วิธีเป็นอิสระจากความคิดเพื่อชีวิตที่ Productive

วิธีเป็นอิสระจากความคิดเพื่อชีวิตที่ Productive

ดูเผิน ๆ เหมือนว่า ‘ความคิด’ คือ หัวใจสำคัญของการทำงานที่ Productive 

ไอเดียดีดีมากมายพร่างพรูออกจากสมองอันชาญฉลาด คุณสร้างสรรค์วิธีการทำงานใหม่ ๆ แก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ลุล่วงไป และคุณก็วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับมาด้วยสมองหรือความคิดของคุณนี่แหละ

ไม่แปลกเลยถ้าเราจะเทิดทูนบูชาความคิด เพราะมันมีพลานุภาพสูง ใช้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมันก็ช่วยสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ รวมถึงสร้างอารยธรรมของมนุษย์ด้วย แต่คุณรู้ไหมครับว่า ความคิด นี่แหล่ะที่ทำร้ายทำลายเรา(รวมถึงสังคมมนุษย์) ได้เช่นกัน

====

ทุกสิ่งที่มีพลังงานสูงมักมีสองด้านเสมอ ไฟที่ร้อนแรงสามารถให้ความร้อน ความอบอุ่นและเผาทำลายเราได้ น้ำที่มีคุณประโยชน์ก็ท่วมบ้านเรือนและคร่าชีวิตของเราได้ 

‘ความคิด’ ก็เช่นเดียวกัน เราใช้ประโยชน์จากการคิดถึงอดีต(โดยมากมักเกิดโดยอัตโนมัติ) เพื่อเป็นบทเรียน เป็นประสบการณ์และข้อมูลความรู้ในการทำงาน เราคิดจินตนาการถึงอนาคต(สิ่งที่ยังไม่ได้เกิดขึ้น) เพื่อสร้างนวัตกรรม วิธีแก้ปัญหา และตั้งเป้าหมาย 

====

แต่ถ้าไม่ระวัง การคิดถึงอดีตมักนำมาซึ่งความเคียดแค้น ความเกลียดชัง ความหงุดหงิดรำคาญ ความโมโห และไม่พอใจ ส่วนการคิดถึงอนาคตก็นำมาซึ่งความกลัว ความวิตกกังวล และความเครียด 

วิธีการที่ดีที่สุดในการทำงานอย่าง Productive ก็คือ การใช้ความคิดให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยไม่ตกเป็นทาสความคิดจนเกิดความรู้สึกเชิงลบทั้งหลายเหล่านั้น และต่อไปนี้คือคำแนะนำจากประสบการณ์ตรงในการฝึก ‘ออกจากความคิด’ ของผม

====

1. ทำสมาธิทุกวัน

มีวิธีการทำสมาธิมากมายที่ไม่ใช่แค่การนั่งหลับตาอยู่นิ่ง  ๆ คุณอาจถนัดในการเคลื่อนไหวมือ 14 จังหวะ(ตามแนวทางหลวงพ่อเทียน) หรือใช้การเดินจงกรม การระบายสี การลืมตาแล้วรู้สึกลมหายใจ ฯลฯ วิธีไหนก็ได้ที่ถูกกับจริตของคุณแล้วทำให้เกิดสมาธิ ไม่ถูกความคิดลากจูงไปมาเพียงวันละ 15 – 30 นาทีก็ถือเป็นการฝึกออกจากความคิดที่ดีมาก ๆ แล้ว

====

2. ฝึกอยู่กับปัจจุบันอย่างไม่ตัดสิน

เราทุกคนมีแนวโน้มที่จะตัดสินปัจจุบันว่าชอบ / ไม่ชอบ  ดี / ไม่ดี อยู่ตลอดเวลา โดยอาศัยความต้องการส่วนตัวและประสบการณ์เก่า ๆ ในการตัดสินนั้น ลองตั้งแอพพลิเคชั่น Mindfulness Bell ในมือถือของคุณเพื่อให้มันส่งเสียงเตือนให้คุณกลับมาอยู่กับปัจจจุบันอย่างแท้จริงโดยปล่อยวางทุกสิ่งที่คิด กังวล โมโห โกรธแค้น ไม่พอใจลง(ชั่วคราวก่อนก็ได้ครับ) 

ฝึกฝนทักษะตระหนักรู้เท่าทันตัวเอง หรือ Self – Awareness ได้ในบทความนี้

====

3. เขียนบันทึกทุกวัน

ใช้เวลาสั้น ๆ 10 – 20 นาทีก่อนนอน เป็นอิสระจากมือถือ(ก่อน) แล้วหยิบสมุดคู่กายขึ้นมาเขียนบันทึกความคิด ความรู้สึกโดยรวมในวันนั้น มีเรื่องอะไรติดค้างในหัวทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัวให้จัดลงไปในสมุดให้หมด ถ้าเป็นสิ่งที่สามารถ take action อะไรบางอย่างได้ให้เขียนระบุสิ่งที่จะทำกับวันที่แล้วเสร็จลงไปด้วย นี่คือวิธี Clearing สมองและออกจากความคิดที่มีพลังมาก เพื่อที่คุณจะสามารถเข้านอนด้วยหัวสมองที่โล่งและอยู่กับปัจจุบันได้อย่างแท้จริง 

ลองนำทั้งสามวิธีไปฝึกฝนอย่างจริงจังต่อเนื่องอย่างน้อยสามสิบวันแล้ววิเคราะห์ผลที่ได้รับกับตัวเอง

เพราะผมเชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยได้ยินวิธีการเหล่านี้มามากกว่าร้อยครั้งแล้ว แต่คุณก็น่าจะรู้นะครับว่าสิ่งที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้แก่คุณคือการลงมือทำไม่ใช่การอ่าน ดู ฟัง แล้วท่องจำไปบอกคนอื่น 

ถ้าคุณต้องการให้ชีวิตและการทำงาน Productive มากขึ้น คุณต้องฝึกฝนทักษะการบริหารเวลา  ขอแนะนำหลักสูตร Effective Time Management คลิกที่นี่

====

เรียบเรียงโดย

อ. เวย์ เวสารัช โทณผลิน

ผู้เชี่ยวชาญด้าน Productivity

(Personal Productivity Facilitator) 


Learning Hub Thailand เราพัฒนาคนในองค์กร เพื่อเพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 093 925 4962

เทคนิค Time Boxing เพื่อทำให้งานเสร็จอย่างยอดเยี่ยม

เทคนิค Time Boxing เพื่อทำให้งานเสร็จอย่างยอดเยี่ยม

คนทำงานส่วนใหญ่จะมีรายการสิ่งที่ต้องทำ (to do list) แปะไว้ที่ข้างฝา แต่ในความเป็นจริงแล้วการทำแค่นั้นมักจะเกิดปัญหาตามมามากมาย

ปัญหาแรกคือมันทำให้เกิดตัวเลือกมากเกินไปว่าจะทำอะไรบ้าง ปัญหาต่อมาคือ คนส่วนใหญ่จะเลือกทำสิ่งที่ง่ายก่อน

ส่วนปัญหาที่สามคือเรื่องที่สำคัญแต่ไม่เร่งด่วนมักถูกทิ้งไว้เป็นลำดับท้าย ๆ ปัญหาที่สี่คือ รายการสิ่งที่ต้องทำมักจะไม่ได้บอกว่าสิ่งนั้นใช้เวลาแค่ไหน

และปัญหาสุดท้ายคือ ทั้งหมดจะเป็นแค่กระดาษรายชื่อ ถ้าหากเราไม่สร้างเงื่อนไขผูกมัดว่าจะต้องทำให้ได้จริง ๆ

====

หนทางที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าว คือการสร้าง Timeboxing (ระบบการจัดเวลาเป็นบล็อค) ขึ้นมา ผู้ที่ใช้วิธีนี้ต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่าประโยชน์ของมัน คือ

1.เมื่อใส่ Timeboxing ลงไปในปฏิทิน ทำให้เกิด ‘สถานะของงาน’

เช่น ถ้ารู้ว่าต้องมีคลิปโปรโมทสินค้าออกอากาศในวันอังคาร และงานนี้จะต้องให้เวลาทีมทำงานประมาณ 72 ชั่วโมง เราจะได้ช่วงระยะเวลาว่าจะต้องวางบล็อกเวลาของงานนี้ตั้งแต่เวลาใดถึงเวลาใด

Timeboxing ทำได้โดยการมาร์คเอาไว้ให้ชัดเจนเป็นภาพที่จะคอยย้ำเตือนว่างานชิ้นนี้จะต้องเริ่มเมื่อไหร่ ส่งเมื่อไหร่ ผลลัพธ์จะออกมายอดเยี่ยมตามเวลาแน่นอน
====

2. Timeboxing ทำให้เกิดการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการทำงาน

เพราะหากเน้นความสำคัญของงานไว้ในปฏิทิน นอกจากเราจะสังเกตเห็นแล้วเพื่อนร่วมงานก็จะเห็นด้วย ทำให้เกิดความเข้าใจร่วมและเขาสามารถปรับแต่งตารางงานให้สอดคล้องกับงานที่สำคัญของเราได้

การแชร์ปฏิทินการทำงานร่วมกัน ถูกนำมาปรับใช้ในองค์กรชั้นนำหลายแห่ง เช่น กูเกิ้ล และ ไมโครซอฟต์
====

3.ทำให้เกิดการบันทึกที่ชัดเจนว่าเราทำอะไรสำเร็จไปแล้ว

สุดสัปดาห์เราสามารถทบทวนได้ว่าเกิดอะไรขึ้น มีผลงานอะไรที่เป็นชิ้นเป็นอัน ตลอดจนถึงการนำมาประมวลในระยะยาวว่าอะไรทำได้ดี อะไรยังต้องปรับปรุง
====

4.เราจะรู้สึกว่าควบคุมสถานการณ์ได้

สิ่งนี้สำคัญมากเพราะการรู้สึกว่าเราทำงานได้ตามแผน ได้เห็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นและเห็นสิ่งที่ทำเสร็จไปแล้วทำให้รู้สึกอิ่มเอมและมีความสุขในการทำงาน การล็อคเวลาให้งานสำคัญจะยังช่วยให้เราหยิบเอาสิ่งที่รบกวนหรือไม่สำคัญออกไปได้

ซึ่งต้องเน้นย้ำอีกครั้งว่า ความรู้สึกว่าควบคุมสถานการณ์ในการทำงานได้คือความสุขที่ยิ่งใหญ่ของการทำงานจริงๆ
====

5.รู้สึกว่าตนเองผลิตงานได้มากขึ้น

เพราะโดยปกติแล้ว การไม่มี Timeboxing จะทำให้เราทำงานหนึ่งชิ้นโดยขยายเวลาออกไปเรื่อย ๆ แบบไม่สิ้นสุด แทนที่จะทำภายในเวลาที่ควรจะทำ

เช่น ถ้าต้องแปลงานหนึ่งชิ้นโดยใช้เวลา 2 ชั่วโมงโดยปกติ แต่หากไม่มีบล็อกเวลา เราอาจจะทำไปเรื่อย ๆ ตบแต่งงาน แวะพัก จนกระทั่งงานนั้นกินเวลาไป 4 ชั่วโมง และเบียดบังเวลาอื่น

การมี Timeboxing จะทำให้เราคุมเวลาได้ว่าควรจะทำอะไรเสร็จเมื่อไหร่ได้ดีขึ้น อย่าแปลกใจ ถ้าหากมีคนนำบล็อกเวลาไปใช้แล้วพบว่า ทำงานได้มากกว่าปกติถึงสองเท่า!

ถ้าอยากผลิตงานออกมาได้ในปริมาณมากและมีประสิทธิภาพสูง คุณต้องไม่ละเลยเรื่องพลังงานซึ่งจะได้มากจากการนอน อ่าน 3 เทคนิคเพิ่มประสิทธิภาพการนอนเพื่อชีวิตที่ Productive คลิกที่นี่

โดยสรุปแล้ว Time Boxing นั้นจะมีผลทางบวกต่อการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เราไม่เพียงรู้สึกสุขใจที่ควบคุมชีวิตการทำงานได้ดีขึ้น แต่เรายังได้ผลงานมากขึ้น ทีมเวิร์คดีขึ้น และกลายเป็นคนทำงานที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน

====

ถ้าคุณต้องการฝึกฝนการบริหารจัดการเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ ขอแนะนำหลักสูตร Effective Time Management คลิกที่นี่

เรียบเรียงจาก “How Timeboxing Works and Why It Will Make You More Productive” โดย Marc Zao-Sanders จาก Harvard Business Review เล่มเดือน ธันวาคม 2018

เรียบเรียงโดย  Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

3 เทคนิคเพิ่มประสิทธิภาพการนอนเพื่อชีวิตที่ Productive มากขึ้น

3 เทคนิคเพิ่มประสิทธิภาพการนอนเพื่อชีวิตที่ Productive มากขึ้น

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากใช้ชีวิตในแต่ละวันอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในเรื่องการทำงานตามเป้าหมาย วางแผนล่วงหน้าในวันต่อไป มีเวลาให้กับการออกกำลังกาย รับประทานอาหารสุขภาพ และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรัก คุณจำเป็นต้องอ่านบทความนี้

 เรามักจะเรียกชีวิตที่เป็นแบบนั้นว่า ‘Productive’  ซึ่งเป็นคำที่ใครหลายคนปรารถนา แต่มีน้อยคนที่รู้เคล็ดลับสำคัญซึ่งทำให้ตัวเอง Productive มากขึ้น

 ซึ่งหนึ่งในเคล็ดลับสำคัญก็คือเรื่องพื้นฐานที่หลายคนละเลย นั่นก็คือ…การนอนหลับ นั่นเอง

====

 องค์ประกอบที่สำคัญของ Productivity คือการที่เรามีพลัง (Energy) สูงและเป็นบวกมากพอในแต่ละวัน ถ้าคุณรู้สึกตัวตื่นขึ้นมาในตอนเช้า ลุกขึ้นจากเตียง ดื่มน้ำ แปรงฟัน และล้างหน้าแล้วยังรู้สึกว่าตัวเองมีพลังงานไม่ถึง 8 (เต็ม 10) แล้วล่ะก็ ตลอดทั้งวันคุณจะไม่สามารถ Productive ได้เลย

 หนึ่งวันของคุณจะ Productive ได้มากที่สุดเท่ากับพลังงานที่คุณมีหลังตื่นนอนเท่านั้น และการที่คุณจะมีพลังงานสูงหลังตื่นนอนได้เกิดจากการเตรียมตัวเข้านอนอย่างมีประสิทธิภาพของคุณ

====

เพราะการเข้านอนคือกิจวัตรที่สำคัญที่สุดกิจวัตรหนึ่งในชีวิต และมันก็ส่งผลโดยตรงต่อ Productivity ของคุณ(ซึ่งหมายถึงหน้าที่การงาน การเงิน  และสุขภาพของคุณด้วย) ซึ่งมันไม่อาจจะเกิดขึ้นโดยบังเอิญได้เลย

 การนอนหลับก็เหมือนกับเรื่องสำคัญอื่น ๆ อย่างการทำธุรกิจ การผลิตสินค้า การขาย การเงิน หรือการแต่งงาน นั่นคือมันต้องการการวางแผนหรือออกแบบอย่างชัดเจนเป็นขั้นเป็นตอน

 การนอนหลับอย่างมีประสิทธิภาพไม่อาจเกิดขึ้นโดยบังเอิญได้(เช่นเดียวกับการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จที่ไม่อาจเกิดขึ้นแบบบังเอิญได้) ถ้าคุณเข้าใจ ยอมรับ และลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง ชีวิตของคุณจะเปลี่ยนไปตลอดกาล

====

 ต่อไปนี้คือ 3 เทคนิคในการเตรียมตัวเข้านอนอย่างมีประสิทธิภาพที่ได้รับการค้นคว้าวิจัยโดย Matt Walker นักวิทยาศาสตร์และนักเขียนที่ศึกษาเรื่องการนอนหลับ ผู้เขียนหนังสือชื่อดัง Why we sleep ซึ่งผมนำมาปรับใช้กับตัวเองต่อเนื่องเกือบหนึ่งปีแล้ว

และผมก็อยากให้คุณได้นำไปทดลองด้วยเช่นกัน

1.Regularity / ความสม่ำเสมอ

หัวใจของความสม่ำเสมอก็คือการที่คุณต้องเข้านอนและตื่นนอนในเวลาเดิมทุกวัน แม้ว่าวันนั้นจะเป็นวันหยุดก็ตาม

การที่คุณเข้านอนและตื่นนอนเวลาเดิม ๆ จะส่งผลให้ร่างกายปรับตัวให้ชินกับการพักผ่อนและการทำสิ่งต่าง ๆ ถ้าทำต่อเนื่องเกินหนึ่งเดือนคุณจะหลับได้สนิทขึ้นและตื่นนอนได้เองโดยที่ไม่ต้องใช้นาฬิกาปลุกเลยด้วยซ้ำ

====

2.Dark ,Cold and Disconnect / มืด เย็น และปลอดอินเทอร์เน็ต

ห้องนอนที่ดีควรประกอบด้วยสามองค์ประกอบนี้ มืดสนิท เพราะแสงจะรบกวนการทำงานของเมลาโทนินซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญที่ช่วยให้คุณหลับสนิท

อุณหภูมิห้องที่เย็นในระดับที่คุณห่มผ้าหนึ่งผืนแล้วไม่รู้สึกร้อนหรือหนาวจนเกินไปจะช่วยให้คุณหลับได้ดีขึ้น

และสุดท้ายคุณควรเอาสมาร์ทโฟน แท็ปเล็ต ตลอดจนหน้าจอต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์หรือโทรทัศน์ออกไปจากห้องของคุณเพราะแสงสีฟ้าจากหน้าจอจะส่งผลกระทบต่อม่านตาซึ่งจะทำให้คุณหลับไม่สนิทนั่นเอง

====

3.Create Bedtime Routine / สร้างกิจวัตรก่อนเข้านอน

การนอนหลับของคุณจะมีคุณภาพแค่ไหนขึ้นอยู่กับการสร้างกิจวัตรก่อนเข้านอนให้ตัวเอง

การเข้านอนเปรียบเหมือนการนำเครื่องบินลงจอด (Landing) คุณต้องค่อย ๆ พาร่างกายและจิตใจของตัวเองลงพื้นอย่างสงบหลังจากที่คุณใช้มันอย่างหนักหน่วงมาแล้วตลอดทั้งวัน 

กิจวัตรก่อนเข้านอนที่ดีประกอบไปด้วย… 

  • สรุปสิ่งที่ทำตลอดทั้งวัน และวางแผนสำหรับวันพรุ่งนี้
  • งดอาหารก่อนเข้านอนอย่างน้อย 2 ชั่วโมง และงดดื่มน้ำก่อนเข้านอนอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
  • อาบน้ำอุ่นและ ทำสมาธิสั้น ๆ ก่อนเข้านอน

หนึ่งในเครื่องมือสำหรับวางแผนการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในวันต่อไปคือ Time Boxing รู้จักเครื่องมือชนิดนี้เพื่อการวางแผนงานก่อนเข้านอน คลิกที่นี่
====

การนอนหลับคือศิลปะประเภทหนึ่ง คุณต้องทำความเข้าใจหลักการให้ถ่องแท้ นำไปปฏิบัติจริง แล้วบันทึกผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเพื่อที่คุณจะได้สามารถปรับประยุกต์ให้เข้ากับตัวคุณจริง ๆ

ถ้าทำได้อย่างต่อเนื่อง การตื่นเช้าด้วยพลังงานที่มากกว่า 8 ทุกวันก็จะเป็นเรื่องที่ไม่ได้อยู่แค่ในฝันของคุณต่อไปและการมีชีวิตที่ Productive ก็จะเป็นเรื่องที่คุณสร้างได้ด้วยตัวคุณเอง

====

ถ้าคุณต้องการฝึกฝนเรื่องการบริหารจัดการเวลาอย่างมีประสิทธิภาพหลังจากที่นอนหลับได้เป็นอย่างดีแล้ว ขอแนะนำหลักสูตร Effective Time Management คลิกที่นี่

เรียบเรียงโดย อ. เวย์ เวสารัช โทณผลิน

ผู้เชี่ยวชาญด้าน Productivity 
(Personal Productivity  Facilitator) 

 Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

เปลี่ยนการ ‘รู้ตัว’ เป็นการ ‘ปรับตัว’ เพื่อความสำเร็จที่แท้จริง

เปลี่ยนการ ‘รู้ตัว’ ให้กลายเป็น ‘การปรับตัว’ เพื่อความสำเร็จที่แท้จริง

“รู้ว่าต้องปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง…แต่ชั้นก็ยังปรับตัวไม่ได้สักที”

นี่คือปัญหาที่เกาะกุมใจของใครหลายคน เราทุกคนล้วนมีสิ่งที่เรียกว่า การรู้ตัว (self-awareness) อันหมายการถึงรู้จุดแข็ง จุดอ่อน ความรู้สึก ความคิด และคุณค่าของตัวเอง ในห้วงเวลาต่างๆ บ้างไม่มากก็น้อย 

แต่ถ้าอยากประสบความสำเร็จอย่างจริงจัง เพียงแค่รู้ตัวยังไม่พอแต่เราจะต้องไปไกลกว่านั้นอีกก้าว นั่นคือการปรับตัวให้ได้ หรือที่เรียกว่า มีความสามารถที่จะบริหารจัดการตัวเอง (self-management) นั่นเอง

====

ปัญหาจริงๆ ของเรื่องนี้ก็คือ หลายคนรู้ตัวเองว่ามีข้อบกพร่องอย่างไร และยังรู้อีกว่าควรจะทำอย่างไรเพื่อแก้ไข แต่ขั้นตอนแก้ไขนี่แหล่ะที่ไม่ง่ายเลย เพราะคนส่วนใหญ่มักจะมีข้ออ้างต่าง ๆ มากมาย จนไม่สามารถจัดการตัวเองได้ในที่สุด  เคล็ดลับเหล่านี้จึงเป็นเครื่องมือเบื้องต้นให้สามารถลงมือทำได้จริง

เริ่มจากอยู่กับปัจจุบันขณะ รู้ว่า ณ ตอนนี้กำลังทำอะไร มีอะไรเกิดขึ้นบ้างทั้งภายนอกและภายในใจเรา 

ชั้นที่สอง พิจารณาว่าจะทำอะไรต่อไป สิ่งที่ทำนั้นจะส่งผลอะไรตามมา และถ้าไม่เป็นอย่างที่คิด จะแก้ปัญหาอย่างไร

ขั้นสุดท้าย เลือกทำในสิ่งที่จะเกิดผลดีที่สุด แม้ว่ามันจะไม่ใช่สิ่งที่ง่ายที่สุดเลยก็ตาม

====

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่จะทำเหล่านี้มักจะพังพาบไม่เป็นท่า เพราะท้ายที่สุด แล้วมนุษย์มักจะเลือกหนทางที่ง่ายที่สุดและสะดวกที่สุดเสมอ เช่น รู้ตัวว่าถ้าปรับวิธีการพูดแล้วจะดีขึ้นแต่แทนที่จะลงมือปรับปรุงทันที กลับหาข้ออ้างบ่ายเบี่ยงแล้วเลือกใช้วิธีการพูดแบบเดิมไปก่อน เพราะการปรับนั้นจะต้องลงทุนลงแรงและทำให้ขาดความมั่นใจในช่วงแรก

เมื่อธรรมชาติมนุษย์เป็นเช่นนี้  เราจึงมีเทคนิค 6 ประการเพื่อกำราบตัวเอง และบริหารจัดการตัวเองให้สำเร็จอย่างเด็ดขาด

1.เลือกมาเลย ว่าจะเริ่มทำที่ไหน

ถ้าปัญหานี้มักเกิดในห้องประชุม ก็ต้องเริ่มต้นที่ห้องประชุมนี่แหละ

====

2. สังเกตดูดีๆ ว่าอะไรที่เป็นอุปสรรคในการปรับปรุงตัวเอง

เช่น ไม่ยอมปรับปรุงเพราะมัวแต่ห่วงหล่อ เพราะห่วงภาพลักษณ์ของตัวเอง หรือเพราะเราต้องการผลลัพธ์บางอย่างจากการทำแบบเดิมอยู่ เป็นต้น
====

3. พิจารณาทางเลือกดีๆ และคิดล่วงหน้าไปเลยว่าจะเกิดผลอะไรตามมา 

การใช้ความคิดพิจารณาทางเลือกทั้งหลายจะทำให้เรามองเห็นภาพและรับมือได้ดีขึ้น 

====

4. ทำแผนขึ้นมา

เมื่อมีแผนการที่ชัดเจนเป็นลำดับขั้นตอนอะไรต่อมิอะไรก็จะง่ายขึ้น

====

5.ทำตามแผนนั้นซะ!

ลงมือทำทันที หลังจากวางแผนเสร็จ  ไม่ต้องมาเสียเวลาหรือรอดูฤกษ์ยามอะไรแล้ว

====

6.ทำอีก ทำไปซ้ำๆ

ทำซ้ำอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ  จนกว่าจะสามารถ “ปรับตัว” ได้อย่างแท้จริง

เท่านี้แหละ คุณจะไม่เพียง “รู้ตัว” ว่ามีปัญหาและควรปรับปรุงอะไร แต่คุณยังสามารถที่จะ “ปรับตัว” โดยจัดการตัวเองได้อย่างเป็นระบบและยั่งยืน

ถ้าอยากพัฒนาตัวเองจากจุดที่อยู่ไปสู่ความสำเร็จที่ต้องการ ขอแนะนำหลักสูตร Emotional Intelligence เพื่อฝึกฝนทักษะการบริหารอารมณ์ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการปรับตัว คลิกดูรายละเอียดที่นี่

====

เรียบเรียงจาก “How to Move from Self-Awareness to Self-Improvement” โดย Jennifer Porter จาก Harvard Business Review 19 มิถุนายน 2019

เรียบเรียงโดย Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 093 925 4962

เทคนิคคิดเชิงกลยุทธ์ที่ใช้วางแผนชีวิตให้สำเร็จตามเป้า

เทคนิคคิดเชิงกลยุทธ์ที่ใช้วางแผนชีวิตให้สำเร็จตามเป้า

เคยรู้สึกไหมว่า… คนส่วนใหญ่มักใช้เวลาวางแผนท่องเที่ยว วางแผนพักร้อน มากกว่า “วางแผนชีวิตของตัวเอง”

แต่บางคนก็มุ่งมั่นตั้งใจวางแผนชีวิตของตัวเอง “วันละครั้ง” ก่อนนอนพวกเขาจะทำรายการสิ่งที่ต้องทำ แล้วพอตื่นนอน ก็ลงมือลุยตามนั้น

และก็มีบางคน ที่วางแผนชีวิต “สัปดาห์ละครั้ง” กลุ่มนี้จะทบทวนสิ่งต่างๆ ในสัปดาห์นั้น ตรวจสอบการนัดหมาย พิจารณาเป้าหมาย แล้วลงมือทำ

รู้ไหม… โดยทั่วไป คนกลุ่มหลังจะทำงานได้ดีกว่าเพื่อนร่วมงานที่วางแผนวันต่อวัน!

====

และก็มีบางคน พอเริ่มต้นเดือนใหม่ จะใช้เวลาครึ่งวัน “วางแผนสำหรับ 40 วันข้างหน้า”  ที่ต้องเป็น 40 วัน เพราะวิธีนี้ได้ผลดีมากกว่าแบบ 30 วัน

พวกเขาจะเริ่มต้นด้วยการทบทวนกิจกรรมต่างๆ วางแผนสิ่งที่จะทำกับครอบครัว จากนั้นจะพิจารณาว่า โครงการ บทเรียน และเป้าหมายอื่นๆ มีอะไรบ้างที่อยากทำให้ลุล่วงในช่วง 4-5 สัปดาห์ข้างหน้า

ถัดไปคือการจัดตารางวัน-เวลา สำหรับคิด การเขียน การทำงาน การประชุม ฯลฯ ตามด้วยการจัดสรรเวลาสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจ เช่น ดูโชว์ ดูกีฬา หรือออกกำลังกาย

นอกจากนั้น ยังแบ่งช่วงเวลาเล็กน้อยไว้ชดเชยสำหรับเรื่องที่เหนือความคาดหมาย… เมื่อทำเสร็จแล้ว พวกเขาจะสามารถบอกตัวเองและคนรอบข้างได้แทบจะทุกเรื่องที่จะทำในช่วงเดือนหน้า บางคนบอกได้ละเอียดเป็นชั่วโมงต่อชั่วโมงด้วยซ้ำ…

ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่นักจิตวิทยาเรียกว่า “การคิดเชิงกลยุทธ์” (Strategic Thinking) ซึ่งช่วยให้ใครหลายคนทำงานบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย

====

เวลาที่ได้ยินคำว่า “การคิดเชิงกลยุทธ์” คุณนึกถึงอะไร?  ภาพแผนธุรกิจใหญ่โต การประชุมวางแผนงานเพื่อกอบกู้บริษัท หรือนึกถึงภาพเหตุการณ์ตอนที่ฝ่ายพันธมิตรวางแผนยกพลขึ้นบกที่หาดนอร์มังดี ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

อันที่จริง “การคิดเชิงกลยุทธ์” ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ปฏิบัติการทางทหารหรือธุรกิจ เราสามารถนำการคิดเชิงกลยุทธ์ มาปรับใช้ให้เกิดสิ่งดีๆ ในชีวิตของเราได้ด้วย

====

ทำไม “การคิดเชิงกลยุทธ์” จึงสำคัญ?

เพราะ “การคิดเชิงกลยุทธ์” ช่วยในการวางแผน เพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มความแข็งแกร่ง และหาเส้นทางที่ตรงและสั้นที่สุดในการปฏิบัติภารกิจให้บรรลุเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตาม

ประโยชน์ที่ได้จากการคิดเชิงกลยุทธ์ มีมากมายนับไม่ถ้วน ต่อไปนี้เป็นเหตุผลที่สนับสนุนว่า “เพราะอะไรเราถึงควรใช้ ‘การคิดเชิงกลยุทธ์’ เป็นเครื่องมือสำคัญในชีวิต”

====

การคิดเชิงกลยุทธ์ ช่วยทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย

นักเขียนชาวสเปน มิเกล เดอ เซอร์วานเตส เคยกล่าวไว้ว่า “คนที่เตรียมตัวพร้อม เท่ากับมีชัยในสนามรบไปแล้วครึ่งหนึ่ง”

การคิดเชิงกลยุทธ์ เป็นการนำปัญหาที่ซับซ้อนและเป้าหมายระยะยาวที่ยากเกินกว่าอธิบายได้ มาย่อยให้เหลือขนาดที่สามารถจัดการได้ ทุกอย่างจะง่ายขึ้น ถ้ามีแผนการ

การคิดเชิงกลยุทธ์ยังช่วยให้การบริหารชีวิตประจำวันง่ายขึ้นด้วย… จอห์น ซี แม็กซ์เวลล์ ผู้มีชื่อเสียงเลื่องลือในหมู่นักพูดและนักเขียน เป็นหนึ่งในคนที่ทำระบบแฟ้มข้อมูลได้เยี่ยมยอด การเขียนสุนทรพจน์และบทเรียนที่ใช้ในการสอน เป็นงานที่ยาก

แต่เพราะเขาจัดทำแฟ้มคำคม เรื่องเล่า กรณีศึกษา และบทความไว้อย่างเป็นระบบ เวลาที่ต้องการใช้อะไรเพื่ออธิบายประเด็นให้ชัดเจน เขาก็แค่ไปดูแฟ้มหนึ่งแฟ้ม จาก 1,200 แฟ้มที่จัดเก็บไว้ แล้วหาวัตถุดิบดีๆ ที่ใช้งานได้ มาใช้กับงานที่กำลังเขียนอยู่

เห็นไหมว่างานยากกลับกลายเป็นง่ายนิดเดียว ถ้าเราใช้การคิดเชิงกลยุทธ์

====

การคิดเชิงกลยุทธ์ ช่วยกระตุ้นให้เราตั้งคำถามที่เหมาะสม

คุณอยากแยกประเด็นหรือปัญหาที่ยุ่งยากซับซ้อน ออกเป็นส่วนเล็กๆ หรือไม่? ถ้าต้องการ ก็ต้องตั้งคำถาม การคิดเชิงกลยุทธ์

ลองดูคำถามข้างล่างนี้ ซึ่ง บ๊อบบ์ บีห์ล ผู้เขียนหนังสือ Masterplanning ได้เสนอเอาไว้ 

ทิศทาง เราควรทำอะไรต่อไป เพราะเหตุใด?

องค์กร ใครรับผิดชอบอะไร ใครรับผิดชอบใคร เรามีคนที่เหมาะสมในตำแหน่งที่เหมาะสมหรือเปล่า?

เงินสด รายได้ รายจ่าย และกำไรสุทธิที่วางแผนไว้แล้ว เป็นอย่างไร เรายอมรับได้หรือไม่ เราจะบริหารจัดการอย่างไรไม่ให้เกิดความเสียหาย?

การติดตามผล เรามาถูกทางหรือเปล่า?

การประเมินภาพรวม เราทำได้คุณภาพตามที่เราคาดหวังและต้องการหรือเปล่า?

การปรับปรุง เราจะเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล ได้อย่างไร?

เหล่านี้ล้วนเป็นคำถามเพื่อเริ่มการวางแผนกลยุทธ์ และเป็นการเริ่มต้นที่ดีด้วย

====

การคิดเชิงกลยุทธ์ ช่วยปรับแต่งแผนให้เหมาะกับสถานการณ์

นายพลจอร์จ เอส. แพตตัน ให้ข้อสังเกตที่น่าสนใจว่า “นายพลที่ประสบความสำเร็จจะปรับแผนให้เข้ากับสถานการณ์ แต่ไม่พยายามสร้างสถานการณ์ให้เข้ากับแผน”

นักคิดเชิงกลยุทธ์ที่เก่ง ล้วนแม่นยำและละเอียดในการใช้ความคิด พวกเขาจะพยายามปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับปัญหา เพราะกลยุทธ์ไม่ใช่แผนครอบจักรวาล ประเภทแผนเดียวใช้ได้กับทุกปัญหา

การคิดแบบกว้างๆ หรือคิดแบบลวกๆ เป็นศัตรูของความสำเร็จ ความตั้งใจที่จะปรับการคิดเชิงกลยุทธ์ จะบีบคนคนนั้นให้คิดไปไกลกว่าไอเดียที่คลุมเครือ เราควรต้องหาเส้นทางเฉพาะเจาะจงที่เข้าถึงภารกิจหรือปัญหาใดปัญหาหนึ่ง

หนึ่งในวิธีตั้งเป้าหมายเพื่อสร้างแผนการเชิงกลยุทธ์ในการทำให้เป้าหมายนั้นเป็นจริง คือวิธีการทำ OKRs ภาคปฏิบัติในองค์กร คลิกอ่านที่นี่

====

การคิดเชิงกลยุทธ์ ช่วยเตรียมพร้อมสำหรับความไม่แน่นอน

การคิดเชิงกลยุทธ์ เป็นสะพานที่เชื่อมระหว่างสิ่งที่คุณเป็นอยู่ กับสิ่งที่คุณอยากจะเป็น มันให้ทิศทางกับความน่าเชื่อถือในวันนี้ และเพิ่มศักยภาพสำหรับความสำเร็จในวันพรุ่งนี้ ซึ่งก็คล้ายกับการสวมอานให้แก่ความฝันของคุณ ก่อนที่คุณจะควบมันทะยานออกไปข้างหน้า

====

การคิดเชิงกลยุทธ์ ช่วยลดความผิดพลาด

ไม่ว่าคุณจะตัดสินใจอะไรอย่างฉับพลัน หรือทำอย่างเฉื่อยชาไร้ความรู้สึก โดยไม่ได้กำหนดแนวคิดไว้ก่อน… “ขอบเขตของความผิดพลาด” ย่อมเพิ่มขึ้น ซึ่งก็เหมือนกับนักกอล์ฟที่ก้าวเข้าหาลูกกอล์ฟ แล้วตีลูกโดยไม่ได้จัดแนวการยืน หรือเล็งเป้าหมายให้ดีเสียก่อน ลูกกอล์ฟที่พุ่งออกจากหน้าไม้ในทิศทางที่เบี่ยงเบนจากแนวเป้าหมายไม่กี่องศา จะลอยไปตกห่างจากเป้าหมายเป็นสิบเป็นร้อยหลา

การคิดเชิงกลยุทธ์จะช่วยลด “ขอบเขตของความผิดพลาด” ได้เยอะ เพราะการคิดลักษณะนี้จะปรับการกระทำของคุณให้ไปในแนวทางเดียวกับเป้าหมาย เช่นเดียวกับการจัดแนวลำตัวและท่ายืนในการตีกอล์ฟ ที่ช่วยให้ลูกไปตกใกล้หลุม ยิ่งคุณจัดให้อยู่ในแนวเดียวกับเป้าหมายมากเท่าใด คุณก็จะเดินถูกทางมากขึ้นเท่านั้น

====

การคิดเชิงกลยุทธ์ ทำให้คุณมีอิทธิพลเหนือคนอื่น

ผู้บริหารคนหนึ่งเผยความลับให้ผู้บริหารอีกคนหนึ่งฟังว่า “บริษัทของเรามีแผนระยะสั้นกับแผนระยะยาว แผนระยะสั้นจะคงอยู่อย่างนั้นนานพอที่จะเป็นแผนระยะยาว” แบบนี้ไม่เรียกว่า “กลยุทธ์” แล้ว แต่เป็นการสร้างปัญหา และไม่ใช่ปัญหาเดียวด้วย

การไม่สนใจ “วิธีคิดเชิงกลยุทธ์” ในลักษณะนี้ ไม่เพียงแต่ทำให้ธุรกิจล้มเหลว แต่ยังเสียความน่าเชื่อถือจากทุกคนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนั้น

“คนที่มีแผนการ คือคนที่มีอำนาจ” ไม่สำคัญว่างานที่คุณทำอยู่จะเป็นอะไร? พนักงานบริษัทอยากเดินตามเจ้าของธุรกิจที่มีแผนธุรกิจที่ดี

อาสาสมัครอยากร่วมงานกับผู้นำโครงการที่มีแผนการช่วยเหลือผู้ยากไร้ที่น่าสนใจ… เด็กอยากอยู่กับผู้ใหญ่ที่มีแผนการช่วงปิดเทอมที่ผ่านการไตร่ตรองมาอย่างดี

เพียงแค่คุณใช้ “การคิดเชิงกลยุทธ์” คนอื่นจะฟังและอยากทำตาม  ถ้าคุณอยู่ในตำแหน่งที่เป็นผู้นำในองค์กร “การคิดเชิงกลยุทธ์เป็นส่วนสำคัญที่จะขาดเสียมิได้”

====

หากคุณต้องการใช้ OKRs กับตัวเองเพื่อร่วมกันตั้งเป้าหมายกับทีมให้เกิดผลลัพธ์และมีประสิทธิภาพ ขอแนะนำหลักสูตรOKRs in Action” คลิกดูได้ที่นี่ครับ

บทความโดย Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 093-925-4962

วิธีสร้างทางเลือกเพื่อแก้ปัญหาที่ซับซ้อน

การจะตัดสินใจแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่งให้ดีที่สุด สิ่งสำคัญอยู่ที่การระบุให้ได้ว่า “ปัญหานั้น มีรูปแบบอย่างไร” คุณต้องถามตัวเองว่า “ฉันมีทางออกเดียว หรือมีทางออกที่มากกว่าหนึ่งทาง” 

การตั้งคำถามแบบนี้จะช่วยให้คุณคิดได้อย่างชัดเจน และยังช่วยให้ตัดสินใจได้ดีขึ้นอีกด้วย

====

ปัญหานี้ มีทางออกเดียว หรือหลายทาง

ปัญหาที่มีทางออกเดียว หรือมีหนทางแก้ไขจำกัด หมายถึงมีคำตอบแค่ ถูกหรือผิด (เช่น “2+2 เท่ากับเท่าไหร่?”, “สายการบินไหนบินตรงไปชิคาโก้บ้าง?”) ปัญหาลักษณะนี้จัดอยู่ในประเภท “ปัญหาที่มีทางออกเดียว”

แต่หากมีคำตอบที่เป็นไปได้มากมาย และไม่ได้มีคำตอบที่ดีที่สุดเพียงคำตอบเดียว (เช่น “จะเสิร์ฟอาหารอะไรในงานเลี้ยงอาหารค่ำ?”) ลักษณะนี้เรียกว่า “ปัญหาที่มีทางออกหลายทาง”

โดยปกติแล้ว เราจะพบเจอปัญหาที่มีทางออกหลายทางมากกว่าปัญหาที่มีทางออกเดียว แต่เพราะการมองปัญหาผิดๆ ทำให้คิดไปว่ามีทางออกเดียว ทั้งๆ ที่ความจริงไม่ได้เป็นแบบนั้น ทำให้การตัดสินใจเกิดขึ้นได้ยากกว่าที่ควรจะเป็น ต้องเสียเวลาและความพยายาม ทั้งยังต้องกังวลกับการเสาะหาทางออก “เพียงหนึ่งเดียว” ให้เจอ ทั้งที่มีทางออกอยู่หลายวิธี

====

การจัดการปัญหาที่มีทางออกเดียว

วิธีจัดการปัญหาที่มีทางออกเดียว คือต้องรีบกำจัดทางตันออกไป ลองจินตนาการถึงนักเดินเท้าสองคนที่กำลังแข่งกันไปถึงยอดเขา โดยเริ่มต้นจากจุดเดียวกัน แต่ละคนมีวิธีรับมือกับความท้าทายที่แตกต่างกัน

นักเดินทางที่มีความตั้งใจแบบนักบิน จะเริ่มต้นด้วยการใช้วิธีการอะไรก็ได้ ที่ทำให้เขาเข้าไปใกล้ภูเขามากขึ้น

ส่วนนักเดินทางซึ่งมีความตั้งใจแบบนักบุกเบิกจะเริ่มต้นด้วยการตรวจสอบภูมิประเทศแถบนั้นในแผนที่ เพื่อวางแผนเส้นทางทั้งหมด เมื่อทำแบบนี้ เขาจึงพบว่ามีแม่น้ำกว้างใหญ่กั้นระหว่างพวกเขากับภูเขา

====

ขณะที่คนอื่น ๆ จะพบแม่น้ำสายนี้ได้ก็ต้องมาถึงที่นี่ และต้องคิดทบทวนเส้นทางใหม่ ผู้ที่มีความตั้งใจแบบนักบุกเบิก จะเริ่มต้นด้วยวิธีที่ต่างจากนักบิน คือจะเริ่มเดิน “ออกห่างจากภูเขา” เพราะเขารู้แล้วว่า เส้นทางนั้นจะพาไปถึงสะพานข้ามแม่น้ำ

สำหรับปัญหาที่มีทางออกเดียว (นั่นคือจุดมุ่งหมาย หรือทางแก้ปัญหาที่จำกัดและเฉพาะเจาะจง) วิธีการของนักบุกเบิก จะใช้ได้ผลมากกว่า นั่นคือ การใช้เวลารวบรวมข้อมูลทุกอย่างที่จำเป็นล่วงหน้า ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาและพลังงาน จากการต้องเจอทางตัน แล้วกลับมาที่จุดเริ่มต้นอีกครั้ง…

====

การจัดการปัญหาที่มีทางออกหลายทาง

หากคุณกำลังจัดการกับปัญหาที่อาจมีทางออกมากมาย เช่น จะไปพักผ่อนที่ไหน? จะซื้อทีวีเครื่องไหน? จะเลือกเส้นทางการทำงานแบบไหน? เคล็ดลับความสำเร็จคือ ให้ใช้กลยุทธ์แบบนักบิน คือค่อยๆ ขยับเข้าไปสู่การตัดสินใจทีละน้อย แม้ไม่มั่นใจว่าจะใช่หนทางไปสู่การตัดสินใจหรือไม่ ก็ตาม

เทคนิคนี้ดัดแปลงมาจากกลยุทธ์นักบิน โดยเริ่มจากการพิจารณาปัญหา เพื่อดูว่าจะนำไปสู่อะไรได้บ้าง? การค่อยๆ พยายามหาคำตอบ โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ จะต้องแตกปัญหาใหญ่เป็นส่วนย่อยๆ ที่มองเห็นได้ชัดเจนที่สุด

จากนั้นลองทบทวนอีกครั้ง หากทางออกยังไม่ชัดเจน ให้แตกส่วนย่อยๆ เหล่านั้น เป็นส่วนย่อยที่เล็กลงไปอีก ลองทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนได้คำตอบ

====

ลองจินตนาการว่า คุณกำลังวางแผนพักผ่อนกับครอบครัว เริ่มต้นโดยพยายามหาทางออกที่เป็นทางออกทั่วไปที่สุด นั่นคือ หาสถานที่ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางสัก 2-3 แห่ง ที่เติมเต็มความต้องการเบื้องต้นของทุกๆ คน จากนั้นให้ถามตัวเองว่า จะต้องทำตามความต้องการของใครอีกบ้าง มีตัวเลือกใดหรือไม่ที่คุณนำมาปรับเปลี่ยน เพื่อจะได้มีทางเลือกมากขึ้น

ตัวอย่างเช่น หากจุดเริ่มต้นของคุณคือการพักผ่อนเที่ยวชมทิวทัศน์ ให้ดูว่ามีสถานที่ไหนใกล้ชายหาดที่ลูกๆ จะสนุกได้สัก 2-3 วัน หรือไม่? ให้ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งคุณตอบสนองความต้องการได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

====

วิธีแก้ปัญหาแบบมนตร์วิเศษ

ลองจินตนาการว่า เมื่อตื่นขึ้นในวันรุ่งขึ้น แล้วพบว่าปัญหาของคุณอันตรธานหายไปอย่างมหัศจรรย์ โดยไม่มีเหตุการณ์ใดมาเตือนล่วงหน้า คุณจะรู้ได้อย่างไร ว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นแล้ว?

ให้ลองจินตนาการถึงวันนั้นทั้งวัน และเขียนทุกอย่างลงไป (แม้กระทั่งเรื่องเล็กน้อยที่สุด) ว่าถ้าวันนั้นมีจริง จะมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง?

เทคนิคนี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่ความเชื่อ ว่าจะมีสิ่งดีๆ เกิดขึ้น… การจินตนาการถึงรายละเอียดต่างๆ ของชีวิตในอนาคต จะทำให้คุณคิดอย่างมีอิสระ ไม่มีข้อจำกัด และอาจพบมุมมองใหม่ๆ ที่ช่วยให้ปัญหาเบาบางลงในที่สุด หรือกระทั่งหลีกเลี่ยงปัญหาทั้งหมดได้

แม้จะจินตนาการถึงความสำเร็จจากการแก้ปัญหาได้ชัดเจนขนาดไหน แต่ถ้าไม่ลงมือทำก็คงไม่มีทางเกิดขึ้นได้จริง อ่าน อยากสำเร็จต้องเปลี่ยนจากการรู้ตัวเป็นการปรับตัวด้วยวิธีนี้ เพื่อต่อยอดสู่การลงมือปฏิบัติอย่างแท้จริง 

====

วิธีแก้ปัญหาแบบเน้นด้านบวก

ให้ถามตัวเองว่า “จะมีเวลานั้นไหม ที่จะได้เห็นผลลัพธ์ที่ฉันต้องการ” เช่น หากลูกปัสสาวะรดที่นอน คำถามที่คุณต้องเน้นคือ “คืนไหนที่ลูกของฉันจะไม่ปัสสาวะรดที่นอน”

หากคุณต้องการหาเงินได้มากขึ้น ลองถามว่า “เมื่อไหร่ที่ฉันจะหาเงินได้มากขึ้น” หรือมองเรื่องนั้นๆ จากมุมอื่น เช่น “เมื่อไหร่ที่จะรู้สึกพอใจกับสิ่งที่ฉันหามาได้”

หากระบุปัจจัยที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ต้องการได้ แม้จะเล็กน้อยแค่ไหนก็ตาม ให้คุณลองต่อยอดจากปัจจัยนั้นดู แล้วจะพบว่าทางแก้ปัญหาเริ่มชัดเจนมากขึ้นได้จริง ๆ 

====

การแก้ปัญหาเป็นทักษะที่คุณสามารถเรียนรู้และฝึกฝนได้ เราขอแนะนำหลักสูตร Problem Solving & Decision Making คลิกดูรายละเอียดที่นี่ 

บทความโดย Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

 
ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 093-925-4962

 

 

เพิ่มความสำเร็จในชีวิตด้วยการคิดเชิงกลยุทธ์

เพิ่มความสำเร็จในชีวิตแค่คิดเชิงกลยุทธ์

เมื่อคุณต้องการไปเที่ยวพักร้อนในช่วงวันหยุดยาว สิ่งแรกที่คุณจะทำคืออะไร

หากคุณตอบว่า “วางแผนว่าจะไปเที่ยวที่ไหน อย่างไร” นั่นคือสิ่งที่ดีสำหรับคุณ

แต่หากลองตั้งคำถามนี้กับชีวิตด้านอื่นๆ ด้วย เช่น  “จะทำอย่างไรกับโปรเจคที่ได้รับมอบหมาย” หรือ “ชีวิตเราจะเป็นอย่างไรในอีก 6 เดือนข้างหน้า” เชื่อไหมว่ามีหลายคนที่ไม่มีคำตอบให้กับคำถามเหล่านี้

====

สำหรับคนที่วางแผนในชีวิตของตัวเองก็มีตั้งแต่กลุ่มที่ “วางแผนวันต่อวัน” ในช่วงก่อนเข้านอนตอนกลางคืนว่าจะทำสิ่งไหนบ้างในวันรุ่งขึ้น กลุ่มที่ “วางแผนรายสัปดาห์” ในช่วงก่อนเริ่มต้นสัปดาห์โดยรวบรวมเหตุการณ์ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านไป มาช่วยกำหนดเป้าหมายและแผนการที่จะทำต่อไปด้วย

เดาได้ไม่ยากเลยใช่ไหมว่ากลุ่มหลังจะมีประสิทธิภาพในการทำงานมากกว่ากลุ่มที่ “วางแผนวันต่อวัน” อย่างเห็นได้ชัด

นอกจากนี้ยังมีกลุ่มที่ “วางแผนรายเดือน” คนกลุ่มนี้จะวางแผนสำหรับ 40 วันข้างหน้า เพราะให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าการวางแผนเพียงแค่ 30 วัน  โดยจะทบทวนเหตุการณ์ต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในรอบเดือน และวางแผนเป็นเรื่อง ๆ ทั้งในด้านชีวิตส่วนตัว และด้านหน้าที่การงานที่อยากทำให้สำเร็จในระยะเวลา 30-40 วันต่อจากนี้ 

====

จากนั้นก็จะจัดกิจกรรมต่างๆ ทั้งด้านงาน ด้านครอบครัว และชีวิตส่วนตัว เข้าไว้ในตาราง จัดลงรายละเอียดทั้งวัน และเวลาที่จะทำกิจกรรมต่างๆ แล้วแบ่งช่วงเวลาสำหรับเรื่องนอกเหนือความคาดหมายที่อาจจะเกิดขึ้นเอาไว้ด้วย

หลังจากที่จัดตารางกิจกรรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว เขาจะมองเห็นภาพในอนาคตได้อย่างชัดเจน

ทั้งหมดนี้ เรียกว่า “การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic thinking)”  ซึ่งทำให้ผู้คนประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ 

เราสามารถนำ “การคิดเชิงกลยุทธ์” มาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันของเราให้ประสบความสำเร็จได้ อย่าให้คำยากๆ อย่างคำว่า “กลยุทธ์” มาทำให้คุณคิดมากจนท้อไปเสียก่อนเลย

====

การคิด “เชิงกลยุทธ์” มีข้อดีอย่างไร 

มันเป็นเครื่องมือที่ดีในการช่วยวางแผน เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี โดยใช้ทรัพยากรต่างๆ โดยเฉพาะ “เวลา” ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดอย่างคุ้มค่า และนี่เป็นเหตุผลบางส่วนที่สนับสนุนว่าเราควรใช้การคิดเชิงกลยุทธ์มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของเราจริง ๆ

====

1.ทุกอย่างจะง่ายขึ้น 

คำกล่าวที่ว่า “เตรียมตัวดี มีชัยไปกว่าครึ่ง” เป็นคำที่ไม่เกินความจริงแต่อย่างใด  ยิ่งเป็นการเตรียมตัวแบบมีแผนการด้วยแล้วล่ะก็ ยิ่งทำให้การจัดการสิ่งต่างๆ ง่าย และประสบความสำเร็จได้รวดเร็วขึ้นแน่นอน 

ตัวอย่างของผู้มีชื่อเสียงที่นำการคิดเชิงกลยุทธ์ไปใช้ก็คือ John C. Maxwell  นักคิดและนักเขียน ผู้ที่ทำให้การเตรียมการสอน และการเตรียมคำกล่าวสุนทรพจน์เป็นเรื่องง่ายขึ้น ด้วยการจัดทำแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับคำคม เรื่องเล่า กรณีศึกษา และบทความ อย่างเป็นระบบไว้ถึง 1,200 แฟ้ม

เมื่อเขาต้องการสืบค้นข้อมูลที่จะนำมาใช้ในงานเขียนก็สามารถสืบค้นได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ทำให้การทำงานของเขาราบรื่นขึ้น

====

2. ช่วยให้เราพร้อมรับสถานการณ์ที่ไม่คาดฝัน 

แม้ว่าสถานการณ์จะไม่เป็นไปตามที่เราคิด แต่การคิดเชิงกลยุทธ์จะเป็นสะพานเชื่อมระหว่างสิ่งที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบันกับสิ่งที่เราวางแผนเอาไว้ ทำให้เกิดความเชื่อมั่นในความสำเร็จที่จะเกิดขึ้น แม้ว่าสิ่งที่คุณต้องการจะคว้ามาได้ยากเพียงใด ก็สามารถเข้าใกล้ขึ้นได้ด้วยการใช้การคิดเชิงกลยุทธ์นี้

การมีเรื่องเร่งด่วนเข้ามาแทรกในชีวิตเป็นเรื่องปกติที่ทุกคนจะต้องเจอ อ่าน จัดการเรื่องเร่งด่วนยังไงให้มีประสิทธิภาพ ได้ที่นี่

====

3.ผิดพลาดน้อยลง 

การคิดตัดสินใจอย่างเร่งรีบ หรือทำอย่างขอไปที โดยไม่ได้กำหนดเป้าหมายเอาไว้ย่อมมีโอกาสเกิดความผิดพลาดมากกว่า เปรียบเสมือนเรายิงธนู โดยไม่ได้เล็งลูกธนูไปยังเป้า หรือหันไปคนละทิศทางกับเป้านั้นย่อมทำให้โอกาสที่จะยิงลูกธนูเข้าเป้าเป็นไปได้ยาก หรือแทบจะไม่มีโอกาสเลยด้วยซ้ำ 

การนำวิธีคิดเชิงกลยุทธ์มาใช้จึงเป็นการช่วย กำหนดทิศทางของการกระทำให้เป็นไปในทางเดียวกับเป้าหมาย วิธีการนี้จะช่วยเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จมากขึ้น

====

4. การคิดเชิงกลยุทธ์เหมาะแก่การเป็นผู้นำ 

การกำกับควบคุมให้การทำงานเป็นไปตามแผนที่วางเอาไว้ เป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นๆ สำหรับผู้นำในองค์กรต่างๆ ทั้งในหน่วยงานขนาดใหญ่ และการบริหารธุรกิจส่วนตัว เนื่องจากวิธีนี้จะทำให้คุณได้รับความเชื่อถือจากบุคคลที่คุณร่วมงานด้วย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับธุรกิจของคุณ

จึงไม่เป็นคำกล่าวที่เกินเลยไป หากจะบอกว่า “การคิดเชิงกลยุทธ์” เหมาะกับทุกคนที่ต้องการประสบความสำเร็จในชีวิต ไม่ว่าว่าคุณจะอยู่ในองค์กรขนาดใหญ่ หรือในธุรกิจขนาดเล็กก็ตาม

====

และนี่คือคำถามที่ใช้เพื่อเริ่มวางแผนชีวิตเชิงกลยุทธ์ 

การตั้งคำถามเชิงกลยุทธ์สามารถช่วยแยกประเด็นปัญหาที่ใหญ่ หรือมีความซับซ้อน ให้เป็นส่วนเล็กๆ ที่มองเห็นภาพง่ายขึ้นได้ โดย “บ๊อบบ์ บีห์ล” ผู้เขียนหนังสือ Masterplanning ได้ยกตัวอย่างคำถามสำหรับการคิดเชิงกลยุทธ์ ดังนี้

คำถามเพื่อกำหนดทิศทาง เราควรทำอย่างไรต่อไป เพราะเหตุใด

คำถามสำหรับองค์กร การควบคุมกำกับในองค์กรเป็นอย่างไร หน้าที่รับผิดชอบของแต่ละคนเป็นอย่างไร การจัดสรรบุคคลเหมาะสมกับตำแหน่งหรือไม่

การจัดการด้านการเงิน รายรับ รายจ่าย กำไรสุทธิที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร ยอมรับได้หรือไม่ และจะบริหารจัดการอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

การกำกับติดตาม การดำเนินการเป็นไปตามที่วางแผนไว้หรือไม่

การประเมินผล การดำเนินการได้คุณภาพตามที่ต้องการหรือไม่ อย่างไร

การปรับปรุง ทำอย่างไรจึงจะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพิ่มขึ้น

หวังว่าคุณจะนำคำถามเหล่านี้ไปออกแบบชีวิตด้วยการคิดเชิงกลยุทธ์และประสบความสำเร็จได้มากขึ้นนะครับ 

====

การคิดเชิงกลยุทธ์เป็นศาสตร์และศิลป์ที่ทุกคนสามารถฝึกฝนได้ ขอแนะนำหลักสูตร Strategic Planning to Implementation ดูรายละเอียด ที่นี่

เรียบเรียงโดย

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

3 เทคนิคเพิ่มประสิทธิภาพในการนอนเพื่อชีวิตที่ Productive มากขึ้น

3 เทคนิคเพิ่มประสิทธิภาพการนอนเพื่อชีวิตที่ Productive มากยิ่งขึ้น

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากใช้ชีวิตในแต่ละวันอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในเรื่องการทำงานที่เสร็จลุล่วงตามเป้าหมาย วางแผนล่วงหน้าในวันต่อไป มีเวลาให้กับการออกกำลังกาย รับประทานอาหารสุขภาพ และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรัก คุณจำเป็นต้องอ่านบทความนี้

 เรามักจะเรียกชีวิตที่เป็นแบบนั้นว่า ‘Productive’  ซึ่งเป็นคำที่ใครหลายคนปรารถนา แต่มีน้อยคนที่รู้เคล็ดลับสำคัญซึ่งทำให้ตัวเอง Productive มากขึ้น

 ซึ่งหนึ่งในเคล็ดลับสำคัญก็คือเรื่องพื้นฐานที่หลายคนละเลย นั่นก็คือ…การนอนหลับ นั่นเอง

=====

 องค์ประกอบที่สำคัญของ Productivity คือการที่เรามีพลัง (Energy) สูงและเป็นบวกมากพอในแต่ละวัน ถ้าคุณรู้สึกตัวตื่นขึ้นมาในตอนเช้า ลุกขึ้นจากเตียง ดื่มน้ำ แปรงฟัน และล้างหน้าแล้วยังรู้สึกว่าตัวเองมีพลังงานไม่ถึง 8 (เต็ม 10) แล้วล่ะก็ ตลอดทั้งวันคุณจะไม่สามารถ Productive ได้เลย

 หนึ่งวันของคุณจะ Productive ได้มากที่สุดเท่ากับพลังงานที่คุณมีหลังตื่นนอนเท่านั้น และการที่คุณจะมีพลังงานสูงหลังตื่นนอนได้เกิดจากการเตรียมตัวเข้านอนอย่างมีประสิทธิภาพของคุณ

=====

เพราะการเข้านอนคือกิจวัตรที่สำคัญที่สุดกิจวัตรหนึ่งในชีวิต และมันก็ส่งผลโดยตรงต่อ Productivity ของคุณ(ซึ่งหมายถึงหน้าที่การงาน การเงิน  และสุขภาพของคุณด้วย) ซึ่งมันไม่อาจจะเกิดขึ้นโดยบังเอิญได้เลย

 การนอนหลับก็เหมือนกับเรื่องสำคัญอื่น ๆ อย่างการทำธุรกิจ การผลิตสินค้า การขาย การเงิน หรือการแต่งงาน นั่นคือมันต้องการการวางแผนหรือออกแบบอย่างชัดเจนเป็นขั้นเป็นตอน

 การนอนหลับอย่างมีประสิทธิภาพไม่อาจเกิดขึ้นโดยบังเอิญได้(เช่นเดียวกับการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จที่ไม่อาจเกิดขึ้นแบบบังเอิญได้) ถ้าคุณเข้าใจ ยอมรับ และลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง ชีวิตของคุณจะเปลี่ยนไปตลอดกาล

=====

 ต่อไปนี้คือ 3 เทคนิคในการเตรียมตัวเข้านอนอย่างมีประสิทธิภาพที่ได้รับการค้นคว้าวิจัยโดย Matt Walker นักวิทยาศาสตร์และนักเขียนที่ศึกษาเรื่องการนอนหลับ ผู้เขียนหนังสือชื่อดัง Why we sleep ซึ่งผมนำมาปรับใช้กับตัวเองต่อเนื่องเกือบหนึ่งปีแล้ว

และผมก็อยากให้คุณได้นำไปทดลองด้วยเช่นกัน

1.Regularity / ความสม่ำเสมอ

หัวใจของความสม่ำเสมอก็คือการที่คุณต้องเข้านอนและตื่นนอนในเวลาเดิมทุกวัน แม้ว่าวันนั้นจะเป็นวันหยุดก็ตาม

การที่คุณเข้านอนและตื่นนอนเวลาเดิม ๆ จะส่งผลให้ร่างกายปรับตัวให้ชินกับการพักผ่อนและการทำสิ่งต่าง ๆ ถ้าทำต่อเนื่องเกินหนึ่งเดือนคุณจะหลับได้สนิทขึ้นและตื่นนอนได้เองโดยที่ไม่ต้องใช้นาฬิกาปลุกเลยด้วยซ้ำ

=====

2.Dark ,Cold and Disconnect / มืด เย็น และปลอดอินเทอร์เน็ต

ห้องนอนที่ดีควรประกอบด้วยสามองค์ประกอบนี้ มืดสนิท เพราะแสงจะรบกวนการทำงานของเมลาโทนินซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญที่ช่วยให้คุณหลับสนิท

อุณหภูมิห้องที่เย็นในระดับที่คุณห่มผ้าหนึ่งผืนแล้วไม่รู้สึกร้อนหรือหนาวจนเกินไปจะช่วยให้คุณหลับได้ดีขึ้น

และสุดท้ายคุณควรเอาสมาร์ทโฟน แท็ปเล็ต ตลอดจนหน้าจอต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์หรือโทรทัศน์ออกไปจากห้องของคุณเพราะแสงสีฟ้าจากหน้าจอจะส่งผลกระทบต่อม่านตาซึ่งจะทำให้คุณหลับไม่สนิทนั่นเอง

=====

3.Create Bedtime Routine / สร้างกิจวัตรก่อนเข้านอน

การนอนหลับของคุณจะมีคุณภาพแค่ไหนขึ้นอยู่กับการสร้างกิจวัตรก่อนเข้านอนให้ตัวเอง

การเข้านอนเปรียบเหมือนการนำเครื่องบินลงจอด (Landing) คุณต้องค่อย ๆ พาร่างกายและจิตใจของตัวเองลงพื้นอย่างสงบหลังจากที่คุณใช้มันอย่างหนักหน่วงมาแล้วตลอดทั้งวัน 

กิจวัตรก่อนเข้านอนที่ดีประกอบไปด้วย… 

  • สรุปสิ่งที่ทำตลอดทั้งวัน และวางแผนสำหรับวันพรุ่งนี้
  • งดอาหารก่อนเข้านอนอย่างน้อย 2 ชั่วโมง และงดดื่มน้ำก่อนเข้านอนอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
  • อาบน้ำอุ่นและ ทำสมาธิสั้น ๆ ก่อนเข้านอน

หนึ่งในเครื่องมือสำหรับวางแผนการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในวันต่อไปคือ Time Boxing รู้จักเครื่องมือชนิดนี้เพื่อการวางแผนงานก่อนเข้านอน คลิกที่นี่
=====

การนอนหลับคือศิลปะประเภทหนึ่ง คุณต้องทำความเข้าใจหลักการให้ถ่องแท้ นำไปปฏิบัติจริง แล้วบันทึกผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเพื่อที่คุณจะได้สามารถปรับประยุกต์ให้เข้ากับตัวคุณจริง ๆ

ถ้าทำได้อย่างต่อเนื่อง การตื่นเช้าด้วยพลังงานที่มากกว่า 8 ทุกวันก็จะเป็นเรื่องที่ไม่ได้อยู่แค่ในฝันของคุณต่อไปและการมีชีวิตที่ Productive ก็จะเป็นเรื่องที่คุณสร้างได้ด้วยตัวคุณเอง

=====

ถ้าคุณต้องการฝึกฝนเรื่องการบริหารจัดการเวลาอย่างมีประสิทธิภาพหลังจากที่นอนหลับได้เป็นอย่างดีแล้ว ขอแนะนำหลักสูตร Effective Time Management คลิกที่นี่

เรียบเรียงโดย อ. เวย์ เวสารัช โทณผลิน

ผู้เชี่ยวชาญด้าน Productivity  (Powerful Personal Productivity Facilitator) 

 Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

ยิ่งเป็นอิสระจากความคิดชีวิตยิ่ง Productive

วิธีเป็นอิสระจากความคิดเพื่อชีวิตที่ Productive

ดูเผิน ๆ เหมือนว่า ‘ความคิด’ คือ หัวใจสำคัญของการทำงานที่ Productive 

ไอเดียดีดีมากมายพร่างพรูออกจากสมองอันชาญฉลาด คุณสร้างสรรค์วิธีการทำงานใหม่ ๆ แก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ลุล่วงไป และคุณก็วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับมาด้วยสมองหรือความคิดของคุณนี่แหละ

ไม่แปลกเลยถ้าเราจะเทิดทูนบูชาความคิด เพราะมันมีพลานุภาพสูง ใช้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมันก็ช่วยสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ รวมถึงสร้างอารยธรรมของมนุษย์ด้วย แต่คุณรู้ไหมครับว่า ความคิด นี่แหล่ะที่ทำร้ายทำลายเรา(รวมถึงสังคมมนุษย์) ได้เช่นกัน

=====

ทุกสิ่งที่มีพลังงานสูงมักมีสองด้านเสมอ ไฟที่ร้อนแรงสามารถให้ความร้อน ความอบอุ่นและเผาทำลายเราได้ น้ำที่มีคุณประโยชน์ก็ท่วมบ้านเรือนและคร่าชีวิตของเราได้ 

‘ความคิด’ ก็เช่นเดียวกัน เราใช้ประโยชน์จากการคิดถึงอดีต(โดยมากมักเกิดโดยอัตโนมัติ) เพื่อเป็นบทเรียน เป็นประสบการณ์และข้อมูลความรู้ในการทำงาน เราคิดจินตนาการถึงอนาคต(สิ่งที่ยังไม่ได้เกิดขึ้น) เพื่อสร้างนวัตกรรม วิธีแก้ปัญหา และตั้งเป้าหมาย 

=====

แต่ถ้าไม่ระวัง การคิดถึงอดีตมักนำมาซึ่งความเคียดแค้น ความเกลียดชัง ความหงุดหงิดรำคาญ ความโมโห และไม่พอใจ ส่วนการคิดถึงอนาคตก็นำมาซึ่งความกลัว ความวิตกกังวล และความเครียด 

วิธีการที่ดีที่สุดในการทำงานอย่าง Productive ก็คือ การใช้ความคิดให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยไม่ตกเป็นทาสความคิดจนเกิดความรู้สึกเชิงลบทั้งหลายเหล่านั้น และต่อไปนี้คือคำแนะนำจากประสบการณ์ตรงในการฝึก ‘ออกจากความคิด’ ของผม

=====

1. ทำสมาธิทุกวัน

มีวิธีการทำสมาธิมากมายที่ไม่ใช่แค่การนั่งหลับตาอยู่นิ่ง  ๆ คุณอาจถนัดในการเคลื่อนไหวมือ 14 จังหวะ(ตามแนวทางหลวงพ่อเทียน) หรือใช้การเดินจงกรม การระบายสี การลืมตาแล้วรู้สึกลมหายใจ ฯลฯ วิธีไหนก็ได้ที่ถูกกับจริตของคุณแล้วทำให้เกิดสมาธิ ไม่ถูกความคิดลากจูงไปมาเพียงวันละ 15 – 30 นาทีก็ถือเป็นการฝึกออกจากความคิดที่ดีมาก ๆ แล้ว

=====

2. ฝึกอยู่กับปัจจุบันอย่างไม่ตัดสิน

เราทุกคนมีแนวโน้มที่จะตัดสินปัจจุบันว่าชอบ / ไม่ชอบ  ดี / ไม่ดี อยู่ตลอดเวลา โดยอาศัยความต้องการส่วนตัวและประสบการณ์เก่า ๆ ในการตัดสินนั้น ลองตั้งแอพพลิเคชั่น Mindfulness Bell ในมือถือของคุณเพื่อให้มันส่งเสียงเตือนให้คุณกลับมาอยู่กับปัจจจุบันอย่างแท้จริงโดยปล่อยวางทุกสิ่งที่คิด กังวล โมโห โกรธแค้น ไม่พอใจลง(ชั่วคราวก่อนก็ได้ครับ) 

ฝึกฝนทักษะตระหนักรู้เท่าทันตัวเอง หรือ Self – Awareness ได้ในบทความนี้

=====

3. เขียนบันทึกทุกวัน

ใช้เวลาสั้น ๆ 10 – 20 นาทีก่อนนอน เป็นอิสระจากมือถือ(ก่อน) แล้วหยิบสมุดคู่กายขึ้นมาเขียนบันทึกความคิด ความรู้สึกโดยรวมในวันนั้น มีเรื่องอะไรติดค้างในหัวทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัวให้จัดลงไปในสมุดให้หมด ถ้าเป็นสิ่งที่สามารถ take action อะไรบางอย่างได้ให้เขียนระบุสิ่งที่จะทำกับวันที่แล้วเสร็จลงไปด้วย นี่คือวิธี Clearing สมองและออกจากความคิดที่มีพลังมาก เพื่อที่คุณจะสามารถเข้านอนด้วยหัวสมองที่โล่งและอยู่กับปัจจุบันได้อย่างแท้จริง 

ลองนำทั้งสามวิธีไปฝึกฝนอย่างจริงจังต่อเนื่องอย่างน้อยสามสิบวันแล้ววิเคราะห์ผลที่ได้รับกับตัวเอง

เพราะผมเชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยได้ยินวิธีการเหล่านี้มามากกว่าร้อยครั้งแล้ว แต่คุณก็น่าจะรู้นะครับว่าสิ่งที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้แก่คุณคือการลงมือทำไม่ใช่การอ่าน ดู ฟัง แล้วท่องจำไปบอกคนอื่น 

การเป็นอิสระจากความคิดนอกจากจะทำให้ชีวิต Productive มากขึ้นแล้ว ยังเชื่อมโยงกับความฉลาดทางอารมณ์โดยตรงด้วย หลักสูตร Emotion Intelligence จะช่วยให้คุณฝึกฝนทักษะทั้งสองไปพร้อมกัน  คลิกที่นี่ครับ

=====

เรียบเรียงโดย อ. เวย์ เวสารัช โทณผลิน
ผู้เชี่ยวชาญด้าน Productivity  (Productivity Facilitator) 


Learning Hub Thailand เราพัฒนาคนในองค์กร เพื่อเพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 093 925 4962

OKRs ภาคปฏิบัติในองค์กร

OKRs ภาคปฏิบัติในองค์กร

คุณเคยสัมผัสประสบการณ์ ‘แปลกแยก’ กับแถลงการณ์ของบรรดา CEO บริษัทไหม

หลายครั้งการนำเสนอวิสัยทัศน์หรือนโยบายนั้น ทำให้เราย้อนกลับมาคิดว่า “มันเกี่ยวกับฉันยังไง?” “เราอยู่ตรงไหนในวิสัยทัศน์พวกนั้น”

ทุกองค์กร บรรดาทีมและสมาชิกในทีม ควรจะมีเป้าหมายและวัตถุประสงค์การทำงานที่มีความหมาย และสิ่งนั้นก็กระทบกับการตั้งทิศทางในการทำงาน การตัดสินใจอย่างมีข้อมูล การประเมินกลยุทธ์อนาคต และกระบวนการถกทางความคิด
=====

ปรมาจารย์ด้านบริหารธุรกิจอย่าง ‘ปีเตอร์ ดรัคเกอร์’ ให้เทคนิค MBO: Managment by Objectives หรือ การจัดการโดยมีวัตถุประสงค์เอาไว้ โดยนำวัตถุประสงค์การทำงานของลูกทีมมาทาบทับกับเป้าหมายขององค์กร และเนื้อหาในส่วนนี้เราจะทำให้เห็นว่า เครื่องมือที่ถูกพัฒนามาจนปัจจุบันเรียกว่า OKRs (Objectives and Key Results) นี้ จะนำไปปรับใช้ให้การทำงานของแต่ละบุคคลนั้นสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กรได้อย่างไร

แอนดี้ โกรฟ อดีตประธานและซีอีโอของ Intel กล่าวถึงเทคนิคการทำ OKRs อย่างสั้น ๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพว่า ต้องตอบคำถาม 2 ข้อต่อไปนี้

1) เราจะไปยังจุดไหน (ตอบคำถามเรื่องวัตถุประสงค์การทำงาน) และ
2) เราเช็คก้าวของเราอย่างไร เมื่อกำลังไปให้ถึงจุดนั้น (ตอบคำถามเรื่องการมีหลักไมล์ตรวจสอบความสำเร็จหรือผลลัพธ์สำคัญ) และนั่นคือการถือกำเนิดของ OKRs แล้ว
=====

องค์กรใหญ่ ๆทั้งหลายต่างใช้เทคนิคนี้โดยทำให้บุคลากรกับเป้าหมายขององค์กรให้เดินควบคู่ไปด้วยกัน โดยมีแนวคิดหลัก ๆ ได้แก่

การโฟกัส 

คุณจะต้องรู้ว่าหน้าที่รับผิดชอบของคุณคืออะไรและมองไปยังวัตถุประสงค์ขององค์กร โดยที่คุณจำเป็นต้องตัดสินใจว่าเป้าหมายไหนที่สำคัญต่อวัตถุประสงค์ขององค์กร ก็ให้มุ่งเน้นไปที่สิ่งนั้น

ใช้ตัวเลขขับเคลื่อน – เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ การวัดค่าต่างๆ ทั้งเป้าหมายและพัฒนาการจะต้องสามารถจับต้องวัดผลเป็นตัวเลขได้ ผลลัพธ์ต้องมาจากการคำนวณที่เที่ยงตรง ทำให้คนในทีมเห็นตรงกันว่าบรรลุวัตถุประสงค์แล้วหรือยัง ทั้งยังทำให้สามารถอภิปรายและ feedback กันได้อย่างมีหลักฐานรองรับ ไม่ใช่เน้นแต่อารมณ์ส่วนตัว

โปร่งใส 

หลักการนี้คือทำให้ทุกคนมุ่งหน้าไปยังทิศทางเดียวกัน เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กร สำคัญมากที่จะทำให้คนในทีมได้เห็นถึง OKRs ของคนอื่น ๆ ด้วย เพราะผลงานของคนอื่นย่อมส่งผลต่อภาพรวมของทีม


หมายความว่ามันส่งผลต่อการทำงานของคนอื่น ๆ ในทีมเช่นเดียวกัน การทำ OKRs จะทำให้แต่ละคนมองเห็นภาพว่าจะช่วยเหลือกันอย่างไร มีอิทธิพลหรือสร้างผลกระทบกันอย่างไร ความโปร่งใสนี้เองจะทำให้ทุกคนเข้าใจสถานการณ์โดยรวมอย่างถ่องแท้

วัฒนธรรม 

OKRs จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร จะเข้าไปฝังในกิจวัตรการทำงานของคนในทีม การเฝ้าติดตามดู OKRs คือกุญแจสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการ ควรให้คนในทีมพูดคุยกันเกี่ยวกับสิ่งนี้อย่างเปิดเผยจนกลายเป็นเรื่องปกติของการทำงาน เพราะทุกคนจะได้รู้ว่ากำลังทำอะไร เกี่ยวพันกันอย่างไร และมุ่งไปสู่จุดหมายด้วยทิศทางเดียวกันแล้วหรือยัง

และถ้าอยากให้องค์กรของคุณเต็มไปด้วยวัฒนธรรมดีดี อย่าลืม กำจัดวัฒนธรรมองค์กรที่แย่ ออกไปด้วยเพื่อเปิดพื้นที่ให้สร้างวัฒนธรรมดีดีได้ง่ายขึ้น
=====

วิธีการใช้ OKRs ในองค์กรของคุณ

1. ตั้งวัตถุประสงค์

เริ่มจากระดับบนขององค์กร คนที่ทำงานระดับสูงจะรับวัตถุประสงค์มาจากเจ้านายซึ่งจะสอดคล้องกับแผนทางธุรกิจ เมื่อแผนลงมาสู่ระดับล่าง ทีมจะรวมกันพัฒนาวัตถุประสงค์การทำงานให้สอดคล้องกับระดับสูง


ซึ่งเมื่อแยกภาระงานของแต่ละคนออกมา ก็ยังจะพบเป้าหมายการทำงานที่สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกับภายในทีม และสอดคล้องกับเป้าหมายระดับบนขององค์กรเช่นเดียวกัน

แต่การจะทำอย่างนั้นออกมาได้ จะต้องผ่านการสร้างความไว้วางใจกัน เพื่อร่วมหาสิ่งที่แต่ละคนต้องทำเพื่อร่วมเส้นทางความสำเร็จในภาพใหญ่ โดย 60-70% ของเป้าหมาย OKRs ควรจะมาจากการพูดคุยตกลงกัน
วัตถุประสงค์การทำงานต้องชัดเจนและทำได้จริง ซึ่งจะประกอบไปด้วย ความท้าทายและแรงกระตุ้นต่อทีม มีความทะเยอทะยาน สามารถวัดประเมินค่าได้ มีกรอบเวลาชัดเจน สั้นและเข้าใจง่ายจนน่าจดจำ

OKRs จะประกอบด้วยทั้งแนวทางการปฏิบัติและความทะเยอทะยานไปพร้อมๆ กัน ส่วนแนวทางปฏิบัติคือการทำให้เห็นด้วยการทำงานที่ชัดเจน เช่น ออกแบบเว็บไซต์ใหม่ให้ได้ 2 แบบตามเวลาที่กำหนด ขณะที่ความทะเยอทะยานคือสร้างเป้าที่เร้าใจ เช่น ทำเว็บไซต์ที่น่าตื่นเต้นที่สุดในโลก
=====

2. ตั้งผลลัพธ์

หลังจากมีวัตถุประสงค์แล้ว ควรจะตั้งผลลัพธ์ที่สามารถวัดค่าได้ด้วย เพื่อจะได้เข้าใจและจัดการได้ตรงกันภายในทีม ส่วนนี้จะต้องพูดคุยตกลงกันให้ชัดเจน ว่าผลลัพธ์นี้เห็นพ้องต้องกัน ทำได้จริง และรู้ว่าจะต้องทำอะไรหรือฝึกฝนอะไรเพิ่มเติมบ้าง

โดยผลลัพธ์นี้จะต้องประกอบไปด้วย ข้อมูลที่เป็นตัวเลขปริมาณซึ่งวัดค่าได้ ระบุระดับของความสำเร็จ วางเป้าพัฒนาการเป็นระยะๆ รวมถึงเป้าหมายที่จะต้องมุ่งเน้น

ผลลัพธ์หลักนี้จะขึ้นกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ เช่น ถ้าตั้งวัตถุประสงค์เอาไว้ว่าจะเพิ่มรายได้จากเว็บไซต์ เป็น 2.5 ล้านบาท ภายในไตรมาสแรก หนึ่งในการวัดผลลัพธ์หลักๆ ควรจะเป็นเรื่องของตัวเลขเปอร์เซ็นต์ที่เพิ่มขึ้นในช่วงระยะเวลานั้น หรือในอีกกรณีที่มีวัตถุประสงค์ซึ่งไม่ได้เน้นปริมาณมากนัก เช่น อยากจะสร้างโฮมเพจอันใหม่ให้ได้ ผลลัพธ์หลักๆ ที่ควรตั้งเอาไว้ประเมินก็คือ การได้ต้นแบบโฮมเพจตามเวลาที่กำหนด
=====

3. มอนิเตอร์กระบวนการ

การรอประเมินทุก ๆ 6 เดือนหรือทุกปี อาจจะช้าเกินไป ดังนั้น การเช็คกระบวนการพัฒนาทุกไตรมาสน่าจะเป็นสิ่งที่เหมาะสม และจะดีกว่านั้นคือมีการเช็คอย่างสม่ำเสมอและทันท่วงที การเช็คเหล่านี้สามารถทำได้ทั้งการดูความคืบหน้าเป็นร้อยละ หรือประเมินความสำเร็จเป็นเปอร์เซ็นต์ เช่น ถ้าวัตถุประสงค์คือการสร้างเว็บไซต์ให้ได้ 4 ตัว เราประเมินผลลัพธ์เป็นร้อยละด้วยการนับสิ่งที่ทำได้จริง หากทำได้ 3 ตัว ก็แปลว่าความสำเร็จในส่วนนี้คือ 75%

สิ่งที่ควรคำนึงก็คือ แม้ประเมินเรทของ OKRs ออกมาได้ต่ำ ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะมีผลงานที่แย่เสมอไป เพราะที่จริงอาจจะเป็นผลมาจากการสร้างระบบ OKRs ที่ผิดพลาด เช่น วัตถุประสงค์ดูไม่เข้าท่า เป็นต้น ลองใช้หลักการ AAR หรือ After Action Review มาประเมินการทำงาน และหาคำอธิบายว่าทำไมถึงทำผลงานออกมาแล้วไม่สำเร็จอย่างที่คาดหวังเอาไว้
=====

4. ทำซ้ำวงจรเดิม

การทำ OKRs ไม่ใช่การทำครั้งเดียวแล้วจบ แต่เป็นกระบวนการที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง เพราะเมื่อจบสิ้นการวัดผลลัพธ์แล้ว เราจะมาเริ่มใหม่ ลองนำเอาบทเรียนที่ได้จากกระบวนการ OKRs ครั้งก่อนมาหาทางปรับปรุง เพื่อนำมาสู่การตั้งวัตถุประสงค์ใหม่ในช่วงเวลาถัดไป แล้วหาผลลัพธ์ที่อยากจะได้ออกมา
=====

ประโยชน์และความเสี่ยงของการใช้ OKRs

การทำ OKRs นั้น สิ่งที่ต้องจดจำก็คือไม่มีหลักการหนึ่งเดียวที่เหมาะสมกับทุกคน เราจำเป็นต้องประยุกต์ให้เข้ากับองค์กรของตัวเอง หาทางให้สอดผสานกับลักษณะของทีมและบุคคลในทีม แล้วจะกลายเป็น OKRs ในแบบที่เหมาะกับเรามากที่สุด

ข้อดีของ OKRs คือการมองวงจรการตั้งวัตถุประสงค์และผลลัพธ์ที่อยากได้เพื่อประเมินในระยะที่สั้นกว่า ไม่จำเป็นต้องรอเป็นปี แต่ทำได้ทุกไตรมาส อีกทั้งยังลงรายละเอียดย่อยลงมาคือ คอยเช็คพัฒนาการได้ในทุกๆ สัปดาห์ เหล่านี้จะทำให้ปรับตัวเพื่อเอาชนะปัญหาได้ดี

แน่นอนว่า การทำทุกสิ่งให้ชัดเจนภายใต้วัตถุประสงค์และผลลัพธ์ที่วัดประเมินได้ จะทำให้คนในองค์กรเข้าใจกันอย่างพร้อมเพรียง เห็นทั้งบทบาทตนเองต่อองค์กรว่ามีอะไรบ้างและต้องประเมินอย่างไรให้เหมาะกับเป้าหมายใหญ่สุด

=====

สิ่งที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติมก็คือ ระบบ OKRs มีสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจ อันได้แก่ หากประเมินผลลัพธ์ออกมาแล้ว ทำได้เต็ม 100% อาจจะไม่ได้หมายความว่าทำงานได้บรรลุวัตถุประสงค์และสร้างผลลัพธ์อันดีเลิศ แต่อาจหมายถึงเรามีความทะเยอทะยานในการตั้งวัตถุประสงค์และการวัดผลลัพธ์น้อยจนเกินไป เป้าหมายไม่ท้าทายเพียงพอ

อย่างไรก็ตาม บางสิ่งก็ยากที่จะวัดให้เป็นปริมาณได้เสมอไป อย่างที่เราทราบกันว่าวัตถุประสงค์บางอย่างนั้นไม่จำเป็นจะต้องวัดเป็นตัวเงินหรือค่าร้อยละเสมอไป

=====

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว หากคุณต้องการใช้ OKRs กับองค์กรและทีมให้เกิดผลลัพธ์ ทำได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ขอแนะนำหลักสูตรOKRs in Action” คลิกดูได้ที่นี่ครับ


เรียบเรียงโดย Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 093 925 4962

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Ads, Google Analytics

    Statistics

  • Google Analytics

    Statistics

  • Facebook

    Marketing/Tracking

  • ActiveCampaign

    Functional

  • ActiveCampaign

    Marketing/Tracking

Save