เคล็ดลับรับมือ หัวหน้า ไม่ได้ดั่งใจ

ผลวิจัยของ World Economic Forum ระบุว่า ความเครียดของพนักงานที่เพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เกิดจากสัมพันธภาพที่ไม่ดีกับหัวหน้างาน ถ้าเจอหัวหน้างานแย่ๆ เป็นใครก็อยากลาออกทั้งนั้นครับ

แต่ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ เจอหัวหน้าแย่ก็ย่อมดีกว่าตกงาน ฉะนั้นการทำงานร่วมกับหัวหน้างานจึงน่าจะเหมาะสมกว่านะครับ

Learning Hub จึงขอนำเสนอ 7 เคล็ดลับ เพื่อการรับมือกับหัวหน้างานที่ไม่ได้ดั่งใจ เพราะความเข้าใจคือหัวใจของการอยู่ร่วมกัน  


  1.หัวหน้างานจุกจิก   

อย่าให้อารมณ์บั่นทอนความสามารถ   

น่าปวดหัวไม่น้อยนะครับเมื่อเราต้องทำงานกับหัวหน้างานจู้จี้ทุกเรื่องราว คมชัดทุกรายละเอียด ไม่ว่าจะทำอะไรก็ผิดไปเสียหมดในสายตาหัวหน้า

เมื่อเจอหัวหน้างานเช่นนี้ การปรับตัวเข้าหาเขาจะเหมาะสมมากที่สุด สิ่งแรกเลยคือการทำงานของเราต้องมีวินัยครับ ทำงานให้เสร็จก่อนกำหนดส่ง

เพื่อให้หัวหน้างานได้ตรวจดูรายละเอียดก่อน และมีเวลาปรับแก้งานก่อนส่งจริง อย่าทำเวอร์ชันเดียวแล้วส่งในวันสุดท้ายนะครับ เพราะหัวหน้างานเช่นนี้ถูกต้องไม่สำคัญเท่ากับถูกใจ

การรายงานความก้าวหน้าและส่งงานก่อนกำหนด  จึงเป็นทางออกหนึ่งที่จะช่วยให้สัมพันธภาพระหว่างคุณกับหัวหน้าราบรื่นขึ้นนะครับ  


2.หัวหน้าอัตตาสูง   

ให้หัวหน้าคิดว่าผลงานที่เกิดขึ้น เป็นเพราะเขา   

มีบ่อยเหมือนกันครับกับหัวหน้างานอีโก้สูง คิดว่าความคิดของตัวเองถูกเสมอ และมองลูกน้องที่คิดเห็นแตกต่างหรือขัดแย้งเป็นฝ่ายตรงข้าม ทำให้คนที่ทำงานเอาหน้าประจบประแจงได้รับความไว้ใจ

แต่คนทำงานอยู่เบื้องหลังกลับเหนื่อยฟรี ดังนั้น เราควรเสนอความคิดเห็นในบริบทที่หัวหน้างานจะได้หน้าไปด้วย หรือพูดง่ายๆคือให้เขามีส่วนได้หน้าจากผลงานของเรานั่นเองครับ

แม้ว่าจะเป็นวิธีการที่เจ็บปวดหน่อย ที่ต้องให้คนอื่นชุบมือเปิบ แต่ก็ป่วยการครับที่จะเป็นปรปักษ์ต่อหัวหน้างานโดยไม่จำเป็น

สำคัญอยู่ที่ตัวเราครับที่ต้องรู้จักตนเองและควบคุมอารมณ์ เลือกปะทะในสมรภูมิที่ได้เปรียบเท่านั้นครับ  


3.หัวหน้าที่ไม่เป็นงาน  

ทีมงานที่แข็งแกร่งและพร้อมเจรจา  

ระบบอุปถัมภ์ทำให้การแต่งตั้งบุคคลในตำแหน่งสูงอยู่ที่คนของใครมากกว่าความสามารถ   จึงทำให้มนุษย์เงินเดือนอย่างเราต้องพลอยลำบาก  คอยแก้งานของหัวหน้าที่ไม่เป็นงาน

หัวหน้าประเภทนี้มักจะเข้าหาลูกน้องก็ต่อเมื่อเจอปัญหา ปล่อยให้ลูกน้องแก้ปัญหาแต่เพียงลำพัง ในขณะที่ตนเองไม่คิดหาข้อเท็จจริงเพื่อประกอบการตัดสินใจที่ถูกต้อง

ทำให้การทำงานในหลายๆครั้งสร้างปัญหามากกว่าแก้ปัญหา หัวหน้างานเช่นนี้หากจะรับมือยากสักหน่อยครับ เพราะต้องอาศัยความร่วมมือจากเพื่อนร่วมงาน

รวมกลุ่มกันเพื่อพูดคุยกับหัวหน้า เพื่อปรับวิธีการทำงานและหาแนวทางที่เหมาะสมในการทำงาน  ลดปัญหาในการทำงาน  

แต่ไม่ใช่การรวมกลุ่มกันเพื่อประท้วงหรือตำหนิหัวหน้างานนะครับ การบอกกล่าวพูดคุยกันด้วยเหตุผล        

มุ่งเน้นที่การทำงานเป็นหลักไม่ใช่เน้นที่ตัวบุคคล คือ แนวทางการเตือนหัวหน้ากับสิ่งที่เขาไม่รู้ตัวครับ  


4.หัวหน้าอ่อนประสบการณ์  

แชร์ไอเดีย แต่ไม่ทำให้เขาเสียหน้า 

เป็นเรื่องธรรมดาของปุถุชนทั่วไป ไม่เว้นแม้แต่หัวหน้าครับที่ไม่ได้รู้เสียทุกเรื่อง เพราะเขาอาจจะย้ายมาจากแผนกอื่น 

หรือทำงานที่เขาไม่คุ้นเคย  ซึ่งเราในฐานะลูกน้องที่ผ่านงานมามากกว่า ควรแลกเปลี่ยนแชร์ประสบการณ์กับเขาครับ

การเสนอแนะไอเดียที่เป็นประโยชน์ ย่อมทำให้หัวหน้ารู้สึกมิตรกับเรายิ่ง เช่น หัวหน้างานรุ่นเก่าอาจจะไม่คุ้นกับการทำ Power Point หน้าที่ของเราคือแชร์ความรู้กับเขา

หรือใช้ความสามารถของเราเติมเต็มส่วนที่หัวหน้าขาด ไม่ดูถูกหรือทำให้เขารู้สึกอับอาย คิดอีกแง่เราเองก็มีเรื่องมากมายที่หัวหน้ารู้ในสิ่งที่เราไม่รู้ก็ได้ครับ  


5.หัวหน้าที่ชอบตัวเลข  

ตัวเลขเป็นศาสตร์ แต่การตลาดเป็นศิลป์  

บ่อยครั้งเรามักจะพบความขัดแย้งกันระหว่างนักการตลาดและนักบัญชี สาเหตุของความขัดแย้งเกิดจากการมองต่างมุม

นักบัญชีหรือนักการเงินถูกสอนให้ตัดสินใจอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงและอ้างอิงตัวเลขเป็นสำคัญ จึงมักตั้งคำถามกับนักการตลาดว่า กลยุทธ์ที่เสนอมาสร้างกำไรกี่บาท กี่เปอร์เซ็นต์                      

เป็นคำถามที่นักการตลาดไม่สามารถตอบได้ครับ  เพราะไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้เลยว่าจะมีลูกค้าเพิ่มขึ้นกี่คน ซื้อคนละกี่ชิ้น เพราะฉะนั้นหากเผชิญหน้ากับหัวหน้าที่มีพื้นฐานทางบัญชีหรือการเงิน การจะทำงานร่วมกับเขาได้นั้นต้องมีตัวเลขเสมอครับ

แผนการที่เสนอไปอย่างน้อยก็ต้องมีการประมาณการณ์งบประมาณ     เป้าหมายทางการเงิน ยอดขายที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น เป็นต้น

การตัดสินใจบนพื้นฐานของตัวเลข ไม่ได้อยู่ที่ถูกหรือผิดหรอกครับ แต่อยู่ที่สมมติฐานของใครน่าเชื่อถือมากกว่ากัน   


6.หัวหน้าครีเอทีฟ   

โฟกัสที่ไอเดีย มองให้เป็นรูปธรรม  

หัวหน้าที่มีความคิดสร้างสรรค์นับเป็นเรื่องดีครับ แต่ถ้ามีมากไปก็เป็นโทษเหมือนกัน เพราะแต่ละวันมีไอเดียผุดขึ้นมากมาย เดี๋ยวก็ให้ทำนั่น เดี๋ยวก็ให้ทำนี่

ทั้งๆที่สิ่งที่กำลังทำอยู่ยังไม่แล้วเสร็จ การรับมือกับหัวหน้าเช่นนี้ เราต้องโฟกัสความคิดของหัวหน้าครับว่า หัวหน้าต้องการอะไรในขั้นสุดท้าย                        

เพราะหัวหน้าช่างครีเอทีฟมีความคิดกว้างครับ แต่ไม่สามารถลงลึกถึงการปฏิบัติจริงๆ การโน้มน้าวเขาจึงต้องตั้งคำถามที่โฟกัสมากๆว่า ต้องการอะไรที่เป็นรูปธรรม และชี้ให้เห็นถึงอุปสรรคที่เป็นไปได้หากทำเช่นนั้น              

แต่อย่าวิพากษ์หรือปฏิเสธไอเดียเขานะครับ คล้อยตามความคิดเขา แต่ชี้ให้หัวหน้าเห็นว่าหากทำตามนี้จะเกิดอะไรขึ้นตามมา


7.สิ่งที่ไม่ควรทำ  

หัวหน้าไม่ใช่ศัตรู 

ไม่ว่าหัวหน้าจะเป็นคนเช่นไรก็แล้วแต่ แต่อย่ามองว่าเขาเป็นศัตรูเด็ดขาดครับ ไม่เช่นนั้นคงหาความสุขยากในที่ทำงาน

World Economic Forum จึงแนะนำว่า เราไม่ควรเผชิญหน้ากับหัวหน้าโดยตรง ไม่เช่นนั้นความขัดแย้งจะยิ่งร้าวลึก และอย่าแกล้งทำเป็นหูทวนลม

หรือโฟกัสที่งานอย่างเดียว ไม่เห็นหัวหน้างานอยู่ในสายตา เช่นนี้แล้วหัวหน้าจะคิดว่าเราไม่ให้ความเคารพ และเขาก็จะไม่เคารพเราเช่นกัน       

นอกจากนั้นการแกล้งป่วยแกล้งลา ก็ไม่ใช่ทางออกเช่นกันครับ เพราะนั่นคือการหนีปัญหา การลาป่วยในวันที่หัวหน้าต้องการเรา จะยิ่งสร้างความบาดหมางครับ  

และสิ่งสุดท้ายที่ไม่ควรทำคือการประจานหัวหน้าให้คนภายนอกรับรู้ ความในไม่ควรนำออก ความนอกก็ไม่ควรนำเข้าครับ  


หากทำตาม 7 เคล็ดลับนี้แล้วบรรยากาศในการทำงานยังไม่ดีขึ้น ก็คงต้องทิ้งไพ่ใบสุดท้าย คือ การลาออกครับ แต่ก่อนจะลาออกคุณต้อง Stay on career path นะครับว่า เป้าหมายในการทำงานคืออะไร

แล้วการทำงานที่นี่ตอบโจทย์อะไรหรือไม่ หากลาออกแล้วกระทบต่อสายงานอาชีพอย่างไร ลาออกควรใช้เหตุผลไม่ใช้อารมณ์ครับ  

เรียบเรียงโดย วิญญู – Learning Hub Team 

ที่มา : https://www.weforum.org/agenda/2015/03/how-to-cope-with-a-toxic-boss/  

http://www.forbes.com/sites/travisbradberry/2015/06/17/how-successful-people-overcome-toxic-bosses/3/#2c5696034f75  

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Ads, Google Analytics

    Statistics

  • Google Analytics

    Statistics

  • Facebook

    Marketing/Tracking

  • ActiveCampaign

    Functional

  • ActiveCampaign

    Marketing/Tracking

Save