5 วิธีสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานจอมเหวี่ยง

เป็นความจริงที่ว่า… มนุษย์ออฟฟิศอย่างเราๆ สามารถเลือกบริษัทใหญ่โตดูมั่นคงที่อยากทำงานด้วยได้ เลือกโลเคชั่นพิกัดสถานที่ทำงานเพื่อความสะดวกในการเดินทางได้ แต่เรากลับ “ไม่สามารถ” รู้ได้เลยว่า จะเจอเพื่อนร่วมงาน หรือหัวหน้า แบบใด!!!

เพื่อนร่วมงานดี หัวหน้างานน่ารัก ย่อมทำให้ชีวิตการทำงานของเรามีความสุข แต่ถ้าประจวบเหมาะเคราะห์ซ้ำกรรมซัด ต้องติดต่อประสานงานกับเพื่อนร่วมงานไม่มีเหตุผล นิสัยแอบแย่ จอมเหวี่ยง ขี้อิจฉา นั่นหมายถึงว่า ชีวิตการทำงานของเราคงไม่เป็นสุข และส่งผลกระทบโดยตรงต่อผลงาน หรือประสิทธิภาพการทำงาน

บทความนี้ เรามีไอเดียดีๆ ให้คุณเก็บไว้ใช้สื่อสาร-รับมือ กับ “เพื่อนร่วมงานนิสัยไม่น่ารัก” เหล่านั้น


1. ปรับอารมณ์ก่อนพูดคุยกับพวกเขา

แรกสุดเลย อยากบอกว่า… เรารู้นะว่าคุณโดนอะไรมา!!! แต่ถ้าคุณกำลังรู้สึกแย่กับคำพูด หรือการกระทำของเพื่อนร่วมงาน อย่าตอบโต้ตามอารมณ์คุกรุ่นด้วยถ้อยคำรุนแรง ทั้งด้วยคำพูดและท่าทาง เพราะนั่นไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้น ทั้งยังจะทำให้สถานการณ์ต่างๆ เลวร้ายลง

การใช้อารมณ์ “เหวี่ยงร่วม” นอกจากจะทำให้คุณดูแย่ ยังทำให้บรรยากาศโดยรอบ แย่ตามไปด้วย ทั้งเรื่องความสัมพันธ์ และภาพลักษณ์ของตัวคุณเองในองค์กร… สูดหายใจเข้าลึกๆ ควบคุมสติ ประคองอารมณ์ ทำตัวสวยๆ พูดคุยกันด้วยเหตุผล… มันอาจไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำหรอกนะ เราเข้าใจคุณ… แต่มันก็ไม่ใช่เรื่องยากหรอก ขอเพียงเริ่มจากความคิดในใจว่า “ฉันทำได้… ฉันรับมือได้… ”

 

2. พูดคุยกับคนอื่น ระบายความรู้สึกแย่ๆ ออกมา

โอเค… คุณเพิ่งโดนเหวี่ยงมา ทั้งที่คุณไม่ได้เป็นฝ่ายเริ่มก่อนเลยนะ… จังหวะนี้ คุณอาจต้องการคนคุยด้วย เพื่อระบายความอึดอัด และเพื่อให้คุณรู้สึกแย่น้อยลง แชร์เรื่องราวของคุณกับเพื่อนหรือคนรู้ใจ เล่าสิ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่เสริมเติมอารมณ์ส่วนตัว อย่าด่วนตัดสินผิด-ถูก ลองฟังคำพูด-ความเห็นจากคนที่ไม่ได้อยู่ร่วมสถานการณ์ด้วย

บ่อยครั้ง พวกเขาจะมีไอเดียดีๆ ให้เราฉุกคิดอะไรบางอย่างขึ้นมาได้ เพราะพวกเขามองสิ่งที่เกิดขึ้นจากมุมคนนอก ด้วยเหตุด้วยผล และไม่ได้ใช้อารมณ์ในการตัดสิน… แต่คุณไม่จำเป็นต้องทำตามคำแนะนำของพวกเขาหรอกนะ เพราะการที่คุณได้ระบายสิ่งที่คุณอึดอัด ฟังอย่างพินิจพิเคราะห์และเป็นกลาง เพียงแค่นี้ก็น่าจะช่วยให้อารมณ์คุณดีขึ้นมากแล้ว

 

3. เปลี่ยนมุมมองในใจ ลองคิดด้วยมุมของพวกเขา

การเปลี่ยนมุมมอง แล้วย้อนคิดดูว่า “พวกเขาโดนอะไรมานะ?” อาจทำให้คุณเห็นภาพเพื่อนร่วมงานจอมเหวี่ยง ว่าพวกเขาอาจได้รับแรงกดดันมหาศาล จากทั้งที่บ้าน ที่ทำงาน หรือเติบโตมาในครอบครัวไม่สมบูรณ์ มีปมด้อยในชีวิต บ่มเพาะให้คิดไปว่า “การเหวี่ยงวีน การทำตัวเหนือคนอื่น เป็นสิ่งที่ใครๆ ก็ทำกัน และจะให้ผลลัพธ์ที่ดี”

เมื่อคุณรู้จักพื้นฐานครอบครัว ที่มาความคิดของพวกเขา ย่อมทำให้คุณเข้าอกเข้าใจนิสัยพื้นเพ เมื่อไหร่ก็ตามที่พวกเขาแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม สื่อสารไม่น่ารัก คุณจะรู้สึกแย่น้อยลง แถมยังยิ้มในใจว่า “ก็เขาเคยโดนอย่างนั้นมา.. เขาเลยเป็นคนแบบนี้แหละ.. ฉันเข้าใจคุณนะ”

 

4.  หาเวลาพูดคุยกันด้วยความผ่อนคลาย

เมื่อคุณเริ่มเข้าอกเข้าใจ รู้ที่มาที่ไปของบุคลิกนิสัยไม่น่ารักของเพื่อนร่วมงานคุณแล้ว คุณอาจหาเวลาพูดคุย หรือทำกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวกับงาน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ผ่อนคลาย-ไม่จริงจัง เช่น การตีแบตหลังเลิกงาน ไปกินข้าว หรือทำกิจกรรมบันเทิงสนุกๆ ร่วมกัน

เมื่อมีความสัมพันธ์ที่ดีนอกเหนือหน้าที่การงาน จะทำให้พวกเขาผ่อนคลาย และเมื่อคุณสนิทกับพวกเขามากขึ้น คุณอาจหาจังหวะโอกาสพูดคุยกันแบบเปิดอก ว่าคุณรู้สึกอย่างไร? พร้อมทั้งอธิบายสิ่งที่พวกเขาแสดงออกมานั้น ว่าไม่น่ารักอย่างไร? วิธีนี้คือ “การเปลี่ยนศัตรูเป็นมิตร” นั่นเอง!

 

5. ไว้คุยกันเมื่อพร้อมและสบายใจ แต่ตอนนี้ ขออยู่ห่างๆ ก่อนนะ

สำหรับ “บางคน” ถ้าคุณได้ลองทุกวิธีข้างต้น… ทั้งปรับเปลี่ยนมุมมองทัศนคติต่อพวกเขา ทำดีด้วยก็แล้ว พูดคุยด้วยความเข้าอกเข้าใจก็แล้ว คุณได้เปิดโอกาสให้ตัวเองและเพื่อนร่วมงาน ในการพัฒนาความสัมพันธ์อันดี แต่สถานการณ์กลับยังไม่ดีขึ้น… สุดท้าย คุณอาจจำเป็นต้องตัดพวกเขาออกจากการพบปะพูดคุย ด้วยการอยู่ห่างจากพวกเขา หลีกเลี่ยงการต้องทำงานร่วมกันในช่วงเวลานี้ เพราะเขาคงยังไม่พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง!

เพราะการเปลี่ยนนิสัย-ความคิด-ความเชื่อของบางคนอาจเป็นสิ่งยาก แต่สิ่งที่ง่ายที่สุดคือการควบคุมปัจจัยภายในตัวคุณเอง… อย่าให้คนชอบวีน ขี้เหวี่ยง นิสัยไม่น่ารัก แสดงพฤติกรรมแย่ๆ มาทำลายวันทำงานของคุณ หรือส่งผลให้คุณรู้สึกเป็นทุกข์…

คุณควรมีความสุขกับงานที่ทำ… อย่าใส่ใจหรือให้คุณค่ากับคนไม่น่ารักเหล่านั้นเลย! 

 

 

บทความโดย LEARNING HUB TEAM

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Ads, Google Analytics

    Statistics

  • Google Analytics

    Statistics

  • Facebook

    Marketing/Tracking

  • ActiveCampaign

    Functional

  • ActiveCampaign

    Marketing/Tracking

Save