษณ์ที่คนในองค์กรมองมาที่คุณ

จงสูดหายใจเข้าลึกๆ ควบคุมสติ ประคองอารมณ์ ทำตัวสวยๆ พูดคุยกันด้วยเหตุผล  มันอาจไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำแต่มันก็ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ขอเพียงเริ่มจากความคิดในใจของคุณเองว่า

“ฉันทำได้… ฉันรับมือได้… ”

=====

2. พูดคุยกับคนอื่น เพื่อระบายความรู้สึกแย่ๆ ออกมา

คุณอาจจะเพิ่งโดนเหวี่ยงมา ทั้งที่คุณไม่ได้เป็นฝ่ายเริ่มก่อนเลย… เวลานี้ คุณอาจต้องการคนคุยด้วย เพื่อระบายความอึดอัด และเพื่อให้คุณรู้สึกแย่น้อยลง

ลองแชร์เรื่องราวของคุณกับเพื่อนหรือคนที่ไว้ใจ เล่าสิ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่เสริมอคติส่วนตัว ถ้าเป็นไปได้อย่าเพิ่งด่วนตัดสินผิด-ถูก ลองฟังความคิดเห็นจากคนที่ไม่ได้อยู่ในสถานการณ์นั้นเพื่อให้คุณมองเห็นภาพที่กว้างขึ้น

บ่อยครั้ง คนเหล่านั้นก็จะมีความคิดดีๆ ให้เราฉุกคิดอะไรบางอย่างขึ้นมาได้ เพราะพวกเขามองสิ่งที่เกิดขึ้นจากมุมมองของคนนอก ทำให้สามารถมองด้วยเหตุผล และไม่ใช้อารมณ์ในการตัดสินได้

แต่คุณก็ไม่จำเป็นต้องทำตามคำแนะนำของพวกเขาทั้งหมด เพราะการที่คุณได้ระบายสิ่งที่อึดอัดโดยมีคนรับฟังอย่างพินิจพิเคราะห์และเป็นกลาง เพียงเท่านี้ก็ช่วยให้อารมณ์ของคุณดีขึ้นได้แล้ว

=====

3. เปลี่ยนมุมมองในใจโดยการทดลองคิดด้วยมุมของเขาดู

การเปลี่ยนมุมมอง แล้วย้อนคิดว่า “เขาพบเจออะไรมาหรือเติบโตมาอย่างไรถึงได้มีบุคลิกนิสัยอย่างนี้” จะทำให้คุณเห็นภาพว่าเพื่อนร่วมงานเจ้าอารมณ์อาจได้รับแรงกดดันมหาศาล จากที่บ้าน ที่ทำงาน

หรือเขาอาจเติบโตมาในครอบครัวที่ไม่สมบูรณ์ มีปมด้อยในชีวิต เหตุการณ์ต่าง ๆ บ่มเพาะให้เขาคิดไปว่า “การเหวี่ยงวีน หรือทำตัวเจ้าอารมณ์ใส่คนอื่น เป็นสิ่งที่ใช้เอาตัวรอดได้และใครๆ ก็ทำกัน”

เมื่อคุณวิเคราะห์พื้นฐานครอบครัว วิเคราะห์ที่มาของความคิดความเชื่อของพวกเขาจะช่วยทำให้คุณเข้าอกเข้าใจตัวเขามากขึ้น เมื่อไหร่ก็ตามที่พวกเขาแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม แสดงออกไม่น่ารัก คุณก็จะรู้สึกแย่น้อยลง แถมยังยิ้มในใจว่า “ก็เขาเคยโดนอย่างนั้นมา เขาเลยเป็นคนแบบนี้แหละ”

หนึ่งลักษณะของคนที่ทำงานด้วยยากมากก็คือ คนที่คิดว่าตัวเองถูกเสมอ อ่าน แนวทางการทำงานร่วมกับคนที่คิดว่าตัวเองถูกเสมอ คลิกที่นี่

=====

4.  หาเวลาพูดคุยกันด้วยความผ่อนคลาย

เมื่อคุณเริ่มเข้าอกเข้าใจ โดยรู้ที่มาที่ไปของบุคลิกนิสัยไม่น่ารักของเขาแล้ว คุณอาจหาเวลาพูดคุย หรือทำกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวกับงาน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ไม่ต้องเกี่ยวกับเรื่องงานเท่านั้น เช่น การตีแบตหลังเลิกงาน ไปกินข้าว กันเป็นกลุ่ม หรือทำกิจกรรมสนุกๆ ร่วมกัน

เมื่อเรามีความสัมพันธ์ที่ดีซึ่งอยู่นอกเหนือหน้าที่การงาน จะทำให้เขากับเราผ่อนคลายต่อกันมากขึ้น  และเมื่อคุณสนิทกับเขามากขึ้น คุณอาจหาจังหวะพูดคุยแบบเปิดอก ว่าคุณรู้สึกอย่างไร? พร้อมทั้งอธิบายสิ่งที่เขาแสดงออกว่ามันส่งผลกระทบเชิงลบอย่างไร?

วิธีนี้คือ “การเปลี่ยนศัตรูให้เป็นมิตร” นั่นเอง

=====

5. ไว้คุยกันเมื่อพร้อมและสบายใจ แต่ตอนนี้ ขออยู่ห่างๆ กันก่อนนะ

สำหรับ “บางคน” ถ้าคุณได้ลองทุกวิธีข้างต้น ไม่ว่าจะเป็นการปรับเปลี่ยนมุมมองหรือทัศนคติที่มีต่อพวกเขา ทำดีด้วยก็แล้ว พูดคุยด้วยความเข้าอกเข้าใจก็แล้ว เปิดโอกาสให้ตัวเองและเพื่อนร่วมงานพัฒนาความสัมพันธ์อันดีก็แล้ว แต่สถานการณ์ก็ยังไม่ดีขึ้น

สุดท้าย คุณอาจจำเป็นต้องตัดเขาออกจากการพบปะพูดคุย โดยการอยู่ห่างจากเขา หลีกเลี่ยงการทำงานร่วมกันเท่าที่สามารถทำได้ไปก่อน  เพราะเขาคงยังไม่พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง 

การเปลี่ยนนิสัย-ความคิด-ความเชื่อของคนบางคนเป็นสิ่งที่ยากมาก แต่สิ่งที่ง่ายกว่า(และควรทำมากกว่า)ก็คือการควบคุมปัจจัยภายในของตัวเราเอง

อย่าให้คนชอบวีน คนขี้เหวี่ยง คนนิสัยไม่น่ารัก และคนแสดงพฤติกรรมแย่ๆ มาทำลายการทำงานทั้งหมดของคุณ หรือส่งผลให้คุณเป็นทุกข์อีกต่อไปเลย 

ถ้าคุณสนใจเรียนรู้และฝึกฝนพัฒนาทักษะการบริหารจัดการอารมณ์ของคนทำงานยุคใหม่ขอแนะนำหลักสูตร   Emotion Intelligence  เพื่อพัฒนาให้คุณมีทักษะความสามารถที่จะบริหารจัดการอารมณ์เพื่อการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ  คลิกดูรายละเอียด ที่นี่

=====

เรียบเรียงโดย

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กรฟรี  ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Ads, Google Analytics

    Statistics

  • Google Analytics

    Statistics

  • Facebook

    Marketing/Tracking

  • ActiveCampaign

    Functional

  • ActiveCampaign

    Marketing/Tracking

Save