5 ยุทธวิธีพิชิตความเครียด

17 03 2017

มีคนสองประเภทบนโลกใบนี้ นั่นคือ คนที่เชื่อว่าทุกสิ่งเกิดจาก “ผลของการกระทำ” กับคนที่เชื่อว่าทุกสิ่ง “เป็นไปตามยถากรรม”

คนกลุ่มแรก เชื่อว่าลิขิตฟ้าหรือจะสู้มานะตน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิต เส้นทางอาชีพ ความรัก ทุกสิ่งทุกอย่างเขาเป็นคนกำหนดขึ้นมาด้วยตัวเอง แต่คนอีกประเภทเชื่อว่า ทุกชีวิตล้วนเป็นไปตามโชคชะตา จะประสบพบเจออะไร ล้วนมีบางสิ่งกำหนดไว้แล้ว พวกเขารอที่จะขึ้นรถเมล์ และมีชีวิตขึ้นลงตามที่รถเมล์จอดตามป้ายเท่านั้น แต่ในทางตรงข้าม คนกลุ่มแรกจะขับรถของตัวเองไปในที่ที่ตัวเองอยากไป ตามจุดหมายความฝันของตน!

จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฟลอริด้า ระบุว่า “คนที่ชอบกำหนดเส้นทางชีวิตของตัวเอง มักจะมีผลงานโดดเด่นในหน้าที่การงาน มากกว่าคนที่ปล่อยให้ชีวิตเป็นไปตามโชคชะตา และคนที่ชอบกำหนดเส้นทางชีวิตตนเอง ย่อมมีความสามารถและผลงานที่โดดเด่นกว่าใครๆ”

คนที่ประสบความสำเร็จ นอกจากจะไม่ปล่อยให้ชีวิตไหลไปตามโชคชะตาแล้ว เขายังมี “วิธีการรับมือกับความเครียด” และมี “วุฒิภาวะทางอารมณ์ที่ดี” ด้วย โดยคนเหล่านี้ส่วนใหญ่สามารถรับแรงกดดันภายนอกจากเจ้านายได้เป็นอย่างดี ทั้งยังไม่เอาความเครียดมาคิดและทำร้ายตัวเอง ซึ่งมีผลเสียต่องานตามมา… โดยภาพรวมแล้ว พวกเขามีวิธี “พิชิตความเครียด” ดังต่อไปนี้…

 

1. พร้อมเผชิญหน้าความเปลี่ยนแปลง

 

ด้วยปัจจัยภายนอกรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ หรือสภาพการทำงาน “สิ่งแวดล้อมคือสิ่งที่คุณควบคุมไม่ได้” ไม่มีสิ่งไหนอยู่ตลอดกาล บริษัทของคุณอาจอยู่ในช่วงตกต่ำที่สุด แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าจะตกต่ำไปตลอด

คุณควรมีแผนสำรอง เตรียมตัวเตรียมใจยอมรับกับความคาดหวังของตัวเอง หวังได้ แต่อย่าคาดหวังว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะเป็นไปตามที่กำหนดไว้แต่แรก และไม่ต้องนำมาใส่ใจ หรือเครียดกับมัน ถ้ามีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น…

จงรับมืออย่างมีสติ โดยคุณสามารถทำลิสท์เป็นรายสัปดาห์ ว่าสิ่งสำคัญในชีวิตของคุณมีอะไรบ้าง และอันไหนมีแนวโน้มว่าจะเปลี่ยนไป และถ้าลิสท์ของคุณไม่มีการเปลี่ยนแปลง นั่นย่อมทำให้คุณเครียดน้อยลง และไม่ต้องกังวลมากกับอนาคตที่ยังมาไม่ถึง…

 

2. ไม่พุ่งความสำคัญไปที่ข้อจำกัด จนไม่กล้าทำอะไร

 

เราทุกคนล้วนมีขีดจำกัดของตัวเอง มีความกลัว มีความกังวลที่โดนปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก ไม่ว่าจะเป็นการสั่งห้ามทำโน่นทำนี่… ห้ามขี่จักรยานลงถนน เดี๋ยวรถชน… ห้ามเอาแก้วมาเล่น เดี๋ยวแตกบาดมือ… ข้อห้ามเหล่านั้นอาจฝังใจ ทำให้คุณเป็นคนไม่กล้า หรือกังวลมากเกินกว่าเหตุว่าจะเกิดเหตุร้ายๆ กับตัวเองหรือคนรัก

การเริ่มต้นทำสิ่งใหม่ๆ คุณควรจดบันทึกเรื่องที่ทำให้คุณไม่สบายใจ ทำให้คุณกังวล และน่าจะเป็นความเครียดลึกๆ เช่น คุณเครียดว่าจะบอกเจ้านายเพื่อขอลาออกอย่างไรดีในวันพรุ่งนี้ และพอวันถัดไป หลังจากได้คุยกับเจ้านาย คุณกลับมาอ่านข้อความที่คุณจดนั้นอีกครั้ง คุณอาจรู้สึกดีและมีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น รวมถึงรู้วิธีการบริหารความเครียดของตัวเอง ว่าไม่ควรคิดมากไปก่อนล่วงหน้า


3. ปรับเปลี่ยนทัศนคติ-ความคิด

 

นี่เป็นวิธีที่ยากที่สุด แต่วิธีเปลี่ยนทัศนคติความเครียดง่ายๆ คือการเขียนออกมาเป็นเหตุการณ์จำลอง อะไรทำให้คุณเครียด อะไรทำให้คุณเชื่อว่าสิ่งร้ายๆ จะเกิดขึ้น และถ้ามันเกิดขึ้นจริง คุณจะตอบสนองกับปัญหานั้นอย่างไร?

เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณรู้สึกเครียด กังวลกับปัญหาเหล่านั้น ให้ดึงกระดาษแผ่นนี้ออกมา เพื่อที่ว่าคุณจะได้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น และมองว่าปัญหานั้นมีทางออก ไม่ควรกังวลไปก่อน คุณควรค่อยๆ เปลี่ยนความคิดโดยการจดสิ่งที่คุณรู้สึกลงในกระดาษ ณ ตอนนั้นด้วย ว่าคุณโล่งใจไปมากแค่ไหน…


4. หยุดมองโลกในแง่ร้าย


วิธีที่ดีที่สุดในการทำให้คุณ “หายเครียด” คือหยุดมองโลกแง่ร้าย และลดการคิดลบ เพราะความคิดเหล่านั้นทำให้คุณเครียดและกังวล บั่นทอนกำลังกายและกำลังใจของคุณโดยไม่รู้ตัว… เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณรู้สึกว่าตัวเองกำลังคิดร้าย คิดลบ ให้คุณบอกตัวเองว่า “หยุดเดี๋ยวนี้” และจดมันออกมา ระบายมันออกมาเป็นตัวหนังสือ…

ขณะที่คุณจดมันลงไป คุณจะมีเวลาคิดทบทวนมากขึ้น รู้ทันตัวเองมากขึ้นว่าคุณกำลังคิด-กำลังทำอะไร? เมื่อไหร่ก็ตามที่คิดมากไปก่อน แล้วมันไม่ได้เกิดขึ้นจริง… สมองของคุณจะบันทึกไว้ว่า เราไม่ควรคิดมากอีก…

 

5. สนอกสนใจในเรื่องดีๆ

 

การให้เวลากับตัวเองในแต่ละวัน เพื่อคิดทบทวนเรื่องราวดีๆ ที่เข้ามาในชีวิต จะช่วยให้คุณลดความกังวลไปได้มาก… จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ระบุว่า “คนที่ทำงานอย่างอารมณ์ดี มีสิ่งแวดล้อมดี และคิดแต่เรื่องดีๆ เรื่องที่เป็นพลังบวก จะมีความเครียดน้อยกว่าคนอื่นๆ”

 

การบริหารจัดการความเครียด ไม่ใช่เรื่องยากเกินไปสำหรับคุณ… เพียงแค่เปลี่ยนมุมมองคิด ก็เปลี่ยนวิถีชีวิตของคุณได้… ขอแค่มีสติรู้เท่าทันความคิดของตัวเอง ความเครียดก็จะไม่สามารถทำร้ายคุณได้อีกต่อไป…

 

เรียบเรียงโดย LEARNING HUB THAILAND

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Ads, Google Analytics

    Statistics

  • Google Analytics

    Statistics

  • Facebook

    Marketing/Tracking

  • ActiveCampaign

    Functional

  • ActiveCampaign

    Marketing/Tracking

Save