วิธีสร้างทางเลือกเพื่อแก้ปัญหาที่ซับซ้อน

การจะตัดสินใจแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่งให้ดีที่สุด สิ่งสำคัญอยู่ที่การระบุให้ได้ว่า “ปัญหานั้น มีรูปแบบอย่างไร” คุณต้องถามตัวเองว่า “ฉันมีทางออกเดียว หรือมีทางออกที่มากกว่าหนึ่งทาง” 

การตั้งคำถามแบบนี้จะช่วยให้คุณคิดได้อย่างชัดเจน และยังช่วยให้ตัดสินใจได้ดีขึ้นอีกด้วย

====

ปัญหานี้ มีทางออกเดียว หรือหลายทาง

ปัญหาที่มีทางออกเดียว หรือมีหนทางแก้ไขจำกัด หมายถึงมีคำตอบแค่ ถูกหรือผิด (เช่น “2+2 เท่ากับเท่าไหร่?”, “สายการบินไหนบินตรงไปชิคาโก้บ้าง?”) ปัญหาลักษณะนี้จัดอยู่ในประเภท “ปัญหาที่มีทางออกเดียว”

แต่หากมีคำตอบที่เป็นไปได้มากมาย และไม่ได้มีคำตอบที่ดีที่สุดเพียงคำตอบเดียว (เช่น “จะเสิร์ฟอาหารอะไรในงานเลี้ยงอาหารค่ำ?”) ลักษณะนี้เรียกว่า “ปัญหาที่มีทางออกหลายทาง”

โดยปกติแล้ว เราจะพบเจอปัญหาที่มีทางออกหลายทางมากกว่าปัญหาที่มีทางออกเดียว แต่เพราะการมองปัญหาผิดๆ ทำให้คิดไปว่ามีทางออกเดียว ทั้งๆ ที่ความจริงไม่ได้เป็นแบบนั้น ทำให้การตัดสินใจเกิดขึ้นได้ยากกว่าที่ควรจะเป็น ต้องเสียเวลาและความพยายาม ทั้งยังต้องกังวลกับการเสาะหาทางออก “เพียงหนึ่งเดียว” ให้เจอ ทั้งที่มีทางออกอยู่หลายวิธี

====

การจัดการปัญหาที่มีทางออกเดียว

วิธีจัดการปัญหาที่มีทางออกเดียว คือต้องรีบกำจัดทางตันออกไป ลองจินตนาการถึงนักเดินเท้าสองคนที่กำลังแข่งกันไปถึงยอดเขา โดยเริ่มต้นจากจุดเดียวกัน แต่ละคนมีวิธีรับมือกับความท้าทายที่แตกต่างกัน

นักเดินทางที่มีความตั้งใจแบบนักบิน จะเริ่มต้นด้วยการใช้วิธีการอะไรก็ได้ ที่ทำให้เขาเข้าไปใกล้ภูเขามากขึ้น

ส่วนนักเดินทางซึ่งมีความตั้งใจแบบนักบุกเบิกจะเริ่มต้นด้วยการตรวจสอบภูมิประเทศแถบนั้นในแผนที่ เพื่อวางแผนเส้นทางทั้งหมด เมื่อทำแบบนี้ เขาจึงพบว่ามีแม่น้ำกว้างใหญ่กั้นระหว่างพวกเขากับภูเขา

====

ขณะที่คนอื่น ๆ จะพบแม่น้ำสายนี้ได้ก็ต้องมาถึงที่นี่ และต้องคิดทบทวนเส้นทางใหม่ ผู้ที่มีความตั้งใจแบบนักบุกเบิก จะเริ่มต้นด้วยวิธีที่ต่างจากนักบิน คือจะเริ่มเดิน “ออกห่างจากภูเขา” เพราะเขารู้แล้วว่า เส้นทางนั้นจะพาไปถึงสะพานข้ามแม่น้ำ

สำหรับปัญหาที่มีทางออกเดียว (นั่นคือจุดมุ่งหมาย หรือทางแก้ปัญหาที่จำกัดและเฉพาะเจาะจง) วิธีการของนักบุกเบิก จะใช้ได้ผลมากกว่า นั่นคือ การใช้เวลารวบรวมข้อมูลทุกอย่างที่จำเป็นล่วงหน้า ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาและพลังงาน จากการต้องเจอทางตัน แล้วกลับมาที่จุดเริ่มต้นอีกครั้ง…

====

การจัดการปัญหาที่มีทางออกหลายทาง

หากคุณกำลังจัดการกับปัญหาที่อาจมีทางออกมากมาย เช่น จะไปพักผ่อนที่ไหน? จะซื้อทีวีเครื่องไหน? จะเลือกเส้นทางการทำงานแบบไหน? เคล็ดลับความสำเร็จคือ ให้ใช้กลยุทธ์แบบนักบิน คือค่อยๆ ขยับเข้าไปสู่การตัดสินใจทีละน้อย แม้ไม่มั่นใจว่าจะใช่หนทางไปสู่การตัดสินใจหรือไม่ ก็ตาม

เทคนิคนี้ดัดแปลงมาจากกลยุทธ์นักบิน โดยเริ่มจากการพิจารณาปัญหา เพื่อดูว่าจะนำไปสู่อะไรได้บ้าง? การค่อยๆ พยายามหาคำตอบ โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ จะต้องแตกปัญหาใหญ่เป็นส่วนย่อยๆ ที่มองเห็นได้ชัดเจนที่สุด

จากนั้นลองทบทวนอีกครั้ง หากทางออกยังไม่ชัดเจน ให้แตกส่วนย่อยๆ เหล่านั้น เป็นส่วนย่อยที่เล็กลงไปอีก ลองทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนได้คำตอบ

====

ลองจินตนาการว่า คุณกำลังวางแผนพักผ่อนกับครอบครัว เริ่มต้นโดยพยายามหาทางออกที่เป็นทางออกทั่วไปที่สุด นั่นคือ หาสถานที่ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางสัก 2-3 แห่ง ที่เติมเต็มความต้องการเบื้องต้นของทุกๆ คน จากนั้นให้ถามตัวเองว่า จะต้องทำตามความต้องการของใครอีกบ้าง มีตัวเลือกใดหรือไม่ที่คุณนำมาปรับเปลี่ยน เพื่อจะได้มีทางเลือกมากขึ้น

ตัวอย่างเช่น หากจุดเริ่มต้นของคุณคือการพักผ่อนเที่ยวชมทิวทัศน์ ให้ดูว่ามีสถานที่ไหนใกล้ชายหาดที่ลูกๆ จะสนุกได้สัก 2-3 วัน หรือไม่? ให้ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งคุณตอบสนองความต้องการได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

====

วิธีแก้ปัญหาแบบมนตร์วิเศษ

ลองจินตนาการว่า เมื่อตื่นขึ้นในวันรุ่งขึ้น แล้วพบว่าปัญหาของคุณอันตรธานหายไปอย่างมหัศจรรย์ โดยไม่มีเหตุการณ์ใดมาเตือนล่วงหน้า คุณจะรู้ได้อย่างไร ว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นแล้ว?

ให้ลองจินตนาการถึงวันนั้นทั้งวัน และเขียนทุกอย่างลงไป (แม้กระทั่งเรื่องเล็กน้อยที่สุด) ว่าถ้าวันนั้นมีจริง จะมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง?

เทคนิคนี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่ความเชื่อ ว่าจะมีสิ่งดีๆ เกิดขึ้น… การจินตนาการถึงรายละเอียดต่างๆ ของชีวิตในอนาคต จะทำให้คุณคิดอย่างมีอิสระ ไม่มีข้อจำกัด และอาจพบมุมมองใหม่ๆ ที่ช่วยให้ปัญหาเบาบางลงในที่สุด หรือกระทั่งหลีกเลี่ยงปัญหาทั้งหมดได้

แม้จะจินตนาการถึงความสำเร็จจากการแก้ปัญหาได้ชัดเจนขนาดไหน แต่ถ้าไม่ลงมือทำก็คงไม่มีทางเกิดขึ้นได้จริง อ่าน อยากสำเร็จต้องเปลี่ยนจากการรู้ตัวเป็นการปรับตัวด้วยวิธีนี้ เพื่อต่อยอดสู่การลงมือปฏิบัติอย่างแท้จริง 

====

วิธีแก้ปัญหาแบบเน้นด้านบวก

ให้ถามตัวเองว่า “จะมีเวลานั้นไหม ที่จะได้เห็นผลลัพธ์ที่ฉันต้องการ” เช่น หากลูกปัสสาวะรดที่นอน คำถามที่คุณต้องเน้นคือ “คืนไหนที่ลูกของฉันจะไม่ปัสสาวะรดที่นอน”

หากคุณต้องการหาเงินได้มากขึ้น ลองถามว่า “เมื่อไหร่ที่ฉันจะหาเงินได้มากขึ้น” หรือมองเรื่องนั้นๆ จากมุมอื่น เช่น “เมื่อไหร่ที่จะรู้สึกพอใจกับสิ่งที่ฉันหามาได้”

หากระบุปัจจัยที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ต้องการได้ แม้จะเล็กน้อยแค่ไหนก็ตาม ให้คุณลองต่อยอดจากปัจจัยนั้นดู แล้วจะพบว่าทางแก้ปัญหาเริ่มชัดเจนมากขึ้นได้จริง ๆ 

====

การแก้ปัญหาเป็นทักษะที่คุณสามารถเรียนรู้และฝึกฝนได้ เราขอแนะนำหลักสูตร Problem Solving & Decision Making คลิกดูรายละเอียดที่นี่ 

บทความโดย Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

 
ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 093-925-4962

 

 

วิธีจัดการปัญหา แบบทางออกทางเดียว และหลายทาง

28 03 2017

การจะตัดสินใจแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่งให้ได้ดีที่สุด สิ่งสำคัญอยู่ที่การระบุให้ได้ว่า “ปัญหาหรือความท้าทายนั้น มีรูปแบบอย่างไร” ต้องถามตัวเองว่า “คุณมีทางออกเดียว หรือมีทางออกที่น่าพอใจมากกว่าหนึ่งทาง” การถามแบบนี้จะช่วยให้คุณคิดได้อย่างชัดเจน… ทั้งยังช่วยคุณเรื่องการตัดสินใจได้อีกด้วย…

 

ปัญหานี้ มีทางออกเดียว หรือหลายทาง

 

หากปัญหามีทางออกเดียว หรือมีหนทางแก้ไขจำนวนจำกัด และมีคำตอบแค่ ถูกหรือผิด (เช่น “2+2 เท่ากับเท่าไหร่?”, “สายการบินไหนบินตรงไปชิคาโก้บ้าง?”) ปัญหาลักษณะนี้จัดอยู่ในประเภท “มีทางออกเดียว” แต่หากมีคำตอบที่เป็นไปได้มากมาย และไม่ได้มีคำตอบที่ดีที่สุดเพียงคำตอบเดียว (เช่น “จะเสิร์ฟอาหารอะไรในงานเลี้ยงอาหารค่ำ?”) จะเรียกว่าเป็น ปัญหาแบบ “มีทางออกหลายทาง”

โดยปกติแล้ว ปัญหาที่มีทางออกหลายทาง เราพบเจอได้มากกว่าปัญหาที่มีทางออกเดียว เพราะการมองปัญหาผิดๆ คิดว่ามีทางออกเดียว ทั้งๆ ที่ไม่ได้เป็นแบบนั้น ทำให้การตัดสินใจเป็นไปได้ยากกว่าที่ควรจะเป็น อาจต้องเสียเวลาและความพยายาม ทั้งยังต้องกังวลกับการเสาะหาทางออก “เพียงทางเดียว” ให้เจอ ทั้งที่ทางออก “มีหลายวิธี”

 

การจัดการปัญหาที่มีทางออกเดียว

 

วิธีจัดการปัญหาที่มีทางออกเดียว คือต้องรีบกำจัดทางตันออกไป ลองจินตนาการถึงนักเดินเท้าสองคนที่กำลังแข่งกันไปถึงยอดเขา โดยเริ่มต้นจากจุดเดียวกัน แต่ละคนมีวิธีรับมือกับความท้าทายแตกต่างกัน

นักเดินทางที่มีความตั้งใจแบบนักบิน จะเริ่มต้นด้วยการใช้วิธีการอะไรก็ได้ ที่ทำให้เขาเข้าไปใกล้ภูเขามากขึ้น… ส่วนนักเดินทางอีกคนซึ่งมีความตั้งใจแบบนักบุกเบิก เขาจะเริ่มต้นด้วยการตรวจสอบภูมิประเทศแถบนั้นในแผนที่ เพื่อวางแผนเส้นทางทั้งหมด เมื่อทำแบบนี้ เขาจึงพบว่ามีแม่น้ำกว้างใหญ่กั้นระหว่างพวกเขากับภูเขา

ขณะที่เพื่อนของเขาจะพบแม่น้ำสายนี้ ก็ต่อเมื่อต้องมาถึงที่นี่ และต้องคิดทบทวนเส้นทางใหม่… ผู้มีความตั้งใจแบบนักบุกเบิก จะเริ่มต้นด้วยวิธีที่ต่างกัน และเริ่มเดิน “ออกห่างจากภูเขา” เพราะเขารู้แล้วว่า เส้นทางนั้นจะพาไปถึงสะพานข้ามแม่น้ำ

สำหรับปัญหาที่มีทางออกเดียวแบบนี้ (นั่นคือจุดมุ่งหมาย หรือทางแก้ปัญหาที่จำกัดและเฉพาะเจาะจง) วิธีการของนักบุกเบิก จะใช้ได้ผลมากกว่า… การใช้เวลารวบรวมข้อมูลทุกอย่างที่จำเป็นล่วงหน้า ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาและพลังงาน จากการต้องเจอทางตัน แล้วกลับมาที่จุดเริ่มต้นอีกครั้ง…

 

การจัดการปัญหาที่มีทางออกหลายทาง

 

หากคุณกำลังจัดการกับปัญหาที่อาจมีทางออกมากมาย เช่น จะไปพักผ่อนที่ไหน? จะซื้อทีวีเครื่องไหน? จะเลือกเส้นทางการทำงานแบบไหน? เคล็ดลับความสำเร็จคือ ให้ใช้กลยุทธ์แบบนักบิน คือค่อยๆ ขยับเข้าไปสู่การตัดสินใจทีละน้อย แม้ไม่มั่นใจว่าจะใช่หนทางไปสู่การตัดสินใจหรือไม่ ก็ตาม

เทคนิคนี้ดัดแปลงมาจากกลยุทธ์นักบิน โดยเริ่มจากการพิจารณาปัญหา เพื่อดูว่าจะนำไปสู่อะไรได้บ้าง? การค่อยๆ พยายามหาคำตอบ โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ จะต้องแตกปัญหาใหญ่เป็นส่วนย่อยๆ ที่มองเห็นได้ชัดเจนที่สุด แล้วลองทบทวนอีกครั้ง หากทางออกยังไม่ชัดเจน ให้แตกส่วนย่อยๆ เหล่านั้น เป็นส่วนย่อยที่เล็กลงไปอีก ลองทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนได้คำตอบ

ลองจินตนาการว่า คุณกำลังวางแผนพักผ่อนกับครอบครัว เริ่มต้นโดยพยายามหาทางออกที่เป็นทางออกทั่วไปที่สุด นั่นคือ หาสถานที่ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางสัก 2-3 แห่ง ที่เติมเต็มความต้องการเบื้องต้นของทุกๆ คน จากนั้นให้ถามตัวเองว่า จะต้องทำตามความต้องการของใครอีกบ้าง มีตัวเลือกใดหรือไม่ที่คุณนำมาปรับเปลี่ยน เพื่อจะได้มีทางเลือกมากขึ้น

ตัวอย่างเช่น หากจุดเริ่มต้นของคุณคือการพักผ่อนเที่ยวชมทิวทัศน์ ให้ดูว่ามีสถานที่ไหนใกล้ชายหาดที่ลูกๆ จะสนุกได้สัก 2-3 วัน หรือไม่? ให้ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งคุณตอบสนองความต้องการได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

 

วิธีแก้ปัญหาแบบมนต์วิเศษ

 

ลองจินตนาการว่า เมื่อตื่นขึ้นในวันรุ่งขึ้น แล้วพบว่าปัญหาของคุณอันตรธานหายไปอย่างมหัศจรรย์ โดยไม่มีเหตุการณ์ใดมาเตือนล่วงหน้า คุณจะรู้ได้อย่างไร ว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นแล้ว? ให้ลองจินตนาการถึงวันนั้นทั้งวัน และเขียนทุกอย่างลงไป (แม้กระทั่งเรื่องเล็กน้อยที่สุด) ว่าถ้าวันนั้นมีจริง จะมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง?

เทคนิคนี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่ความเชื่อ ว่าจะมีสิ่งดีๆ เกิดขึ้น… การจินตนาการถึงรายละเอียดต่างๆ ของชีวิตในอนาคต จะทำให้คุณคิดอย่างมีอิสระ ไม่มีข้อจำกัด และอาจพบมุมมองใหม่ๆ ที่ช่วยให้ปัญหาเบาบางลงในที่สุด หรือกระทั่งหลีกเลี่ยงปัญหาทั้งหมดได้…

 

วิธีแก้ปัญหาแบบเน้นด้านบวก

 

ให้ถามตัวเองว่า “จะมีเวลานั้นไหม ที่จะได้เห็นผลลัพธ์ที่ฉันต้องการ” เช่น หากลูกปัสสาวะรดที่นอน คำถามที่คุณต้องเน้นคือ “คืนไหนที่ลูกของฉันจะไม่ปัสสาวะรดที่นอน”

หากคุณต้องการหาเงินได้มากขึ้น ลองถามว่า “เมื่อไหร่ที่ฉันจะหาเงินได้มากขึ้น” หรือมองเรื่องนั้นๆ จากมุมอื่น เช่น “เมื่อไหร่ที่จะรู้สึกพอใจกับสิ่งที่ฉันหามาได้” หากระบุปัจจัยที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ต้องการได้ (แม้จะเล็กน้อยก็ตาม) ให้ลองต่อยอดจากปัจจัยนั้นออกไป…

 

เรียบเรียงโดย LEARNING HUB THAILAND

วิธีทำให้คนที่ไม่ถูกกันร่วมงานกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในความเป็นจริงแล้ว พนักงานทุกคนไม่จำเป็นต้องเข้าขากันได้ดี หรือปลาบปลื้มชื่นชมเพื่อนร่วมงานหรอกนะ แต่ขณะเดียวกัน ถ้าใครสักคนทำตัวเป็น “มนุษย์เจ้าปัญหา” มีพฤติกรรมน่ารำคาญ ก็อาจทำให้เขาสร้างปัญหากับผู้ร่วมงานคนอื่นๆ ส่งผลให้ทีมเจอะเจออุปสรรคปัญหาในการทำงานได้…

ถ้าคุณเป็น “หัวหน้างาน” เราขอแนะนำคุณ ดังต่อไปนี้…

====

1. หาสาเหตุที่ถูกต้อง

ว่าทำไมลูกน้องของคุณคนนี้ ถึงไม่สามารถเข้ากับคนอื่นๆ ได้? โดยพุ่งเป้าความสนใจไปที่ “พฤติกรรมของเขา” ไม่ใช่ที่ “บุคลิกลักษณะของเขา”

ดูว่าเขาทำตัวหยาบคาย หรือชอบพูดจาจิกกัดคนอื่นๆ มีอาการหงุดหงิดฉุนเฉียวเวลาที่คนอื่นไม่ทำตามความต้องการของเขาไหม? มักปฏิเสธความช่วยเหลือผู้ร่วมงานในเรื่องการทำงาน หรือการแก้ปัญหาใดๆ หรือไม่

====

2. เรียกลูกน้องคนนั้นเข้ามาคุยกับคุณ

“เป็นการส่วนตัว” อย่าตักเตือนลงโทษเขาอย่างเป็นทางการ แต่ทำให้เขาเข้าใจอย่างชัดเจน ว่านี่เป็นประเด็นปัญหาเรื่องการทำงานที่จำเป็นต้องให้ความสำคัญ เพราะมันมีผลกระทบต่อผลการปฏิบัติงานของหน่วยงาน/องค์กร

====

3. บอกให้เขารู้ว่าปัญหาคืออะไร?

อย่าบอกเขาว่า “คุณเป็นคนที่ไม่ให้ความร่วมมือ” หรืออะไรก็ตามที่เป็นการตราหน้า ว่าเขาเป็นคนไม่ดี! ให้พูดถึงแต่พฤติกรรมของเขา

เช่น “เวลาที่คุณตำหนิหรือกล่าวโทษคนอื่นรุนแรงเกินไปนั้น ทำลายขวัญและกำลังใจของผู้ร่วมงานของคุณอยู่นะ” พร้อมยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นให้เห็นภาพ

====

4. อย่าทำให้เขารู้สึกว่ากำลังโดนกดดัน หรือถูกบีบคั้น

 คุณไม่จำเป็นต้องบอกเขาว่า “ทุกคนในแผนกบ่นเรื่องคุณกันทั้งนั้น”

====

5. ให้ตระหนักไว้ว่า คนส่วนใหญ่ทำบางสิ่งบางอย่างจนติดเป็นนิสัย

จนกระทั่งพวกเขาอาจไม่รู้ตัวเลยก็ได้ว่า คนอื่นๆ มองเขาเป็นคนอย่างไร? เขาอาจไม่รู้เลยก็ได้ว่า เขาได้ทำตัวหยาบคาย เที่ยวจิกกัดชาวบ้านเป็นประจำ

คุณควรพูดเตือนเขาดีๆ และอย่าไปทำลายความมั่นใจในตัวเองของเขา เพียงแต่ทำให้เขารู้ว่า “จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบางอย่าง”

====

แล้วถ้ามีพนักงาน/ลูกน้อง ไม่ชอบขี้หน้ากันอย่างมาก ซึ่งอาจทำให้ทั้งทีมมีปัญหาการทำงานได้ คุณในฐานะหัวหน้า/ผู้บริหาร ต้องเป็นคนเข้าไปไกล่เกลี่ย แก้ไขความไม่ลงรอยกันระหว่างลูกน้องทันที ถ้า…

– หลายคนมองเห็นว่า กำลังเกิดความขัดแย้งระหว่างกันเกิดขึ้น!
– ความขัดแย้งนั้นมีผลกระทบต่อผลการปฏิบัติงาน
– ความขัดแย้งนั้นทำให้พนักงานไม่สื่อสารกัน/ไม่ร่วมมือกัน
– พนักงานคนอื่นๆ มีการเข้าข้างผู้ขัดแย้งแต่ละฝ่าย
– ทั้งทีม/หน่วยงาน กำลังรู้สึกแย่ กับการขัดแย้งครั้งนี้
– ความขัดแย้งส่งผลกระทบในทางลบต่อลูกค้า
– ความขัดแย้งทำให้คุณไม่สามารถทุ่มเทความสนใจให้กับงานที่มีความสำคัญๆ ได้ เนื่องจากคุณต้องคอยจับตาดูคู่กรณี
– ที่สำคัญ ณ ตอนนี้ คุณยังไม่ได้เข้าข้างใคร ยังมีความเป็นกลาง
– คู่กรณีทั้งสองฝ่าย ให้ความไว้วางใจ/เชื่อถือคุณ

====

ทั้งนี้ คุณจะต้องเรียก “คู่กรณี” เข้ามาคุยพร้อมกัน ไม่ควรเรียกเข้ามาคุยทีละคน เพราะจะทำให้แต่ละคนสงสัย ว่าคุณพูดอะไรกับอีกคนหนึ่ง? หรืออีกคนหนึ่งบอกอะไรกับคุณบ้าง? และพวกเขาก็อาจให้ข้อมูลผิดๆ แก่คุณได้ด้วย ซึ่งจะทำให้สถานการณ์แย่ลงกว่าเดิม และอาจทำให้คุณขัดแย้งกับพวกเขาไปด้วยโดยไม่ตั้งใจ

ถ้าคุณมีคู่กรณี หรือ คนที่รู้สึกไม่ชอบหน้าเสียเอง คุณสามารถเรียนรู้และลงมือแก้ไขปัญหานี้ได้ อ่าน เราจะทำงานกับคนที่ไม่ชอบหน้าได้อย่างไร คลิกที่นี่

====

ในการประชุมเพื่อแก้ปัญหานั้น คุณจะต้อง…

1. สร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลาย ไม่ทำให้ดูจริงจังเป็นทางการ เพื่อไม่ให้ทั้งสองฝ่าย รวมทั้งตัวคุณเอง สัมผัสได้ถึงความตึงเครียด

2. บอกให้ทั้งคู่เข้าใจอย่างชัดเจนตั้งแต่เริ่มการพูดคุย ว่าหน้าที่ของคุณ คือทำให้ทีมร่วมกันทำงานมุ่งหน้าไปสู่เป้าหมายของแผนก/องค์กร อย่างมีประสิทธิผลที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ แต่ความขัดแย้งของพวกเขากำลังเป็นอุปสรรคต่อกระบวนการดังกล่าว และคุณต้องการแก้ปัญหานี้เพื่อหน่วยงาน

3. อธิบายให้พวกเขาเข้าใจว่า คุณไม่ได้ต้องการตำหนิ หรือกล่าวโทษใคร คุณเพียงแต่ต้องการแก้ปัญหานี้

4. ขอให้พวกเขายอมรับคุณในฐานะที่เป็นคนกลาง ซึ่งคุณเชื่อว่า การพูดคุยปัญหานี้อย่างเปิดอก จะช่วยแก้ปัญหา แต่ก็ขอให้ทั้งคู่ยอมรับด้วยว่า ถ้ามีประเด็นใดที่พวกเขาไม่สามารถแก้ไขได้ พวกเขาจะยอมรับการตัดสินใจของคุณในประเด็นนั้น ซึ่งพวกเขาสามารถนำประเด็นเหล่านี้กลับมาพิจารณาในภายหลังได้เสมอ ถ้าปัญหาต่างๆ ยังคงอยู่

5. กำหนดแนวทางในการพูดคุยปรึกษา เช่น แต่ละฝ่ายจะยอมให้อีกฝ่ายหนึ่งพูดเรื่องที่เขาต้องการพูดจนจบก่อน โดยจะไม่พูดแทรก หรือขัดจังหวะ… ให้มุ่งไปที่ตัวปัญหา ไม่ใช่ที่บุคลิกลักษณะส่วนตัวของอีกฝ่าย… ให้แต่ละฝ่ายพูดถึงความรู้สึกและปฏิกิริยาของตนที่มีต่อปัญหานั้น ไม่ใช่พูดถึงแต่การกระทำของอีกฝ่ายหนึ่ง…

6. เปิดโอกาสให้พวกเขาได้พูดให้มากที่สุด ส่วนคุณมีหน้าที่คอยเตือน เมื่อพวกเขาไม่ปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดไว้ และเริ่มมีแนวโน้มว่าจะทะเลาะกัน

7. คุณจะต้องคอยระวังตัวเองอย่างเต็มที่ ว่าจะไม่แสดงท่าทีใดๆ ก็ตาม ที่จะเป็นการบ่งบอกว่าคุณลำเอียงเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ถ้าคุณคิดว่าฝ่ายหนึ่งไม่มีเหตุผล หรือทำตัวมีปัญหามากกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง ก็อย่าแสดงท่าทีอะไรให้ทั้งสองฝ่ายรู้ เพราะคุณเป็นเพียงคนกลาง ฉะนั้น อย่าแสดงความคิดเห็นใดๆ ที่คุณมีต่อคู่กรณี

8. อย่ายอมให้การพูดคุยกันจบลง โดยที่ทั้งสองฝ่ายไม่มีการตกลงกัน ว่าพวกเขาจะแก้ไขพฤติกรรมในอนาคตของตน แต่คุณต้องทำให้เกิดการตกลงด้วยความเต็มใจของทั้งสองฝ่าย เพราะถ้ามีฝ่ายใดถูกบังคับให้ต้องตกลง เขาก็มักจะไม่ทำตามที่ตกลงนั้น คุณต้องทำให้แน่ใจว่าทั้งคู่ได้พูดคุย และได้หาวิธีแก้ปัญหาที่ทั้งคู่ยอมรับได้

9. ในฐานะที่เป็นหัวหน้า ให้พยายามทำทุกวิธีที่คุณสามารถทำได้ เพื่อช่วยพวกเขาแก้ปัญหา เช่น พวกเขาอาจขอให้คุณจัดแบ่งงานบางอย่างใหม่ หรือจัดที่นั่งทำงานของพวกเขาใหม่ เพื่อให้ที่นั่งทำงานของพวกเขาเข้ามาใกล้กันมากขึ้น หรือไม่ก็แยกให้ห่างกันออกไป… คุณจะต้องให้ความร่วมมือในการแก้ปัญหาของพวกเขา เมื่อมีการนำวิธีแก้ปัญหานั้นไปปฏิบัติจริง เพื่อให้วิธีแก้ปัญหานั้นประสบผลสำเร็จ

10. กำหนดวันที่จะให้พวกเขามาพูดคุยถึงความคืบหน้าในการแก้ปัญหานั้นอีกครั้ง เช่น อาจจะเป็นหนึ่งสัปดาห์ หลังจากวันที่พูดคุยกันครั้งนี้ ซึ่งจะทำให้ทั้งคู่ไม่รู้สึกว่า พวกเขาต้องทำตามข้อตกลงที่พวกเขาอาจไม่พอใจลึกๆ ก็เป็นได้ และถ้าการทำตามข้อตกลงนั้นช่วยแก้ปัญหาได้เพียงนิดหน่อย พวกเขาก็จะได้ใช้โอกาสนี้เจรจาปรึกษากัน ว่าควรจะทำอย่างไรต่อไป…

11. เมื่อสิ้นสุดการประชุม คุณต้องขอบคุณทั้งคู่ ที่ให้ความร่วมมือในการแก้ปัญหา และในการประชุมครั้งต่อไป คุณก็ควรขอบคุณพวกเขาอีกครั้ง สำหรับสิ่งที่พวกเขาได้ทำ เพื่อให้ปัญหานั้นๆ คลี่คลาย และบอกว่าการที่ทั้งคู่พยายามทำให้สถานการณ์ดีขึ้นนั้น ได้ส่งผลดีต่อทีมด้วย

อย่างไรก็ดี ถ้าความขัดแย้งนั้นไม่มีแนวโน้มว่าจะประนีประนอมกันได้ คุณก็ควรจะ…

– อย่าให้พวกเขาเผชิญหน้ากัน ถ้าคุณเชื่อว่าการนำเรื่องของพวกเขาขึ้นมาพูดนั้น มีแต่จะทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง
– แยกพวกเขาออกจากกัน โดยการมอบหมายงาน การเลื่อนขั้น ย้ายแผนก หรืออาจต้องให้คนใดคนหนึ่งออกจากงาน (ถ้าจำเป็น)
– ให้บุคคลที่ 3 เข้ามาทำหน้าที่เป็นตัวกันชนระหว่างทั้งคู่ เป็นผู้ประสานงานระหว่างคู่กรณีที่ขัดแย้งกัน
– วางกฎ ยืนกรานในเรื่องการร่วมมือกันทำงาน ถ้าใครไม่ทำตามกฎ จะถูกลงโทษ

====
TIP วิธีป้องกันความขัดแย้งระหว่างพนักงาน

ในกรณีที่คุณไม่ต้องการปวดหัวกับ “ปัญหาความขัดแย้งระหว่างลูกน้อง” คุณอาจป้องกันปัญหานี้ได้ โดย…

1. ให้ลูกน้องเข้ารับการฝึกอบรมในเรื่องวิธีทำงานกับคนที่มีภูมิหลัง บุคลิกลักษณะ และทัศนคติที่แตกต่างกัน
2. อย่าปล่อยให้ลูกน้องทะเลาะ แย่งชิงทรัพยากรกัน ให้จัดสรรสิ่งที่พวกเขาจำเป็นต้องใช้ในการทำงาน แก่พวกเขา อย่างพอเพียง
3. อย่าส่งเสริมให้มีการแข่งขันกันระหว่างลูกน้อง ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็อย่าทำให้มันเป็นการแข่งขันในทางทำลายล้าง
4. เมื่อใดที่ลูกน้องเริ่มมีความคิดเห็นไม่ลงรอยกันอย่างมาก ให้เข้าไปไกล่เกลี่ย หรือหาทางยุติทันที ก่อนที่จะกลายเป็นการทะเลาะวิวาท
5. บอกวิสัยทัศน์ของแผนก/องค์กร ที่คุณอยากให้ลูกน้องร่วมมือกันทำงาน เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์นั้น ให้พวกเขาเข้าใจอย่างชัดเจน
6. จัดทำข้อมูลอธิบายลักษณะงานที่ชัดเจน และมีลักษณะประสานสอดคล้องกัน ซึ่งจะช่วยให้ไม่เกิดการเกี่ยง (หรือแย่งงานบางอย่าง) กันทำ
====

ถ้าคุณอยากเรียนรู้และฝึกฝนวิธีการสร้างทีมและทำงานเป็นทีมโดยใช้ประโยชน์จากความขัดแย้ง ขอแนะนำหลักสูตร Team Communication & Collaboration ดูรายละเอียดคลิกที่นี่
บทความโดย

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

 

 

ฝึกใช้ประโยชน์จากสัญชาตญาณ กันเถอะ!

21 03 2017

“สัญชาตญาณ” ก็เหมือน “ความคิดสร้างสรรค์” นั่นคือได้รับแรงผลักดันจากจิตใต้สำนึก ซึ่งมักปรากฏขึ้นอย่างลึกลับและเข้าใจได้ยากมากๆ… ทว่าสัญชาตญาณต่างกับความคิดสร้างสรรค์หลายๆ แบบ เพราะสัญชาตญาณจะเกิดขึ้น “ในชั่วแวบเดียว” และให้ข้อมูลแก่คุณแบบฉับพลัน…

 

มันเป็นแค่ความรู้สึกเท่านั้นหรือ?

 

เวลาเริ่มจัดการปัญหา หรือตัดสินใจเป็นครั้งแรก… เป็นธรรมดาที่คุณจะตอบสนองกลับทันทีทันใด นั่นคือการตอบสนองไปตาม “สัญชาตญาณ”

แต่คุณอาจไม่สนใจความรู้สึกนั้น เพราะไม่รู้ว่าความรู้สึกแบบนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร? และหาเหตุผลกับความรู้สึกเหล่านี้ไม่เคยได้เลย? จะเกิดประโยชน์มาก หากคุณหันมาใส่ใจ “ลางสังหรณ์เบื้องต้นเหล่านี้” มากขึ้น เพราะมีผลการวิจัยแนะนำว่า “ความรู้สึกแบบนี้มักชี้นำไปในทางที่ถูกต้อง”

สัญชาตญาณมักเกิดกับเรื่องที่คุณมีประสบการณ์มากอยู่แล้ว เช่น เราล้วนเคยชินกับการพูดคุยสื่อสารกับผู้อื่น ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่เรื่องนี้เราค่อนข้างมี “ความรู้สึกตามสัญชาตญาณ” อย่างมาก ที่จะชอบหรือไม่ชอบ… ไว้ใจหรือไม่ไว้ใจ… ทำนองเดียวกัน ผู้เชี่ยวชาญที่สั่งสมความรู้มากมายในสาขาใดสาขาหนึ่ง พวกเขามักนำประสบการณ์มาใช้ประเมินเรื่องต่างๆ ได้แม่นยำและรวดเร็ว ตามจิตใต้สำนึก!

 

ควรทำตามสัญชาตญาณดีไหม!?

 

เนื่องจาก “จิตใต้สำนึก” ของคุณ ตอบสนองและรวบรวมข้อมูลได้มากกว่า “จิตสำนึก” ดังนั้น เมื่อต้องตัดสินใจเรื่องซับซ้อน ขอให้ฟังความรู้สึกตามสัญชาตญาณก่อน… ส่วนเรื่องง่ายๆ ให้ลองหาคำตอบด้วยการใช้เหตุผล

มีกรณีหลักสองกรณีที่คุณควรใช้สัญชาตญาณอย่างระมัดระวัง กรณีแรก คือเมื่อรู้สึกกลัว หรือเกิดความปรารถนาอย่างรุนแรง เพราะความรู้สึกนี้อาจทำให้คุณไม่สามารถตัดสินเรื่องต่างๆ โดยใช้สัญชาตญาณที่แท้จริงได้ และกรณีที่สอง คือเมื่อต้องเจอเรื่องที่ไม่มีประสบการณ์เลย (หรือมีประสบการณ์น้อยมากๆ) ที่จะนำมาเป็นพื้นฐานในการใช้สัญชาตญาณ


วิธีใช้สัญชาตญาณให้ได้ผลมากที่สุด


ขั้นที่ 1


สังเกตความประทับใจครั้งแรกที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากความรู้สึกพวกนี้วิ่งไปมาผ่านจิตสำนึกของคุณเหมือนผีเสื้อ ลองฝึกจับความรู้สึกเหล่านี้ โดยใช้ความตั้งใจของคุณนั่นล่ะเป็นตาข่าย! แล้วอย่าลืมจดบันทึกทุกครั้งเวลาคุณมีอารมณ์ตอบสนองต่อสถานการณ์ใดเป็นพิเศษ…

 

ขั้นที่ 2

 

เวลาเกิดความประทับใจในช่วงแรกๆ ลองตั้งคำถามว่า อะไรที่กระตุ้นให้เกิดความรู้สึกนี้? เหตุผลที่เกิดความประทับใจแบบนี้ น่าจะเป็นเพราะอะไร? ใช่เพราะรายละเอียดบางอย่างหรือเปล่า (ที่คุณรับมาโดยไม่รู้ตัว) ที่สติของคุณเห็นว่าเรื่องนั้นไม่สำคัญ?

 

ขั้นที่ 3

 

ถามตัวเองว่า “จะเกิดอะไรขึ้น หากฉันไว้ใจความรู้สึกนี้ แล้วทำตามความรู้สึกนี้?”

 

ขั้นที่ 4

 

ตรวจสอบสมมติฐานของคุณเอง เพื่อให้แน่ใจว่า การโต้ตอบของคุณไม่ได้มีพื้นฐานมาจากความเข้าใจผิด เพราะการตอบโต้ไป “เพียงเพราะรู้สึกว่าน่าจะถูกต้อง” บางครั้งก็อาจมาจากข้อมูลที่ไม่ถูกต้องได้นะ…

 

บ่อยครั้งที่เรามัวหา “เหตุผล” ให้กับการกระทำ หรือการตัดสินใจ… เวลาเจอปัญหาซับซ้อน ยุ่งยาก ลองสงบสติอารมณ์ พยายามไม่ฟุ้งไปกับความคิด แล้วลงมือทำตาม “สัญชาตญาณแรก” ที่ตอบสนอง… บ่อยครั้งเรื่องที่ดูเหมือนซับซ้อน กลับสามารถคลี่คลายได้อย่างง่ายดาย เพียงแค่คุณเชื่อ “คำตอบแรกที่อยู่ในใจคุณ” นั่นเอง!

 

เรียบเรียงโดย LEARNING HUB THAILAND

9 สิ่งดีๆ ที่คุณได้รับ จากอุปสรรคปัญหา

07 03 2017

เมื่อคุณต้องเผชิญหน้ากับ “ปัญหาต่างๆ” ไม่ว่าจะเป็นปัญหาครอบครัว การงาน การเงิน หรือความรัก แน่นอนว่าคุณเจอะเจอความเครียด ความกดดัน ความหดหู่ และความกังวลใจนานัปการ…

ไม่มีใครชอบช่วงเวลาแห่งความยากลำบากเหล่านี้ แต่อย่างไรก็ตาม คุณไม่มีทางหนีมันได้พ้น ดังนั้น เมื่อต้องเจอกับอุปสรรคต่างๆ ในชีวิต จึงมีอยู่แค่ 2 ทางเลือก นั่นคือ “ยอมจำนน” หรือ “ผ่านไปให้ได้”

แต่ละคน มีวิธีในการรับมือปัญหาแตกต่างกัน… บางคนบ่นว่า ตำหนิ กล่าวโทษโชคชะตา… บางคนเพิกเฉย นั่งรอปาฏิหาริย์ให้เกิดขึ้น… บางคนปล่อยให้ตนเองจมอยู่กับความยากลำบากเหล่านั้น…

แต่คุณรู้หรือไม่ว่า หากคุณสามารถ “ผ่านพ้นช่วงเวลาแห่งความยากลำบากไปได้” คุณจะได้รับรางวัลอันยิ่งใหญ่และสวยงาม… ปัญหาและอุปสรรคมอบ “บทเรียนดีๆ” หลายอย่างให้กับคุณ ด้วยเหตุนี้ จงลุกขึ้นสู้ เพราะหลังจากที่คุณสามารถฝ่าฟัน เอาชนะอุปสรรคปัญหาไปได้ คุณจะได้รับบทเรียนอันล้ำค่าเหล่านี้…

 

1. ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ

หลังจากต่อสู้กับความยากลำบาก คุณจะพบว่า “ตนเองได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ มากมาย” ไม่ว่าจะเป็น วิธีจัดการกับความกดดัน รูปแบบการทำงานใหม่ๆ การบริหารคน และทักษะความสามารถของตนเอง… หลายสิ่งอาจเป็นเรื่องที่คุณไม่เคยรู้มาก่อน เช่น คุณอาจคิดว่าไม่ถนัดทำงานด้านใดด้านหนึ่ง แต่เมื่อได้ลองลงมือทำงานที่คุณคิดว่ายากนั้นแล้ว คุณกลับพบว่า คุณมีความสามารถมากกว่าที่คิด!

2. มีความกระตือรือร้นมากขึ้น

หลายครั้งที่ชีวิตของคุณถูกปัญหารุมเร้า จนอยากวิ่งหนีไปให้ไกล ไม่อยากรับรู้สิ่งวุ่นวาย-กวนใจเหล่านั้น! บางที คุณอาจหนีปัญหาด้วยการบ่น นิ่งเฉย หรือบนบานอ้อนวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยปัดเป่าให้พ้นจากความทุกข์ยาก…

การกระทำเหล่านี้เป็นการแก้ไขปัญหาที่ไม่ตรงจุด หนทางที่ดีกว่าคือ คุณควรใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้ตนเองเกิดความกระตือรือร้น และลงมือทำบางสิ่ง… แล้วคุณจะพบความจริงที่ว่า “ยิ่งรับมือกับปัญหาที่คุณไม่ชอบมากเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งเก่งมากขึ้นเท่านั้น”


3. ได้รู้จักความรับผิดชอบ

คุณรู้หรือไม่ว่า “อุปสรรคต่างๆ ในชีวิต เป็นเหมือนบททดสอบ” ที่จะช่วยทำให้คุณมีโอกาสได้พิสูจน์ฝีมือและความสามารถของตนเอง ดังนั้น เมื่อคุณเผชิญหน้ากับปัญหา จงพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส อย่าเสียเวลากับการคร่ำครวญถึงความไม่ยุติธรรมบนโลกใบนี้ จงอดทน พากเพียร พยายาม และรับผิดชอบต่อปัญหาเหล่านั้น

คุณควรคิดว่า การที่ปัญหาต่างๆ ถาโถมเข้ามาหาคุณ เนื่องจากคุณเก่งและแกร่งกว่าคนอื่น! จงเอาชนะ และเปลี่ยนอุปสรรคให้กลายเป็น “ผลงานชิ้นเยี่ยมของคุณ”


4. จะกลายเป็นคนที่เก่งและแกร่ง

หากคุณทำงานธรรมดาๆ คุณก็จะเป็นเพียงแค่ “คนธรรมดา” ที่ไม่มีความสามารถพิเศษอะไร แต่หากคุณทำงานยากๆ คุณก็จะกลายเป็นคนเก่ง มีศักยภาพ และสามารถทำในสิ่งที่คนธรรมดาทำไม่ได้…

ดังนั้น จงถือเอาปัญหาและอุปสรรคในชีวิต มาเป็นบันไดที่ทำให้คุณก้าวไปสู่ที่ที่สูงขึ้น จงอย่ากลัวในสิ่งที่ยากและไม่เคยทำ เพราะมันจะช่วยให้คุณได้พัฒนาตนเองไปอีกระดับ…


5. มองเห็นมิตรแท้ที่จะมาสนับสนุนช่วยเหลือ

อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นผลพลอยได้จากการตรากตรำทำงาน ไม่ท้อถอยต่ออุปสรรคต่างๆ คือการได้รับความช่วยเหลือและการสนับสนุนจากผู้อื่น… เมื่อไหร่ก็ตามที่คนรอบข้างผู้เป็นมิตรแท้ เห็นคุณทำงานหนัก ทุ่มเท เอาจริงเอาจัง พวกเขาย่อมอดไม่ได้ที่จะชื่นชม ให้กำลังใจ และช่วยเหลือคุณ…


6. ได้รับความเชื่อถือจากเพื่อนร่วมงาน

เราทุกคนต่างเบื่อหน่ายการเมืองในที่ทำงาน จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่จะเห็นคนซุบซิบนินทา หรือพูดจาให้ร้ายกัน แน่ล่ะ พฤติกรรมเช่นนี้ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด ยิ่งไปกว่านั้น การกระทำเช่นนี้ยังเป็นตัวบ่อนทำลายความน่าเชื่อถืออีกด้วย… ดังนั้น คุณจึงควรมุ่งมั่นตั้งใจทำงานอย่างเต็มที่ ไม่ยอมแพ้ต่อปัญหาและอุปสรรคต่างๆ เพื่อที่เพื่อนร่วมงานจะได้ให้ความเชื่อมั่น ไว้วางใจ และยึดถือคุณเป็นแบบอย่าง…


7. มีความมั่นใจมากขึ้น

เส้นทางสู่ความสำเร็จย่อมมีอุปสรรคบั่นทอนกำลังใจตลอดเวลา แต่ถ้าคุณมองความผิดพลาดในทุกๆ ครั้ง คือ “พลังให้เราลุกขึ้นเผชิญกับมัน” เปลี่ยนความกลัวให้เป็นความท้าทาย ตื่นเต้นกับอุปสรรคใหม่ๆ ที่จะต้องพบเจอ สนุกกับการหาทางชนะมันให้ได้… และเมื่อคุณสามารถทำสิ่งต่างๆ ได้สำเร็จ คุณก็จะมีความมั่นใจ และเชื่อมั่นในตัวเองมากขึ้น!


8. จะรู้สึกว่า ปัญหาต่างๆ ไม่ยากเกินแก้ไข

การพิชิตความยากลำบากได้สำเร็จ จะทำให้คุณเปลี่ยนจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง กล่าวคือ คุณจะมีจิตใจที่กล้าหาญ อดทนมากขึ้น ไม่หวาดหวั่นต่อความยากลำบาก คุณจะรู้สึกว่า “ปัญหาต่างๆ ไม่ยากสำหรับคุณอีกต่อไป” เพราะคุณสามารถกำหนดและควบคุมปัจจัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตได้ นั่นเอง!


9. จะรู้สึกหวาดกลัวน้อยลง

ทางเดียวที่จะเอาชนะความกลัวได้ คือ “สู้กับมัน” ให้คุณถือคติว่า “ชีวิตคือการต่อสู้” ดังนั้น เมื่อคุณพบเจอกับอุปสรรคปัญหา จงเผชิญหน้าและอย่ากลัวที่จะรับมือ แค่เปลี่ยนมุมมอง และคิดว่าทุกอย่างเป็นไปได้ ไม่มีอะไรเกินความพยายามของคุณ ถ้าคนอื่นทำได้ คุณก็ทำได้เช่นกัน! หมั่นให้กำลังใจตัวเอง และเมื่อคุณสามารถผ่านพ้นมาได้… คุณจะเติบโตขึ้น และประสบความสำเร็จมากขึ้น

บทความโดย LEARNING HUB THAILAND

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Ads, Google Analytics

    Statistics

  • Google Analytics

    Statistics

  • Facebook

    Marketing/Tracking

  • ActiveCampaign

    Functional

  • ActiveCampaign

    Marketing/Tracking

Save