5 วิธีให้คนประทับใจตั้งแต่แรกพบ

5 วิธีให้คนประทับใจตั้งแต่แรกพบ

ไม่ว่าจะเรื่องงาน หรือในเรื่องความสัมพันธ์ คนส่วนใหญ่ย่อมอยากเป็นที่จดจำในทางที่ดีหรืออยากให้คนประทับใจเสมอ

ข่าวดีก็คือ คุณสามารถเป็นคนที่แตกต่างและโดดเด่นจากคนทั้งโลกได้ เพียงใช้ทริกง่ายๆ ที่คุณทำได้ทันทีที่อ่านจบ ดังต่อไปนี้

====

1.ทำตัวให้มีออร่าน่าจับตามอง 

          เริ่มจากการที่คุณต้องมีคาแรคเตอร์เป็นของตัวเองที่ชัดเจนมากๆ ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตัว การใช้คำพูด การเดินที่ดูสง่างาม อ้อ! การทำตัวให้มีออร่าในที่นี้ไม่ใช่ให้แต่งตัวแปลกแยกจนสุดโต่ง หรือทำอะไรที่ไม่เหมาะไม่ควร

ออร่า หมายความว่า ในทุกๆ กิจกรรมชีวิตของคุณ จะต้องดูเป็นตัวของตัวเอง คงไว้ซึ่งความงามสง่า จนผู้คนละสายตาจากคุณไม่ได้ แล้วจะต้องมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งจากคุณ ที่ทำให้คนเห็นแล้วคิดถึงคุณหรือธุรกิจของคุณได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องเอ่ยชื่อเลยทีเดียว

====

2.ฉายแสงแห่งภาวะผู้นำ

          คนมักจะจดจำผู้นำได้เสมอ คุณจึงต้องสร้างภาวะผู้นำให้เกิดขึ้นภายในตัวคุณ ภาวะผู้นำในที่นี้ ไม่ได้หมายความว่า คุณต้องเป็นหัวหน้าจึงจะมีภาวะผู้นำเท่านั้นนะ เพราะบางคนเป็นหัวหน้าแต่ไม่กล้าตัดสินใจ ถามความเห็นลูกน้อง ให้ลูกน้องตัดสินใจให้ตลอดก็มี

ถ้าตอนนี้ถ้าคุณรู้ตัวว่าไม่มีภาวะผู้นำ คุณสามารถหาที่เล่าเรียนและฝึกฝนได้ง่ายมาก แล้วคุณจะรู้ว่าการมีภาวะผู้นำช่วยสร้างการจดจำได้มากขนาดไหน

====

3.มีน้ำใจ แม้อีกฝ่ายยังไม่เอ่ยปากขอก็ตาม 

ลองเริ่มต้นด้วยเรื่องเล็กๆ น้อยๆ คุณก็สามารถสร้างความประทับใจได้แล้ว เช่น คุณนั่งอยู่ในรถไฟฟ้าแล้วเห็นคนหิ้วของพะรุงพะรังขึ้นมา  คุณสามารถลุกให้เขานั่งได้ หรือถ้าเขาไม่นั่งก็ช่วยถือของให้ เขาก็ประทับใจแล้ว

หรือแม้กระทั่งพาคนแก่หรือคนพิการข้ามถนน คนที่เห็นคุณทำแบบนี้จะต้องประทับใจอย่างแน่นอน แต่อย่าทำเพราะหวังสร้างภาพเด็ดขาด ให้ทำเพราะอยากทำจากใจจริง  เพราะนี่คือสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่นับวันจะห่างหายไปจากสังคมของเราเต็มทีแล้ว

====

4.พูดจาด้วยเสียงฉะฉานแต่ไม่แข็งกร้าว

          การพบใครสักคนเป็นครั้งแรก ไม่ว่าจะเป็นคู่ค้า ลูกค้า หรือใครก็ตามที่คุณเพิ่งเจอนั้น การพูดที่ดูฉะฉาน จะทำให้คุณดูฉลาด และมีเสน่ห์ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคุณต้องควบคุมน้ำเสียงให้ดี เพราะบางครั้งมันอาจทำให้คุณดูแข็งกร้าวจนคนฟังไม่พอใจได้เลย

====

5.สื่อสารด้วยสายตา ที่มาของความประทับใจ

          คุณเคยเห็นคนที่ยิ้มแต่ปาก แต่ดวงตาไม่ได้ยิ้มตามไหมหรือคนที่คุยกับเราแต่ตาของเขามองไปที่อื่น  เวลาเจอคนแบบนั้นช่างไม่น่าอภิรมย์เอาเสียเลยใช่ไหม ฉะนั้นถ้าหากคุณอยากทำให้ใครสักคนประทับใจตั้งแต่แรกแล้วล่ะก็ สิ่งที่คุณต้องทำคือ มองตาเขาในขณะที่คุณพูดกับเขา หรือฟังเขา

การมองตาต้องมองอย่างสุภาพ ไม่ใช่จ้องจนคู่สนทนารู้สึกอึดอัด ให้มองด้วยความรู้สึกว่าเรากำลังใส่ใจในสิ่งที่เขาพูด และตั้งใจพูดในสิ่งที่เราจะบอกเขานั่นเอง 

หนึ่งในทักษะสำคัญที่ทำให้คุณกลายเป็นคนที่คู่สนทนาประทับใจมากขึ้นก็คือทักษะการฟังอย่างใส่ใจ หรือ active listening ซึ่งคุณสามารถศึกษาและฝึกฝนได้ที่นี่

คุณอยากเป็นบุคคลที่น่าจดจำ หรือจะเป็นเหมือนคนทั่วๆ ไป คุณเลือกได้เสมอครับ

====

หนึ่งในทักษะที่ช่วยให้คนเชื่อมั่นและประทับใจคือทักษะการโน้มน้าวใจ ซึ่งคุณสามารถเรียนรู้และฝึกฝนได้ เราขอแนะนำหลักสูตร Win-win Negotiation เพื่อให้คุณมีทักษะในการเจรจาต่อรองอย่างมีประสิทธิภาพ คลิกที่นี่

เรียบเรียงโดย

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

3 วิธีขอเจ้านายย้ายแผนกอย่างราบรื่น

การทำงานในองค์กรใหญ่ต้องมีบ้างที่เราจะรู้สึกเบื่องาน รู้สึกว่างานไม่ท้าทายและไม่ตอบโจทย์ ไม่ตอบสนองเป้าหมายในชีวิตจนเราอยากที่จะเปลี่ยนงาน

ถ้าคุณกำลังมีความรู้สึกนี้และอยากลองทำงานแผนกอื่นที่คิดว่ามันจะ…

– ต่อยอดในสายอาชีพตัวเอง 

– ทำให้ตัวเองรู้รอบด้านขึ้นและเก่งขึ้น

ซึ่งการทำเช่นนั้นอาจเป็นการย้ายแผนกหรือย้ายสายงานภายในบริษัทเดิมก็ได้ แต่การบอกเจ้านายตรง ๆ ว่าขอไปอยู่แผนกอื่นก็อาจทำให้ทีมและเจ้านายคนปัจจุบันดูไม่ดีในสายตาคนนอก และคนในทีมอาจมองว่าคุณเห็นแก่ตัวที่ทิ้งทีมไปในช่วงนี้

ฉะนั้นก่อนที่คุณจะเริ่มปฎิบัติการเข้าไปคุยกับเจ้านาย คุณควรเรียนรู้ 3 วิธีต่อไปนี้เพื่อช่วยให้ทุกการเคลื่อนไหวของคุณเป็นไปอย่างราบเรียบและไร้ปัญหามากที่สุด

====

1. โฟกัสที่งานปัจจุบัน

ทุกครั้งที่คุณคิดจะย้ายไปอยู่ทีมใหม่หรืออยู่แผนกอื่น คุณควรจะต้องทำงานที่คุณรับผิดชอบให้ดีที่สุดเสียก่อน

การที่คุณทำงานในตำแหน่งเดิมของคุณได้ดีอยู่แล้ว จะทำให้คุณมีชื่อเสียงที่ดี  ได้รับเสียงชื่นชมทั้งในและนอกแผนก ทำให้คนต่างแผนกมองคุณในแง่บวกและอยากร่วมงานกับคุณมากขึ้น

ไม่ใช่เพียงแค่ทำงานได้ดีเท่านั้น คุณต้องสร้างผลงานให้โดดเด่นจนทั้งตัวคุณและเจ้านายของคุณได้หน้า หรือได้รับความชื่นชมจากทีม Management

สิ่งนี้จะทำให้ผู้บริหารหันมาสนใจคุณมากขึ้น คุณอาจนำเสนอโปรเจ็คใหม่ที่คุณริเริ่มขึ้นมาเองก็ได้  ไม่ว่าจะเป็นโครงการที่ทำให้บริษัทประหยัดเงินมากขึ้น วิธีหาลูกค้าและเพิ่มรายได้ให้บริษัทมากขึ้น เป็นต้น 

นอกจากนี้คุณไม่ควรที่จะให้ความสำคัญกับงานอื่น มากกว่างานที่ตัวเองรับผิดชอบโดยตรง  อย่าลืมพัฒนาทักษะที่สอดคล้องกับตำแหน่งหรือแผนกที่คุณต้องการจะย้ายไปมากขึ้น 

เช่น ถ้าคุณอยากย้ายจากการเป็นเซลล์ไปเป็นมาร์เก็ตติ้ง สิ่งที่คุณควรมีคือทักษะการวางแผน  ทักษะ Strategic thinking เป็นต้น 

====

2. พูดกับเจ้านายตรง ๆ

เป็นเรื่องสำคัญมากที่คุณควรแจ้งเจ้านายที่เป็น Direct report ของคุณเป็นคนแรก  คุณอาจหาเวลาที่ทั้งคู่สะดวกนอกเวลางาน หรือ งานเลี้ยงส่งคนในบริษัทก็ได้ เพราะจะช้าหรือเร็วเจ้านายคุณก็ต้องรู้ซึ่งเขาควรรู้เป็นคนแรก

ถ้าคุณและเจ้านายมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน คุณอาจขอความช่วยเหลือจากเจ้านายให้พูดกับผู้ใหญ่ในบริษัทให้

แต่ถ้าคุณทั้งสองคนมีความสัมพันธ์ที่ไม่ค่อยดีหรือไม่ค่อยถูกจริตกันเท่าไหร่  คุณอาจปรึกษาคนที่ตำแหน่งสูงกว่าในเรื่องการย้ายแผนก  อย่าลืมว่า ไม่ว่าเจ้านายคุณจะแย่แค่ไหน จะทำงานเอาหน้ามากแค่ไหน หรือมีความผิดพลาดมากแค่ไหน คุณก็ไม่ควรพูดถึงเจ้านายในทางแย่ ๆ ให้คนอื่นฟังเด็ดขาด 

คุณไม่ควรสร้างศัตรูในโลกการทำงานเพราะคุณไม่มีทางรู้หรอกว่าใครคือพวกใครและยังทำให้คุณดูแย่ในสายตาคนอื่นอีกด้วย คนอื่นจะมองว่าคุณเอาเรื่องงานมาปนกับเรื่องส่วนตัวจนดูไม่เป็นมืออาชีพ

ทั้งหมดนี้อาจส่งผลให้เจ้านายคนใหม่ไม่ปลื้มกับพฤติกรรมนินทาและสร้างข่าวลือของเจ้านายคนเก่า ๆ  นี่คือเหตุผลที่คุณไม่ควรเอาชื่อเสียงของตัวเองไปเสี่ยงกับการกระทำแบบนี้

ถ้าคุณคิดว่าการพูดกับเจ้านายตรง ๆ เป็นเรื่องที่ยากเกินไป ขอแนะนำให้คุณอ่าน 4 สิ่งสำคัญที่ควรเตรียมพร้อมก่อนคุยเรื่องยาก คลิกที่นี่ 

====

3. มีโจทย์ชีวิตที่ชัดเจน

เหตุผลที่ดีที่สุดในการย้ายแผนกคือการอ้างเรื่อง Career Path  เพราะมันคืออนาคต  คือสิ่งที่คุณฝันไว้  คือตำแหน่งงานที่คุณอยากจะเป็น คือก้าวสำคัญที่ทำให้คุณประสบความสำเร็จ และคุณต้องการสิ่งนั้นตอนนี้ ในเวลานี้ มันคือจังหวะเหมาะสมที่คุณจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนเพื่อออกจาก Comfort zone ของตัวเองแล้ว

ถ้าคุณใช้เหตุผลนี้ และคุณมีความสามารถในการทำงานที่เพียงพอ ทักษะของคุณสามารถต่อยอดและพัฒนาให้บริษัทก้าวหน้าขึ้นได้ แน่นอนว่าบริษัทจะต้องการตัวคุณอยู่แล้ว

การที่คุณรู้รอบด้านเท่าไหร่ และการที่คุณทำงานได้หลายฟังก์ชันจะยิ่งเป็นประโยชน์กับองค์กรมากขึ้นเท่านั้น และคุณควรมีเส้นตายที่ชัดเจนให้กับเจ้านายและบริษัทเพื่อประกอบการตัดสินใจ

ถ้าเจ้านายและผู้บริหารระดับสูงให้เหตุผลว่าตำแหน่งไม่ว่าง คุณควรถามต่อว่า แล้วตำแหน่งนั้นจะว่างเมื่อไหร่ ,มีแผนที่จะเปิดรับเพิ่มไหม และเปิดเมื่อไหร่ และคิดว่าจะให้โอกาสคนในบริษัทก่อน หรือจ้างคนใหม่

ถ้าองค์กรและบริษัทของคุณให้คำตอบที่ไม่ชัดเจน มีการเลื่อนและผลัดออกไปเรื่อย เจ้านายพูดอย่าง HR พูดอีกอย่าง แสดงว่าคุณกำลังถูกหลอกเพื่อผลัดไปเรื่อย ๆ แล้ว

ถ้าเป็นเช่นนั้น คุณควรหาบริษัทอื่นเพื่อขยับขยายช่องทางการทำงานของตัวเอง คุณควรมีแผนสำรองมากกว่าหนึ่งแผน ในกรณีที่แผนสองพลาด แผนสามและสี่ยังตามมา อย่าให้คุณเป็นตัวเลือกของเขา แต่ทำให้พวกเขาเป็นตัวเลือกคุณ

การเจรจาเพื่อขอเจ้านายย้ายแผนกคือทักษะที่ทุกคนสามารถเรียนรู้และฝึกฝนกันได้ เราขอแนะนำหลักสูตร Win-win Negotiation เพื่อให้คุณมีทักษะในการเจรจาต่อรองอย่างมีประสิทธิภาพ คลิกที่นี่

====

เรียบเรียงโดย Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

(ที่มา: http://www.lifehacker.co.uk/2016/01/12/how-to-tell-your-boss-that-you-want-to-transfer-to-another-team)

Categories EQ

สุดยอดเทคนิคเพิ่มพลังการโน้มน้าวให้จนทุกคนเชื่อมั่น

สุดยอดเทคนิคเพิ่มพลังการโน้มน้าวใจให้ทุกคนเชื่อมั่น

การจะสร้างองค์กรที่เต็มไปด้วยประสิทธิภาพได้  คุณจำเป็นต้องมีทักษะการโน้มน้าวใจคน ซึ่งจำเป็นต้องเรียนรู้และฝึกฝนอย่างจริงจัง  

ต่อให้มีตำแหน่งที่สูงก็ไม่ได้หมายความว่าจะโน้มน้าวใจคนอื่นได้เสมอไป ในขณะที่บางคนไม่ได้มีตำแหน่งอะไรเลยแต่จับพลัดจับผลูต้องมานำทีมแบบไม่เป็นทางการ  คนเหล่านี้จึงต้องหาวิธีการว่าทำอย่างไรที่จะให้คนอื่นยินดีรับฟังและนำสิ่งที่เขาบอกไปปฏิบัติตาม

====

การจะโน้มน้าวใจคนอื่นได้สำเร็จมีเคล็ดลับสำคัญอยู่ที่การทำให้คนอื่นรู้สึกว่าพวกเขาอยากจะฟังคุณ  นั่นหมายความว่าคุณจะต้องเป็นคนที่ดูมีคุณค่าจนน่ารับฟังซึ่งถือเป็นเรื่องที่ยากมากในยุคนี้ เพราะทุกคนมีสื่อมากมายรายล้อมที่พวกเขาติดตาม

อีกทั้งสังคมยังมีบรรยากาศแห่งความเร่งรีบ มีแหล่งข้อมูลให้เสพบริโภคเต็มไปหมด  การที่จะทำให้คนอื่นยินดีรับการจูงใจจากคุณจำเป็นต้องมีวิธีการที่ถูกต้อง ดังนี้

====

เริ่มต้นจากการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดี 

ถ้าเขาชอบคุณ เขาก็อยากจะฟังคุณ นี่คือโอกาสที่จะชักจูงให้พวกเขาคล้อยตามได้ การมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่นถือเป็นก้าวแรกที่ดีที่สุด ผู้คนในทีมจะเริ่มลดการ์ดลงจนมองเห็นความตั้งใจและพลังงานที่คุณอยากจะส่งไปหาพวกเขาได้

====

ฝึกการเป็นผู้ฟังที่ดี 

คนทุกคนล้วนต้องการมีตัวตน และอยากเป็นคนสำคัญ หากคุณอยากจะชักจูงใครสักคน คนๆ นั้นจะต้องอยากรับฟังคุณด้วยความเต็มใจ การทำให้เขารับรู้ได้ว่าคุณเป็นฝ่ายเริ่มรับฟังเขาก่อน ให้ความสำคัญกับสิ่งที่เขาอยากจะพูดก่อน  เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้อีกฝ่ายอยากจะให้ความสำคัญแก่คุณกลับมา ซึ่งสิ่งแรกสุดที่เขาจะทำตอบแทนคุณก็คือการรับฟังเช่นเดียวกัน

 
หนึ่งในทักษะการฟังที่มีประสิทธิภาพคือการฟังอย่างใส่ใจ หรือ active listening ซึ่งคุณสามารถศึกษาและฝึกฝนได้ที่นี่

====

มีภาษากายที่เหมาะสม 

จัดวางบุคลิกท่าทางให้ดูน่าเชื่อถือและเหมาะสม  ไม่กอดอกปกป้องตัวเอง ขณะพูดและฟัง จัดวางท่วงท่าแขนขาให้อีกฝ่ายเห็นถึงความมั่นคงแน่วแน่ วิธีการพูดที่มั่นคงจริงจังไม่อ่อนแอทำให้อีกฝ่ายอยากจะรับฟังด้วยความสบายใจไปพร้อม ๆ กับการรู้สึกถึงพลังอำนาจที่สะกดให้พวกเขาคล้อยตาม ทั้งหมดนี้นับเป็นเรื่องจำเป็นที่คุณต้องฝึกฝน

====

ทำให้คนอื่นเห็นว่าคุณชำนาญเรื่องที่จะพูดจริงๆ

 วิธีการคือการเอาตัวคุณและชื่อของคุณไปผูกติดกับเรื่องนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นในงานสัมมนาวิชาชีพ การเข้าร่วมโปรแกรมอบรมต่างๆ หรือมีบทบาทเป็นผู้นำสักอย่างในด้านนั้นๆ วิธีการเหล่านี้จะทำให้คนในสังคมรับรู้ถึงการมีตัวตนในด้านดังกล่าว ทำให้ใคร ๆ ก็พร้อมที่จะเปิดอกรับฟังคุณ

====

วางกลยุทธ์อย่างเหมาะสม

 เมื่ออยากจะชักจูงให้คนคล้อยตามไอเดียใหม่ ๆ คุณจะต้องกางแผนออกมาดูแล้วปักหมุดว่าใครอยู่ตำแหน่งไหน ระดับใด มองให้ออกว่าจะพุ่งเข้าไปชักจูงคนนั้นด้วยวิธีการไหน จะใช้ใครเป็นผู้นำทางความคิดของเขาได้ไหม มองหาว่าใครอาจจะเป็นภัยคุกคามในแผนการนี้ และถ้าสามารถทำให้คนนั้นกลายมาเป็นพันธมิตรได้ก็จะเป็นเรื่องที่ดีมาก

====

ให้ในสิ่งที่พวกเขาต้องการ 

การรู้เขารู้เราย่อมทำให้เรามีชัยชนะทุกครั้ง กรณีนี้ก็เช่นกัน ถ้าหากหาได้ว่าสิ่งที่คนเหล่านี้อยากได้คืออะไร คุณจะสามารถใช้สิ่งนั้นเป็นเครื่องมือในการสร้างแรงจูงใจได้ง่ายขึ้น ทุกคนมักจะคิดอยู่เสมอว่าถ้าหากตัดสินใจตามที่คุณนำเสนอพวกเขาจะได้อะไรกลับไป ถ้าหากผลลัพธ์มันตรงกับภายในใจล่ะก็ คุณย่อมจะประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน 

ทั้งหมดนี้คือวิธีการจูงใจให้คนคล้อยตาม จงอย่าลืมว่า ทุกสิ่งควรจะเป็นไปในทางบวก สร้างคุณค่ามูลค่า มากกว่าจะเป็นการขู่เข็ญคุกคาม 

ทักษะการโน้มน้าวใจผู้อื่นและการเจรจาต่อรองเป็นทักษะที่จะทำให้คุณเป็นต่อในการทำงาน เราขอแนะนำหลักสูตร Persuasion and Negotiation Mastery เพื่อฝึกฝนเทคนิคการโน้มน้าวใจและการเจรจาต่อรองสำหรับหัวหน้างาน คลิกที่นี่ 
===== 

เรียบเรียงจาก “How to Increase Your Influence at Work” โดย Rebecca Knight จาก Harvard Business Review 16 กุมภาพันธ์ 2018

เรียบเรียงโดย Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

โน้มน้าวใจทีมงานอย่างไรจึงจะได้ผลดีที่สุด

โน้มน้าวใจทีมงานอย่างไรจึงจะได้ผลดีที่สุด

หนึ่งในคำถามที่มีคนถามมากที่สุด เมื่อผมได้รับเชิญไปจัดอบรมเรื่องทักษะการสื่อสารให้กับองค์กรต่าง ๆ คือ “จะโน้มน้าวใจทีมงานยังไง ให้ได้ผล”

ผู้คนส่วนใหญ่อยากรู้ว่า มีเทคนิควิธีการอะไร ที่จะโน้มน้าวใจคนอื่นให้คล้อยตามเรา ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า ทีมงาน หรือกระทั่งคนในครอบครัว

ผมอาศัยหลัก Persuasion Mastery ครับ.. หากคุณอยากจะมีพลังในการโน้มน้าวผู้คน นี่คือ 3 สิ่งที่ควรโฟกัส และฝึกทำให้ได้ครับ

====

1. POWER – มีพลังงานสูง

คุณไม่อาจโน้มน้าวใจใครได้ ถ้าเขาสนใจบ้างไม่สนใจบ้าง ดังนั้น คนที่มีพลังงานต่ำ ทำตัวน่าเบื่อ น้ำเสียงท่าทางซังกะตาย ไม่อาจโน้มน้าวใครได้อย่างแน่นอน

การมีพลังงานสูง ไม่ใช่ต้องเสียงดัง ทำตัวไฮเปอร์ตลอดเวลา เทคนิคง่าย ๆ คือ “การดำรงอยู่กับสถานการณ์และคนตรงหน้าอย่างเต็มเปี่ยม ให้พลังในตัวเราโฟกัสกับคน ๆ นั้น และสิ่ง ๆ นั้น เต็มที่”

นั่นก็คือการรับฟัง ให้ความใส่ใจ ให้ความสำคัญ สบตา และกระตือรือร้นที่จะสนทนากับคนตรงหน้าอย่างแท้จริง

====

2. UNDERSTANDING – มีความเข้าใจที่แท้จริง


การสนทนากับใครให้เกิดผลสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นการโน้มน้าว เจรจาต่อรอง นอกจากการมีพลังงานสูงแล้ว คุณต้องมีความเข้าใจในตัวเองอย่างชัดเจน ว่าต้องการอะไร ไม่ต้องการอะไร สิ่งใดทำได้ สิ่งใดไม่สามารถทำได้

ความชัดเจนในตัวเอง ทำให้คุณมีจุดยืนในการเจรจาต่อรอง และสามารถเปิดเผยความรู้สึกและความจริงในใจได้

แต่การรู้ตัวเองก็เป็นเพียงครึ่งเดียว ที่เหลือคือการรับฟัง การทำความเข้าใจ ว่าจุดยืนของอีกฝ่ายเป็นอย่างไร เขาต้องการอะไร รู้สึกอย่างไร อะไรที่เขาสามารถทำได้และไม่ได้

Active Listening ทักษะการฟังที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้คนในทีม คือหนึ่งทักษะสำคัญที่ช่วยให้คุณมีความเข้าใจที่แท้จริง เรียนรู้และฝึกฝนคลิกที่นี่

เมื่อมีความเข้าใจที่แท้จริงจากทั้ง 2 ฝ่ายแล้ว ความสัมพันธ์ที่ดีจะเกิดขึ้น คุณจะเริ่มมองเห็นความเป็นไปได้ร่วมกัน ไม่ใช่เพียงประโยชน์ของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอย่างเดียว และนั่นจะเปิดพื้นที่ตรงกลางในการสนทนาและสื่อสาร ให้มุ่งไปในทิศทางเดียวกัน

ดังนั้น ความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดี จะทำให้ผู้คนไว้วางใจและคล้อยตามในที่สุด

====

3. POSSIBILITY – มองหาความเป็นไปได้ใหม่ ๆ


การตั้งธงไว้ก่อน มีคำตอบล่วงหน้า ย่อมทำให้เกิดการถกเถียงกันได้ง่าย เกิดความเครียด และอาจทำให้บางฝ่ายรู้สึกเสียโอกาส

การพยายามประนีประนอม ก็ยังเป็นการเจรจาต่อรองที่ไม่ได้ผลนัก เพราะต้องยอม ต้องลดสิ่งที่ต้องการ แต่ละฝ่ายอาจรู้สึกว่าต้องยอมแลก หรือต้องสูญเสียบางอย่าง

หากคุณมีความเข้าใจในความต้องการของตัวเองและอีกฝ่ายอย่างชัดเจน คุณพูดคุยอย่างเท่าเทียมไปสักพัก จะตกผลึกจนเจอพื้นที่แห่งความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ซึ่งบางครั้งไม่ได้มีในตัวเลือกเดิม และอาจเป็นสิ่งที่ทั้งสองฝ่ายคิดไม่ถึงมาก่อน

ความเป็นไปได้ใหม่นี้ จะทำให้ทั้งสองฝ่ายได้มากขึ้น เป็น Win-Win Situation เป็นไปในทิศทางที่ทั้งคู่ต้องการ

เมื่อสามารถเปลี่ยนจากการต่อรอง เป็นการเปิดพื้นที่ให้กับสิ่งใหม่ ทำให้สองฝ่ายได้มากกว่าเดิม คุณย่อมจะได้รับความร่วมมือและความเต็มใจกว่าการต่อรองหลายเท่า

กล่าวโดยสรุป การโน้มน้าวใจให้ได้ผล ไม่ได้มาจากว่า ต้องพูดยังไง หรือตั้งธงแค่จะเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว.. คุณควรต้องมี Mindset ที่พร้อมจะรับฟัง ทำความเข้าใจ เปิดรับโอกาสและความเป็นไปได้ใหม่ ๆ จากการสนทนากับอีกฝ่าย นั่นเอง

ลองนำวิธีการทั้งสามนี้ไปปรับใช้ดูนะครับ ผมเชื่อว่าคุณจะได้รับโอกาสดี ๆ และมีคนเต็มใจร่วมมือกับคุณ แน่นอนครับ

====

ถ้าคุณอยากฝึกทักษะการโน้มน้าวใจเพื่อให้คนในทีมของคุณทำสิ่งดีดีเพื่อเป้าหมายขององค์กร ขอแนะนำหลักสูตร Persuasion and Negotiation Mastery ดูรายละเอียด คลิกที่นี่

บทความโดย
CEO เรือรบ
ผู้ก่อตั้ง Learning Hub Thailand

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

 

อะไรเป็นเทคนิคที่ดีที่สุดในการเจรจาต่อรอง

อะไรเป็นเทคนิคที่ดีที่สุดในการเจรจาต่อรอง

โดยปกติแล้วไม่มีใครอยากให้เกิดเรื่องเซอร์ไพรซ์ในการเจรจาต่อรองเพราะคิดว่าจะทำให้สิ่งต่าง ๆ อยู่เหนือการควบคุม

แต่บทความนี้จะบอกคุณว่าทำไมเซอร์ไพรซ์จึงเป็นเทคนิคที่ดีที่สุดในการเจรจาต่อรอง 

หลายคนมักจะนึกถึงคำว่า ‘เซอร์ไพรส์’  เป็นเหตุการณ์ในลักษณะ จู่ๆ ก็ด่ากราด ขอยุติการเจรจา ขอเพิ่มผลประโยชน์ให้มากกว่าเดิม หรือกระทั่งเกิดการใช้กำลัง

 แต่การเซอร์ไพรส์ก็ใช่ว่าจะต้องเป็นไปในทางลบเสมอไป เพราะหากใช้เซอร์ไพรซ์ให้เป็นมันจะสร้างผลลัพธ์ทางบวกได้อย่างไม่น่าเชื่อ เช่น เกิดการร่วมมือ การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ การทำให้ระบบแย่ ๆ ที่อยู่มานานได้รับการแก้ไขนั่นเอง

====

‘เซอร์ไพรส์’ คือ สภาวะที่เกิดกับสมองและความคิดของเรา

ซึ่งประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่

 1) หยุดนิ่ง 
2) หาทางออก
3) ปรับเปลี่ยน 
4) แชร์ 

เมื่อได้ยินหรือได้พบสิ่งที่ไม่คาดฝันเราจะเกิดภาวะหยุดนิ่งก่อน สมองจะเริ่มหาคำอธิบายและทางออกของสิ่งนั้น ไม่นานนักเราจะปรับเปลี่ยนมุมมองและสุดท้ายก็จะส่งต่อแบ่งปันให้แก่คนอื่น

การทำเซอร์ไพรส์กับคู่เจรจาจำเป็นต้องวางแผนเสียก่อนว่าจะเล่นมุกเซอร์ไพรส์อย่างไรให้ผลลัพธ์ออกมาดีที่สุด แต่เราก็ไม่สามารถคาดหวังว่ามันจะลงเอยด้วยดีได้ทุกครั้งไป อย่างไรก็ตาม ถ้าเราหมั่นใช้ทักษะและฝึกฝนให้ดี เซอร์ไพรส์ในทางบวกน่าจะช่วยทำให้การเจรจาสำเร็จพึงพอใจได้ทุกฝ่าย

เช่น เทคนิคดังต่อไปนี้…

====

1.การใช้คำถาม

โดยปกติ แต่ละฝ่ายมักจะมี “ผลลัพธ์ในใจ” ที่คาดหวังอยู่แล้ว และคิดว่าอีกฝ่ายก็มักจะมาเพื่อเจรจา ขอเพิ่ม ขอลด ขอปรับหรือขอให้ชะลอ แต่การทำลายสิ่งที่อีกฝ่ายคาดหวังว่าจะได้ยินก็คือเซอร์ไพรส์ซึ่งอาจจะเปลี่ยนโฉมหน้าการเจรจา นั่นคือ การใช้คำถามที่อีกฝ่ายไม่คิดว่าจะได้ยิน

เช่น เมื่อผู้จัดการจะต้องต่อรองเรื่องค่าแรงกับลูกน้อง แน่นอนว่าฝ่ายลูกน้องจะเรียกเงินที่น่าจะสูงพอสมควร ส่วนฝ่ายเจ้านายก็มักจะต่อรองให้เพิ่มนิดหน่อยหรือไม่ก็ยืนกรานไม่ปรับใดๆ ลูกน้องย่อมคาดหมายว่าจะเจออะไรแบบนี้อยู่แล้ว แต่หากผู้จัดการเปลี่ยนจาก “ที่คุณเสนอมามันเกินงบประมาณของทีม” ไปใช้คำถามที่น่าสนใจอย่าง “ลองเล่าให้ฟังหน่อยสิ ทุกวันนี้คุณประสบปัญหาเรื่องการเงินยังไงบ้าง แชร์ให้ผมเข้าใจหน่อย” 

ผลลัพธ์ที่ตามมาคือ ลูกน้องจะได้แชร์ความต้องการอย่างแท้จริงในชีวิต ทั้งคู่จะมีความเข้าใจกันมากขึ้น เริ่มมองหาความเป็นไปได้ที่จะทำงานและอยู่รอดได้จริงๆ มากขึ้นด้วย

====

2. พูดว่า “ได้ แต่ว่า….”

การเจรจาที่มีแต่ “ได้” และ “ไม่ได้” คือการตั้งกำแพงระหว่างกันทั้งสองฝ่าย ซึ่งทั่วไปก็คาดหวังว่าจะทำลายกำแพงของอีกฝั่งเพื่อที่ตัวเองจะได้ผลประโยชน์ตามที่ต้องการ 

แต่การเซอร์ไพรส์โดยการตอบรับ แต่ยื่นเงื่อนไขเพิ่มเติมในทางสร้างสรรค์ จะช่วยให้อีกฝ่ายเริ่มคิดหาความร่วมมือ ในการสร้างตัวเลือกใหม่ๆ และลดภาวะเผชิญหน้าในการต่อรองลง

ลองนึกถึงการตอบรับแต่สร้างเงื่อนไขดังนี้ 

“ผมอยากได้เงินเพิ่ม 10% “ได้สิ ถ้าคุณลดต้นทุนได้ 10%

“ผมอยากได้ค่าลิขสิทธิ์ในหนังสือเพิ่ม” “ได้สิ ถ้ามันสามารถขายได้ 1 พันเล่ม”

“ผมอยากทำงานทางไกลจากที่บ้าน” “ได้สิ แต่อาจจะต้องลดเงินเดือนลงบ้าง”

====

3.เปิดฉากด้วยการสร้างความร่วมมือและปรองดอง

เมื่อต้องเจรจาในข้อขัดแย้งสักอย่าง ต่างฝ่ายย่อมมีกำแพงและตั้งธงเอาไว้ว่าตัวเองจะต้องได้เท่าไหร่ แต่เซอร์ไพรซ์คือแทนที่จะเกิดการเผชิญหน้าด้วยข้อยัดแย้ง ฝ่ายหนึ่งกลับสร้างสะพานเชื่อมทั้งสองฝ่ายเข้าด้วยกันโดยพูดให้รู้สึกว่านี่คือความร่วมมือที่จะทำให้ทั้งคู่มีความสุขในตอนท้าย 

สมมติว่า เพื่อนบ้านเล่นดนตรีเสียงดังมากๆ เมื่อเราจะเข้าไปเผชิญหน้ากับเพื่อนบ้านในวันหนึ่งเพื่อขอให้เขาลดเสียงลง แทนที่จะเป็นการต่อว่าต่อขานหรือตักเตือนให้ “เงียบๆ หน่อย” แต่กลับสร้างเซอร์ไพรส์ด้วยการชวนคุยเรื่องดนตรี แล้วชวนกันฟังเพลงที่ชอบ จะทำให้โทนของการพูดคุยถูกเซ็ทให้เริ่มด้วยความปรองดอง และการขอให้เบาเสียงในตอนท้ายนั้นกลายเป็นเรื่องเล็กน้อยมากๆ

====

จดจำเอาไว้ว่า การเซอร์ไพรส์ ไม่ใช่การดูถูก การวิพากษ์วิจารณ์ หรือใช้คำเหยียดหยาม แต่จะต้องเป็นเซอร์ไพรส์ในทางบวก เช่น จู่ ๆ ก็เริ่มด้วยการขอโทษ ใช้ความเป็นพวกเดียวกัน หรือแสดงท่าทีเห็นอกเห็นใจอีกฝ่ายด้วยความจริงใจ เป็นต้น

ถ้าคุณกำลังจะต้องไปเจรจาต่อรองหรือเจรจาเพื่อโน้มน้าวใจคนแนะนำให้คุณอ่านสุดยอดเทคนิคเพิ่มพลังโน้มน้าวใจให้ได้ผล คลิกที่นี่

และถ้าคุณต้องการเรียนรู้และฝึกฝนทักษะการเจรจาต่อรองตั้งแต่ระดับพื้นฐานไปจนถึงขั้นแอดวานซ์ เราขอแนะนำหลักสูตร Persuasion & Negotiation Mastery คลิกที่นี่

====

เรียบเรียงจาก “When Surprise Is a Good Negotiation Tactic” โดย Roi Ben-Yehuda and Tania Lunaจาก Harvard Business Review 3 ตุลาคม 2019

เรียบเรียงโดย Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 093-925-4962

5 บทบาทของผู้จัดการที่ต้องเปลี่ยนให้ทันยุค

5 บทบาทของผู้จัดการที่ต้องเปลี่ยนให้ทันยุค

บางทีก็แอบคิดเล่น ๆ ไม่ได้นะว่าถ้าสามารถไล่ผู้จัดการที่ล้าสมัยออกจากบริษัทได้ ก็น่าจะช่วยบริษัทประหยัดงบประมาณไปได้เยอะเลย

คุณทราบไหมว่าบริษัทต้องสูญเม็ดเงินไปจำนวนมากกับการจ้างคนมานั่งเฝ้าคนอื่นทำงานไปวัน ๆ และเอาเข้าจริงเราไม่ได้ต้องการผู้จัดการแบบนั้นหรอก!

เมื่อโลกธุรกิจมีความท้าทายมากขึ้นในทุก ๆ วัน ‘ผู้จัดการ’ จึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิธีการคิดและวิธีการบริหารคนเพื่อปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยในอัตราที่มากกว่าความเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจ ด้วยการปรับเปลี่ยนบทบาททั้ง 5 ต่อไปนี้

====

1. เปลี่ยน ‘การสั่ง’ เป็น ‘การสอน’

สำหรับการทำงานในโรงงานได้มีการเปลี่ยนมาใช้หุ่นยนต์แทนแรงงานมนุษย์มากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายและตัดปัญหาความผิดพลาดที่เกิดจากมนุษย์ หุ่นยนต์ที่เป็นปัญญาประดิษฐ์ (AI.) เหล่านี้ล้วนไม่ได้ต้องการให้ใครมาสั่งงานเลย

ผู้จัดการที่ต้องควบคุมดูแลหุ่นยนต์ต้องปรับวิธีการบริหารใหม่ แทนที่จะปล่อยให้หุ่นยนต์ทำงานตามออเดอร์ไปวันๆ ควรทำความเข้าใจหลักการการใช้แรงงานจากหุ่นยนต์ คอยสังเกตและมองหาวิธีในการที่จะใช้ประโยชน์จากพวกมันให้ได้มากที่สุดและมีประสิทธิภาพที่สุด

เมื่อรวบรวมความรู้ในการทำงานร่วมกับหุ่นยนต์ได้แล้ว คุณจะสามารถสอนหรือถ่ายทอดความรู้เหล่านั้นให้กับบรรดาคนที่ต้องร่วมงานกับหุ่นยนต์ได้ต่อไป
====

2. มองจาก ‘แคบ’ ให้เป็น ‘กว้าง’

ผู้จัดการจำนวนมากยุ่งกับลูกน้องตัวเล็ก ๆ มากเกินไป ไม่ยอมปล่อยให้หัวหน้าโดยตรงของคนเหล่านั้นบริหารจัดการเอง และนั่นก็ทำให้พวกเขาเข้าไปจำกัดความคิดของลูกน้องโดยไม่ได้ตั้งใจ ทำให้ไอเดียใหม่ๆ ถูกสกัดอย่างน่าเสียดายด้วย

ผู้จัดการควรกระตุ้นให้ลูกน้องแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีและมีโอกาสในการแสดงไอเดียที่แตกต่างโดยไม่พยายามไปควบคุมความคิดมากเกินไป

ผู้จัดการหลายคนเข้าใจว่าตัวเองเก่งและ ‘เอาอยู่’ ในทุกสถานการณ์จึงหลงคิดว่าไม่ต้องการความช่วยเหลือจากใคร แต่กลายเป็นว่าผู้จัดการที่มีประสิทธิภาพคือผู้จัดการที่สามารถรวมทีมจากหลายแผนกเพื่อร่วมกันมองหาข้อผิดพลาดและแนวทางแก้ไขจากหลากหลายมุมมองได้

แนวทางนี้จะช่วยทำให้มองเห็นภาพได้กว้างมากขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ ดีกว่าการนั่งคิดเองคนเดียวเป็นไหน ๆ
====

3. ก้าวออกจาก ‘วังวนซ้ำซาก’

ผู้จัดการยุคเก่ามักจะชอบอะไรที่คาดเดาได้และเป็นแบบแผน ทุกอย่างต้องอยู่ในระเบียบอย่างที่เคยเป็นมาและคาดหวังให้เป็นแบบนั้นตลอดไป

ถึงแม้การปล่อยให้อะไร ๆ ที่เข้าที่อยู่แล้วเป็นแบบนั้นต่อไปจะเป็นเรื่องดี แต่ก็อาจทำให้ความคิดหยุดนิ่ง ผู้จัดการเองก็จะสนใจเฉพาะสิ่งที่ตัวเองรู้และเข้าใจแล้วเท่านั้น

องค์กรต้องการผู้จัดการที่รู้จักคิดใหม่ทำใหม่ตลอดเวลา ไม่ใช่เฉพาะเวลาที่บริษัทกำลังจะเจ๊ง แต่ในช่วงที่บริษัทกำลังประสบความสำเร็จมาก ๆ ก็ต้องการเช่นกัน
====

4. เลิกแก้ปัญหาเพียงอย่างเดียว

ผู้จัดการส่วนใหญ่สารภาพว่างานหลักของพวกเขาคือการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กร ซึ่งนั่นไม่ควรเป็นหน้าที่หลักเลยสักนิด

ผู้จัดการควรใช้เวลาในการค้นหาวิธีบริหารจัดการใหม่ ๆ ที่ทำให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่นและเกิดปัญหาให้น้อยที่สุด ตลอดจนสนับสนุนให้ลูกน้องมีส่วนร่วมในการทดลองสิ่งใหม่ ๆ ที่ท้าทายด้วย
====

5. คิดให้เหมือนเจ้าของบริษัท

หลายคนมองว่าการทำงานบริษัทก็คือการเป็นลูกจ้างเท่านั้น และนั่นก็ทำให้ผู้จัดการหลายคนโฟกัสกับการเอาใจหัวหน้าเพื่อความอยู่รอดจนไม่สนใจอะไรอื่นเลย

ความคิดของผู้จัดการกลุ่มนี้จึงมักจะวนเวียนอยู่แต่กับความต้องการของหัวหน้าและติดอยู่ในกรอบ การคิดให้เหมือนเจ้าของบริษัทจะช่วยให้ผู้จัดการมองภาพต่าง ๆ ได้กว้างมากขึ้นและและลงมือทำอะไรได้มากขึ้น ก่อให้เกิดแรงกระตุ้นภายในตัวเองและในตัวลูกน้องด้วย

เราเชื่อว่าไอเดียทั้งห้านี้จะทำให้ภาพของผู้จัดการไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป แน่นอนว่าเมื่อผู้จัดการเปลี่ยน องค์กรก็จะขับเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วเหมือนจรวดเลยทีเดียว

ถ้าคุณคือผู้จัดการมือใหม่ เราขอแนะนำให้อ่าน ก้าวแรกสู่การเป็นผู้จัดการ เพื่อเรียนรู้และฝึกฝนวิธีการพัฒนาตัวเองให้มีทักษะของผู้จัดการที่มีประสิทธิภาพ ที่นี่
====

หนึ่งในบทบาทสำคัญของผู้จัดการที่ต้องเปลี่ยนไปก็คือ ผู้จัดการที่เป็นโค้ช คุณสามารถเรียนรู้และฝึกฝนทักษะการโค้ชและให้ feedback ได้ในหลักสูตร High Impact Coaching and Feedback คลิกที่นี่

เรียบเรียงจาก “The Role of a Manager Has to Change in 5 Key Ways” โดย Joseph Pistrui and Dimo Dimov จาก Harvard Business Review 26 ตุลาคม 2018

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

4 เทคนิคสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ภายในทีม

4 เทคนิคสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ภายในทีม

หนึ่งในเรื่องที่คนทำงานยุคนี้ต้องเผชิญอย่างแน่นอนก็คือ ‘การเปลี่ยนแปลง’

สิ่งนี้อาจทำให้คนที่ไม่ค่อยชอบอัพเดทเกิดอาการงุนงงจนวิงเวียนได้  เพราะโลกทุกวันนี้ยังหมุนเร็วจนทำให้ทักษะการทำงานทั้งหมดต้องปรับปรุงอยู่ตลอดเวลาอีกด้วย

ผลจากการสำรวจในปี ค.ศ.  2018 พบว่า บรรดาทักษะอันดับต้น ๆ ที่ธุรกิจเรียกร้องจากคนทำงาน เช่น การใช้เทคโนโลยีสืบค้นข้อมูล ฯลฯ ล้วนเพิ่งปรากฏให้เห็นในช่วง 3 ปีมานี้เท่านั้น

====

เพราะต้องรับมือกับความเปลี่ยนแปลง อุปนิสัยรักการเรียนรู้จึงจำเป็นสำหรับคนทำงานยุคใหม่ คนทำงานยุคนี้จำเป็นต้องกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้และค้นหาคำตอบในสิ่งต่าง ๆ เพื่อนำไปปรับใช้กับการทำงานในอนาคตกระทั่งเกิดคำพูดที่คล้ายคลึงกันในบรรดาองค์กรชั้นนำว่า … 

“ตัวขับเคลื่อนสำคัญที่สุด ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบกระเทือนทางธุรกิจ คือ ความแข็งแกร่งของวัฒนธรรมการเรียนรู้ในแต่ละองค์กรนั่นเอง” 

กล่าวโดยสรุปก็คือในโลกการทำงานยุคใหม่ องค์กรไหนมีแต่คนที่ชอบเรียนรู้ องค์กรนั้นจะได้เปรียบเสมอ แล้วอะไรคือเทคนิคที่จะช่วยสร้างให้เกิดวัฒนธรรมชอบเรียนรู้ในทีมล่ะ  คำตอบอยู่ด้านล่างนี้แล้ว

====

สร้างระบบ รางวัล

ถือเป็นเรื่องปกติที่คนชอบเรียนรู้ มักจะหาทางเรียนรู้อะไรใหม่ ๆ แต่การชอบเรียนรู้ก็ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน  จะว่าไปแล้ว ต่างคนต่างมีงานต้องทำเป็นทุนเดิม หลายคนจึงมักจะบ่นว่า จะหาเวลาที่ไหนไปเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ได้ ฉะนั้น มันจะกระตุ้นได้ดีกว่าและเร้าใจกว่า ถ้ามีระบบการให้รางวัลมาส่งเสริม รางวัลสำหรับคนในทีมที่เรียนรู้และพัฒนาสิ่งใหม่ได้

====

ให้ Feedback ที่มีคุณภาพ

หลายครั้งเมื่อการทำงานผ่านพ้นไปจนได้ผลลัพธ์และต้องตามมาด้วยการประเมินก็มักจะมีการ Feedback แบบง่ายๆ แต่ไม่ได้อะไรนอกจากการสรุปว่า “ดี” หรือ “แย่”  ทั้งที่จริงแล้ว การ Feedback ให้เห็นว่าอะไรที่คนนั้นยังขาด สามารถเพิ่มและสร้างเสริมได้ จะช่วยทำให้ทีมเกิดการเรียนรู้ นำไปพัฒนาต่อยอดได้อีกมากมาย

 คุณสามารถเรียนรู้และฝึกฝนวิธีการให้ Feedback เพิ่มเติมได้ใน ให้ Feedback อย่างไร ทีมจึงพัฒนาได้ไวขึ้น คลิกอ่านที่นี่

====

ทำให้เป็นตัวอย่าง 

ถ้าเริ่มต้นด้วยการที่ผู้นำของทีมเป็นคนที่รักการเรียนรู้ ทำให้คนในทีมเห็นเป็นรูปธรรม ได้เห็นว่าผู้นำทีมชอบค้นคว้าและพัฒนาอะไรใหม่ๆ แล้วมาแบ่งปัน ชอบหาเวลาไปเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพื่อมายกระดับประสิทธิภาพการทำงานของทีม บรรดาลูกน้องก็จะเห็นเป็นตัวอย่าง คล้อยตามผู้นำของพวกเขาได้ไม่ยาก แรงบันดาลใจชั้นดีย่อมมาจากการได้เห็นบรรดาหัวหน้าทำแล้วประสบความสำเร็จนั่นเอง

====

เลือกคนช่างสงสัยมาร่วมทีม 

บางทีการจะฝึกฝนคนให้ปรับเปลี่ยนนิสัยก็ค่อนข้างยาก วิธีการที่อาจจะง่ายกว่าก็คือการไปสรรหาเอาคนซึ่งมีนิสัยแบบที่เราต้องการเข้ามาร่วมทีมได้เลย หากอยากได้วัฒนธรรมของทีมช่างเรียนรู้ ก็จงไปเลือกคนที่มีลักษณะช่างคิด ช่างสงสัย เพื่อที่จะเข้ามาสร้างบรรยากาศการค้นหาคำตอบ การเรียนรู้สิ่งต่างๆ ไปพร้อมๆ กับคนในทีม

งานวิจัยได้บอกเอาไว้ชัดว่า คนที่มีลักษณะนิสัยช่างสงสัยและเรียนรู้ จะยิ่งเข้ามาสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้กับองค์กรมากขึ้น และเป็นการเรียนรู้แบบไม่จบสิ้นเสียด้วย

====

ทั้งหมดนี้ คือเทคนิคการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ให้แก่องค์กร เราไม่จำเป็นจะต้องยึดถือแบบแผนการเรียนรู้เดิมๆ ที่ปล่อยให้คนเข้ามาทำงาน และค่อยๆ เรียนรู้แบบเก่าตามยถากรรม

หากแต่จะต้องสร้างวัฒนธรรมขึ้นมาผ่านแนวคิดการเลือกคนที่เหมาะ การให้ Feedback ที่ดี การให้รางวัล ตลอดจนถึงการทำเป็นตัวอย่าง และเมื่อทำได้ตามเทคนิคเหล่านี้ องค์กรก็จะรุดหน้าได้ด้วยบุคลากรที่เรียนรู้และรับมือความเปลี่ยนแปลงได้อย่างแน่นอน

====

ถ้าคุณต้องการสร้างทีมแห่งการเรียนรู้เพื่อรับมือกับปัญหาและการเปลี่ยนแปลง  High Impact Coaching  & Positive Feedback คือหลักสูตรที่คุณต้องการ คลิกที่นี่

เรียบเรียงจาก 4 Ways to Create a Learning Culture on Your Team” โดย Tomas Chamorro-Premuzic and Josh Bersin จาก Harvard Business Review 12 กรกฎาคม 2018

เรียบเรียงโดย Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

4 ขั้นตอนการให้ Feedback ที่ช่วยให้ลูกน้องพัฒนาและรักเรามากขึ้น

4 ขั้นตอนการให้ Feedback ที่ช่วยให้ลูกน้องพัฒนาและรักเรามากขึ้น

“อาจารย์คะ ดิฉันให้ Feedback เพราะอยากให้ลูกน้องปรับปรุงตัวเอง แต่กลายเป็นว่าเขาไม่พอใจและยิ่งไม่เปลี่ยนแปลงตัวเองใหญ่เลย ทำอย่างไรดีคะ”

        นี่คือหนึ่งในคำถามยอดฮิตที่ผมได้รับจากบรรดาหัวหน้างาน ผู้จัดการที่ต้องดูแลคนในทีมให้ทำผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

        และเพราะอยากปรับปรุง พัฒนาผลงาน รวมทั้งพัฒนาบุคคลให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นนี่เอง การ Feedback จึงจำเป็นต้องเข้ามามีบทบาทที่สำคัญ

===

        Feedback ถ้าจะแปลความหมายแบบตรงตัวก็คือ ‘การให้ข้อมูลป้อนกลับ’ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และพัฒนาการทำงานในครั้งต่อไปได้

        แต่การให้ Feedback ไม่ใช่สิ่งที่ใคร ๆ ก็ทำได้โดยปกติวิสัย เพราะนี่คือศาสตร์และศิลป์รูปแบบหนึ่งที่ประกอบไปด้วยทักษะในการสร้างความสัมพันธ์ การสร้างความไว้วางใจ การทำให้คนเปิดใจรับฟัง ฯลฯ

        เพราะถ้า Feedback ไม่ดี หรือ ไม่มีคุณภาพนั้น เพียงแค่พูดออกไปไม่กี่คำ คนฟังก็อาจจะเกิดอาการ ‘หูดับ’ ไม่รับฟังสิ่งที่เราต้องการสื่อ เขาอาจจะคิดแก้ตัวอยู่ในใจหรือถึงขั้นพูดสวนออกมาเลยด้วยซ้ำ

===

        จากการทำงานเป็นผู้จัดการและหัวหน้าฝ่าย HR ที่ต้องดูแลลูกน้องจำนวนมากมานานหลายปี ผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่เคยประสบปัญหาเรื่องการให้ Feedback ที่ไม่มีประสิทธิภาพทำให้เสียทั้งงาน เสียทั้งเวลา และเสียทั้งความสัมพันธ์

        แต่หลังจากที่ผมตั้งใจเรียนรู้และฝึกฝนทักษะการให้ Feedback นำไปใช้จริงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงนำเอาประสบการณ์ทั้งหมดไปแลกเปลี่ยนกับบรรดาหัวหน้าและผู้จัดการของบริษัทใหญ่ ๆ ในตอนที่จัดอบรมหลักสูตร Coaching and Feedback ทำให้ผมพบเทคนิคในการให้ Feedback อย่างมีประสิทธิภาพที่จะช่วยปรับปรุงวิธีการให้ Feedback ของคุณให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้อย่างแน่นอน

===

        ต่อไปนี้คือ 4 ขั้นตอนในการให้ Feedback อย่างมีประสิทธิภาพที่ช่วยให้ลูกน้องพัฒนาตัวเองด้วยความเต็มใจ นอกจากนั้นพวกเขายังจะยิ่งรักคุณมากขึ้นอีกด้วย

1. เริ่มด้วยจุดแข็ง หรือ จุดดี

ต่อให้เป็นคนที่ทำอะไรผิดพลาดหรือไม่ได้เรื่องอย่างไรก็ต้องมีบางสิ่งที่เขาทำได้ดี แต่เป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่มักมองข้ามสิ่งดีดีแล้วไปโฟกัสที่จุดแย่หรือสิ่งที่เขาทำไม่ดีเท่านั้น

ซึ่งการเปิดบทสนทนาด้วยเรื่องที่เขาทำผิดหรือทำไม่ดีจะยิ่งทำให้เขาไม่อยากรับฟังต่อ ฉะนั้นครั้งต่อไปที่จะ Feedback ให้ถามตัวเองว่าคน ๆ นี้ทำอะไรที่เป็นข้อดีหรือมีอะไรที่เป็นจุดแข็งสำหรับเรื่องนี้บ้าง

อาจจะเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น เขาละเอียด รอบคอบ เขามีความคิดสร้างสรรค์ หรือ มีความพยายาม เป็นต้น เชื่อเถอะว่าถ้าตั้งใจมองดูดีดีคุณจะพบสิ่งดีดีได้แน่นอน

===

2. เน้นที่ความคิด

ขั้นต่อมาคือการที่เราจะพาเขามาสู่เรื่องที่เราอยากให้เขาปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือ พัฒนา ซึ่งจะต้องระมัดระวังการพุ่งโจมตีไปที่ ‘ตัวตน’ ของเขา เช่น คุณนี่เป็นคนที่ไม่มีหัวคิดเอาเสียเลยนะ” หรือ “เพราะเธอเป็นคนแบบนี้ไง งานจึงออกมาแบบนี้” ประโยคเหล่านี้ไม่ได้บ่งบอกว่าอยากให้เขาปรับตรงไหนแถมยังโจมตีไปที่ตัวตนของเขาอีกด้วย

วิธีแก้ง่าย ๆ คือ ให้พูดถึงวิธีคิด หรือ พฤติกรรมที่เขาทำให้เฉพาะเจาะจงไม่ใช่ตัวตนทั้งหมดของเขา เช่น “ไอเดียนี้อาจจะยังไม่เหมาะกับสถานการณ์นี้ ขอให้คุณกลับไปคิดมาใหม่อีกครั้งได้ไหมครับ”

===

3. สะกิดให้พัฒนา

ขั้นที่สามคือการใช้คำถามที่มีพลังเพื่อช่วยให้เขาใช้ศักยภาพของเขาในการปรับปรุงและพัฒนาสิ่งที่ทำ คุณสามารถใช้คำถามในการสะกิดหรือกระตุกเขาซึ่งอาจจะต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ร่วมกับบริบทนั้น ๆ ด้วย เช่น “งานที่เธอทำมาดูน่าสนใจเลยทีเดียว ทีนี้ถ้าจะทำให้มันดีขึ้นกว่านี้อีก เธอจะปรับอะไร ตรงไหนบ้าง”

นี่คือคำถามที่ลูกน้องหลายคนของเราต้องการ โดยเฉพาะคนเก่ง ๆ เพราะเขาอยากพัฒนาการทำงานของตัวเองให้ดียิ่งขึ้นเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว  การที่หัวหน้าบรรจงมอบคำถามที่ทรงพลังให้แก่เขาในช่วงเวลาที่เหมาะสมคือหัวเชื้ออย่างดีของการพัฒนา

===

4.ให้เวลารับฟัง

ขั้นตอนสุดท้ายคือสิ่งที่หัวหน้าหลายคนละเลย นั่นคือการให้เวลาคุณภาพในการรับฟังสิ่งต่าง ๆ ที่ลูกน้องต้องการพูด ไม่ว่าจะเป็นการตอบคำถามที่เราถามไป หรือการถามคำถามบางอย่างกลับมา

คุณสามารถช่วยให้ลูกน้องพูดมากขึ้นด้วยการถามคำถามง่าย ๆ เช่น “มีอะไรอยากบอกกับพี่บ้างไหม” หรือ “เธอคิดเห็นอย่างไรกับสิ่งที่พี่ Feedback ไป” จากนั้นให้ใส่ใจรับฟังเขาอย่างเต็มที่โดยไม่พูดแทรก พูดขัด จะช่วยให้ความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับลูกน้องพัฒนาขึ้นไปอีกระดับอย่างแน่นอน

การให้ Feedback คือ ทักษะที่ควรทำควบคู่ไปกับการ Coaching ศึกษาวิธีการ โค้ชอย่างไรที่จะเพิ่มศักยภาพได้อย่างเต็มที่ คลิก ที่นี่

===

        การ Feedback คือ ทักษะสำคัญที่ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นได้ ถ้าสนใจเรียนรู้และฝึกฝนทักษะนี้แบบลงลึก ขอแนะนำหลักสูตร High Impact Coaching & Positive Feedback  ที่จะช่วยติดอาวุธให้กับการเป็นหัวหน้างานและผู้จัดการของคุณด้วยทักษะการโค้ชและให้ Feedback คลิกดูรายละเอียดได้ที่นี่

บทความโดย

อ.อรรณพ นิยมเดชา

วิทยากร และนักจิตวิทยาองค์กรผู้ใช้แนวคิดจิตวิทยาเชิงบวกเพื่อปลุกศักยภาพคนทำงานให้มีเป้าหมายที่ชัดเจนและสร้างผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

โค้ชอย่างไรที่จะเพิ่มศักยภาพได้อย่างเต็มที่

โค้ชอย่างไรถึงจะเพิ่มศักยภาพได้อย่างเต็มที่

หลายคนอาจจะคิดว่า การโค้ชเพื่อให้เกิดศักยภาพสูงสุด หมายถึงการโค้ชคนที่มีทักษะความสามารถที่สูงอยู่แล้ว แต่นั่นเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้องทั้งหมด

การโค้ชเพื่อศักยภาพระดับสูงอาจทำกับคนที่มีทักษะระดับสูงอยู่แล้ว แต่ในขณะเดียวกัน เราสามารถโค้ชทุกคนเพื่อที่จะบรรลุศักยภาพระดับสูงของตัวเขาเองได้ นั่นหมายถึงเราสามารถโค้ชใครก็ได้ในองค์กร ทั้งหัวหน้า ผู้จัดการ หรือลูกน้อง เพื่อรีดศักยภาพของเขาให้ทำผลงานออกมาเต็มศักยภาพ

ทักษะการโค้ชนี้หยิบยืมมาจากวงการกีฬาและการทหาร ซึ่งมุ่งมั่นผลักดันศักยภาพของคนในทีมให้ไปสู่ระดับสูงสุด โดยการโค้ชจะเริ่มจากการหาจุดตั้งต้น เช่น วิสัยทัศน์ หรือความปรารถนาในชีวิตก่อน แล้วค่อยหาทิศทางที่จะพาคนนั้นไปสู่เป้าหมายดังกล่าวให้ได้

===

ใช้การโค้ชเมื่อไหร่ดี?

วิธีการ High-Performance Coaching จะช่วยให้คนสำรวจแรงกระตุ้นภายในตัวเอง และเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ได้ การโค้ชแบบนี้จึงเป็นทั้งการสนับสนุนและความท้าทายในเวลาเดียวกัน ซึ่งมักจะใช้กับเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้…

การวางแผนในระยะยาวตลอดอาชีพ / ชีวิต

บางคนอาจจะไม่ชอบวางแผนชีวิต แต่แท้จริงแล้วมีหลักฐานว่าคนที่วางแผนชีวิตนั้นจะประสบความสำเร็จในระยะยาวมากกว่าคนที่ไม่ได้วางแผน

การนำทางไปสู่จุดเปลี่ยนในอาชีพ

เช่น หาทางก้าวจากคนทำงานระดับธรรมดาไปสู่ระดับผู้จัดการ หรือระดับผู้จัดการไปสู่ผู้นำองค์กร โค้ชที่เก่งจะนำเสนอหนทางที่ชัดเจนและแรงบันดาลใจที่ดี เพื่อนำทางให้คนเดินไปสู่จุดเปลี่ยนของเขาได้สำเร็จ

การสร้างการเปลี่ยนแปลงในการทำงานหรือสร้างพฤติกรรมแห่งความสำเร็จ

เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ดี หรือฉุดรั้งความสำเร็จ ให้กลายเป็นการสร้างทักษะที่ดีอันเป็นพื้นฐานสำคัญสู่เป้าหมายระยะยาว

การเยียวยาปัญหาชีวิต

โค้ชที่รีดเค้นศักยภาพสูงสุดจะช่วยซ่อมแซมธุรกิจหรือปัญหาชีวิตแก่ผู้คน ทำให้ชีวิตกลับสู่ความสมดุล หรือเผชิญหน้ากับปัญหาต่าง ๆ เช่น ภาวะหมดพลังในการทำงาน ได้ดีขึ้น
===

เครื่องมือและทักษะที่คนที่ต้องการโค้ชควรจะมี ได้แก่

  • เคารพผู้รับการโค้ชในฐานะคนคนหนึ่ง
  • เคารพทักษะของผู้รับการโค้ชและเป้าหมายในชีวิต
  • จริงใจในการให้ feedback ที่มีระบบและท้าทายมากพอ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่ผู้รับการโค้ชต้องการ
  • ระวัง Ego ของตัวเอง ไม่สร้างประเด็นที่มีวาระแฝงซึ่งไม่ตรงกับเป้าหมายของผู้รับการโค้ช
  • เลือกใช้เครื่องมือที่ตัวเองถนัด เพื่อให้ผู้รับการโค้ชได้พบตัวตน อาจจะลองใช้ GROW Model (โมเดลการโค้ชแบบสากล) มาช่วยได้
  • สิ่งที่ต้องระวังคือ Emotional Interference หรือการแทรกแซงทางอารมณ์ของตัวเราเอง

===

หลักการนี้ มาจากสูตรที่เรียบง่ายคือ

Performance = Potential – Interference

ผลงานที่ดีจะมาจากศักยภาพที่ถูกรบกวนน้อยที่สุด แน่นอนว่ามนุษย์มักจะถูกรบกวนแทรกแซงทางอารมณ์เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความกลัว ความรู้สึกผิด และความกังวล

ความกลัว ถือเป็นอารมณ์ที่ชัดเจนที่สุด การกลัวบางเรื่องมาจากข้อเท็จจริงเบื้องหน้า แต่บางครั้งเป็นสิ่งที่คิดไปเอง จิตใจคนเราจะสร้างแง่มุมลบขึ้นมาเพื่อทำให้ชีวิตปลอดภัย แต่ข้อเสียคือ มันจะทำให้เราไม่กล้าทำอะไรใหม่ ๆ และขัดขวางไม่ให้เราเติมเต็มในชีวิต(Fulfillment)

การค้นหาและขจัดความกลัวอาจจะใช้เวลาพอสมควร แต่มีประโยชน์มากมายมหาศาล เพราะเราอาจจะพบจุดอ่อนสำคัญที่รั้งชีวิตมาโดยตลอด

ความรู้สึกผิด อารมณ์ที่ทำให้สมดุลของชีวิตและการงานเสียไป คนที่ทำงานหนักกว่าคนอื่นอาจจะมีที่มาจากการรู้สึกว่าตนเองไม่ได้รับความสำเร็จมากพอ จนเขาเลือกเพิ่มชั่วโมงการทำงาน แต่ผลลัพธ์คือการทำลายสมดุลของชีวิตไป

ความกังวล บางคนกังวลกับทุกสิ่ง รวมไปถึงกังวลว่าตนเองจะกังวล สิ่งนี้จะทำให้เกิดปัญหาทางจิตใจตามมา เช่น นอนไม่เต็มอิ่ม เกิดพฤติกรรมการกินที่บ่อนทำลาย ไปจนถึงรู้สึกหมดเรี่ยวแรงในการทำงาน

การบริหารจัดการอารมณ์ด้วยตัวเองคือหนึ่งสิ่งที่ควรทำควบคู่กับการได้รับการโค้ช เรียนรู้และฝึกฝนเรื่อง Emotion Intelligence คลิก ที่นี่ 

โค้ชจะช่วยให้คนในองค์กรเห็นว่าศักยภาพของตนเองมีอยู่ในระดับไหน และช่วยลบอุปสรรคทางอารมณ์ที่จะมาขัดขวาง โดยมีเคล็ดลับ เช่น ในส่วนของงาน โค้ชจะมองผู้รับการโค้ชเหมือนนักกีฬาที่จะก้าวสู่เกมอีกระดับ เขาจะรับฟังและเข้าถึงแรงจูงใจ และยอมรับว่ามีอารมณ์อะไรเกิดขึ้น ขณะที่งานอีกส่วนคือการขยายศักยภาพ สำรวจทักษะที่จะต้องเพิ่มหรือพัฒนาเพื่อไปให้ถึงขีดสุด

===

การโค้ชเพื่อเพิ่มศักยภาพสูงสุดนั้นควรจะทำให้เกิดความสนุกสนาน และต้องมองประเด็นนั้น ๆ ว่าจะทำอะไรเพื่อช่วยให้คนก้าวไปสู่ศักยภาพสูงสุดของเขาเองได้

และถ้าหากคุณต้องการเรียนรู้ทักษะการโค้ชเพื่อเพิ่มศักยภาพทีมงาน ขอแนะนำหลักสูตร High Impact Coaching & Positive Feedback คลิกดูได้ที่นี่ครับ 

เรียบเรียงโดย Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 093 925 4962

ให้ Feedback อย่างไรไม่ให้เสียสัมพันธ์

ให้ Feedback อย่างไรไม่ให้เสียสัมพันธ์

“กฎมีไว้แหก” ใครสักคนเคยพูดคำนี้ให้ผมได้ยินตั้งแต่สมัยเด็ก แล้วผมก็จดจำคำกล่าวที่ดูเท่เล็ก ๆนี้มาตลอด

จนกระทั่งได้มาทำงานไปสักพักจึงรู้ว่าคำกล่าวนี้มีหลายนัยยะที่ต้องตีความมิเช่นนั้นจะเป็นอันตรายต่อการทำงานและชีวิตเป็นอย่างยิ่ง

ประการแรกคือ กฎที่เราไม่รู้เหตุผลที่แท้จริง และ / หรือ ไม่ได้เป็นหนึ่งในผู้ที่ร่วมสร้างกฎนั้นขึ้นมา คือกฎที่เราควรนำมาพูดคุยทบทวนร่วมกันเพื่อค้นหาเหตุผลที่แท้จริงของการตั้งกฎนั้น แล้วจึงพิจารณาร่วมกันว่าจะใช้ต่อ ยกเลิก หรือปรับเปลี่ยนกฎนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับคนในทีมและบริบททางสังค

ประการที่สองคือ คำว่า ‘แหกกฎ’ ในที่นี้หมายถึงการคิดต่าง คิดนอกกรอบ คิดสร้างสรรค์ซึ่งจำเป็นต้องคิดให้หลุดไปจากค่านิยมและวัฒนธรรมที่ทำตาม ๆ กันมาไม่ได้หมายถึงการตะบี้ตะบันทำผิดกฎอย่างที่หลายคนเข้าใจแต่อย่างใด
====

จะให้ Feedback อย่างไรถ้ามีคนละเมิดกฎ

เพื่อแก้ไขและป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเนื่องจากการละเมิดกฎของทีม ทุกคนในทีมควรตกลงร่วมกันเมื่อเกิดกรณีมีคนละเมิดกฎ ซึ่งสามารถนำแนวทาง ‘ให้ Feedback ’ ที่ Blair Singer โค้ชและนักขายมืออาชีพเขียนไว้ในหนังสือ Team Code of Honor ไปประยุกต์ใช้ ดังนี้

1. เริ่มต้นให้ถูกกาลเทศะ

ไม่ควรแจ้งว่าจะให้ Feedback ต่อหน้าลูกค้า พาร์ทเนอร์ เพื่อนร่วมงานที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นโดยตรง จำไว้ว่าเราต้องการช่วยให้เขาปรับปรุงพฤติกรรม ไม่ได้ต้องการโจมตีที่ตัวตนของเขาแต่อย่างใด
====

2. เข้าใจและยอมรับความรู้สึกของคุณเองก่อน

เมื่อเกิดปัญหาขึ้น ในใจคุณลึก ๆ อาจรู้สึกไม่สบายใจ กังวล ไปจนถึงโมโห โกรธ ให้ทำความเข้าใจความรู้สึกเหล่านั้น แล้วยอมรับอย่างไม่ต้องไปคิดตัดสินความรู้สึกนั้นจนความคิดความรู้สึกของคุณสงบลงแล้วค่อยให้ Feedback เพื่อป้องกันไม่ให้บานปลายไปสู่ความขัดแย้ง
====

3. ขออนุญาตเจ้าตัวก่อนเข้าสู่การให้ Feedback

ถามเจ้าตัวก่อนว่า เวลานี้ ๆ สะดวกคุยเรื่องนี้ ๆ กันไหม แจ้งให้เขาทราบว่าต้องการ Feedback พฤติกรรมของเขา เพื่อช่วยปรับให้ดียิ่งขึ้น ถ้าเขาบอกไม่สะดวกให้ถามหาวัน เวลาที่สะดวกจากเขา และไม่ควรปล่อยทิ้งไว้เกินไป ( 1 – 3 วัน แล้วแต่ประเด็น)
====

4. แก้ไขที่พฤติกรรมไม่ใช่ตัวบุคคล

การแปะป้ายว่าเขาเป็น “คนเลว” “ขี้เกียจ” “ห่วยแตก” หรือคำแปะป้ายตัดสินต่าง ๆ ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดใด เปลี่ยนมาพูดถึงพฤติกรรมของเขาโดยระบุให้ชัดเจนแทน “ผมรู้มาว่าคุณเอาข้อมูลที่เพื่อนทำไว้ไปใช้โดยไม่ได้ถามเจ้าของก่อน” “คุณไม่ได้ส่งมอบงานตามกำหนด” การโฟกัสที่พฤติกรรมจะช่วยให้เขาไม่รู้สึกว่าเรากำลังโจมตีที่ตัวตนของเขาแต่เป็นการพูดถึงพฤติกรรมที่ต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขของเขาแทน
====

5. บอกสิ่งที่ผิดพลาดแล้วเสนอความช่วยเหลือ

เชื่อมโยงจากข้อ 4 คุณควรระบุพฤติกรรมที่ผิดพลาดไปจากกฎ “กฎของเราระบุว่าต้องมาทำงาน 9.00 น. ซึ่งคุณมาถึงที่ทำงาน 9.45 น. ติดต่อกันมาทั้งสัปดาห์นี้ ไม่แน่ใจว่าเกิดอะไรขึ้น(ถามสิ่งที่เกิดกับเขาด้วย) ต้องการให้ผมช่วยอะไรไหม” เป็นต้น
====

6. ย้ำเตือนถึงสิ่งที่บุคคลนั้นต้องเปลี่ยนแปลง

เมื่อพูดคุยจนได้ข้อสรุปที่เขาจะเปลี่ยน(ควรมาจากความยินยอมของเขาอย่างน้อยก็ในระดับหนึ่ง) แล้ว ให้ตัวเขา คุณรวมถึงคนในทีมที่มีส่วนเกี่ยวข้องย้ำเตือนออกมาเป็นข้อสรุปที่เขาจะทำเพื่อเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง และควรทำออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรด้วย
====

7. แสดงการรับรู้พฤติกรรมที่เป็นไปในแนวทางที่ตกลงกันไว้แล้ว

เมื่อเขาปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยเฉพาะในช่วงแรกนั้น เขาต้องการการรับรู้และ กำลังใจเป็นอย่างมาก จงแสดงการรับรู้อย่างเปิดเผยเสมอ ไม่ว่าจะชมต่อหน้า หรือพิมพ์อีเมลชื่นชมสิ่งที่เขาทำก็ได้

Blair ย้ำว่า กฎที่ไม่ได้ยึดมั่นให้ทุกคนปฏิบัติตามจะไร้ค่าลงไปเรื่อย ๆ และทำให้ผู้คนในทีม ในองค์กร หรือในสังคมคิดว่ามันไม่มีความหมายอะไรจนนำไปสู่วลี ‘กฎมีไว้แหก’

และนี่แหล่ะคือจุดเริ่มต้นของการทุจริตและอาชญากรรมทั้งหลาย

เมื่อเข้าใจหลักการและความสำคัญของการให้ Feedback แล้ว คุณสามารถเรียนรู้และฝึกฝนเพิ่มเติมได้ใน ให้ Feedback อย่างไร ทีมจึงพัฒนาได้ไวขึ้น คลิกอ่านที่นี่

====

หนึ่งในทักษะสำคัญที่ช่วยเพิ่มศักยภาพให้แก่ลูกน้องคือการ ให้ Feedback  ซึ่งคุณสามารถเรียนรู้และฝึกฝนได้จากหลักสูตร High Impact Coaching and Positive Feedback คลิกที่นี่

บทความโดย อ. เวย์ เวสารัช โทณผลิน

Personal Productivity & Team Collaboration Facilitator 
ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างประสิทธิผลและการสร้างความร่วมมือร่วมใจในการทำงานเป็นทีม

Learning Hub Thailand เราพัฒนาคนในองค์กร เพื่อเพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข
ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 094 959 2645

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Ads, Google Analytics

    Statistics

  • Google Analytics

    Statistics

  • Facebook

    Marketing/Tracking

  • ActiveCampaign

    Functional

  • ActiveCampaign

    Marketing/Tracking

Save