วิธีจัดการความขัดแย้งในทีมฉบับฉุกเฉิน

ในฐานะผู้นำที่ต้องบริหารคน ไม่ว่าจะอย่างไรคุณก็ต้องเจอกับปัญหาความขัดแย้งเข้าสักวัน

แต่ก่อนจะคิดหาทางแก้ไข คุณต้องเริ่มจากการวินิจฉัยปัญหาเสียก่อนว่ามันเป็นปัญหาใหม่เกิดขึ้นสด ๆ ร้อน ๆ หรือ ปัญหาเรื้อรังมาระยะหนึ่งแล้ว

=====

สำหรับปัญหาสด ๆ ร้อน ๆ (Hot Conflict) แต่ละฝ่ายจะยังเต็มไปด้วยอารมณ์คุกรุ่น อาจมีการพูดจาโหวกเหวก โวยวายเสียงดัง บางครั้งอาจสัมผัสได้ถึงความหยาบคายหรือการข่มขู่คุกคามที่ดูเหมือนควบคุมได้ยาก

ส่วนปัญหาเรื้อรัง (Cold Conflict) แต่ละฝ่ายจะผ่านช่วงอารมณ์รุนแรงไปสักพักแล้ว แต่มีความไม่ชอบหน้ากันที่สะสมมาอย่างต่อเนื่อง ปฏิริยาที่เกิดขึ้นมีทั้งการบ่นพึมพำใส่กัน ทำปากขมุบขมิบประชดประชัน แซว หรือเบ้ปากใส่กัน มีการเลี่ยงการประสานงานหรือทำงานร่วมกัน ไปจนถึงดูเย็นชาต่อกัน
=====

ถ้าเป็นปัญหาสด ๆ ร้อน ๆ คุณจะต้องทำตรงข้ามกับสภาพที่เกิด คือจะต้องทำให้บรรยากาศเย็นลง (cool it down) เพื่อจะได้ไม่เกิดความรุนแรงและเป็นการเรียกสติกลับมา

การนำคู่ขัดแย้งมาเคลียร์กันจะต้องมีกติกาที่ชัดเจน และต้องแน่ใจว่าทั้งสองฝ่ายเต็มใจที่จะแก้ปัญหา คุณต้องให้โอกาสแต่ละฝ่ายได้พูดมุมมองและความรู้สึกของตนเอง เพื่อสร้างความไว้วางใจต่อกัน
=====

ส่วนปัญหาเรื้อรัง คุณจะต้องรื้อปัญหานั้นกลับมาให้ร้อนขึ้นอีกครั้ง (warm it up) เพื่อให้ต่างฝ่ายกลับไประลึกถึงต้นตอของเรื่อง หวนไปหาความรู้สึกตอนนั้น

เพราะปัญหาก็เหมือนกับการปรุงอาหาร คุณจะต้องทำให้มันอยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดเพื่อที่คุณจะสามารถจัดการได้ง่ายที่สุด สำคัญที่สุดคือการให้ความเป็นธรรมในการพูดของแต่ละฝ่าย

สิ่งที่คุณต้องจำไว้ก็คือ เป้าหมายหลักของการจัดการความขัดแย้ง ไม่ใช่การประนีประนอมอย่างที่หลายคนคิดกัน

แท้จริงแล้วสิ่งที่ดีที่สุดคือการทำให้ทั้งสองฝ่ายกลับมาสานสัมพันธ์จนเกิดความไว้วางใจกันอีกครั้งหนึ่ง นำไปสู่การหาหนทางใหม่ ๆ ในการแก้ปัญหาเพื่อทำงานร่วมกัน
=====

ต่อไปนี้ คือคำแนะนำในกรณีที่คุณกำลังตกอยู่ในสถานการณ์ความขัดแย้งกับใครก็ตาม จงทำตามนี้

1.อย่ารีบร้อน

คุมสถานการณ์ให้ดี อย่างแสดงออกผลีผลาม มิเช่นนั้นคุณออาจจะเสียใจไปตลอดกาล

2.วางเป้าหมายให้ชัดว่าต้องการให้สถานการณ์นี้จบแบบไหน

กำหนดเป้าหมายโดยไม่วอกแวกกับสิ่งอื่นที่เข้ามา

3.อย่าชี้นิ้วใส่หน้าใครหรือพุ่งเป้าไปที่ชื่อของคน

ให้สนใจที่ตัวปัญหามากกว่าตัวบุคคล

4.อย่าเป็นพวก ‘คนดีขี้ตัดสิน’

จงเปิดใจให้กว้างต่อความแตกต่างระหว่างคุณกับเขาเอาไว้เสมอ

5.รับฟังทุกอย่าง

แต่จงฟังอย่างมีประเด็น

หนึ่งทักษะการฟังที่ช่วยบริหารจัดการความขัดแย้งได้ดีคือ Active Listening อ่านและศึกษาเพิ่มเติมที่นี่

6.อย่าเพิ่งด่วนสรุปอะไรทั้งหมดจนกว่าทั้งสองฝ่ายจะได้แสดงออก

7.ลองหาบุคคลที่ 3 ที่ไม่ได้อยู่ฝ่ายไหนมาแชร์มุมมองของเขา

8.อย่าปัดป้องตัวเองเกินไป

ให้คู่กรณีเข้าถึงมุมมองเราในฐานะมนุษย์เหมือนกัน

9.เช็คอุณหภูมิความขัดแย้งเป็นระยะ ๆ

ถ้ายังไม่ดีก็หาทางประวิงเวลามาคุยกันอีกครั้งตอนที่อารมณ์เย็นลงกว่าเดิมอีกนิด

10.อย่าลืมเอาใจเขามาใส่ใจเรา

สุภาพเอาไว้เสมอ และอยากให้เขาทำอย่างไรกับเรา ก็จงทำกับคนอื่นเช่นนั้นด้วยเช่นกัน จำไว้ว่าคุณต้องรักษาความเห็นอกเห็นใจกันและกันเอาไว้

อย่าลืมว่า ‘การจัดการกับปัญหา’ เป็นการทำให้คุณและคนอื่น ๆ เห็นตัวตนของคุณได้ชัดขึ้นนั่นเอง
=====

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากแก้ไขความขัดแย้งในทีมและพัฒนาให้ทีมร่วมมือร่วมใจกันทำงานได้ดียิ่งขึ้น ขอแนะนำหลักสูตร Team Communication & Collaboration คลิกที่นี่

เรียบเรียงจาก “To Resolve a Conflict, First Decide: Is It Hot or Cold?” โดย Mark Gerzon จาก Harvard Business Review 26 มิถุนายน 2014

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 094 959 2645

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Ads, Google Analytics

    Statistics

  • Google Analytics

    Statistics

  • Facebook

    Marketing/Tracking

  • ActiveCampaign

    Functional

  • ActiveCampaign

    Marketing/Tracking

Save