วิธีสร้างทางเลือกเพื่อแก้ปัญหาที่ซับซ้อน

การจะตัดสินใจแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่งให้ดีที่สุด สิ่งสำคัญอยู่ที่การระบุให้ได้ว่า “ปัญหานั้น มีรูปแบบอย่างไร” คุณต้องถามตัวเองว่า “ฉันมีทางออกเดียว หรือมีทางออกที่มากกว่าหนึ่งทาง” 

การตั้งคำถามแบบนี้จะช่วยให้คุณคิดได้อย่างชัดเจน และยังช่วยให้ตัดสินใจได้ดีขึ้นอีกด้วย

====

ปัญหานี้ มีทางออกเดียว หรือหลายทาง

ปัญหาที่มีทางออกเดียว หรือมีหนทางแก้ไขจำกัด หมายถึงมีคำตอบแค่ ถูกหรือผิด (เช่น “2+2 เท่ากับเท่าไหร่?”, “สายการบินไหนบินตรงไปชิคาโก้บ้าง?”) ปัญหาลักษณะนี้จัดอยู่ในประเภท “ปัญหาที่มีทางออกเดียว”

แต่หากมีคำตอบที่เป็นไปได้มากมาย และไม่ได้มีคำตอบที่ดีที่สุดเพียงคำตอบเดียว (เช่น “จะเสิร์ฟอาหารอะไรในงานเลี้ยงอาหารค่ำ?”) ลักษณะนี้เรียกว่า “ปัญหาที่มีทางออกหลายทาง”

โดยปกติแล้ว เราจะพบเจอปัญหาที่มีทางออกหลายทางมากกว่าปัญหาที่มีทางออกเดียว แต่เพราะการมองปัญหาผิดๆ ทำให้คิดไปว่ามีทางออกเดียว ทั้งๆ ที่ความจริงไม่ได้เป็นแบบนั้น ทำให้การตัดสินใจเกิดขึ้นได้ยากกว่าที่ควรจะเป็น ต้องเสียเวลาและความพยายาม ทั้งยังต้องกังวลกับการเสาะหาทางออก “เพียงหนึ่งเดียว” ให้เจอ ทั้งที่มีทางออกอยู่หลายวิธี

====

การจัดการปัญหาที่มีทางออกเดียว

วิธีจัดการปัญหาที่มีทางออกเดียว คือต้องรีบกำจัดทางตันออกไป ลองจินตนาการถึงนักเดินเท้าสองคนที่กำลังแข่งกันไปถึงยอดเขา โดยเริ่มต้นจากจุดเดียวกัน แต่ละคนมีวิธีรับมือกับความท้าทายที่แตกต่างกัน

นักเดินทางที่มีความตั้งใจแบบนักบิน จะเริ่มต้นด้วยการใช้วิธีการอะไรก็ได้ ที่ทำให้เขาเข้าไปใกล้ภูเขามากขึ้น

ส่วนนักเดินทางซึ่งมีความตั้งใจแบบนักบุกเบิกจะเริ่มต้นด้วยการตรวจสอบภูมิประเทศแถบนั้นในแผนที่ เพื่อวางแผนเส้นทางทั้งหมด เมื่อทำแบบนี้ เขาจึงพบว่ามีแม่น้ำกว้างใหญ่กั้นระหว่างพวกเขากับภูเขา

====

ขณะที่คนอื่น ๆ จะพบแม่น้ำสายนี้ได้ก็ต้องมาถึงที่นี่ และต้องคิดทบทวนเส้นทางใหม่ ผู้ที่มีความตั้งใจแบบนักบุกเบิก จะเริ่มต้นด้วยวิธีที่ต่างจากนักบิน คือจะเริ่มเดิน “ออกห่างจากภูเขา” เพราะเขารู้แล้วว่า เส้นทางนั้นจะพาไปถึงสะพานข้ามแม่น้ำ

สำหรับปัญหาที่มีทางออกเดียว (นั่นคือจุดมุ่งหมาย หรือทางแก้ปัญหาที่จำกัดและเฉพาะเจาะจง) วิธีการของนักบุกเบิก จะใช้ได้ผลมากกว่า นั่นคือ การใช้เวลารวบรวมข้อมูลทุกอย่างที่จำเป็นล่วงหน้า ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาและพลังงาน จากการต้องเจอทางตัน แล้วกลับมาที่จุดเริ่มต้นอีกครั้ง…

====

การจัดการปัญหาที่มีทางออกหลายทาง

หากคุณกำลังจัดการกับปัญหาที่อาจมีทางออกมากมาย เช่น จะไปพักผ่อนที่ไหน? จะซื้อทีวีเครื่องไหน? จะเลือกเส้นทางการทำงานแบบไหน? เคล็ดลับความสำเร็จคือ ให้ใช้กลยุทธ์แบบนักบิน คือค่อยๆ ขยับเข้าไปสู่การตัดสินใจทีละน้อย แม้ไม่มั่นใจว่าจะใช่หนทางไปสู่การตัดสินใจหรือไม่ ก็ตาม

เทคนิคนี้ดัดแปลงมาจากกลยุทธ์นักบิน โดยเริ่มจากการพิจารณาปัญหา เพื่อดูว่าจะนำไปสู่อะไรได้บ้าง? การค่อยๆ พยายามหาคำตอบ โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ จะต้องแตกปัญหาใหญ่เป็นส่วนย่อยๆ ที่มองเห็นได้ชัดเจนที่สุด

จากนั้นลองทบทวนอีกครั้ง หากทางออกยังไม่ชัดเจน ให้แตกส่วนย่อยๆ เหล่านั้น เป็นส่วนย่อยที่เล็กลงไปอีก ลองทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนได้คำตอบ

====

ลองจินตนาการว่า คุณกำลังวางแผนพักผ่อนกับครอบครัว เริ่มต้นโดยพยายามหาทางออกที่เป็นทางออกทั่วไปที่สุด นั่นคือ หาสถานที่ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางสัก 2-3 แห่ง ที่เติมเต็มความต้องการเบื้องต้นของทุกๆ คน จากนั้นให้ถามตัวเองว่า จะต้องทำตามความต้องการของใครอีกบ้าง มีตัวเลือกใดหรือไม่ที่คุณนำมาปรับเปลี่ยน เพื่อจะได้มีทางเลือกมากขึ้น

ตัวอย่างเช่น หากจุดเริ่มต้นของคุณคือการพักผ่อนเที่ยวชมทิวทัศน์ ให้ดูว่ามีสถานที่ไหนใกล้ชายหาดที่ลูกๆ จะสนุกได้สัก 2-3 วัน หรือไม่? ให้ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งคุณตอบสนองความต้องการได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

====

วิธีแก้ปัญหาแบบมนตร์วิเศษ

ลองจินตนาการว่า เมื่อตื่นขึ้นในวันรุ่งขึ้น แล้วพบว่าปัญหาของคุณอันตรธานหายไปอย่างมหัศจรรย์ โดยไม่มีเหตุการณ์ใดมาเตือนล่วงหน้า คุณจะรู้ได้อย่างไร ว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นแล้ว?

ให้ลองจินตนาการถึงวันนั้นทั้งวัน และเขียนทุกอย่างลงไป (แม้กระทั่งเรื่องเล็กน้อยที่สุด) ว่าถ้าวันนั้นมีจริง จะมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง?

เทคนิคนี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่ความเชื่อ ว่าจะมีสิ่งดีๆ เกิดขึ้น… การจินตนาการถึงรายละเอียดต่างๆ ของชีวิตในอนาคต จะทำให้คุณคิดอย่างมีอิสระ ไม่มีข้อจำกัด และอาจพบมุมมองใหม่ๆ ที่ช่วยให้ปัญหาเบาบางลงในที่สุด หรือกระทั่งหลีกเลี่ยงปัญหาทั้งหมดได้

แม้จะจินตนาการถึงความสำเร็จจากการแก้ปัญหาได้ชัดเจนขนาดไหน แต่ถ้าไม่ลงมือทำก็คงไม่มีทางเกิดขึ้นได้จริง อ่าน อยากสำเร็จต้องเปลี่ยนจากการรู้ตัวเป็นการปรับตัวด้วยวิธีนี้ เพื่อต่อยอดสู่การลงมือปฏิบัติอย่างแท้จริง 

====

วิธีแก้ปัญหาแบบเน้นด้านบวก

ให้ถามตัวเองว่า “จะมีเวลานั้นไหม ที่จะได้เห็นผลลัพธ์ที่ฉันต้องการ” เช่น หากลูกปัสสาวะรดที่นอน คำถามที่คุณต้องเน้นคือ “คืนไหนที่ลูกของฉันจะไม่ปัสสาวะรดที่นอน”

หากคุณต้องการหาเงินได้มากขึ้น ลองถามว่า “เมื่อไหร่ที่ฉันจะหาเงินได้มากขึ้น” หรือมองเรื่องนั้นๆ จากมุมอื่น เช่น “เมื่อไหร่ที่จะรู้สึกพอใจกับสิ่งที่ฉันหามาได้”

หากระบุปัจจัยที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ต้องการได้ แม้จะเล็กน้อยแค่ไหนก็ตาม ให้คุณลองต่อยอดจากปัจจัยนั้นดู แล้วจะพบว่าทางแก้ปัญหาเริ่มชัดเจนมากขึ้นได้จริง ๆ 

====

การแก้ปัญหาเป็นทักษะที่คุณสามารถเรียนรู้และฝึกฝนได้ เราขอแนะนำหลักสูตร Problem Solving & Decision Making คลิกดูรายละเอียดที่นี่ 

บทความโดย Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

 
ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 093-925-4962

 

 

วิธีจัดการปัญหา แบบทางออกทางเดียว และหลายทาง

28 03 2017

การจะตัดสินใจแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่งให้ได้ดีที่สุด สิ่งสำคัญอยู่ที่การระบุให้ได้ว่า “ปัญหาหรือความท้าทายนั้น มีรูปแบบอย่างไร” ต้องถามตัวเองว่า “คุณมีทางออกเดียว หรือมีทางออกที่น่าพอใจมากกว่าหนึ่งทาง” การถามแบบนี้จะช่วยให้คุณคิดได้อย่างชัดเจน… ทั้งยังช่วยคุณเรื่องการตัดสินใจได้อีกด้วย…

 

ปัญหานี้ มีทางออกเดียว หรือหลายทาง

 

หากปัญหามีทางออกเดียว หรือมีหนทางแก้ไขจำนวนจำกัด และมีคำตอบแค่ ถูกหรือผิด (เช่น “2+2 เท่ากับเท่าไหร่?”, “สายการบินไหนบินตรงไปชิคาโก้บ้าง?”) ปัญหาลักษณะนี้จัดอยู่ในประเภท “มีทางออกเดียว” แต่หากมีคำตอบที่เป็นไปได้มากมาย และไม่ได้มีคำตอบที่ดีที่สุดเพียงคำตอบเดียว (เช่น “จะเสิร์ฟอาหารอะไรในงานเลี้ยงอาหารค่ำ?”) จะเรียกว่าเป็น ปัญหาแบบ “มีทางออกหลายทาง”

โดยปกติแล้ว ปัญหาที่มีทางออกหลายทาง เราพบเจอได้มากกว่าปัญหาที่มีทางออกเดียว เพราะการมองปัญหาผิดๆ คิดว่ามีทางออกเดียว ทั้งๆ ที่ไม่ได้เป็นแบบนั้น ทำให้การตัดสินใจเป็นไปได้ยากกว่าที่ควรจะเป็น อาจต้องเสียเวลาและความพยายาม ทั้งยังต้องกังวลกับการเสาะหาทางออก “เพียงทางเดียว” ให้เจอ ทั้งที่ทางออก “มีหลายวิธี”

 

การจัดการปัญหาที่มีทางออกเดียว

 

วิธีจัดการปัญหาที่มีทางออกเดียว คือต้องรีบกำจัดทางตันออกไป ลองจินตนาการถึงนักเดินเท้าสองคนที่กำลังแข่งกันไปถึงยอดเขา โดยเริ่มต้นจากจุดเดียวกัน แต่ละคนมีวิธีรับมือกับความท้าทายแตกต่างกัน

นักเดินทางที่มีความตั้งใจแบบนักบิน จะเริ่มต้นด้วยการใช้วิธีการอะไรก็ได้ ที่ทำให้เขาเข้าไปใกล้ภูเขามากขึ้น… ส่วนนักเดินทางอีกคนซึ่งมีความตั้งใจแบบนักบุกเบิก เขาจะเริ่มต้นด้วยการตรวจสอบภูมิประเทศแถบนั้นในแผนที่ เพื่อวางแผนเส้นทางทั้งหมด เมื่อทำแบบนี้ เขาจึงพบว่ามีแม่น้ำกว้างใหญ่กั้นระหว่างพวกเขากับภูเขา

ขณะที่เพื่อนของเขาจะพบแม่น้ำสายนี้ ก็ต่อเมื่อต้องมาถึงที่นี่ และต้องคิดทบทวนเส้นทางใหม่… ผู้มีความตั้งใจแบบนักบุกเบิก จะเริ่มต้นด้วยวิธีที่ต่างกัน และเริ่มเดิน “ออกห่างจากภูเขา” เพราะเขารู้แล้วว่า เส้นทางนั้นจะพาไปถึงสะพานข้ามแม่น้ำ

สำหรับปัญหาที่มีทางออกเดียวแบบนี้ (นั่นคือจุดมุ่งหมาย หรือทางแก้ปัญหาที่จำกัดและเฉพาะเจาะจง) วิธีการของนักบุกเบิก จะใช้ได้ผลมากกว่า… การใช้เวลารวบรวมข้อมูลทุกอย่างที่จำเป็นล่วงหน้า ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาและพลังงาน จากการต้องเจอทางตัน แล้วกลับมาที่จุดเริ่มต้นอีกครั้ง…

 

การจัดการปัญหาที่มีทางออกหลายทาง

 

หากคุณกำลังจัดการกับปัญหาที่อาจมีทางออกมากมาย เช่น จะไปพักผ่อนที่ไหน? จะซื้อทีวีเครื่องไหน? จะเลือกเส้นทางการทำงานแบบไหน? เคล็ดลับความสำเร็จคือ ให้ใช้กลยุทธ์แบบนักบิน คือค่อยๆ ขยับเข้าไปสู่การตัดสินใจทีละน้อย แม้ไม่มั่นใจว่าจะใช่หนทางไปสู่การตัดสินใจหรือไม่ ก็ตาม

เทคนิคนี้ดัดแปลงมาจากกลยุทธ์นักบิน โดยเริ่มจากการพิจารณาปัญหา เพื่อดูว่าจะนำไปสู่อะไรได้บ้าง? การค่อยๆ พยายามหาคำตอบ โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ จะต้องแตกปัญหาใหญ่เป็นส่วนย่อยๆ ที่มองเห็นได้ชัดเจนที่สุด แล้วลองทบทวนอีกครั้ง หากทางออกยังไม่ชัดเจน ให้แตกส่วนย่อยๆ เหล่านั้น เป็นส่วนย่อยที่เล็กลงไปอีก ลองทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนได้คำตอบ

ลองจินตนาการว่า คุณกำลังวางแผนพักผ่อนกับครอบครัว เริ่มต้นโดยพยายามหาทางออกที่เป็นทางออกทั่วไปที่สุด นั่นคือ หาสถานที่ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางสัก 2-3 แห่ง ที่เติมเต็มความต้องการเบื้องต้นของทุกๆ คน จากนั้นให้ถามตัวเองว่า จะต้องทำตามความต้องการของใครอีกบ้าง มีตัวเลือกใดหรือไม่ที่คุณนำมาปรับเปลี่ยน เพื่อจะได้มีทางเลือกมากขึ้น

ตัวอย่างเช่น หากจุดเริ่มต้นของคุณคือการพักผ่อนเที่ยวชมทิวทัศน์ ให้ดูว่ามีสถานที่ไหนใกล้ชายหาดที่ลูกๆ จะสนุกได้สัก 2-3 วัน หรือไม่? ให้ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งคุณตอบสนองความต้องการได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

 

วิธีแก้ปัญหาแบบมนต์วิเศษ

 

ลองจินตนาการว่า เมื่อตื่นขึ้นในวันรุ่งขึ้น แล้วพบว่าปัญหาของคุณอันตรธานหายไปอย่างมหัศจรรย์ โดยไม่มีเหตุการณ์ใดมาเตือนล่วงหน้า คุณจะรู้ได้อย่างไร ว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นแล้ว? ให้ลองจินตนาการถึงวันนั้นทั้งวัน และเขียนทุกอย่างลงไป (แม้กระทั่งเรื่องเล็กน้อยที่สุด) ว่าถ้าวันนั้นมีจริง จะมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง?

เทคนิคนี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่ความเชื่อ ว่าจะมีสิ่งดีๆ เกิดขึ้น… การจินตนาการถึงรายละเอียดต่างๆ ของชีวิตในอนาคต จะทำให้คุณคิดอย่างมีอิสระ ไม่มีข้อจำกัด และอาจพบมุมมองใหม่ๆ ที่ช่วยให้ปัญหาเบาบางลงในที่สุด หรือกระทั่งหลีกเลี่ยงปัญหาทั้งหมดได้…

 

วิธีแก้ปัญหาแบบเน้นด้านบวก

 

ให้ถามตัวเองว่า “จะมีเวลานั้นไหม ที่จะได้เห็นผลลัพธ์ที่ฉันต้องการ” เช่น หากลูกปัสสาวะรดที่นอน คำถามที่คุณต้องเน้นคือ “คืนไหนที่ลูกของฉันจะไม่ปัสสาวะรดที่นอน”

หากคุณต้องการหาเงินได้มากขึ้น ลองถามว่า “เมื่อไหร่ที่ฉันจะหาเงินได้มากขึ้น” หรือมองเรื่องนั้นๆ จากมุมอื่น เช่น “เมื่อไหร่ที่จะรู้สึกพอใจกับสิ่งที่ฉันหามาได้” หากระบุปัจจัยที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ต้องการได้ (แม้จะเล็กน้อยก็ตาม) ให้ลองต่อยอดจากปัจจัยนั้นออกไป…

 

เรียบเรียงโดย LEARNING HUB THAILAND

กำจัดความเชื่อผิดๆ เพิ่มความสำเร็จให้ชีวิต

31 03 2017

คุณรู้สึกว่าเหตุการณ์ต่อไปนี้คุ้นๆ ไหม? ขณะนั่งดูทีวี ภรรยาของคุณเรียกให้ช่วยเข้าไปหยิบเกลือในห้องครัวให้หน่อย? คุณตอบไปว่า “ผมไม่รู้ว่ามันอยู่ที่ไหน” เธอบอกกลับมาว่า “ลองหาดูสิ! มันอยู่แถวนั้นแหละ”

คุณลุกขึ้นอย่างลังเล เดินเข้าไปในครัว บ่นพึมพำกับตัวเองว่า “ไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหน แล้วจะหาเจอได้ยังไง?” คุณเดินดูรอบๆ แต่ก็ไม่พบเกลือ จึงตะโกนกลับไปว่า “หาไม่เจอ”

เธอย้ำกลับมาว่า “ลองดูดีๆ สิ! อยู่แถวๆ นั้นแหละ” คุณมองขึ้นมองลง ยังไงก็หาไม่เจอ… ในที่สุด ภรรยาของคุณทนไม่ไหว เดินเข้ามาในครัว หยิบเกลือจาก “ตรงหน้าคุณ” นั่นแหละ พร้อมกับพูดว่า “นี่ไง… มองไม่เห็นได้ไงนะ…”

 

อาการจิตมองไม่เห็น.. เกิดได้อย่างไร?

 

ในทางจิตวิทยา เรียกเหตุการณ์นี้ว่า “อาการจิตมองไม่เห็น” (Schetoma) หรือ “จุดบอดทางความเข้าใจ” (Perceptual Blind Spot) ตัวอย่างข้างต้นเกิดขึ้นได้บ่อยมาก ซึ่งมันแสดงให้เห็นว่า “ความเชื่อ” สามารถลบสิ่งที่คิดและเข้าใจได้… เมื่อคุณทำให้ตัวเองเชื่อว่า “ไม่สามารถหาเกลือเจอ” สมองของคุณก็จะ “ลบภาพเกลือ” ที่มีอยู่ออกไป… แม้ว่าตาของคุณจะ “มองเห็น” มันก็ตาม

เช่นเดียวกัน ในเวลาย่ำแย่ ถ้าคุณเชื่อว่า “ไม่มีโอกาสสำหรับคุณ” คุณก็จะลบทุกสิ่งทุกอย่างที่สนับสนุนโอกาสดังกล่าว และพานพบแต่เรื่องแย่ๆ อย่างที่คุณเชื่อนั่นแหละ!

 

ความเชื่อที่เรามีอยู่ เกิดขึ้นได้อย่างไร?

 

ความเชื่อส่วนใหญ่มาจากการถอดแบบบุคคลสำคัญที่อยู่รอบตัว เช่น พ่อ-แม่ ครู เพื่อน… เรามีแนวโน้มที่จะมีความเชื่อคล้ายกับบุคคลที่มีอิทธิพลต่อชีวิตเรา ถ้าพ่อแม่ของคุณเชื่อว่า “พวกเขาไม่มีทางที่จะร่ำรวยได้” คุณก็มีแนวโน้มที่จะ “เชื่อ” แบบนั้น

ถ้าคุณเติบโตขึ้นมาในครอบครัวที่ไม่มีใครเรียนจบ คุณย่อมมีแนวโน้มที่จะมีความเชื่อว่า “การศึกษาเป็นเรื่องยาก หรือไม่สำคัญ” นอกจากนี้ ความเชื่อส่วนใหญ่ยังมาจาก “ประสบการณ์ในอดีต” ด้วย

โดยปกติ “ความเชื่อที่เรามี” จะมาจากความเข้าใจ หรือการตีความประสบการณ์ในอดีต ซึ่งหลังจากนั้นไม่นาน ก็จะกลายเป็น “คำสั่งฝังอยู่ในสมอง” และกำหนดวิธีการดำเนินชีวิต… เราจะลืมไปว่ามันเป็นเพียงความเข้าใจไปเอง และเริ่มยอมรับว่า “มันเป็นความจริง”

ขณะที่ความเชื่อบางอย่าง ให้พลังกับเราอย่างแท้จริง แต่ก็มีความเชื่อหลายอย่าง สร้างข้อจำกัดให้เรา ยกตัวอย่างเช่น ความเชื่อที่ว่า ฉันไม่เก่งเลข, ฉันเป็นคนเรียนรู้ช้า, ฉันเข้ากับคนอื่นไม่ได้, ฉันขี้เกียจ หรือ ฉันอายุน้อยเกินไปหรือแก่เกินไปที่จะประสบความสำเร็จ…

 

เราสร้างความเชื่อขึ้นมาได้อย่างไร?

 

“ความเชื่อ” เริ่มต้นจากความคิดที่มีคนบางคนให้กับเรา หรือเราให้กับตัวเอง เมื่อมีประสบการณ์ในอดีตสนับสนุนความคิดดังกล่าวมากขึ้นเรื่อยๆ ความคิดก็จะก่อตัวเป็นรูปเป็นร่าง จนในที่สุดก็กลายเป็น… ความเชื่อ

และเมื่อกลายเป็น “ความเชื่อ” เราก็จะไม่สงสัยอะไรอีกเลย มันจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบภายในร่างกาย เป็นตัวขับเคลื่อนการตัดสินใจและพฤติกรรมทุกอย่างของเรา

ในหนังสือ “พลังไร้ขีดจำกัด” (Unlimited Power) ของ แอนโธนี ร็อบบินส์ ได้อธิบายเรื่องความเชื่อในเชิงอุปมาอุปไมยว่า…

“เมื่อเรามีความคิดใดความคิดหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องบางเรื่องเป็น ‘ครั้งแรก’ ยกตัวอย่างเช่น ฉันเป็นคนเรียนรู้ช้า มันยังคงเป็นแค่ความคิดที่ไม่มีอำนาจเหนือเรามากนัก ซึ่งก็เหมือนกับโต๊ะที่ไม่มีขารองรับสักอัน แต่เมื่อเวลาผ่านไป เราได้พบกับเหตุการณ์ที่มาสนับสนุนความคิดนี้ ก็เหมือนกับเราได้เพิ่มขาให้กับโต๊ะตัวนี้ ทีละขาๆ แล้วไม่นาน เมื่อขา (เหตุการณ์) ถูกเพิ่มจำนวนมากพอ เราก็จะได้โต๊ะที่แข็งแรงในที่สุด (ความเชื่อที่ทรงพลัง)”

 

เราจะเปลี่ยนความเชื่อ ได้อย่างไร?

 

ถ้าคุณมีความเชื่อแย่ๆ ฝังหัว ที่อยากจะเปลี่ยน… นักจิตวิทยาแนะนำ 5 ขั้นตอน เพื่อเปลี่ยนความเชื่อที่คุณต้องการเปลี่ยน ดังนี้…

 

1. หาเหตุผลให้มากพอที่จะเปลี่ยนความเชื่อ

 

ขั้นแรกในการเปลี่ยนความเชื่อ คือการหาเหตุผลที่สำคัญมากพอที่จะทำให้เราเปลี่ยน คนส่วนใหญ่ไม่เปลี่ยนความเชื่อ เพราะคิดว่า แม้จะเป็นสถานการณ์ที่เรารู้สึกไม่พอใจกับผลลัพธ์ที่ได้ แต่มันก็ไม่ได้เจ็บปวดมากถึงขนาดต้องเปลี่ยน ดังนั้นจึงต้องสร้างเหตุผลให้มากพอที่จะทำให้เรา… ต้องเปลี่ยน!

วิธีที่สร้างพลังได้อย่างมากก็คือ ความเชื่อที่สร้างข้อจำกัดให้ตัวเองนี้ จะส่ง “ผลเสีย” ต่อชีวิตเรามากแค่ไหน? และยังจะส่งผลเสียต่อไปในอนาคตอย่างไร?

ขอให้ระลึกเสมอว่า เราถูกขับเคลื่อนด้วยอารมณ์ ไม่ใช่เหตุผล คุณอาจมีเหตุผลที่มีน้ำหนักมากมาย ว่าทำไมต้องเปลี่ยน แต่คุณจะไม่เปลี่ยน จนกว่าจะได้สร้างภาพในใจ และรู้สึกมีอารมณ์ร่วมมากพอ จนทำให้คุณต้องการเปลี่ยน

ถัดจากความเชื่อที่สร้างข้อจำกัดให้ตัวเองในแต่ละอย่างแล้ว นักจิตวิทยาต้องการให้คุณคิด และเขียนออกมา ถึงสิ่งที่คุณได้สูญเสียไปจากการยึดติดกับความเชื่อนั้นๆ

ในอดีต ความเชื่อเหล่านี้สร้างความเสียหายให้แก่คุณอย่างไร? ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณมีความเชื่อว่า คุณ “ไม่มีประสบการณ์มากพอ” มันจะปิดกั้นคุณจากการเข้าไปเสี่ยง ปิดกั้นคุณจากการได้เลื่อนตำแหน่ง ปิดกั้นคุณจากโอกาสที่จะได้รับผลประโยชน์ในธุรกิจ

นักจิตวิทยาต้องการให้คุณคิดต่อด้วยว่า “ถ้าฉันยังคงยึดติดกับความเชื่อเหล่านี้ มันจะจำกัดตัวฉันในอนาคตอย่างไรบ้าง? มันจะปิดกั้นฉันไม่ให้ประสบความสำเร็จในเรื่องอะไรบ้าง?”

เขียนเหตุผลทั้งหมด ว่าทำไมคุณต้องเปลี่ยนความเชื่อเหล่านี้ จนกว่าคุณจะถึงจุดแตกหักในใจ และเมื่อนั้น “คุณจะเกิดอารมณ์ร่วมมากพอ ที่จะทำให้คุณต้องเปลี่ยน!”

2. ท้าทายหลักฐานที่มาสนับสนุนความเชื่อนี้

 

ต่อมา เราจะเริ่มวิเคราะห์ “ความเชื่อซึ่งเป็นข้อจำกัดให้ตัวเอง” และเริ่มท้าทายหลักฐานที่มาสนับสนุน จำไว้ว่า เราจำเป็นต้องเอาขาโต๊ะที่สนับสนุนความเชื่อแย่ๆ ออกไป แล้วในที่สุดคุณก็จะพบว่า หลักฐานเหล่านี้ไม่ได้มีอะไรมากไปกว่า “ความเห็นทั่วๆ ไป และการตีความแบบผิดๆ ที่คุณได้รับจากประสบการณ์ในอดีต”

ก่อนอื่น คุณต้องหาหลักฐานที่จะมาหักล้างความเชื่อของคุณ ด้วยการถามคำถามเหล่านี้ 1) ฉันสร้างความเชื่อนี้ขึ้นมาได้อย่างไร? 2) อะไรทำให้ฉันเชื่อว่ามันเป็นความจริง?

ต่อมา ให้ท้าทายหลักฐานทั้งหลายด้วยการถามว่า 1) สิ่งนี้มีความหมายอะไรนอกเหนือจากนี้อีกไหม? 2) มีตัวอย่างที่ค้านกับหลักฐานนี้ไหม? 3) บุคคลที่ให้ความเชื่อนี้กับฉัน มีความน่าเชื่อถือแค่ไหน?

ยกตัวอย่างเช่น ผมพบว่าความเชื่อ “ผมแย่มากในวิชาเลข” ซึ่งมาจากหลักฐาน 3 อย่าง 1) การไม่เข้าใจเรื่องการคูณ 2) เคยสอบตกวิชาเลข และ 3) แม่บอกว่าเป็นกรรมพันธุ์

จากการวิเคราะห์ “หลักฐาน” ผมเริ่มเปลี่ยนความหมายของประสบการณ์เหล่านี้… “การไม่เข้าใจเรื่องการคูณ” สามารถตีความอย่างง่ายๆ ได้ว่า ผมไม่ได้ถูกสอนวิธีที่จะทำให้ผมเข้าใจได้ แทนที่จะตีความว่า ผมเรียนรู้ไม่ได้… “การสอบตกวิชาเลข” สามารถตีความได้ว่า ผมไม่ตั้งใจเรียนในห้อง และไม่ได้พยายามเรียนรู้มันเลย…

ที่ผมเรียนเลขแย่ ไม่ใช่เพราะกรรมพันธุ์ และแม่ของผมก็ไม่ได้น่าเชื่อถือพอที่จะยืนยันว่า ผมไม่มีความสามารถในวิชาเลข เพราะเธอเกลียดวิชาเลข อีกทั้งผมยังพบตัวอย่างมากมายที่ค้านเรื่องกรรมพันธุ์ นั่นคือ เพื่อนของผมหลายคนที่พ่อแม่ที่ไม่ได้ฉลาดปราดเปรื่องเรื่องการศึกษา แต่พวกเขากลับฉลาดปราดเปรื่อง…

มาเริ่มลงมือหา “หลักฐาน” ว่าอะไรทำให้เกิด “ความเชื่อที่สร้างข้อจำกัดในตัวคุณ” กันเถอะ

 

3. สร้างความเชื่อใหม่ที่ให้พลัง

 

เมื่อคุณได้เขย่าฐานรากของความเชื่อที่สร้างข้อจำกัดให้ตัวเองแล้ว คุณต้องสร้าง “ความเชื่อใหม่” ที่ให้พลัง เข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่า ความเชื่ออะไรบ้างที่จะช่วยเสริมสร้างพลังให้คุณลงมือทำ…

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าความเชื่ออันเก่าคือ “ผมยังเด็กเกินไปที่จะเริ่มทำธุรกิจ” ความเชื่ออันใหม่ก็อาจจะเป็น “อายุน้อย หมายถึงการมีความเฉียบแหลม และพลังงานจำนวนมากในการทำธุรกิจ” หรือ “คนอายุน้อยเป็นนักธุรกิจที่ดีกว่า เพราะพวกเขามีความยืดหยุ่นและเปิดใจรับความคิดใหม่ๆ ได้มากกว่า”

ถ้าความเชื่อที่สร้างข้อจำกัดให้ตัวเองคือ “ผมแก่เกินไปที่จะเริ่มทำธุรกิจ” ลองมองหาตัวอย่างของคนที่เปลี่ยนอาชีพตอนอายุ 40 หรือแม้แต่อายุ 50 ปีขึ้นไป และสามารถสร้างความสำเร็จจนมีชื่อเสียงได้

เอาล่ะ! มาเขียนความเชื่อใหม่ที่ให้พลังกัน เดี๋ยวนี้เลย…

 

4. สร้างหลักฐานใหม่ เพื่อสนับสนุนความเชื่อใหม่

 

เมื่อคุณได้สร้างความเชื่อใหม่ขึ้นมาแล้ว ให้หา “หลักฐาน” เพื่อสนับสนุนความเชื่อใหม่นี้ด้วยว่า มีกี่ครั้งในอดีต ที่ความเชื่อใหม่นี้เป็นความจริง? ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณต้องการเอาความเชื่อที่ว่า “ฉันเป็นคนที่เรียนรู้เร็ว” มาใช้ เคยมีบ้างไหมในอดีต ที่คุณเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ได้รวดเร็วมาก? มีตัวอย่างที่คุณเคยเห็นจากคนอื่นๆ หรือเปล่า?

มีงานวิจัยของนักจิตวิทยา ยืนยันว่า ทุกความเชื่อที่คุณต้องการ สามารถหาหลักฐานสนับสนุนได้ โดยหาอ่านจากหนังสือ หรือค้นข้อมูลในอินเตอร์เน็ต ยกตัวอย่างเช่น เมื่อผมต้องการติดตั้งความเชื่อที่ว่า “คนอายุน้อยๆ ก็เริ่มทำธุรกิจได้ และประสบความสำเร็จด้วย” ผมพยายามค้นคว้าและหาข้อมูลอย่างมาก จนพบว่ามีผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จจำนวนมาก ที่เริ่มต้นตอนอายุน้อยๆ และเริ่มต้นตอนไม่มีเงินทุน

ถ้าคุณหาหลักฐานไม่ได้เลย จงสร้างมันขึ้นมา อย่าลืมว่า จิตใจไม่สามารถบอกความแตกต่างระหว่างสิ่งที่เป็นจริง กับสิ่งที่จินตนาการได้ นี่เป็นเรื่องจริง! และเป็นสิ่งที่ โรเจอร์ บานิสเตอร์ ทำ ตอนที่เขาตั้งเป้าทำลายสถิติโลกในการวิ่งระยะไกล…

จงหา และเขียนหลักฐานที่จะมาสนับสนุนความเชื่ออันใหม่นี้ ให้มากที่สุดเท่าที่คุณหาได้…

 

5. จินตนาการภาพสิ่งดีๆ ในอนาคต จากความเชื่อใหม่

 

ข้อสุดท้าย นักจิตวิทยาต้องการให้คุณใช้เวลา และใช้พลังที่ได้จากการสร้างภาพในใจ ติดตั้งความเชื่อใหม่ที่ให้พลังเหล่านี้… ซึ่งวิธีการง่าย ๆ ก็คือ…ให้คุณปิดตาและนำตัวเองไปในอนาคต!

ลองนึกภาพดูสิว่า หากคุณนำความเชื่อใหม่ที่ให้พลังไปใช้ 1 ปีจากนี้ 2 ปีจากนี้ 5 ปีจากนี้ หรือ 10 ปีจากนี้ คุณจะแตกต่างจากเดิมอย่างไร? คุณจะทำอะไรที่ในอดีตคุณไม่ได้ทำบ้าง? คุณจะตัดสินใจอะไรใหม่ๆ ที่แตกต่างจากเดิมบ้างไหม? คุณจะได้รับประโยชน์อะไรจากความเชื่อใหม่นี้?

จงเขียนประโยชน์ด้านต่างๆ ที่คุณจะได้รับ… จากการมีความเชื่อใหม่ที่ให้พลังด้านบวก…

 

เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณต้องการเปลี่ยน “ความเชื่อที่เป็นข้อจำกัดให้ตัวเอง” หรือช่วยใครบางคน “ปลดปล่อยชีวิตให้เป็นอิสระ” ลองทำตาม “5 วิธีกำจัดความเชื่อแย่ๆ” ข้างต้น… เราเชื่อมั่นว่า อนาคตใหม่ที่ดีกว่า กำลังรอคุณอยู่…

 

 

เรียบเรียงโดย LEARNING HUB THAILAND 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Ads, Google Analytics

    Statistics

  • Google Analytics

    Statistics

  • Facebook

    Marketing/Tracking

  • ActiveCampaign

    Functional

  • ActiveCampaign

    Marketing/Tracking

Save