ทำงานที่ยากและเยอะอย่างเพลิดเพลิน ด้วย Flow Model
คุณเคยทำงานจนลืมเวลา ลืมสถานที่ไปเลยไหม ห้วงอารมณ์ที่ทำงานตรงหน้าอย่างเปี่ยมสมาธิจนเหมือนกับว่าไม่รับรู้อะไรต่อมิอะไรรอบข้าง ไม่ว่าจะเสียงโทรศัพท์ เสียงเพื่อนร่วมงาน ทุกอย่างเหมือนอันตรธานหายไปหมด
ในห้วงเวลาเช่นนี้เองที่คุณจะทำงานเพลินด้วยความรู้สึกเปี่ยมล้นด้วยพลังงาน ทำต่อไปได้เรื่อย ๆ ไม่มีหยุดหย่อน
เกือบทุกคนล้วนเคยสัมผัสประสบการณ์เช่นนี้ ประสบการณ์ที่นักจิตวิทยาเรียกว่า “สภาวะลื่นไหล” (Flow) เป็นสภาวะที่สัญชาตญานในการทำงานนำหน้าทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต จนกระทั่งมีคนนำไปใช้ประโยชน์ด้วยการสร้างทฤษฎีการทำงานที่เรียกว่า Flow Model ขึ้นมา
=====
Mihaly Csíkszentmihályi นักจิตวิทยาเชิงบวก นำเสนอแนวคิดซึ่งทำให้เห็นว่า เมื่อคนเราพยายามจะทำงานให้สำเร็จ ส่งผลต่อภาวะทางอารมณ์ของคนนั้นได้หลายแบบ ซึ่งจะเป็นแบบไหนขึ้นอยู่กับความท้าทายของงานและทักษะที่เราคิดว่าเรามีด้วย
Mihaly อธิบายว่า ถ้างานไม่ท้าทายและไม่ต้องการทักษะสูงนัก เราจะรู้สึกเบื่อ เซ็งเพราะไม่ถูกกระตุ้นให้ทำ แต่เมื่องานมีความท้าทายมาก แต่เราไม่ได้มีทักษะเพียงพอ ผลลัพธ์คือความตึงเครียดและวิตกกังวล นั่นหมายความว่าไม่ว่าทางไหนก็ดูแย่ไปหมด
=====
ภาวะสมดุลที่ดีที่สุดในการทำงาน คือการที่เราต้องการความท้าทายและความน่าสนใจในตัวงาน ในขณะเดียวกันเราก็สามารถพัฒนาทักษะได้มากเพียงพอที่จะมั่นใจว่าเราสามารถพิชิตความท้าทายนั้นได้
ถ้า 2 ปัจจัยนี้เดินไปด้วยกัน เราจะทำงานได้อย่างลื่นไหล ลองดูตัวอย่างจากบรรดานักธุรกิจ ศิลปิน หรือนักกีฬา เวลาที่พวกเขาทำสิ่งที่ชำนาญจนดูเหมือนง่ายและทำต่อได้เรื่อย ๆ ไม่มีหยุด
เมื่อเข้าสู่สภาวะ Flow แล้วจะมีองค์ประกอบอะไรเกิดขึ้นกับเราบ้าง ต่อไปนี้คือคำตอบ
- เข้าใจอย่างชัดแจ้งว่าสิ่งที่อยากจะบรรลุคืออะไร
- สามารถเพ่งสมาธิให้แน่วแน่ได้อย่างน้อยก็ชั่วระยะเวลาหนึ่ง
- ไม่ถูกรบกวนด้วยโสตประสาท หรือหลงลืมความรู้สึกไปได้ชั่วขณะ
- พบว่าเวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว
- ได้รับ Feedback โดยตรงและทันที
- รู้สึกถึงความสมดุลระหว่างความสามารถของเรากับความท้าทายของงาน
- รู้สึกควบคุมตัวเองได้เหนือสถานการณ์รอบข้าง
- รู้สึกว่าทำงานแล้วได้รับรางวัลจากเบื้องลึกภายใน
- ไม่รู้สึกว่าร่างกายต้องการอะไรระหว่างทำงาน
- ถูกดึงดูดเข้าไปอยู่ในกิจกรรมที่ทำอย่างสมบูรณ์แบบ
ทั้งหมดนี้ไม่จำเป็นต้องเกิดครบทุกข้อหรือพร้อมกัน แต่คุณจะรู้สึกว่าเมื่อคุณอยู่ในสภาวะลื่นไหลแล้วจะมีองค์ประกอบเหล่านี้เกิดขึ้นไม่ต่ำกว่า 1 องค์ประกอบ
=====
Mihaly บอกว่ามีเงื่อนไข 3 อย่างที่จะทำให้ทำงานแล้วเกิดสภาวะลื่นไหลขึ้นได้ นั่นคือ
1.Purpose / Goals (เป้าหมาย)
คุณต้องมีเป้าหมายชัดเจน เป้าหมายจะทำให้เกิดแรงจูงใจ และมีโครงสร้างขั้นตอนว่าเราจะไปถึงได้อย่างไร
2.Balance (สมดุล)
จำเป็นต้องมีสมดุลระหว่างทักษะที่คุณมีกับความท้าทายในตัวงาน ถ้าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากหรือน้อยกว่ากันมากจนเกินไป จะทำให้ทำงานไม่ลื่นไหล เช่น รู้สึกไม่ท้าทายเลยทำบ้างไม่ทำบ้าง หรือรู้สึกว่ายากเกินความสามารถ เลยเครียดจนอยากเลิก ไปทำอย่างอื่น
3.Feedback (การได้รับข้อมูลสะท้อนกลับ)
การได้ Feedback ที่ชัดเจนและทันเวลา จะทำให้คุณสามารถปรับเปลี่ยนหรือปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น และยังผลให้ทำงานได้ไหลลื่นมากกว่าเดิม
จากปัจจัยทั้งสามนี้ เรามีคำแนะนำสำหรับคนที่อยากจะมีสภาวะลื่นไหลในการทำงาน ดังนี้
เริ่มจากการสร้างเป้าหมายให้ชัดเจนก่อน
ใช้สมาธิในการทำงาน ตัดสิ่งต่างๆ ออกไป ไม่ยอมให้อะไรมาทำให้วอกแวก
ซึ่งการฝึกออกจากความคิดที่ทำให้จิตใจฟุ้งซ่านเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยได้ดี คลิกที่นี่เพื่อดูวิธีการฝึก
จากนั้นให้ฝึกมั่นใจในทักษะความสามารถของตัวเอง จะทำให้สิ่งที่ดูเหมือนยากนั้นง่ายลงทันตาเห็น (ถ้าไม่มั่นใจก็ฝึกฝนทักษะนั้นเพิ่ม)
ระหว่างทำงานถ้าได้ feedback ที่ดีจะทำให้คุณปรับปรุงทันที เพิ่มความกระหายอยากทำงานเพิ่มขึ้นได้ ยิ่งถ้าคุณทำให้งานตรงหน้าท้าทายได้มากกว่าเดิม ก็ยิ่งสร้างความพึงพอใจต่อการทำงานได้มากขึ้น
หากต้องการเรียนรู้และฝึกฝนทักษะการทำงานให้ Flow ด้วยเครื่องมืออื่น ๆ เพิ่มเติม ขอแนะนำหลักสูตร High Performance Leader ที่จะทำให้คุณเป็นผู้นำที่มีประสิทธิผลสูง คลิกที่นี่
=====
เรียบเรียงโดย Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข
ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 093 925 4962
Recent Posts
- 3 กติกาง่าย ๆ ที่ทำให้ทุกฝ่ายมีความสุขในการประชุม
- 5 เคล็ดลับ เปลี่ยนคนเบื่องาน ทะยานสู่ TOP 5 ในออฟฟิศ
- 5 เคล็ดลับ เปลี่ยนวันจันทร์ ให้เป็นวันสุข
- 5 วิธีสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานเจ้าอารมณ์
- 7 ขั้นตอนทำงานร่วมกับเจ้านายดุให้มีประสิทธิภาพและมีความสุข
- วิธีทำชีวิตช้าลงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
- 5 เทคนิครับมือกับเพื่อนร่วมงานเจ้าปัญหา
- 7 เทคนิค เลือกลูกน้องอย่างไรไม่ให้เปลี่ยนงานบ่อย
- 4 ขั้นตอน ลดความขัดแย้งภายในทีม
- 8 วิธีสร้างความน่าเชื่อถือในที่ทำงาน