เรียนรู้จากงานอย่างไรให้เก่งเร็วขึ้น
คนส่วนใหญ่มีทัศนคติว่าการศึกษาเรียนรู้ต้องเกิดขึ้นในตอนที่เราเป็นเด็ก ต้องเกิดขึ้นในโรงเรียนและมหาวิทยาลัย ต้องเกิดขึ้นในระบบที่กระทรวงศึกษาธิการออกแบบมาเท่านั้น
ซึ่งถ้าทัศนคติเช่นนั้นทำให้ชีวิตดีขึ้นจริง คนส่วนใหญ่บนโลกก็คงประสบความสำเร็จไปแล้ว คนที่ประสบความสำเร็จมีคุณสมบัติประการหนึ่งที่เหมือนกันนั่นคือ การเป็นนักเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ตลอดเวลา
====
ที่บอกแบบนี้ไม่ได้หมายความว่าจะมาสนับสนุนให้คุณไปเรียนต่อเอาใบปริญญามาประดับฝาบ้านเพิ่ม เพราะการทำเช่นนั้นก็หมายความว่าคุณยังหนีไม่พ้นทัศนคติของคนส่วนใหญ่ข้างต้นอยู่ดี
การเรียนรู้ที่แท้จริงเกิดขึ้นจากหัวใจที่เปิดกว้างและกระหายที่จะรู้ เข้าใจ และเปลี่ยนแปลง
เมื่อมีทัศนคติที่ถูกต้องแล้วต่อให้คุณมีอาชีพการงานที่ต้องทำทุกวันคุณก็สามารถเรียนรู้ได้อยู่ตลอด
เพราะการทำงานก็เป็น ‘ห้องเรียน’ ที่ดีที่สุดห้องหนึ่งเลยทีเดียว
====
เราจะเรียนรู้จากการทำงานได้อย่างไร
ในตำราการบริหารจัดการยุคใหม่หรือ Management 3.0 และหลักการบริหารแบบ Agile (หลักการทำงานที่เน้นการสื่อสารกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย) มีเครื่องมือหนึ่งที่มีประโยชน์มากในการเรียนรู้จากการทำงานจริง
เครื่องมือนั้นชื่อ Celebration Grid
Celebration Grid คือ แผนภาพไดอะแกรมที่เป็นแกนตั้งฉากระหว่างพฤติกรรมกับผลลัพธ์ที่ได้ ซึ่งจะบอกส่วนผสมระหว่าง ความสำเร็จ (Success) กับ ความล้มเหลว (Failure) ที่เกิดขึ้น
ในขณะที่คนส่วนใหญ่โหยหาแต่ความสำเร็จ ซึ่งดูเผิน ๆ ก็เหมือนจะเป็นเรื่องที่ถูกต้อง แต่การทำเช่นนั้นจะทำให้เราไม่ได้เรียนรู้และไม่เกิดนวัตกรรม การแก้ปัญหาใหม่ ๆ
====
แก่นแท้ของการเรียนรู้จากความล้มเหลว
Celebration Grid แสดงให้เราเห็นชัดเจนว่า ณ พื้นที่ที่ประกอบไปด้วยความสำเร็จจากการทำตามสูตรเดิม และ ความล้มเหลวจากการทดลองอะไรใหม่นั่นแหล่ะคือพื้นที่ที่เราจะได้เรียนรู้มากที่สุด
เพราะถ้าเรายึดติดกับความสำเร็จเราจะไม่กล้าทดลองอะไรใหม่ ๆ และนั่นจะทำให้เราไม่ได้เรียนรู้ ส่วนถ้ามุทะลุบ้าบิ่นทำแต่สิ่งใหม่
ทดลองมันร่ำไปเราอาจจะพบแต่ความผิดพลาดล้มเหลวจนสูญเสียกำลังใจและไม่ได้เรียนรู้เช่นกัน
คำถามสองข้อที่เราควรถามตัวเองและทีมเมื่อทำโปรเจคต่าง ๆ เสร็จสิ้น(หรือทำงานเสร็จในแต่ละสัปดาห์) ก็คือ
อะไรบ้างที่เราทำได้ดี (เรามีหลักปฏิบัติที่ดีอย่างไรบ้าง)
อะไรบ้างที่เราได้เรียนรู้ (เราได้ทดลองทำอะไรใหม่ ๆ บ้าง)
ถ้าคุณรักษาสมดุลระหว่างคำถามทั้งสองข้อนี้ไปเรื่อย ๆ คุณจะพบว่าตัวเองกลายเป็นนักเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพสูงที่มีห้องเรียนที่ชื่อว่า ‘การทำงาน’ นั่นเอง
เมื่อฝึกฝนตัวเองให้เรียนรู้จากงานได้สักระยะหนึ่งแล้ว คุณสามารถต่อยอดไปสู่ทีมและองค์กรได้ด้วย 4 เทคนิคสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ภายในทีม คลิกอ่านที่นี่
====
ทักษะสำคัญที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุดก็คือการโค้ชและการให้ Feedback ขอแนะนำหลักสูตร High Impact Coaching and Feedback ดูรายละเอียดที่นี่
เรียบเรียงโดย อ. เวย์ เวสารัช โทณผลิน
Productivity and Team Collaboration Facilitator
Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข
ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962
Recent Posts
- 3 กติกาง่าย ๆ ที่ทำให้ทุกฝ่ายมีความสุขในการประชุม
- 5 เคล็ดลับ เปลี่ยนคนเบื่องาน ทะยานสู่ TOP 5 ในออฟฟิศ
- 5 เคล็ดลับ เปลี่ยนวันจันทร์ ให้เป็นวันสุข
- 5 วิธีสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานเจ้าอารมณ์
- 7 ขั้นตอนทำงานร่วมกับเจ้านายดุให้มีประสิทธิภาพและมีความสุข
- วิธีทำชีวิตช้าลงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
- 5 เทคนิครับมือกับเพื่อนร่วมงานเจ้าปัญหา
- 7 เทคนิค เลือกลูกน้องอย่างไรไม่ให้เปลี่ยนงานบ่อย
- 4 ขั้นตอน ลดความขัดแย้งภายในทีม
- 8 วิธีสร้างความน่าเชื่อถือในที่ทำงาน