ยิ่งพูดมากเท่าไหร่ จะยิ่งฟังได้น้อยลง

ยุคดิจิทัล ปัญหาสำคัญที่สุดภายในองค์กร ไม่ใช่เรื่องเทคโนโลยี สังคม เศรษฐกิจ แต่เป็น “ปัญหาเรื่องคน”

ปัจจัยที่ทำให้คนทำงานแล้วมีปัญหา คือ การสื่อสารที่ไม่เข้าใจกัน

ในที่ทำงาน แต่ละคนมีข้อมูลมากมาย มีความมั่นใจในตัวเอง ใคร ๆ ก็อยากเป็น “ผู้พูด” แต่ไม่ค่อยมีใครยอมเป็น “ผู้ฟัง”

การฟังที่มีให้กันน้อยลง ย่อมก่อให้เกิดปัญหา “ความล้มเหลวในการสื่อสาร” ก่อให้เกิดความผิดพลาด ปัญหาความขัดแย้งในการทำงาน บางทีก็ลามไปถึงชีวิตส่วนตัวและครอบครัวด้วย

“การฟัง” เป็นทักษะสำคัญ แต่น่าแปลกใจที่ผู้บริหารหลาย ๆ คนมักมองข้าม เพราะต่างคิดว่าตัวเองฟังเป็นอยู่แล้ว..

หารู้ไม่ว่า “การฟัง” กับ “การได้ยิน” ต่างกันอย่างมาก

ยิ่งไปกว่านั้น จากผลสำรวจพบว่า คนยิ่งเรียนสูง ประสบการณ์สูง อายุมาก ประสบความสำเร็จมาก มีแนวโน้มว่าจะมีทักษะการฟังที่ลดลง อย่างมีนัยสำคัญ

นั่นเพราะความเชื่อมั่นในตัวเอง ได้บดบังความสนใจที่มีต่อผู้อื่น

หากกล่าวกันตรง ๆ คนกลุ่มแรกที่ควรจะให้ความสำคัญกับเรื่อง “การฟัง” น่าจะเป็นผู้บริหาร หรือผู้ใหญ่ในองค์กร นั่นเอง!

ถ้าอยากจะฟังให้มีคุณภาพ จะต้องใช้ “หัวใจ” ให้มากกว่า “หัวสมอง”

ผมขอแนะนำทักษะการฟังที่สำคัญ ให้กับผู้บริหารองค์กร หัวหน้าทีมทุกคน นั่นคือ “Deep Listening”

การฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening) คือ การฟังให้ลึกไปกว่าแค่คำพูด ฟังในสิ่งที่เขาไม่ได้พูดได้อย่างเข้าใจ เช่น อารมณ์ ความรู้สึก ความเชื่อ ทัศนคติ และคุณค่าที่เขายึดถือ

โดยเราจะไม่ตีความ ไม่ด่วนตัดสิน ประเมินค่า ว่าถูกหรือผิด จะเป็นเพียงพื้นที่แห่งการฟังล้วน ๆ อยู่กับปัจจุบันขณะเท่านั้น

หลายคนคงเริ่มรู้สึกกังวลว่า การฟังแบบที่ว่านี้ ในทางปฏิบัติจะทำยากมาก แต่คุณสามารถฝึกฝนพัฒนาทักษะนี้ได้ โดยมีเทคนิค 3 ขั้นตอน ดังนี้

1. เป็นพื้นที่ว่าง

ก่อนจะรับฟังใคร หากในจิตใจคุณยังเต็มไปด้วยความคิด ความกังวล ย่อมไม่ได้รับฟังเขาอย่างแท้จริง คุณจะต้องเคลียร์จิตใจตัวเองให้เป็น “พื้นที่ว่าง” ให้ได้เสียก่อน

เมื่อจะฟังใคร ต้องพักวางสิ่งต่าง ๆ ที่กำลังทำอยู่ หยุดความคิดและความกังวลทั้งปวง แล้วตั้งใจว่า คุณจะฟังเขาอย่างเป็นพื้นที่ว่าง พร้อมรับฟังอย่างเปิดใจ ไม่เป็นน้ำเต็มแก้ว

2.มองตา ใส่ใจ ให้ความสำคัญ

คนเราสื่อสารกัน ไม่ใช่แค่ด้วยภาษา แต่เต็มไปด้วยอารมณ์ ความรู้สึก ดังนั้น นอกจากการฟังสิ่งที่เขาพูดแล้ว คุณต้องสบตาผู้พูด เพื่อรับรู้อารมณ์ของเขาที่สื่อสารส่งผ่านมาทางสายตาด้วย

ยุคนี้ เราไม่ค่อยสบตากันในการพูดคุย เราก้มหน้า มองนู่นนี่ หรือทำสิ่งต่าง ๆ ไปด้วย ระหว่างที่ฟังอีกฝ่าย นั่นทำให้คุณพลาดสาระสำคัญในการเข้าถึงจิตใจซึ่งกันและกันไปอย่างน่าเสียดาย

การสบตา จะช่วยให้คนสองคน ได้เชื่อมต่อจิตใจซึ่งกันและกัน จนทำให้ผู้พูด รู้สึกสนิทสนม ไว้วางใจ และเปิดใจกับผู้ฟังได้อย่างรวดเร็ว

3. ไม่ถาม ไม่ขัด ไม่ตัดสิน

ระหว่างฟังอยู่ สำคัญมากที่คุณจะต้องปล่อยให้เขาพูดอย่างอิสระตามต้องการ โดยไม่ตั้งคำถาม ไม่ขัด และไม่ด่วนตัดสิน ว่าสิ่งที่พูดนั้น ผิดหรือถูก

แน่นอนว่า คุณอาจมีคำถาม หรือข้อสงสัย แต่จะดีกว่าไหม ถ้ารอให้เขาพูดสิ่งที่ต้องการจนจบเสียก่อน เพราะถ้าฟังให้ดี บางทีความสงสัยที่เกิดขึ้น อาจมีคำตอบอยู่ตรงนั้นแล้ว เพียงแต่คุณอาจใจร้อนตั้งคำถามไปก่อน

มากไปกว่านั้น คำถามของคุณ หลาย ๆ ครั้งเป็นคำถามเชิงอยากรู้ และคำถามเชิงชี้นำ นั่นไม่ได้ทำให้อีกฝ่ายได้พูดความในใจออกมาอย่างเต็มที่ จะต้องคอยมาตอบคำถามคุณเป็นระยะ ๆ ทำให้การพูดของเขาติดขัด ไม่ลื่นไหล

หากไม่เห็นด้วยกับบางเรื่องที่อีกฝ่ายพูด คุณสามารถรับฟังจนจบได้ โดยไม่ต้องแสดงอาการขัดแย้ง เพราะนั่นจะทำให้บทสนทนากลายเป็นการตอบโต้กันไปมา

หัวใจสำคัญ ของการฟังอย่างลึกซึ้ง

การรับฟังที่ดี คุณไม่ต้องรีบหาว่า อะไรถูก อะไรผิด คุณเพียงรับฟังมุมมองที่แตกต่าง เพื่อสำรวจว่า อะไรที่เขารู้และเชื่อกันแน่ และสาเหตุที่เขาเชื่อแบบนั้น เป็นเพราะอะไร

แม้สิ่งที่เขาพูด อาจไม่ใช่ความจริงของคุณ แต่มันเป็นความจริงในโลกของเขา คุณจึงควรเคารพความเชื่อนั้น แล้วนั่นจะทำให้เขาพร้อมรับฟังคุณมากขึ้น เมื่อคุณเป็นฝ่ายพูด

การเป็นผู้ฟังที่ดีไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินไป อยู่ที่คุณให้ความสำคัญกับมันหรือไม่ เมื่อฝึกใหม่ ๆ คุณอาจพลาด เผลอสวน เผลอตอบโต้ ก็ไม่จำเป็นต้องโทษตัวเอง ยิ่งได้มีโอกาสฝึกฝนมากเท่าไหร่ ย่อมสามารถพัฒนาทักษะการฟังของคุณได้มากขึ้นเท่านั้น

วิธีฝึกง่าย ๆ ใช้เวลาเพียงวันละ 5-10 นาที ตั้งใจกับตัวเอง ว่าคุณจะฟังคนตรงหน้าอย่างลึกซึ้ง เพียงเท่านี้ คุณก็จะได้เรียนรู้อะไรมากมายในชั่วขณะนั้น

แล้วจะพบว่า คนตรงหน้าคุยกับคุณอย่างสบายใจ และหลังจากคุยกันเสร็จ เขาจะรู้สึกดีมาก ๆ แม้ว่าคุณจะไม่ได้พูดอะไรเลยก็ตาม

ทั้งหมดนี้ คือ “เทคนิคฝึกการฟังอย่างลึกซึ้ง” ซึ่งหากคุณฝึกได้สม่ำเสมอ จะทำให้ชีวิตคุณเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในทุก ๆ ด้าน

เพราะการพัฒนาทักษะการฟัง จะทำให้คุณได้พัฒนาจิตใจไปพร้อม ๆ กันด้วย

เมื่อคุณฟังคนทุกคนได้มากขึ้น อัตตาของคุณก็จะลดลง ความขัดแย้งลดลง ความสุขในการทำงานและในครอบครัว ก็จะเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน

บทความโดย
CEO เรือรบ
ผู้ก่อตั้ง Learning Hub Thailand


ปล. หากคุณต้องการฝึกทักษะการฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening) และการสื่อสารเพื่อสร้างทีม ขอแนะนำ หลักสูตร “Executives Communication: ทักษะการสื่อสาร สำหรับผู้บริหารยุคใหม่ ”

คอร์สนี้เป็นหลักสูตรเชิงปฏิบัติการ มี Workshop และกิจกรรมหลากหลาย ที่ผมจัดให้กับองค์กรมหาชนมากกว่า 300 รุ่น คลิกอ่านที่นี่ครับ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Ads, Google Analytics

    Statistics

  • Google Analytics

    Statistics

  • Facebook

    Marketing/Tracking

  • ActiveCampaign

    Functional

  • ActiveCampaign

    Marketing/Tracking

Save