วิธีใหม่ในการฝึกเข้าใจผู้อื่น
ในโลกเรานี้ ‘คนฉลาด’ มีเยอะ ‘คนเก่ง’ มีมาก แต่เรื่องจริงที่คุณต้องตระหนักเอาไว้เสมอก็คือทั้งความฉลาดและความเก่งไม่ได้รับประกันว่าจะทำให้ใครประสบความสำเร็จเสมอไป
เพราะเอาเข้าจริงแล้วทั้งสองสิ่งนั้นล้วนมี ‘ขั้นกว่า’ ที่จะช่วยให้ใครสักคนไปได้ไกลกว่าเดิม ขั้นกว่าความฉลาดและความเก่งนั้นก็คือ การเป็น ‘คนใจกว้าง’ ที่สามารถเข้าใจผู้อื่นได้ดีนั่นเอง
====
‘เบนจามิน แฟรงคลิน’ รัฐบุรุษแห่งสหรัฐอเมริกามีชื่ออยู่ในตำนานแห่งคนประสบความสำเร็จตลอดกาล เพราะว่าเขาไม่เพียงแต่จะเป็นคนที่ฉลาดเท่านั้น แต่เขายังเป็นคนเฉลียวฉลาดที่รู้ว่าตัวเองไม่อาจที่จะรู้ไปทุกเรื่องได้
ดังนั้น เมื่อไหร่ก็ตามที่จะต้องถกเถียงกับคนอื่นในเรื่องต่าง ๆ เขาจะเปิดใจให้กว้างเพื่อ… รับฟัง
====
ประวัติศาสตร์สอนเรามาตลอดว่า คนมักจะเลือกผู้นำทั้งทางการเมืองและธุรกิจโดยมองหาคนที่คาดเดาได้ เข้มแข็งหนักแน่น ไม่อื้อฉาว
แต่งานวิจัยชี้ให้เห็นว่า คนที่เราต้องการให้เป็นผู้นำจริง ๆ มีลักษณะตรงข้ามกันด้วยซ้ำ นั่นคือเป็นคนที่เปี่ยมด้วยความยืดหยุ่นและมีความคิดสร้างสรรค์
และนั่นคือบุคลิกของเบนจามิน แฟรงคลิน เราอยากได้คนฉลาดและแข็งแกร่งทางความคิดพอจะชักจูงคนอื่นได้ แต่ก็ยังมีความยืดหยุ่นพอที่จะรับฟังเรื่องใหม่ ๆ และกล้ายอมรับว่าตัวเองผิดเพื่อที่จะก้าวไปสู่พื้นที่ที่ไม่เคยก้าวไปได้ด้วย
====
ปกติผู้นำและคนฉลาดมักจะหัวดื้อ แต่อยากให้คุณลองนึกภาพคนฉลาดที่หัวไม่ดื้อดูว่าคงจะเป็นคนที่ยอดเยี่ยมไม่น้อย
มีนักวิจัยเสนอแนวคิดที่เรียกว่า “ความฉลาดในแบบมนุษย์” ซึ่งหมายถึงความสามารถที่จะรับฟังและเปลี่ยนแปลง ขณะเดียวกัน ก็มี Sense ที่ยอดเยี่ยมว่าเมื่อไหร่ควรปรับและเมื่อไหร่ที่ไม่ควรปรับ
ความฉลาดและใจกว้างควรประกอบไปด้วย สิ่งเหล่านี้ …
เคารพในความคิดและมุมมองของคนอื่น
อย่ามั่นใจในความฉลาดของตัวเองเกินไปนัก
แยกแยะระหว่างอีโก้และความฉลาดที่แท้จริงออกจากกันได้
เต็มใจที่จะทบทวนความคิดของตัวเองใหม่อีกครั้ง
====
เคล็ดลับส่งตรงจากเบนจามิน แฟรงคลินในการเป็นผู้นำและคนฉลาดที่ใจกว้าง ซึ่งเราสามารถนำมาปรับใช้ได้เลย ก็คือ การกระหายที่จะเรียนรู้และเติบโต เพราะสิ่งนี้จะเหมือนการปล่อยแก้วให้ว่างครึ่งแก้ว เพื่อรอการเติมเต็มอยู่เสมอ และการเรียนรู้เพื่อเติบโตนี้เอง ที่จะช่วยทำให้ผู้นำคนหนึ่งมีความมั่นใจและแข็งแกร่งยิ่งกว่าเดิม
ประโยคพูดสุดดังของแฟรงคลินที่ว่า “ผมอาจจะผิดก็ได้นะ แต่ผมคิดว่า…. “ทำให้อีกฝ่ายไม่รู้สึกกดดันเวลาที่จะเสนอความเห็นใด ๆ ขณะเดียวกัน ตัวเขาก็ดูเปิดใจที่จะรับฟังอีกฝ่ายเพราะแสดงท่าทีแล้วว่า ไม่ใช่ว่าตัวเองจะถูกเสมอไป
และทั้งหมดนี้คือวิธีง่าย ๆ สำหรับการฝึกใจให้กว้างเพื่อก้าวไปสู่ความสำเร็จในการทำงานอย่างแท้จริง
====
เรียบเรียงจาก “New Way to Become More Open-Minded โดย Aby Shane Snow จาก Harvard Business Review 20 พฤศจิกายน 2018
เรียบเรียงโดย Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข
ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 094 959 2645
Recent Posts
- 3 กติกาง่าย ๆ ที่ทำให้ทุกฝ่ายมีความสุขในการประชุม
- 5 เคล็ดลับ เปลี่ยนคนเบื่องาน ทะยานสู่ TOP 5 ในออฟฟิศ
- 5 เคล็ดลับ เปลี่ยนวันจันทร์ ให้เป็นวันสุข
- 5 วิธีสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานเจ้าอารมณ์
- 7 ขั้นตอนทำงานร่วมกับเจ้านายดุให้มีประสิทธิภาพและมีความสุข
- วิธีทำชีวิตช้าลงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
- 5 เทคนิครับมือกับเพื่อนร่วมงานเจ้าปัญหา
- 7 เทคนิค เลือกลูกน้องอย่างไรไม่ให้เปลี่ยนงานบ่อย
- 4 ขั้นตอน ลดความขัดแย้งภายในทีม
- 8 วิธีสร้างความน่าเชื่อถือในที่ทำงาน