คุณลักษณะ 9 ประการ ที่บ่งบอกว่าใคร เป็นนักเขียนชั้นเลิศ

เคยสงสัยไหม อะไรทำให้คนๆหนึ่ง มาเป็นนักเขียนได้ เขามีอะไรที่แตกต่างจากคนอื่นๆ ?

แล้วตัวเรา หากอยากเป็นนักเขียน ต้องมีคุณลักษณะอะไรบ้าง ?

จริงๆแล้ว เชื่อว่าคนที่เป็นนักเขียนเอง ก็ไม่ได้คิดว่าตัวเองเกิดมาเพื่อสิ่งนี้ ไม่ได้รู้ตัวมาตั้งแต่เด็กว่าตัวเองจะโตขึ้นมา เขียนหนังสือขายได้เป็นสิบๆเล่ม หรือกระทั่งทำเป็นอาชีพได้

ในฐานะนักเขียนและคอลัมนิสต์ มีผลงานด้านจิตวิทยาและธรรมะประยุกต์มาแล้วจำนวน 5 เล่ม ผมขอแชร์ประสบการณ์เล่าสู่กันฟัง ผมเองนั้นเรียนโรงเรียนทหาร จบมาทางสายวิศวะ การเขียนหนังสือทางมันเริ่มมาจากความไม่ตั้งใจ โดยไม่ได้ร่ำเรียนมาทางอักษรศาสตร์ หรือมีหลักวิชาในการเขียนใดๆเลย เพียงแต่เป็นคนชอบพูด ชอบแบ่งปัน แล้วก็พบว่า การเขียน มันทำให้การแบ่งปันของเราไปสู่คนไม่รู้จักได้ นั่นก็คือจุดเริ่มต้น ที่ผมเขียนหนังสือครั้งแรก เมื่ออายุ 24 ปี

เชื่อว่านักเขียนหลายคน ไม่รู้ด้วยซ้ำ ว่าตัวเองเขียนดีได้อย่างไร และทำอย่างไรที่จะถ่ายทอดสิ่งนี้ให้กับคนอื่นๆได้

ผมเองก็เป็นเช่นนั้น เมื่อ 2ปีก่อน มีคนรู้จักมาสอบถาม ขอให้ช่วยสอนและแนะนำเทคนิคในการเขียน ผมก็ได้แต่อ้ำอึ้ง ไม่รู้จะอธิบายอย่างไร

แต่เมื่อสามารถสร้างผลลัพธ์ได้แบบนี้ มานึกๆดู ก็คงต้องมีวิธีที่จะสอนให้คนอื่นทำได้เหมือนกัน

ผมจึงต้องกลับเข้ามาดูและสังเกตการทำงานภายในจิตใจของตนเองอย่างละเอียดทีละขั้นตอน จนสามารถ “ถอดรหัส” ทักษะและคุณลักษณะที่สำคัญของนักเขียนออกมาได้

และออกแบบเป็นหลักสูตร 2 วัน เพื่อปลดล็อคศักยภาพการเขียนจากจิตใต้สำนึก ชื่อว่า  Intuitive Writing

จากประสบการณ์ ผมพบว่า ทักษะที่จำเป็นของนักเขียนมืออาชีพ ไม่ใช่เพียงทักษะด้านการเขียนเท่านั้น

แต่เป็นทักษะทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ การฟัง คิด พูด อ่าน และเขียน ซึ่งทักษะแต่ละด้านก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลย

“นักเขียนที่พัฒนาทักษะทั้ง 5 ได้อย่างสมดุล จะมีงานเขียนที่คนจำนวนมากประทับใจและเข้าถึงได้ มีผลงานเป็นที่นิยมมากกว่านักเขียนที่ถนัดทักษะการเขียนอย่างเดียว”

ซึ่งเราอาจบอกได้ว่า ใครจะเป็นนักเขียนชั้นเลิศได้ ก็ต่อเมื่อเขามีคุณลักษณะ 9 ประการ ดังนี้

1. ช่างสังเกต

นักเขียนมืออาชีพ จะมีสมาธิดี และมีความสามารถในการอยู่กับปัจจุบันขณะอย่างเต็มเปี่ยม และซาบซึ้งดื่มด่ำกับสิ่งเล็กๆน้อยๆตรงหน้าได้ นั่นทำให้เขาดูเหมือนเป็นคนช่างสังเกตและละเอียดลออ จริงๆเค้าไม่ได้ฉลาดกว่าคนอื่นๆหรอก เพียงแต่คนอื่นๆใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบ และหมกมุ่นอยู่กับความคิดวิตกกังวล จนละเลยรายละเอียดตรงหน้าไปต่างหาก

2. รับรู้อารมณ์ได้ดี

นักเขียนจะมีหัวใจที่อ่อนโยน รับรู้อารมณ์ได้ดี มีความละเอียดอ่อนของจิตใจ สามารถเข้าอกเข้าใจผู้อื่น และมีอารมรณ์ร่วมกับเหตุการณ์ต่างๆมาก นั่นทำให้เค้าบันทึกภาพความทรงจำที่ประทับใจไว้ได้ ไม่ใช่แค่หัวสมอง แต่เป็นทั้งร่างกายและหัวใจทีเดียว

3. เป็นนักรับฟัง

นอกจากการอ่านแล้ว นักเขียนจะได้รับประสบการณ์ที่มีคุณค่าจากการสนทนาและการฟัง เขาจีงจะไม่ด่วนตัดสินตีความไปก่อนที่จะฟังจนจบ และไม่เอาความคิดเห็นตนเองไปตัดสินว่าสิ่งนั้นผิดหรือถูก แต่จะเก็บข้อมูลไปก่อน และพิจารณาภายหลัง

4. มีจินตนาการ

เมื่อต้องเขียนเริ่องราวที่ผ่านมาสักพักแล้ว นักเขียนต้องสามารถสร้างจินตนาการเสมือนว่า อยู่ในเหตุการณ์นั้นอีกครั้งหนึ่ง จึงจะสามารถดึงอารมณ์ ความรู้สึก เพื่อให้สามารถสัมผัสความสดใหม่ จากเหตุการณ์ได้อีกครั้ง นั่นทำให้เค้าเขียนออกมาได้อย่างลื่นไหลและไม่ต้องใช้ความคิด หรือความจำมาก เพราะมันเป็นการเล่าเรื่องที่เป็นธรรมชาตินั่นเอง

5. ชอบใคร่ครวญ

ทักษะที่สำคัญของนักเขียนคือ การคิดใคร่ครวญ ดังนั้น นักเขียนจะต้องหมั่นทบทวน สะท้อน และตกผลึกทางความคิดอยู่เสมอ สิ่งนี้ฝึกฝนได้จากการจดบันทึกความคิด และหมั่นแลกเปลี่ยนไอเดียกับคนอื่นๆ เพื่อลับคมความคิดของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ

6. คิดนอกกรอบ

การจะคิดนอกกรอบได้ จะต้องสามารถลดละอัตตา ทิ้งความเชื่อ  และตั้งคำถามกับสิ่งต่างๆอยู่เสมอ นั่นจะทำให้เราสามารถพลิกมองมุมต่าง จนนำมาสร้างการเรียนรู้ใหม่ๆให้กับตนเองได้ ดังนั้นสิ่งที่รู้มาแล้ว ก็ไม่จำเป็นว่ามันจะเป็นจริงเสมอไป เพราะทุกสิ่งย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา นักเขียนจะไม่ยึดติดกับอดีต หรือยึดติดกับความถูกต้องของตัวเองคนเดียว

7. เป็นนักแบ่งปัน

นักเขียนจะไม่เก็บเรื่องดีๆไว้กับตัวคนเดียว เค้าจะเป็นผู้มีหัวใจแห่งการให้และการแบ่งปัน เป็นนักพูดและนักเล่าเรื่องราวที่มีสีสัน ด้วยมุมมองว่าอยากสร้างประโยชน์และคุณค่าให้กับผู้อื่น นี่แหละทำให้เค้ามีเรื่องเขียนได้ในทุกๆวัน

8. จับประเด็นเก่ง

นักเขียนทุกคนเป็นนักอ่าน แต่นักอ่านทุกคนอาจไม่ใช่นักเขียน เพราะนักเขียนสามารถเชื่อมโยงประเด็นและเกาะติดกับประเด็นนั้นได้ เพื่อตอบจุดมุ่งหมายในการเขียนของตัวเอง เค้าจับประเด็นที่อ่านและโน้ตย่อไว้เพื่อเตือนความจำ และไม่รอช้าที่จะนำสิ่งที่ได้นั้นมาแชร์ให้คนอื่นๆต่อไป นั่นทำให้ความรู้นั้นยิ่งฝังแน่นในตัวเค้ามากยิ่งขึ้น จึงดูเหมือนว่าเค้ารู้ลึก รู้กว้าง แต่จริงๆแล้วเค้าเป็นแค่คนหยิบประเด็นมาต่อยอดและใช้ประโยชน์ ไม่ใช่แค่อ่านผ่านๆไป

9. มีวินัย

สุดท้าย นักเขียนจะต้องมีวินัยในการเขียน วินัยไม่ใช่เรื่องน่าเบื่อหรือต้องถูกบังคับ แต่วินัยเกินจากมีฉันทะ คือความรักในสิ่งที่ทำ เมื่อรักและเห็นประโยชน์ในสิ่งที่ทำแล้ว ก็ทำให้เกิดนิสัยในการเขียนอย่างต่อเนื่อง เป็นประจำ ทำซ้ำๆในเวลาเดิมๆ จึงกลายเป็นวินัยขึ้นมา

คุณลักษณะทั้ง 9 ประการนี้ อาจจะสร้างไม่ได้ในระยะสั้นๆ แต่เราจะสร้างขึ้นมาได้จากการฝึกฝนทักษะทั้ง 5 ด้าน คือ ฟัง คิด พูด อ่าน เขียน อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เวลาที่ผ่านไป ก็จะทำให้ทักษะยิ่งเพิ่มมากขึ้นและติดตัวอยู่กับเราตลอดไป

บทความโดย เรือรบ

 หากไม่รู้จะเริ่มต้นฝึกทักษะการเขียนอย่างไร หรืออยากเขียนเพื่อค้นพบตนเอง ค้นหาแรงบันดาลใจในการเขียน ปลดล็อคศักยภาพการเขียนในตัวเอง

15-16 ส.ค. นี้ พบกันใน หลักสูตร Intuitive Writing นำกระบวนการโดย อ. เรือรบ รายละเอียดคลิก

 

 

 

 

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Ads, Google Analytics

    Statistics

  • Google Analytics

    Statistics

  • Facebook

    Marketing/Tracking

  • ActiveCampaign

    Functional

  • ActiveCampaign

    Marketing/Tracking

Save