5 เคล็ดลับ เปลี่ยนคนเบื่องาน ทะยานสู่ TOP 5 ในออฟฟิศ

ยอมรับมาซะดีๆ ว่าคุณเคยแอบอิจฉาคนในที่ทำงานที่ได้ดิบได้ดี เป็นลูกรักของ Boss แถมโบนัสและเงินเดือนก็ยังเกินหน้าเกินตาเพื่อนร่วมงานไปหลายเท่า

หลายต่อหลายครั้งที่ต้องยอมรับในความสามารถของคนที่ได้ชื่อว่าเป็นพนักงานระดับ Top 5 ในออฟฟิศ

ความสามารถที่เขาเหล่านั้นไม่ได้มาเพราะโชคช่วย ไม่ได้มาจากการประจบสอพลอ

และหลายต่อหลายคนคิดว่าความสามารถของคนระดับ Top 5 เกิดขึ้นเพราะเขามี ‘พรสวรรค์’ 

====

ความเชื่อเหล่านั้นทำให้หลายคนหยุดพัฒนาการทำงานของตัวเอง ซึ่งตามมาด้วยความรู้สึกหมดหวังต่อความก้าวหน้าในงานที่ทำอยู่ จนอาจกลายเป็นอาการเบื่องานในไม่ช้า

ทั้งที่ ในความเป็นจริงแล้วพนักงานระดับ Top 5 ก็ไม่ได้มีสิ่งใดเหนือกว่าพนักงานระดับธรรมดาๆ เลย ต่างกันเพียงแค่เรื่องเดียวเท่านั้น

นั่นคือ  ‘ความสามารถในการเรียนรู้ที่รวดเร็ว’

====

โชคดีที่ความสามารถนี้เป็นสิ่งที่สามารถสร้างได้ด้วยตัวเอง และ ต่อไปนี้ คือ 5 เคล็ดลับ ที่จะทำให้คุณมีศักยภาพในการเรียนรู้รวดเร็ว

1.สร้างสภาพแวดล้อมที่สงบ

ขั้นตอนแรกของการเรียนรู้  มิใช่แค่การฟังหรือการอ่าน แต่เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้

สภาพแวดล้อมที่เงียบ สงบ และปราศจากสิ่งรบกวนที่จะมาดึงความสนใจของคุณจากสิ่งที่กำลังเรียนรู้ จะช่วยให้จิตใจเกิดสมาธิ 

TIP : ควรให้ความสำคัญกับการจัดโต๊ะทำงานและบริเวณโดยรอบให้อยู่ในบรรยากาศที่เงียบ สงบ ปราศจากสิ่งรบกวน ควรปิดเสียงเครื่องมือสื่อสาร และไม่ควรตั้งไว้บนโต๊ะทำงาน ควรเก็บไว้ในลิ้นชักเพราะจะได้ไม่รบกวนสายตาซึ่งจะส่งผลดีต่อการสร้างสมาธิในการทำงานมากกว่า

====

2.ใช้จินตนาการช่วยในการเรียนรู้

ทฤษฎีทางจิตวิทยา สรุปได้ว่า มนุษย์เรียนรู้และจดจำเป็นภาพ มิใช่คลื่นเสียงหรือตัวอักษร  ดังนั้น ก่อนจะเรียนรู้งานเรื่องใดให้คุณลองจินตนาการว่า

เมื่อคุณได้รับความรู้นั้นแล้ว จะนำไปทำอะไรบ้าง ในขณะฟังหรืออ่านให้ค่อย ๆ ลำดับความคิดเป็นภาพ

วิธีการนี้เป็นการเปิดจิตใต้สำนึกให้ค่อย ๆ ดูดซับความรู้ใหม่เข้าไปไว้ในความทรงจำ นอกจากนี้การทบทวนความรู้ใหม่ในตอนกลางคืน โดยเฉพาะ 30 นาที ก่อนนอน ยังช่วยให้จิตใต้สำนึกจดจำภาพต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน และสามารถประมวลผล

เพื่อดึงกลับมาใช้ได้อย่างแม่นยำในวันหน้า

TIP : ทุกครั้งที่ได้รับมอบหมายงานที่ไม่เคยทำ ก่อนที่จะบ่นว่ายากให้เปลี่ยนเป็นการฝึกตั้งคำถามกับตัวเองว่า

งานนี้องค์กรจะนำไปใช้ประโยชน์ด้านใดได้บ้าง ?
เราจะได้เรียนรู้สิ่งใดจากงานนี้ ?
เราจะทำงานนี้ให้ดีที่สุดได้อย่างไร ?

====

3.  จดบันทึกสั้น ๆ

รูปแบบการเรียนรู้หลัก ๆ ที่มนุษย์มีติดตัวมาตั้งแต่เป็นทารก คือ เรียนรู้จากการฟัง (AUDITORY) และเรียนรู้จากการมองเห็น (VISUAL) ซึ่งการเรียนรู้จากการมองเห็นจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการฟัง

เนื่องจากเส้นประสาทที่เชื่อมระหว่างตากับสมองมีจำนวนมากกว่าเส้นประสาทที่เชื่อมระหว่างหูกับสมองถึง 22 เท่า แต่การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพที่สุด กลับเป็นการเรียนรู้จากการใช้มือเขียนบันทึกข้อมูลหรือการโน้ตย่อ

เพราะช่วยให้เส้นประสาทที่เชื่อมระหว่างสมองกับตา และสมองกับหูสามารถทำงานไปพร้อม ๆ กัน

กล่าวคือในระหว่างคุณจดบันทึกข้อความ สมองของคุณจะเห็นภาพและได้ยินเสียงเกี่ยวกับข้อมูลที่กำลังจดบันทึกในเวลาเดียวกัน

วิธีการจดบันทึกจึงเป็นเสมือนทางลัดที่ใช้ในการส่งข้อมูลความรู้เข้าไปจัดเก็บไว้ในคลังสมอง

Tip : ฝึกจดบันทึกประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้จากงานชิ้นใหม่ๆ ที่เพิ่งเคยทำ หรือ งานชิ้นเดิมๆ ที่เคยทำผิดพลาด รายละเอียดของงานในแต่ละขั้นแต่ละตอน หมั่นนำมาอ่านทบทวนสัปดาห์ละครั้ง เพื่อสะสมความรู้ที่ได้รับจากประสบการณ์ตรงไว้ในคลังสมอง

====

4.  แบ่งปันความรู้ใหม่ให้กับผู้อื่น

สิ่งที่น่าตกใจ คือ ความรู้ใหม่ที่เพิ่งได้เรียนรู้ กว่า 90 % ไม่ว่าจะมาจากการฟัง การอ่าน หรือการเขียนก็ตาม จะคงอยู่ในสมองได้ไม่นานนัก

หากคุณไม่รีบนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน สมองจะสั่งการว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นต่อชีวิตประจำวันของคุณ และจะค่อยๆ โละความรู้นั้นทิ้งในเวลาต่อมาเพื่อไม่ให้เป็นภาระสมอง 

ดังนั้น วิธีการที่ง่ายที่สุดในการเก็บความรู้ใหม่ให้คงอยู่ในคลังสมองตลอดไป คือ การพูดคุยเพื่อแบ่งปัน แลกเปลี่ยนสิ่งที่เพิ่งได้เรียนรู้ให้แก่คนในชีวิตประจำวันของคุณ เช่น เพื่อน คนรัก พี่น้อง

ซึ่งถือเป็นการย้ำเตือนกับสมองว่าเรื่องที่แบ่งปันเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตประจำวันห้ามลบทิ้งโดยเด็ดขาด

Tip : หาเวลาว่างสักวันละ 5 นาที พูดคุยเรื่องราวดีๆ ที่ได้เรียนรู้มาจากการทำงาน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ให้คำแนะนำซึ่งกันและกัน แทนการสุมหัว ตั้งวง บ่น นินทา เม้ามอย ฯลฯ

====

5.  ดื่มน้ำและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

เป็นวิธีที่สำคัญที่สุดวิธีหนึ่ง เนื่องจากสมองส่วนหน้าของมนุษย์มีไว้เพื่อทำหน้าที่ในการเรียนรู้และจดจำ ดังนั้น สมองส่วนหน้าจึงมีความต้องการใช้ออกซิเจนในเลือดในปริมาณที่เพียงพอเพื่อเพิ่มเซลสมองให้ส่วนนี้

การดื่มน้ำและการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เป็นวิธีการที่ใช้ส่งเลือดไปเลี้ยงสมองส่วนหน้าได้อย่างทั่วถึง จึงถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการสร้างสมองอัจฉริยะ

Tip : บนโต๊ะทำงานของคุณควรมีกระติกน้ำ หรือ ขวดน้ำที่มีความจุประมาณ 1 ลิตร ตั้งไว้ เพื่อเป็นการเตือนความจำให้คุณค่อยๆ หยิบมาจิบไปเรื่อยๆ ระหว่างนั่งทำงาน 8 – 10 ชั่วโมง และหลังเลิกงานควรแบ่งเวลาออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 15 – 30 นาที

====

อีกหนึ่งวิธีต่อยอดทักษะความสามารถในการเรียนรู้อย่างรวดเร็วเพื่อการประสบความสำเร็จในงาน อ่าน  3 เคล็ดลับที่การเรียนรู้ช่วยให้คุณประสบความสำเร็จได้มากขึ้น คลิกที่นี่

เคล็ดลับง่ายๆ ทั้ง 5 ข้อ คงเป็นเครื่องพิสูจน์ได้ว่าพรสวรรค์ ไม่ใช่สิ่งที่มีติดตัวมาตั้งแต่เกิด

อันที่จริงแล้ว “พรสวรรค์เป็นสิ่งที่เราต้องลงทุน”  การลงทุนที่ดีที่สุด ก็คือการลงทุนกับการเรียนรู้

อย่าลืมใส่ใจดูแลสมองและร่างกายให้พร้อมที่จะเรียนรู้อยู่เสมอ เพื่อสร้างความสำเร็จในการทำงานให้ทะลุอันดับ Top 5 Top 3 ไปจนถึง Number 1 กันนะครับ

====

วิธีการสำคัญที่ช่วยพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้รวดเร็วก็คือการพัฒนา Growth Mindset ในการทำงาน ขอแนะนำหลักสูตร Growth Mindset for Effective Work ดูรายละเอียดที่นี่

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 094 959 2645

5 เคล็ดลับ เปลี่ยนวันจันทร์ ให้เป็นวันสุข

หากถามว่าในหนึ่งสัปดาห์…

                        วันใดเป็นวันที่ยากลำบากที่สุด ?

                        วันใดเป็นวันที่ไม่อยากให้เวียนมาถึงมากที่สุด ?

                        วันใดเป็นวันที่อยากลบออกจากปฎิทินที่สุด ?

            ถ้าคำตอบของคุณ คือ “วันจันทร์ วันจันทร์ และวันจันทร์”

            ขอแสดงความยินดีด้วยครับ คุณคือ มนุษย์เงินเดือนโดยสมบูรณ์แบบ 100%

=====

            จะดีแค่ไหนหากเราสามารถเปลี่ยนวันจันทร์ให้กลายเป็นวันที่สุขใจ

             เคล็ดลับทั้ง 5 ต่อไปนี้ จะช่วยเปลี่ยนวันจันทร์ที่แสนยากลำบาก และเคยเป็นวันที่คุณเกลียดสุดๆ ให้กลายเป็นวันดีๆ ในแบบที่คุณไม่เคยคาดคิดมาก่อนได้อย่างแน่นอน 

=====

1.ทำ To Do List

                 การเขียนสิ่งที่ต้องทำลงในกระดาษแผ่นเดียวโดยเรียงลำดับไปทีละเรื่องๆ หรือ การทำ To Do List ในคืนวันอาทิตย์ถือเป็นการวางแผนและตีกรอบให้สมองทำงานจัดการปัญหาทีละเรื่องๆ อย่างเป็นระบบ

วิธีการง่าย ๆ นี้จะช่วยปิดประตูความวุ่นวายสับสนที่อาจจะแวะเข้ามาทักทายคุณได้ในตอนที่คุณล้มตัวลงนอนต่อเนื่องไปจนถึงตลอดทั้งวันที่คุณตื่นขึ้นมา 

=====

2.เลือกทำงานที่ยากที่สุด(หรือไม่อยากทำที่สุด)ก่อนเสมอ

                 ในบรรดางานที่ต้องจัดการที่คุณเขียนไว้ใน To Do List อาจมีทั้งงานชิ้นใหญ่ที่ซับซ้อนในการสะสางและงานชิ้นเล็กที่ไม่ได้ซับซ้อนอะไรเท่าไหร่

ให้คุณเลือกหยิบงานชิ้นใหญ่ที่สุด งานที่ยากที่สุด งานที่มีปัญหามากที่สุดหรืองานที่คุณรู้สึกไม่อยากทำที่สุดขึ้นมาทำก่อนเป็นลำดับแรกเสมอ

                เพราะสมองที่เพิ่งตื่นจากการพักผ่อนในช่วงวันหยุดจะมีพลังเต็มเปี่ยมเหมือนแบตเตอรี่สมาร์ทโฟนที่เพิ่งชาร์ตมาจนเต็ม มันจะสามารถจัดการงานที่ยุ่งยากซับซ้อนได้ดีกว่าการเก็บงานชิ้นดังกล่าวเอาไว้ทำทีหลังนั่นเอง

=====

3.ลงมือทำงานที่ยากที่สุดโดยเริ่มจากสิ่งที่ง่ายที่สุด(การแบ่งงานออกเป็นส่วนเล็กๆ )

             ในงานชิ้นที่ยากที่สุดที่คุณหยิบมาทำเป็นลำดับแรกนั้น อาจประกอบไปด้วยสิ่งที่ต้องทำมากมาย  ให้คุณแจกแจงสิ่งที่ต้องทำต่างๆ ออกมาให้มากที่สุด

  เช่น ภารกิจในการจัดประชุมบอร์ดบริหาร ประกอบไปด้วยสิ่งที่ต้องทำ ดังนี้

  • การจัดทำวาระการประชุม
  • การสรุปผลประกอบการในรอบไตรมาส
  • การโทรศัพท์นัดกรรมการ
  • การประสานงานแม่บ้านเพื่อจัดหาอาหาร
  • การเตรียมอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในห้องประชุม 
  • ฯลฯ

             คุณอาจจะเลือกลงมือในสิ่งที่คุณสามารถทำได้คนเดียวและใช้เวลาสั้นที่สุด เช่น เตรียมอุปกรณ์ฯ เป็นลำดับแรกแล้วค่อยทำงานที่ต้องติดต่อสื่อสารกับคนอื่น เช่น ประสานงานแม่บ้าน โทรศัพท์นัดกรรมการ 

จากนั้นค่อยทำงานที่ต้องใช้สมองวิเคราะห์เยอะๆ เช่น สรุปผลประกอบการฯ และจัดทำวาระการประชุม ตามลำดับ

วิธีการนี้เป็นการหลอกสมองให้ค่อยๆ สะสมความสำเร็จที่ละเล็กทีละน้อยเพื่อสร้างความสำเร็จที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เหมือนกับการค่อยๆ ก้าวขึ้นบันไดที่ละก้าวจนถึงจุดสูงสุดนั่นเอง

=====

4.ให้รางวัลกับทุกความสำเร็จเล็กๆ

                 ในทุกๆ ขั้นตอนของการทำงานแต่ละชิ้น เมื่อทำแต่ละขั้นตอนเสร็จให้คุณให้รางวัลกับความสำเร็จเล็กๆ เหล่านั้นแทนที่จะรอจนงานชิ้นใหญ่เสร็จแล้วค่อยให้รางวัลกับความสำเร็จครั้งใหญ่เพียงครั้งเดียว

โดยรางวัลอาจเป็นสิ่งเล็กๆ น้อยๆ เช่น การพักจิบชาอุ่นๆ 15 นาที การแวะช๊อปปิ้งที่ตลาดนัดในช่วงพักกลางวัน 

            หรือแม้กระทั่งการผ่อนปรนให้ตัวเองทานเค้กชิ้นเล็กๆ ในช่วง On Diet  วิธีการนี้เป็นการสร้างแรงจูงใจให้สมองวิ่งไล่ความสำเร็จที่ใหญ่ขึ้นไปเรื่อยๆ โดยไม่หมดพลังไปเสียก่อนนั่นเอง

สิ่งสำคัญที่ช่วยทำให้เป้าหมายของคุณสำเร็จได้จริงก็คือการทำสิ่งที่คุณผลัดวันประกันพรุ่งมาตลอด เรียนรู้วิธีเพิ่มพลังให้ตัวเองทำงานที่รู้สึกไม่อยากทำ คลิกที่นี่

=====

5.ใช้ Social Media ให้น้อยที่สุด

                  นี่อาจจะเป็นข้อที่ทำได้ยากที่สุดสำหรับหนุ่มสาวคนทำงานในยุคปัจจุบัน แต่ในความเป็นจริงแล้วสาเหตุหลักๆ ของอารมณ์หงุดหงิดหัวเสีย ไม่มีสมาธิในการทำงาน ไปจนถึงการบ่นมักจะมาจากข่าว หรือ เรื่องราวที่ได้รับรู้ผ่าน Facebook Line Twitter IG และ Website ต่างๆ นั่นเอง 

                ส่วนใหญ่แล้วเรื่องราวเหล่านั้นคือเรื่องของคนอื่น และมักจะไม่ใช่เรื่องที่จำเป็นสำหรับตัวคุณเลย

การงดใช้ Social Media ที่ไม่จำเป็นในวันจันทร์จึงเป็นการป้องกันเรื่องราวหรือข้อมูลที่จะเข้ามาปั่นทอนศักยภาพของสมองซึ่งต้องทำงานรับใช้นายของมันอย่างขยันขันแข็ง

=====

                 เคล็ดลับทั้ง 5 ข้อนี้ จะช่วยปลดล็อคให้วันจันทร์กลายเป็นวันที่แสนสุขใจ

และขอเพียงแค่คุณได้เริ่มต้นสร้างวันจันทร์ให้เป็นวันสุข วันอื่นๆ ในสัปดาห์ก็จะกลายเป็นวันสุขตามไปได้ไม่ยาก 

และหลังจากนั้นใน 1 ปี ถ้าคุณใช้เคล็ดลับทั้ง 5 ข้อในทุกๆ วันจันทร์ แค่เพียง 48 วัน คุณจะทำให้อีก 317 วัน ที่เหลือ กลายเป็นวันดีๆ ได้

และท้ายที่สุดตลอดทั้งปีก็จะกลายเป็นปีที่แสนมีความสุขสำหรับคุณ 

ลองทำดูครับ แล้วคุณจะประหลาดใจว่า… ในทุกๆ วันจันทร์ก็สุขได้ไม่แพ้เย็นวันศุกร์เลยทีเดียว

หนึ่งในทักษะสำคัญที่ช่วยให้คุณทำงานได้เยอะและมีประสิทธิภาพคือทักษะการบริหารเวลา ขอแนะนำหลักสูตร Effective Time Management ดูรายละเอียดที่นี่

=====

เรียบเรียงโดย

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กรฟรี  ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

วิธีทำชีวิตช้าลงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

คุณเคยเป็นไหมครับ ใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบเพื่อให้ทำอะไรเสร็จเร็วๆ แต่หลายครั้งกลับผิดพลาด หรือหลงลืมอย่างไม่น่าให้อภัย

เรามักบอกตัวเองว่าไม่มีเวลา จึงดูเหมือนว่าการเริ่มทำอะไรใหม่ๆก็ยากไปเสียหมด แต่เรากลับมีเวลาผลาญเล่นไปกับเกม ยูทูป และโซเชียลมีเดีย

====

เชื่อหรือไม่ว่าหากเราช้าลงกว่าเดิมสักนิด เรากลับทำสิ่งต่างๆได้เร็วขึ้น เพราะมีความผิดพลาดน้อยลง ไม่ต้องเสียเวลาในการแก้ไข หรือกลับมาทำใหม่เพราะหลงลืม

หากเราช้าลงอีกสักหน่อย เราจะเห็นว่า เราจัดสรรเวลาได้ เวลามีเหลือเฟือสำหรับสิ่งที่สำคัญกับเรา

====

การใช้ชีวิตให้ช้าลง ไม่ได้หมายถึง เรื่อยเปื่อยเนิบนาบเป็นเต่าคลาน แต่หมายถึง สภาวะที่เราช้าพอที่จะสามารถผ่อนคลายและดื่มด่ำกับชีวิตได้

หากวันนี้เราคิดว่าความเร็วเป็นสิ่งที่จำเป็น มันอาจทำให้เรารีบจนไม่เป็นตัวของตัวเอง

จริงๆแล้วเราสามารถทำหลายสิ่งให้ช้าลงได้ในจังหวะที่ตัวเองรู้สึกโอเค และทำให้เรารู้สึกว่าตัวเองมีประสิทธิภาพมากขึ้น ที่เรียกว่า ช้าเพื่อเร็ว นั่นเอง

====

5 สัญญาณบ่งบอกว่า เราใช้ชีวิตเร็วเกินไป

  1. คุณพบว่า มันยากขึ้น ที่จะโฟกัสกับกิจกรรมตรงหน้าในปัจจุบันขณะ และคุณต้องคอยหาอะไรทำตลอดเวลา

  2. คุณใช้ชีวิตเหมือนเดิม เรื่อยๆ “อย่างเป็นอัตโนมัติ” โดยไม่ได้ตระหนักว่า คุณกำลังทำมันอยู่ด้วยซ้ำ

  3. คุณรีบเร่งไปกับกิจกรรมต่างๆในแต่ละวัน โดยไม่ได้ใส่ใจกับมันนัก รีบทำให้เสร็จเพื่อไปทำอย่างอื่นต่อ

  4. คุณกำลังมุ่งมั่นกับเป้าหมายบางอย่างอยู่ จนไม่ได้ใส่ใจว่าตอนนี้ตัวเองและคนรอบข้างกำลังทำอะไรอยู่บ้าง

  5. คุณพบว่าในสมอง เต็มไปด้วยความคิดหวาดกลัว กังวลเกี่ยวกับอนาคตที่ยังมาไม่ถึง หรือความเศร้า โกรธแค้นเพราะคำนึงอยู่กับอดีตที่ผ่านมาแล้ว

====


 

ชีวิตที่ช้า คือชีวิตที่ยืนยาว

คนเรายอมเสียเงินนับแสน เพื่อซื้อยาต้านความแก่ วิตามินชะลอความชรา ทำทุกอย่างเพื่อยืดอายุตัวเองออกไป ให้ได้อีกสัก 1-2 ปีก็ยังดี

พวกเขาใช้ชีวิตอย่างเป็นอัตโนมัติและหลับใหล ทำตามระบบไปอย่างไม่รู้วันคืน แต่พวกเขากลับไม่พยายาม “ตื่นขึ้นมา” เพื่อใช้ชีวิตของตัวเอง

ไม่จำเป็นว่าคุณจะต้องอายุยืนจนแก่หง่อม จึงจะเรียกว่า “ใช้ชีวิตคุ้ม”

คุณสามารถใช้ชีวิตที่มีคุณภาพและยืนยาวได้ โดยเพิ่มเวลาการใช้ชีวิตที่มีคุณภาพ ขึ้นสัก 2 เท่าในทุกๆวัน นั่นเท่ากับว่าคุณมีอายุยืนขึ้นในด้านคุณภาพ เหมือนคุณอายุ 60 ปี แต่ได้ใช้ชีวิตเท่ากับคนที่มีอายุยืนยาว 120 ปี

แล้วถ้าคุณเพิ่มเวลาได้ถึง 3-4 เท่าล่ะ ? มันจะดีแค่ไหน

====

ในเรื่องการใช้ชีวิต ปริมาณของเวลาไม่มีความหมายเท่ากับคุณภาพ

หากแม้คุณอายุยืนขึ้นเพราะเทคโนโลยีการแพทย์ แต่ไม่มีความสุข

ไม่ได้ใช้ชีวิตที่ตนเองรัก เพราะถูกบังคับ มีแต่ข้อจำกัด นั่นอาจเป็นความทรมานอย่างร้ายแรง

ดังนั้นสิ่งที่ต้องกลับมาคิดใคร่ครวญก็คือ จะปลุกตัวเองให้ตื่นขึ้นมาใช้ชีวิตได้อย่างไร ?

====

ต่อไปนี้เป็น 5 วิธีง่ายๆที่จะยืดชีวิตให้ยาว ปลุกเราให้ตื่นจากความหลับใหล ด้วยการทำชีวิตให้ “ช้าลง”

5 วิธี ที่ทำให้ชีวิต “ช้าลง”

 1. กลับมาอยู่กับลมหายใจ

เมื่อใดก็ตามที่คุณรู้สึกเหนื่อยล้า ท้อแท้ หงุดหงิด เครียดหรือกังวล ลองใช้เวลาสัก 3 นาที นำจิตที่ว้าวุ่น กลับมาอยู่กับลมหายใจ

สูดลมหายใจเข้าช้าๆ ให้ลึกยาว จนรู้สึกว่าท้องพองออก ผ่อนลมหายใจออกเบาๆผ่อนคลาย จนรู้สึกว่าท้องยุบลง

ทำแบบนี้ต่อเนื่องกัน โดยนำจิตรับรู้ อยู่ที่ลมหายใจเท่านั้น มันจะเป็นสะพานเชื่อมร่างกาย อารมณ์ และจิตใจเข้าด้วยกัน เพียงเท่านี้คุณก็จะเกิดสมดุลทางอารมณ์ขึ้นมา การกลับมาสู่ปัจจุบันขณะจะทำให้สติของคุณเต็มเปี่ยม

 การกลับมาอยู่กับลมหายใจสักครู่หนึ่ง จะช่วยให้คุณจะพร้อมรับมือกับสถานการณ์ต่างๆได้ดีขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ

====

2. ออกไปเดินเล่น

นี่เป็นวิธีออกกำลังที่ง่ายที่สุด ช่วยปลดปล่อยความเครียด และช่วยผ่อนคลายอารมณ์

การเดินจะช่วยให้คุณกลับมาอยู่กับปัจจุบัน สังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงต่างๆรอบตัว สัมผัสกับธรรมชาติและกิจกรรมต่างๆของผู้คน

คุณอาจเปลี่ยนจากการขึ้นรถเมล์ ขึ้นมอเตอร์ไซด์ ขึ้นลิฟท์ เป็นการเดินแทน แถมยังช่วยลดน้ำหนักได้ด้วย แต่ถ้าอยากสดชื่นกว่านั้น ออกไปเดินตอนฝนตกปรอยๆ หรือเดินในสวนตอนเช้าๆอย่างไม่รีบเร่ง

 แค่ได้อยู่กับการเดิน เชื่อมั้ยว่าคุณจะรู้สึกดีสุดๆไปเลย

====

 3. ดื่มด่ำไปกับกิจกรรมต่างๆ

ความสุข คือการมองเห็นสิ่งๆเดิม ในมุมมองที่เปลี่ยนไป ในเมื่อชีวิตนั้นเกิดขึ้นที่นี่และเดี๋ยวนี้ วันวานและวันพรุ่งนี้มีอยู่เพียงแต่ในความคิด

ฉะนั้นจะไม่เป็นการดีกว่าหรือ ที่เราจะสัมผัสรับรู้กับปัจจุบันขณะที่กำลังเป็นอยู่ ฝึกที่จะสังเกตและรับรู้สิ่งดีๆรอบๆตัว และใช้เวลามากขึ้นที่จะอยู่กับชั่วขณะนั้น มันจะทำให้ประสบการณ์ของความพึงพอใจนั้นยาวนานขึ้นอีก

ไม่ว่าจะเป็นการเข้าครัวเตรียมมื้ออาหาร การนั่งเล่นชื่นชมดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า การพูดคุยสนุกๆกับครอบครัว ในทุกๆกิจกรรม เราก็แค่ “อยู่ตรงนั้นอย่างเต็มเปี่ยม และดื่มด่ำกับมัน”

 แค่รู้จักดื่มด่ำกับสิ่งรอบตัว  เราจะสัมผัสความสุขได้ง่ายๆและบ่อยครั้งเท่าที่ต้องการ

==== 

4. อยู่กับความเงียบ

หลายคนคิดว่าความสุข คือความสนุกสนานร่าเริง และมีกิจกรรมต่างๆทำให้เพลิดเพลินใน

แต่เราหารู้ไม่ว่า ชีวิตที่ถูกครอบครองด้วยกิจกรรมตลอดเวลา ลึกๆแล้วจะเรียกร้องหา “เวลาสำหรับตัวเอง”

แม้แต่คอมพิวเตอร์ยังต้องการ Defragment และ มี Sleeping Mode มนุษย์เราก็ต้องการ “ชั่วขณะแห่งความเงียบ” ให้ตัวเองเหมือนกัน

ในทุกๆวัน เราสามารถกำหนดเวลาสัก 5-10 นาที เพื่ออยู่กับตัวเองลำพังในความเงียบ

คุณอาจจะลองใช้คำถามเหล่านี้กับตนเอง และอาจจะเขียนมันลงไปเพื่อให้หลายๆสิ่งชัดเจนขึ้น

ร่างกายเรากำลังรู้สึกสัมผัสกับอะไรบ้างในขณะนี้ ?

จิตใจและอารมณ์ในขณะนี้ของเราเป็นอย่างไร ?

เรากำลังคิดถึงเรื่องอะไรอยู่ มีความกังวลหรือไม่สบายใจอะไรบ้าง ?

เมื่อทบทวนชีวิตในวันนี้ มีอะไรที่เราได้เรียนรู้ มีอะไรที่เราจะทำได้ดีขึ้นในวันพรุ่งนี้ ?

เมื่อเรากลับมาสนใจ รับรู้ ความรู้สึกและอารมณ์ของตนเองได้สักพัก เราจะพบกับความสงบใจอย่างน่าประหลาด

 ท่ามกลางที่ว่างนี้ ดูเหมือนจะเกิดความสุขได้ง่ายขึ้น เราจะตอบคำถามบางอย่างในใจตนเองได้ และรู้ว่าจะต้องทำอะไรต่อไป

====

5. ไม่ด่วนตัดสิน

ความน่ากลัวอย่างหนึ่งที่คนเรามักมองข้ามไปก็คือ “เราจะได้ยิน เฉพาะสิ่งที่เราอยากฟังเท่านั้น” ปรากฏการณ์เช่นนี้สืบเนื่องมาจากการ ‘ด่วนตัดสิน’ 

เมื่อใดก็ตามที่เรา “ด่วนตัดสิน” กับคนบางคน กับเรื่องบางเรื่องไปแล้ว แม้เค้าพูดไม่ทันจบประโยค เราจะปิดการฟังไป เปลี่ยนเป็นการแทรกสอด คำถาม หรือไม่สนใจ นั่นทำให้เกิดการเข้าใจผิด เกิดความขัดแย้งขึ้นในความสัมพันธ์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

  ฝึกที่จะรับฟังผู้คนจนจบ โดยยังไม่ด่วนตัดสิน ตีความไปก่อน นั่นทำให้การสื่อสารนั้นเข้าถึงเราได้อย่างเต็มเปี่ยม เราจะได้ยินในสิ่งที่เค้าไม่ได้พูดออกมา ทั้งอารมณ์ ความรู้สึก ความต้องการ แล้วจะประหลาดใจว่า เราสามารถเข้าใจเค้าได้ง่ายขึ้น

หนึ่งในวิธีที่จะทำให้เราใช้ชีวิตช้าลงได้และไม่ด่วนตัดสิน ได้แก่ “การฝึกไดอะล็อค” พัฒนาทักษะการฟังอย่างลึกซึ้ง เรียนรู้และฝึกฝน  Active Listening ทักษะการฟังที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้คนในทีมคลิกที่นี่

 

 

การช้าลง ไม่ด่วนตัดสิน จะทำให้การสนทนาที่ดูจะยากลำบากครั้งนั้น กลับราบรื่นไปได้ด้วยดี

 

เป็นอย่างไรบ้างครับ กับ 5 วิธีการทำให้ชีวิตช้าลง หากเรานำวิธีเหล่านี้ไปใช้ เชื่อว่าจะมีความสุขขึ้นมากๆและบ่อยครั้งด้วยครับ

====

ถ้าคุณสนใจเรียนรู้และฝึกฝนพัฒนา Mindset และทักษะของผู้นำยุคใหม่ที่ผสมผสานความช้าเข้ากับการทำงานในโลกที่เร่งรีบได้อย่างลงตัว  ผมมีหลักสูตร The New Leadership Skillsเพื่อพัฒนาให้คุณเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพสูง คลิกดูรายละเอียดที่นี่

บทความโดย อ.เรือรบ CEO และผู้ก่อตั้ง Learning Hub Thailand

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962



9 วิธีเพิ่มทักษะการฟัง สำหรับเพิ่มประสิทธิภาพให้คนทำงาน

การฟัง หรือ Listening ถือเป็นทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งของผู้ที่ปรารถนาความสำเร็จในชีวิต เพราะมนุษย์คนหนึ่งสามารถเริ่มต้นเรียนรู้ได้จากทักษะที่ธรรมชาติให้มาอย่างการฟังนั่นเอง

ยิ่งถ้าคุณทำงาน หรือสร้างธุรกิจด้วยแล้ว การฟังยิ่งทวีความสำคัญเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว เพราะหากฟังไม่ดี เกิดการเข้าใจผิดหรือตัดสินใจผิด อาจเกิดปัญหาใหญ่ขึ้นได้เสมอ 

เพื่อให้ทักษะการฟังพัฒนาขึ้น “9 วิธีการเพิ่มทักษะการฟัง” ที่จะบอกในบทความนี้จะช่วยให้คุณ มีพัฒนาการด้านการฟัง และที่สำคัญ อาจกลายเป็นจิ้กซอว์ สำคัญในการสร้างความสำเร็จของคุณด้วย

====

1.เรียนรู้ที่จะฟังเสียก่อน

ผมเริ่มจากสิ่งที่ง่ายที่สุด แต่เป็นสิ่งที่เราอาจลืม หรือไม่ได้นึกถึงมากที่สุด นั่นคือ จงเริ่มต้นที่การเรียนรู้ที่จะฟังเสียก่อน เราฟังเพื่ออะไร เพื่อที่จะได้ถอดรหัสของเสียงเหล่านั้นกลายเป็นข้อมูลเพื่อการนำไปใช้ เช่น ฟังการสอน  ฟังวิธีการในการทำอาหาร เสียงช่วยให้เราถอดรหัสได้ง่ายเพิ่มขึ้น

====

2.คิดตามเสมอที่คุณฟัง

อย่าฟังเรื่องใดๆแบบปล่อยผ่าน แต่จงฟังอย่างตั้งใจ และพยายามตรองเรื่องที่เราฟังไปพร้อมๆกับเสียงที่ได้ยิน การที่เรานึกถึงสิ่งเหล่านั้นไปด้วย จะช่วยให้สมองได้รับการสนับสนุนให้กระตุ้นความคิดในเรื่องนั้นๆอย่างต่อเนื่องอยู่เสมอ และมันจะกลายเป็นทักษะที่สำคัญสำหรับคุณ

====

3.ทวนความเป็นช่วงๆ 

เพื่อให้การจดจำในสิ่งที่คนอื่นพูด เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว หากคุณสนทนากับบุคคลดังกล่าวอยู่ ลองเปลี่ยนเป็น การพูดสลับออกมาจากที่คุณฟังด้วย โดยพูดในเรื่องที่ผู้พูดคนนั้นได้ถ่ายทอดบทความออกมา ผมมักทำแบบนี้อยู่เสมอๆ และเป็นเรื่องที่น่าแปลกมาก คือผมสามารถจดจำเรื่องต่างๆได้ดีขึ้นกว่าเดิมมากเลยครับ

====

4.ฝึกสมาธิเป็นประจำ

อย่าดูเบาในเรื่องของสมาธินะครับ มีงานวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ และด้านจิตวิทยาทั่วโลกมากมาย ที่สนับสนุนให้เรารู้ว่า การฝึกสมาธิเป็นประจำอย่างน้อย 15 นาทีทุกวัน สามารถพัฒนาขีดความสามารถด้านความจำของคุณได้อย่างมาก ดังนั้นเมื่อมีการค้นพบเทคนิคง่ายๆอย่างนี้แล้ว ก็อย่ารอช้า ฝึกสมาธิเลยครับ หรือเลือกเข้าคอร์สการอบรมเรื่องโยคะก็ได้

====

5.ลองฟังเสียงธรรมชาติและแยกเสียงดู

ผมว่าเทคนิคข้อนี้ค่อนข้างจะเป็นอะไรที่ สร้างความประหลาดใจให้กับผู้ที่ฝึกฝนทักษะในเรื่องของการฟังอยู่ไม่น้อย นั่นคือ คุณลองหาโอกาสในการไปท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ โดยเฉพาะหากสถานที่นั้นเป็นสถานที่แบบธรรมชาติ เพื่อที่ว่า ผมอยากให้คุณลองฟังดูเสียของธรรมชาติ เสียงต้นไม้ เสียงลมพัด หรือเสียงน้ำตกที่ไหลรินอย่างอ้อยอิ่ง ตามลำธารต่างๆ เป็นเรื่องเหลือเชื่อว่า ถ้าเราสามารถฟังและแยกเสียงเหล่านั้นได้ดี จะมีผลต่อประสิทธิภาพในการฟังอย่างเหลือเชื่อเลยทีเดียว

====

6. เข้ารับการอบรมเรื่องการฟัง 

อย่าคิดว่าเรื่องนี้ไม่จำเป็นนะครับ หากคุณมีปัญหาว่า ไม่สามารถเข้าใจสารที่เจ้านายสั่งงานคุณเป็นประจำ หรือรู้สึกว่าตนเองนั้นค่อนข้างมีสมาธิสั้นในการฟังแล้ว จงเริ่มเปลี่ยนแปลงวิถีของตนเองอย่างง่ายๆด้วยการเรียนรู้ทักษะการฟังที่ถูกต้อง จากวิทยากรที่มากด้วยความสามารถอย่างนี้จะดีกว่า การเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญ ช่วยให้คุณไม่ต้องเริ่มต้นทักษะการฟังจากศูนย์

ผมมีหลักสูตรสอนเรื่องการสื่อสารและการฟัง สำหรับคนทำงานในองค์กร ในชื่อหลักสูตร Executive Communication คลิกดูรายละเอียดที่นี่

====

7.จดด้วยทุกครั้งที่คุณฟัง

สิ่งหนึ่งที่ผมนั้นชื่นชอบมากๆ เวลาเข้าไปฟังการอบรมหรือสัมมนานั่นคือ ยิ่งถ้าเรานั้นฟังมากเท่าใด สิ่งที่ตามมาคือปริมาณของข้อมูลที่ดีๆอาจล้นทะลัก จากคลังสมองของเรา ทำให้เราพลาดในการเลือกใช้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเอง ถ้าเป็นอย่างนั้นแล้ว อย่ารอช้า เตรียมสมุดจดไปสักเล่ม และบันทึกเรื่องราวต่างๆไปด้วยเสมอในระหว่างที่คุณฟัง การทำอย่างนี้จะทำให้คุณไม่ต้องกังวลเรื่องของข้อมูล ที่เกินกว่าจำนวนที่คุณรับรู้ได้อย่างแน่นอน

====

8. บันทึกผลของการฟังไว้บ้าง

หากเป็นไปได้ ผมแนะนำว่า คุณควรจดบันทึกผลของการฟังลงในสมุดเสียหน่อย เช่นวันนี้ฟังเรื่องอะไร และสามารถฟังได้นานกว่าปกติมากน้อยแค่ไหน ผมว่าการทำอย่างนี้ช่วยให้เราเห็นพัฒนาการและความก้าวหน้าของการฟังได้ชัดเจนขึ้นมากเลยนะครับ

====

9.เชื่อมั่นว่าสามารถพัฒนาทักษะด้านการฟังได้

เทคนิคข้อที่เก้านี้ อาจเป็นเทคนิคที่หลายๆคนมองข้าม หรืออาจเกิดความไม่มั่นใจว่า มันจำเป็นจริงหรือ ผมยังจำได้ตอนที่ผมเริ่มฝึกทักษะการฟังใหม่ๆ และสามารถฟังเรื่องราวของครูผู้สอนได้อย่างต่อเนื่องเกินกว่า 1 ชั่วโมง ในตอนนั้นผมคิดเสมอว่า มนุษย์เราจะสามารถฟังอะไรได้ต่อเนื่องยาวนานขนาดนั้นได้หรือไม่ ซึ่งท้ายที่สุดผมตัดสินใจว่า ผมต้องฟังอะไรได้ยาวกว่านั้น และเมื่อผมเชื่อ! ในที่สุดผมก็ทำได้ และนั่นควรเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับคุณด้วยเช่นกัน

====


เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับ 9 วิธีการอย่างง่ายๆในการเพิ่มทักษะด้านการฟัง ที่เราสามารถนำแนวทางข้างต้นต่อไปนี้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตการทำงานของเราได้จริง และถ้าเราหมั่นฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง ผมมั่นใจว่า ทักษะด้านการฟังของคุณจะต้องดีขึ้นอย่างมากอย่างแน่นอนครับ

ฝึกฝนทักษะการฟังให้เข้มข้นเพิ่มขึ้นกับ Active Listening ทักษะการฟังที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้คนในทีมคลิกที่นี่

บทความโดย CEO เรือรบ – ผู้ก่อตั้ง Learning Hub Thailand / ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาภาวะผู้นำ

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

 

เทคนิคระบุประเภทปัญหาเพื่อแก้ปัญหายาก ๆ ให้จบได้จริง

เทคนิคระบุประเภทปัญหาเพื่อแก้ปัญหายาก ๆ ให้จบได้จริง

ถ้าหากเรามีมนต์วิเศษ ดีดนิ้วแล้วทำให้ปัญหาหายไปได้ คุณคิดว่าดีหรือไม่ครับ

ผมคิดว่าดีนะ ส่วนตัวอยากได้แบบนั้นเลย (เหมือน Thanos ใน The Avengers) แต่ในชีวิตจริงมันไม่มีอะไรแบบนั้นนี่สิ ซึ่งปกติแล้วผมมักจะเจอแต่คนบ่นว่า…
 
“สู้กับปัญหาเต็มที่แล้ว แต่จัดการไม่สำเร็จเสียที โดนปัญหาสู้กลับทุกที”
“พยายามจัดการปัญหา แต่กลับมีคนไม่เห็นด้วย เจอคัดค้าน ต่อต้าน หรือเจอตอ”
“คิดว่าตัวเองตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว แต่ผลลัพธ์ไม่เหมือนที่คาดการณ์เอาไว้เลย”
====
 
ตัวอย่างทั้งหมดนี้ คือเรื่องที่หลายคนเจอกันเป็นปกติอยู่แล้ว
 
ต้นเหตุสำคัญของการเกิดภาวะเหล่านี้ก็คือ … การที่เรารีบร้อนแก้ปัญหามากจนเกินไป
 
ใช่แล้วครับ ปัญหาที่เกิดจากการแก้ปัญหามีต้นเหตุมาจากการรีบร้อนกระโจนเข้าไปแก้ปัญหานั่นเอง
ก่อนจะงุนงงกับถ้อยคำมากไปกว่านี้ ผมขอพาทุกคนมาทำความเข้าใจเรื่องนี้กันดีกว่าครับ
====
หนึ่งในเคล็ดลับที่สำคัญของนักแก้ปัญหาชั้นยอดก็คือ…
 
“การรู้ว่าตัวเองกำลังเผชิญกับปัญหาประเภทไหนอยู่”
 
คุณอาจมีคำถามว่าปัญหามีกี่ประเภทกันแน่หลังจากอ่านประโยคด้านบนจบ
 
ก่อนจะอธิบาย ผมอยากให้คุณดูตัวอย่างการรายงานปัญหาเหล่านี้ก่อนครับ
====

1. ที่โรงงานของเรากำลังขาดทุน คนงานก็บ่นว่าถังขยะไม่พอ หัวหน้าแผนกการเงินกับฝ่ายผลิตทะเลาะกันรุนแรงมาก รปภ. นั่งหลับ เดือนที่แล้วเพิ่งเกิดเหตุไฟไหม้ แต่ยังจับมือใครดมไม่ได้ ประกันไม่ยอมจ่ายเพราะคิดว่ามีการวางเพลิงโดยทีมผู้บริหาร ผู้บริหารฝ่ายการตลาดเพิ่งลาออก หัวหน้าไลน์ผลิตที่ 3 คุมลูกน้องไม่อยู่เพราะอายุน้อยกว่า พนักงานกะกลางคืนแอบเสพยาเสพติด ชาวบ้านรอบโรงงานบ่นว่าโรงงานเราเป็นโรงงานที่ไร้ธรรมาภิบาล เพราะชอบปล่อยน้ำเสียลงคลอง ฯลฯ

2. จากการฟังปัญหาผ่านการสัมภาษณ์พนักงาน 20 คนจาก 5 แผนก และหัวหน้าแผนกต่างๆ แล้ว สรุปได้ว่าเรามีปัญหาดังนี้
A. การเงินที่ขาดทุน
B. ยอดขายที่ตกลงจากการโดนคืนสินค้า
C. ความปลอดภัยจากการชำรุดเกี่ยวกับไฟในโรงงาน
D. พนักงานกะกลางคืนมีการซื้อขายและเสพยาเสพติด
E. ชาวบ้านร้องเรียนโรงงานผ่านหน่วยงานราชการ 5 ครั้งใน 1 เดือน
F. การเคลมประกันที่ไม่คืบหน้า

3. ผมคิดว่าเหตุไฟไหม้อาจเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร หรือไม่ก็มีใครไปทำให้เกิดประกายไฟ

4. จากการตรวจสอบกล้องวงจรปิด และสถานที่แวดล้อมแล้ว ได้ข้อสรุปว่าเกิดไฟฟ้าลัดวงจรบริเวณเครื่องจักร A แล้วระบบตัดไฟไม่ทำงานเนื่องจากมีอายุ 15 ปีแล้ว (ซึ่งเกินกำหนดกว่าที่ผู้ผลิตแจ้งไว้ว่าควรเปลี่ยนทุก 5 ปี)

5. ระบบตัดไฟที่ผ่านเงื่อนไขความปลอดภัยมี 2 รุ่น รุ่นนึงจากประเทศเยอรมัน รับประกัน 3 ปีราคา 3 ล้านบาท อีกรุ่นจากประเทศไทย ราคา 1 ล้านบาท

6. ตามที่เราตัดสินใจจะแก้ปัญหาการตรวจสอบกระบวนการภายในของเรา ผมว่าเราต้องพิจารณากันแล้วว่าจะตั้งหน่วยงานตรวจสอบภายใน หรือจ้าง Outsource Agent มารับผิดชอบ
====
 
หลังจากอ่านทั้ง 6 ข้อด้านบนแล้ว นักแก้ปัญหาจะทำการพิจารณาทีละข้อดังนี้
 
ในข้อ 1 ปัญหาเยอะ และยุ่งเหยิงมาก เราควรลิสต์ปัญหาออกมาเป็นข้อๆ ก่อน ซึ่งถ้าทำตามนั้นเราจะได้ข้อ 2
ข้อ 2 เมื่อเห็นปัญหาแล้ว เราควรพิจารณาความสำคัญกับปัญหาต่าง ๆ เพื่อเรียงลำดับการแก้ไขปัญหา เพราะเรามีทรัพยากรจำกัด โดยเฉพาะ ‘เวลา’
 
ข้อ 3 เป็นกรณีการคาดเดา (โดยใช้ความคิดเห็น) เกี่ยวกับสาเหตุในการเกิดปัญหา ซึ่งเราควรค้นหาสาเหตุที่แท้จริง (ความจริงไม่ใช่ความคิดเห็น) เพื่อเข้าใจปัญหานั้นจริงๆ
 
ข้อ 4 เรารู้แล้วว่าสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาคืออะไร ต่อไปเราก็จะสามารถคิดหาทางเลือกในการแก้ปัญหาได้แล้ว
 
ข้อ 5 เป็นการตัดสินใจเลือกวิธีแก้ปัญหา โดยอาจจะต้องปรึกษาผู้มีอำนาจ หรือพิจารณาจากงบประมาณร่วมด้วยก็ได้
 
ข้อ 6 เป็นการตัดสินใจเลือกวิธีการแก้ปัญหา เช่นเดียวกับข้อ 5 แต่เพิ่มการวิเคราะห์ทางเลือกแต่ละทางแบบลงลึกมากขึ้น
====
 
ทั้งหมดนี้คือตัวอย่างที่บ่งชี้ว่า ปัญหาที่แตกต่างกันต้องการการตอบสนองที่แตกต่างกัน
 
ถ้าเรามัวแต่อยากรีบกระโจนเข้าไปแก้ปัญหาทันทีที่รู้ว่าเกิดปัญหา โดยยังไม่ได้ผ่านขั้นตอนทั้งหมดนั้นคิดว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไรครับ
 
ไม่รู้ว่ามีปัญหาอะไรบ้าง
ไม่รู้ว่าควรเริ่มแก้ปัญหาไหน (ปัญหาไหนสำคัญแลพะเร่งด่วนที่สุด)
 
ไม่รู้ว่าควรใช้วิธีไหนในการแก้ปัญหา
 
ถึงตรงนี้คุณน่าจะพอมองเห็นว่าการที่ผมบอกให้ทุกคนชะลอความต้องการแก้ปัญหาก่อนจะลงมือแก้ปัญหาเป็นคำแนะนำที่ดีกว่า
อีกหนึ่งต้นเหตุสำคัญที่ทำให้คุณแก้ปัญหาไม่ได้ คือ ต้นทุนจม เรียนรู้เรื่อง ต้นทุนจม อคติทางความคิดที่ทำให้คุณตัดสินใจผิดพลาด คลิกที่นี่
====
 
ซึ่งถ้าคุณอยากเรียนรู้เรื่องของประเภทปัญหา และวิธีการจัดการกับปัญหาให้ชัดเจนมากขึ้น
 
ผมขอเชิญชวนทุกคนมาเรียนรู้ร่วมกันในหลักสูตร  Problem Solving & Decision Making  
ซึ่งผมจะมาบอกเทคนิควิธีการลำดับความสำคัญและระบุประเภทของปัญหาอย่างลงลึก
ดูรายละเอียด คลิกที่นี่
 
เพราะการเริ่มต้นแก้ปัญหาที่แท้จริง เริ่มจากการเข้าใจว่ามันเป็นปัญหาประเภทไหนก่อน
แล้วพบกันนะครับ
====
 
บทความ โดย
อ.ป้อบ มาติก ตั้งตรงจิตร
CFA, FRM
Team Persuasion and Organizational Negotiator
 
Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

5 พฤติกรรมที่คนสำเร็จจะไม่มีวันทำอย่างแน่นอน

ไม่ว่าคุณจะอยากประสบความสำเร็จในด้านใดก็ตาม จะเป็นการงาน อาชีพ งานอดิเรก การใช้ชีวิต ฯลฯ โลกมีกฎสากลอยู่แล้วในการจะประสบความสำเร็จ แต่ก็มีบางสิ่งที่คุณต้องหลีกเลี่ยง

ต่อไปนี้เป็น 5 พฤติกรรม ที่ต้องหลีกเลี่ยง มาลองดูกันว่าคุณตกหลุมพรางเหล่านี้บ้างแล้วหรือยัง

1.การเลี่ยงความรับผิดชอบ

“ราคาของความยิ่งใหญ่ ก็คือความรับผิดชอบ”

Winston Churchill

อย่างแรกที่คนสำเร็จไม่ทำกันคือ “การโทษคนอื่น หรือหาคนรับผิด” แม้กระทั่งในความคิดก็เถอะ เมื่อบางอย่างผิดพลาดไป อะไรคือปฏิกิริยาแรกของคุณ?

สำหรับคนสำเร็จ เค้าเลือกที่รับความผิดนั้นไว้กับตน แทนที่จะโทษคนอื่นหรือโทษโชคชะตา นั่นจึงทำให้เขาได้ “เรียนรู้” จากความผิดพลาดนั้น แล้วก็ไม่ผิดซ้ำอีก

====

2.การผัดวันประกันพรุ่ง

“การผัดวันประกันพรุ่ง คือพฤติกรรมแย่ๆที่เลื่อนไปถึงวันมะรืน ในขณะที่ควรทำตั้งแต่เมื่อวานซืน”

Napoleon Hill

คนสำเร็จนั้นเน้น “ทำทันที” โดยไม่สนว่าเป็น “เวลาที่เหมาะสม” หรือไม่ พวกเขาทำงานหนักและไม่เคยยอมแพ้ โดยไม่คำนึงถึงสภาพแวดล้อมว่าต้องเอื้ออำนวย

ความลับของความสำเร็จนั้นมาจาก “การสะสมความสำเร็จเล็กๆ” ด้วยการทำซ้ำ เป็นระยะเวลานานๆ ไม่ใช่การท่าให้เกิดความสำเร็จยิ่งใหญ่ครั้งเดียว

====

3.การตามกระแส

“ สิ่งที่ยิ่งใหญ่ ไม่ได้สำเร็จจากการที่ทำตามแนวโน้มหรือกระแสนิยมของคนทั่วไป”

Jack Kerouac

ในแต่ละวัน คนเราผลิตข้อมูลมากมายมหาศาลจนล้นทะลัก จึงง่ายที่เราจะกระโดดเข้าไปสนใจสิ่งใหม่ๆอยู่เสมอ เหมือนเป็นโรคกลัวตกเทรนด์ 

การทำเช่นนี้ ทำให้เราไม่เหลือเวลาสำหรับการทำความเข้าใจตัวเองกับสิ่งที่ตนทำอยู่อย่างลึกซึ้ง คนสำเร็จใช้พลังงานไปกับการทำความเข้าใจกับเป้าหมายของตนเองโดยไม่สนใจเรื่องอื่น

ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการสำเร็จในด้านการขายและการตลาด คุณอาจเลือกที่จะศึกษาลงลึกไปในด้านจิตวิทยามนุษย์ ไม่ใช่การมองหาวิธีโปรโมทแคมเปญใหม่ๆ บนโซเชียลมีเดียแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

====

4.ศิลปินเดี่ยว

“ ชีวิตไม่ใช่การแสดงคนเดียว แต่เป็นการร่วมมือกันอย่างยิ่งใหญ่ และเราจำเป็นต้องรวบรวมคนรอบตัวที่ใส่ใจและสนับสนุนเรา”

Tim Gunn

สิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่คนสำเร็จทำคือการแวดล้อมไปด้วยคนสำเร็จรอบตัว เขาจะไม่อยู่เพียงลำพัง เขาจะมีเครือข่ายและกลุ่มมืออาชีพ เขาจะอยู่ท่ามกลางคนฉลาด ที่สามารถทำเรื่องแตกต่างได้

นี่คือความจริง ไม่ว่าคุณจะอยากสำเร็จในเรื่องยิ่งใหญ่เพียงใด หรือแม้กระทั่งอยากลดน้ำหนักให้สำเร็จ มีการศึกษาวิจัยว่า เราจะลดน้ำหนักได้มากกว่าถ้าทำด้วยกันเป็นกลุ่ม

==== 

5.ขาดศรัทธา

“เชื่อในตนเอง มีศรัทธากับความสามารถของตน หากไม่มีความถ่อมตนและมั่นใจอย่างมีเหตุผลในพลังของตัวเองแล้วล่ะก็ คุณจะไม่มีทางประสบความสำเร็จและมีความสุขได้เลย”

Norma Vincent Peale

เรื่องนี้ไม่ใช่การคิดบวกหรือจินตนาการเข้าข้างตัวเอง “การมั่นใจอย่างมีเหตุผล” จะทำให้คุณสำเร็จในสิ่งที่วางเป้าหมายไว้

หากคุณไม่คิดแม้แต่ว่าจะทำได้สำเร็จแล้วล่ะก็ คุณจะไม่ลองทำด้วยซ้ำ ฉะนั้นคุณต้องบ่มเพาะความเชื่อและศรัทธาในตนเองให้เกิดขึ้น แม้ว่าชีวิตกำลังถอยหลังและยากลำบากอยู่ก็ตาม

====

การหลีกเลี่ยงความผิดพลาดทั้ง 5 ประเภทนี้ จะช่วยให้คุณบรรลุความสำเร็จในการงานและเป้าหมายส่วนตัวได้ แต่ถ้าอยากพบกับ”ความสำเร็จที่แท้จริง” แล้วล่ะก็ คุณต้องมีความสุขกับชีวิตเสียก่อน

อีกหนึ่งพฤติกรรมที่คนสำเร็จจะไม่มีวันทำคือการหยุดเรียนรู้อ่าน 3 เคล็ดลับที่การเรียนรู้ช่วยให้คุณประสบความสำเร็จได้มากขึ้น คลิกที่นี่

แถมท้ายกับความผิดพลาดข้อ 6. “ความไม่สมดุล” คนเรามักจะล้มเหลวเพราะไม่มีความสมดุลระหว่าง การงาน ครอบครัว เพื่อน และสุขภาพของตน การที่เราสำเร็จด้านเดียว แต่แล้วก็ล้มเหลวด้านอื่น ก็ไม่อาจทำให้เรารู้สึกเต็มเต็มชีวิตได้อย่างแท้จริง

ดังนั้น ความสำเร็จที่แท้จริง คือ “ความสุขและความสมดุล” หากคุณสามารถสร้างสมดุลให้ทุกพื้นที่ของชีวิตได้ คุณก็จะมีความสุขและกำลังใจเต็มเปี่ยม เรื่องอื่นจะไปยากอะไร จริงไหมครับ

====

ผู้บริหาร ผู้จัดการ และเจ้าของธุรกิจที่ต้องการพัฒนาการทำงานและใช้ชีวิตให้ประสบความสำเร็จสูงสุด เราขอแนะนำหลักสูตร The New Leadership Skill ดูรายละเอียดคลิกที่นี่

บทความโดย

อ. เรือรบ จิณณ์ณัฏฐ์ พรหมนุรักษ์

CEO และผู้ก่อตั้ง Learning Hub Thailand

ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาภาวะผู้นำ 

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

 

5 เคล็ดลับ อัพเกรดสมองให้ฉลาดเหมือนไอน์สไตน์

งานวิจัยบอกว่า คนทั่วไปใช้สมอง เพียงแค่ 3% จากที่ตัวเองมีอยู่ คุณคิดว่าจริงไหม?

นี่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เราไม่สามารถบรรลุศักยภาพสูงสุดของตัวเอง แถมยังสงสัยอีกว่า ทำไมบางคนถึงฉลาด มีไหวพริบมากกว่าคนอื่นจนทำให้เขาประสบความสำเร็จได้ง่ายกว่าคนอื่นๆ

‘สมอง’ อวัยวะพิเศษที่มีกลไกอัจฉริยะซึ่งคุณสามารถฝึกฝน ให้มันทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพได้ แค่คุณรู้วิธี แต่ถ้าคุณไม่รู้ ก็เปรียบเสมือนคุณซื้อคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ สเปคสูงมา แล้วไปลงซอฟแวร์รุ่นเก่าทำให้มันทำงานได้เพียง 3% เท่านั้น รู้เช่นนี้แล้วคุณรู้สึกอย่างไร?

====

‘Ron White’ เป็นแชมป์ความจำจากสหรัฐอเมริกา เขามีสมองดั่งซูเปอร์คอมพิวเตอร์จนได้รับการบันทึกลงกินเนสส์บุ๊กหลายสถิติ  เช่น การจำเลขจำนวน 28 หลัก ภายในเวลา 1.15 นาที การจำชื่อจำนวน 150 ชื่อ ภายในเวลา 20 นาที และการจดจำบทกลอนจำนวน 250 บรรทัดได้ภายในพริบตาเดียว

เขาฝึกฝนเทคนิคการเพิ่มความสามารถของสมองผ่านการจินตนาการแบบไอน์สไตน์ โดยมีเคล็ดลับในการเพิ่มความจำของสมองคนให้ทำหน้างานได้ดั่งสมองกล ด้วยการฝึกฝน 5 ขั้นตอนง่ายๆที่ใครๆ ก็ฝึกได้  ดังนี้ 

1. มุ่งประเด็นให้เด่นชัด (Focus)

ขั้นแรก คือ การโฟกัสสิ่งที่ต้องการจดจำให้ชัดเจนว่ามันคืออะไร?  มีความโดดเด่นหรือสำคัญตรงไหน ขั้นตอนนี้ถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำให้พลังของการจดจำมีประสิทธิภาพ เปรียบเสมือนกับการที่เราบันทึกข้อมูลลงในคอมพิวเตอร์ เราต้องรู้ชัดเจนว่าเรากำลังต้องการบันทึกอะไรภาพ ตัวอักษร หรือ พรีเซนเทชั่น การมีเป้าหมายเจาะจงชัดเจนเป็นขั้นแรกในการเพิ่มความจำให้มีประสิทธิภาพ

====

2. จัดทำแฟ้มบันทึก (File)

หากคุณต้องการเรียกคืนไฟล์ต่างๆ จากคอมพิวเตอร์กลับมาใช้ คุณจะต้องบันทึกโฟลเดอร์หรือไฟล์งานนั้นไว้เพื่อจะเรียกใช้ในภายหลัง ความจำต่างๆ ของคุณก็มีกลไกการทำงานแบบเดียวกับคอมพิวเตอร์นี่แหล่ะ 

ฉะนั้นเพื่อให้คุณสามารถเรียกข้อมูลกลับมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว คุณจำเป็นต้องบริหารจัดการความทรงจำ ด้วยการจัดเก็บข้อมูลไว้เป็นไฟล์แห่งความทรงจำ (Memory files) อย่างมีระบบและมีระเบียบ เพื่อจะได้เรียกใช้ได้ง่ายขึ้น

====

3. ฝึกจำเป็นภาพ (Picture)

ขั้นตอนนี้ เป็นการสร้างภาพต่างๆ เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ เนื่องจากสมองของเรามักจำภาพได้มากกว่าข้อมูลแบบอื่น เราจึงจำเป็นต้องจินตนาการถึงสิ่งที่ต้องการจำเป็นภาพที่คุ้นเคย หรือภาพที่สะดุดตา

เช่น อยากจำคำว่า การทำงานเป็นทีม (Teamwork) ก็ให้นึกเป็นภาพผู้คนกำลังร่วมมือกันทำงานอยู่ เป็นต้น 

พูดง่ายๆ ก็คือ อะไรก็ตามที่เราต้องการจำจะต้องแปลงให้อยู่ในรูปแบบของภาพเสมอเพื่อให้สมองมองเห็นและจดจำได้ หรือกล่าวได้ว่า เมื่อรู้ว่าสมองเราชอบจำเป็นภาพ  เราก็ถอดรหัสสิ่งต่างๆ ให้เป็นภาษาของสมอง เพื่อบันทึกเรื่องราวต่างๆ ลงไปได้ง่ายและมากขึ้นนั่นเอง

====

4. ตรึงให้มั่น (Glue)

ขั้นตอนนี้เป็นการเชื่อมข้อมูลที่เราต้องการจำ ให้ได้รับการบันทึกอยู่ในสมองได้นาน  Ron พบเคล็ดลับว่า การที่เราจะจำบางสิ่งบางอย่าง สิ่งนั้นต้องมีความโดดเด่นเพียงพอที่จะติดตรึงอยู่ในความทรงจำ มันต้องกระทบกับความรู้สึก (Feeling) ของเราอย่างรุนแรง

หากคุณลองสังเกตช่วงชีวิตที่ผ่านมา คุณจะเห็นว่าความจำจะติดตรึงอยู่ได้ก็ต่อเมื่อภาพนั้นมีความ เคลื่อนไหว มีความรู้สึก หรือมีสิ่งพิเศษบางอย่างมาเชื่อมโยงกับเรา

และนี่เป็นคำตอบว่าทำไมคุณจึงสามารถนึกถึงรายละเอียดของเรื่องเศร้าที่ทำให้คุณเสียใจมากๆ หรือเรื่องที่ประทับใจสุดๆ เมื่อ 20 ปีก่อนได้อย่างแม่นยำ

เทคนิคของรอนคือ ภาษาภาพที่คุณสร้างขึ้นมาเพื่อจะจดจำ นั้นจะต้องเป็นภาพที่ติดตรึงในความทรงจำได้ดี มีความเคลื่อนไหว มีความรู้สึกร่วมอยู่ในนั้นด้วย

และหากเป็นภาพที่มีความพิเศษมากก็จะยิ่งช่วยให้จำได้ดีขึ้น ทำได้ง่ายๆ ด้วยการติดตรึงความจำเอาไว้ ด้วยการจินตนาการถึงความรู้สึกและการเคลื่อนไหวต่างๆ ลงไปในเนื้อหาของสิ่งที่จะจำนั่นเอง

====

5. หมั่นทบทวน (Review)

การทบทวนสิ่งที่บันทึกไว้ในความทรงจำ เป็นอีกขั้นตอนที่ทำให้เราสามารถจำสิ่งต่างๆ ได้ในระยะยาว เปรียบเทียบกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ที่ต้องมีการรีเฟรช (Refresh) หรือ อัพเกรด (Upgrade) โปรแกรมอยู่เสมอ

Ron ได้แนะนำเทคนิคง่ายๆ สำหรับขั้นตอนนี้ไว้ว่า ถ้าคุณต้องการจดจำชื่อผู้คนที่ได้พบมา เมื่อตื่นขึ้นมาในเช้าวันใหม่  ให้ถามตัวเองว่า เมื่อวานนี้เราได้พบใครบ้าง เพื่อจะทบทวนรายชื่อของคนที่เราได้พบ แล้วดูว่ามีกี่คนที่คุณสามารถจำได้ ตรงนี้ถือเป็นแบบฝึกหัดที่ช่วยเพิ่มเติมข้อมูลลงไปในระบบบันทึกข้อมูลส่วนตัว คล้ายการ Upload ข้อมูลใหม่ใส่สมองนั่นเอง 

นักวิจัยได้นำสมองของไอน์สไตน์ มาวิเคราะห์ พบว่าไม่ได้มีขนาดใหญ่ไปกว่าคนทั่วไป เลย

ดังนั้นเราทุกคนมีสมองที่สุดอัจฉริยะอยู่แล้ว เพียงแต่ยังใช้ไม่เป็นเท่านั้น หากเราสามารถใช้ศักยภาพสมองได้เต็มที่แบบนี้ เราจะบรรลุถึงเป้าหมายและความสำเร็จในชีวิต ทั้งในด้านการงาน และชีวิตส่วนตัว ได้อย่างแน่นอน

ฝึกสมองแล้ว อย่าลืมฝึกฝนจิตใจควบคู่กันไปด้วย อ่าน ผู้นำยุคใหม่ฝึกจิตใจเพื่อสร้างทีม คลิกที่นี่

====

ผู้บริหาร ผู้จัดการ และเจ้าของธุรกิจที่ต้องพัฒนาการทำงานของสมอง ต่อยอดสู่การพัฒนา Mindset และทักษะในการทำงานเป็นผู้นำในโลกยุคใหม่ เราขอแนะนำหลักสูตร The New Leadership Skill ดูรายละเอียดคลิกที่นี่

บทความโดย

อ. เรือรบ จิณณ์ณัฏฐ์ พรหมนุรักษ์

CEO และผู้ก่อตั้ง Learning Hub Thailand

ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาภาวะผู้นำ 

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

 

5 เคล็ดลับ เปลี่ยนคนเบื่องาน ทะยานสู่ TOP 5 ในออฟฟิศ

ยอมรับมาซะดีๆ ว่าคุณเคยแอบอิจฉาคนในที่ทำงานที่ได้ดิบได้ดี เป็นลูกรักของ Boss แถมโบนัสและเงินเดือนก็ยังเกินหน้าเกินตาเพื่อนร่วมงานไปหลายเท่า

หลายต่อหลายครั้งที่ต้องยอมรับในความสามารถของคนที่ได้ชื่อว่าเป็นพนักงานระดับ Top 5 ในออฟฟิศ

ความสามารถที่เขาเหล่านั้นไม่ได้มาเพราะโชคช่วย ไม่ได้มาจากการประจบสอพลอ

และหลายต่อหลายคนคิดว่าความสามารถของคนระดับ Top 5 เกิดขึ้นเพราะเขามี ‘พรสวรรค์’ 

====

ความเชื่อเหล่านั้นทำให้หลายคนหยุดพัฒนาการทำงานของตัวเอง ซึ่งตามมาด้วยความรู้สึกหมดหวังต่อความก้าวหน้าในงานที่ทำอยู่ จนอาจกลายเป็นอาการเบื่องานในไม่ช้า

ทั้งที่ ในความเป็นจริงแล้วพนักงานระดับ Top 5 ก็ไม่ได้มีสิ่งใดเหนือกว่าพนักงานระดับธรรมดาๆ เลย ต่างกันเพียงแค่เรื่องเดียวเท่านั้น

นั่นคือ  ‘ความสามารถในการเรียนรู้ที่รวดเร็ว’

====

โชคดีที่ความสามารถนี้เป็นสิ่งที่สามารถสร้างได้ด้วยตัวเอง และ ต่อไปนี้ คือ 5 เคล็ดลับ ที่จะทำให้คุณมีศักยภาพในการเรียนรู้รวดเร็ว

1.สร้างสภาพแวดล้อมที่สงบ

ขั้นตอนแรกของการเรียนรู้  มิใช่แค่การฟังหรือการอ่าน แต่เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้

สภาพแวดล้อมที่เงียบ สงบ และปราศจากสิ่งรบกวนที่จะมาดึงความสนใจของคุณจากสิ่งที่กำลังเรียนรู้ จะช่วยให้จิตใจเกิดสมาธิ 

TIP : ควรให้ความสำคัญกับการจัดโต๊ะทำงานและบริเวณโดยรอบให้อยู่ในบรรยากาศที่เงียบ สงบ ปราศจากสิ่งรบกวน ควรปิดเสียงเครื่องมือสื่อสาร และไม่ควรตั้งไว้บนโต๊ะทำงาน ควรเก็บไว้ในลิ้นชักเพราะจะได้ไม่รบกวนสายตาซึ่งจะส่งผลดีต่อการสร้างสมาธิในการทำงานมากกว่า

====

2.ใช้จินตนาการช่วยในการเรียนรู้

ทฤษฎีทางจิตวิทยา สรุปได้ว่า มนุษย์เรียนรู้และจดจำเป็นภาพ มิใช่คลื่นเสียงหรือตัวอักษร  ดังนั้น ก่อนจะเรียนรู้งานเรื่องใดให้คุณลองจินตนาการว่า

เมื่อคุณได้รับความรู้นั้นแล้ว จะนำไปทำอะไรบ้าง ในขณะฟังหรืออ่านให้ค่อย ๆ ลำดับความคิดเป็นภาพ

วิธีการนี้เป็นการเปิดจิตใต้สำนึกให้ค่อย ๆ ดูดซับความรู้ใหม่เข้าไปไว้ในความทรงจำ นอกจากนี้การทบทวนความรู้ใหม่ในตอนกลางคืน โดยเฉพาะ 30 นาที ก่อนนอน ยังช่วยให้จิตใต้สำนึกจดจำภาพต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน และสามารถประมวลผล

เพื่อดึงกลับมาใช้ได้อย่างแม่นยำในวันหน้า

TIP : ทุกครั้งที่ได้รับมอบหมายงานที่ไม่เคยทำ ก่อนที่จะบ่นว่ายากให้เปลี่ยนเป็นการฝึกตั้งคำถามกับตัวเองว่า

งานนี้องค์กรจะนำไปใช้ประโยชน์ด้านใดได้บ้าง ?

เราจะได้เรียนรู้สิ่งใดจากงานนี้ ?

เราจะทำงานนี้ให้ดีที่สุดได้อย่างไร ?

====

3.  จดบันทึกสั้น ๆ

รูปแบบการเรียนรู้หลัก ๆ ที่มนุษย์มีติดตัวมาตั้งแต่เป็นทารก คือ เรียนรู้จากการฟัง (AUDITORY) และเรียนรู้จากการมองเห็น (VISUAL) ซึ่งการเรียนรู้จากการมองเห็นจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการฟัง

เนื่องจากเส้นประสาทที่เชื่อมระหว่างตากับสมองมีจำนวนมากกว่าเส้นประสาทที่เชื่อมระหว่างหูกับสมองถึง 22 เท่า แต่การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพที่สุด กลับเป็นการเรียนรู้จากการใช้มือเขียนบันทึกข้อมูลหรือการโน้ตย่อ

เพราะช่วยให้เส้นประสาทที่เชื่อมระหว่างสมองกับตา และสมองกับหูสามารถทำงานไปพร้อม ๆ กัน

กล่าวคือในระหว่างคุณจดบันทึกข้อความ สมองของคุณจะเห็นภาพและได้ยินเสียงเกี่ยวกับข้อมูลที่กำลังจดบันทึกในเวลาเดียวกัน

วิธีการจดบันทึกจึงเป็นเสมือนทางลัดที่ใช้ในการส่งข้อมูลความรู้เข้าไปจัดเก็บไว้ในคลังสมอง

Tip : ฝึกจดบันทึกประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้จากงานชิ้นใหม่ๆ ที่เพิ่งเคยทำ หรือ งานชิ้นเดิมๆ ที่เคยทำผิดพลาด รายละเอียดของงานในแต่ละขั้นแต่ละตอน หมั่นนำมาอ่านทบทวนสัปดาห์ละครั้ง เพื่อสะสมความรู้ที่ได้รับจากประสบการณ์ตรงไว้ในคลังสมอง

====

4.  แบ่งปันความรู้ใหม่ให้กับผู้อื่น

สิ่งที่น่าตกใจ คือ ความรู้ใหม่ที่เพิ่งได้เรียนรู้ กว่า 90 % ไม่ว่าจะมาจากการฟัง การอ่าน หรือการเขียนก็ตาม จะคงอยู่ในสมองได้ไม่นานนัก

หากคุณไม่รีบนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน สมองจะสั่งการว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นต่อชีวิตประจำวันของคุณ และจะค่อยๆ โละความรู้นั้นทิ้งในเวลาต่อมาเพื่อไม่ให้เป็นภาระสมอง 

ดังนั้น วิธีการที่ง่ายที่สุดในการเก็บความรู้ใหม่ให้คงอยู่ในคลังสมองตลอดไป คือ การพูดคุยเพื่อแบ่งปัน แลกเปลี่ยนสิ่งที่เพิ่งได้เรียนรู้ให้แก่คนในชีวิตประจำวันของคุณ เช่น เพื่อน คนรัก พี่น้อง

ซึ่งถือเป็นการย้ำเตือนกับสมองว่าเรื่องที่แบ่งปันเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตประจำวันห้ามลบทิ้งโดยเด็ดขาด

Tip : หาเวลาว่างสักวันละ 5 นาที พูดคุยเรื่องราวดีๆ ที่ได้เรียนรู้มาจากการทำงาน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ให้คำแนะนำซึ่งกันและกัน แทนการสุมหัว ตั้งวง บ่น นินทา เม้ามอย ฯลฯ

====

5.  ดื่มน้ำและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

เป็นวิธีที่สำคัญที่สุดวิธีหนึ่ง เนื่องจากสมองส่วนหน้าของมนุษย์มีไว้เพื่อทำหน้าที่ในการเรียนรู้และจดจำ ดังนั้น สมองส่วนหน้าจึงมีความต้องการใช้ออกซิเจนในเลือดในปริมาณที่เพียงพอเพื่อเพิ่มเซลสมองให้ส่วนนี้

การดื่มน้ำและการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เป็นวิธีการที่ใช้ส่งเลือดไปเลี้ยงสมองส่วนหน้าได้อย่างทั่วถึง จึงถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการสร้างสมองอัจฉริยะ

Tip : บนโต๊ะทำงานของคุณควรมีกระติกน้ำ หรือ ขวดน้ำที่มีความจุประมาณ 1 ลิตร ตั้งไว้ เพื่อเป็นการเตือนความจำให้คุณค่อยๆ หยิบมาจิบไปเรื่อยๆ ระหว่างนั่งทำงาน 8 – 10 ชั่วโมง และหลังเลิกงานควรแบ่งเวลาออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 15 – 30 นาที

====

อีกหนึ่งวิธีต่อยอดทักษะความสามารถในการเรียนรู้อย่างรวดเร็วเพื่อการประสบความสำเร็จในงาน อ่าน  3 เคล็ดลับที่การเรียนรู้ช่วยให้คุณประสบความสำเร็จได้มากขึ้น คลิกที่นี่

เคล็ดลับง่ายๆ ทั้ง 5 ข้อ คงเป็นเครื่องพิสูจน์ได้ว่าพรสวรรค์ ไม่ใช่สิ่งที่มีติดตัวมาตั้งแต่เกิด

อันที่จริงแล้ว “พรสวรรค์เป็นสิ่งที่เราต้องลงทุน”  การลงทุนที่ดีที่สุด ก็คือการลงทุนกับการเรียนรู้

อย่าลืมใส่ใจดูแลสมองและร่างกายให้พร้อมที่จะเรียนรู้อยู่เสมอ เพื่อสร้างความสำเร็จในการทำงานให้ทะลุอันดับ Top 5 Top 3 ไปจนถึง Number 1 กันนะครับ

====

วิธีการสำคัญที่ช่วยพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้รวดเร็วก็คือการพัฒนา Growth Mindset ในการทำงาน ขอแนะนำหลักสูตร Growth Mindset for Effective Work ดูรายละเอียดที่นี่

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 094 959 2645

 

บริหารเวลาให้ดีขึ้นด้วยการจัดการเรื่องสำคัญที่ไม่เร่งด่วน

บริหารเวลาให้ดีขึ้นด้วยการจัดการเรื่องสำคัญที่ไม่เร่งด่วน

คุณคงจะเคยเห็นบรรดาคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตที่สามารถทำงานสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ

พวกเขาทำธุรกิจหลัก ธุรกิจรอง ธุรกิจเสริม จนมีรายได้เข้ามาหลายช่องทาง คนเหล่านี้ยังมีเวลาไปออกกำลังกาย ดูแลครอบครัว อ่านหนังสือ และทำงานช่วยเหลือสังคมอีกด้วย

ดู ๆ ไปแล้วเหมือนคนเหล่านี้จะมีเวลาในหนึ่งวันที่มากกว่าเรา  ก็ขนาดเราทำอะไรน้อยกว่าพวกเขาหลายเท่า แต่ทำไมยังทำไม่ทันเลย พวกเขามีเคล็ดลับอะไรที่เราไม่เคยรู้เช่นนั้นหรือ

====

ทบทวนกิจกรรมในชีวิตทั้ง 4 ประเภท

คุณน่าจะรู้จัก Eisenhower matrix หรือ ตารางสำคัญ – เร่งด่วน ที่ใช้ในการบริหารเวลากันมาบ้างแล้ว เพราะทุกโรงเรียนที่สอนการบริหารจะต้องพูดถึงเรื่องนี้ ซึ่งผมเองก็ใช้ตารางนี้ในการบริหารเวลามานานหลายปีเพราะเป็นหนึ่งในเครื่องมือบริหารเวลาที่ทรงพลังที่สุด

ขอทบทวนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตารางนี้เพื่อให้ทุกคนเข้าใจตรงกันก่อน ตารางนี้เกิดจากแกนหลักสองแกนคือ แกนตั้งซึ่งเป็นแกนของกิจกรรมที่สำคัญ – ไม่สำคัญ และแกนนอนซึ่งเป็นแกนของกิจกรรมที่เร่งด่วน – ไม่เร่งด่วน

เมื่อนำแกนทั้งสองมาตั้งฉากแล้วลากเส้นแบ่งให้เป็นสี่ช่อง ก็จะได้ช่องในการนำกิจกรรมทั้งหมดในชีวิตมาจัดกลุ่มทั้งหมด 4 ประเภท ดังนี้

  1. กิจกรรมสำคัญและเร่งด่วน คือ งานที่ต้องส่งภายในวันนี้ ชั่วโมงนี้ ตอนนี้ งานแทรก หรือ งานดับไฟทั้งหลาย

  2. กิจกรรมสำคัญแต่ไม่เร่งด่วน คือ งานที่มีความสำคัญในชีวิตแต่ไม่มีกำหนดการส่งมอบที่แน่นอน เช่น การวางแผน การพัฒนาทักษะในการทำงาน การออกกำลังกาย การพัฒนาความสัมพันธ์ การบริหารเงิน เป็นต้น

  3. กิจกรรมไม่สำคัญแต่เร่งด่วน คือ งานที่ไม่ใช่สิ่งที่เป็นคุณค่าหลักของเรา (คนอื่นทำแทนได้) และ งานที่แทรกเข้ามาแต่ไม่ได้สำคัญอะไร เช่น การตอบแชทคนที่ทักพูดคุยเรื่องทั่วไป เป็นต้น

  4. กิจกรรมไม่สำคัญและไม่เร่งด่วน คือ สิ่งที่ไร้สาระสำหรับชีวิตของเรา ไม่ทำก็ไม่ตาย เช่น เล่นมือถือนานๆ เป็นต้น

====

แล้วเราควรทำอย่างไรกับงานหรือกิจกรรมในแต่ละช่อง

ความเข้าใจต่องานหรือกิจกรรมในแต่ละช่องว่าสำคัญแล้ว แต่การจัดการกับกิจกรรมแต่ละช่องก็สำคัญไม่แพ้กัน เมื่อคุณสามารถวิเคราะห์และนำกิจกรรมต่าง ๆ จัดลงช่องใดช่องหนึ่งใน 4 ช่องด้านบนได้แล้ว คุณก็ต้องเรียนรู้วิธีในการจัดการกับกิจกรรมทั้ง 4 ด้วย

  1. เรื่องสำคัญและเร่งด่วน เราต้องลงมือทำทันที ต้องสะสางให้จบทุกวัน และอย่าปล่อยให้มันเพิ่มขึ้นมา

  2. เรื่องสำคัญแต่ไม่เร่งด่วน เราต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ในชีวิตกับกิจกรรมในกลุ่มนี้ โดยการวางแผน ลงตารางว่าจะทำสิ่งนั้นเมื่อใด เวลาไหน

  3. เรื่องไม่สำคัญแต่เร่งด่วน เราต้องจ่ายงานให้คนอื่นทำแทน หรือ สร้างระบบให้ทำโดยอัตโนมัติ และ / หรือ ย้ายไปไว้ในช่อง 2 โดยการกำหนดช่วงเวลาในการลงมือทำ

  4. ไม่สำคัญและไม่เร่งด่วน เราต้องลดปริมาณลงและ / หรือกำจัดทิ้งโดยการกำหนดช่วงเวลาในการทำ (ย้ายไปไว้ในช่อง 2 )

====

เทคนิคบริหารเวลาขั้นสุดยอด

ถ้าถามว่าในบรรดากิจกรรมทั้ง 4 ช่อง กิจกรรมช่องไหนที่มีคุณค่า มีความสำคัญมากที่สุด ตอบได้ทันทีเลยว่า กิจกรรมในช่องที่ 2 เพราะถ้าเราไม่ลงมือทำ มันจะเคลื่อนย้ายมาเป็นกิจกรรมที่สำคัญและเร่งด่วน(ช่อง 1) ในอนาคตอย่างแน่นอน

ตัวอย่างเช่น

ถ้าคุณไม่ออกกำลังกาย และดูแลสุขภาพ (ช่อง 2) คุณก็อาจเจ็บป่วยจนทำงานไม่ไหว (ช่อง 1)

ถ้าคุณไม่เรียนรู้และพัฒนาทักษะที่สำคัญ (ช่อง 2) คุณก็อาจจะไม่มีทักษะในการทำงานจนต้องถูกสั่งให้ไปเรียนเพิ่มเติมให้เร็วที่สุด (ช่อง 1) หรือ อาจต้องหางานใหม่ (ช่อง 1 )

ถ้าคุณไม่ให้เวลาคุณภาพกับครอบครัว (ช่อง 2) คุณก็อาจจะมีความสัมพันธ์ที่ไม่ดี ลูกไม่เชื่อฟัง ไปคบเพื่อนไม่ดีจนทำผิดกฏหมายทำให้คุณต้องไปประกันตัวเขาที่สถานีตำรวจ(ช่อง 1)

====

แล้วกิจกรรมในช่องไหนที่อันตรายที่สุด

ตอบจากประสบการณ์ในการนำมาใช้จริงมากกว่าสิบปี และทำงานเป็นโค้ชด้าน Productivity มายาวนาน ก็ต้องบอกว่า….กิจกรรมที่ไม่สำคัญแต่เร่งด่วน (ช่อง 3)

เรียนรู้วิธีจัดการเรื่องไม่สำคัญแต่เร่งด่วน

คงไม่ใช่เรื่องยากที่จะมองเห็นกิจกรรมที่ไม่สำคัญและไม่เร่งด่วน(ช่อง 4)  เพราะมันคือเรื่อง ‘ไร้สาระ’ ในชีวิตของคุณ(แต่คุณอาจจะใช้เวลาอยู่กับมันทั้งวันเลยก็ได้) นั่นเอง

สิ่งที่ยากกว่าคือการรู้ว่ากิจกรรมไหนคือเรื่องที่ไม่สำคัญแต่เร่งด่วน

ในที่นี้ผมจะแบ่งกิจกรรมในช่องนี้ออกเป็น 2 ประเภท คือ

  1. กิจกรรมที่ไม่ใช่คุณค่าหลักของคุณ หมายความว่ามีคนที่ทำได้ดีกว่าคุณอยู่
  2. กิจกรรมที่ดูเหมือนด่วนและแทรกเข้ามาทันที แต่จริง ๆ มันเป็นเรื่องที่รอได้ เช่น มีข้อความแชทเด้งขึ้นมา

====

เมื่อคุณเข้าใจและเริ่มมองเห็นกิจกรรมช่อง 3 นี้แล้ว ก็ถึงเวลาที่คุณจะต้องใช้กลวิธีในการจัดการมันให้หมดไปเสียที ซึ่งวิธีจัดการมีดังนี้

  1. Delegate คือ การจ่ายงานนั้นให้คนอื่นทำแทน เช่น ลูกน้อง หรือ การจ้าง Outsource เช่น การทำบัญชี การทำความสะอาดห้อง การล้างรถ การทำอาหาร เป็นต้น
  2. Swap คือ การแลกงานกันทำ วิธีนี้อยู่ในสมมติฐานที่ว่าแต่ละคนมีความถนัดชำนาญที่แตกต่างกัน และเราจะทำสิ่งที่เราถนัดได้ดีโดยใช้เวลาที่น้อยกว่าคนที่ไม่ถนัดเสมอ ถ้าคุณมีงานที่ถนัดและเชี่ยวชาญ ลองเสนอที่จะแลกกันทำกับคนในทีมดู
  3. Re – Process คือ การปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน จากเดิมที่ต้องมีขั้นตอน 1-2-3-4 เราอาจจะลดบางขั้นตอนให้เหลือ 1-3-4 หรือ 1-2—4 เพื่อลดการใช้เวลากับกิจกรรมนั้นลง

ทั้งหมดนี้คือวิธีการสำคัญในการทวงคืนเวลาที่มีคุณค่าของคุณกลับคืนมา

====

คำถามสุดท้ายก็คือ…แล้วเราจะเอาเวลาที่ได้คืนมาจากการลดกิจกรรมในช่องที่ 3 ไปทำอะไรล่ะ

ถ้าคุณเอาไปใช้ในการทำกิจกรรมในช่องที่ 4 เช่น นั่ง ๆ นอน ๆ เล่นมือถือไปเรื่อยเปื่อย หรือ นอนดูซีรี่ย์แบบมาราธอน ก็ถือว่าคุณได้ทำลายเวลาที่เพิ่งได้คืนมาไปอย่างป่นปี้

วิธีที่ดีที่สุดในการจัดการกับเวลาที่ได้คืนมาก็คือ นำมันไปลงทุนกับการทำกิจกรรมในช่องที่ 2 ไม่ว่าจะเป็น ออกกำลังกาย ดูแลสุขภาพ รับฟังคนในครอบครัว ใช้เวลาคุณภาพกับคนที่รัก อ่านหนังสือ เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ฯลฯ

อีกหนึ่งเทคนิคในการบริหารเวลาที่ดีมากๆ คือ เทคนิค Time Boxing เพื่อทำให้งานเสร็จอย่างยอดเยี่ยม คลิก ที่นี่

และทั้งหมดนี้คือ แก่นแท้ของการบริหารเวลาอย่างแท้จริงครับ

====

สนใจเรียนรู้และฝึกฝนทักษะการบริหารเวลาอย่างเป็นรูปธรรมและนำไปใช้ได้ทันทีที่เรียนจบ แนะนำหลักสูตร Effective Time Management คลิกดูรายละเอียดที่นี่

บทความโดย

อ.เวย์  เวสารัช โทณผลิน

Productivity Coach and Team Collaboration Facilitator

วิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างประสิทธิผลและการบริหารทีมของผู้นำ

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 094 959 2645

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Ads, Google Analytics

    Statistics

  • Google Analytics

    Statistics

  • Facebook

    Marketing/Tracking

  • ActiveCampaign

    Functional

  • ActiveCampaign

    Marketing/Tracking

Save