4 วิธีใช้สัญชาตญาณเพื่อความสำเร็จ
เคยไหมคะ บางครั้งเวลาเราพบเจอกับสถานการณ์ที่ยุ่งยากหรือมีปัญหาเกิดขึ้นในชีวิต แล้วมีบางสิ่งบางอย่างผุดขึ้นมาจากจิตใต้สำนึกของคุณ ชักนำให้คุณอยากจะตอบสนองต่อสถานการณ์นั้นในทันทีทันใด นั่นเรียกว่าการตอบสนองไปตาม “สัญชาตญาณ”
สัญชาตญาณ เป็นสิ่งที่ลึกลับและเข้าใจได้ยาก มีส่วนคล้าย “ความคิดสร้างสรรค์” ตรงที่เกิดจากแรงผลักดันจากจิตใต้สำนึก แต่มีความแตกต่างกันตรงที่สัญชาติญาติจะเกิดขึ้นแบบ “ปิ๊งแว้บ” ขึ้นมาอย่างฉับพลันแล้วหายไปอย่างไร้ร่องรอย
ความรู้สึกฉับพลันที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่ผู้คนจำนวนมากเลือกที่จะไม่สนใจและปล่อยผ่าน เนื่องจากเป็นสิ่งที่หาเหตุผลมารองรับไม่ได้ แต่อันที่จริงแล้ว “ลางสังหรณ์ที่เกิดขึ้นฉับพลัน” เหล่านี้ สามารถทำให้เราประสบความสำเร็จในชีวิตได้หากเรารู้จักวิธีที่จะจัดการกับลางสังหรณ์เบื้องต้นเหล่านี้ อย่างเช่นที่มีงานวิจัยกล่าวเอาไว้ว่า ความรู้สึกปิ๊งขึ้นมานี้เป็นความรู้สึกที่ชักนำเราไปในทางที่ถูกต้อง
สัญชาติญาณจะแม่นยำที่สุดเรื่องไหน
จะรู้ได้อย่างไรว่าเราจะเชื่อสัญชาตญาณที่เกิดขึ้นได้จริงหรือไม่ วิธีการก็คือให้เราลองสังเกตว่าเรื่องที่เกิดขึ้น เราได้เคยมีประสบการณ์มาแล้วบ่อยครั้งหรือไม่ เช่น หากเราคุ้นเคยกับการสื่อสารกับผู้คนมากหน้าหลายตา ย่อมมีความรู้สึกตามสัญชาตญาณในเรื่องชอบ ไม่ชอบ ไว้ใจ หรือไม่ไว้ใจกับผู้คนที่เราพบเจอกันใหม่ได้อย่างมาก ลักษณะเช่นเดียวกันกับ “นักพยากรณ์ดวงชะตา” ที่จะสามารถนำความชำนาญจากการทำนายดวงชะตาหลายสิบปีมาประเมิน“เจ้าชะตา” ที่เพิ่งพบเจอได้อย่างแม่นยำ และใช้เวลาในทำนายทายทักอย่างรวดเร็วมากกว่านักพยากรณ์ที่ยังมีประสบการณ์น้อย
การใช้สัญชาตญาณถึงมีข้อจำกัดและควรระวังในสถานการณ์ที่ตรงข้ามกับที่กล่าวมาแล้ว นั่นคือหากเรามีประสบการณ์ในเรื่องนั้นน้อยเกินไป หรือหากเราอยู่ในสถานการณ์ที่ทำให้เราไม่สามารถตัดสินใจโดยใช้สัญชาตญาณได้อย่างแท้จริง เช่น เมื่อเกิดความกลัว หรือเกิดอารมณ์ความรู้สึกที่รุนแรงเป็นพิเศษ
สัญชาตญาณมาจาก “จิตใต้สำนึก” ซึ่งตอบสนองต่อสิ่งที่มากระทบได้อย่างรวดเร็วและรวมรวมข้อมูลได้มากกว่า “จิตสำนึก” ดังนั้นหากเป็นเรื่องที่คุณต้องตัดสินใจมีความซับซ้อน ควรฟัง “สัญชาตญาณ” ก่อน แต่หากเป็นเรื่องที่ง่ายกว่าให้ใช้เหตุผลในการหาคำตอบ
ขั้นตอนการใช้สัญชาตญาณเพื่อความสำเร็จ
ขั้นตอนที่ 1 หมั่นฝึกจับความรู้สึกที่เกิดขึ้นครั้งแรก
เมื่อมีความประทับใจแรกเกิดขึ้นมักจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว มันจะพุ่งผ่านจิตใต้สำนึกของคุณเข้ามาเหมือนลูกดอก ให้คุณใช้ความตั้งใจของคุณเป็นตาข่ายที่จะจับเจ้าความรู้สึกเหล่านั้นให้ทัน และให้หมั่นจดบันทึกเมื่อเกิดความรู้สึกตอบสนองต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากกว่าปกติเพื่อให้เข้าใจตัวเองมากขึ้น
ขั้นตอนที่ 2 ตั้งคำถามต่อสิ่งที่เกิดขึ้น
เมื่อเกิดความประทับใจขึ้นให้ตั้งคำถามต่อตัวเองว่า อะไรที่กระตุ้นให้ความรู้สึกนั้นเกิดขึ้น สาเหตุที่มันเกิดขึ้นเป็นเพราะอะไรกันแน่ เป็นเพราะรายละเอียดบางอย่างของเหตุการณ์ที่กระตุ้นให้เราเกิดความรู้สึกที่รุนแรงขึ้นมาหรือเปล่า ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจจะเกิดขึ้นโดยที่เราไม่รู้ตัว
ขั้นตอนที่ 3 ตรองดูผลที่จะเกิดขึ้นตามมา
ให้เวลาตัวเองสักนิด นั่งลงเงียบๆ และไต่ตรองดูว่า “จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง หากเราไว้ใจความรู้สึกที่เกิดขึ้น และลองทำตามความรู้สึกพวกนี้” บางครั้งการตัดสินใจทำสิ่งต่างๆ ขึ้นอยู่กับว่าผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นหลังจากเราได้กระทำไปแล้วนั้นจะเป็นอย่างไร วิธีนี้จึงช่วยให้คุณประเมินสถานการณ์ได้เหมาะสมขึ้น
ขั้นตอนที่ 4 ตรวจสอบสมมติฐาน
นี่เป็นขั้นตอนสุดท้ายที่จะช่วยให้ความสำเร็จเกิดขึ้นจากการใช้สัญชาตญาณ คุณควรจะตรวจสอบสมมติฐานของตัวเอง เพื่อให้มั่นใจว่าการโต้ตอบที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดมาจากข้อมูลที่ผิดพลาด หรือใช้ความรู้สึกเพียงอย่างเดียวในการโต้ตอบออกไป วิธีนี้จะช่วยให้เราใช้สัญชาตญาณได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ความสำเร็จในชีวิตเกิดขึ้นมาได้ไม่ยาก หากใช้ “สัญชาตญาณ” ร่วมด้วยในการตัดสินใจทำสิ่งต่างๆ อย่างที่ผู้ประสบความสำเร็จในชีวิตท่านอื่นๆ ได้ใช้มาแล้ว เพียงแค่เราต้องหมั่นฝึกฝนและรู้วิธีที่ถูกต้องในการใช้สัญชาตญาณ คุณอาจจะต้องแปลกใจหากพบว่า สิ่งนี้จะทำให้การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนทำได้ง่ายกว่าการใช้เหตุผลล้วนๆ ในการตัดสินใจเสียอีกค่ะ
บทความโดย Learning Hub Thailand
เรายินดีออกแบบหลักสูตรเฉพาะ เพื่อพัฒนาคนในองค์กรของคุณ ปรีกษาเราได้ที่ Line @lhtraining
Recent Posts
- 3 กติกาง่าย ๆ ที่ทำให้ทุกฝ่ายมีความสุขในการประชุม
- 5 เคล็ดลับ เปลี่ยนคนเบื่องาน ทะยานสู่ TOP 5 ในออฟฟิศ
- 5 เคล็ดลับ เปลี่ยนวันจันทร์ ให้เป็นวันสุข
- 5 วิธีสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานเจ้าอารมณ์
- 7 ขั้นตอนทำงานร่วมกับเจ้านายดุให้มีประสิทธิภาพและมีความสุข
- วิธีทำชีวิตช้าลงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
- 5 เทคนิครับมือกับเพื่อนร่วมงานเจ้าปัญหา
- 7 เทคนิค เลือกลูกน้องอย่างไรไม่ให้เปลี่ยนงานบ่อย
- 4 ขั้นตอน ลดความขัดแย้งภายในทีม
- 8 วิธีสร้างความน่าเชื่อถือในที่ทำงาน