จงช้าลง เพื่อการตัดสินใจที่ดีขึ้นท่ามกลางสถานการณ์วิกฤต

ข่าวเกี่ยวกับการระบาดของไวรัสโควิด-19 เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา ส่งผลให้ผู้คนต้องตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ มากมาย ตั้งแต่การยกเลิกแผนการเดินทางท่องเที่ยว ไปจนถึงการคิดว่าจะป้องกันตัวเองและคนรักให้ดีที่สุดได้อย่างไร

มีหลายเหตุผลทางจิตวิทยาที่บอกว่าทำไมพวกเราถึงพบว่าการตัดสินใจในช่วงนี้เป็นเรื่องที่ ‘ยากลำบาก’

ข้อแรก เพราะโรคระบาดนี้เป็นของจริง

ผู้คนทั่วโลกเสียชีวิตจากมัน และการระบาดก็เกิดขึ้นแล้วขยายเป็นวงกว้างมากพอที่จะมีข่าวเกี่ยวกับผู้ติดเชื้อรายใหม่ทุกวัน ซึ่งสมองของมนุษย์ก็มักจะผูกความสนใจไว้กับภัยคุกคามลักษณะนี้ ทำให้การระบาดของโควิด-19 ดึงความสนใจของเราในแบบที่ภัยคุกคามที่ดูไกลตัว อย่างภาวะโลกร้อนหรือการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศไม่สามารถทำได้
=====

ข้อสอง เพราะมีความไม่แน่นอนของการระบาดสูงมาก

ม่แน่นอนทั้งในแง่ว่าจริง ๆ แล้วมีคนติดเชื้อไวรัสนี้ไปกี่คนแล้ว แล้วตอนนี้มันแพร่กระจายเป็นวงกว้างรวดเร็วแค่ไหน และสุดท้ายจะมีคนติดไวรัสนี้ทั้งหมดกี่คน

ต้องบอกว่าการคาดการณ์เรื่องต่าง ๆ ของมนุษย์จะเป็นไปในลักษณะที่ทำความเข้าใจอัตราการเพิ่มแบบเป็นเส้นตรงหรือค่อนข้างคงที่ ในขณะที่การประมาณการในการเพิ่มขึ้นแบบอัตราเร่ง อย่างเช่น การเพิ่มแบบ Exponential ที่ในตอนแรกอาจมีจำนวนผู้ติดเชื้อไม่มากนัก แต่แล้วก็สามารถเพิ่มจำนวนขึ้นได้อย่างมหาศาล เราประมาณการได้ไม่เก่งเลย ความไม่แน่นอนลักษณะนี้กระตุ้นความสนใจของเราได้เป็นอย่างดี
=====

ข้อสาม เพราะมนุษย์มีส่วนร่วมในการควบคุมการระบาดได้น้อยมาก

เราสามารถร่วมมือกันล้างมือ หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้า และเว้นระยะห่างทางสังคมได้ (Social Distancing) แต่ยังมีอีกหลายเหตุการณ์ที่เราไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งมนุษย์ไม่ชอบสถานการณ์ที่ไม่สามารถมีส่วนร่วมในการกำหนดผลลัพธ์ได้มากนักแบบนี้ เพราะมันจะสร้างความกังวลใจให้เรา เราจึงอยากจะทำอะไรสักอย่างเพื่อสร้างอำนาจในการควบคุมของเราขึ้นมา
=====

ข้อสุดท้าย ได้แต่ตั้งรับ

ความพยายามทั้งหลายในการยับยั้งการระบาดของไวรัส โดยพื้นฐานแล้วคือการป้องกันเป็นหลัก หมายความว่าถ้ามาตรการต่าง ๆ สำเร็จ จะมีคนบางกลุ่มไม่ป่วย แต่โชคร้ายที่เราไม่สามารถทดลองมาตรการต่าง ๆ ได้ทั้งหมด ผลลัพธ์จึงกลายเป็นว่าเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่ามาตรการไหนหรือการกระทำใดที่จะทำให้เชื้อโรคหายไปกันแน่

ทั้ง 4 ปัจจัยนี้ส่งผลต่อพฤติกรรมและการตัดสินใจของเราในช่วงนี้ ทั้งภัยคุกคาม ความไม่แน่นอน และความวิตกกังวล ส่งผลให้เราตัดสินใจโดยมองระยะสั้นเป็นหลัก
=====

ความไม่แน่นอนทำให้เราพยายามรับข้อมูลข่าวสารให้มากขึ้น และใช้เวลาส่วนใหญ่ติดตามข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับไวรัสและการระบาดของมัน ซึ่งการรับรู้ข่าวสารเป็นสิ่งที่ดี แต่การรับแต่ข่าวร้ายจะทำให้เราเครียด และถูกเบี่ยงเบนความสนใจจากเรื่องอื่น ๆ ไป

เช่นเดียวกับการที่เราไม่สามารถทำอะไรกับการระบาดได้มากนัก ทำให้ผู้คนเริ่มทำอะไรบางอย่างเพื่อให้รู้สึกว่ามีอำนาจควบคุมเพิ่ม
เริ่มจากการซื้อสบู่ล้างมือและเจลแอลกอฮอล์ ซึ่งการซื้อเหล่านี้ดูมีเหตุผล เพราะสิ่งเหล่านั้นช่วยฆ่าเชื้อโรคบนร่างกายและพื้นผิวต่าง ๆ ที่อาจก่อให้เกิดการระบาดของไวรัสได้

แต่เมื่อของเหล่านี้ขาดตลาด ผู้คนก็เริ่มรู้สึกว่าต้องเพิ่มความมั่นใจในเรื่องของการควบคุมอะไรบางอย่างอีก ทำให้มีของขาดตลาดเพิ่มขึ้น ตั้งแต่กระดาษชำระ กระดาษเช็ดมือ และน้ำดื่มบรรจุขวด การซื้อของเหล่านี้ดูมีเหตุผลน้อยลง (และแน่นอนว่าผู้เชี่ยวชาญก็ไม่ได้แนะนำด้วย)
แต่การซื้อของพวกนี้ก็ช่วยลดความวิตกกังวลของคนบางกลุ่มลงชั่วคราว ด้วยการทำให้พวกเขารู้สึกว่าได้ทำอะไรบางอย่างแล้วนั่นเอง
=====

ในด้านการเงิน บางคนที่เผชิญกับความวิตกกังวลก็ตัดสินใจอย่างรวดเร็ว จนดัชนีหุ้นในตลาดต่าง ๆ ตกลงถึง 20% ในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนมีนาคม มีผู้คนมากมายพยายามที่จะขายหุ้น (และแน่นอนว่าหลายคนขายไปแล้ว) แต่นี่เป็นการขาดทุนในปัจจุบันที่น่าจะกลับมาเป็นปกติในอนาคต (เหมือนที่ตลาดหุ้นเคยเป็นมาทุกครั้ง)

จะเห็นได้ว่าผู้คนอยากทำอะไรสักอย่างในเวลาวิกฤตเช่นนี้ แม้หลายเรื่องการไม่ทำอะไรเลยดูจะเป็นการกระทำที่รอบคอบและเข้าท่ากว่าก็ตาม

คำถามก็คือ คุณจะทำอย่างไร ให้ตัดสินใจได้ดีที่สุดท่ามกลางปัจจัยเชิงจิตวิทยาเหล่านี้
วิธีการที่ดีที่สุดในการต่อต้านเสียงไซเรนในหัว ว่าให้ลงมือทำอะไรสักอย่าง ก็คือ ‘การทำตัวให้ช้าลง’

การตื่นตระหนกทำให้ผู้คนอยากทำอะไรสักอย่างทันที เพื่อหลีกเลี่ยงภัยคุกคาม (ทางความคิด) แต่การกระทำส่วนใหญ่นั้นมักจะไม่รอบคอบท่ามกลางการระบาดของไวรัสที่เป็นวงกว้างมากขึ้นนี้
=====

การทำตัวให้ช้าลง ทำให้คุณสามารถใช้เหตุผลที่แยบยลพร้อมข้อมูลในการช่วยหาข้อสรุป ซึ่งเป็นสิ่งที่ Keith Stanovich และ Richard West เรียกว่าระบบที่ 2 จากระบบทางจิตใจทั้งสองของมนุษย์

ทุกวันนี้มีข้อมูลมากมายเกี่ยวกับไวรัส และการปฏิบัติตัวต่อมัน จงใช้เวลาในการอ่านและย่อยข้อมูลก่อนตัดสินใจเรื่องสำคัญเกี่ยวกับตัวคุณและธุรกิจ

มีหลายสิ่งที่พวกเราต้องทำในหลายสัปดาห์และหลายเดือนข้างหน้า แต่ทุกการกระทำควรมีพื้นฐานมาจากความละเอียดรอบคอบบนฐานของข้อมูลและการถกเถียงจากผู้เชี่ยวชาญ ไม่ใช่การลงมือทำตามพาดหัวข่าวหรือทวิตเตอร์อย่างรวดเร็ว
=====

สิ่งเหล่านี้เป็นจริงสำหรับทุกสถานการณ์ที่ต้องการความนิ่งสงบ และจะดีกว่าถ้าคุณสามารถอยู่เฉยเพื่อรอข้อมูลได้

Stanovich กับ West บอกว่าระบบที่ 1 (Thinking Fast)ที่หลายคนใช้ตัดสินใจ เป็นระบบที่เร็วและใช้เหตุผลจากสัญชาตญาณ ซึ่งตอบสนองตามสภาวะทางจิตใจหรืออารมณ์ของคุณในปัจจุบัน การตัดสินใจที่รวดเร็วมักเต็มไปด้วยอคติ นี่คือเหตุผลที่คุณต้องฝึกช้าลง (Thinking Slow) เพื่อให้มั่นใจว่าการตอบสนองอย่างรวดเร็วของคุณนั้นได้รับการรับรองจริง ๆ

หนึ่งในวิธีการฝึกคิดช้าและตอบสนองช้าลงเพื่อการตัดสินใจที่ดีขึ้นคือการฝึก Self – Awareness ดูวิธีการฝึกแบบเป็นขั้นตอนได้ที่นี่
=====

โดยสรุป เราต้องการจะบอกคุณว่าภายใต้การพัฒนาไปอย่างช้า ๆ ของวิกฤตโรคระบาด สิ่งที่ดีที่สุดคือการใช้เวลาให้มากขึ้นเมื่อต้องตัดสินใจ ไม่ใช่ตัดสินใจบนอารมณ์ความรู้สึกชั่ววูบ
เพราะการกระทำที่รวดเร็วอาจลดความวิตกกังวลของคุณในระยะสั้น แต่มันมักจะสร้างปัญหาที่มากขึ้นหรือใหญ่กว่าปัญหาเดิมที่มันจัดการได้เสมอ

เพื่อให้คุณและทีมของคุณมีทักษะในการแก้ไขปัญหาและตัดสินใจได้ดีขึ้น ขอแนะนำหลักสูตร Problem Solving & Decision Making ที่จะช่วยให้การตัดสินใจของคุณและทีมของคุณมีประสิทธิภาพสูงสุดไม่ว่าจะเกิดปัญหาอะไรก็ตาม ดูรายละเอียดที่นี่


=====

เรียบเรียงโดย อ. ป้อป มาติก ตั้งตรงจิตร, CFA, FRM ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารและการเจรจาต่อรอง

อ้างอิง Slow Down to Make Better Decisions in a Crisis by Art Markman (Harvard Business Review, March 2020.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Ads, Google Analytics

    Statistics

  • Google Analytics

    Statistics

  • Facebook

    Marketing/Tracking

  • ActiveCampaign

    Functional

  • ActiveCampaign

    Marketing/Tracking

Save