เพิ่มความสำเร็จให้องค์กรด้วยการปลูกฝัง Entrepreneurship Mindset ให้ทีมของคุณ

ในฐานะเจ้าของกิจการ ผมมีหนึ่งความลับที่อยากจะมาแบ่งปัน

มันเป็นความลับในการช่วยให้ธุรกิจผ่านพ้นปัญหา ก้าวข้ามอุปสรรค และเติบโตขึ้นกว่าเดิมแม้จะพบเจอความเปลี่ยนแปลงมากมายขนาดไหนก็ตาม

และที่สำคัญที่สุด นี่คือความลับที่ผู้บริหารและเจ้าของธุรกิจเก่ง ๆ ซึ่งเคยนำพาธุรกิจให้เติบโตท่ามกลางวิกฤตไม่เคยบอกคุณมาก่อน

===

หัวใจของความสำเร็จของธุรกิจคือการพัฒนา Mindset ของคน

คนเก่งที่มีทักษะ ความสามารถ มีมันสมองเป็นเลิศ บริหารจัดการตัวเองได้ดีเยี่ยม เป็นทรัพยากรบุคคลที่ทุกบริษัทต้องการตัว แต่สิ่งสำคัญซึงเป็นรากฐานของทุกสิ่งที่กล่าวไปซึ่งน้อยคนจะพูดถึงก็คือ ทัศนคติ หรือ หลักคิด หรือ Mindset ของคน ๆ นั้น

ไม่มีประโยชน์อะไรเลยถ้าองค์กรคุณมีคนที่เก่งและฉลาดสุด ๆ แต่มี Mindset ที่ไม่ดี หรือ พูดให้ตรงกว่านั้นก็คือ มี Mindset ที่ไม่ได้ช่วยให้องค์กรเติบโต

ซึ่งหนึ่งใน Mindset ที่จะช่วยให้องค์กรก้าวข้ามปัญหาและเติบโตท่ามกลางวิกฤตได้ก็คือ  Entrepreneurship Mindset หรือ ทัศนคติของการเป็นผู้ประกอบการ

คุณอาจจะตั้งคำถามว่าเพราะอะไรพนักงานหรือทีมงานจะต้องมีทัศนคติของผู้ประกอบการด้วย ในเมื่อเขาไม่ใช่ผู้ประกอบการนี่นา จริงอยู่ครับที่ถ้ามองในนิยามหรือความหมายแบบตรงตัวแล้ว พนักงานของเราจะไม่ใช่ผู้ประกอบการโดยตรง แต่ถึงอย่างไรทัศนคติของผู้ประกอบการก็จำเป็นต่อการทำงานแบบมืออาชีพเป็นอย่างมาก

===

ทัศนคติที่แตกต่างกันของ ‘ลูกจ้าง (Employee) กับ ‘ผู้ประกอบการ ( Entrepreneur)’

เพื่อให้คุณเข้าใจเรื่องนี้มากขึ้น ผมจะยกตัวอย่างทัศนคติหรือหลักคิดที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงของคนสองแบบ (ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับตำแหน่งงานนะครับ) นั่นคือ คนที่มองว่าตัวเองคือลูกจ้าง กับ คนที่มองว่าตัวเองคือผู้ประกอบการ คนหนึ่ง

ด้านเป้าหมาย

ลูกจ้างจะต้องการความมั่นคง (Security) VS  ผู้ประกอบการจะมองหาการเปลี่ยนแปลง (Change)

ลูกจ้างโหยหาความมั่นคงปลอดภัยเป็นชีวิตจิตใจ เขาจึงไม่กล้าเสี่ยง ไม่คิด ริเริ่ม ทำอะไรใหม่ ๆ และหวาดกลัวปัญหา อุปสรรค ความท้าทายที่เข้ามาเป็นอย่างมาก

ด้วยทัศนคติเช่นนี้ทำให้เขาทำอะไรแบบพอผ่านไปวัน ๆ ไม่คิด ริเริ่มทำอะไรใหม่ ๆ แม้ว่าสิ่งที่ทำอยู่จะไม่เวิร์ค หรือ ยังดีไม่สุด(มันสามารถทำให้ดีเยี่ยมกว่านี้ได้)

ส่วนผู้ประกอบการคือคนที่มองหาความเปลี่ยนแปลง เขารู้ดีว่าทุกวิกฤตและปัญหาที่ผ่านเข้ามามีโอกาสซ่อนอยู่เสมอ เขายอมรับความจริงที่ว่าทุกสิ่งในโลกล้วนเปลี่ยนแปลงและไม่แน่นอนเสมอ พวกเขาจึงไม่กลัวความเปลี่ยนแปลง ไม่กลัว ปัญหา แถมยังพยายามคิดและทำสิ่งใหม่ ๆ ให้ดียิ่งขึ้นอยู่เสมออีกด้วย

===

ด้านอารมณ์

ลูกจ้างจะหวาดกลัว (Fear) VS ผู้ประกอบการจะมีไฟ (Motivation)

สอดคล้องกับด้านเป้าหมายที่ได้บอกไป เมื่ออยู่ด้วยภาวะยึดมั่นในความมั่นคงปลอดภัย ลูกจ้างก็จะเกิดความกลัวท่วมท้นใจ คนกลุ่มนี้จะหวาดผวากับความเปลี่ยนแปลงและปัญหาต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาเป็นอย่างมาก และภาวนาไม่ให้เกิดปัญหาใดใด

รวมถึงเมื่อเกิดปัญหาขึ้นจริง ๆ พวกเขาจะเชี่ยวชาญเป็นอย่างมากในการบ่น ด่า ว่า แก้ตัว และโทษคนอื่น สิ่งอื่นนอกตัว

ส่วนผู้ประกอบการนั้นเมื่อตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด พวกเขาจึงมองว่าทุกปัญหา ทุกการเปลี่ยนแปลงคือเรื่องปกติและโอกาสที่เข้ามาให้ได้เสี่ยง  พวกเขามีไฟอยู่ภายในที่พร้อมจะเผชิญความท้าทายเหล่านั้นและสร้างความสำเร็จจากความท้าทายเหล่านั้นด้วย

===

ด้านคาแรคเตอร์

ลูกจ้างจะเป็นคนล้มแล้วเลิก (Vulnerability) VS ผู้ประกอบการจะเป็นคนล้มแล้วลุก (Resilience)

แน่นอนว่าทุกคนจะต้องพบเจอปัญหา อุปสรรค ความไม่สะดวกสบาย ซึ่งมีทั้งขนาดเล็กๆ ไปจนถึงขนาดใหญ่และซับซ้อน  คนที่มองว่าตัวเองเป็นลูกจ้างเมื่อพบเจอปัญหาจะเข็ดขยาด

เขาอาจไม่กล้าทำสิ่งนั้นต่อ หลีกเลี่ยงการทำอะไรที่ต้องพบเจอเรื่องคล้ายเดิม หรือ แย่ไปกว่านั้นก็คือ ไม่สามารถลุกขึ้นยืนหยัดได้ใหม่ทำให้ปัญหาลุกลามบานปลายหรือสะสมเรื้อรัง

ส่วนผู้ประกอบการคือคนจำพวก Resilience คือ ล้มแล้วลุกขึ้นใหม่อีกครั้ง คนกลุ่มนี้เหมือนคนที่ฆ่าไม่ตาย ไม่ใช่ว่าจะไม่เศร้า เสียใจ หรือไม่ท้อ ไม่เครียดเวลาเจอปัญหา พวกเขามีความรู้สึกเหล่านั้นไม่ต่างจากลูกจ้าง

สิ่งที่ต่างกันคือพวกเขากำหนดขอบเขตความเศร้าเสียใจ ผิดหวังเอาไว้ แล้วสามารถลุกขึ้นมาได้ใหม่อีกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการแก้ปัญหาหรือปล่อยวางเรื่องที่แก้ไม่ได้แล้วทำสิ่งอื่นต่อไป

===

ด้านความรับผิดชอบ

ลูกจ้างจะรับผิดชอบตามหน้าที่ (Responsibility) VS ผู้ประกอบการจะรับผิดชอบต่อผลลัพธ์ (Accountability)

นี่คืออีกหนึ่งความแตกต่างที่ส่งผลอย่างมหาศาล ลูกจ้างทำตามบทบาทหน้าที่แค่ให้เสร็จไปวัน ๆ คำว่า คุณภาพเป็นเลิศ หรือ คุณภาพเหนือกว่าความคาดหวังของลูกค้าเป็นสิ่งที่ไม่เคยอยู่ในหัวของลูกจ้าง

ส่วนผู้ประกอบการจะโฟกัสที่ผลลัพธ์ เขาอาจไม่ได้ทำตาม Job Description ที่วางไว้แบบเป๊ะ ๆ แต่เขาคำนึงถึงคุณภาพของผลลัพธ์ ความพึงพอใจของลูกค้าหรือผู้ที่เขาส่งมอบงานเป็นหลักนั่นเอง

===

สรุปองค์ประกอบของ Entrepreneurship Mindset in Organization

เมื่อเข้าใจความต่างระหว่างคนที่มองว่าตัวเอง(เป็นแค่) ลูกจ้าง กับ คนที่มองว่าตัวเองคือ ผู้ประกอบการ คนหนึ่งแล้ว คุณจะเห็นภาพแล้วว่าเพราะอะไรเราถึงควรปลูกฝังทัศนคติของผู้ประกอบการให้แก่ทีมงานของเรา

และทั้งหมดนี้คือองค์ประกอบที่สำคัญของ Entrepreneurship Mindset

  • Drive for Change (มีแรงขับดันจากภายใน)
  • Self – Motivation (สร้างไฟให้ตัวเองได้)
  • Resilience (ล้มแล้วลุก มีความถึกทน)
  • Accountability (มีความรับผิดชอบที่แท้จริง)

คำถามก็คือ แล้วเราจะปลูกฝังหรือพัฒนา Entrepreneurship Mindset ให้ทีมงานได้อย่างไร ผมจะบอกวิธีการที่ผมใช้จริงกับองค์กรของตัวเองและนำไปถ่ายทอดให้แก่องค์กรที่ผมเป็นที่ปรึกษาแล้วประสบความสำเร็จมากกว่าสิบองค์กร

===

วิธีการพัฒนา Entrepreneurship Mindset ให้พนักงาน

การจะพัฒนา Entrepreneurship Mindset ขึ้นมาได้ คุณกับพนักงานจำเป็นจะต้องรู้เรื่องสำคัญอย่างน้อย 2 เรื่อง

เรื่องที่ 1 ระยะห่างระหว่างจุดสองจุด

จุด A = ตอนนี้เราอยู่ที่ไหน

จุด B = ปลายทางที่เราต้องการจะไปอยู่ที่ไหน

คุณกับคนในทีมจำเป็นต้องพูดคุยเพื่อให้เห็นภาพจุดทั้งสองให้ชัดเจนที่สุด เพื่อจะได้มองเห็นว่าระยะห่างระหว่างจุดทั้งสองมีมากแค่ไหน ต้องใช้เวลาในการเดินทางนานแค่ไหน แล้วระหว่างทางอาจมีอุปสรรคอะไรเกิดขึ้นบ้าง

หนึ่งในอุปสรรคสำคัญของการสร้าง Entrepreneurship Mindset คือ ความคิดที่ว่าทุกสิ่งที่ทำออกมาต้องประสบความสำเร็จตั้งแต่ครั้งแรก ซึ่งแก้ได้โดยการ ปรับวิธีการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงด้วย Agile Mindset คลิกอ่านที่นี่

===

เรื่องที่ 2 Talent Level Model

นี่คือโมเดลที่เปรียบเหมือนแผนที่ Mindset ของคน มันจะช่วยให้คุณเข้าใจคนในองค์กรได้มากขึ้นว่าตอนนี้คนไหนมี Mindset อยู่ ณ จุดไหน นำไปสู่การเลือกวิธีการพัฒนา Mindset ของเขาได้ดีขึ้นด้วย

โมเดลนี้จะแบ่งคนตามระดับ Mindset ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของความคิดและพฤติกรรมของคน ๆ นั้น เราจะสามารถวิเคราะห์ได้ว่าคน ๆ นี้มี Mindset ที่เข้าใกล้ความเป็นผู้ประกอบการมากกว่าลูกจ้างหรือไม่

ประโยชน์ของการเรียนรู้ Talent Level Model

  • ทำให้เข้าใจถึงรากของพฤติกรรมและความคิดของตัวเองและคนในทีม
  • ทำให้เห็นอุปสรรคหรือสิ่งที่ฉุดรั้งการเติบโตของคนแต่ละคน
  • ได้รู้วิธีการและขั้นตอนในการพัฒนา Mindset ของเราและคนในทีมให้เติบโตอย่างยั่งยืน

ซึ่งรายละเอียดเรื่อง Talent Level Model นั้นมีเยอะมาก ไม่สามารถเขียนอธิบายอย่างละเอียดได้ในบทความนี้ ซึ่งถ้าคุณต้องการเรียนรู้และฝึกฝนโมเดลนี้ ตลอดจนเทคนิควิธีการพัฒนา Entrepreneurship Mindset ให้แก่คนในทีมของคุณ ผมมีโปรแกรมที่สามารถพัฒนาและต่อยอดให้พนักงานของคุณกลายเป็นผู้ประกอบการภายในองค์กรอย่างเต็มตัวแม้ว่าเขาจะไม่เคยมีหลักคิดหรือพฤติกรรมแบบผู้ประกอบการมาก่อนเลยก็ตาม

โปรแกรมนี้ชื่อ Corporate Entrepreneurship Program ดูรายละเอียดที่นี่ 

===

บทความโดย

อ.พีท ชวรณ ธีระกุลชัย   

Business Transformation Coach   

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Ads, Google Analytics

    Statistics

  • Google Analytics

    Statistics

  • Facebook

    Marketing/Tracking

  • ActiveCampaign

    Functional

  • ActiveCampaign

    Marketing/Tracking

Save