เทคนิคการให้ Feedback ที่มีประสิทธิผลสูง

เทคนิคการให้ Feedback ที่มีประสิทธิผลสูง

คุณไม่มีวันพัฒนาตัวเองได้แน่ หากไม่รับ Feedback จากใครเลย

มีการศึกษาพบว่าการวิพากษ์วิจารณ์ผลงานอย่างสร้างสรรค์ (Feedback) นำไปสู่การปรับปรุงและพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้นได้จริง 

แต่การวิจารณ์มาพร้อมกับความรู้สึกหนักอึ้ง เพราะไม่ใช่ทุกคนจะยอมรับฟังความคิดเห็น หรือจะรู้สึกดีกับคำวิจารณ์เชิงลบ
===

งานวิจัยจาก Center for Creative Leadership (CCL) ศึกษาเกี่ยวกับการให้ Feedback พบข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้

1.การ Feedback แรงๆ ไม่ช่วยให้ผู้ฟังรู้สึกดีจนอาจกลายเป็นการหยุดพัฒนามากกว่าจะพัฒนา

สิ่งที่จำเป็นมากเวลาวิจารณ์การทำงานของผู้อื่น คือต้องมีความเคารพในตัวเขาและมีความเป็นห่วงเป็นใย คำวิจารณ์ด้านลบอาจทำให้อีกฝ่ายเกิดความรู้สึกไม่ดี ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาในภายหน้าได้
===

2. Feedback ด้านบวกคือสิ่งสำคัญ

คนส่วนใหญ่มักจะมองเห็นข้อเสียของผู้อื่นก่อนเป็นอันดับแรก แต่สิ่งที่ยากกว่าคือการเห็นว่าอะไรคือข้อดี นี่คือปัจจัยสำคัญเพราะถ้าอยากให้คนมีกำลังใจในการทำงานต่อไป คุณก็ต้องหาข้อดีของเขาให้เจอแล้วสื่อสารมันออกมา
===

3.หลีกเลี่ยงการบอกคนอื่นว่าต้องแก้ปัญหาอย่างไร

วิธีที่ดีกว่าคือการตั้งคำถามให้เขาคิดถึงสถานการณ์ที่แตกต่างกันออกไป เพื่อให้ผู้รับ Feedback ได้คิดและประเมินถึงผลที่จะตามมา ว่าถ้าทำอย่างนั้นจะให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าหรือไม่ อย่างไร
===

4. หัวใจสำคัญของการพัฒนาอยู่ที่ตัวของผู้ให้ Feedback

ขึ้นชื่อว่า Feedback ย่อมมาจากมุมมองที่แตกต่างกันของผู้ให้ Feedback คน 100 คนย่อมมี 100 มุมมอง แต่การให้ Feedback ของคนที่เป็นหัวหน้า

ปัจจัยสำคัญคือการให้ Feedback เพื่อให้เขาพัฒนาการทำงานต่อไปโดยใช้มุมมองและประสบการณ์ของคนที่เป็นหัวหน้าเข้ามาประกอบ

สิ่งที่ต้องจดจำเอาไว้เสมอคือ หัวหน้าต้องตัดสินใจอย่างเฉียบแหลมด้วยว่า จะหาทางให้ Feedback กับคนที่มีความแตกต่างกันด้วยวิธีไหนเพื่อให้แต่ละคนนำไปปรับปรุงแล้วเกิดผลที่ดีที่สุดต่อองค์กร
===

5. การวิจารณ์จุดอ่อนไม่ใช่เรื่องเลวร้ายเสมอไป

มีงานวิจัยจำนวนมากพบว่า ไม่ได้มีแต่การบอกข้อดีหรือจุดแข็ง เท่านั้นที่ทำให้ผู้คนอยากพัฒนาฝีมือ แต่การบอกจุดอ่อนหรือบอกข้อเสียก็ก่อให้เกิดการพัฒนาได้เช่นกัน

เพราะบางคนอาจนำไปใช้เป็นแรงผลักดันให้ทำงานให้ดีที่สุดอาจจะเพื่อไม่ให้โดนไล่ออก หรือโดนตัดเงินเดือนนั่นเอง
===

6. อย่าให้คนทำงานที่ถนัดจนเกินไป

จริงอยู่ว่าการมอบหมายงานบางงานให้กับคนที่เก่งในเรื่องนั้นจะให้ผลลัพธ์ที่มั่นใจได้แน่นอน แต่ก็อาจทำให้คนนั้นเกิดความรู้สึกว่าตัวเองเก่งด้านนี้มากจนไม่จำเป็นต้องพัฒนาทักษะด้านอื่น ซึ่งอาจส่งผลเสียตามมาในอนาคตทั้งต่องานและต่อคนทำงานนั้นเอง

เมื่อเข้าใจหลักการและความสำคัญของการให้ Feedback แล้ว คุณสามารถเรียนรู้และฝึกฝนเพิ่มเติมได้ใน ให้ Feedback อย่างไร ทีมจึงพัฒนาได้ไวขึ้น คลิกอ่านที่นี่

องค์กรที่จะเติบโตอย่างมีคุณภาพนั้นสิ่งสำคัญจะเริ่มต้นจากการให้ Feedback ซึ่งกันและกัน เมื่อทุกคนรับรู้ถึงจุดแข็ง-จุดอ่อน ข้อดี-ข้อเสีย ย่อมพัฒนาต่อไปได้อย่างยั่งยืนในอนาคต

===

หนึ่งในทักษะสำคัญที่ช่วยเพิ่มศักยภาพให้แก่ลูกน้องคือการ ให้ Feedback  ซึ่งคุณสามารถเรียนรู้และฝึกฝนได้จากหลักสูตร High Impact Coaching and Positive Feedback คลิกที่นี่

เรียบเรียงจาก “What Good Feedback Really Looks Like” โดย Craig Chappelow และ Cindy McCauley จาก Harvard Business Review 13 พฤษภาคม 2019

เรียบเรียงโดย Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

 

ให้ Feedback อย่างไร ทีมจึงพัฒนาไวขึ้น

ให้ Feedback อย่างไร ทีมจึงพัฒนาได้ไวขึ้น

การ Feedback หรือ การรีวิวผลงาน , การประเมินผลงาน เป็นขั้นตอนที่จำเป็นต้องมีในองค์กรต่าง ๆ เพื่อสะท้อนให้เห็นว่าผลการทำงานของแต่ละคนเป็นอย่างไร 

ดูเผิน ๆ วิธีเหล่านี้เหมือนจะดี เพราะหลังจากรวบรวมความคิดเห็นและบันทึกรวบรวมสำหรับพนักงานแต่ละคนครบหนึ่งปีแล้วก็ควรจะมีการสื่อสารไปบ้างเพื่อทำให้เขาเห็นข้อบกพร่องแล้วเกิดการปรับปรุง  

แต่เชื่อไหมว่า โดยส่วนใหญ่แล้วการรีวิวมักจะสร้างความหวาดหวั่นมากกว่า เหตุผลสำคัญก็เพราะการรีวิวผลงานนั้นมักจะสร้างบรรยากาศแห่งความหวาดกลัว พนักงานมักรู้สึกประมาณว่าต้อง “เข้าห้องเชือด” ซึ่งทุกคนก็ลุ้นว่าจะโดนด่ามากน้อยแค่ไหน แล้วจะผ่านพ้นช่วงเวลาที่น่าอึดอัดนี้ไปได้หรือไม่

=====

ในความเป็นจริง การรีวิวและประเมินผลงาน หรือการ Feedback การทำงานนั้น ควรจะทำให้คนรับฟังรู้สึกว่าได้รับข้อเสนอแนะ และเข้ามาร่วมกันสร้างหนทางไปสู่อนาคต

และควรจะเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเจ้านายกับลูกน้อง  ช่วยกันประคับประคองให้เกิดการทำงานในระดับที่น่าประทับใจยิ่งขึ้นมากกว่า

เช่นนี้แล้ว การให้ Feedback จึงถือเป็นทักษะที่จำเป็นต้องเรียนรู้และฝึกฝน เพื่อก่อให้เกิดผลดีตามมามากที่สุด ดังหลักการต่อไปนี้

=====

การให้ Feedback อย่างมีประสิทธิภาพ

1. ไตร่ตรองถึงแรงจูงใจ

ที่จะ feedback ก่อน ว่าทำไมถึงจะต้อง feedback วัตถุประสงค์คือการปรับปรุงการทำงาน และแก้ไขสถานการณ์ใช่หรือไม่ ฉะนั้น การจะทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้ก็ไม่ควรทำให้กลายเป็นพื้นที่ของการด่าทอหรือสร้างความรู้สึกแย่ ๆ ให้เกิดขึ้น ในทางกลับกัน การ feedback เชิงบวกและมุ่งหาการแก้ไขอย่างตรงจุด จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยต้องไม่ลืมหลักการ “เป็นธรรมและสมดุล” ด้วย 

=====

2. เลือกเวลาให้เหมาะสม

การ feedback ไม่ใช่การเซอร์ไพรส์ที่จู่ ๆ ก็โผล่มา แต่ควรจะเกิดขึ้นภายหลังจากมีเรื่องต้องแก้ไขไม่นานนัก เทคนิคอย่างหนึ่งก็คือ ถ้าสถานการณ์ยังเต็มไปด้วยอารมณ์พลุ่งพล่าน ก็ควรรอให้ทุกฝ่ายสงบสติอารมณ์เสียก่อน แล้วค่อยให้ feedback  ไม่เช่นนั้น ทุกอย่างอาจพังครืนให้เสียใจภายหลังได้

=====

3.ทำอย่างสม่ำเสมอจนเป็นเรื่องปกติ

เมื่อมีอะไรต้องปรับปรุงก็ควรหาทาง feedback ไป จนคนร่วมทีมรับรู้ว่าจะต้องมีกิจกรรมนี้เกิดขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ไม่ควรรอเวลากำหนดชัดเจนตายตัวในระยะห่าง เช่น ทุกหนึ่งปี หรือทุกสามเดือน

จริงอยู่ว่าการ feedback ตามวาระจะต้องมีอยู่แล้ว แต่ก็ต้องมีการ feedback อย่างไม่เป็นทางการ หรือตามสถานการณ์ด้วย 

=====


การตระเตรียมเบื้องต้น ทำได้ ดังนี้ 

  • ควรทำให้เข้าใจง่ายๆ และควรทำให้คนทำงานสามารถเตรียมรับมือได้ว่าจะมีการ feedback เกิดขึ้น  (แต่ไม่ใช่การมานั่งอ่านสคริปต์)  คุณควรทบทวนสิ่งที่ต้องการจะพูดออกไปให้เคลียร์ที่สุดก่อน แล้วค่อยสื่อสาร ถัดมาคือ ไม่ควรให้ความคิดเห็นแบบทึกทักเอาเองหรือการพูดอ้อมโลก
  •  ชี้ให้ตรงจุด ว่าอะไรกันแน่ที่เขาควรปรับปรุง เช่น อย่า feedback ว่า “ไม่เป็นมืออาชีพ” แต่คุณควรชี้เป้าให้ชัดว่าอะไรกันแน่ที่ทำให้เขาไม่เป็นมืออาชีพ เช่น  ทำเสียงดังเกินไป ทำตัวสนิทสนมเกินไป หรือแต่งตัวไม่เหมาะสม
  • เลือกคำพูดที่สร้างสรรค์ คือคำพูดที่ไม่ทำให้คนฟังรู้สึกว่าถูกประเมินอย่างรุนแรง เช่น หลีกเลี่ยงการใช้คำว่า “ไม่เคยเลย” , “ทั้งหมดที่ทำ” , “ทำแบบนี้ตลอด” และควรใช้คำแทนความคิดความรู้สึกของตัวเอง เช่น  “ผมคิดว่า…” เพื่อให้เข้าใจว่าทั้งหมดนี้คือทัศนะส่วนบุคคลที่เสนอแนะอย่างเพื่อนมนุษย์คนหนึ่ง คนฟังจะได้ไม่รู้สึกเหมือนถูกตีตราว่าใคร ๆ ก็คิดว่าตนเองไม่ดี

ทักษะการ Feedback ควรฝึกควบคู่กับทักษะการโค้ช อ่านบทความ โค้ชอย่างไรที่จะเพิ่มศักยภาพได้อย่างเต็มที่ เพื่อความเข้าใจที่เพิ่มขึ้น คลิกที่นี่

=====

การวิจารณ์ที่ดีและส่งผลยอดเยี่ยมต่อคนฟัง คือ การเสนอแนะแบบเป็นส่วนตัว

ดังที่มีคนกล่าวบ่อยๆ ว่า เวลาที่ชื่นชมใครให้ชมต่อหน้าคน แต่เวลาตำหนิหรือขอให้ใครแก้ไขควรบอกเป็นการส่วนตัว ซึ่งควรเลือกสถานที่ซึ่งทำให้คุยกันได้ชัดเจน โดยไม่ถูกรบกวน 

ในการ feedback  ควรจะโฟกัสให้ตรงจุด ไม่เกินเลยไปกว่าประเด็นหรือเรื่องที่จะ feedback  และควรมองหาสิ่งที่ปรับปรุงแก้ไขได้  เช่น การมาทำงานสาย ไม่ใช่ไปบอกว่าเขาเป็นคนพูดจาไม่ดี นั่นแปลว่า  คุณควรหาทางพูดให้อีกฝ่ายรู้สึกเป็นบวกมากที่สุด จริงอยู่ว่าคนที่ถูกเรียกเข้าไปคุยอาจจะทำงานผิดพลาด แต่หัวหน้าจะต้องคิดว่าจะทำอย่างไรให้คนคนนี้รู้สึกว่าได้รับพลังงานบวก จนอยากกลับมาปรับปรุงและทำงานได้ดีกว่าเดิม


อย่าลืมว่าทั้งคนให้ feedback และคนรับจะต้องรู้สึกถึงสิ่งที่ควรปรับปรุงร่วมกัน จะต้องเป็นการร่วมกันพัฒนาปรับปรุงเพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมาย และมีความชัดเจนในข้อเสนอแนะด้วย 

เมื่อ feedback กลับไป ก็ต้องไม่ลืมติดตามผลด้วยว่าหลังจากนั้นเป็นอย่างไร ต้องมั่นใจให้ได้ว่าสิ่งที่พูดคุยกันไปนั้นจะทำให้เกิดผลตามที่ต้องการได้ในเวลาต่อมา 

=====

หากคุณต้องการพัฒนาทักษะและกระบวนการ Positive Feedback เพื่อพัฒนาทีมให้เก่งขึ้นได้อย่างก้าวกระโดด ขอแนะนำหลักสูตรสำหรับองค์กร “High Impact Coaching  & Positive Feedback” ซึ่งทำให้ผู้เข้าอบรมมีวิธีการให้ Feedback ด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง คลิกดูได้ที่นี่ครับ

เรียบเรียงโดย Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

 
ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 093-925-4962

 

สุดยอดเทคนิคเพิ่มพลังโน้มน้าวใจให้ทุกคนเชื่อมั่น

สุดยอดเทคนิคเพิ่มพลังโน้มน้าวใจให้ทุกคนเชื่อมั่น

การจะสร้างองค์กรที่เต็มไปด้วยประสิทธิภาพ  คุณจำเป็นต้องมีทักษะการโน้มน้าวใจคน ซึ่งสามารถเรียนรู้และฝึกฝนได้ด้วยตัวเอง  

ต่อให้มีตำแหน่งสูงก็ไม่ได้หมายความว่าจะโน้มน้าวใจคนได้เสมอไป ในขณะที่บางคนไม่ได้มีตำแหน่งอะไรเลยแต่จับพลัดจับผลูต้องมานำทีมแบบไม่เป็นทางการ คนกลุ่มนี้หลายคนพยายามค้นหาวิธีการว่าทำอย่างไรที่จะให้คนอื่นยินดีรับฟังและนำสิ่งที่เขาบอกไปปฏิบัติตาม

====

การจะโน้มน้าวใจคนอื่นได้มีเคล็ดลับสำคัญอยู่ที่การทำให้คนอื่นรู้สึกว่าพวกเขาอยากจะฟังคุณ  นั่นหมายความว่าคุณจะต้องเป็นคนที่ดูมีคุณค่าจนน่ารับฟังซึ่งถือเป็นเรื่องที่ยากมากสำหรับยุคนี้

เพราะแต่ละคนล้วนมีสื่อมากมายรายล้อมตัว สังคมก็มีบรรยากาศแห่งความเร่งรีบ มีแหล่งข้อมูลให้เสพบริโภคจนเต็มไปหมด การจะทำให้คนอื่นยินดีรับการจูงใจจากคุณต้องมีเคล็ดวิธีที่ถูกต้อง ดังนี้

====

เริ่มจากการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดี 

หลักการง่าย ๆ ก็คือ “ถ้าเขาชอบคุณ เขาก็อยากจะฟังคุณ”  นี่คือโอกาสที่จะชักจูงให้พวกเขาคล้อยตาม การมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่นเป็นก้าวแรกที่ดีที่สุด ผู้คนในทีมจะเริ่มลดการ์ดลงจนมองเห็นความตั้งใจและพลังงานที่คุณอยากจะส่งไปให้พวกเขาได้

====

ฝึกการเป็นผู้ฟังที่ดี 

คนทุกคนล้วนต้องการมีตัวตน และอยากเป็นคนสำคัญ หากคุณอยากจะชักจูงใครสักคน คน ๆ นั้นจะต้องอยากรับฟังคุณด้วยความเต็มใจ การทำให้เขารับรู้ได้ว่าคุณเป็นฝ่ายเริ่มรับฟังเขาก่อน ให้ความสำคัญกับสิ่งที่เขาอยากจะพูดก่อน  เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้อีกฝ่ายอยากจะให้ความสำคัญแก่คุณกลับ ซึ่งสิ่งแรกสุดที่เขาจะทำให้เขาได้ก็คือการรับฟังนั่นเอง 

 
ซึ่งหนึ่งในทักษะการฟังที่มีประสิทธิภาพคือการฟังอย่างใส่ใจ หรือ active listening ที่คุณสามารถอ่านบทความและฝึกฝนได้ที่นี่

====

มีภาษากายที่เหมาะสม 

จัดวางบุคลิกท่าทางให้ดูน่าเชื่อถือและเหมาะสม  ไม่กอดอกปกป้องตัวเอง ขณะพูดและฟัง จัดวางท่วงท่าแขนขาให้อีกฝ่ายเห็นถึงความมั่นคงแน่วแน่ วิธีการพูดที่มั่นคงจริงจังไม่อ่อนแอทำให้อีกฝ่ายอยากจะรับฟังด้วยความสบายใจไปพร้อม ๆ กับการรู้สึกถึงพลังอำนาจที่สะกดให้พวกเขาเคลิ้มคล้อย ทั้งหมดนี้นับเป็นเรื่องจำเป็นที่คุณต้องฝึกฝน

====

ทำให้คนอื่นเห็นว่าคุณชำนาญเรื่องที่จะพูดจริงๆ

 วิธีการคือการเอาตัวคุณและชื่อของคุณไปผูกติดกับเรื่องนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นในงานสัมมนาวิชาชีพ การเข้าร่วมโปรแกรมอบรมต่างๆ หรือมีบทบาทเป็นผู้นำสักอย่างในด้านนั้นๆ  วิธีการเหล่านี้จะทำให้คนในสังคมรับรู้ถึงการมีตัวตนในด้านดังกล่าว ทำให้ใคร ๆ พร้อมที่จะเปิดอกรับฟังคุณ

=====

วางกลยุทธ์อย่างเหมาะสม

 เมื่ออยากจะชักจูงให้คนคล้อยตามไอเดียใหม่ ๆ คุณจะต้องกางแผนออกมาดูแล้วปักหมุดว่าใครอยู่ตำแหน่งไหน ระดับใด มองให้ออกว่าจะเข้าไปชักจูงคนนั้นด้วยวิธีการไหน จะใช้ใครเป็นผู้นำทางความคิดของเขา มองหาว่าใครอาจจะเป็นภัยคุกคามในแผนการนี้ ถ้าสามารถทำให้คนนั้นกลายมาเป็นพันธมิตรได้จะเป็นเรื่องที่ดีต่อคุณมาก ๆ 

====

ให้ในสิ่งที่พวกเขาต้องการ 

การรู้เขารู้เราย่อมทำให้เรามีชัยชนะทุกครั้ง กรณีนี้ก็เช่นกัน ถ้าหากหาได้ว่าสิ่งที่คนเหล่านี้อยากได้คืออะไร คุณจะใช้สิ่งนั้นเป็นเครื่องมือในการสร้างแรงจูงใจได้ง่ายขึ้น

ทุกคนมักจะคิดอยู่เสมอว่าถ้าหากตัดสินใจตามที่คุณนำเสนอพวกเขาจะได้อะไรกลับไป ถ้าหากผลลัพธ์มันตรงกับภายในใจล่ะก็ คุณย่อมจะประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน 

ทั้งหมดนี้คือวิธีการจูงใจให้คนคล้อยตาม จงอย่าลืมว่า ทุกสิ่งควรจะเป็นไปในทางบวก สร้างคุณค่ามูลค่า มากกว่าจะเป็นการขู่เข็ญคุกคาม 

====

ทักษะการโน้มน้าวใจผู้อื่นและการเจรจาต่อรองเป็นทักษะที่จะทำให้คุณเป็นต่อในการทำงาน เราขอแนะนำหลักสูตร Persuasion and Negotiation Mastery เพื่อฝึกฝนเทคนิคการโน้มน้าวใจและการเจรจาต่อรองสำหรับหัวหน้างาน คลิกที่นี่ 
===== 

เรียบเรียงจาก “How to Increase Your Influence at Work” โดย Rebecca Knight จาก Harvard Business Review 16 กุมภาพันธ์ 2018

ทความโดย Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

 
ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 093-925-4962

สื่อสารกับเพื่อนร่วมงานขี้วีนอย่างไรให้ได้ผล

สื่อสารกับเพื่อนร่วมงานขี้วีนอย่างไรไห้ได้ผล

  สิ่งหนึ่งที่จะทำให้ที่ทำงานเป็นสถานที่ที่น่าอยู่ ทำให้อยากตื่นขึ้นมาและกระตือรือร้นที่จะไปทำงาน ก็คือบรรยากาศในการทำงาน

ซึ่งเพื่อนร่วมงานก็คือปัจจัยสำคัญที่สุดในการสร้างบรรยากาศเหล่านั้น

ข่าวร้ายก็คือเราไม่สามารถเนรมิตเพื่อนร่วมงานน่ารักๆ พูดคุยกันอย่างเข้าอกเข้าใจ รักใคร่ชอบพอเหมือนเพื่อนสนิทได้ ใครมีบุญวาสนาได้พบพานกับหัวหน้า หรือเพื่อนร่วมงานที่ดีก็ย่อมสุขใจ

แต่หากเราพบเจอเข้ากับเพื่อนร่วมงานประเภท “ขี้วีนขี้เหวี่ยง”  “พูดจาขวานผ่าซาก” หรือ “วาจายิ่งกว่ามีดโกนอาบน้ำผึ้ง” ที่พร้อมจะเชือดเฉือนให้เราแหว่งวิ่นทุกครั้งที่เข้าใกล้แล้วล่ะก็ที่ทำงานอันเป็นสถานที่ที่เราต้องใช้ชีวิตอยู่อย่างน้อย 7 ชั่วโมงต่อวันก็เป็นต้นเหตุของความทุกข์ใจได้ง่ายๆ

แต่อย่าเพิ่งท้อแท้ไป บทความนี้มีวิธีการดีๆ ที่จะช่วยให้คุณสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานเหล่านั้นได้ง่ายขึ้นมาฝาก ดังนี้

====

1.น้ำขุ่นอยู่ในน้ำใสอยู่นอก

ทุกคนย่อมไม่อยากพูดดีกับคนที่พูดและทำไม่ดีกับเรา  แต่การทำกิริยาแบบ “แรงมาก็แรงกลับ” ไม่ได้ทำให้สถานการณ์ดีขึ้นแต่อย่างใด แต่จะยิ่งทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับเพื่อนร่วมงานดิ่งลงเหวมากกว่าเดิม

หากคุณต้องการให้การสื่อสารราบรื่นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ควรเริ่มจากตัวเราก่อน สูดลมหายใจเข้าลึกๆ ละวางเรื่องขุ่นข้องหมองใจลงชั่วคราว  ยิ้มกว้างๆ แล้วพูดคุยด้วยอารมณ์ที่สดใส

อย่าให้อีกฝ่ายจับได้เด็ดขาดว่าแท้ที่จริงคุณไม่อยากพูดคุยกับเขาหรือเธอคนมากเท่าไหร่ แม้ขั้นตอนนี้จะไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลย แต่เป็นเรื่องที่ฝึกฝนได้แน่นอน

====

2.ปลดปล่อยความรู้สึกแย่ให้ถูกจังหวะ

อึดอัดใช่ไหมกับการต้องฝืนทำดีกับคนที่มีนิสัยขี้วีนขี้เหวี่ยง การปลดปล่อยความรู้สึกด้านลบออกมาเป็นสิ่งที่ดีสำหรับสถานการณ์เช่นนี้ เพราะจะทำให้คุณมีสภาวะจิตใจที่ดีขึ้นได้

แต่การระบายความรู้สึกออกมานั้นควรเลือกทำให้ถูกที่ ถูกคน และถูกจังหวะ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบที่เลวร้ายตามมา

ให้มองหาเพื่อนที่คุณไว้วางใจได้สักคน จะเป็นเพื่อนที่คุณสนิทสนมมานานที่คุณสามารถระบายความในใจให้เขาฟังได้อย่างไม่เคอะเขิน และตัวเขาต้องมีทัศนคติที่ดีมากพอที่จะมองโลกด้วยใจเป็นกลาง เพื่อที่เขาจะได้ช่วยมองในมุมของคนนอกและให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อคุณในสถานการณ์ที่เลวร้ายได้

====

3.เปลี่ยนมุมมองใหม่ เข้าใจมากขึ้น

การมองจากมุมมองของคุณเพียงมุมเดียวไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้น ลองเปลี่ยนไปมองจากมุมมองของอีกฝ่ายหนึ่งว่า “เกิดอะไรขึ้นในชีวิตเขากันนะ  จึงทำให้เขาเป็นคนแบบที่เป็นอยู่นี้

วิธีนี้จะช่วยทำให้คุณเริ่มเข้าใจว่านิสัยวีนเหวี่ยงที่เพื่อนร่วมงานของคุณเป็น เกิดจากสภาพกดดันจากปัญหาครอบครัว ปัญหาทางการเงิน หรือแม้กระทั่งปัญหาสุขภาพที่เขาประสบอยู่ จนทำให้เขาไม่สามารถควบคุมอารมณ์ขี้วีนขี้เหวี่ยงของเขาได้

เมื่อเข้าใจปัญหาจากมุมมองของเขาแล้วจะทำให้คุณเกิดความเห็นอกเห็นใจเพื่อนร่วมงานได้มากขึ้น เมื่อใดที่เขาทำนิสัยไม่น่ารักเหล่านั้น คุณก็เพียงคิดเสียว่า “โลกช่างโหดร้ายกับเขาเสียเหลือเกิน” แล้วคุณจะเริ่มรู้สึกเห็นอกเห็นใจเขาขึ้นมา

การเปลี่ยนมุมมองคือทักษะที่คุณฝึกฝนได้ โดยต้องมีวิธีฝึก Self – Awareness แบบ Step by Step ควบคู่ไปด้วย คลิกอ่านบทความที่นี่

====

4.สร้างมิตรด้วยกิจกรรม

เมื่อคุณได้เรียนรู้และเปิดใจยอมรับ “นิสัยไม่น่ารัก” ของเพื่อนร่วมงานได้บ้างแล้ว ขั้นตอนถัดมาซึ่งอาจจะยากขึ้นมาอีกหน่อยก็คือ ให้หาโอกาสพูดคุยสร้างความสนิทสนมกับเขาให้มากขึ้น

หรือหากเป็นไปได้ให้ชวนเขาไปทำกิจกรรมหลังเลิกงานร่วมกัน เลือกกิจกรรมที่คุณสองคนชอบหมือนๆ กัน เช่น การหาของกินอร่อยๆ ดูหนังด้วยกันสักเรื่อง หรือเข้าฟิตเนสด้วยกัน

เมื่อมีโอกาสทำกิจกรรมนอกเหนือจากการทำงานร่วมกัน จะทำให้คุณสองคนรู้สึกผ่อนคลายและรู้สึกดีต่อกันมากขึ้น เทคนิคนี้จะทำให้การสื่อสารระหว่างทั้งสองเป็นไปได้ด้วยดีมากขึ้นเมื่อต้องทำงานร่วมกันในโอกาสต่อไป เรียกได้ว่าเป็นเทคนิคการสร้างมิตรด้วยกิจกรรม นั่นเอง

====

5.อยู่ห่างๆ หากยังไม่พร้อม

เทคนิคต่างๆ ที่ได้กล่าวมาข้างต้น อาจทำให้ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานบางคนดีขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว แต่มันก็ย่อมมีเหมือนกันที่สำหรับ “คนบางคน” จะยังไม่พบความเปลี่ยนแปลงแม้ว่าเราจะลองครบทุกวิธีแล้วก็ตาม

หากเป็นแบบนั้นก็คงต้องใช้เทคนิคข้อสุดท้ายก็คือ “อยู่ห่างๆ อย่างห่วงๆ” กล่าวคือ เมื่อยิ่งอยู่ใกล้ยิ่งเกิดการสื่อสารที่ไม่เข้าใจกัน  เกิดรอยร้าวมากขึ้นเรื่อยๆ ก็ให้พยายามหลีกเลี่ยงการติดต่อกันไปก่อน ระหว่างนี้ใช้วิธีการสื่อสารผ่านคนกลางที่พูดคุยได้ทั้งสองฝ่าย หรือพยายามติดต่อกันเฉพาะเรื่องที่จำเป็นจริงๆ เท่านั้น จนกว่าเขาพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์กับคุณแล้ว

การเปลี่ยนแปลงบุคคลอื่นให้เป็นไปอย่างที่เราต้องการนั้นทำได้ยาก เพราะสุดท้ายแล้วคนที่จะตัดสินใจเปลี่ยนแปลงหรือไม่ก็คือตัวของเขาเอง สำหรับตัวคุณเองก็เช่นเดียวกัน คุณสามารถเลือกที่จะ “รู้สึกมีความสุข” ได้ แม้ว่าจะมีเพื่อนร่วมงานขี้วีนขี้เหวี่ยงอยู่ใกล้ๆ ในทุกวันก็ตาม

====

คุณสามารถสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานขี้วีนให้ดีขึ้นได้ด้วยการฝึกทักษะการสื่อสารเชิงรุก การโน้มน้าวใจ ในหลักสูตร Persuasion and Negotiation Mastery ดูรายละเอียดคลิกที่นี่

บทความโดย
Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข
 
ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 093-925-4962
 
 

4 แนวทางทำทีมขนาดเล็กให้สำเร็จขนาดใหญ่

4 แนวทางทำทีมขนาดเล็กให้สำเร็จขนาดใหญ่

ในยุคที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน คาดเดาไม่ได้เช่นนี้เชื่อว่าผู้ประกอบการ ผู้บริหารธุรกิจหลายคนน่าจะตระหนักแล้วว่าทีมขนาดเล็ก(Small Team) เหมาะกับยุคที่มีลักษณะดังกล่าวมากขนาดไหน

เพราะทีมขนาดเล็ก( 4 – 8 คนโดยประมาณ) มีแนวโน้มที่จะปรับตัว เปลี่ยนแปลง สร้างสายสัมพันธ์ที่แข็งแกร่ง และผุดไอเดียใหม่ ๆ เพื่อสร้างนวัตกรรมและแก้ปัญหาได้มากกว่าทีมใหญ่ที่เคลื่อนตัวได้ช้ากว่า 
====

หลายคนรับรู้ถึงพลังของทีมขนาดเล็ก แต่คำถามที่เกิดขึ้นก็คือเราควรโฟกัสไปที่การพัฒนาเรื่องอะไรบ้างเพื่อทำให้ทีมขนาดเล็กสามารถสร้างผลลัพธ์ที่มีขนาดใหญ่ได้

จากการศึกษาและร่วมงานกับทีมขนาดเล็กใหญ่มามากมาย ผมได้เรียนรู้ว่ามีอยู่ 4 ประเด็นที่หัวหน้าและคนในทีมจำเป็นต้องสร้างและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทีมขนาดเล็กทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
====

1. การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

การสื่อสารคือกุญแจของความสำเร็จในทุกธุรกิจ และจำเป็นต่อการทำงานเป็นทีมทุกขนาด แต่การสื่อสารจะสำคัญมากขึ้นสำหรับทีมขนาดเล็กที่มีคนในทีมไม่ถึงสิบและต้องทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด

การสื่อสารจะช่วยเพิ่มความเข้าใจ เพิ่มความไว้วางใจ เพราะมีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพคนในทีมจะไม่ต้องตรวจเช็คว่าคนในทีมทำงานหรือเปล่า หรือทำได้ดีไหมบ่อยจนเกินไป และเมื่อทุกคนโฟกัสกับงานที่อยู่ตรงหน้าตัวเองก็ช่วยให้งานเดินหน้าไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง
====

2. สร้างวัฒนธรรมแห่งทีมที่สร้างแรงบันดาลใจ

ความกระตือรือร้น พลังใจ และความมุ่งมั่นคือองค์ประกอบที่สำคัญของทีมที่ประสบความสำเร็จ เราจึงควรให้ความสำคัญกับการสร้างทีมที่เต็มเปี่ยมไปด้วยแรงบันดาลใจ โดยการทำให้ทุกคนในทีมรับรู้ถึงเหตุผล (Why) ในการทำงานนั้น

เพื่อความสำเร็จที่มากขึ้น คุณควรร่วมกันกำหนด Why ที่สอดคล้องกับ Why ในการมาทำงานนี้ของแต่ละคนโดยการหา ‘จุดร่วม’ ให้เจอ

สิ่งสำคัญที่สร้างความแตกต่างคือการที่ผู้นำมี Mindset และลงมือทำทุกอย่างสอดคล้องกับ Why นั้นอย่างไม่ขัดแย้งในทุกกิจกรรมที่ทำ
เมื่อทุกคนในทีมตระหนักถึง Why ในการทำงานเป็นประจำ ทีมจะมีแรงบันดาลใจที่จะทำสิ่งต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นและมากขึ้น

อีกหนึ่งวัฒนธรรมที่สำคัญคือวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ อ่านวิธีการสร้างและพัฒนาได้ใน 4 เทคนิคสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ภายในทีม คลิกที่นี่
====

3. ลงทุนกับทีมของคุณเสมอ

ไม่สำคัญว่าคนในทีมจะมีความสามารถมากขนาดไหน ถ้าคุณคือหัวหน้าทีมคุณต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณกำลังส่งเสริมการเติบโตและการเรียนรู้ของทุกคนในทีม ทั้งทักษะที่เกี่ยวกับงานและทักษะอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

คุณอาจจะกำหนดวันฝึกอบรมทีมประจำเดือน (หรือประจำสัปดาห์ไปเลยก็ได้) สร้างพื้นที่ให้คนในทีมมาแบ่งปันความรู้แก่กัน หาคนมาช่วยเทรนคนในทีม และมีสวัสดิการสมัครเรียนคอร์สทั้งออฟไลน์และออนไลน์อย่างสม่ำเสมอด้วย

====

4. ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างชาญฉลาด

การเป็นทีมขนาดเล็กไม่ได้หมายความว่าคุณต้องทำงานทั้งหมดด้วยตัวเอง จงทบทวนว่าทีมของคุณมีและไม่มีทรัพยากรใดบ้าง โดยลิสต์ออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน

จากนั้นก็ติดต่อ freelancer ที่มีวินัยและมีความสามารถสูงที่จะมาช่วยให้โปรเจคนั้นสำเร็จลุล่วง ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบกราฟิกสำหรับแคมเปญที่กำลังจะมาถึงหรืองานไอทีภายใน จำไว้ว่าการขอความช่วยเหลือจากผู้ที่เชี่ยวชาญเฉพาะทางในด้านที่ทีมของคุณไม่ถนัดจะช่วยให้ทีมของคุณบรรลุศักยภาพอย่างแท้จริง 

สุดท้ายไม่ว่าคุณจะเป็นหัวหน้าทีมหรือสมาชิกในทีม คุณก็คือส่วนหนึ่งที่จะทำให้ทีมขนาดเล็กกลายเป็น ‘แจ๊คผู้ฆ่ายักษ์’ ได้

ขอเพียงแค่อย่าลืมโฟกัส 4 เรื่องนี้ตั้งแต่ก่อนฟอร์มทีมและมุ่งเน้นทั้งสี่เรื่องนี้ไปเรื่อย ๆ ตลอดการเดินทางของทีมของคุณ

====

การทำงานร่วมกันภายในทีมมี Mindset และทักษะมากมายที่คุณสามารถเรียนรู้และฝึกฝนได้ ขอแนะนำหลักสูตร Team Communication & Collaboration คลิกอ่านรายละเอียดที่นี่


เรียบเรียงโดย อ. เวย์ เวสารัช โทณผลิน

Productivity & Team Collaboration Facilitator 
ผู้เชี่ยวชาญด้าน Personal Productivity และการร่วมมือร่วมใจในทีม 

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

สร้างแรงจูงใจให้ทีมด้วย 3 หลักการที่คุณทำได้ง่าย ๆ

สร้างแรงจูงใจให้ทีมด้วย 3 หลักการที่คุณทำได้ง่าย ๆ

หนึ่งในปัญหาที่ทุกคนต่างเคยพบเผชิญคือ การหมดพลัง หมดแรงจูงใจในการทำงาน

ไม่ว่าจะเกิดจากปัญหารุมเร้า คุยกับลูกค้าไม่รู้เรื่อง ขาด passion ฯลฯ ต่างก็ทำให้เราและคนในทีมหมดพลังได้ทั้งนั้น

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งในทีมที่ยังมีพลังเพียงพอที่จะทำงาน ลองกระตุ้นตัวเองเพิ่มขึ้นอีกสักนิดที่จะช่วยสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้แก่คนในทีมดูไหมครับ เพราะแรงจูงใจก็ไม่ต่างอะไรกับเปลวไฟบนไส้เทียน นั่นคือยิ่งนำไปจุดต่อที่ไหนความสว่างไสวก็แผ่กระจายเป็นวงกว้าง

ในทางตรงกันข้ามถ้าคนรอบตัวของคุณทยอยหมดแรงจูงใจทีละคน สองคน อีกไม่นานคุณก็จะถูกความมืดมิดกลืนกินไปด้วยอย่างแน่นอน
====

ปราชญ์ยุคกรีกชื่อดังอย่าง ‘อริสโตเติล’ ตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้คนในสังคมดี เขาจึงคิดค้นโมเดลในการเป็นผู้นำทีมที่จะสร้างแรงจูงใจให้แก่ทุกคนในทีมเอาไว้(บ้างก็ว่าอริสโตเติลคิดค้นขึ้นมาเพื่อการสื่อสารเป็นหลัก) โดยเรียกว่าหลักการ Etos, Pathos และ Logos

หลักการนี้จะให้ความสำคัญที่คุณลักษณะส่วนตัวของผู้ที่จะสร้างแรงจูงใจมากกว่าเทคนิคหรือวิธีการภายนอก ภายใต้แนวคิดที่ว่าการเป็นแบบอย่างและมีแรงจูงใจจากภายในอย่างแท้จริงสำคัญที่สุด รองลงมาคือการสร้างความสัมพันธ์ผ่านการมีความรู้สึกร่วมกับผู้อื่น สุดท้ายคือการใช้หลักการและเหตุผลเพื่อสื่อสารกับความคิดของคนในทีม
====

Etos

คือ คุณลักษณะ คุณสมบัติ และจริยธรรมที่แท้จริงภายในตัวเรา ซึ่งรวมถึงความน่าเชื่อถือของเรา มีทักษะ ความสามารถ และความแน่นอนที่คนอื่นไว้วางใจได้ ซึ่งเกิดจากการที่เราสามารถสร้างแรงจูงใจให้แก่ตัวเองได้นั่นเอง

แนวทางประยุกต์ใช้หลักการ Etos

สร้างกฎ กติกา ข้อตกลงส่วนตัวขึ้นมาแล้วรับผิดชอบต่อกฎ กติกา ข้อตกลงนั้น มุ่งมั่นรับผิดชอบหน้าที่ทุกด้านของตัวเองอย่างมีวินัย ถ้าคุณทำสิ่งเหล่านี้อย่างต่อเนื่องมากพอ คุณจะไว้วางใจตัวเองและมีแรงจูงใจภายในอย่างแท้จริง
====

Pathos

คือ การรู้สึกร่วม การมี Empathy กับผู้อื่น มีความเข้าอกเข้าใจผู้อื่นอย่างแท้จริง หลักการนี้จะทำให้คุณมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น ซึ่งเป็นรากฐานในการสร้างแรงจูงใจให้ผู้อื่นนั่นเอง

แนวทางประยุกต์ใช้หลักการ Pathos

บริหารจัดการอารมณ์ความรู้สึกตัวเอง โดยการหมั่นบันทึกความรู้สึกตัวเองเรื่อย ๆ ระหว่างวัน จากนั้นฝึกการฟังผู้อื่นอย่างลึกซึ้ง พยายามทำความเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นโดยการเดาความรู้สึกของเขาหลังจากรับฟังเรื่องราวของเขาแล้ว

ทำให้เพื่อนร่วมงานไว้วางใจด้วยการฟังอย่างเข้าอกเข้าใจ เป็นหนึ่งทักษะสำคัญที่เกี่ยวกับ Pathos อ่านวิธีการฝึกคลิกที่นี่
====

Logos

คือ การใช้ตรรกะ เหตุผล หลักการ ผู้นำหลายคนติดอยู่ที่เพียงหลักการนี้ซึ่งเป็นหลักการวงนอกสุด เพราะมนุษย์ล้วนทำหรือไม่ทำอะไรด้วยความรู้สึกลึก ๆ ไม่ใช่เหตุผล การให้แต่เหตุผลแก่คนในทีมจึงไม่สามารถจะจูงใจให้เขามีพลังในการทำงานขึ้นมาได้

แนวทางประยุกต์ใช้หลักการ Logos

หมั่นศึกษา หาความรู้ใส่ตัวเอง ทั้งเรื่องงานและเรื่องการทำงานเป็นทีมภาวะผู้นำ จากนั้นให้ฝึกสรุปความสิ่งที่ได้อ่าน ได้เรียนมาให้เข้าใจง่ายเพื่อที่จะนำไปถ่ายทอดสื่อสารให้คนในทีมของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สุดท้ายคุณคงเห็นภาพแล้วว่า ตัวตนที่แท้จริงของผู้นำทีมอย่างคุณคือสิ่งที่สำคัญที่สุด ไม่ต่างจากรากของต้นไม้ใหญ่ การโฟกัสไปที่เทคนิค วิธีการเพียงอย่างเดียว โดยไม่สนใจการเปลี่ยนที่ตัวตนของคุณ

ก็เหมือนต้องการผลหรือดอกโดยไม่ได้ให้อาหารรากของต้นไม้ ท้ายที่สุดผลหรือดอกที่คุณเก็บเกี่ยวก็จะไม่แห้งเหี่ยวไปและไม่งอกงามขึ้นมาอีกตลอดกาล

====

การทำงานร่วมกันภายในทีมมี Mindset และทักษะมากมายที่คุณสามารถเรียนรู้และฝึกฝนได้ ขอแนะนำหลักสูตร Team Communication & Collaboration คลิกอ่านรายละเอียดที่นี่


เรียบเรียงโดย อ. เวย์ เวสารัช โทณผลิน

Productivity & Team Collaboration Facilitator 
ผู้เชี่ยวชาญด้าน Personal Productivity และการร่วมมือร่วมใจในทีม 

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

6 วิธีสร้างความสัมพันธ์ในทีมให้แข็งแกร่ง

6 วิธีสร้างความสัมพันธ์ในทีมให้แข็งแกร่ง

ลองจินตนาการว่าความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับคนในทีมคือสะพานเชือกที่มีปลายข้างหนึ่งอยู่ที่คุณและปลายอีกข้างผูกยึดกับอีกคน

จินตนาการต่อไปว่าคุณมี ‘เรื่องหนักอึ้ง(คำวิพากษ์ วิจารณ์ คำตำหนิ เรื่องลบ ๆ ทั้งหลาย)’ ที่ต้องการสื่อสารกับคนนั้น ถ้าสะพานเชือกระหว่างคุณกับเขาแข็งแรงมันจะลำเลียงสารหนักอึ้งไปถึงอีกฝ่ายได้ดีกว่าสะพานที่อ่อนแอและขาดง่ายอย่างแน่นอน

หลักการสะพานความสัมพันธ์ช่วยอธิบายเหตุการณ์ที่ทุกคนเคยประสบนั่นคือทำไมเราจึงสื่อสารเรื่องเปราะบางกับบางคนได้ดีกว่าอีกคน
====

ถ้าอยากให้การสื่อสารภายในทีมมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผมขอเสนอให้คุณพัฒนาสะพานความสัมพันธ์ให้แข็งแรงเอาไว้ด้วยวิธีการที่สามารถนำไปประยุกต์ได้ไม่ยาก 6 วิธี ดังนี้ 

1. เข้าใจผู้อื่นก่อนเสมอ

มนุษย์ทุกคนปรารถนาความเข้าใจไม่ต่างจากอ็อกซิเจนสำหรับหายใจ แต่การเรียกร้องให้อีกฝ่ายมาทำความเข้าใจเราก่อนเป็นแนวทางที่ไม่ค่อยได้ผลสักเท่าไหร่ ก่อนจะสื่อสารกับใครครั้งต่อไปลองถามตัวเองว่าคุณตั้งใจรับฟังเขาดีพอหรือยัง และรู้หรือไม่ว่าลึก ๆ แล้วเขาต้องการอะไรกันแน่

หนึ่งในทักษะสำคัญที่ช่วยให้คุณเข้าใจผู้อื่นอย่างแท้จริงก็คือ การสร้างความไว้วางใจด้วยทักษะการฟังอย่างเข้าอกเข้าใจ คลิกอ่านที่นี่
====

2. ใส่ใจเรื่องเล็กน้อย

ลองจดจำเรื่องเล็ก ๆ เกี่ยวกับเขาด้วยการแอบจดใส่สมุดบันทึก โดยเฉพาะวันสำคัญของเขา สิ่งที่เขาให้คุณค่าเป็นพิเศษ สิ่งที่เขาชอบและไม่ชอบ แล้วแสดงมันออกมาด้วยการให้ของขวัญ ทำสิ่งพิเศษแก่เขา ตลอดจนถามไถ่สารทุกข์สุกดิบของเขาด้วยความจริงใจ
====

3. รักษาสัญญา

ไม่มีอะไรจะทำลายสะพานความสัมพันธ์ได้มากเท่ากับการผิดสัญญาที่คุณให้ไว้กับอีกฝ่าย จดจำสัญญาเหล่านั้นให้ขึ้นใจแล้วรักษามันยิ่งชีวิตของคุณเอง จำไว้ว่าอย่าให้สัญญาในสิ่งที่คุณไม่สามารถทำได้โดยเด็ดขาด
====

4. ระบุความคาดหวังของคุณให้ชัดเจนที่สุด

อีกหนึ่งสิ่งที่ทำลายความสัมพันธ์คือการที่คุณมีความคาดหวังบางอย่างต่ออีกฝ่ายแล้วไม่ได้สื่อสารมันออกมา เมื่อความคาดหวังเหล่านั้นถูกเก็บสะสมเอาไว้ มันจะระเบิดออกมาจนกลายเป็นความขัดแย้งรุนแรงในอนาคตได้ หนทางที่ดีคือการสื่อสารความคาดหวังนั้นออกมาให้เขาได้รับรู้อย่างตรงไปตรงมา
====

5. มีความซื่อสัตย์ จริงใจ เป็นคนที่ไว้วางใจได้

มีความสัมพันธ์กับทุกคนในทีมด้วยหลักการซื่อสัตย์ จริงใจทั้งต่อหน้าและลับหลัง พูดถึงคนอื่นด้วยหลักการที่ระลึกไว้เสมอว่าเขาสามารถมานั่งฟังเรื่องนี้ได้เสมอแม้ว่าเขาจะไม่ได้อยู่ตรงนั้นก็ตาม
====

6. กล่าวขอโทษอย่างจริงใจเมื่อทำผิดพลาด

เพราะเราคือมนุษย์ธรรมดาที่อาจทำบางเรื่องผิดพลาดได้ ไม่ว่าจะเป็นละเลยการทำความเข้าใจ หลงลืมเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ของอีกฝ่าย หรือมีเหตุให้ต้องผิดสัญญา เมื่อรู้ตัวว่าทำผิดพลาดให้รีบกล่าวขอโทษให้เร็วที่สุดภายใต้พื้นฐานความจริงใจในการที่จะแก้ไขความผิดพลาดนั้นจริง ๆ

ลองนำหลักการทั้ง 6 ไปประยุกต์ใช้กับความสัมพันธ์ภายในทีมของคุณ แล้วจะพบว่าสะพานความสัมพันธ์คือหัวใจในการสื่อสารระหว่างกันภายในทีมอย่างแท้จริง

ทุกครั้งที่เกิดปัญหาหรือมีความขัดแย้งจึงเป็นโอกาสที่คุณจะได้ทบทวนความแข็งแรงของสะพานเชือกเส้นนั้นแล้วล่ะครับ

====

การทำงานร่วมกันภายในทีมมี Mindset และทักษะมากมายที่คุณสามารถเรียนรู้และฝึกฝนได้ ขอแนะนำหลักสูตร Team Communication & Collaboration คลิกอ่านรายละเอียดที่นี่

เขียนโดย

อ. เวย์ เวสารัช โทณผลิน

Productivity & Team Collaboration Facilitator
(ผู้เชี่ยวชาญด้าน Productivity และ Team Collaboration) 

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

 

สุดยอดเทคนิคช่วยให้ Remote team ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

สุดยอดเทคนิคช่วยให้ Remote team ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ลำพังนั่งทำงานอยู่ด้วยกันก็ยังเป็นเรื่องท้าทายที่จะทำงานเป็นทีมให้เกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ

 แล้วถ้าต้องนั่งอยู่คนละที่ ต้องประชุมและทำงานร่วมกันผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์อย่างทุกวันนี้ล่ะก็ ความท้าทายย่อมจะเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวอย่างแน่นอน

====

         ความท้าทายจากการทำงานคนละที่ (Remote work) แต่มุ่งเน้นให้เกิดการร่วมมือร่วมใจทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ (Team Collaboration) นั้นมีปัจจัยตั้งแต่สัญญาณอินเทอร์เน็ตไปจนถึงความสัมพันธ์ของคนในทีมเลยทีเดียว

         จากการที่ได้เป็นที่ปรึกษา วิทยากร และ Facilitator ช่วยคนทำงานเป็นทีมในยุค Remote work เช่นนี้ ผมพบว่าสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกันต่ำมาจากสาเหตุดังต่อไปนี้

  1. สัญญาณอินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์ การที่สัญญาณอินเทอร์เน็ตไม่มีคุณภาพ หรือแม้กระทั่งขาดหายเป็นบางช่วงล้วนส่งผลต่อการสื่อสารและการทำงานร่วมกันทั้งสิ้น

  2. พื้นที่ในการทำงาน จากการสำรวจของผมพบว่ามีคนไม่ถึงครึ่งที่มีพื้นที่ที่เหมาะสมในการนั่งทำงานจริงจังอยู่ที่บ้าน ส่วนคนอีกครึ่งล้วนประสบปัญหาเรื่องพื้นที่และบรรยากาศในการทำงานที่บ้านทั้งสิ้น

  3. สุขภาพ สมาธิ การจดจ่อ คนยุคนี้ทำกิจกรรมมากกว่า 80% อยู่หน้าจอ ทั้งการทำงาน การเสพข้อมูลข่าวสาร และการพักผ่อนล้วนเกิดขึ้นที่หน้าจอ ซึ่งส่งผลให้เหนื่อยล้าทั้งดวงตาและสมองได้ง่าย

====

         จริงอยู่ที่เป็นเรื่องยากมากถ้าจะให้การทำงานแบบ Remote work มีประสิทธิภาพเทียบเท่าการนั่งทำงานร่วมกันในออฟฟิศ แต่ผมมองว่าสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำได้ยากเป็นเพราะ Remote work คือวัฒนธรรมการทำงานรูปแบบใหม่ที่คนทำงานเพิ่งได้ประสบเท่านั้น

         นั่นหมายความว่าถ้าเราเรียนรู้ และฝึกฝนรูปแบบการทำงานแบบนี้ก็ย่อมจะทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

          เปรียบเหมือนคนทำงานที่ใช้กระดาษเป็นเอกสารหลักในการบันทึกข้อมูลและสื่อสารกันภายในองค์กรมาตลอด กระทั่งวันหนึ่งที่เทคโนโลยีเข้ามา Disrupt วิธีการทำงานที่ใช้เอกสารเยอะ ๆ ให้กลายเป็นการสื่อสารผ่านโปรแกรมและจัดเก็บข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ คนทำงานจำนวนมากก็ยังไม่ชินเลยต้องเรียนรู้และปรับตัวเช่นกัน

และธุรกิจ องค์กรที่จะอยู่รอดและเติบโตท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของโลกในทุกวันนี้ได้ก็คือองค์กรที่คนทำงานสามารถทำงานทางไกลร่วมกันเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด (Remote Collaboration Team) นั่นเอง

====

         หลังจากศึกษาบทความเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันในโลกยุคใหม่ ทำความเข้าใจเพื่อสร้างเครื่องมือตลอดจนนำไปประยุกต์ใช้กับองค์กรและทีมงานที่ต้องทำงานทางไกลร่วมกัน ทำให้ผมได้ ‘สุดยอดเทคนิค’ ในการทำงานร่วมกัน แม้ว่าทุกคนจะอยู่คนละที่กันก็ตาม

         ผมตั้งชื่อเทคนิคนี้ว่า 3Cs for Remote Collaboration Team ซึ่งประกอบด้วยเทคนิคสำคัญ 3 ข้อ ดังนี้

====

 

1.Check Team Members ทำความเข้าใจสมาชิกในทีมของคุณ

พื้นฐานในการทำงานร่วมกันอยู่ที่การทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน ให้คุณใช้ 4 Areas of Home office life ซึ่งเป็นแกนตัดกันสองแกน ดังนี้

แกนนอนคือ แกนพื้นที่ในการทำงานโดยฝั่งซ้ายคือ Personal space (พื้นที่ส่วนตัวสูง) ส่วนฝั่งขวา คือ Shared space (พื้นที่ที่ต้องแบ่งกันใช้กับคนในบ้านสูง)

แกนตั้ง คือ แกนลักษณะครอบครัวที่อยู่ โดยฝั่งบนสุดคือ Extended Family (ครอบครัวขยาย) คือ ครอบครัวมีคนเยอะ และหลายรุ่น โดยคนทำงานจะต้องมีภาระหน้าที่ในการดูแลผู้สูงอายุหรือเด็กในบ้านด้วย

ฝั่งล่างสุด คือ Single Family (ครอบครัวเดี่ยว) คือ คนทำงานอยู่คนเดียวหรืออยู่กับคนในครอบครัวไม่เกิน 3-4 คน และไม่มีภาระหน้าที่ที่ต้องดูแลคนในครอบครัว

ให้สมาชิกในทีมแต่ละคนสำรวจชีวิตการทำงานที่บ้านของตัวเองว่าตกอยู่ในพื้นที่ไหนของแกนทั้งสอง (พื้นที่ส่วนตัว – ครอบครัวขยาย, พื้นที่แบ่งกันใช้ – ครอบครัวขยาย, พื้นที่แบ่งกันใช้ – ครอบครัวเดี่ยว และ พื้นที่ส่วนตัว – ครอบครัวเดี่ยว) ให้แต่ละคนได้พูดคุยกันเพื่อทำความเข้าใจกันและกันให้มากขึ้น

====

2.Communication for effective teamwork สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

         ยิ่งมีข้อจำกัดในการสื่อสารกันมากเท่าไหร่ สมาชิกในทีมยิ่งต้องเพิ่ม Mindset และ Skill ในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพมากเท่านั้น เอาชนะข้อจำกัดด้านพื้นที่ เทคโนโลยีด้วยหลักคิดและทักษะในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยแนวทางต่อไปนี้

  • ทำให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการพูดคุยอย่างแท้จริง ผู้นำอาจใช้วิธี Check รายชื่อคนที่พูดแสดงความคิดเห็นแล้วทีละคน และจะไม่จบการประชุมถ้ายังมีคนที่ไม่ได้พูด
  • กำหนดให้มีการเปิดกล้องและให้คนพูดทีละคนเท่านั้น คนที่เหลือควรฝึกการฟังและถ้าอยากพูดเป็นคนต่อไปต้องสรุปประเด็นของคนที่พูดก่อนหน้าให้ได้เสียก่อน
  • กำหนดบทบาทหน้าที่ให้ทุกคน เช่น ฟาหรือคนนำการประชุม คนจดบันทึก คนคุมเวลา คนสังเกตพลังงานของสมาชิกในทีม เป็นต้น

====

3.Clear Goals and Objective ทำให้เป้าหมายและวัตถุประสงค์ชัดเจน

         ระวังการสูญเสียเวลาโดยได้ผลลัพธ์ต่ำ นี่คือหนึ่งในหลุมพรางของการทำงานทางไกลที่หลายทีมประสบ บางทีมรู้สึกดีอยู่ลึก ๆ ที่ได้ใช้เวลาประชุมกันมากกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน (และทุกวัน) ทั้งที่ได้ผลลัพธ์น้อยนิดหรือแทบไม่ได้เลยก็ตาม

         วิธีป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนั้นก็คือการทำให้เป้าหมายและวัตถุประสงค์ในการทำสิ่งต่าง ๆ ชัดเจนที่สุด ผมแนะนำให้ใช้ 5W 1H ในการสรุปสิ่งสำคัญในการประชุมนั้น ๆ ดังนี้

         Why – เพราะอะไรทีมถึงต้องทำสิ่งนั้น

         What – เป้าหมายที่ทีมต้องการคืออะไร

         How – ขั้นตอนการทำให้เป้าหมายในวันนั้นสำเร็จเป็นอย่างไร

         Who – ใครคือผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบแต่ละขั้นตอน

         Where – สถานที่ทำหรือจัดเก็บสิ่งนั้น(เป็นในระบบคอมพิวเตอร์ก็ได้) อยู่ที่ไหน

         และ When – กำหนดเวลาเริ่มทำและเวลาส่งมอบให้ชัดเจน

         ถ้าทุกคนในที่ประชุมรับรู้และเข้าใจ 5W 1H ที่ว่านี้ตรงกัน การประชุมนั้นจึงจะถือว่ามีประสิทธิภาพและมีเป้าหมายกับวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนครับ

         อย่าปล่อยให้การทำงานร่วมกันแบบคนละที่ทำให้คุณรู้สึกเหนื่อยล้า หมดพลัง และทำให้งานไม่มีประสิทธิภาพอีกต่อไป

ลองนำ 3Cs for Remote Collaboration Team ไปประยุกต์ใช้จริงทันทีที่อ่านบทความนี้จบ เพื่อที่คุณจะได้สัมผัสประสบการณ์ดีดีของการทำงานแบบ Remote work ที่ลูกค้าของผมหลายคนได้สัมผัสมาแล้วนะครับ

มีเทคนิคอีกมากเกี่ยวกับการประชุมออนไลน์หรือ Virtual Meeting ที่คุณจำเป็นต้องรู้ อ่าน ประชุมออนไลน์อย่างไรให้มีประสิทธิภาพและเกิดผลลัพธ์มากที่สุด คลิกที่นี่

====

การทำงานร่วมกันภายในทีมมี Mindset และทักษะมากมายที่คุณสามารถเรียนรู้และฝึกฝนได้ ขอแนะนำหลักสูตร Team Communication & Collaboration คลิกอ่านรายละเอียดที่นี่

เขียนโดย

อ. เวย์ เวสารัช โทณผลิน

Productivity & Team Collaboration Facilitator

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

ร่วมงานกันอย่างไร ไม่ให้หมดไฟไปเสียก่อน

ร่วมงานกันอย่างไร ไม่ให้หมดไฟไปเสียก่อน

ว่ากันว่าเหนื่อยกับงานไม่เท่าไหร่ แต่เหนื่อยกับคนนี่สิที่ถือเป็น ‘ที่สุดแห่งความเหนื่อย’

และหากต้องทำงานที่ต้องเจอกับคนหลากหลายประเภท (หรือจะเรียกว่า ร้อยพ่อพันแม่) ความกดดันและตึงเครียดก็ยิ่งถาโถมมากขึ้นหลายเท่า

====

การทำงานในปัจจุบันไม่ได้หมกตัวอยู่แค่ในออฟฟิศ แต่มีการกระจายตัวไปหลายที่ มีโมเดลการทำงานใหม่ ๆ ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด ความสลับซับซ้อนในการทำงานเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ยังทำให้มีการทำงานเกิดขึ้นแทบจะตลอดเวลาอีกด้วย

การวิจัยเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันพบว่า คนยุคนี้ต้องปรับตัวกับวัฒนธรรมองค์กร เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ ทำตามคำบัญชาของเจ้านาย รับมือกับลูกค้าเอาแต่ใจ ไปจนถึงเพื่อนร่วมงานที่ไม่ค่อยเข้าท่า

ทั้งหมดนี้ ทำให้คนทำงาน “รับมือไม่ไหว” และสะสมจนเกิดอาการที่เรียกว่า Burn Out (ภาวะหมดไฟ)จากการทำงานมากขึ้น

และต่อไปนี้คือแนวทางความเข้าใจและหนทางแก้ไข
====

‘หนักเกินเหตุ’ สองรูปแบบที่คุณต้องรู้

การทำงานหนักเกินเหตุมี 2 รูปแบบที่ทำให้คนทำงานถึงขั้นร่างสลายได้ แบบแรกเรียกว่า ‘เห็นผลทันตา’ ส่วนแบบที่สองเรียก ‘สะสมเรื้อรัง’

การทำงานจัดหนักเพื่อให้เห็นผลทันตา มักจะเกิดขึ้นเมื่อต้องทำงานกับคนอื่น ๆ โดยต้องเพิ่มปริมาณงานมากกว่าปกติ ประเภทมีงานด่วนที่ต้องทุ่มเวลาทั้งสัปดาห์จนไม่ได้หลับไม่ได้นอน
คุณต้องทำเพราะไม่อยากจะได้ชื่อว่ากลายเป็นคนนอกกลุ่มหรือไม่ให้ความร่วมมือ

และลึก ๆ คุณก็อยากจะได้รางวัลตอบแทน เช่น ได้เลื่อนขั้นด้วย ฉะนั้น หากเจ้านายขอคุณก็ต้องทำ หากเพื่อนบอกคุณก็ต้องช่วย ในขณะที่คุณก็ยังมีงานตามหน้าที่อยู่ด้วย

รูปแบบสะสมเรื้อรังนั้นน่ากลัว เพราะไม่ใช่การที่จู่ ๆ คุณก็ถูกกระชากมาทำงานโหดอย่างฉับพลัน แต่เป็นการค่อย ๆ สะสม ค่อย ๆ เพิ่มพูน ค่อย ๆ ขยายตัวมากขึ้นเรื่อย ๆ จากทำงานของตัวเองคนเดียวจะเริ่มรับผิดชอบมากขึ้น มีคนมาเกี่ยวข้องมากขึ้น สะสมเครือข่ายการทำงานไม่สิ้นสุด

รู้ตัวอีกทีคุณก็อาจจะกลายเป็นคนที่ทำงานทั้งวันทั้งคืน ใครทำอะไรคุณก็โผล่ไปช่วยทุกอย่าง จนร่างกายเริ่มพัง จิตใจเริ่มเสื่อมสลาย มีอาการห่อเหี่ยวซึมเศร้าสะสมในตัวเอง

การนอนหลับพักผ่อนให้ถูกต้องคือวิธีการสำคัญที่ช่วยในเรื่องนี้ได้ มีงานวิจัยจำนวนมากยืนยันว่าคนที่นอนไม่ดีมีโอกาส Burn out มากกว่าปกติสามเท่า อ่าน 3 เทคนิคเพิ่มประสิทธิภาพการนอนเพื่อชีวิตที่ Productive มากขึ้น คลิกที่นี่
====

ทำไมเป็นคนแบบนี้

พฤติกรรมทำงานให้ส่วนรวมแบบจัดหนักเกินไปมักเกิดจากความต้องการสร้างชื่อเสียงให้คนรู้ รวมถึงต้องการลดความตึงเครียดในการทำงานร่วมกัน (เพราะเมื่อมีการปฏิเสธ คนก็จะเริ่มทำหน้าตึง คิ้วขมวดใส่กัน)

หรือบางที อาจจะมาจากนิสัยเต็มใจทำเพื่อส่วนรวมมากเกินไป โดยไม่ได้ยั้งคิดว่ามันทำลายสุขภาพของตัวเอง

การรับมือกับภาวะช่วยงานมากเกินต้องเริ่มต้นจากการรู้ก่อนว่า ทำไมคุณถึงจะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการทำงานนั้น หรือทำไมคุณถึงเข้าไปช่วยทำงานของส่วนรวม เมื่อไตร่ตรองให้รอบคอบเพื่อค้นหาที่มาที่ไปจะทำให้คุณเริ่มเข้าใจสาเหตุที่แท้จริง

และนั่นคือจุดเริ่มต้นคือการปรับทัศนคติของตัวเองก่อน
====

ทำอย่างไรให้งานส่วนรวมไม่ทำร้ายเรา

การปฏิเสธให้เป็น ถือเป็นก้าวแรกในการรับมือกับนิสัยทำงานส่วนรวมมากเกินไป ไม่ใช่เรื่องน่าอายหรือทำลายสังคมแม้แต่น้อยหากจะบอกคนอื่นว่า เราไม่อาจทำงานนั้นได้ด้วยเหตุผลที่น่ารับฟัง แถมเรายังได้ความรู้สึกมั่นใจและเคารพตัวเองกลับคืนมาอีกด้วย

ถัดมา คือการปรับบทบาทหน้าที่ ตารางงาน และเครือข่ายการทำงาน เพื่อไม่ให้คุณต้องตกอยู่ในวงล้อมของการทำงานส่วนรวม และลดการทำงานร่วมกับคนอื่นๆ ที่ไม่มีความจำเป็นออกไปให้หมด เรียกกระบวนการนี้ว่า การปรับภูมิทัศน์การทำงานของตัวเอง

เพื่อไม่ให้เสี่ยงต่อการเผลอไปรับปากทำงานส่วนรวมที่ไม่สำคัญสำหรับคุณ รวมถึงปรับวิธีประสานงานให้เกิดผลดีกับตัวเอง บางอย่างใช้ reply all บางอย่างใช้ cc ในการตอบอีเมล์ เพื่อให้ภาระไม่ตกอยู่กับคุณในตอนท้าย

วิธีการทั้งหมดนี้ จะทำให้คุณสามารถทำงานได้อย่างมีความสุข ไม่ทุกข์ทรมานกับการต้องร่วมงานกับคนมากๆ หรือรับงานส่วนรวมมาใส่ตัว และท้ายที่สุด คุณจะสามารถหลีกเลี่ยงอาการเหนื่อยเกินทน หรือภาวะหมดไฟได้อีกด้วย

====

การทำงานร่วมกันภายในทีมมี Mindset และทักษะมากมายที่คุณสามารถเรียนรู้และฝึกฝนได้ ขอแนะนำหลักสูตร Team Communication & Collaboration คลิกอ่านรายละเอียดที่นี่

เรียบเรียงจาก “Collaboration Without Burnout” โดย Rob Cross, Scott Taylor, and Deb Zehner จาก Harvard Business Review กรกฎาคม ถึง สิงหาคม 2018

เรียบเรียงโดย

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

การค้นพบใหม่ในการสร้างทีมที่ยอดเยี่ยม

การค้นพบใหม่ในการสร้างทีมที่ยอดเยี่ยม

เคยสงสัยไหมครับว่าอะไรเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ทีมทำงานร่วมกันได้ดีและประสบความสำเร็จ

หลายคนอาจทึกทักว่าเป็นเรื่องที่ ‘จับต้องไม่ได้’ เพราะมันเป็นศิลปะและเคมีความเข้ากันได้ส่วนบุคคลซึ่งมองอย่างไรก็ไม่ใช่วิทยาศาสตร์เลย

แต่ในความจริงแล้ว ปัจจัยที่ทำให้ทีมยอดเยี่ยมคือวิทยาศาสตร์ล้วน ๆ ที่สามารถสังเกตและมีตัวชี้วัดได้ สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ มันเป็นเรื่องที่สามารถสอนกันได้ด้วย
====

มองหาสิ่งเดียวกัน

เมื่อทำการสำรวจพฤติกรรมของทีมที่ ‘คลิก’ กัน เราพบว่าทีมที่ประสบความสำเร็จมีวิธีการสื่อสารที่ยอดเยี่ยม

มีงานวิจัยเพียงน้อยนิดที่ให้ความสนใจในเรื่องนี้ แต่เราเชื่อว่ามันคือส่วนที่สำคัญที่สุด ยิ่งเราสำรวจทีมต่าง ๆ ในหลากหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นงานหน้าบ้านหรืองานหลังบ้าน เราศึกษาโดยการติดเครื่องมือที่อยู่ในรูปเข็มกลัดเพื่อใช้เก็บข้อมูลเสียง ภาษาร่างกาย ทั้งของเจ้าตัวและคู่สนทนา ตลอดจนรายละเอียดอื่น ๆ อีกมากมายกับสมาชิกในทีม

ข้อมูลที่ได้ช่วยยืนยันว่า ‘การสื่อสาร’ เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการประสบความสำเร็จของทีม เราพบว่าการสื่อสารกันนอกห้องประชุมของสมาชิกมีส่วนในความสำเร็จเป็นอย่างมาก
====

หลังจากแนะนำให้ผู้จัดการลองย้ายเวลาเบรกของทุกคนในทีมเป็นเวลาเดียวกันแล้ว เราพบว่าทีมทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ตัวอย่างเช่น ทีม Call Center ได้รับคะแนนความพึงพอใจของลูกค้าเพิ่มขึ้นถึง 10% เลยทีเดียว

จากการเก็บข้อมูลพนักงานจำนวนราว 2,500 คนจากหลากหลายองค์กรเป็นเวลาร่วม 7 ปี ผลที่ได้จากทีมที่ประสบความสำเร็จชัดเจนถึงขนาดที่เราสามารถทำนายล่วงหน้าได้เลยว่าทีมไหนจะชนะรางวัลการประกวดแผนธุรกิจ

สิ่งที่เราพบจากสมาชิกในทีมที่ยอดเยี่ยมเหล่านั้น ได้แก่

1. โดยเฉลี่ยทุกคนในทีมพูดคุยและรับฟังกันในปริมาณเท่า ๆ กัน
2. คนในทีมมองหน้าและสนทนากันอย่างกระตือรือร้นและมีพลังงานสูง
3. ทุกคนในทีมสื่อสารระหว่างกันเองโดยไม่ได้คุยแต่กับหัวหน้าทีมเพียงอย่างเดียว
4. คนในทีมพูดคุยปรึกษากันระหว่างประชุม
5. สมาชิกในทีมพักเป็นระยะ และออกไปคุยกับคนอื่นนอกทีมเพื่อนำข้อมูลกลับมาแลกเปลี่ยนกันภายในทีมเสมอ
====

อีกสิ่งที่น่าสนใจก็คือ ความสำเร็จของทีมส่วนใหญ่กลับไม่ได้มาจากความสามารถส่วนบุคคลอย่างที่หลายคนเคยเข้าใจ สิ่งที่ดีที่สุดในการสร้างทีมเวิร์คคือการเรียนรู้วิธีการสื่อสารและแนะนำให้สมาชิกในทีมทำตามแบบแผนการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

วิธีการนำข้อมูลจากการวิจัยไปใช้เพื่อพัฒนาทีมที่มีประสิทธิภาพ

1. ทำให้เห็นภาพ

ด้วยการแสดงข้อมูลในรูปของแผนภาพกราฟฟิกที่ดูง่าย กราฟฟิกจะช่วยให้เห็นจุดอ่อนของทีมที่อาจไม่ทันสังเกต เช่น สมาชิกที่ไม่ค่อยออกความเห็น

====

2. ฝึกสอน

 แสดงแผนภาพความร่วมมือของสมาชิกในแต่ละวันเพื่อกระตุ้นความร่วมมือ ทำให้สมาชิกที่เป็นจุดอ่อนได้เห็นการทำงานของตัวเองเปรียบเทียบกับคนอื่นและนำไปปรับปรุงได้

หนึ่งในวิธีฝึกสอนและพัฒนาคนในทีมที่ดีที่สุดก็คือการโค้ช อ่าน โค้ชอย่างไรถึงจะเพิ่มศักยภาพได้อย่างเต็มที่ คลิกที่นี่

3. ปรับสมดุลการทำงาน 

นำข้อมูลที่เครื่องมือบันทึกได้มาเปรียบเทียบกับผลงานของทีม แสดงให้เห็นว่าข้อมูลที่ได้มีผลต่อการทำงานอย่างแท้จริง เช่น วันที่การประชุมไม่ได้เรื่อง ข้อมูลจากเครื่องมือจะแสดงให้เห็นว่าวันนั้นสมาชิกในทีมมีการสื่อสารที่ไม่ราบรื่นอย่างไร 

การสร้างทีมที่มีประสิทธิภาพไม่ได้มาจากโชคช่วย หรือเกิดจากเพื่อนร่วมทีมที่เก่งและฉลาดในระดับสุดยอดแต่เพียงอย่างเดียว แต่มันสามารถอธิบายได้ด้วยวิทยาศาสตร์ผ่านการเก็บข้อมูลจนทำให้เราค้นพบกุญแจสำคัญของทีมที่ดี นั่นคือ ‘การสื่อสาร’

สมาชิกในทีมที่หลายคนเรียกว่า ‘มีความเป็นผู้นำ’ แท้จริงแล้ว ก็คือคนที่มีความสามารถในการสื่อสารกับทุกคนอย่างเท่าเทียมและกระตุ้นให้เกิดพลังงานในการสนทนา ซึ่งยิ่งเรามีคนแบบนี้ในทีมมากเท่าไร ทีมก็ยิ่งประสบความสำเร็จมากขึ้นเท่านั้นนั่นเอง

====

คุณสามารถเป็นหัวหน้าทีมหรือช่วยให้ทีมทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ ถ้าเรียนรู้และฝึกฝนทักษะการสื่อสารและทักษะการทำงานร่วมกัน ขอแนะนำหลักสูตร Team Communication & Collaboration คลิกดูรายละเอียดที่นี่

เรียบเรียงจาก “The New Science of Building Great Teams” โดย Alex “Sandy” Pentland จาก Harvard Business Review เมษายน 2012

เรียบเรียงโดย

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Ads, Google Analytics

    Statistics

  • Google Analytics

    Statistics

  • Facebook

    Marketing/Tracking

  • ActiveCampaign

    Functional

  • ActiveCampaign

    Marketing/Tracking

Save