ทำให้ทีมรู้สึกปลอดภัยแล้วผลงานที่ยิ่งใหญ่จะตามมา

คุณเคยเห็นทีมที่ประกอบไปด้วยคนเกรดเอที่ทำผลงานพังพาบไม่เป็นท่าหรือไม่ เกิดเหตุการณ์นั้นได้อย่างไร

ผลการวิจัยพบว่า การรวมดาวเด่นมาทำงานด้วยกันต่อให้มีจุดหมายเดียวกัน พร้อมรับมือกับความท้าทาย แต่ก็ยังล้มเหลวได้ ถ้าหากว่าคนในทีมไม่รู้สึกถึงความปลอดภัย

ความรู้สึกปลอดภัยทางใจถือเป็นปัจจัยสำคัญทางจิตวิทยาที่ทำให้คนทำงานสามารถคิดสร้างสรรค์ รับมือกับความเสี่ยงได้อย่างสบายใจ โดยไม่ต้องกลัวว่าจะถูกลงโทษ

ผลการศึกษาตั้งแต่อดีตชี้ว่า ความปลอดภัยทางใจเป็นสิ่งที่เปราะบางและสำคัญมากในการที่มนุษย์จะเอาตัวรอดท่ามกลางสภาวะที่ไม่แน่นอนได้
=====

ในโลกยุคใหม่ ความสำเร็จไม่ได้ขึ้นอยู่ในเงื้อมมือของใครคนใดคนหนึ่ง แต่ยังเกี่ยวพันกับสิ่งอื่น ๆ ด้วย

โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้สึกปลอดภัยที่จะทำให้มีสภาวะทางอารมณ์เป็นบวก สมองเปิดโล่งจนแก้ไขปัญหาซับซ้อน หรือสร้างความสัมพันธ์ทางการทำงานที่ดีได้

ในบรรดาอารมณ์เป็นบวกเหล่านั้น ประกอบไปด้วยความไว้เนื้อเชื่อใจ ความสงสัยใคร่รู้ ความมั่นใจ และแรงบันดาลใจ

คำถามก็คือ แล้วเราจะสร้างความรู้สึกปลอดภัยให้แก่คนในทีมจนนำมาซึ่งความสำเร็จได้อย่างไร นี่คือคำตอบ
=====

1.เมื่อขัดแย้งอย่างสร้างอริ แต่ให้มองหาความร่วมมือ

มนุษย์ไม่ชอบความพ่ายแพ้ เรารู้สึกได้ดีเมื่อผ่านการแข่งขัน การถูกตำหนิหรือการวิจารณ์ ไม่ใช่เรื่องดีนักถ้าปล่อยให้เกิดความขัดแย้งในทีม จงอย่าทำให้เกิดความรู้สึกแพ้-ชนะหรือความเป็นคู่แข่งภายในทีม แต่จงทำให้เกิดสถานการณ์ win – win โดยให้คนได้เรียนรู้และร่วมมือกันจากทุกสิ่งที่เกิดขึ้น
=====

2.เข้าอกเข้าใจในความเป็นมนุษย์ด้วยกัน

จำไว้ว่ามนุษย์ทุกคนล้วนต้องการความนับถือ อยากมีศักยภาพในการแข่งขัน อยากได้สถานะทางสังคม ตลอดจนต้องการควบคุมชะตากรรมของตัวเองได้ จงเอาใจเขามาใส่ใจเราในเมื่อทุกคนในทีมล้วนต้องการสิ่งเหล่านี้ ให้ระลึกไว้ตลอดเวลาว่าไม่ว่าจะอย่างไร คน ๆ นี้ก็ล้วนมีความเชื่อ มุมมอง ความเห็น ความหวาดกลัว ความรัก ความสุข หรือความต้องการ….ไม่ต่างจากเรา
=====

3.คิดใคร่ครวญถึงสิ่งที่อีกฝ่ายจะแสดงกลับมา

ก่อนที่จะทำหรือพูดอะไรออกไป จงคาดเดาว่าอีกฝ่ายจะแสดงออกกลับมาอย่างไรเมื่อพบเจอถ้อยคำหรือพฤติกรรมนั้นของเรา วิธีการนี้จะทำให้เราปรับปรุงวิธีการสื่อสารกับอีกฝ่ายให้ดีที่สุด

ทั้งการส่งข้อความ การพูดคุย ควรใคร่ครวญว่าสิ่งที่เราจะสื่อสารคืออะไร ผลลัพธ์สามแบบที่คนฟังจะตอบกลับมาน่าจะมีอะไรบ้าง และ เราจะจัดการกับสถานการณ์เหล่านั้นอย่างไร ทั้งหมดนี้คือการวางแผนล่วงหน้าเพื่อให้ไม่สูญเสียพลังใจ และสร้างความปลอดภัยทางใจแก่ทุกฝ่าย
=====

4.อย่าตำหนิ แต่ให้แสดงความอยากรู้แทน

การตำหนิคือการทำลายกำแพงความปลอดภัยของอีกฝ่าย เราจึงไม่ควรทำสิ่งนี้กับคนในทีม ถ้าหากเห็นว่าผลงานหรือการกระทำอีกฝ่ายไม่ถูกต้องและคุณต้องการแก้ไขจงใช้วิธีอื่น เช่น การแสดงความอยากรู้หรือตั้งข้อสงสัยอย่างเนียน ๆ กับสิ่งที่เกิดขึ้น อาจเริ่มด้วยการตั้งประเด็นคำถามว่าเกิดอะไรขึ้น เหตุการณ์เป็นอย่างไร

ลองเสนอตัวร่วมมือค้นหาคำตอบร่วมกัน และถามไถ่ถึงแนวทางแก้ปัญหาดังกล่าว เมื่อเราทำแบบนี้ อีกฝ่ายจะไม่รู้สึกถึงการตำหนิติเตียน แต่ทั้งเราและเขาจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาอย่างละมุนละม่อมไปด้วยกัน
=====

5.ถามหา Feedback เมื่อเราได้ส่งสารออกไป

ในบางครั้งเราอาจไม่แน่ใจว่าผลลัพธ์ในการสื่อสารของเราจะทำให้อีกฝ่ายรู้สึกไม่ปลอดภัยหรือไม่ แต่เราสามารถติดตามผลและแก้ไขได้ด้วยการขอ Feedback ว่าหลังจากเราพูดหรือนำเสนออะไรไปอีกฝ่ายคิดอย่างไร เคล็ดลับสำคัญคืออย่าปล่อยให้ยืดเยื้อหรือล่วงเลยเวลาไปนาน แต่ควรจะทำให้เร็วที่สุด เพื่อจัดการแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที

การ Feedback เป็นศิลปะที่สามารถเรียนรู้และฝึกฝนได้ อ่าน ให้ Feedback ได้ ทีมพัฒนาไวขึ้น เพื่อฝึกฝนทักษะการให้และรับ Feedback ของคุณได้แล้วที่นี่
=====

6.วัดระดับความปลอดภัย(ทางใจ)

ไม่มีอะไรจะวัดระดับความปลอดภัยในใจของคนในทีม ได้เท่ากับการถามไถ่คนในทีมว่ารู้สึกอย่างไร รู้สึกปลอดภัยอยู่หรือไม่ และหากไม่เป็นไปตามที่ต้องการคุณก็ต้องรีบหาทางแก้ไขโดยด่วน
=====

เพราะการพัฒนาความไว้วางใจและร่วมกันสร้างพื้นที่ปลอดภัยเป็นเรื่องสำคัญอันดับแรก ๆ ของการทำงานเป็นทีม ขอแนะนำหลักสูตร Building Trust and Safe Space for the Great Team ที่จะช่วยให้คุณสร้างและพัฒนาความไว้วางใจและพื้นที่ปลอดภัยได้ดีขึ้น ดูรายละเอียดที่นี่

เรียบเรียงจาก “High-Performing Teams Need Psychological Safety. Here’s How to Create It” โดย Laura Delizonna จาก Harvard Business Review 24 สิงหาคม 2017

เรียบเรียงโดย Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 094 959 2645

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Ads, Google Analytics

    Statistics

  • Google Analytics

    Statistics

  • Facebook

    Marketing/Tracking

  • ActiveCampaign

    Functional

  • ActiveCampaign

    Marketing/Tracking

Save