คุณน่าจะเคยได้ยินคำว่า Agile หรือ Agility เพราะมันเป็นคำสุดฮอตในโลกการทำงานยุคนี้
คำ ๆ นี้ฮิตสุด ๆ ในบริษัท Start Up ที่ต้องทำงานด้าน Software หรือต้องสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ขึ้นมาตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แถมมีความซับซ้อนไม่น้อยอีกด้วย
ความหมายตามพจนานุกรมของคำว่า Agile หมายถึง คล่องตัว ปราดเปรียว
แต่คำว่า Agile ในแง่ของการนำไปใช้ในหน่วยงานหรือองค์กรนั้น หมายถึง แนวคิดในการทำงานที่เน้นผลลัพธ์มากกว่าขั้นตอน และมุ่งเน้นที่การสื่อสารผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายอย่างสม่ำเสมอและปรับเปลี่ยนหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์อยู่ตลอดเวลาเพื่อให้เหมาะกับการใช้งานจริง
===
เมื่อพิจารณา Agile กันอย่างแท้จริง จะเห็นว่ามันไม่ใช่ How to ไม่ใช่สูตรสำเร็จ และไม่มีวิธีการที่ระบุแบบเฉพาะเจาะจงว่าคุณต้องทำอะไร 1-2-3-4
เพราะถ้าพูดกันอย่างถึงที่สุดแล้วหัวใจของคำว่า Agile อยู่ที่ Mindset หรือ วิธีคิดนั่นเอง
ก่อนจะพาไปทำความรู้จัก Agile Mindset ให้มากขึ้นเพื่อให้คุณสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างแท้จริง ขอพูดถึง Mindset ที่ดีและมีประโยชน์ไม่แพ้กัน
เพียงแต่ว่า Mindset นี้วางตัวอยู่คนละขั้วกับ Agile Mindset เลยทีเดียว
===
ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ในทางจิตใต้สำนึกหรือความต้องการของมนุษย์ เมื่อต้องการจะสร้างสรรค์อะไรสักอย่างเราก็มักจะคิดว่า “จะสร้างมันขึ้นมาอย่างไรให้คงทนถาวร หรือให้สิ่งนั้นคงอยู่ไปจนชั่วลูกชั่วหลานให้ได้”
และนั่นก็ทำให้คำว่า ‘ความยั่งยืน’ หรือ ‘Sustainability’ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ‘Build-to-Last’ ถูกพัฒนาขึ้นมาเป็น Mindset หรือกรอบความคิดรูปแบบหนึ่งซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อให้สิ่งที่คิดหรือรังสรรค์ออกมานั้นสามารถสร้างประโยชน์ได้นานที่สุดโดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงปรับปรุง เข้าทำนองสร้างขึ้นหนึ่งครั้งคงอยู่ไปจนชั่วนิรันดร์ได้ยิ่งดี
ดูเผิน ๆ วิธีคิดเช่นนี้ก็น่าจะดีไม่น้อย แต่…เหรียญทุกเหรียญมักจะมี 2 ด้านเสมอ
===
พลิกดูอีกด้านหนึ่งของ Mindset แบบ Build-to-Last จะเห็นว่ามันคือการหลงคิดไปว่าทุกอย่างจะอยู่ยั้งยืนยง หรืออยู่ไปชั่วนิรันดร์ จนไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้
แต่โลกใบนี้ไม่มีสิ่งใดคงอยู่ถาวร ทุกสิ่งย่อมเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ การคิดแบบนี้จึงค่อนข้างอันตราย
การยึดติดในความคิดแบบ Build-to-Last จะยิ่งทวีความอันตรายในโลกยุคที่ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลง ผันผวน ไม่แน่นอน และคาดเดาไม่ได้เช่นนี้
===
Agile Mindset นั้นคือแนวคิดที่อยู่อีกฝั่งหนึ่งของ Build-to-Last Mindset มันเป็นกรอบความคิดที่มุ่งเน้นสู่การเปลี่ยนแปลงที่… Work จริงๆ
ถึงตอนนี้คุณอาจมีเสียงในหัวดังขึ้นมาว่า “อะไรนะ การเปลี่ยนแปลงที่ Work จริงๆ น่ะเหรอ”
“นี่มันไม่ใช่ Concept ของการทำงาน Project เหรอ”
ใช่แล้ว แนวคิดการทำงาน Project กับ แนวคิดเรื่องการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ได้สิ่งที่ Work จริง ๆ คือเรื่องเดียวกัน
ทำความเข้าใจแนวคิดต่อไปนี้ให้ดี แล้วคุณจะพบว่าการนำแนวคิดแบบ Agile ไปใช้จริงเพื่อให้ Project ประสบผลสำเร็จเป็นเรื่องที่คุณทำได้จริง
===
Project Management หรือ การบริหารงานโครงการเป็นงานประเภทหนึ่งในหน่วยงานที่มีลักษณะของการรวมตัวกันของคนทำงานเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่ง โดยมีเป้าหมายเพื่อทดลอง / สร้าง / พัฒนา / แก้ปัญหาที่ไม่เคยเกิดขึ้นหรือไม่เคยทำได้มาก่อน
พูดอีกนัยหนึ่งก็คือ การบริหารงานโครงการเป็นงานที่คาดหวังการเปลี่ยนแปลงบางอย่างให้เกิดขึ้นในองค์กรนั่นเอง
===
มีคนทำงานจำนวนไม่น้อยที่เป็นคนซึ่งเก่งมากในองค์กร แต่พอถึงเวลาที่ต้องทำงาน Project กลับไม่ประสบผลสำเร็จอย่างที่คิด
เพราะโดยทั่วไปแล้วคนที่เก่งในองค์กรมักจะเก่งงานตาม Process ขององค์กร ซึ่งงานเหล่านั้นมีเป้าหมายก็คือทำให้เกิดผลลัพธ์ที่แน่นอนและควบคุมได้
และงานรูปนั้นนั่นเองที่จำเป็นต้องมี Build-to-Last Mindset
===
แต่งาน Project นั้นต่างออกไป มันมีรูปแบบที่ตรงกันข้ามกับงาน Routine หรือ งานประจำวันของพนักงานแบบคนละขั้ว เป้าหมายหนึ่งของงาน Project ก็คือการทำทุกอย่างเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่… Work จริงๆ
ด้วยแนวคิดนี้เราจึงอาจจะต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการไปเรื่อยๆ ทดลองอะไรที่อาจจะ Fail แล้ว Fail อีก แต่สุดท้ายคือกระบวนการทั้งหมดนั้นต้องคล่องตัว มีการปรับเปลี่ยนที่รวดเร็วว่องไว เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่มัน Work อย่างแท้จริง (ไม่ใช่ยั่งยืนอย่างแท้จริง)
ฉะนั้นหากคุณจำเป็นต้องกระโดดมาจับงาน Project จริงๆ สิ่งแรกที่คุณต้องคิดอาจไม่ใช่การหาวิธีที่จะทำให้ Project นั้น Complete
แท้จริงแล้ว คุณจำเป็นต้องยอมทิ้งกรอบความคิดแบบ Build-to-Last แล้วหันมาลองปลูกฝังกรอบความคิดแบบ Agile แล้วหลังจากนั้น How to ในการทำ Project ของคุณก็จะเปลี่ยนไปอย่างแน่นอน
หนึ่งวิธีทำงานแบบ Agile คือการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ภายในทีมของคุณ อ่าน 4 เทคนิคสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ภายในทีม คลิกที่นี่
===
ถ้าคุณสนใจ Mindset และทักษะแบบ Agile ของคนทำงานยุคใหม่ ขอแนะนำหลักสูตร Corporate Entrepreneurship Program เพื่อพัฒนาตัวเองให้กลายเป็นผู้ประกอบการภายในองค์กรซึ่งจะนำความสำเร็จมาสู่ตัวคุณและองค์กรของคุณ คลิกที่นี่
บทความโดย
ครูตู่สุชาดา แพรเมือง
ที่ปรึกษาและวิทยากรด้าน Organization Development
Learning Hub Thailand
เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข
ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962