วิธีทำให้ลูกน้องร่วมมือกับเราอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

อยากให้ลูกน้องทำงานอย่างเต็มความสามารถ สู้งานหนักแบบไม่ย่อท้อ ทำตามคำสั่งของเราแบบ 100% โดยไม่โต้แย้ง

ไม่ดื้อเงียบหรือรับคำสั่งแล้วไม่ทำ อยากให้ลูกน้องเข้ามาปรึกษาหรือขอคำแนะนำจากเราทันทีที่เกิดปัญหา ฯลฯ

เป็นเรื่องปกติธรรมดาที่หัวหน้างาน ผู้จัดการ และผู้นำหลายคน ‘อยาก’ ให้คนอื่นทำในสิ่งที่เราต้องการ

แม้จะดูยากเย็นขนาดไหน แต่หัวหน้างาน ผู้นำทีมทุกคนสามารถเพิ่มโอกาสในการได้ในสิ่งที่ต้องการทั้งหมดนั้น ขอแค่มีวิธีคิด และวิธีการที่ไม่ได้เริ่มต้นจากการโฟกัสที่ความต้องการของตัวเอง!

====

        ดูเป็นเรื่องที่เหมือนจะย้อนแย้งกันเอง เพราะเราทุกคนมีสิ่งที่ปรารถนาให้คนอื่นทำตาม หรือ ทำในสิ่งที่เราอยากได้ แต่เรากลับต้องเริ่มต้นจากการละวางความต้องการส่วนตัวเหล่านั้นลงก่อน

จากประสบการณ์ในการเป็นที่ปรึกษาให้กับองค์กรมากมายมานานหลายปี ผมและบรรดาผู้นำ ผู้จัดการ และหัวหน้างานหลายร้อยชีวิตได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของตัวเองว่านี่คือวิธีการหลักวิธีเดียวในการที่จะเพิ่มโอกาสให้ลูกน้องของเราร่วมมือกับเราอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนครับ

====

    เพราะอะไรการละวาง ‘ความต้องการ’ ของตัวเองจึงเวิร์ค

        ลองคิดถึงใครสักคนที่มีอำนาจเหนือคุณดูสิครับ จะเป็นหัวหน้า ผู้บริหาร เจ้าของกิจการ หรือ  ลูกค้ารายใหญ่ที่มีอำนาจต่อรอง ฯลฯ คน ๆ นั้นเข้ามาพูด บอก หรือ สั่งให้คุณทำบางสิ่งที่คุณไม่ได้รู้สึกอยากทำ เขาใช้อำนาจจากตำแหน่ง จากบทบาทที่เหนือกว่าในการบีบบังคับให้คุณทำตาม ซึ่งคุณก็อาจจะต้องยอมเขาในที่สุด

        แต่เกิดอะไรขึ้นหลังจากนั้น ในใจของคุณจะรู้สึกแย่กับคน ๆ นั้นมากขึ้นหลายร้อยเท่าใช่ไหม คุณคงหงุดหงิด โมโห ไม่พอใจเขา ไม่เคารพ ไม่เชื่อฟัง ไม่อยากติดต่อ ไม่อยากร่วมงานกับเขา และถ้าเขาเป็นลูกค้าคุณก็อาจจะไม่อยากทำธุรกิจกับเขาอีกต่อไปเลยก็ได้

        สถานการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากที่คนๆ นั้น ‘ได้’ ในสิ่งที่เขาต้องการ ณ ขณะนั้นก็คือ ทุกฝ่ายต้อง ‘สูญเสีย’ สิ่งที่สำคัญมากกว่าอย่าง ความสัมพันธ์ ความไว้วางใจ ความเคารพ ความเชื่อมั่น  ความรู้สึกที่อยากร่วมงานด้วย และความรู้สึกดีดีอีกมากมายไปตลอดกาล

====

     แล้วเราควรทำอย่างไร

        ถ้าท่านเป็นคนหนึ่งที่ไม่อยากได้แค่สิ่งที่ต้องการชั่วคราวแล้วสูญเสียหลายสิ่งที่ยิ่งใหญ่ไปตลอดกาลแบบนั้น คุณต้องเริ่มต้นจากการปลูกฝัง Mindset ให้ถูกเสียก่อน

        ในการทำงานร่วมกันนั้น มีทัศนคติ หรือ Mindset ชุดหนึ่งที่ได้รับการค้นคว้าจากทีมนักวิจัยเรื่องการทำงานในโลกยุคใหม่ซึ่งพัฒนามาเป็นทัศนคติแห่งการร่วมมือร่วมใจที่โด่งดังระดับโลก

ทัศนคติชุดนั้นเรียกว่า Outward Mindset หรือ ทัศนคติแห่งการมองโลกด้วยเลนส์ที่คำนึงถึงคนอื่นก่อน

        ในอดีตที่ผ่านมาเราอาจมีทัศนคติหรือเลนส์ในการมองโลกแบบ Inward Mindset หรือ การคิดถึงแต่ความต้องการของตัวเองเท่านั้น และนั่นก็ทำให้เราไม่สามารถโน้มน้าว จูงใจ หรือทำให้ใครร่วมมือกับเราได้อย่างแท้จริง แม้ว่าเราจะมีอำนาจ มีตำแหน่งที่ยิ่งใหญ่แค่ไหนก็ตาม

        ขณะที่ Outward Mindset เปรียบเหมือนเลนส์หรือแว่นอันใหม่ที่จะช่วยให้คุณมองโลก และมองคนอื่นแบบกลับด้าน นั่นคือการคำนึงถึงความต้องการของคนอื่นก่อน คำนึงถึงความต้องการของลูกน้อง เป้าหมาย ความกังวล และปัจจัยแวดล้อมของพวกเขา รวมถึงเป้าหมายขององค์กรด้วย

====

        Outward Mindset in Action การนำทัศนคติแห่งการมองออกนอกตัวมาปรับใช้ในการทำงานจริงสำหรับหัวหน้างาน ผู้จัดการ และผู้นำองค์กร

  1. ให้ความสำคัญกับเป้าหมายของคนทำงานเท่า ๆ กับเป้าหมายขององค์กร

องค์กรทุกองค์กรมีเป้าหมายที่ต้องบรรลุ นี่คือสิ่งที่ผู้บริหารและหัวหน้างานอย่างเรารับรู้กันดี แต่สิ่งที่หัวหน้าทีมอาจจะคำนึงถึงน้อยไปสักนิดก็คือ ลูกน้อง คนในทีม และเพื่อนร่วมงานของเราทุกคนต่างก็มี ‘ความต้องการ’ และ ‘เป้าหมาย’ ส่วนตัวด้วยเช่นกัน

ถ้าคุณใช้อำนาจบีบบังคับให้ลูกน้องทำทุกอย่างเพื่อทีมและบริษัท โดยไม่คำนึงถึงเป้าหมายและความต้องการของพวกเขาก็ไม่ต่างอะไรกับการเข็นรถคันใหญ่ขึ้นภูเขาที่ลาดชัน การทำงานระหว่างคุณกับลูกน้องจะเต็มไปด้วยความเหน็ดเหนื่อย และสูญเสียแรงมากกว่าปกติเพราะมีแรงต้านลึก ๆ ที่เกิดจากลูกน้องนั่นเอง

แต่ถ้าคุณให้เวลาในการสนทนาพูดคุยเพื่อรับรู้ความต้องการและเป้าหมายลึก ๆ ของลูกน้องแต่ละคน และพยายามเชื่อมโยงเป้าหมายของแต่ละคนเข้ากับเป้าหมายของทีม และเป้าหมายของบริษัท ฉายภาพให้ทุกคนเห็นว่าทุกสิ่งที่เขาทำกำลังตอบสนองเป้าหมายส่วนตัวและเป้าหมายของบริษัทไปพร้อม ๆ กัน พวกเขาจะร่วมมือกับคุณมากขึ้น และรถคันนี้ก็จะมีแรงส่งในการพุ่งทะยานขึ้นสู่ทางชันที่มากขึ้นนั่นเอง

====

2. ทีมของเราทุกคนมีความสามารถและมีศักยภาพที่พัฒนาได้

บางทีการที่ใครสักคนไม่ยอมร่วมมือและไม่อยากร่วมงานกับคุณอาจจะเป็นเพราะว่าเขารับรู้ได้ว่าในใจลึก ๆ ของคุณไม่ได้มองว่าเขามีคุณค่า คุณอาจมีอคติที่สื่อแสดงออกมาว่าเขาเป็นคนไม่เก่ง ไม่ฉลาด ไม่ได้เรื่องอยู่ก็ได้

ลองถามตัวเองอย่างตรงไปตรงมาว่าคุณมองเห็นคุณค่าของคนในทีมแต่ละคนจริง ๆ หรือเปล่า ลองระบุสิ่งที่ดี จุดแข็ง ทั้งในด้านทักษะการทำงานและอุปนิสัยของลูกน้องแต่ละคนออกมาให้ชัดเจน จากนั้นสื่อสารให้พวกเขารู้ว่าคุณมองเห็นคุณค่าและศักยภาพของพวกเขาด้วย

สุดท้ายลองพูดคุยกับพวกเขาว่ามีทักษะไหนที่เป็นอุปสรรคต่อการเติบโตในหน้าที่การงานของลูกน้องแต่ละคนบ้าง จากนั้นลองปรึกษากับเขาว่าถ้าสามารถพัฒนาทักษะนั้น ๆ ให้ดียิ่งขึ้นมันจะเป็นประโยชน์ต่อชีวิตการทำงานของพวกเขาอย่างไร แล้วจึงหาวิธีช่วยพัฒนาทักษะนั้นให้แก่พวกเขา

====

 3. สร้างวัฒนธรรมการทำงานในองค์กรแบบมีส่วนร่วม

สุดท้ายในฐานะหัวหน้างานหรือผู้นำทีม คุณสามารถเป็นผู้นำในการสร้างวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมในการทำงานขึ้นได้ โดยสร้างพื้นที่ในการพูดคุยถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจริงแบบไม่ใข่การโฟกัสหาคนผิดหรือทำโทษใคร แต่เป็นการเชิญชวนให้ทุกคนคิดหาวิธีแก้ไขและป้องกันปัญหานั้น

คุณควรเริ่มต้นที่ตัวเอง โดยระบุวิธีการรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้น แม้ว่ามันอาจจะไม่ใช่สิ่งที่คุณก่อขึ้นมาโดยตรงก็ตาม แต่ในฐานะส่วนหนึ่งของทีม คุณต้องแสดงให้ทุกคนเห็นว่าคุณก็มีส่วนรับผิดชอบต่อปัญหานั้นด้วย จากนั้นค่อยขอคำแนะนำหรือขอไอเดียจากคนอื่น ๆ ในทีม แล้วสรุปวิธีการแก้ไขปัญหานั้นออกมาเป็นรูปธรรม และมอบหมายให้ทุกคนมีส่วนในการปฏิบัติอย่างเหมาะสมและเท่าเทียม ไม่ใช่ให้เป็นภาระของคนที่เสนอไอเดียขึ้นมา เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นอาจจะไม่มีใครอยากนำเสนอไอเดียใหม่ ๆ อีกต่อไปในอนาคตก็ได้

        ทั้งหมดนี้คือแนวทางการนำ Outward Mindset หรือ ทัศนคติแห่งการคำนึงถึงความต้องการของผู้อื่นและสร้างการมีส่วนร่วมมาประยุกต์ใช้ในการทำงานเป็นทีม คุณจะเห็นว่าวิธีการทั้งหมดแตกต่างจากที่คุณคุ้นชิน ไม่ว่าสิ่งที่คุณเคยทำหรือเคยมีใครทำกับคุณมาตลอดทั้งชีวิตอย่างสิ้นเชิง

เมื่อปรับ Mindset ของตัวเองและลูกทีมได้แล้ว คุณน่าจะต้องการวิธีพัฒนาความสัมพันธ์ภายในทีมให้แข็งแกร่ง อ่าน 6 วิธีสร้างความสัมพันธ์ในทีมให้แข็งแกร่ง คลิกที่นี่

        แม้ว่าวิธีเหล่านี้อาจจะไม่ได้ทำให้เกิดผลที่คุณต้องการในทันที แต่มันคือจุดเริ่มต้นและหนทางไปต่อในการสร้างความร่วมมือร่วมใจที่ออกมาจากใจจริงของบรรดาลูกทีมของคุณอย่างแน่นอน

====

การสร้างความร่วมมือร่วมใจในการทำงานเป็นทีมมี  Mindset และทักษะมากมายที่คุณจำเป็นต้องเรียนรู้และฝึกฝน ขอแนะนำหลักสูตร High Impact Coaching and Feedback  คลิกอ่านรายละเอียดที่นี่

บทความโดย

อ.อรรณพ นิยมเดชา

วิทยากร และนักจิตวิทยาองค์กรผู้ใช้แนวคิดจิตวิทยาเชิงบวกเพื่อปลุกศักยภาพคนทำงานให้มีเป้าหมายที่ชัดเจนและสร้างผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Ads, Google Analytics

    Statistics

  • Google Analytics

    Statistics

  • Facebook

    Marketing/Tracking

  • ActiveCampaign

    Functional

  • ActiveCampaign

    Marketing/Tracking

Save