5 วิธีรับมือกับความเครียดในการทำงาน

การทำงานเป็นสาเหตุให้คุณเกิดความเครียดได้ ไม่ว่าความเครียดนั้นจะมาจากงานที่เพิ่มขึ้น เวลาที่น้อยลง หัวหน้างานผู้เข้มงวด หรือเพื่อนร่วมงานช่างนินทา

มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งเปิดเผยว่า ชาวอเมริกันสามในสี่คนทุกข์ทรมานจากความเครียดในที่ทำงาน นอกจากนี้ องค์กรอนามัยโลกรายงานว่า ในแต่ละปีความเครียดเป็นสาเหตุให้พนักงานหยุดงานเนื่องจากป่วย และทำให้ธุรกิจของอเมริกาเสียหายถึง 3,000 ล้านเหรียญ

จากข้อมูลเบื้องต้น จะเห็นว่าความเครียดนั้นน่ากลัวกว่าที่คิด เพราะไม่เพียงแต่ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย รวมถึงจิตใจของผู้คนแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติในด้านต่างๆด้วย

ดังนั้น เราจึงจำเป็นที่จะต้องกำจัดความเครียดก่อนที่มันจะกำจัดเรา โดยบทความนี้ได้แนะนำหลักปฏิบัติ 5 ข้อ เพื่อให้คุณสามารถจัดการและรับมือกับความเครียดในที่ทำงานได้ ดังนี้

====

1) ใส่ใจเรื่องอาหารการกิน

อาหารเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเครียดของคุณ กล่าวคือ อาหารสามารถกระตุ้นหรือบรรเทาความเครียดให้คุณได้ ขึ้นอยู่กับชนิดหรือประเภทของอาหาร

อาหารที่ช่วยขจัดความเครียด ได้แก่ อาหารจำพวกผัก ผลไม้ ข้าวกล้อง ธัญพืช ถั่ว เผือก มัน น้ำเปล่า เป็นต้น อาหารเหล่านี้มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะระบบประสาท เพราะอุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามิน ช่วยรักษาระดับน้ำตาลให้คงที่ และยังช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายและลดความเครียดได้อีกด้วย

นอกจากอาหารที่ควรรับประทานเพื่อลดความเครียดแล้ว ยังมีอาหารที่คุณควรหลีกเลี่ยง ยกตัวอย่างเช่น ชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาหารฟาสต์ฟู้ด อาหารที่มีไขมันสูง เป็นต้น

อาหารและเครื่องดื่มเหล่านี้มีสารเพิ่มความเครียด ในระยะแรกที่ได้รับประทานคุณอาจรู้สึกดี แต่หากคุณรับประทานในปริมาณที่มากเกินไปหรือรับประทานอย่างต่อเนื่อง จะทำให้เกิดสภาวะความเครียดสะสมในร่างกายได้

====

 2) กำหนดลมหายใจเข้า-ออก

เรื่องการหายใจก็มีความสัมพันธ์กับความเครียดเช่นกัน คุณจะพบว่าเมื่อคุณเครียด คุณจะหายใจเร็วหายใจตื้น หัวใจเต้นเร็ว และมีอาการกระสับกระส่าย

ดังนั้น เมื่อคุณเครียด ให้คุณกำหนดลมหายใจเข้าออก โดยคุณอาจหายใจเข้าและออกอย่างช้าๆประมาณ 1-2 นาที คุณสามารถทำเช่นนี้ในช่วงพักเที่ยง หรือระหว่างวันก็ได้ และหากคุณมีเวลามากกว่านั้น คุณอาจทำในช่วงเช้าและก่อนนอนด้วย

วิธีการกำหนดลมหายใจเข้าและออกคล้ายๆกับการนั่งสมาธิ ซึ่งจะช่วยให้คุณลดความเครียดลงได้ เพราะเมื่อคุณหายใจเต็มปอดก็จะทำให้เลือดและสมองได้รับออกซิเจนมากขึ้น และสิ่งนี้จะทำให้คุณสดชื่น และกระปรี้กระเปร่ามากยิ่งขึ้น

====

3) ออกกำลังกาย

เวลาที่คุณนั่งจมอยู่กับปัญหาในที่ทำงาน นอกจากจะทำให้เสียสุขภาพจิตแล้ว ยังทำให้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ เครียดเกร็งโดยที่คุณไม่รู้ตัว ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการปวดเมื่อยเรื้อรังที่รักษายาก

วิธีแก้ไขความเครียดที่ง่ายและทำได้ทันที ก็คือ ลุกออกมาจากโต๊ะทำงาน ยืดเส้นยืดสาย หรือเดินเพื่อเปลี่ยนอิริยาบถสัก 10-15 นาที 

นอกจากนี้ ในแต่ละวันคุณควรแบ่งเวลาประมาณ 30 นาทีเพื่อออกกำลังกาย ในช่วงแรกของการเริ่มต้น คุณอาจรู้สึกว่ายาก แต่หากคุณทำมันอย่างต่อเนื่อง ร่างกายของคุณจะแข็งแรงขึ้น และแน่นอนว่าเมื่อร่างกายแข็งแรง คุณก็จะสามารถรับมือกับความเครียดได้

การออกกำลังกายทำให้ร่างกายหลั่งสารเอ็นโดพิน ซึ่งทำให้คุณรู้สึกดี มีพลัง และกระฉับกระเฉงมากขึ้น แต่หากคุณยังไม่มีแรงบันดาลใจมากพอ ให้ลองจัดกิจกรรมออกกำลังกายกับเพื่อนร่วมงานของคุณ วิธีการนี้จะทำให้คุณรู้สึกสนุกและอยากออกกำลังกายมากขึ้น

====

4) เลือกรับฟังข้อมูลด้านบวก หลีกเลี่ยงข้อมูลด้านลบ

ในที่ทำงานของคุณย่อมมีคนหลากหลายประเภท และคำกล่าวที่ว่า “หงส์อยู่ในฝูงหงส์ กาอยู่ในฝูงกา” นั้นเป็นจริงเสมอ

กล่าวคือ คนที่มีลักษณะนิสัยคล้ายคลึงกันมักรวมตัวอยู่ด้วยกัน ดังนั้น หากคุณไม่อยากเครียด ก็ไม่ควรที่จะสุงสิงหรือยุ่งเกี่ยวกับคนที่ทำให้คุณเครียด

ยกตัวอย่างเช่น เพื่อนร่วมงานบางคนชอบระบายความเครียดให้ผู้อื่น เมื่อเขาไม่พอสิ่งใด เขาจะใช้ถ้อยคำรุนแรงเพื่อต่อว่า แสดงน้ำเสียงเกรี้ยวกราด หรือแสดงท่าทางก้าวร้าว เป็นต้น

พฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลต่ออารมณ์และความรู้สึกของคุณ เพราะฉะนั้นจงอยู่ให้ไกลจากคนประเภทนี้ แต่ทว่า บางครั้งหากเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ให้คุณมีสติ กลั่นกรองข้อเท็จจริง อย่าเชื่อข้อมูลทุกอย่างที่เขาพยายามสาดใส่คุณ เพราะนั่นจะทำให้คุณเครียด และกลายเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย

ทางที่ดีที่สุดก็คือ คุณควรเลือกคบเพื่อนร่วมงานที่มองโลกในแง่ดี และเลือกรับฟังข้อมูลด้านบวก และหากคุณเกิดความเครียดให้ทำกิจกรรมที่ช่วยให้ตนเองผ่อนคลาย เช่น การดูหนัง ฟังเพลง การท่องเที่ยว เป็นต้น

====

5) เลือกเสพข่าวสารอย่างเหมาะสม

หากคุณเป็นพวกที่ชอบเกาะติดสถานการณ์บ้านเมืองโดยติดตามข่าวสารผ่านโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ และโซเชียลเน็ตเวิร์กตลอดเวลา คุณกำลังจะเครียดโดยไม่รู้ตัว

เนื่องจากพฤติกรรมของสื่อในปัจจุบันมุ่งเน้นการนำเสนอข้อมูลในเชิงลบอย่างซ้ำไปซ้ำมา นอกจากนี้ ผู้สื่อข่าวมักใส่ความคิดเห็น หรือแสดงอารมณ์และความรู้สึกส่วนตัวลงไปในเหตุการณ์ที่นำเสนอ สิ่งนี้ทำให้ผู้รับสารเกิดอารมณ์ร่วม และเกิดความเครียดในที่สุด

ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงความคิดเชิงลบ คุณควรเลือกรับข่าวสารอย่างเหมาะสม กล่าวคือ คุณควรจัดแบ่งเวลาในการรับข้อมูล ไม่ควรเสพข้อมูลมากเกินไป เพราะเมื่อคุณรับข้อมูลแล้ว สมองของคุณก็จะบันทึกและประมวลผล ซึ่งหากข้อมูลมีเนื้อหาที่รุนแรงและมีปริมาณมากเกินไป คุณก็จะได้รับอิทธิพลจากสิ่งที่คุณเสพด้วย

นอกจากนี้ คุณควรเลือกรับสารที่มีประโยชน์ และมีเนื้อหาในแง่บวก เช่น ภาพการช่วยเหลือสังคม ภาพความสำเร็จ เป็นต้น เพราะข่าวสารดีๆเหล่านี้จะทำให้คุณมองโลกในแง่ดี และเกิดกำลังใจในการใช้ชีวิต

มีวิธีการบริหารความเครียดอีกมากมายที่คุณเรียนรู้และฝึกฝนได้ด้วยตัวเอง  อ่านประสบความสำเร็จได้มากขึ้นด้วยการเป็นผู้นำที่ฉลาดทางอารมณ์เพื่อฝึกบริหารจัดการอารมณ์ของคุณเองคลิกที่นี่

===

ที่มา : http://www.pickthebrain.com/blog/5-ways-reduce-stress-work-place/

 

หากคุณอยากให้ตัวเองและทีม มีความมั่นใจและพัฒนา EQ เพื่อเป็นผู้นำที่ดีขึ้น ขอแนะนำหลักสูตร Emotion Intelligence ผู้นำฉลาดทางอารมณ์ ที่จะช่วยให้คุณได้เรียนรู้ทักษะทั้ง 5 ได้เป็นอย่างดี คลิกดูรายละเอียดที่นี่

เรียบเรียงโดย  Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Ads, Google Analytics

    Statistics

  • Google Analytics

    Statistics

  • Facebook

    Marketing/Tracking

  • ActiveCampaign

    Functional

  • ActiveCampaign

    Marketing/Tracking

Save