เพิ่มความสำเร็จในชีวิตแค่คิดเชิงกลยุทธ์

เมื่อคุณต้องการไปเที่ยวพักร้อนในช่วงวันหยุดยาว สิ่งแรกที่คุณจะทำคืออะไร

หากคุณตอบว่า “วางแผนว่าจะไปเที่ยวที่ไหน อย่างไร” นั่นคือสิ่งที่ดีสำหรับคุณ

แต่หากลองตั้งคำถามนี้กับชีวิตด้านอื่นๆ ด้วย เช่น  “จะทำอย่างไรกับโปรเจคที่ได้รับมอบหมาย” หรือ “ชีวิตเราจะเป็นอย่างไรในอีก 6 เดือนข้างหน้า” เชื่อไหมว่ามีหลายคนที่ไม่มีคำตอบให้กับคำถามเหล่านี้

====

สำหรับคนที่วางแผนในชีวิตของตัวเองก็มีตั้งแต่กลุ่มที่ “วางแผนวันต่อวัน” ในช่วงก่อนเข้านอนตอนกลางคืนว่าจะทำสิ่งไหนบ้างในวันรุ่งขึ้น กลุ่มที่ “วางแผนรายสัปดาห์” ในช่วงก่อนเริ่มต้นสัปดาห์โดยรวบรวมเหตุการณ์ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านไป มาช่วยกำหนดเป้าหมายและแผนการที่จะทำต่อไปด้วย

เดาได้ไม่ยากเลยใช่ไหมว่ากลุ่มหลังจะมีประสิทธิภาพในการทำงานมากกว่ากลุ่มที่ “วางแผนวันต่อวัน” อย่างเห็นได้ชัด

นอกจากนี้ยังมีกลุ่มที่ “วางแผนรายเดือน” คนกลุ่มนี้จะวางแผนสำหรับ 40 วันข้างหน้า เพราะให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าการวางแผนเพียงแค่ 30 วัน  โดยจะทบทวนเหตุการณ์ต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในรอบเดือน และวางแผนเป็นเรื่อง ๆ ทั้งในด้านชีวิตส่วนตัว และด้านหน้าที่การงานที่อยากทำให้สำเร็จในระยะเวลา 30-40 วันต่อจากนี้ 

====

จากนั้นก็จะจัดกิจกรรมต่างๆ ทั้งด้านงาน ด้านครอบครัว และชีวิตส่วนตัว เข้าไว้ในตาราง จัดลงรายละเอียดทั้งวัน และเวลาที่จะทำกิจกรรมต่างๆ แล้วแบ่งช่วงเวลาสำหรับเรื่องนอกเหนือความคาดหมายที่อาจจะเกิดขึ้นเอาไว้ด้วย

หลังจากที่จัดตารางกิจกรรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว เขาจะมองเห็นภาพในอนาคตได้อย่างชัดเจน

ทั้งหมดนี้ เรียกว่า “การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic thinking)”  ซึ่งทำให้ผู้คนประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ 

เราสามารถนำ “การคิดเชิงกลยุทธ์” มาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันของเราให้ประสบความสำเร็จได้ อย่าให้คำยากๆ อย่างคำว่า “กลยุทธ์” มาทำให้คุณคิดมากจนท้อไปเสียก่อนเลย

====

การคิด “เชิงกลยุทธ์” มีข้อดีอย่างไร 

มันเป็นเครื่องมือที่ดีในการช่วยวางแผน เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี โดยใช้ทรัพยากรต่างๆ โดยเฉพาะ “เวลา” ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดอย่างคุ้มค่า และนี่เป็นเหตุผลบางส่วนที่สนับสนุนว่าเราควรใช้การคิดเชิงกลยุทธ์มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของเราจริง ๆ

====

1.ทุกอย่างจะง่ายขึ้น 

คำกล่าวที่ว่า “เตรียมตัวดี มีชัยไปกว่าครึ่ง” เป็นคำที่ไม่เกินความจริงแต่อย่างใด  ยิ่งเป็นการเตรียมตัวแบบมีแผนการด้วยแล้วล่ะก็ ยิ่งทำให้การจัดการสิ่งต่างๆ ง่าย และประสบความสำเร็จได้รวดเร็วขึ้นแน่นอน 

ตัวอย่างของผู้มีชื่อเสียงที่นำการคิดเชิงกลยุทธ์ไปใช้ก็คือ John C. Maxwell  นักคิดและนักเขียน ผู้ที่ทำให้การเตรียมการสอน และการเตรียมคำกล่าวสุนทรพจน์เป็นเรื่องง่ายขึ้น ด้วยการจัดทำแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับคำคม เรื่องเล่า กรณีศึกษา และบทความ อย่างเป็นระบบไว้ถึง 1,200 แฟ้ม

เมื่อเขาต้องการสืบค้นข้อมูลที่จะนำมาใช้ในงานเขียนก็สามารถสืบค้นได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ทำให้การทำงานของเขาราบรื่นขึ้น

====

2. ช่วยให้เราพร้อมรับสถานการณ์ที่ไม่คาดฝัน 

แม้ว่าสถานการณ์จะไม่เป็นไปตามที่เราคิด แต่การคิดเชิงกลยุทธ์จะเป็นสะพานเชื่อมระหว่างสิ่งที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบันกับสิ่งที่เราวางแผนเอาไว้ ทำให้เกิดความเชื่อมั่นในความสำเร็จที่จะเกิดขึ้น แม้ว่าสิ่งที่คุณต้องการจะคว้ามาได้ยากเพียงใด ก็สามารถเข้าใกล้ขึ้นได้ด้วยการใช้การคิดเชิงกลยุทธ์นี้

การมีเรื่องเร่งด่วนเข้ามาแทรกในชีวิตเป็นเรื่องปกติที่ทุกคนจะต้องเจอ อ่าน จัดการเรื่องเร่งด่วนยังไงให้มีประสิทธิภาพ ได้ที่นี่

====

3.ผิดพลาดน้อยลง 

การคิดตัดสินใจอย่างเร่งรีบ หรือทำอย่างขอไปที โดยไม่ได้กำหนดเป้าหมายเอาไว้ย่อมมีโอกาสเกิดความผิดพลาดมากกว่า เปรียบเสมือนเรายิงธนู โดยไม่ได้เล็งลูกธนูไปยังเป้า หรือหันไปคนละทิศทางกับเป้านั้นย่อมทำให้โอกาสที่จะยิงลูกธนูเข้าเป้าเป็นไปได้ยาก หรือแทบจะไม่มีโอกาสเลยด้วยซ้ำ 

การนำวิธีคิดเชิงกลยุทธ์มาใช้จึงเป็นการช่วย กำหนดทิศทางของการกระทำให้เป็นไปในทางเดียวกับเป้าหมาย วิธีการนี้จะช่วยเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จมากขึ้น

====

4. การคิดเชิงกลยุทธ์เหมาะแก่การเป็นผู้นำ 

การกำกับควบคุมให้การทำงานเป็นไปตามแผนที่วางเอาไว้ เป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นๆ สำหรับผู้นำในองค์กรต่างๆ ทั้งในหน่วยงานขนาดใหญ่ และการบริหารธุรกิจส่วนตัว เนื่องจากวิธีนี้จะทำให้คุณได้รับความเชื่อถือจากบุคคลที่คุณร่วมงานด้วย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับธุรกิจของคุณ

จึงไม่เป็นคำกล่าวที่เกินเลยไป หากจะบอกว่า “การคิดเชิงกลยุทธ์” เหมาะกับทุกคนที่ต้องการประสบความสำเร็จในชีวิต ไม่ว่าว่าคุณจะอยู่ในองค์กรขนาดใหญ่ หรือในธุรกิจขนาดเล็กก็ตาม

====

และนี่คือคำถามที่ใช้เพื่อเริ่มวางแผนชีวิตเชิงกลยุทธ์ 

การตั้งคำถามเชิงกลยุทธ์สามารถช่วยแยกประเด็นปัญหาที่ใหญ่ หรือมีความซับซ้อน ให้เป็นส่วนเล็กๆ ที่มองเห็นภาพง่ายขึ้นได้ โดย “บ๊อบบ์ บีห์ล” ผู้เขียนหนังสือ Masterplanning ได้ยกตัวอย่างคำถามสำหรับการคิดเชิงกลยุทธ์ ดังนี้

คำถามเพื่อกำหนดทิศทาง เราควรทำอย่างไรต่อไป เพราะเหตุใด

คำถามสำหรับองค์กร การควบคุมกำกับในองค์กรเป็นอย่างไร หน้าที่รับผิดชอบของแต่ละคนเป็นอย่างไร การจัดสรรบุคคลเหมาะสมกับตำแหน่งหรือไม่

การจัดการด้านการเงิน รายรับ รายจ่าย กำไรสุทธิที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร ยอมรับได้หรือไม่ และจะบริหารจัดการอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

การกำกับติดตาม การดำเนินการเป็นไปตามที่วางแผนไว้หรือไม่

การประเมินผล การดำเนินการได้คุณภาพตามที่ต้องการหรือไม่ อย่างไร

การปรับปรุง ทำอย่างไรจึงจะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพิ่มขึ้น

หวังว่าคุณจะนำคำถามเหล่านี้ไปออกแบบชีวิตด้วยการคิดเชิงกลยุทธ์และประสบความสำเร็จได้มากขึ้นนะครับ 

====

การคิดเชิงกลยุทธ์เป็นศาสตร์และศิลป์ที่ทุกคนสามารถฝึกฝนได้ ขอแนะนำหลักสูตร Strategic Planning to Implementation ดูรายละเอียด ที่นี่

เรียบเรียงโดย

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Ads, Google Analytics

    Statistics

  • Google Analytics

    Statistics

  • Facebook

    Marketing/Tracking

  • ActiveCampaign

    Functional

  • ActiveCampaign

    Marketing/Tracking

Save