คุณผู้อ่านทุกท่านคงเคยชมภาพยนตร์ ซึ่งท่านคงสังเกตเห็นว่าภาพยนตร์แทบทุกเรื่องจะต้องมีจุดวิกฤต (Climax) ที่ทำให้ชีวิตตัวละครตกต่ำ ซึ่งสุดท้ายตัวละครนั้นก็จะสามารถฝ่าฟันไปพบตอนจบที่สวยงามได้ในที่สุด
ภาพยนตร์เรื่องหนึ่งจะสนุกหรือไม่ อยู่ที่ว่าคนเขียนบทและผู้กำกับภาพยนตร์เรื่องนั้นวาง Plot เรื่องไว้ดีแค่ไหน
=====
ในชีวิตคนทำงานก็เช่นกัน สถานการณ์ที่ถือเป็นจุดวิกฤตของคนทำงานคงหนีไม่พ้นการถูกเจ้านายดุด่าว่ากล่าว
และตอนจบนั้นจะสวยงามหรือแสนเศร้าก็ขึ้นอยู่กับเราในฐานะคนเขียนบทและผู้กำกับภาพยนตร์ชีวิตตัวเองว่าก่อนที่เราจะตัดสินใจพูดหรือทำอะไรลงไป เราได้วางPlot ที่เหมาะสมแล้วหรือยัง
7 ขั้นตอนง่ายๆ ต่อไปนี้ จะช่วยให้คุณผ่านสถานการณ์วิกฤตอย่างการถูกเจ้านายดุไปได้อย่างสวยงาม
วาง Plot คือ การวางโครงเรื่องให้สละสลวย และเอื้อต่อโอกาสที่จะสร้างตอนจบที่สวยงาม
=====
1.สร้างนิยามใหม่
หากคุณคิดว่าสาเหตุที่ถูกเจ้านายหรือลูกค้าตำหนิ เพราะ คุณอยู่ในฐานะลูกน้องหรือผู้รับใช้ ความคิดแบบนี้เป็นการนิยามให้ตนเองรู้สึกต้อยต่ำและจะเป็นจุดเริ่มต้นของความคิดลบๆ อื่นๆ ที่กำลังจะตามมา
การสร้างนิยามใหม่คือการที่คุณเปลี่ยนมุมมองว่าผลงานของคุณคือการ “ช่วย” หรือ “ให้” สิ่งใดกับเจ้านายหรือลูกค้า เช่น ฉันช่วยอำนวยความสะดวกเรื่อง…. ,ฉันให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ…
จุดเริ่มต้นของความคิดแบบนี้จะป้องกันไม่ให้คุณรู้สึกต่ำต้อยและยังทำให้เกิดไอเดียในการจัดการกับปัญหาในขั้นตอนต่อไปอีกด้วย
=====
2.ทบทวนผลงาน
ตัดอารมณ์ที่ไม่ดีและความกังวลออกให้หมด แล้วใช้สมาธิ focus ไปที่คุณภาพของผลงานของตัวเอง แล้วตอบคำถามตัวเองด้วยใจที่เป็นกลางว่า “ผลงานของฉันมีคุณภาพเพียงพอแล้วหรือยัง ถ้ายังฉันสามารถพัฒนาจุดไหนได้บ้าง”
=====
3.ยอมรับความจริง
หากผลงานของคุณมีคุณภาพ ก็ควรยอมรับความจริงว่า “สิ่งที่ดีที่สุดในความคิดเห็นของเราอาจไม่ดีที่สุดในความคิดเห็นของผู้อื่น”
แต่หากผลงานของคุณมีจุดบกพร่อง ก็ควรยอมรับความจริงว่า “เป็นธรรมดาที่ผู้อื่นมักจะเห็นส่วนที่บกพร่อง มากกว่าเรื่องดีๆ ที่อยู่ในส่วนอื่นๆ”
สร้าง Theme คือ การสร้างแก่นของคุณค่าที่จะนำเสนอ ยิ่งสร้างคุณค่ามาก ตอนจบก็ยิ่งสวยงาม
=====
4.เลือกบรรยากาศที่ใช่
หลายคนพอเจอปัญหานี้จะสื่อสารด้วยการพูดโต้ตอบทันที ทำให้บรรยากาศการสนทนากลายเป็นการโต้เถียงและสิ่งที่พูดออกมาก็ไม่มีอะไรดีไปกว่าการแก้ตัว
ก่อนพูดจึงควรคิดสักนิดว่าเราควรสร้างบรรยายกาศในการสนทนาอย่างไร เช่น เป็นการอธิบายแทนที่จะโต้เถียง ,เป็นการขอบคุณในคำแนะนำแทนที่จะแก้ตัว ,เป็นการสร้างความมั่นใจแทนที่จะปัดความรับผิดชอบ เป็นต้น
บรรยากาศเป็นอย่างไร ตอนจบก็จะเป็นอย่างนั้น
=====
5.ห้ามลดตัว
ไม่ว่าผลงานของคุณจะดีหรือไม่ดีในความรู้สึกผู้อื่น จุดยืนของคุณคือห้ามลดตัวเด็ดขาด เพราะนอกจากจะไม่ทำให้อะไรดีขึ้นยังอาจจะเป็นการทำให้เจ้านายหรือลูกค้าหมดความศรัทธาในผลงานชิ้นอื่นๆ ของคุณ
สิ่งที่คุณควรทำ คือ หากผลงานที่ทำมีคุณภาพ ให้ยืนยันในคุณภาพนั้นแต่ยอมรับว่าอาจจะไม่เหมาะสมในความคิดเห็นของคนบางกลุ่ม
หากผลงานมีข้อบกพร่องให้ยืนยันในเจตนาที่ดีในการสร้างสรรผลงานนี้แต่ยอมรับว่ามีบางสิ่งต้องแก้ไข
เริ่ม Action คือ การเริ่มลงมือทำตามโครงเรื่องและแก่นของเรื่องที่สร้างมา (Plot )
=====
6.เสนอทางแก้ปัญหา
ไม่ว่าผลงานคุณจะมีคุณภาพหรือไม่ ไม่ว่าเจ้านายหรือลูกค้าจะเห็นว่าผลงานของคุณดีหรือแย่เพียงให้ การเริ่มต้นพูดคุยโดยเสนอตัวที่จะลงมือแก้ไขปัญหาต่างๆ ถือเป็นการแสดงความสง่างามของผู้พูด
บรรยายการของการสนทนาต่อจากนี้จะไม่มีใครผิดใครถูกเพราะจะไม่มีอะไรมากไปกว่าการที่คนสองคนพูดคุยหารือเรื่องการสร้างสรรค์ผลงานร่วมกัน
=====
7.จบด้วยความรู้สึกขอบคุณ
ในทุกปัญหา ในทุกวิกฤติ สร้างสิ่งดีๆ ให้เราได้เรียนรู้เสมอ เมื่อคุณทำครบตั้งแต่ข้อ 1-6 เรียบร้อยแล้ว อย่าลืมจบการสนทนากับเจ้านายหรือลูกค้าด้วยความรู้สึกดีๆ ยิ้มและกล่าวขอบคุณจากใจ
ภาพยนตร์ในโรง หรือ ภาพยนตร์ในชีวิตจริง ถ้าใช้ Plot ที่ดี ก็ล้วนแต่มีตอนจบที่สวยงามเช่นกัน ไม่ว่าปัญหาของคุณจะหนักแค่ไหนของให้มีตอนจบแบบ Happy Ending ครับ
ถ้าเริ่มมีแนวทางทำงานกับหัวหน้าดุแล้ว คุณสามารถพัฒนาตัวเองให้ทำงานร่วมกับคนอื่นให้ดีขึ้นด้วย 5 เทคนิคทำให้คุณเป็นที่รักของทุกคนในทีม คลิกที่นี่
=====
ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากพัฒนาทักษะการทำงานร่วมกับเจ้านายที่ดุ และพัฒนาความร่วมมือร่วมใจทำงานเป็นทีมให้ดียิ่งขึ้น ขอแนะนำหลักสูตร Team Communication & Collaboration คลิกที่นี่
บทความโดย จิตเกษม น้อยไร่ภูมิ (โค้ชแมงปอ)
Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข
ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กรฟรี ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962