ทำยังไงดี.. เมื่อต้องรับมือกับงานหลายอย่าง พร้อมกัน..

18 04 2017

หลังวันหยุดยาว หลายคนกลับมาใช้ชีวิตทำงานปกติ… แล้วต้องพบว่า “มีงานหลายอย่างที่ต้องทำพร้อมกัน” ซึ่งการทำงานได้หลายอย่างพร้อมกันเป็นทักษะส่วนตัวที่มีประโยชน์ แต่เราก็จำเป็นต้องเข้าใจด้วยว่า เมื่อใดที่เราพยายามทำงานหลายๆ อย่างมากเกินไป ย่อมส่งผลให้เรา… ไม่สามารถทำงานต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ

 

ปัญหาเกิด เมื่อต้องใช้พื้นที่สมองพร้อมกัน

 

การต้องทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกัน นอกจากจะทำให้เกิดความยุ่งยาก ต้องอาศัยความเอาใจใส่มากกว่าปกติ ยังอาจส่งผลด้านลบต่อผลงาน… และความพยายามจะทำงานหลายอย่างพร้อมกัน หรือทำให้เกิดความสำเร็จอย่างรวดเร็ว จะทำให้ความตั้งใจน้อยลง ขาดสมาธิ มีแนวโน้มที่จะผิดพลาดได้

เหตุผลสำคัญของความล้มเหลวเหล่านี้ มีสาเหตุมาจาก.. การทำงานหลากหลาย จะแบ่งพลังประมวลผลของสมอง และยังลดประสิทธิภาพการทำงานของสมองอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่องานมากมายเหล่านี้ต้องทุ่มเทมากพอๆ กัน

สมองส่วนต่างๆ มีความชำนาญในกิจกรรมที่แตกต่างกัน เช่น การฟัง การดู การเคลื่อนไหว รวมถึงเรื่องการใช้ภาษา ดังนั้น การทำงานหลายอย่างพร้อมกันจึงเป็นเรื่องยากลำบาก และเป็นสาเหตุของปัญหามากมายตามมา

โดยเฉพาะเมื่องานสองอย่าง (หรือมากกว่านั้น) ต้องใช้รูปแบบการคิดที่เหมือนกันและอยู่ในพื้นที่เดียวกันของสมอง ตัวอย่างเช่น คุณพยายามฟังการสนทนาที่ต่างกันสองเรื่องในเวลาเดียวกัน (งานด้านการฟังที่ขัดแย้งกัน), พูดคุยโทรศัพท์ขณะอ่านหนังสือ (งานด้านภาษาที่ขัดแย้งกัน) หรือกระทั่ง คุณลองลูบท้องพร้อมกับตบหัวตัวเองไปด้วยสิ! (งานด้านการเคลื่อนไหวที่ขัดแย้งกัน) ดูฝืนๆ ไปหมดเลยเนอะ…

 

การทำงานหลายอย่างให้มีประสิทธิภาพ

 

ข้อแนะนำต่อไปนี้ หากนำไปปฏิบัติจะช่วยให้ทำกิจกรรมสองอย่าง (หรือมากกว่า) ได้พร้อมกัน และยังคงรักษาคุณภาพการคิดของคุณในการทำงานแต่ละอย่างได้…

1) อย่าปะปนงานที่ต้องใช้ทักษะเหมือนๆ กัน (เช่น การกดเบอร์โทรศัพท์มือถือขณะขับรถ ทั้งสองอย่างเป็นงานด้าน “การเคลื่อนไหว”) คุณควรนำงานที่ใช้ทักษะต่างกันมาทำพร้อมกัน จะทำให้เกิดปัญหาน้อยกว่า (เช่น การฟังดนตรีขณะขับรถ ซึ่งเป็นงานด้าน “การฟัง” บวกกับงานด้าน “การเคลื่อนไหว”)

2) หากคุณอยากฟังดนตรี ขณะอ่านหรือเขียนหนังสือ ลองฟังเพลงที่มีแต่ทำนองดนตรี โดยไม่มีเนื้อร้อง (ซึ่งคุณต้องใช้การประมวลทางภาษาในสมอง) หรือลองฟังเพลงต่างภาษา ซึ่งเนื้อเพลงและการพูดต่างภาษาจะเบนความสนใจได้น้อยกว่า

3) เมื่อคุณต้องสลับไปทำงานอีกอย่าง ให้มี “เวลาพัก” ระหว่างงานสองงานนั้น เพื่อทำให้ความคิดคุณปลอดโปร่งเสียก่อน หรืออีกวิธีหนึ่งคือ ลองหากิจกรรมประจำวันที่ไม่ต้องการความเอาใจใส่มากนัก-เพื่อมาทำ หลังจากทำงานที่ต้องใช้ความคิดมากๆ

 

บ่อยครั้ง ก็ควรจัดลำดับความสำคัญ

 

การจะทำงานให้สำเร็จ เราจำเป็นต้องกำหนดพลังใจและพลังงาน เพื่อจดจ่อกับเรื่องต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ… วิธีที่ดีที่สุดในการจดจ่อกับงานที่สำคัญมากๆ และหลีกเลี่ยงไม่ให้โดนเบนความสนใจ คือ… “ให้จัดลำดับความสำคัญ” ไม่ใช่ตอบสนองกับทุกเรื่องที่เข้ามาโดยทันที

 

เรื่องงาน ครอบครัว การพักผ่อน และการเล่นสนุกสนาน

 

ก่อนเริ่มทำกิจกรรมใด ลองเริ่มจากการเตือนตัวเอง ว่าเรื่องสำคัญที่สุดในชีวิตมีอะไรบ้าง… การค้นพบวิธีแก้ปัญหาที่นำไปปฏิบัติได้จริงๆ หรือเต็มไปด้วยความสร้างสรรค์ จะมีประโยชน์อะไร หากทางแก้เหล่านั้นไปคนละทางกับความคิด-ความเชื่อของคุณ

เพราะเรื่องทุกอย่างที่เราทำหรือพยายามจะทำนั้นล้วนจัดอยู่ในหนึ่งในสี่ประเภทต่อไปนี้ 1. เรื่องงาน (รวมถึงงานการกุศล และงานเล็กๆ น้อยๆ ภายในบ้าน) 2. เรื่องความสัมพันธ์กับคนอื่น และเรื่องครอบครัว 3. งานอดิเรก และเวลาพักผ่อนจากงาน (รวมถึงการศึกษาหาความรู้เพื่อความเพลิดเพลิน) 4. เรื่องสุขภาพ (รวมถึงการฝึกฝนจิตใจ เช่น การฝึกสมาธิหรือโยคะ)

คุณควรพิจารณาว่า เรื่องเหล่านี้มีเรื่องไหน “สำคัญที่สุดสำหรับคุณตอนนี้” อะไรคือความสำคัญอันดับต้นๆ โดยรวมในชีวิตคุณ? คุณทุ่มเทเวลาให้แต่ละเรื่องนานกี่ชั่วโมงต่อสัปดาห์? แล้วคุณอาจประหลาดใจที่พบว่า ตัวเองกำลังใช้เวลามากมายกับ “เรื่องที่ไม่เกี่ยวกับเป้าหมายสำคัญๆ ในชีวิตเลย”

 

ค้นหาว่าเรื่องไหนสำคัญที่สุด?

 

หลายต่อหลายครั้ง “การจัดลำดับความสำคัญ” มักถูกกำหนดจากเรื่องไหนต้องให้ความสนใจอย่างรีบด่วนที่สุด อาทิ งานเล็กๆ น้อยๆ ที่ทำประจำวัน การจ่ายเงินตามบิลเรียกเก็บ รวมทั้งการทำตามที่คนอื่นขอร้อง…

คุณกลายเป็นฝ่ายตั้งรับมากเกินไป เหมือนคนที่ยืนหน้าเครื่องยิงลูกเทนนิส คอยตีลูกบอลที่พุ่งเข้ามาอย่างลนลาน แต่ไม่เคยมีเวลา “หยุดพัก” เพื่อขยับไปทำเรื่องอื่นเลย… ในขณะที่ชีวิตยิงงานที่ “เร่งด่วนแต่ไม่สำคัญ” มาที่คุณ ทว่าระหว่างนั้น กลับมีกิจกรรมที่ “ไม่ด่วน แต่อาจทำให้ชีวิตคุณมีคุณภาพขึ้น” ถูกละเลยไว้เบื้องหลัง หรือไม่ก็ถูกมองข้าม!!!

 

ควรจัดลำดับความสำคัญให้กับ “เรื่องที่ทำให้ชีวิตดีขึ้น”

 

เราขอแนะนำให้คุณพิจารณากิจกรรมที่คุณทำ ว่าเข้าหมวดใดในรูปแบบงาน 4 ประเภท ต่อไปนี้… 1) งานด่วน และทำให้ชีวิตดีขึ้น 2) งานด่วน แต่ไม่ทำให้ชีวิตดีขึ้น 3) งานที่ทำให้ชีวิตดีขึ้น แต่ไม่รีบด่วน 4) งานที่ไม่ด่วน และไม่ทำให้ชีวิตดีขึ้น

ค่อยๆ เติมงานหรือกิจกรรมของคุณจัดเข้าหมวดหมู่ข้างต้น พยายามตั้งคำถามกับตัวเองว่า “การทำกิจกรรม-ทำงานนี้ เป็นการทำสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตเราหรือไม่?”

 

ถ้าคุณต้องทำงานหลายอย่างพร้อมกัน เลือกทำ “งานด่วนที่ทำให้ชีวิตดีขึ้น” เป็นลำดับแรก เมื่อกิจกรรม/งานนั้นลุล่วงลงแล้ว คุณค่อยทำ ข้อ 2) ข้อ 3) ส่วน “งานที่ไม่ด่วน และไม่ทำให้ชีวิตดีขึ้น” เราอยากถามคุณว่า “เอาเวลาไปทำอย่างอื่น ดีไหม?”

 

เรียบเรียงโดย LEARNING HUB THAILAND

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Ads, Google Analytics

    Statistics

  • Google Analytics

    Statistics

  • Facebook

    Marketing/Tracking

  • ActiveCampaign

    Functional

  • ActiveCampaign

    Marketing/Tracking

Save