5 วิธีรับมือกับความเครียดในการทำงาน

5 วิธีรับมือกับความเครียดในการทำงาน

การทำงานเป็นสาเหตุให้คุณเกิดความเครียดได้ ไม่ว่าความเครียดนั้นจะมาจากงานที่เพิ่มขึ้น เวลาที่น้อยลง หัวหน้างานผู้เข้มงวด หรือเพื่อนร่วมงานช่างนินทา

มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งเปิดเผยว่า ชาวอเมริกันสามในสี่คนทุกข์ทรมานจากความเครียดในที่ทำงาน นอกจากนี้ องค์กรอนามัยโลกรายงานว่า ในแต่ละปีความเครียดเป็นสาเหตุให้พนักงานหยุดงานเนื่องจากป่วย และทำให้ธุรกิจของอเมริกาเสียหายถึง 3,000 ล้านเหรียญ

จากข้อมูลเบื้องต้น จะเห็นว่าความเครียดนั้นน่ากลัวกว่าที่คิด เพราะไม่เพียงแต่ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย รวมถึงจิตใจของผู้คนแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติในด้านต่างๆด้วย

ดังนั้น เราจึงจำเป็นที่จะต้องกำจัดความเครียดก่อนที่มันจะกำจัดเรา โดยบทความนี้ได้แนะนำหลักปฏิบัติ 5 ข้อ เพื่อให้คุณสามารถจัดการและรับมือกับความเครียดในที่ทำงานได้ ดังนี้

====

1) ใส่ใจเรื่องอาหารการกิน

อาหารเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเครียดของคุณ กล่าวคือ อาหารสามารถกระตุ้นหรือบรรเทาความเครียดให้คุณได้ ขึ้นอยู่กับชนิดหรือประเภทของอาหาร

อาหารที่ช่วยขจัดความเครียด ได้แก่ อาหารจำพวกผัก ผลไม้ ข้าวกล้อง ธัญพืช ถั่ว เผือก มัน น้ำเปล่า เป็นต้น อาหารเหล่านี้มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะระบบประสาท เพราะอุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามิน ช่วยรักษาระดับน้ำตาลให้คงที่ และยังช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายและลดความเครียดได้อีกด้วย

นอกจากอาหารที่ควรรับประทานเพื่อลดความเครียดแล้ว ยังมีอาหารที่คุณควรหลีกเลี่ยง ยกตัวอย่างเช่น ชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาหารฟาสต์ฟู้ด อาหารที่มีไขมันสูง เป็นต้น

อาหารและเครื่องดื่มเหล่านี้มีสารเพิ่มความเครียด ในระยะแรกที่ได้รับประทานคุณอาจรู้สึกดี แต่หากคุณรับประทานในปริมาณที่มากเกินไปหรือรับประทานอย่างต่อเนื่อง จะทำให้เกิดสภาวะความเครียดสะสมในร่างกายได้

====

 2) กำหนดลมหายใจเข้า-ออก

เรื่องการหายใจก็มีความสัมพันธ์กับความเครียดเช่นกัน คุณจะพบว่าเมื่อคุณเครียด คุณจะหายใจเร็วหายใจตื้น หัวใจเต้นเร็ว และมีอาการกระสับกระส่าย

ดังนั้น เมื่อคุณเครียด ให้คุณกำหนดลมหายใจเข้าออก โดยคุณอาจหายใจเข้าและออกอย่างช้าๆประมาณ 1-2 นาที คุณสามารถทำเช่นนี้ในช่วงพักเที่ยง หรือระหว่างวันก็ได้ และหากคุณมีเวลามากกว่านั้น คุณอาจทำในช่วงเช้าและก่อนนอนด้วย

วิธีการกำหนดลมหายใจเข้าและออกคล้ายๆกับการนั่งสมาธิ ซึ่งจะช่วยให้คุณลดความเครียดลงได้ เพราะเมื่อคุณหายใจเต็มปอดก็จะทำให้เลือดและสมองได้รับออกซิเจนมากขึ้น และสิ่งนี้จะทำให้คุณสดชื่น และกระปรี้กระเปร่ามากยิ่งขึ้น

====

3) ออกกำลังกาย

เวลาที่คุณนั่งจมอยู่กับปัญหาในที่ทำงาน นอกจากจะทำให้เสียสุขภาพจิตแล้ว ยังทำให้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ เครียดเกร็งโดยที่คุณไม่รู้ตัว ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการปวดเมื่อยเรื้อรังที่รักษายาก

วิธีแก้ไขความเครียดที่ง่ายและทำได้ทันที ก็คือ ลุกออกมาจากโต๊ะทำงาน ยืดเส้นยืดสาย หรือเดินเพื่อเปลี่ยนอิริยาบถสัก 10-15 นาที 

นอกจากนี้ ในแต่ละวันคุณควรแบ่งเวลาประมาณ 30 นาทีเพื่อออกกำลังกาย ในช่วงแรกของการเริ่มต้น คุณอาจรู้สึกว่ายาก แต่หากคุณทำมันอย่างต่อเนื่อง ร่างกายของคุณจะแข็งแรงขึ้น และแน่นอนว่าเมื่อร่างกายแข็งแรง คุณก็จะสามารถรับมือกับความเครียดได้

การออกกำลังกายทำให้ร่างกายหลั่งสารเอ็นโดพิน ซึ่งทำให้คุณรู้สึกดี มีพลัง และกระฉับกระเฉงมากขึ้น แต่หากคุณยังไม่มีแรงบันดาลใจมากพอ ให้ลองจัดกิจกรรมออกกำลังกายกับเพื่อนร่วมงานของคุณ วิธีการนี้จะทำให้คุณรู้สึกสนุกและอยากออกกำลังกายมากขึ้น

====

4) เลือกรับฟังข้อมูลด้านบวก หลีกเลี่ยงข้อมูลด้านลบ

ในที่ทำงานของคุณย่อมมีคนหลากหลายประเภท และคำกล่าวที่ว่า “หงส์อยู่ในฝูงหงส์ กาอยู่ในฝูงกา” นั้นเป็นจริงเสมอ

กล่าวคือ คนที่มีลักษณะนิสัยคล้ายคลึงกันมักรวมตัวอยู่ด้วยกัน ดังนั้น หากคุณไม่อยากเครียด ก็ไม่ควรที่จะสุงสิงหรือยุ่งเกี่ยวกับคนที่ทำให้คุณเครียด

ยกตัวอย่างเช่น เพื่อนร่วมงานบางคนชอบระบายความเครียดให้ผู้อื่น เมื่อเขาไม่พอสิ่งใด เขาจะใช้ถ้อยคำรุนแรงเพื่อต่อว่า แสดงน้ำเสียงเกรี้ยวกราด หรือแสดงท่าทางก้าวร้าว เป็นต้น

พฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลต่ออารมณ์และความรู้สึกของคุณ เพราะฉะนั้นจงอยู่ให้ไกลจากคนประเภทนี้ แต่ทว่า บางครั้งหากเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ให้คุณมีสติ กลั่นกรองข้อเท็จจริง อย่าเชื่อข้อมูลทุกอย่างที่เขาพยายามสาดใส่คุณ เพราะนั่นจะทำให้คุณเครียด และกลายเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย

ทางที่ดีที่สุดก็คือ คุณควรเลือกคบเพื่อนร่วมงานที่มองโลกในแง่ดี และเลือกรับฟังข้อมูลด้านบวก และหากคุณเกิดความเครียดให้ทำกิจกรรมที่ช่วยให้ตนเองผ่อนคลาย เช่น การดูหนัง ฟังเพลง การท่องเที่ยว เป็นต้น

====

5) เลือกเสพข่าวสารอย่างเหมาะสม

หากคุณเป็นพวกที่ชอบเกาะติดสถานการณ์บ้านเมืองโดยติดตามข่าวสารผ่านโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ และโซเชียลเน็ตเวิร์กตลอดเวลา คุณกำลังจะเครียดโดยไม่รู้ตัว

เนื่องจากพฤติกรรมของสื่อในปัจจุบันมุ่งเน้นการนำเสนอข้อมูลในเชิงลบอย่างซ้ำไปซ้ำมา นอกจากนี้ ผู้สื่อข่าวมักใส่ความคิดเห็น หรือแสดงอารมณ์และความรู้สึกส่วนตัวลงไปในเหตุการณ์ที่นำเสนอ สิ่งนี้ทำให้ผู้รับสารเกิดอารมณ์ร่วม และเกิดความเครียดในที่สุด

ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงความคิดเชิงลบ คุณควรเลือกรับข่าวสารอย่างเหมาะสม กล่าวคือ คุณควรจัดแบ่งเวลาในการรับข้อมูล ไม่ควรเสพข้อมูลมากเกินไป เพราะเมื่อคุณรับข้อมูลแล้ว สมองของคุณก็จะบันทึกและประมวลผล ซึ่งหากข้อมูลมีเนื้อหาที่รุนแรงและมีปริมาณมากเกินไป คุณก็จะได้รับอิทธิพลจากสิ่งที่คุณเสพด้วย

นอกจากนี้ คุณควรเลือกรับสารที่มีประโยชน์ และมีเนื้อหาในแง่บวก เช่น ภาพการช่วยเหลือสังคม ภาพความสำเร็จ เป็นต้น เพราะข่าวสารดีๆเหล่านี้จะทำให้คุณมองโลกในแง่ดี และเกิดกำลังใจในการใช้ชีวิต

มีวิธีการบริหารความเครียดอีกมากมายที่คุณเรียนรู้และฝึกฝนได้ด้วยตัวเอง  อ่านประสบความสำเร็จได้มากขึ้นด้วยการเป็นผู้นำที่ฉลาดทางอารมณ์เพื่อฝึกบริหารจัดการอารมณ์ของคุณเองคลิกที่นี่

===

ที่มา : http://www.pickthebrain.com/blog/5-ways-reduce-stress-work-place/

 

หากคุณอยากให้ตัวเองและทีม มีความมั่นใจและพัฒนา EQ เพื่อเป็นผู้นำที่ดีขึ้น ขอแนะนำหลักสูตร Emotion Intelligence ผู้นำฉลาดทางอารมณ์ ที่จะช่วยให้คุณได้เรียนรู้ทักษะทั้ง 5 ได้เป็นอย่างดี คลิกดูรายละเอียดที่นี่

เรียบเรียงโดย  Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

สองวิธีฝึกทักษะกาารล้มแล้วลุกที่ทำได้จริง

สองขั้นตอนฝึกทักษะการล้มแล้วลุกที่ทำได้จริง

คุณเป็นคนหนึ่งใช่ไหมที่เคยจิตตกเพราะเจอสถานการณ์ร้ายๆ หรือ เจอคนที่ทำไม่ดีต่อคุณจนทำให้คุณไม่สามารถทำตามเป้าหมายได้เป็นเวลานาน

คุณคงรู้สึกแย่มากเลยใช่ไหมครับเมื่อพบว่าตัวเองตกอยู่ในสถานการณ์แบบนั้น

ต่อไปนี้เป็นข่าวดี เพราะคุณสามารถเรียนรู้และฝึกฝนทักษะที่สำคัญทักษะหนึ่งเพื่อรับมือกับสถานการณ์เลวร้ายหรือคนที่ทำแย่ ๆ ได้อย่างดีเยี่ยม

====

         เพราะสิ่งที่สำคัญกว่าการที่จะไม่ต้องพบเจอเหตุการณ์เลวร้ายหรือคนแย่ ๆ ก็คือ ‘การล้มแล้วลุกขึ้นได้อีกครั้ง’ หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า Resilience Skill นั่นเอง

เพราะถ้าเปรียบปัญหาและอุปสรรคเป็นคลื่นที่ถาโถมเข้ามาหาเราทุกคน การฝึกที่จะเผชิญและโต้ล้อไปกับคลื่นคือพันธกิจสำคัญของนักโต้คลื่นทุกคน

 ซึ่งผมอยากให้เราทุกคนเชื่อมั่นว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาเพื่อเป็นนักโต้คลื่น

เมื่อตระหนักได้เช่นนั้น เราจะรู้ว่าสิ่งสำคัญจึงไม่ใช่การสวดภาวนาไม่ให้พบปัญหา แต่คือการฝึกฝนทักษะที่จะเผชิญปัญหาและฟื้นคืนกลับมาได้ทุกครั้งที่เจอปัญหาต่างหาก

====

         Leo Babauta ผู้เขียนหนังสือชื่อดัง Zen Habits และ The Power of Less เป็นหนึ่งในคนที่ศึกษาและฝึกฝนเรื่อง Personal Productivity อย่างลึกซึ้งมานานหลายปี เขายอมรับว่า Resilience คือ หลักคิดและทักษะที่สำคัญที่สุดของคนทำงานยุคนี้และมันช่วยให้เรามี Productivity ที่สูงได้ด้วย 

         Resilience จะทำให้เรามีความยืดหยุ่น พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง และสามารถฟื้นคืนกลับมาได้ทุกครั้งที่เจอปัญหา ทั้งหมดนี้เป็นองค์ประกอบสำคัญในยุคที่ไม่สามารถคาดเดาอะไรได้เลยเช่นนี้

         คำถามก็คือ เราจะฝึกทักษะ Resilience ได้อย่างไร เพราะดูเหมือนมันจะเป็นแค่แนวคิดที่นามธรรมมากเหลือเกิน

         คำตอบอยู่ที่สองขั้นที่ Leo (และผม) ฝึกปฏิบัติและนำมาถ่ายทอดให้พวกเราทุกคนได้เรียนรู้ร่วมกัน ดังนี้

=====

1.กำจัดความเครียดที่ไม่จำเป็น (Remove Extra Stress)

ชีวิตคือความทุกข์ นี่คือเรื่องธรรมดาที่ทุกศาสนายอมรับและถ่ายทอดให้พวกเราทำความเข้าใจ  แต่ถึงอย่างไรมนุษย์ผู้มีระบบคิดที่ทรงพลังต่างก็เพิ่มความเครียดให้กับตัวเองโดยไม่รู้ตัว และนั่นก็ทำให้จิตใจของใครหลายคนต้องแบกรับความเครียดที่เกินพอดีจนยากที่จะฟื้นตัวกลับมาได้

ถ้าการควบคุมความคิดไม่ให้กังวลกับอนาคตหรือจมปลักอยู่ที่อดีตเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก Leo แนะนำให้เริ่มต้นในสิ่งที่ทำได้ทางกาย(พฤติกรรม) กันก่อน ดังตัวอย่างต่อไปนี้

  • ลดปริมาณเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ และสิ่งเสพติดทั้งหลายที่คุณใช้หลีกหนีปัญหาลง เพราะถ้าคุณเครียดก็มีแนวโน้มสูงมากที่คุณจะเสพมันเกินพอดี ซึ่งส่งผลให้คุณยิ่งเครียดมากขึ้นในอนาคต จงจำกัดปริมาณที่ดื่มให้น้อยลงอย่างน้อย 50%
  • จำกัดปริมาณงานที่ต้องโฟกัสให้สำเร็จลงจนเหลือเพียง 3 อย่าง โดยฝึกการปฏิเสธงานที่ไม่สอดคล้องกับเป้าหมาย และฝึกการส่งมอบงานให้คนอื่นทำบ้าง
  • หยุดพักจากหน้าจอและโซเชียลมีเดียอย่างน้อย 1 ชั่วโมงก่อนเข้านอน เพื่อเคลียร์จิตใจให้สงบอย่างแท้จริง

====

2.ทำสิ่งที่ช่วยให้คุณรู้สึกเติมเต็ม (Replenish Yourself)

เมื่อคุณลด ละ เลิกทำสิ่งที่ก่อให้เกิดความเครียดที่ไม่จำเป็น(มันอาจสร้างความสุขระยะสั้นให้คุณแต่มักจะก่อให้เกิดความเครียดในระยะยาว เช่น การดื่มเหล้า การไปปาร์ตี้ การช็อปปิ้งแบบสุดเหวี่ยง) แล้ว คุณจะมีเวลาและพลังงานเหลือที่จะทำในสิ่งที่…ทำให้คุณรู้สึกเต็มขึ้น

         สิ่งเหล่านั้นคือพฤติกรรมที่ไม่ได้ใช้เวลานาน ไม่ได้ใช้เงินเยอะ แต่คุณต้องทำอย่างสม่ำเสมอ (สร้างมันขึ้นมาแทนที่พฤติกรรมในข้อ 1) และต้องเป็นสิ่งที่ทำให้คุณรู้สึกดีขึ้นได้อย่างแท้จริง

         ถ้านึกไม่ออกว่ามีอะไรบ้าง ตัวอย่างของผมต่อไปนี้อาจช่วยคุณได้

  • เดินและนั่งชื่นชมธรรมชาติ เช่น สวนสาธารณะ แม่น้ำ ท้องฟ้า
  • ก่อนเข้านอนให้อาบน้ำอุ่นและจดบันทึกเรื่องราวในด้านบวกซึ่งเกิดขึ้นในวันนี้
  • ให้เวลาคุณภาพกับคนที่คุณรัก ไปรับประทานอาหารกับเขาโดยไม่มีมือถือมารบกวน
  • หายใจเข้าลึกขึ้น และออกให้ช้าลงและยาวขึ้นในระหว่างวัน

อีกหนึ่งพฤติกรรมที่ช่วยให้เรารู้สึกเติมเต็มได้คือการฝึกเป็นผู้นำที่ฉลาดทางอารมณ์ ศึกษาแนวทางการฝึกได้ที่นี่
=====

         พฤติกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงชีวิตของคุณไปในทางที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน ถ้าคุณทำอย่างสม่ำเสมอควบคู่ไปกับการเลิกทำพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความเครียดที่ไม่จำเป็น

         เพราะการเจอรถชน ไปทำงานสาย โดนเจ้านายด่า ถูกลูกค้าปฏิเสธ และโดนแฟนโมโหใส่เป็นสิ่งที่คุณไม่สามารถควบคุมได้ แต่ความคิดที่คุณมีต่อทุกสิ่งที่เกิดขึ้นต่างหากที่คุณสามารถควบคุมได้

         ยิ่งคุณโฟกัสไปที่สิ่งที่คุณบริหารจัดการและควบคุมได้ เช่น ความคิด พฤติกรรมของคุณ มากเท่าไหร่ คุณก็จะเริ่มสร้างทักษะ Resilience เพื่อการรับมือกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันได้มากขึ้นเท่านั้นครับ

=====

ถ้าคุณสนใจ Mindset และทักษะการล้มแล้วลุกของคนทำงานยุคใหม่  ขอแนะนำหลักสูตร Corporate Entrepreneurship Program เพื่อพัฒนาตัวเองให้กลายเป็นผู้ประกอบการภายในองค์กรซึ่งจะนำความสำเร็จมาสู่ตัวคุณและองค์กรของคุณ  คลิกที่นี่ 

เขียนโดย อ. เวย์ เวสารัช โทณผลิน

ผู้เชี่ยวชาญด้าน Productivity  (Personal Productivity Facilitator) 

 Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

3 เคล็ดลับที่การเรียนรู้ช่วยให้คุณประสบความสำเร็จได้มากขึ้น

การเรียนรู้เป็นสิ่งที่ดี มีคุณค่า และให้ประโยชน์แก่ผู้เรียนมากมาย เช่น ทำให้เป็นคนเก่งขึ้น ฉลาดขึ้น ทันคนขึ้น ทำอะไรได้หลายอย่างมากขึ้น ทำให้การดำเนินชีวิตดีขึ้นและง่ายขึ้น เป็นต้น

ทว่า หากพูดถึง “การเรียนรู้” คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าการเรียนรู้ถูกจำกัดอยู่แต่ในสถานศึกษา และวัยที่เหมาะสมในการเรียนรู้ คือ วัยเด็กและวัยรุ่นเท่านั้น ซึ่งนั่นเป็นความเข้าใจผิด

เพราะการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ตลอดชีวิต เราสามารถแสวงหาความรู้ และพัฒนาตนเองได้ตลอดเวลา การเรียนรู้ไม่มีรูปแบบตายตัว ปราศจากกฎเกณฑ์หรือข้อกำหนดเรื่องเวลาและสถานที่ กล่าวคือ คนเราสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต

====

หากเปรียบชีวิตของคนเราเป็นดังต้นไม้ใหญ่ ปุ๋ยที่ดีที่สุดของคนเรา คือ การเรียนรู้ เพราะหากเราหยุดที่จะเรียนรู้ ชีวิตก็จะหยุดเติบโตเปรียบเสมือนต้นไม้ที่ไร้ใบ คือ ไม่มีคุณค่า และไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใดแก่สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในบริเวณนั้น ดังนั้น การเรียนรู้ตลอดชีวิตจึงมีความสำคัญมาก และเราทุกคนควรที่จะตระหนัก ปลูกฝังจิตใจและนิสัยให้รักการเรียนรู้ตลอดชีวิต

บทความนี้จะเปิดเผย 3 ปัจจัยหลักที่ทำให้คนเรามีแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ ทำมันอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นคนที่ชอบเรียนรู้ตลอดชีวิต

====

1.รู้เหตุผล และความสำคัญของการเรียนรู้

หากผู้เรียนเข้าใจถึงประโยชน์และความสำคัญของการเรียนรู้แล้ว ย่อมจะทำให้เกิดแรงจูงใจและทำให้การเรียนรู้เป็นไปได้ง่ายขึ้น การเรียนรู้มีประโยชน์มากมาย เช่น ช่วยให้คุณพัฒนาตนเอง ทำให้คุณมีความคิดใหม่ๆ และสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตของคุณได้ ดังนั้น เราจึงควรให้ความสำคัญกับสิ่งนี้สูงสุด

การเรียนรู้ คือ กระบวนการเพิ่มพูนและพัฒนาความรู้ความสามารถ ความคิด สติปัญญา ทักษะ ประสบการณ์ รวมถึงพฤติกรรมของผู้เรียนให้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆได้จากการเห็น การฟัง การอ่าน จากข้อผิดพลาดของตนเองและผู้อื่น เป็นต้น

บุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์หลายท่านได้กล่าวถึงความสำคัญของการเรียนรู้ไว้ ดังนี้

  • อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ กล่าวว่า “การพัฒนาทางสติปัญญาควรจะเริ่มเมื่อแรกเกิด และจะหยุดเมื่อชีวิตสิ้นสุดเท่านั้น”
  • เฮนรี่ ฟอร์ด กล่าวว่า “ใครก็ตามที่หยุดเรียนรู้ เขาจะกลายเป็นคนแก่ชรา ไม่ว่าเขาจะมีอายุ 20 หรือ 80 ปี แต่หากผู้ใดยังมีใจใฝ่เรียนรู้ เขาจะยังคงเป็นหนุ่มสาวเสมอ”
  • เอิร์ล ไนติงเกล กล่าวว่า “เมื่อคุณหยุดที่จะเรียนรู้ คุณก็เหมือนคนที่ตายแล้ว เพราะคุณจะเหลือเพียงร่างกายอันโดดเดี่ยวและเหี่ยวแห้ง”
  • อับราฮัม ลินคอร์น กล่าวว่า “สิ่งที่ฉันได้เรียนรู้ทั้งหมด มาจากการอ่านหนังสือ”
  • จอห์น อดัมส์ กล่าวว่า “ฉันจดจ่อกับการอ่านหนังสือ และอ่านไม่เคยพอ ยิ่งคนเราอ่านมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งรู้สึกว่าเราจำเป็นต้องอ่านมากเท่านั้น”

นอกจากนี้ ยังมีบุคคลที่มีชื่อเสียงอีกหลายท่านให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต เช่น โทมัส เจฟเฟอร์สัน แอนดรู คาร์เนกี นโปเลียน ฮิลล์ วินสตัน เชอร์ชิล บรูซ ลี มหาตมะ คานธี เลโอนาร์โด ดาวินซี ขงจื๊อ โสกราตีส เป็นต้น

====

2. ค่อยๆสร้างอุปนิสัย รักการเรียนรู้

 “จงใช้ชีวิตราวกับว่าคุณกำลังจะตายในวันพรุ่งนี้ จงเรียนรู้ราวกับว่าคุณจะมีชีวิตอยู่เป็นนิรันดร์”

มหาตมะ คานธี

ผู้ที่รักการเรียนรู้จะตระหนักว่าการเรียนรู้เป็นสิ่งจำเป็น พวกเขารู้ว่ายังมีสิ่งที่รอคอยให้พวกเขาค้นพบอีกมาก ดังนั้นพวกเขาจะใช้เวลาส่วนใหญ่ในชีวิตกับการเรียนรู้สิ่งต่างๆ

พวกเขาจะตัดสิ่งที่รบกวนสมาธิและขัดขวางการเรียนรู้ออกไป เช่น โทรทัศน์ วิทยุ เกมส์คอมพิวเตอร์ และสื่อออนไลน์ นอกจากนี้ พวกเขามักรับฟังข่าวสาร หรืออ่านหนังสือระหว่างที่เดินทาง

หากคุณต้องการสร้างอุปนิสัยการเรียนรู้ คุณไม่จำเป็นต้องทำมันอย่างสุดโต่ง เพราะสิ่งนั้นจะทำให้คุณเกิดอคติและมองโลกในแง่ร้ายว่า คุณจะต้องใช้ชีวิตทั้งหมดไปกับการอ่านหนังสือ

ให้คุณค่อยๆเปลี่ยนพฤติกรรมทีละเล็กทีละน้อย เช่น คุณอาจเริ่มต้นเรียนรู้สิ่งใหม่ๆโดยการอ่านหนังสือวันละ 1 ชั่วโมง และเมื่อคุณทำมันอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นนิสัย เท่ากับว่าตลอดทั้งปีคุณจะมีเวลาในการอ่านหนังสือมากถึง 365 ชั่วโมง และสุดท้ายคุณจะพบว่าตัวเองมีความรู้มากขึ้น และทำให้ชีวิตของคุณเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น

====

3. อยู่ในสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้

ผู้ที่ชอบการเรียนรู้จะพยายามค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆมากมาย เช่น การอ่านหนังสือ การเข้าเรียนในหลักสูตร การเข้าร่วมอบรมสัมมนา การทำกิจกรรมหรือสร้างเครือข่าย การค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต การสอบถามหรือแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ เป็นต้น

การรู้จักและสานสัมพันธ์กับเพื่อนที่เข้าใจและเห็นความสำคัญของการเรียนรู้ก็สามารถช่วยให้คุณเรียนรู้สิ่งต่างๆได้มากขึ้น

คุณอาจจะบอกเพื่อนและครอบครัวว่าคุณวางแผนที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆอย่างไร และให้พวกเขาช่วยย้ำเตือนให้คุณรับผิดชอบต่อความตั้งใจจริงของคุณ เพราะพวกเขาเหล่านี้จะเป็นตัวกระตุ้นและสนับสนุนให้คุณเกิดแรงจูงใจและมีความแน่วแน่ต่อเป้าหมายในการเรียนรู้

วิธีการนี้เป็นการสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ที่ดีและมีประสิทธิภาพ ผู้ที่ชอบการเรียนรู้ด้วยตัวเองและรักการเรียนรู้ตลอดชีวิตมักทำมันอย่างต่อเนื่อง เพราะมันช่วยให้พวกเขาเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น รวมทั้งมีความมั่นใจ และประสบความสำเร็จในที่สุด

อีกหนึ่งวิธีในการอยู่ในสภาพแวดล้อมแห่งการเรียนรู้คือการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ภายในทีมของคุณ อ่าน 4 เทคนิคสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ภายในทีม คลิกที่นี่

====

เชื่อว่า หากคุณปฏิบัติตามเคล็ดลับทั้ง 3 ข้อนี้ คุณจะกลายเป็นคนที่รักการเรียนรู้ตลอดชีวิต

และนั่นก็จะการันตีได้ว่า ไม่ว่าโลกจะหมุนเร็วแค่ไหน มีการเปลี่ยนแปลงอะไร คุณก็จะสามารถรับมือกับมันได้ ไม่เป็นคนตกยุคอย่างแน่นอน

ที่มา : http://www.lifehack.org/287498/3-things-life-long-learners-differently-make-them-learn-unremittingly

====

ถ้าคุณสนใจการพัฒนาการเรียนรู้เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของคนทำงานยุคใหม่  ขอแนะนำหลักสูตร Corporate Entrepreneurship Program เพื่อพัฒนาตัวเองให้กลายเป็นผู้ประกอบการภายในองค์กรซึ่งจะนำความสำเร็จมาสู่ตัวคุณและองค์กรของคุณ  คลิกที่นี่ 

 เรียบเรียงโดย Learning Hub Thailand

 เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

3 เคล็ดลับที่การเรียนรู้ช่วยให้คุณประสบความสำเร็จได้มากขึ้น

การเรียนรู้เป็นสิ่งที่ดี มีคุณค่า และให้ประโยชน์แก่ผู้เรียนมากมาย เช่น ทำให้เป็นคนเก่งขึ้น ฉลาดขึ้น ทันคนขึ้น ทำอะไรได้หลายอย่างมากขึ้น ทำให้การดำเนินชีวิตดีขึ้นและง่ายขึ้น เป็นต้น

ทว่า หากพูดถึง “การเรียนรู้” คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าการเรียนรู้ถูกจำกัดอยู่แต่ในสถานศึกษา และวัยที่เหมาะสมในการเรียนรู้ คือ วัยเด็กและวัยรุ่นเท่านั้น ซึ่งนั่นเป็นความเข้าใจผิด

เพราะการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ตลอดชีวิต เราสามารถแสวงหาความรู้ และพัฒนาตนเองได้ตลอดเวลา การเรียนรู้ไม่มีรูปแบบตายตัว ปราศจากกฎเกณฑ์หรือข้อกำหนดเรื่องเวลาและสถานที่ กล่าวคือ คนเราสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต

====

หากเปรียบชีวิตของคนเราเป็นดังต้นไม้ใหญ่ ปุ๋ยที่ดีที่สุดของคนเรา คือ การเรียนรู้ เพราะหากเราหยุดที่จะเรียนรู้ ชีวิตก็จะหยุดเติบโตเปรียบเสมือนต้นไม้ที่ไร้ใบ คือ ไม่มีคุณค่า และไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใดแก่สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในบริเวณนั้น ดังนั้น การเรียนรู้ตลอดชีวิตจึงมีความสำคัญมาก และเราทุกคนควรที่จะตระหนัก ปลูกฝังจิตใจและนิสัยให้รักการเรียนรู้ตลอดชีวิต

บทความนี้จะเปิดเผย 3 ปัจจัยหลักที่ทำให้คนเรามีแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ ทำมันอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นคนที่ชอบเรียนรู้ตลอดชีวิต

====

1.รู้เหตุผล และความสำคัญของการเรียนรู้

หากผู้เรียนเข้าใจถึงประโยชน์และความสำคัญของการเรียนรู้แล้ว ย่อมจะทำให้เกิดแรงจูงใจและทำให้การเรียนรู้เป็นไปได้ง่ายขึ้น การเรียนรู้มีประโยชน์มากมาย เช่น ช่วยให้คุณพัฒนาตนเอง ทำให้คุณมีความคิดใหม่ๆ และสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตของคุณได้ ดังนั้น เราจึงควรให้ความสำคัญกับสิ่งนี้สูงสุด

การเรียนรู้ คือ กระบวนการเพิ่มพูนและพัฒนาความรู้ความสามารถ ความคิด สติปัญญา ทักษะ ประสบการณ์ รวมถึงพฤติกรรมของผู้เรียนให้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆได้จากการเห็น การฟัง การอ่าน จากข้อผิดพลาดของตนเองและผู้อื่น เป็นต้น

บุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์หลายท่านได้กล่าวถึงความสำคัญของการเรียนรู้ไว้ ดังนี้

  • อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ กล่าวว่า “การพัฒนาทางสติปัญญาควรจะเริ่มเมื่อแรกเกิด และจะหยุดเมื่อชีวิตสิ้นสุดเท่านั้น”
  • เฮนรี่ ฟอร์ด กล่าวว่า “ใครก็ตามที่หยุดเรียนรู้ เขาจะกลายเป็นคนแก่ชรา ไม่ว่าเขาจะมีอายุ 20 หรือ 80 ปี แต่หากผู้ใดยังมีใจใฝ่เรียนรู้ เขาจะยังคงเป็นหนุ่มสาวเสมอ”
  • เอิร์ล ไนติงเกล กล่าวว่า “เมื่อคุณหยุดที่จะเรียนรู้ คุณก็เหมือนคนที่ตายแล้ว เพราะคุณจะเหลือเพียงร่างกายอันโดดเดี่ยวและเหี่ยวแห้ง”
  • อับราฮัม ลินคอร์น กล่าวว่า “สิ่งที่ฉันได้เรียนรู้ทั้งหมด มาจากการอ่านหนังสือ”
  • จอห์น อดัมส์ กล่าวว่า “ฉันจดจ่อกับการอ่านหนังสือ และอ่านไม่เคยพอ ยิ่งคนเราอ่านมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งรู้สึกว่าเราจำเป็นต้องอ่านมากเท่านั้น”

นอกจากนี้ ยังมีบุคคลที่มีชื่อเสียงอีกหลายท่านให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต เช่น โทมัส เจฟเฟอร์สัน แอนดรู คาร์เนกี นโปเลียน ฮิลล์ วินสตัน เชอร์ชิล บรูซ ลี มหาตมะ คานธี เลโอนาร์โด ดาวินซี ขงจื๊อ โสกราตีส เป็นต้น

====

2. ค่อยๆสร้างอุปนิสัย รักการเรียนรู้

 “จงใช้ชีวิตราวกับว่าคุณกำลังจะตายในวันพรุ่งนี้ จงเรียนรู้ราวกับว่าคุณจะมีชีวิตอยู่เป็นนิรันดร์”

มหาตมะ คานธี

ผู้ที่รักการเรียนรู้จะตระหนักว่าการเรียนรู้เป็นสิ่งจำเป็น พวกเขารู้ว่ายังมีสิ่งที่รอคอยให้พวกเขาค้นพบอีกมาก ดังนั้นพวกเขาจะใช้เวลาส่วนใหญ่ในชีวิตกับการเรียนรู้สิ่งต่างๆ

พวกเขาจะตัดสิ่งที่รบกวนสมาธิและขัดขวางการเรียนรู้ออกไป เช่น โทรทัศน์ วิทยุ เกมส์คอมพิวเตอร์ และสื่อออนไลน์ นอกจากนี้ พวกเขามักรับฟังข่าวสาร หรืออ่านหนังสือระหว่างที่เดินทาง

หากคุณต้องการสร้างอุปนิสัยการเรียนรู้ คุณไม่จำเป็นต้องทำมันอย่างสุดโต่ง เพราะสิ่งนั้นจะทำให้คุณเกิดอคติและมองโลกในแง่ร้ายว่า คุณจะต้องใช้ชีวิตทั้งหมดไปกับการอ่านหนังสือ

ให้คุณค่อยๆเปลี่ยนพฤติกรรมทีละเล็กทีละน้อย เช่น คุณอาจเริ่มต้นเรียนรู้สิ่งใหม่ๆโดยการอ่านหนังสือวันละ 1 ชั่วโมง และเมื่อคุณทำมันอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นนิสัย เท่ากับว่าตลอดทั้งปีคุณจะมีเวลาในการอ่านหนังสือมากถึง 365 ชั่วโมง และสุดท้ายคุณจะพบว่าตัวเองมีความรู้มากขึ้น และทำให้ชีวิตของคุณเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น

====

3. อยู่ในสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้

ผู้ที่ชอบการเรียนรู้จะพยายามค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆมากมาย เช่น การอ่านหนังสือ การเข้าเรียนในหลักสูตร การเข้าร่วมอบรมสัมมนา การทำกิจกรรมหรือสร้างเครือข่าย การค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต การสอบถามหรือแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ เป็นต้น

การรู้จักและสานสัมพันธ์กับเพื่อนที่เข้าใจและเห็นความสำคัญของการเรียนรู้ก็สามารถช่วยให้คุณเรียนรู้สิ่งต่างๆได้มากขึ้น

คุณอาจจะบอกเพื่อนและครอบครัวว่าคุณวางแผนที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆอย่างไร และให้พวกเขาช่วยย้ำเตือนให้คุณรับผิดชอบต่อความตั้งใจจริงของคุณ เพราะพวกเขาเหล่านี้จะเป็นตัวกระตุ้นและสนับสนุนให้คุณเกิดแรงจูงใจและมีความแน่วแน่ต่อเป้าหมายในการเรียนรู้

วิธีการนี้เป็นการสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ที่ดีและมีประสิทธิภาพ ผู้ที่ชอบการเรียนรู้ด้วยตัวเองและรักการเรียนรู้ตลอดชีวิตมักทำมันอย่างต่อเนื่อง เพราะมันช่วยให้พวกเขาเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น รวมทั้งมีความมั่นใจ และประสบความสำเร็จในที่สุด

อีกหนึ่งวิธีในการอยู่ในสภาพแวดล้อมแห่งการเรียนรู้คือการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ภายในทีมของคุณ อ่าน 4 เทคนิคสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ภายในทีม คลิกที่นี่

====

เชื่อว่า หากคุณปฏิบัติตามเคล็ดลับทั้ง 3 ข้อนี้ คุณจะกลายเป็นคนที่รักการเรียนรู้ตลอดชีวิต

และนั่นก็จะการันตีได้ว่า ไม่ว่าโลกจะหมุนเร็วแค่ไหน มีการเปลี่ยนแปลงอะไร คุณก็จะสามารถรับมือกับมันได้ ไม่เป็นคนตกยุคอย่างแน่นอน

ที่มา : http://www.lifehack.org/287498/3-things-life-long-learners-differently-make-them-learn-unremittingly

====

ถ้าคุณสนใจการพัฒนาการเรียนรู้ของคุณเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของคนทำงานยุคใหม่  ขอแนะนำหลักสูตร  Growth Mindset for Effective Work เพื่อเป็นผู้นำที่ประสบความสำเร็จ  คลิกที่นี่ 

 เรียบเรียงโดย Learning Hub Thailand

 เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

สองขั้นตอนฝึกทักษะ Resilience ที่ทำได้จริง

สองขั้นตอนฝึกทักษะ Resilience ที่ทำได้จริง

คุณเป็นคนหนึ่งใช่ไหมที่เคยจิตตกเพราะเจอสถานการณ์ร้ายๆ หรือ เจอคนที่ทำไม่ดีต่อคุณจนทำให้คุณไม่สามารถทำตามเป้าหมายได้เป็นเวลานาน

คุณคงรู้สึกแย่มากเลยใช่ไหมครับเมื่อพบว่าตัวเองตกอยู่ในสถานการณ์แบบนั้น

ต่อไปนี้เป็นข่าวดี เพราะคุณสามารถเรียนรู้และฝึกฝนทักษะที่สำคัญทักษะหนึ่งเพื่อรับมือกับสถานการณ์เลวร้ายหรือคนที่ทำแย่ ๆ ได้อย่างดีเยี่ยม

====

         เพราะสิ่งที่สำคัญกว่าการที่จะไม่ต้องพบเจอเหตุการณ์เลวร้ายหรือคนแย่ ๆ ก็คือ ‘การฟื้นคืนกลับมาอยู่ในวิถีทางสู่ความสำเร็จของเราอีกครั้ง’ หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า Resilience Skill นั่นเอง

เพราะถ้าเปรียบปัญหาและอุปสรรคเป็นคลื่นที่ถาโถมเข้ามาหาเราทุกคน การฝึกที่จะเผชิญและโต้ล้อไปกับคลื่นคือพันธกิจสำคัญของนักโต้คลื่นทุกคน

 ซึ่งผมอยากให้เราทุกคนเชื่อมั่นว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาเพื่อเป็นนักโต้คลื่น

เมื่อตระหนักได้เช่นนั้น เราจะรู้ว่าสิ่งสำคัญจึงไม่ใช่การสวดภาวนาไม่ให้พบปัญหา แต่คือการฝึกฝนทักษะที่จะเผชิญปัญหาและฟื้นคืนกลับมาได้ทุกครั้งที่เจอปัญหาต่างหาก

====


         Leo Babauta ผู้เขียนหนังสือชื่อดัง Zen Habits และ The Power of Less เป็นหนึ่งในคนที่ศึกษาและฝึกฝนเรื่อง Personal Productivity อย่างลึกซึ้งมานานหลายปี เขายอมรับว่า Resilience คือ หลักคิดและทักษะที่สำคัญที่สุดของคนทำงานยุคนี้และมันช่วยให้เรามี Productivity ที่สูงได้ด้วย 

         Resilience จะทำให้เรามีความยืดหยุ่น พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง และสามารถฟื้นคืนกลับมาได้ทุกครั้งที่เจอปัญหา ทั้งหมดนี้เป็นองค์ประกอบสำคัญในยุคที่ไม่สามารถคาดเดาอะไรได้เลยเช่นนี้

         คำถามก็คือ เราจะฝึกทักษะ Resilience ได้อย่างไร เพราะดูเหมือนมันจะเป็นแค่แนวคิดที่นามธรรมมากเหลือเกิน

         คำตอบอยู่ที่สองขั้นที่ Leo (และผม) ฝึกปฏิบัติและนำมาถ่ายทอดให้พวกเราทุกคนได้เรียนรู้ร่วมกัน ดังนี้

=====

1.กำจัดความเครียดที่ไม่จำเป็น (Remove Extra Stress)

ชีวิตคือความทุกข์ นี่คือเรื่องธรรมดาที่ทุกศาสนายอมรับและถ่ายทอดให้พวกเราทำความเข้าใจ  แต่ถึงอย่างไรมนุษย์ผู้มีระบบคิดที่ทรงพลังต่างก็เพิ่มความเครียดให้กับตัวเองโดยไม่รู้ตัว และนั่นก็ทำให้จิตใจของใครหลายคนต้องแบกรับความเครียดที่เกินพอดีจนยากที่จะฟื้นตัวกลับมาได้

ถ้าการควบคุมความคิดไม่ให้กังวลกับอนาคตหรือจมปลักอยู่ที่อดีตเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก Leo แนะนำให้เริ่มต้นในสิ่งที่ทำได้ทางกาย(พฤติกรรม) กันก่อน ดังตัวอย่างต่อไปนี้

  • ลดปริมาณเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ และสิ่งเสพติดทั้งหลายที่คุณใช้หลีกหนีปัญหาลง เพราะถ้าคุณเครียดก็มีแนวโน้มสูงมากที่คุณจะเสพมันเกินพอดี ซึ่งส่งผลให้คุณยิ่งเครียดมากขึ้นในอนาคต จงจำกัดปริมาณที่ดื่มให้น้อยลงอย่างน้อย 50%
  • จำกัดปริมาณงานที่ต้องโฟกัสให้สำเร็จลงจนเหลือเพียง 3 อย่าง โดยฝึกการปฏิเสธงานที่ไม่สอดคล้องกับเป้าหมาย และฝึกการส่งมอบงานให้คนอื่นทำบ้าง
  • หยุดพักจากหน้าจอและโซเชียลมีเดียอย่างน้อย 1 ชั่วโมงก่อนเข้านอน เพื่อเคลียร์จิตใจให้สงบอย่างแท้จริง

====

2.ทำสิ่งที่ช่วยให้คุณรู้สึกเติมเต็ม (Replenish Yourself)

เมื่อคุณลด ละ เลิกทำสิ่งที่ก่อให้เกิดความเครียดที่ไม่จำเป็น(มันอาจสร้างความสุขระยะสั้นให้คุณแต่มักจะก่อให้เกิดความเครียดในระยะยาว เช่น การดื่มเหล้า การไปปาร์ตี้ การช็อปปิ้งแบบสุดเหวี่ยง) แล้ว คุณจะมีเวลาและพลังงานเหลือที่จะทำในสิ่งที่…ทำให้คุณรู้สึกเต็มขึ้น

         สิ่งเหล่านั้นคือพฤติกรรมที่ไม่ได้ใช้เวลานาน ไม่ได้ใช้เงินเยอะ แต่คุณต้องทำอย่างสม่ำเสมอ (สร้างมันขึ้นมาแทนที่พฤติกรรมในข้อ 1) และต้องเป็นสิ่งที่ทำให้คุณรู้สึกดีขึ้นได้อย่างแท้จริง

         ถ้านึกไม่ออกว่ามีอะไรบ้าง ตัวอย่างของผมต่อไปนี้อาจช่วยคุณได้

  • เดินและนั่งชื่นชมธรรมชาติ เช่น สวนสาธารณะ แม่น้ำ ท้องฟ้า
  • ก่อนเข้านอนให้อาบน้ำอุ่นและจดบันทึกเรื่องราวในด้านบวกซึ่งเกิดขึ้นในวันนี้
  • ให้เวลาคุณภาพกับคนที่คุณรัก ไปรับประทานอาหารกับเขาโดยไม่มีมือถือมารบกวน
  • หายใจเข้าลึกขึ้น และออกให้ช้าลงและยาวขึ้นในระหว่างวัน

อีกหนึ่งพฤติกรรมที่ช่วยให้เรารู้สึกเติมเต็มได้คือการฝึกเป็นผู้นำที่ฉลาดทางอารมณ์ ศึกษาแนวทางการฝึกได้ที่นี่
=====

         พฤติกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงชีวิตของคุณไปในทางที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน ถ้าคุณทำอย่างสม่ำเสมอควบคู่ไปกับการเลิกทำพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความเครียดที่ไม่จำเป็น

         เพราะการเจอรถชน ไปทำงานสาย โดนเจ้านายด่า ถูกลูกค้าปฏิเสธ และโดนแฟนโมโหใส่เป็นสิ่งที่คุณไม่สามารถควบคุมได้ แต่ความคิดที่คุณมีต่อทุกสิ่งที่เกิดขึ้นต่างหากที่คุณสามารถควบคุมได้

         ยิ่งคุณโฟกัสไปที่สิ่งที่คุณบริหารจัดการและควบคุมได้ เช่น ความคิด พฤติกรรมของคุณ มากเท่าไหร่ คุณก็จะเริ่มสร้างทักษะ Resilience เพื่อการรับมือกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันได้มากขึ้นเท่านั้นครับ

=====

ถ้าคุณสนใจฝึกทักษะ Resilience คุณต้องเริ่มต้นที่การฝึกหลักคิดหรือ Mindset ของการเรียนรู้และเติบโต ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของคนทำงานยุคใหม่ ขอแนะนำหลักสูตร  Growth Mindset for Effective Work เพื่อเป็นผู้นำที่ประสบความสำเร็จ  คลิกที่นี่ 

เขียนโดย อ. เวย์ เวสารัช โทณผลิน

ผู้เชี่ยวชาญด้าน Productivity  (Personal Productivity Facilitator) 

 Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

ทำอย่างไร ให้ทีม ‘อึด ถึก ทน’ สู้งานหนักได้เหมือนเรา ?

ทำอย่างไร ให้ทีม “อึด ถึก ทน” สู้งานหนักได้เหมือนเรา ?

หลายครั้งที่ผมได้พบกับผู้บริหารในองค์กรต่าง ๆ ได้เล่าสู่กันฟังถึงสิ่งที่เป็นปัญหาหนักใจในการทำงาน สิ่งที่มักได้ยินอยู่เสมอก็คือ น้อง ๆ ที่ทำงาน ไม่อึด ไม่ถึก ไม่ทน ท้อถอยง่าย ลาออกบ่อย ทำให้ต้องหาคนมาแทน และสอนงานใหม่อยู่เสมอ

พอสอนงานได้ที่ เริ่มทำงานเป็นแล้ว สักพักก็ลาออกอีก วนลูปแบบนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า นี่เป็นปัญหาที่ผู้บริหารในองค์กรไหน ๆ ก็ต้องเจอในช่วงนี้

หากมองผิวเผิน หลายคนอาจจะคิดว่าปัญหานี้มาจากสาเหตุที่คนรุ่นใหม่ Gen Y – Gen Z นั้น ถูกเลี้ยงดูมาอย่างสบาย จึงไม่ค่อยอดทน หรืออีกสาเหตุหนึ่งคือ เกิดจากปัญหาความแตกต่างของช่วงวัย Gen Gap ทำให้เข้ากับหัวหน้าไม่ได้ เลยต้องลาออกไปในที่สุด

ทั้งหมดนี้ดูจะเป็นการโยนความผิดไปให้คนรุ่นใหม่ เป็นความคิดที่ไม่นำไปสู่การแก้ปัญหาใด ๆ ได้เลย ผมจึงอยากชวนให้มองลงลึกไปกว่านั้นว่า ในฐานะผู้นำ ผู้บริหาร เราทำอะไรกับเรื่องนี้ได้บ้าง

===

“ผลลัพธ์และพฤติกรรมของแต่ละคน สะท้อนออกมาจาก Mindset หรือ ทัศนคติ”

หากคุณเชื่อเหมือนกับผมเช่นนี้ เราอาจตั้งสมมติฐานได้ว่า “Mindset” น่าจะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คน ๆ หนึ่ง ทำงานไม่อึด  ไม่อดทน และไม่สู้งานหนัก

ดังนั้น หากจะแก้ปัญหานี้ จึงควรแก้และเปลี่ยนที่ “Mindset” ของคน ๆ นั้นนั่นเอง

ความสงสัยที่ตามมาทันที คือ Mindset ดูเป็นเรื่องนามธรรม จับต้องได้ยาก และการเปลี่ยน Mindset ของคน ที่ฝังติดตัวอยู่กับเขามานาน ก็น่าจะไม่ใช่เรื่องง่าย

ใช่ครับ ผมเห็นด้วย แต่ปัญหานี้เกิดจาก “เราคิดจะเปลี่ยนเขา” แต่จะเป็นอย่างไรถ้าเราสามารถช่วยให้ “เขาเต็มใจเปลี่ยนตัวเอง”

มันคงง่ายขึ้นเยอะเลย ใช่ไหมครับ ดังนั้น ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่า Mindset แบบไหน ที่เราต้องการ ?

===

“ความสำเร็จในชีวิต ไม่ได้มาจากพรสวรรค์ แต่มาจากความทรหด”

คุณคิดว่าประโยคนี้เป็นจริงไหม ลองนึกภาพง่าย ๆ ว่า คน 2 คน อายุเท่ากัน ความเก่งและฉลาดพอ ๆ กัน เริ่มทำงานพร้อมกัน ในที่ทำงานเดียวกัน ได้รับโอกาสเหมือน ๆ กัน เมื่อเวลาผ่านไป 10 ปี ไม่มีทางที่จะประสบความสำเร็จได้เท่ากัน

จะเห็นว่า “ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ที่เราสามารถควบคุมได้” ซึ่งทำให้เรามีความแตกต่างจากคนอื่น ๆ  มีเพียงเรื่องเดียวคือ “ความทรหด”

มากไปกว่านั้น โลกในปัจจุบันเป็นยุคแห่งความเปลี่ยนแปลง ไม่แน่นอน และคาดการณ์ไม่ได้ วิกฤตต่าง ๆ ทำให้เราต้องปรับตัวอยู่ตลอดเวลาเพื่อความอยู่รอด

แม้ว่าทำดีแล้วแต่อาจจะไม่ดีพอ เราต้องเจอกับผิดพลาดและความผิดหวังอยู่เสมอ ใครที่ท้อถอย ยอมแพ้ ล้มเลิกไปก่อน ก็จะไม่ประสบความสำเร็จ

ดังนั้น “ความทรหด” จึงเป็น Mindset สำคัญที่คนในยุคนี้ไม่อาจมองข้ามได้

===

“ความทรหด คืออะไร”

อ้างอิงจากหนังสือ “Grit” เขียนโดย ดร. แอนเจลา ดัคเวิร์ธ ซึ่งเขียนหนังสือเล่มนี้จากผลงานวิจัยมากมายตลอดหลายสิบปี จนเธอได้รับรางวัลแมคอาเธอร์ เฟลโลว์ชิพ ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้กับอัจฉริยะที่มีผลงานสำคัญและสร้างสรรค์ระดับโลก (คุณสามารถฟังเธอพูดเรื่องนี้ได้จาก Ted Talk ใน YouTube )

จากการศึกษาของเธอ ความทรหดนั้น เป็นพลังจากภายในที่เกิดจาก “Passion ความหลงใหล และ Perseverance ความอุตสาหะ”

ก่อนอื่นคุณต้องเชื่อก่อนว่า คนทุกคนต่างมีความทรหดอยู่ในตัว เพียงแต่มากน้อยไม่เท่ากัน แต่เราจะไม่ด่วนตัดสินว่า คน Gen Y Gen Z นั้นมีความทรหดน้อยกว่าคน Gen X

แน่นอนว่า สภาพแวดล้อม การเลี้ยงดู การเรียนรู้ และประสบการณ์ในยุคที่เติบโตมาต่างกัน ส่งผลต่อทัศนคติ ความเชื่อ และการให้ความสำคัญกับคุณค่าในชีวิตที่ต่างกันไป แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า คนรุ่นใหม่นั้นจะไม่มีความทรหด

อย่าลืมว่า คนรุ่นใหม่หลายคน มีความสามารถ มีความทรหด มุ่งมั่นจนประสบความสำเร็จในการงานได้อย่างรวดเร็วกว่าค่าเฉลี่ยที่ควรเป็นมากมายนัก เราเห็นตัวอย่างนี้อยู่ในสื่อทั้งหลายก็มีไม่น้อยเลย

ที่เราเห็นว่าคนรุ่นใหม่บางคน ใจร้อน อยากประสบความสำเร็จเร็ว แต่ไม่อดทน เปลี่ยนใจง่าย เปลี่ยนงานบ่อย ทั้งหมดนี้เป็นเพราะเขาไม่เคยได้ถูกพัฒนาทัศนคติแห่งความทรหดขึ้นในตนเอง

ดังนั้นหากมองอย่างเป็นกลาง คน Gen ไหน ๆ ต่างก็มีปัญหาเรื่องความทรหดเหมือน ๆ กัน ไม่เกี่ยวกับช่วงอายุ หรือ Gen เลยแม้แต่น้อย

มีปัจจัยทางจิตวิทยาที่จะช่วยสร้างความทรหด มีอยู่ 4 องค์ประกอบด้วยกัน ได้แก่ Interest ความสนใจที่มากพอ, Purpose เป้าหมายที่ชัดเจน, Deliberate Practice การฝึกฝนอย่างจดจ่อ, Hope ความหวังที่เต็มเปี่ยม

===

คุณจะพัฒนาทัศนคติแห่ง “ความทรหด” ให้ทีมงานได้อย่างไร ?

ผมมีคำแนะนำ 4 ข้อ ซึ่งคุณสามารถนำไปปรับใช้ทีมงานได้เลย ดังนี้

  1. Interest – ชวนคุยจนรู้ว่าทีมงานมีความสนใจ และถนัดในเรื่องอะไรมากที่สุด สนับสนุนให้เขาทำสิ่งนั้นมากขึ้น ลดในสิ่งที่เขาไม่ชอบหรือไม่ถนัดให้น้อยลง

 

ข้อนี้จะทำให้ทีมงานรู้สึกว่าได้รับการใส่ใจจากหัวหน้า ไม่ใช่แค่สั่งให้ทำงานไปวัน ๆ เมื่อคุณเข้าใจเขาและรู้จักจิตใจเบื้องลึกของเขา ความสัมพันธ์และความเชื่อใจระหว่างกันจะมีมากขึ้น เขาจะเริ่มเปิดใจกับคุณ โดยเข้าหาและปรึกษาคุณมากขึ้น

 

  1. Purpose – เมื่อทีมงานเริ่มเปิดใจกับคุณแล้ว ชวนให้เขาตั้งเป้าหมายส่วนตัว ช่วยเชื่อมโยงให้สอดคล้องกับเป้าหมายองค์กร

 

ข้อนี้จะช่วยให้เขาเห็นว่า ยิ่งเขาตั้งใจทำงาน และทำงานสำเร็จ เป้าหมายส่วนตัวของเขาก็จะสำเร็จไปพร้อมกันด้วย เขาจะมีกำลังใจและกระตือรือร้นในการทำงานมากขึ้น  

 

  1. Deliberate Practice – สนับสนุนให้ทีมงานทำสิ่งในที่ชอบและถนัด และคอยให้ Feedback เพื่อช่วยให้เขาฝึกฝนตัวเองและมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง

 

ข้อนี้เขาจะรู้สึกว่าการได้ทำงานกับคุณ มีทั้งความท้าทายและการเติบโต ไม่ซ้ำซากจำเจและน่าเบื่อ เขาจะรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า และเก่งมากขึ้น และเมื่อเขาเก่งแล้วก็เพิ่มระดับโจทย์ที่ยากขึ้นไปอีก (แต่ต้องไม่ยากเกินไป) เขาจะสนุกที่ได้ท้าทายตัวเอง

 

  1. Hope –ให้รางวัลเมื่อเขาทำได้ตามเป้าหมายในแต่ละขั้นตอน รางวัลไม่จำเป็นต้องเป็นของมีค่ามาก แม้แต่คำชื่นชมให้กำลังใจในความพยายามเมื่อเห็นเขาทำได้ดีขึ้น หรือขนมอร่อยๆสักชิ้น ก็ทำให้เขาประทับใจไม่รู้ลืมแล้ว

ข้อนี้จะทำให้เขารู้สึกไม่โดดเดี่ยว มีกำลังใจ เพราะมีคนสนับสนุน ทำให้เขามีความหวังที่จะฟันฝ่าสิ่งที่ยากลำบากได้มากขึ้น คุณต้องทำให้เขารู้เลยว่า ไม่ว่าอย่างไรคุณจะอยู่เคียงข้างเขาเสมอ

===

ส่งท้าย “ผู้คนจะไม่เชื่อในสิ่งที่คุณพูด แต่เขาจะดูจากสิ่งที่คุณเป็น” 

ถึงตอนนี้ เชื่อว่าคุณได้แนวทางในการพัฒนาทีมงาน “ให้อึด ถึก ทน” มากขึ้นแล้ว และคุณก็สามารถปรับใช้แนวทางนี้กับตัวเองได้ด้วยเช่นกัน เพราะหากคุณมีความทรหดในตัวน้อย คุณก็จะไม่สามารถพัฒนาความทรหดให้กับใครได้เลย

บทความโดย CEO เรือรบ – ผู้ก่อตั้ง Learning Hub Thailand / ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาภาวะผู้นำ

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

===

ถ้าอยากรู้ว่า ผู้นำจะปรับตัวและบริหารองค์กรให้เติบโตได้อย่างไรในยุค Next Normal หรือความปกติถัดไปที่กำลังรอพวกเราอยู่ อ่านที่นี่

ปล. หากคุณเป็นผู้บริหารหรือผู้นำองค์กร และต้องการพัฒนาทัศนคติของผู้นำในยุคดิจิทัล ที่จะนำพาทีมและองค์กร ให้อยู่รอดและเติบโตท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในอนาคต ผมกำลังจะเปิดหลักสูตร “The Digital Leadership Skills” ในวันที่ 17 ก.พ.นี้  ซึ่งคุณจะได้เรียนรู้ Mindset และ Skillset ที่สำคัญของผู้นำยุคใหม่ ซึ่งแน่นอนว่าไม่ได้มีแค่ความทรหดเพียงอย่างเดียว ดูรายละเอียด คลิกที่นี่ครับ

วิธีฝึก Self – Awareness เพื่อความสงบในการทำงาน

วิธีฝึก Self - Awareness เพื่อความสงบในการทำงาน

เป็นเรื่องธรรมดาที่เรามักไม่ค่อยรู้เท่าทันจิตใจตัวเอง เพราะมันเป็นนามธรรมที่จับต้องยาก แถมเรายังมีเรื่องสำคัญและเร่งด่วนถาโถมเข้ามาทุกวันอีกด้วย  

แต่หากคุณต้องการมีความสุขและประสบความสำเร็จในชีวิต การรู้เท่าทันจิตใจตัวเอง หรือ  Self -Awareness คือทักษะที่สำคัญที่สุด ที่คุณควรฝึกฝน

Self – Awareness หรือ การตระหนักรู้ตัวเอง คือ รากฐานที่สำคัญของภาวะผู้นำ (Leadership)  ถ้าการลงเสาเข็มให้หยั่งรากลึกลงในพื้นดินก่อนการสร้างตึกสูงเป็นเรื่องสำคัญฉันท์ใด การฝึก Self – Awareness ก่อนการฝึกภาวะผู้นำก็เป็นเรื่องสำคัญฉันท์นั้น

====

Self – Awareness จะช่วยทำให้เกิด Self – understanding (การเข้าใจตนเอง) Self – Acceptance (การยอมรับตัวเอง)  Self – Esteem (ความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง) ไปจนมี Self – Control หรือ สามารถควบคุมตนเองให้ทำพฤติกรรมที่ช่วยให้ประสบความสำเร็จรวมถึงเลิกพฤติกรรมบ่อนทำลายตัวเองลงได้ด้วย

ซึ่งสุดท้ายมันจะช่วยทำให้ชีวิตของคุณมีประสิทธิผล หรือ  Productive มากขึ้นได้ด้วย 

แม้จะเข้าใจในเชิงแนวคิด(Concept) แต่ในทางปฏิบัติก็ยังทำได้ยากอยู่ดี ใช่แล้วครับ ผมไม่ได้บอกว่ามันทำได้ง่าย แต่ผมยืนยันว่านี่คือรากฐานของการเป็นผู้นำ และเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนควรฝึกไม่ว่าจะมีตำแหน่งและบทบาทใดก็ตาม

====

ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างประสิทธิผลส่วนบุคคลและทักษะการร่วมมือร่วมใจภายในองค์กร ผมขอแบ่งปันประสบการณ์จากการฝึก Self – Awareness ในชีวิตจริงทั้งในชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวซึ่งเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน จนกลายมาเป็นวิธีการฝึกแบบ Step by Step ที่คุณสามารถฝึกตามได้ทันที ดังนี้ 

1.ใส่ใจกับความรู้สึกทางร่างกายของคุณ

เริ่มต้นที่ส่วนที่สัมผัสได้ง่ายที่สุดในตัวคุณ นั่นคือร่างกาย วางทุกสิ่งที่ทำตรงหน้าแล้วมารับรู้ร่างกายของคุณอย่างเต็มที่ โดยจะเลือกที่อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ที่ลมหายใจก็ได้ 

====

2. ใส่ใจกับความรู้สึกภายในใจคุณ

หลับตา แล้วถามตัวเองว่า “ขณะนี้ฉันรู้สึกอย่างไร” อาจเริ่มที่การจับว่าความรู้สึกตัวเองเป็นไปในทางบวก ลบ หรือกลาง ๆ ก่อนก็ได้ เมื่อฝึกไปเรื่อย ๆ ค่อยเริ่มระบุชื่อความรู้สึกออกมา เช่น กลัว กังวล เครียด โกรธ โมโห แค้น ไม่พอใจ เป็นต้น

====

3. ยอมรับทุกสิ่งที่กำลังปรากฏ

ระวังความคิดต่อต้านตัดสินความรู้สึกต่าง ๆ ยอมรับว่าทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมีเหตุปัจจัย มีที่มาที่ไป และไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริงของเรา ยอมรับว่าความคิดทั้งหมดไม่ว่ามันจะดีหรือไม่ดีคือส่วนหนึ่งข้างในตัวเรา และเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดทุกข์ด้วย

====

4. กำหนดรู้ตัวอยู่กับปัจจุบัน

ขั้นตอนนี้คือหัวใจของทุกสิ่ง การกำหนดรู้อยู่กับปัจจุบันจะอยู่กับลมหายใจหรือการเคลื่อนไหวโดยไม่ต้องคิดของอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งของเราก็ได้ (ควรเคลื่อนไหวง่าย ๆ ซ้ำ ๆ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องคิด) ถ้าจิตหลุดไปคิดก็แค่กลับมารู้ตัวในปัจจุบันเท่านั้น

====

5. เฝ้าดูทุกสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นภายใน

รับรู้ทุกสิ่ง ทั้งความคิด ความรู้สึกทางจิตใจ ความรู้สึกทางร่างกาย แค่รับรู้โดยไม่ต้องไปตัดสินอะไรเลย อยู่กับปัจจุบันขณะต่อไปเรื่อย ๆ และถ้าหลุดไปจากปัจจุบันก็เพียงแค่กลับมา โดยไม่ต้องคิดตัดสินอะไรตัวเองเลย ฝึกแบบนี้ต่อเนื่องจะสามารถอยู่กับปัจจุบันได้มากขึ้นและนานขึ้นเอง 

เมื่อฝึกทักษะการมีสติรู้ตัวได้ในระดับหนึ่งแล้ว คุณจำเป็นต้องเปลี่ยน ‘การรู้ตัว’ เป็น ‘การปรับตัว’ เพื่อความสำเร็จที่แท้จริง คลิกอ่านที่นี่

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากมีทักษะตระหนักรู้เท่าทันความคิด ความรู้สึกของตัวเอง (Self -Awareness) เพื่อพัฒนาสู่การเป็นคนที่ฉลาดทางอารมณ์ เราขอแนะนำหลักสูตร Emotion Intelligence  คลิกที่นี่

====

เรียบเรียงโดย อ. เวย์ เวสารัช โทณผลิน
ผู้เชี่ยวชาญด้าน Productivity (Productivity Facilitator) 

Learning Hub Thailand เราพัฒนาคนในองค์กร เพื่อเพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

แนวทางจัดการอารมณ์โกรธให้อยู่หมัด

แนวทางจัดการอารมณ์โกรธให้อยู่หมัด

ครั้งสุดท้ายที่ระเบิดลง คุณรู้สึกอย่างไร และรับมือกับมันอย่างไร?

แม้ผมจะมีช่วงเช้าที่แสนสดใส แต่ช่วงบ่ายกลับเป็นเหมือนหนังคนละม้วน  เพราะผมได้ระเบิดอารมณ์ใส่น้องที่ทำงาน!!

จากการส่งข้อความแจ้งเรื่องงานที่เรียบง่าย แต่ไม่ถึง 3 นาทีต่อจากนั้น ภาพตัดมาที่ผมกำลังตะโกนเสียงดังผ่านโทรศัพท์ว่า…

“จะเถียงพี่ทำไม #%$^&”

หัวใจผมเต้นแรงไม่เป็นจังหวะ สายตาของผมเริ่มพร่ามัว ปากและมือของผมสั่นระริก ถ้าอยู่ใกล้ ๆ อยากจะเอามือตบโต๊ะใส่ให้รู้แล้วรู้รอดไปเลย

====

แม้จะรู้สึกผิดที่คุมอารมณ์ไว้ไม่อยู่ แต่อีกใจก็รู้สึกสะใจชะมัดที่ได้ทำอะไรแบบนี้บ้าง จนกระทั่งน้องปลายสายถามผมว่า…

“อันนี้คือพี่ใช่ไหม?”

คำถามนั้นทำให้ผมนิ่งไปพักใหญ่ ๆ แล้วสูดลมหายใจเข้าลึก ๆ เพื่อดึงสติให้กลับมา

นี่ไม่ใช่ตัวตนของผม!!

แต่ความพลุ่งพล่านที่เกิดขึ้นนี้ มันเกิดมาจากการที่ ‘ความต้องการ’ และ ‘ความกลัว’ ของผม ถูกกระตุ้น ด้วยเสียงกระซิบเบา ๆ

เสียงกระซิบที่ดังในหัวว่า…

“มึงจะยอมให้เด็กมาข้ามหน้าข้ามตามึงไม่ได้”

“เด็กนี่มันเก่งกว่ามึงอีก มึงสู้น้องมันไม่ได้”

“น้องมันทำงานดีกว่า และกำลังทำให้มึงเป็นพวกดีแต่พูด”

และเสียงอื่น ๆ อีกมากมาย ที่ผมก็ฟังไม่ทันเหมือนกัน

====

เสียงเหล่านี้ชวนให้ผมตีความว่าข้อความทางแชทและน้ำเสียงที่คุยกัน คือน้องคนนี้กำลังกวนประสาทและท้าทายผม

ซึ่งในเสี้ยววินาที ผมก็เชื่ออย่างสนิทใจว่า…

“การระเบิดอารมณ์ใส่น้อง คือสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมที่สุดแล้ว”

เหตุการณ์นี้ทำให้ผมนึกถึงบทเรียนที่พึ่งได้เรียนในคลาส Communication Secrets

ปัญหาอย่างหนึ่งในการสื่อสารนั่นก็คือ… ‘เจตนาหรือความกลัวลึก ๆ ที่ซ่อนอยู่ใต้คำพูด (Subtext)’

ซึ่งเจตนาที่ซ่อนอยู่ในการระเบิดอารมณ์ครั้งนี้ของผมคือ… “การแสดงอำนาจ”

เพราะเสียงกระซิบที่ผมได้ยินมันกำลังทำให้ผมเห็นว่า “ผมกำลังไม่ปลอดภัย” ถ้ายังปล่อยให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น

ความสำคัญของผมในทีมจะถูกลดทอนลงและผมจะไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของทีมนี้อีกต่อไป ซึ่งผมยอมไม่ได้!!

====

พอรู้ว่าความกลัวลึก ๆ นี้กำลังบงการชีวิต ผมจึงเปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารใหม่

เพราะ “การระเบิดอารมณ์” แค่ทำให้ผมรู้สึกมีอำนาจ แต่มันไม่ได้ช่วยให้ทีมของเราเติบโตไปไหนเลย

ผมค่อย ๆ สำรวจเสียงกระซิบภายในใจ ปรับจังหวะของลมหายใจให้ช้าและผ่อนคลาย เปลี่ยนท่าทางใหม่ ให้ผ่อนคลายและมีรอยยิ้มมากขึ้น

ผมเปิดใจคุยกับน้อง เล่าให้ฟังว่ามีอะไรเกิดขึ้นในใจผม และขอโทษที่ระเบิดอารมณ์ออกไปแบบนั้น

ท้ายที่สุด เราก็ได้ข้อสรุปกันว่า…

การสื่อสารผ่านข้อความ ทำให้เกิดการตีความที่ผิดเพี้ยน

ดังนั้นต่อไปในกรณีที่เป็นเนื้องานที่ต้องพูดคุยกัน เราจะใช้การโทรหากัน มากกว่าการพิมพ์

และหากคุยแล้วอารมณ์เริ่มพลุ่งพล่านแบบนี้อีก ผมจะให้น้องส่งสัญญาณกับผมว่า… “เราหายใจกันเถอะ”

เพื่อให้ผมกลับมามีสติ และตอบสนองได้ดีขึ้น

====

วิธีรับมือเวลาที่อารมณ์ขึ้น

หากคุณเคยหลุดอารมณ์เสียใส่ทีม หรือเพื่อนร่วมงานของคุณ และคุณก็รู้สึกเสียใจที่ทำแบบนั้นลงไป ผมแนะนำให้คุณได้ฝึก 3 ขั้นตอนดังนี้

1.ฝึกรู้เท่าทันอารมณ์ตัวเอง

อารมณ์เกิดขึ้นได้เสมอ ไม่ต้องรู้สึกผิดเวลาอารมณ์ขึ้น เราแค่ต้องฝึกรู้เท่าทันว่าตอนนี้ เรากำลังโกรธ เรากำลังเสียใจ เรากำลังอึดอัดอยู่ นี่เป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก และเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง

====

2.ฝึกสำรวจใจตัวเอง

อารมณ์ที่เกิดขึ้น คือผลลัพธ์ปลายทางที่เกิดความกลัวบางอย่างภายในใจ หรืออาจเป็นการที่เรารู้สึกว่าความต้องการบางอย่างที่สำคัญของเรากำลังถูกคุกคาม

หากเรื่องอะไรมากระทบใจเราบ่อย ๆ ลองสำรวจใจของเราว่าเรากลัวอะไร หรือเราต้องการอะไรกันแน่

และเมื่อเรารู้ความต้องการที่แท้จริงของตัวเองแล้ว มันจะทำให้เรากลับมาพิจารณาหาทางเลือกอื่น ๆ ได้มากขึ้น

เพราะบางครั้ง เราก็ไม่ได้โกรธเพราะอยากโกรธ แต่เราโกรธ เพราะเราต้องการให้ผลงานออกมาดี ซึ่งการจะให้ผลงานออกมาดีนั้น  ยังมีวิธีอีกมากมายที่จะทำให้ได้ผลลัพธ์นั้นมา โดยไม่ต้องทำร้ายจิตใจคนอื่น

====

3.ฝึกเริ่มใหม่เสมอ

พลาดแล้วก็เริ่มใหม่ ระเบิดแล้วก็ขอโทษแล้วก็ปรับตัว มันอาจจะยากที่จะทำให้คนเชื่อว่าเราจะเปลี่ยนไป แต่หากเราเริ่มใหม่ทุกครั้งเวลาที่พลาด ไม่หมดความพยายามต่อตัวเองที่จะฝึกบริหารและรับมืออารมณ์ให้ดีขึ้น

เมื่อเรารู้ตัวอีกทีหลังจากที่ทำต่อเนื่องไปได้สักระยะ คุณจะประหลาดใจว่าทำไมเพื่อนร่วมงานถึงรู้สึกสนิท เคารพ และอยากเข้าใกล้คุณมากกว่าแต่ก่อน

อีกหนึ่งรูปแบบการฝึกจิตใจก็คือการฝึกมีสติรู้ตัวในทุก ๆ เรื่องที่ทำ หรือการมี Self – Awareness อ่าน วิธีฝึก Self – Awareness แบบ Step by Step ได้ที่นี่

====

เป็นกำลังใจในการฝึกฝนนะครับ

บทความโดย

อ.กิตติ ไตรรัตน์

Self-Leadership Facilitator

ถ้าต้องการฝึกบริหารจัดการอารมณ์เพื่อให้การทำงานและการสร้างทีมมีประสิทธิภาพสูงสุด เราขอแนะนำหลักสูตร Emotion Intelligence เพื่อให้คุณเป็นผู้นำที่สามารถสร้างทีมที่ยอดเยี่ยมได้สำเร็จ ดูรายละเอียดที่นี่

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

.

5 วิธีรับมือกับความเครียดในการทำงาน

5 วิธีรับมือกับความเครียดในการทำงาน

การทำงานเป็นสาเหตุให้คุณเกิดความเครียดได้ ไม่ว่าความเครียดนั้นจะมาจากงานที่เพิ่มขึ้น เวลาที่น้อยลง หัวหน้างานผู้เข้มงวด หรือเพื่อนร่วมงานช่างนินทา

มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งเปิดเผยว่า ชาวอเมริกันสามในสี่คนทุกข์ทรมานจากความเครียดในที่ทำงาน นอกจากนี้ องค์กรอนามัยโลกรายงานว่า ในแต่ละปีความเครียดเป็นสาเหตุให้พนักงานหยุดงานเนื่องจากป่วย และทำให้ธุรกิจของอเมริกาเสียหายถึง 3,000 ล้านเหรียญ

จากข้อมูลเบื้องต้น จะเห็นว่าความเครียดนั้นน่ากลัวกว่าที่คิด เพราะไม่เพียงแต่ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย รวมถึงจิตใจของผู้คนแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติในด้านต่างๆด้วย

ดังนั้น เราจึงจำเป็นที่จะต้องกำจัดความเครียดก่อนที่มันจะกำจัดเรา โดยบทความนี้ได้แนะนำหลักปฏิบัติ 5 ข้อ เพื่อให้คุณสามารถจัดการและรับมือกับความเครียดในที่ทำงานได้ ดังนี้

====

1) ใส่ใจเรื่องอาหารการกิน

อาหารเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเครียดของคุณ กล่าวคือ อาหารสามารถกระตุ้นหรือบรรเทาความเครียดให้คุณได้ ขึ้นอยู่กับชนิดหรือประเภทของอาหาร

อาหารที่ช่วยขจัดความเครียด ได้แก่ อาหารจำพวกผัก ผลไม้ ข้าวกล้อง ธัญพืช ถั่ว เผือก มัน น้ำเปล่า เป็นต้น อาหารเหล่านี้มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะระบบประสาท เพราะอุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามิน ช่วยรักษาระดับน้ำตาลให้คงที่ และยังช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายและลดความเครียดได้อีกด้วย

นอกจากอาหารที่ควรรับประทานเพื่อลดความเครียดแล้ว ยังมีอาหารที่คุณควรหลีกเลี่ยง ยกตัวอย่างเช่น ชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาหารฟาสต์ฟู้ด อาหารที่มีไขมันสูง เป็นต้น

อาหารและเครื่องดื่มเหล่านี้มีสารเพิ่มความเครียด ในระยะแรกที่ได้รับประทานคุณอาจรู้สึกดี แต่หากคุณรับประทานในปริมาณที่มากเกินไปหรือรับประทานอย่างต่อเนื่อง จะทำให้เกิดสภาวะความเครียดสะสมในร่างกายได้

====

 2) กำหนดลมหายใจเข้า-ออก

เรื่องการหายใจก็มีความสัมพันธ์กับความเครียดเช่นกัน คุณจะพบว่าเมื่อคุณเครียด คุณจะหายใจเร็วหายใจตื้น หัวใจเต้นเร็ว และมีอาการกระสับกระส่าย

ดังนั้น เมื่อคุณเครียด ให้คุณกำหนดลมหายใจเข้าออก โดยคุณอาจหายใจเข้าและออกอย่างช้าๆประมาณ 1-2 นาที คุณสามารถทำเช่นนี้ในช่วงพักเที่ยง หรือระหว่างวันก็ได้ และหากคุณมีเวลามากกว่านั้น คุณอาจทำในช่วงเช้าและก่อนนอนด้วย

วิธีการกำหนดลมหายใจเข้าและออกคล้ายๆกับการนั่งสมาธิ ซึ่งจะช่วยให้คุณลดความเครียดลงได้ เพราะเมื่อคุณหายใจเต็มปอดก็จะทำให้เลือดและสมองได้รับออกซิเจนมากขึ้น และสิ่งนี้จะทำให้คุณสดชื่น และกระปรี้กระเปร่ามากยิ่งขึ้น

====

3) ออกกำลังกาย

เวลาที่คุณนั่งจมอยู่กับปัญหาในที่ทำงาน นอกจากจะทำให้เสียสุขภาพจิตแล้ว ยังทำให้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ เครียดเกร็งโดยที่คุณไม่รู้ตัว ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการปวดเมื่อยเรื้อรังที่รักษายาก

วิธีแก้ไขความเครียดที่ง่ายและทำได้ทันที ก็คือ ลุกออกมาจากโต๊ะทำงาน ยืดเส้นยืดสาย หรือเดินเพื่อเปลี่ยนอิริยาบถสัก 10-15 นาที 

นอกจากนี้ ในแต่ละวันคุณควรแบ่งเวลาประมาณ 30 นาทีเพื่อออกกำลังกาย ในช่วงแรกของการเริ่มต้น คุณอาจรู้สึกว่ายาก แต่หากคุณทำมันอย่างต่อเนื่อง ร่างกายของคุณจะแข็งแรงขึ้น และแน่นอนว่าเมื่อร่างกายแข็งแรง คุณก็จะสามารถรับมือกับความเครียดได้

การออกกำลังกายทำให้ร่างกายหลั่งสารเอ็นโดพิน ซึ่งทำให้คุณรู้สึกดี มีพลัง และกระฉับกระเฉงมากขึ้น แต่หากคุณยังไม่มีแรงบันดาลใจมากพอ ให้ลองจัดกิจกรรมออกกำลังกายกับเพื่อนร่วมงานของคุณ วิธีการนี้จะทำให้คุณรู้สึกสนุกและอยากออกกำลังกายมากขึ้น

====

4) เลือกรับฟังข้อมูลด้านบวก หลีกเลี่ยงข้อมูลด้านลบ

ในที่ทำงานของคุณย่อมมีคนหลากหลายประเภท และคำกล่าวที่ว่า “หงส์อยู่ในฝูงหงส์ กาอยู่ในฝูงกา” นั้นเป็นจริงเสมอ

กล่าวคือ คนที่มีลักษณะนิสัยคล้ายคลึงกันมักรวมตัวอยู่ด้วยกัน ดังนั้น หากคุณไม่อยากเครียด ก็ไม่ควรที่จะสุงสิงหรือยุ่งเกี่ยวกับคนที่ทำให้คุณเครียด

ยกตัวอย่างเช่น เพื่อนร่วมงานบางคนชอบระบายความเครียดให้ผู้อื่น เมื่อเขาไม่พอสิ่งใด เขาจะใช้ถ้อยคำรุนแรงเพื่อต่อว่า แสดงน้ำเสียงเกรี้ยวกราด หรือแสดงท่าทางก้าวร้าว เป็นต้น

พฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลต่ออารมณ์และความรู้สึกของคุณ เพราะฉะนั้นจงอยู่ให้ไกลจากคนประเภทนี้ แต่ทว่า บางครั้งหากเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ให้คุณมีสติ กลั่นกรองข้อเท็จจริง อย่าเชื่อข้อมูลทุกอย่างที่เขาพยายามสาดใส่คุณ เพราะนั่นจะทำให้คุณเครียด และกลายเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย

ทางที่ดีที่สุดก็คือ คุณควรเลือกคบเพื่อนร่วมงานที่มองโลกในแง่ดี และเลือกรับฟังข้อมูลด้านบวก และหากคุณเกิดความเครียดให้ทำกิจกรรมที่ช่วยให้ตนเองผ่อนคลาย เช่น การดูหนัง ฟังเพลง การท่องเที่ยว เป็นต้น

====

5) เลือกเสพข่าวสารอย่างเหมาะสม

หากคุณเป็นพวกที่ชอบเกาะติดสถานการณ์บ้านเมืองโดยติดตามข่าวสารผ่านโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ และโซเชียลเน็ตเวิร์กตลอดเวลา คุณกำลังจะเครียดโดยไม่รู้ตัว

เนื่องจากพฤติกรรมของสื่อในปัจจุบันมุ่งเน้นการนำเสนอข้อมูลในเชิงลบอย่างซ้ำไปซ้ำมา นอกจากนี้ ผู้สื่อข่าวมักใส่ความคิดเห็น หรือแสดงอารมณ์และความรู้สึกส่วนตัวลงไปในเหตุการณ์ที่นำเสนอ สิ่งนี้ทำให้ผู้รับสารเกิดอารมณ์ร่วม และเกิดความเครียดในที่สุด

ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงความคิดเชิงลบ คุณควรเลือกรับข่าวสารอย่างเหมาะสม กล่าวคือ คุณควรจัดแบ่งเวลาในการรับข้อมูล ไม่ควรเสพข้อมูลมากเกินไป เพราะเมื่อคุณรับข้อมูลแล้ว สมองของคุณก็จะบันทึกและประมวลผล ซึ่งหากข้อมูลมีเนื้อหาที่รุนแรงและมีปริมาณมากเกินไป คุณก็จะได้รับอิทธิพลจากสิ่งที่คุณเสพด้วย

นอกจากนี้ คุณควรเลือกรับสารที่มีประโยชน์ และมีเนื้อหาในแง่บวก เช่น ภาพการช่วยเหลือสังคม ภาพความสำเร็จ เป็นต้น เพราะข่าวสารดีๆเหล่านี้จะทำให้คุณมองโลกในแง่ดี และเกิดกำลังใจในการใช้ชีวิต

มีวิธีการบริหารความเครียดอีกมากมายที่คุณเรียนรู้และฝึกฝนได้ด้วยตัวเอง  อ่านประสบความสำเร็จได้มากขึ้นด้วยการเป็นผู้นำที่ฉลาดทางอารมณ์เพื่อฝึกบริหารจัดการอารมณ์ของคุณเองคลิกที่นี่

===

ที่มา : http://www.pickthebrain.com/blog/5-ways-reduce-stress-work-place/

 

หากคุณอยากให้ตัวเองและทีม มีความมั่นใจและพัฒนา EQ เพื่อเป็นผู้นำที่ดีขึ้น ขอแนะนำหลักสูตร Emotion Intelligence ผู้นำฉลาดทางอารมณ์ ที่จะช่วยให้คุณได้เรียนรู้ทักษะทั้ง 5 ได้เป็นอย่างดี คลิกดูรายละเอียดที่นี่

เรียบเรียงโดย  Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

กลยุทธ์รับมือกับคนที่เจรจาต่อรองยากทั้ง 5 ประเภท

กลยุทธ์รับมือกับคนที่เจรจาต่อรองยาก 5 ประเภท

ในการเจราจาต่อรองเรื่องใดก็ตาม สิ่งสำคัญที่นักเจรจาต่อรองมือใหม่หวาดกลัวก็คือ คนที่มีลักษณะเฉพาะที่ส่งผลให้เจรจาต่อรองยากหรือรับมือด้วยยาก

       ในบทความนี้เราได้วิเคราะห์และจัดกลุ่มคนที่ถือว่าเจรจาต่อรองด้วยยากที่สุดมาทั้งหมด 5 ประเภทเพื่อให้คุณทำความเข้าใจและเรียนรู้แนวทางการดีลกับคนแต่ละประเภทได้ดียิ่งขึ้น

====

ก่อนจะไปเริ่มต้นทำความรู้จักคนที่เจรจาต่อรองยากแต่ละประเภท ต้องกลับมาที่หัวใจสำคัญของการเจรจาต่อรองที่ดีก่อน นั่นก็คือ การทำให้เกิดสภาวะแบบ Win – Win ซึ่งหมายถึงชนะด้วยกันทั้งสองฝ่าย นั่นคือเราได้ในสิ่งที่เราต้องการและเขาก็ต้องได้ในสิ่งที่เขาต้องการเช่นกัน

เมื่อมี Win -Win Negotiation เป็นเป้าหมายหลักอยู่ในใจแล้ว ก็มาทำความรู้จักคนที่เจรจาต่อรองหรือพูดคุยด้วยยากทั้ง 5 ประเภทพร้อมทั้งแนวทางรับมือกันได้เลย

====

1. คนที่มีเงื่อนไขเยอะ

คนกลุ่มนี้ ไม่ว่าเราเสนออะไรไป เขาจะมีคำว่า “แต่….” ขึ้นมาเสมอ เช่น ที่คุณบอกมาก็ดีนะ แต่…. แล้วมีเงื่อนไขอื่น ๆ ตามมา แม้ว่าเราจะมั่นใจว่าข้อเสนอของเราดีสำหรับเขาแล้วก็ตาม แต่เขาก็ยังมีคำว่า ‘แต่’ ตามมาเสมอ

สาเหตุที่แท้จริงของคำว่า แต่ มาจากการที่เราอาจจะยังไม่เข้าใจความต้องการที่แท้จริงของเขา ซึ่งซ่อนอยู่ในสิ่งที่เราคิดว่าคือความต้องการหลักของเขานั่นเอง เขาอาจจะไม่ได้พูดสื่อสารออกมาตรง ๆ หรือ เขาอาจจะยังไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำว่าแท้จริงแล้วเขาต้องการอะไร

วิธีการ  เราต้องหยุดคำว่า “แต่” ของเขาให้ได้ โดยการถามเขาออกไปตั้งแต่เริ่มมีคำว่า ‘แต่’ ผุดออกมาเลยว่า “สิ่งที่คุณต้องการคืออะไร” หรือ มีตัวเลือกให้เขา เช่น “ระหว่าง A , B และ C คุณชอบอันไหนมากที่สุด เพราะอะไร”

====

2. คนที่ขี้สงสัย

คนประเภทนี้มักจะตั้งคำถามกับทุกสิ่ง ถามตั้งแต่เรื่องใหญ่ไปจนถึงเรื่องเล็กโดยไม่เข้าประเด็นสักที ซึ่งก็ทำให้เราพาเขาไปสู่จุดที่ต้องตัดสินใจในเรื่องที่เจรจาด้วยได้ยากมาก

ต้องเข้าใจก่อนว่าภาวะสงสัยเกิดจากความกลัว ความกังวล ความไม่ไว้ใจ เช่น กลัวว่าจะถูกเราหลอก กลัวว่าข้อเสนอของเราจะไม่ดีที่สุดสำหรับเขา

วิธีการ เราต้องขจัดความกลัวออกจากใจเขาให้ได้ โดยการถามเขาไปตรง ๆ เลยว่า “คุณกังวลหรือกลัวเรื่องอะไร” “ที่คุณยังไม่อยากตัดสินใจเพราะอะไร” เพราะถ้าเรารู้ความกลัวของเขา เราก็จะสามารถคิดวิธีการช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้แก่เขาได้นั่นเอง

====

3. คนที่อารมณ์ไม่ดี หรือ ก้าวร้าว

เป็นธรรมดาที่เราจะกลัวคนอารมณ์ไม่ดี ก้าวร้าว หรือ มีท่าทีไม่พอใจ  ไม่ว่าจะกลัวถูกด่าถูกว่า ถูกตำหนิ หรือ กลัวว่าเขาจะไม่รับข้อเสนอของเรา คนที่อารมณ์ไม่ดีเป็นเพราะมีบางอย่างไม่ถูกใจหรือมีความต้องการบางอย่างที่ยังไม่ได้รับการตอบสนองนั่นเอง  

วิธีการ ให้ใช้ความสงบสยบความเคลื่อนไหว เมื่อเขาแรงมาเราต้องนิ่งให้มากขึ้น แล้วพยายามสื่อสารกับเขาว่าถ้าเขาพูดเสียงดังไปจะส่งผลเสียต่อตัวเขาอย่างไร เช่น เราอาจจะได้ยินไม่ชัดหรือฟังไม่ทัน  อยากให้ช่วยพูดเสียงเบาลงก่อนดีกว่าไหม  เช่น พูดว่า “ถ้าพี่ลดน้ำเสียงลง พูดช้าลงผมน่าจะเข้าใจความต้องการของพี่แล้วผมก็จะสามารถช่วยพี่ได้มากขึ้น”

====

4.คนที่ชอบท้าทาย

คนกลุ่มนี้มักจะท้าทายเราว่า “ทำได้จริงเหรอ” “เป็นไปได้เหรอ” เป็นการพูดคล้าย ๆ กำลังดูถูกเรา ซึ่งแท้จริงแล้วเกิดจากการที่เขายังไม่เชื่อมั่นหรือยังไม่ไว้ใจเราหรือสิ่งที่เราพูดนั่นเอง

วิธีการ เราต้องพิสูจน์ให้เขาเห็นหรือรับรู้เพื่อทำให้เขามั่นใจในสิ่งที่เราเสนอ ซึ่งการพิสูจน์นั้นทำได้ทั้งข้อมูลทางเอกสาร ตำรา หรือบุคคลอ้างอิง ซึ่งเราควรวิเคราะห์เขาให้ออกว่าเขาชอบข้อมูลแบบไหน จากแหล่งใด หรือถ้ายังไม่แน่ใจก็ควรเตรียมข้อมูลทั้งจากเอกสาร งานวิจัย บุคคลอ้างอิง แลทักษะการเล่าเรื่องไปให้พร้อม

====

5. คนที่รู้เยอะ

คนกลุ่มนี้เป็นประเภทรู้ไปหมดทุกเรื่อง พูดอะไรไปเขาก็บอกได้ เขาก็เข้าใจหมด ลึก ๆ แล้วเขาต้องการมีตัวตน ต้องการโชว์ภูมิ ต้องการการยกย่องหรือการยอมรับ ยิ่งเขาพูดมากเท่าไหร่ให้เข้าใจได้เลยว่าเขายิ่งต้องการมากเท่านั้น

วิธีการ ให้เรามอบในสิ่งที่เขาต้องการไปเลย โดยการสนับสนุนเขา ทำให้เขารู้สึกว่าเขาเก่ง ฉลาด รอบรู้ ทำให้เขารู้สึกว่าสิ่งที่เขารู้นั้นมาสอนเราได้ เช่น ให้พูดขอบคุณเขาไปเลยว่า “ขอบคุณมากนะครับ ความรู้นี้มีประโยชน์ต่อผมมากเลย” เป็นต้น

สิ่งสำคัญสำหรับนักเจรจาต่อรองก็คือ ให้ระลึกไว้เสมอว่ายิ่งเราเจอคนที่เจรจาต่อรองยากเท่าไหร่ ทักษะการเจรจาต่อรองของเราก็จะยิ่งดีขึ้นเท่านั้น ฉะนั้นจงอย่ากลัวหรือหลกหนีคนที่เจรจาต่อรองยาก แต่ให้มองว่าคนเหล่านี้ก็คือมนุษย์ปุถุชนทั่วไปไม่ต่างจากเรา ซึ่งมีบางอย่างสอนและฝึกเราได้เสมอครับ

เรียนรู้และฝึกฝนเทคนิคการเจรจาต่อรองเพิ่มเติมได้ใน อะไรเป็นเทคนิคที่ดีที่สุดในการเจรจาต่อรอง คลิกที่นี่

====

ถ้าคุณอยากฝึกทักษะการเจรจาต่อรองเพื่อให้คนในทีมของคุณทำสิ่งดีดีเพื่อเป้าหมายขององค์กร ขอแนะนำหลักสูตร Persuasion and Negotiation Mastery ดูรายละเอียด คลิกที่นี่

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Ads, Google Analytics

    Statistics

  • Google Analytics

    Statistics

  • Facebook

    Marketing/Tracking

  • ActiveCampaign

    Functional

  • ActiveCampaign

    Marketing/Tracking

Save