10 คำแนะนำควรระวัง เกี่ยวกับอาชีพการงาน

03 04 2017

คุณเคยขอ “คำแนะนำเรื่องงาน” จากคนรอบข้างบ้างไหม? แล้วคุณรู้หรือไม่ว่า บางทีคำตอบที่คุณได้มานั้น อาจไม่ใช่คำแนะนำที่ดีเสมอไป!!! บางคนแนะนำโดยไม่มีประสบการณ์ บางคนมีความเข้าใจผิดๆ บางคนตัดสินใจจากอคติหรือความชอบส่วนบุคคล… บทความนี้จะชี้ให้เห็นถึง “10 คำแนะนำควรระวัง ที่อาจทำให้คุณพลาดงานดีๆ ไปอย่างน่าเสียดาย”

 

1. คว้างานตรงหน้าไว้ก่อน แม้คุณจะไม่ชอบมัน

 

ถ้าคุณสมัครงานหลายที่ และปรากฏว่าคุณได้งานที่คุณไม่ชอบ… สิ่งที่คุณควรทำ คือควรปฏิเสธงานนั้นทันที และรองานที่ใช่สำหรับคุณจริงๆ…

การตอบรับทำงานที่คุณไม่ชอบ จะส่ง “ผลเสีย” ต่อตัวคุณและนายจ้าง กล่าวคือ ผู้จ้างจะเสียเวลาและโอกาสในการคัดเลือกพนักงานอื่นๆ ที่เหมาะสมกับตำแหน่ง ส่วนตัวคุณก็ต้องกล้ำกลืนฝืนทนทำงานที่ตนไม่ชอบ ซึ่งจะส่งผลให้คุณท้อแท้ หมดไฟ ไม่มีความสุข… นอกจากนี้ หากคุณตกลงทำงานนั้นในระยะสั้นๆ แล้วตัดสินใจลาออก ย่อมเท่ากับว่า คุณกำลังทำลายชื่อเสียงของตัวเอง เพราะคุณจะกลายเป็นคนที่ไม่มีความอดทน เปลี่ยนงานบ่อย ไม่น่าเชื่อถือ

 

2. ทำงานที่ได้ผลตอบแทนสูงสุด

 

หนึ่งในปัจจัยที่เราใช้ตัดสินใจเลือกทำงานใดงานหนึ่ง คือ “ผลตอบแทน” แต่เงินไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่าง อย่างน้อย เงินก็ไม่สามารถซื้อความสุขได้!!!

หากมีคนแนะนำคุณว่า “จงเลือกทำงานที่ได้ผลตอบแทนสูงสุด” แสดงว่าเขาไม่เข้าใจความหมายของ “ชีวิตการทำงาน” เลย เพราะการทำงานมีอะไรมากกว่านั้น คุณจึงควรพิจารณาลักษณะงาน หน้าที่ความรับผิดชอบ วัฒนธรรมองค์กร สวัสดิการอื่นๆ และโอกาสความก้าวหน้า จงท่องให้ขึ้นใจว่า “หากคุณมีเงิน แต่ไม่มีความสุข ชีวิตก็ไร้ค่า”

 

3. ทำงานที่คุณถนัดเท่านั้น

 

คุณอาจมีทักษะหรือความถนัดในด้านใดด้านหนึ่ง แต่อย่าลืมว่า แท้จริงแล้วคนๆ หนึ่ง สามารถทำสิ่งต่างๆ ได้มากมาย เช่น พูดภาษาจีน เล่นเปียโน ขับรถ ช่างเจรจา ว่ายน้ำ นอกจากนี้ คุณอาจมีพรสวรรค์อื่นๆ ที่ยังไม่ค้นพบอีกด้วย…

อย่าปิดกั้นโอกาสของตนเอง ด้วยการสมัครงานในตำแหน่งที่คุณคิดว่าถนัด เพราะการที่คุณเก่งในบางเรื่อง อาจไม่ใช่เหตุผลสำหรับการทำงาน ยกตัวอย่างเช่น คุณเป็นคนขับรถที่ดีมาก ไม่ได้แปลว่าคุณควรทำอาชีพคนขับรถแท็กซี่!!! พยายามเปิดใจให้กว้าง ค้นหาตัวเอง และเชื่อมั่นในความสามารถที่ซ่อนอยู่ในตัวคุณ

 

4. ทำงานหนัก จะได้เลื่อนตำแหน่ง

 

ความเชื่อที่ว่า “คุณต้องทำงานหนัก จึงจะได้เลื่อนตำแหน่ง” เป็นความคิดที่ผิด เพราะจริงๆ แล้วบริษัทไม่ได้ถือเอา “จำนวนเวลาทำงาน” มาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งของพนักงาน แต่บริษัทมองหา “คุณค่าและประโยชน์ที่พนักงานทำให้” ต่างหาก…

ดังนั้น การก้มหน้าก้มตาทำงานตลอดทั้งวัน อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่า คุณใช้เวลากับงานชิ้นนั้นเป็นเวลานาน และไม่เหมาะที่จะรับงานที่ยากขึ้น ทางที่ดีก็คือ คุณต้องทำให้เจ้านายเห็นว่า คุณสามารถรับผิดชอบงานให้สำเร็จ จัดการเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และคุณมีความสามารถมากกว่างานที่ได้รับมอบหมาย

 

5. ทำงานตามที่เคยเป็นมาโดยตลอด

 

วิธีการ “เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม” อาจใช้ไม่ได้ผลกับชีวิตการทำงาน เพราะหากคุณต้องการความก้าวหน้า คุณจำเป็นต้องเป็นที่รู้จักและมีความโดดเด่นในองค์กร กล่าวคือ หากบริษัทของคุณมีแบบแผน ทิศทาง หรือกระบวนการที่ปฏิบัติมาเป็นระยะเวลานาน ก็ไม่ได้แปลว่าสิ่งนั้นดีที่สุด และใช้ได้ตลอดไป เพราะฉะนั้น จงกล้าที่จะตั้งคำถาม คิดนอกกรอบ และคิดอย่างสร้างสรรค์ บางทีความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงอะไรสักอย่างในบริษัท อาจเป็นนวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่ และสร้างชื่อเสียงให้กับคุณ

 

6. ทำในสิ่งที่รัก แล้วเงินจะตามมา

 

ไม่ผิด หากคุณจะเชื่อว่า “ความรักในงานที่ทำ เป็นสิ่งสำคัญ” แต่ถ้าความรักสวนทางกับรายได้ อาจทำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย วิธีการทำงานที่ดี คือการหา “จุดลงตัว” ระหว่างงานที่ชอบ กับผลตอบแทนที่เหมาะสม

เช่น หากคุณมีพรสวรรค์ในงานศิลปะ งานเย็บปักถักร้อย การปลูกต้นไม้ หรือการซ่อมแซมสิ่งของ คุณสามารถนำทักษะเหล่านี้มาเปลี่ยนแปลงเป็นเงินได้ โดยคุณอาจผลิตผลงานขาย เขียนหนังสือ หรือสอนผู้อื่น กล่าวคือ อย่ามุ่งเน้นเพียงแต่ความรักในงานที่ทำ เพราะมันไม่สามารถชดเชยทุกอย่างได้ จงหาจุดที่พอดีระหว่างความสามารถ รายได้ และความต้องการของตลาด เพื่อให้การทำงานของคุณมีความสุขอย่างแท้จริง

 

7. เลือกทำงานในบริษัทที่มั่นคง

 

การทำงานในบริษัทที่มั่นคง ไม่ได้แปลว่าคุณกำลังทำงานที่ใช่! คุณรู้หรือไม่ว่า ความมั่นคง หรือความเคยชินในงาน เป็นสาเหตุให้คุณรู้สึกเบื่อหน่ายและขาดความกระตือรือร้น… มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งระบุว่า พนักงานจะรู้สึกพึงพอใจสูงสุด เมื่อได้ทำงานที่ท้าทาย และใช้ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ ดังนั้น จงอย่ากลัวที่จะก้าวออกไปจากงานที่คุณคุ้นเคย เพราะมันไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ในทางกลับกัน คุณจะได้เรียนรู้สิ่งแปลกใหม่ ได้รับประสบการณ์ที่คุ้มค่า และมีโอกาสเติบโตมากกว่าเดิม

 

8. ทำงานประจำ ดีกว่างานพาร์ทไทม์

 

แต่ละคนมีแนวคิดเรื่องการทำงานต่างกัน บางคนคิดว่าอาชีพฟรีแลนซ์ ไม่ใช่งาน! บางคนคิดว่าการส่งพิซซ่า เป็นแค่งานพาร์ทไทม์!!! อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้ก็คือ “งาน” เหมือนกัน… คุณจะมีโอกาสได้ใช้ความรู้ ความสามารถ ทักษะ กำลังแรงและกำลังสมอง เพื่อแลกกับผลตอบแทนที่ต้องการ แม้ว่าสำหรับบางงาน คุณอาจไม่ได้ทำไปตลอดชีวิต แต่อย่าดูถูก หรือมองข้าม… ทุกงานล้วนให้บทเรียนที่มีคุณค่า และมอบประสบการณ์ชีวิตแก่คุณ

 

9. ตอบรับตัวเลขเงินเดือน ตามที่บริษัทเสนอ

 

เมื่อคุณได้รับการเสนอเงินเดือน ขอให้ทบทวน พิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบ ก่อนตอบตกลง เพราะบริษัทต่างๆ มักเสนอเงินเดือนเพื่อการต่อรอง แต่เมื่อคุณรู้ความจริงข้อนี้แล้ว จงอย่าเรียกเงินเดือนที่สูงเกินกว่าความเป็นจริง และอย่ากลัวที่จะเรียกร้องขอเงินเพิ่ม

 

10. อย่าลาออกจากงาน แม้คุณจะไม่ชอบมันมากก็ตาม

 

คำแนะนำที่ว่า “อย่าลาออกจากงาน” ทั้งที่คุณไม่ชอบงานนั้นๆ เอาเสียเลย… เป็นสิ่งที่ฉุดรั้งชีวิตคุณมากเลยนะ เพราะชีวิตนี้สั้นเกินกว่าจะทำงานที่ตนไม่ชอบ! นอกจากนี้ หากคุณไม่มีความสุขกับงานที่ทำ ย่อมจะส่งผลต่อด้านอื่นๆ ในชีวิตด้วย ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ ด้านความสัมพันธ์ ดังนั้น หากคุณรู้สึกไม่มีความสุขกับงานที่ทำแล้ว ให้รีบมองหางานอื่นๆ เพราะนอกจากจะมีโอกาสเหมาะกับคุณมากกว่า ยังทำให้คุณภาพชีวิตของคุณดีขึ้นได้อีกด้วย…

 

จาก “10 คำแนะนำพึงระวัง” ข้างต้น… ชี้ให้เห็นว่า คำแนะนำจากคนรอบข้าง อาจไม่ถูกต้องเสมอไป ดังนั้น เมื่อคุณต้องตัดสินใจเรื่องงาน ลองฟังเสียงจากข้างใน เชื่อในสัญชาตญาณ และเลือกหนทางในชีวิตด้วยตนเอง

 

เรียบเรียงโดย LEARNING HUB THAILAND

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Ads, Google Analytics

    Statistics

  • Google Analytics

    Statistics

  • Facebook

    Marketing/Tracking

  • ActiveCampaign

    Functional

  • ActiveCampaign

    Marketing/Tracking

Save