9 วิธีเพิ่มทักษะการฟัง สำหรับเพิ่มประสิทธิภาพให้คนทำงาน

การฟัง หรือ Listening ถือเป็นทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งของผู้ที่ปรารถนาความสำเร็จในชีวิต เพราะมนุษย์คนหนึ่งสามารถเริ่มต้นเรียนรู้ได้จากทักษะที่ธรรมชาติให้มาอย่างการฟังนั่นเอง

ยิ่งถ้าคุณทำงาน หรือสร้างธุรกิจด้วยแล้ว การฟังยิ่งทวีความสำคัญเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว เพราะหากฟังไม่ดี เกิดการเข้าใจผิดหรือตัดสินใจผิด อาจเกิดปัญหาใหญ่ขึ้นได้เสมอ 

เพื่อให้ทักษะการฟังพัฒนาขึ้น “9 วิธีการเพิ่มทักษะการฟัง” ที่จะบอกในบทความนี้จะช่วยให้คุณ มีพัฒนาการด้านการฟัง และที่สำคัญ อาจกลายเป็นจิ้กซอว์ สำคัญในการสร้างความสำเร็จของคุณด้วย

====

1.เรียนรู้ที่จะฟังเสียก่อน

ผมเริ่มจากสิ่งที่ง่ายที่สุด แต่เป็นสิ่งที่เราอาจลืม หรือไม่ได้นึกถึงมากที่สุด นั่นคือ จงเริ่มต้นที่การเรียนรู้ที่จะฟังเสียก่อน เราฟังเพื่ออะไร เพื่อที่จะได้ถอดรหัสของเสียงเหล่านั้นกลายเป็นข้อมูลเพื่อการนำไปใช้ เช่น ฟังการสอน  ฟังวิธีการในการทำอาหาร เสียงช่วยให้เราถอดรหัสได้ง่ายเพิ่มขึ้น

====

2.คิดตามเสมอที่คุณฟัง

อย่าฟังเรื่องใดๆแบบปล่อยผ่าน แต่จงฟังอย่างตั้งใจ และพยายามตรองเรื่องที่เราฟังไปพร้อมๆกับเสียงที่ได้ยิน การที่เรานึกถึงสิ่งเหล่านั้นไปด้วย จะช่วยให้สมองได้รับการสนับสนุนให้กระตุ้นความคิดในเรื่องนั้นๆอย่างต่อเนื่องอยู่เสมอ และมันจะกลายเป็นทักษะที่สำคัญสำหรับคุณ

====

3.ทวนความเป็นช่วงๆ 

เพื่อให้การจดจำในสิ่งที่คนอื่นพูด เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว หากคุณสนทนากับบุคคลดังกล่าวอยู่ ลองเปลี่ยนเป็น การพูดสลับออกมาจากที่คุณฟังด้วย โดยพูดในเรื่องที่ผู้พูดคนนั้นได้ถ่ายทอดบทความออกมา ผมมักทำแบบนี้อยู่เสมอๆ และเป็นเรื่องที่น่าแปลกมาก คือผมสามารถจดจำเรื่องต่างๆได้ดีขึ้นกว่าเดิมมากเลยครับ

====

4.ฝึกสมาธิเป็นประจำ

อย่าดูเบาในเรื่องของสมาธินะครับ มีงานวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ และด้านจิตวิทยาทั่วโลกมากมาย ที่สนับสนุนให้เรารู้ว่า การฝึกสมาธิเป็นประจำอย่างน้อย 15 นาทีทุกวัน สามารถพัฒนาขีดความสามารถด้านความจำของคุณได้อย่างมาก ดังนั้นเมื่อมีการค้นพบเทคนิคง่ายๆอย่างนี้แล้ว ก็อย่ารอช้า ฝึกสมาธิเลยครับ หรือเลือกเข้าคอร์สการอบรมเรื่องโยคะก็ได้

====

5.ลองฟังเสียงธรรมชาติและแยกเสียงดู

ผมว่าเทคนิคข้อนี้ค่อนข้างจะเป็นอะไรที่ สร้างความประหลาดใจให้กับผู้ที่ฝึกฝนทักษะในเรื่องของการฟังอยู่ไม่น้อย นั่นคือ คุณลองหาโอกาสในการไปท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ โดยเฉพาะหากสถานที่นั้นเป็นสถานที่แบบธรรมชาติ เพื่อที่ว่า ผมอยากให้คุณลองฟังดูเสียของธรรมชาติ เสียงต้นไม้ เสียงลมพัด หรือเสียงน้ำตกที่ไหลรินอย่างอ้อยอิ่ง ตามลำธารต่างๆ เป็นเรื่องเหลือเชื่อว่า ถ้าเราสามารถฟังและแยกเสียงเหล่านั้นได้ดี จะมีผลต่อประสิทธิภาพในการฟังอย่างเหลือเชื่อเลยทีเดียว

====

6. เข้ารับการอบรมเรื่องการฟัง 

อย่าคิดว่าเรื่องนี้ไม่จำเป็นนะครับ หากคุณมีปัญหาว่า ไม่สามารถเข้าใจสารที่เจ้านายสั่งงานคุณเป็นประจำ หรือรู้สึกว่าตนเองนั้นค่อนข้างมีสมาธิสั้นในการฟังแล้ว จงเริ่มเปลี่ยนแปลงวิถีของตนเองอย่างง่ายๆด้วยการเรียนรู้ทักษะการฟังที่ถูกต้อง จากวิทยากรที่มากด้วยความสามารถอย่างนี้จะดีกว่า การเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญ ช่วยให้คุณไม่ต้องเริ่มต้นทักษะการฟังจากศูนย์

ผมมีหลักสูตรสอนเรื่องการสื่อสารและการฟัง สำหรับคนทำงานในองค์กร ในชื่อหลักสูตร Executive Communication คลิกดูรายละเอียดที่นี่

====

7.จดด้วยทุกครั้งที่คุณฟัง

สิ่งหนึ่งที่ผมนั้นชื่นชอบมากๆ เวลาเข้าไปฟังการอบรมหรือสัมมนานั่นคือ ยิ่งถ้าเรานั้นฟังมากเท่าใด สิ่งที่ตามมาคือปริมาณของข้อมูลที่ดีๆอาจล้นทะลัก จากคลังสมองของเรา ทำให้เราพลาดในการเลือกใช้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเอง ถ้าเป็นอย่างนั้นแล้ว อย่ารอช้า เตรียมสมุดจดไปสักเล่ม และบันทึกเรื่องราวต่างๆไปด้วยเสมอในระหว่างที่คุณฟัง การทำอย่างนี้จะทำให้คุณไม่ต้องกังวลเรื่องของข้อมูล ที่เกินกว่าจำนวนที่คุณรับรู้ได้อย่างแน่นอน

====

8. บันทึกผลของการฟังไว้บ้าง

หากเป็นไปได้ ผมแนะนำว่า คุณควรจดบันทึกผลของการฟังลงในสมุดเสียหน่อย เช่นวันนี้ฟังเรื่องอะไร และสามารถฟังได้นานกว่าปกติมากน้อยแค่ไหน ผมว่าการทำอย่างนี้ช่วยให้เราเห็นพัฒนาการและความก้าวหน้าของการฟังได้ชัดเจนขึ้นมากเลยนะครับ

====

9.เชื่อมั่นว่าสามารถพัฒนาทักษะด้านการฟังได้

เทคนิคข้อที่เก้านี้ อาจเป็นเทคนิคที่หลายๆคนมองข้าม หรืออาจเกิดความไม่มั่นใจว่า มันจำเป็นจริงหรือ ผมยังจำได้ตอนที่ผมเริ่มฝึกทักษะการฟังใหม่ๆ และสามารถฟังเรื่องราวของครูผู้สอนได้อย่างต่อเนื่องเกินกว่า 1 ชั่วโมง ในตอนนั้นผมคิดเสมอว่า มนุษย์เราจะสามารถฟังอะไรได้ต่อเนื่องยาวนานขนาดนั้นได้หรือไม่ ซึ่งท้ายที่สุดผมตัดสินใจว่า ผมต้องฟังอะไรได้ยาวกว่านั้น และเมื่อผมเชื่อ! ในที่สุดผมก็ทำได้ และนั่นควรเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับคุณด้วยเช่นกัน

====


เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับ 9 วิธีการอย่างง่ายๆในการเพิ่มทักษะด้านการฟัง ที่เราสามารถนำแนวทางข้างต้นต่อไปนี้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตการทำงานของเราได้จริง และถ้าเราหมั่นฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง ผมมั่นใจว่า ทักษะด้านการฟังของคุณจะต้องดีขึ้นอย่างมากอย่างแน่นอนครับ

ฝึกฝนทักษะการฟังให้เข้มข้นเพิ่มขึ้นกับ Active Listening ทักษะการฟังที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้คนในทีมคลิกที่นี่

บทความโดย CEO เรือรบ – ผู้ก่อตั้ง Learning Hub Thailand / ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาภาวะผู้นำ

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

 

5 พฤติกรรมที่คนสำเร็จจะไม่มีวันทำอย่างแน่นอน

ไม่ว่าคุณจะอยากประสบความสำเร็จในด้านใดก็ตาม จะเป็นการงาน อาชีพ งานอดิเรก การใช้ชีวิต ฯลฯ โลกมีกฎสากลอยู่แล้วในการจะประสบความสำเร็จ แต่ก็มีบางสิ่งที่คุณต้องหลีกเลี่ยง

ต่อไปนี้เป็น 5 พฤติกรรม ที่ต้องหลีกเลี่ยง มาลองดูกันว่าคุณตกหลุมพรางเหล่านี้บ้างแล้วหรือยัง

1.การเลี่ยงความรับผิดชอบ

“ราคาของความยิ่งใหญ่ ก็คือความรับผิดชอบ”

Winston Churchill

อย่างแรกที่คนสำเร็จไม่ทำกันคือ “การโทษคนอื่น หรือหาคนรับผิด” แม้กระทั่งในความคิดก็เถอะ เมื่อบางอย่างผิดพลาดไป อะไรคือปฏิกิริยาแรกของคุณ?

สำหรับคนสำเร็จ เค้าเลือกที่รับความผิดนั้นไว้กับตน แทนที่จะโทษคนอื่นหรือโทษโชคชะตา นั่นจึงทำให้เขาได้ “เรียนรู้” จากความผิดพลาดนั้น แล้วก็ไม่ผิดซ้ำอีก

====

2.การผัดวันประกันพรุ่ง

“การผัดวันประกันพรุ่ง คือพฤติกรรมแย่ๆที่เลื่อนไปถึงวันมะรืน ในขณะที่ควรทำตั้งแต่เมื่อวานซืน”

Napoleon Hill

คนสำเร็จนั้นเน้น “ทำทันที” โดยไม่สนว่าเป็น “เวลาที่เหมาะสม” หรือไม่ พวกเขาทำงานหนักและไม่เคยยอมแพ้ โดยไม่คำนึงถึงสภาพแวดล้อมว่าต้องเอื้ออำนวย

ความลับของความสำเร็จนั้นมาจาก “การสะสมความสำเร็จเล็กๆ” ด้วยการทำซ้ำ เป็นระยะเวลานานๆ ไม่ใช่การท่าให้เกิดความสำเร็จยิ่งใหญ่ครั้งเดียว

====

3.การตามกระแส

“ สิ่งที่ยิ่งใหญ่ ไม่ได้สำเร็จจากการที่ทำตามแนวโน้มหรือกระแสนิยมของคนทั่วไป”

Jack Kerouac

ในแต่ละวัน คนเราผลิตข้อมูลมากมายมหาศาลจนล้นทะลัก จึงง่ายที่เราจะกระโดดเข้าไปสนใจสิ่งใหม่ๆอยู่เสมอ เหมือนเป็นโรคกลัวตกเทรนด์ 

การทำเช่นนี้ ทำให้เราไม่เหลือเวลาสำหรับการทำความเข้าใจตัวเองกับสิ่งที่ตนทำอยู่อย่างลึกซึ้ง คนสำเร็จใช้พลังงานไปกับการทำความเข้าใจกับเป้าหมายของตนเองโดยไม่สนใจเรื่องอื่น

ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการสำเร็จในด้านการขายและการตลาด คุณอาจเลือกที่จะศึกษาลงลึกไปในด้านจิตวิทยามนุษย์ ไม่ใช่การมองหาวิธีโปรโมทแคมเปญใหม่ๆ บนโซเชียลมีเดียแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

====

4.ศิลปินเดี่ยว

“ ชีวิตไม่ใช่การแสดงคนเดียว แต่เป็นการร่วมมือกันอย่างยิ่งใหญ่ และเราจำเป็นต้องรวบรวมคนรอบตัวที่ใส่ใจและสนับสนุนเรา”

Tim Gunn

สิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่คนสำเร็จทำคือการแวดล้อมไปด้วยคนสำเร็จรอบตัว เขาจะไม่อยู่เพียงลำพัง เขาจะมีเครือข่ายและกลุ่มมืออาชีพ เขาจะอยู่ท่ามกลางคนฉลาด ที่สามารถทำเรื่องแตกต่างได้

นี่คือความจริง ไม่ว่าคุณจะอยากสำเร็จในเรื่องยิ่งใหญ่เพียงใด หรือแม้กระทั่งอยากลดน้ำหนักให้สำเร็จ มีการศึกษาวิจัยว่า เราจะลดน้ำหนักได้มากกว่าถ้าทำด้วยกันเป็นกลุ่ม

==== 

5.ขาดศรัทธา

“เชื่อในตนเอง มีศรัทธากับความสามารถของตน หากไม่มีความถ่อมตนและมั่นใจอย่างมีเหตุผลในพลังของตัวเองแล้วล่ะก็ คุณจะไม่มีทางประสบความสำเร็จและมีความสุขได้เลย”

Norma Vincent Peale

เรื่องนี้ไม่ใช่การคิดบวกหรือจินตนาการเข้าข้างตัวเอง “การมั่นใจอย่างมีเหตุผล” จะทำให้คุณสำเร็จในสิ่งที่วางเป้าหมายไว้

หากคุณไม่คิดแม้แต่ว่าจะทำได้สำเร็จแล้วล่ะก็ คุณจะไม่ลองทำด้วยซ้ำ ฉะนั้นคุณต้องบ่มเพาะความเชื่อและศรัทธาในตนเองให้เกิดขึ้น แม้ว่าชีวิตกำลังถอยหลังและยากลำบากอยู่ก็ตาม

====

การหลีกเลี่ยงความผิดพลาดทั้ง 5 ประเภทนี้ จะช่วยให้คุณบรรลุความสำเร็จในการงานและเป้าหมายส่วนตัวได้ แต่ถ้าอยากพบกับ”ความสำเร็จที่แท้จริง” แล้วล่ะก็ คุณต้องมีความสุขกับชีวิตเสียก่อน

อีกหนึ่งพฤติกรรมที่คนสำเร็จจะไม่มีวันทำคือการหยุดเรียนรู้อ่าน 3 เคล็ดลับที่การเรียนรู้ช่วยให้คุณประสบความสำเร็จได้มากขึ้น คลิกที่นี่

แถมท้ายกับความผิดพลาดข้อ 6. “ความไม่สมดุล” คนเรามักจะล้มเหลวเพราะไม่มีความสมดุลระหว่าง การงาน ครอบครัว เพื่อน และสุขภาพของตน การที่เราสำเร็จด้านเดียว แต่แล้วก็ล้มเหลวด้านอื่น ก็ไม่อาจทำให้เรารู้สึกเต็มเต็มชีวิตได้อย่างแท้จริง

ดังนั้น ความสำเร็จที่แท้จริง คือ “ความสุขและความสมดุล” หากคุณสามารถสร้างสมดุลให้ทุกพื้นที่ของชีวิตได้ คุณก็จะมีความสุขและกำลังใจเต็มเปี่ยม เรื่องอื่นจะไปยากอะไร จริงไหมครับ

====

ผู้บริหาร ผู้จัดการ และเจ้าของธุรกิจที่ต้องการพัฒนาการทำงานและใช้ชีวิตให้ประสบความสำเร็จสูงสุด เราขอแนะนำหลักสูตร The New Leadership Skill ดูรายละเอียดคลิกที่นี่

บทความโดย

อ. เรือรบ จิณณ์ณัฏฐ์ พรหมนุรักษ์

CEO และผู้ก่อตั้ง Learning Hub Thailand

ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาภาวะผู้นำ 

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

 

8 หนทางสร้างความน่าเชื่อถือในที่ทำงาน

ในที่ทำงานทุกคนล้วนต้องการเป็นคนสำคัญ โดดเด่น และได้รับความเคารพนับถือจากผู้อื่น เพราะสิ่งนี้จะนำไปสู่หนทางแห่งความสำเร็จ แต่กว่าที่คุณจะได้รับความไว้วางใจจากเจ้านาย เพื่อนร่วมงาน และลูกน้อง คุณจะต้องใช้ความพยายามอย่างหนัก กล่าวคือ คุณต้องอุทิศตนในการทำงาน และวางตัวให้เหมาะสมในทุกสถานการณ์ อย่างไรก็ตาม หากคุณมีความตั้งใจจริง โดยปฏิบัติตามคำแนะนำ 8 ข้อในบทความนี้ คุณจะได้รับความไว้วางใจ และความน่าเชื่อถือในที่ทำงานแน่นอน

1) มีความมั่นใจในตัวเอง และแสดงความเป็นผู้นำ

หากคุณต้องการให้คนอื่นเคารพนับถือคุณ สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือคุณต้องเคารพตัวเองก่อน คุณควรเชื่อมั่นในทุกการกระทำของตนเอง มีความรับผิดชอบ กล้าคิด กล้าตัดสินใจ และไม่กลัวกับปัญหาอุปสรรคใดๆ เพราะหากคุณสามารถตัดสินใจเรื่องสำคัญๆ และสามารถผ่านพ้นจากปัญหาต่างๆไปได้ ก็จะทำให้ผู้คนเกิดความศรัทธา ความเชื่อมั่นในตัวคุณ และสิ่งนี้จะเปลี่ยนเป็นความเคารพนับถือในท้ายที่สุด

2) บริหารเวลาให้เป็น

หนึ่งในพฤติกรรมที่สร้างความน่าเชื่อถือให้กับคุณก็คือ การบริหารเวลา หากคุณลองเปรียบเทียบพนักงาน 2 คน ระหว่างพนักงานคนแรกที่เข้าประชุมตรงเวลาและส่งงานตามกำหนดทุกครั้งกับพนักงานคนที่ 2 ที่มักเข้าประชุมสายและไม่เคยส่งงานทันเวลา แน่นอนว่าเมื่อคุณจะมอบหมายงานหนึ่งชิ้น คุณจะมอบหมายให้พนักงานคนแรกทำ เพราะคุณไว้วางใจและเชื่อมั่นว่าเขาจะไม่ทำให้คุณผิดหวัง ทั้งนี้ ในระหว่างทำงาน คุณควรทุ่มเทกำลังความสามารถในการทำงานอย่างเต็มที่ ทำงานให้เสร็จอย่างรวดเร็ว ไม่เสียเวลากับกิจกรรมที่ไร้สาระ เพื่อที่งานจะได้ออกมาอย่างสมบูรณ์แบบ และเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเพื่อนร่วมงาน

3) อ่อนน้อมถ่อมตน

แม้ว่าคุณจะรู้ว่าตนเองสามารถทำงานได้ดี รวดเร็ว หรือมีประสิทธิภาพมากแค่ไหน จงอย่าคุยโวโอ้อวด แต่จงคิดว่าสิ่งนั้นเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบซึ่งคุณต้องทำอยู่แล้วนอกจากนี้ เมื่อได้รับการยกย่องชมเชย คุณไม่ควรหลงระเริงไปกับคำพูดเยินยอของคนอื่น ในทางกลับกัน คุณควรคิดว่าแต่ละคนเป็นเพียงหน่วยหนึ่งที่ประกอบเข้าด้วยกันเพื่อทำให้งานสำเร็จและบรรลุเป้าหมายขององค์กร การอ่อนน้อมถ่อมตนจะทำให้คุณไม่หยุดนิ่ง และรู้จักการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นเรื่อยๆ

4) ให้ความเคารพเพื่อนร่วมงาน

เพื่อนร่วมงานบางคนอาจทำงานอย่างเฉื่อยชา และไร้ประสิทธิภาพ พวกเขาอาจไม่มีแรงบันดาลใจเหมือนเช่นคุณ หรือพวกเขาอาจมีปัญหาส่วนตัวบางอย่างทำให้ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ แต่นั่นไม่ได้แปลว่าคุณจะสามารถดูถูกพวกเขาได้ คุณควรปฏิบัติต่อพวกเขาเฉกเช่นมนุษย์ด้วยกัน จงให้เกียรติพวกเขา และไม่ก้าวล้ำเส้นของกันและกัน กล่าวคือ คุณไม่ควรมองพวกเขาว่าเป็นเพียงเพื่อนร่วมงาน แต่ให้มองพวกเขาเป็นเพื่อนมนุษย์ เพราะวิธีการนี้จะทำให้คุณเข้าใจจิตใจของผู้อื่นมากยิ่งขึ้น และคุณจะได้รับความไว้วางใจ รวมทั้งความเคารพนับถือเป็นการตอบแทน

5) ชื่นชมและให้กำลังใจเพื่อนร่วมงาน

คุณควรหาโอกาสชื่นชมเพื่อนร่วมงานบ้าง ยกตัวอย่างเช่น หากเพื่อนร่วมงานของคุณทำงานชิ้นหนึ่งได้อย่างยอดเยี่ยมและส่งผลดีต่อบริษัท คุณก็ควรแสดงชื่นชมในความรู้ความสามารถ และความมุ่งมั่นตั้งใจที่เขาทุ่มเทจนทำให้งานสำเร็จตามเป้าหมายคำชื่นชมเหล่านี้จะทำให้พวกเขามีความมั่นใจและกำลังใจในการทำงานมากขึ้น ในทางกลับกัน หากเพื่อนร่วมงานของคุณล้มเหลวแทนที่คุณจะคอยซ้ำเติมและตอกย้ำความผิดพลาดนั้น คุณควรให้อภัยและให้กำลังใจต่อกัน เพราะการต่อว่าหรือแสดงพฤติกรรมด้านลบนั้น นอกจากจะไม่ช่วยให้เกิดประโยชน์ใดๆ ยังทำให้เพื่อนร่วมงานเกิดทัศนคติในแง่ลบต่อคุณอีกด้วย

6) ช่วยเหลือทีม และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน

มันอาจเป็นเรื่องง่ายที่จะต่อว่าหรือโจมตีเพื่อนร่วมงานที่ไร้ประสิทธิภาพ แต่อย่างไรก็ตาม การกระทำเช่นนี้ไม่ก่อให้เกิดผลดีต่อตัวคุณและบริษัท ทางที่ดีคือ คุณควรช่วยให้ทีมประสบความสำเร็จไปพร้อมๆกัน ร่วมมือร่วมใจกันทำงาน ไม่แก่งแย่งชิงดีกัน นอกจากนี้ การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในทีมจะทำให้การทำงานมีความราบรื่นเพราะเมื่อคุณต้องการความช่วยเหลือจากผู้ใดก็จะมีคนสนับสนุน และผลักดันคุณด้วยความเต็มใจ ซึ่งสิ่งนี้จะทำให้คุณประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานได้ง่ายยิ่งขึ้น

7) ไม่ซุบซิบนินทา

การซุบซิบนินทาในที่ทำงานเป็นเรื่องที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะทำให้คุณเสียเวลาในการทำงานแล้ว คงไม่มีใครเคารพนับถือคนที่ปล่อยข่าวลือ และพูดจาให้ร้ายผู้อื่น กล่าวคือ หากคุณไม่ให้ความเคารพนับถือผู้อื่น คุณก็จะไม่ได้รับความน่าเชื่อถือเช่นเดียวกัน ดังนั้น คุณจึงไม่ควรจับกลุ่มซุบซิบนินทาในที่ทำงาน เพราะสิ่งนี้จะส่งผลต่อความน่าเชื่อถือ และภาพลักษณ์ในตัวคุณ

8) ไม่บังคับหรือควบคุมคนอื่น

การประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานไม่ได้เกิดจากความสามารถแต่เพียงอย่างเดียว กล่าวคือ หากคุณได้งานแต่ไม่ได้ใจคน คุณก็ไม่มีทางที่จะบรรลุเป้าหมายได้ การทำงานที่ดี คือ การคิดถึงเรื่องงานพร้อมๆกับจิตใจของผู้ร่วมงาน ในทางกลับกัน หากคุณใช้วิธีการบังคับเพื่อนร่วมงานให้ทำอย่างที่ใจคุณต้องการ คุณก็จะไม่ได้รับความร่วมมือใดอย่างเต็มที่ ดังนั้น คุณไม่ควรบังคับหรือควบคุมคนอื่น ให้ยึดหลักเอาใจเขามาใส่ใจเรา มอบหมายงานให้คนในทีมอย่างเหมาะสม และเมื่อเพื่อนร่วมงานมีปัญหา คุณก็ควรช่วยเหลืออย่างสุดความสามารถ

เรียบเรียงโดย Learning Hub Thailand

(Source: http://www.lifehack.org/300087/8-indispensable-ways-respected-your-job)

หลักสูตร “Communication Skill for Leadership: ทักษะการสื่อสาร สำหรับผู้นำยุคใหม่” โดย “เรือรบ”   

เน้น Workshop การปฏิบัติจริง เพื่อฝึกทักษะผู้นำที่สำคัญสำหรับผู้นำยุคใหม่ทั้ง 4 ด้าน ให้สามารถนำไปใช้ได้ทันที

27 ก.พ.นี้ หลักสูตร 1 วัน สำหรับบุคคลทั่วไป คลิกที่นี่

หลักสูตร In House 2 วัน สำหรับองค์กร คลิกที่นี่

3 เคล็ดวิชา สะสมความเก๋า สำหรับฟรีแลนซ์มือใหม่

ในยุคนี้ กระแสของการเป็น Freelance หรือการทำงานอิสระ กำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น เพราะคนรุ่นใหม่ไฟแรงเมื่อเรียนจบมา มักอยากเป็นนายตนเอง อยากเป็นเจ้าของธุรกิจโดยเร็ว เพราะเห็นว่างานไม่ประจำทำเงินกว่า พอเห็นเทรนด์อะไรน่าทำก็กระโจนเข้าใส่ตามๆกัน เพราะคิดว่าเรียนมาเยอะ ความรู้ระดับปริญญาคงเป็นอาวุธที่ดีได้ แต่หากทำไปด้วยความคิดว่าจะได้อย่างเดียว ก็มีความเสี่ยงที่จะสูญเสียเงินเก็บของตัวเองทั้งหมดใน 3-5 ปีแรก

เมื่ออาวุธเดิมที่มีใช้ไม่ได้ผล จึงเกิดกระแสที่สอง คือ การเข้าสัมมนาฝึกอบรม เพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้ทันสมัยต่อยอด และอาจได้แถมเคล็ดลับดีๆมาช่วยเร่งผลลัพธ์ให้ความสำเร็จนั้นง่ายขึ้น จึงเกิดการตื่นตัวเห็นคนรุ่นใหม่นิยมไปเข้าสัมมนาอบรม บางคนก็หมดเงินไปมากมาย แลกกับสิ่งที่ได้มาคือความรู้ที่ท่วมท้นไปหมด แต่กลับไม่สามารถสร้างผลลัพธ์ในชีวิตได้อย่างที่ต้องการ  นั่นเป็นเพราะอะไร ?

learning pyramid

เครดิตภาพจาก https://dribbble.com/shots/1442129-Learning-Pyramid-Infographic

 

จากภาพ “ปิรามิดแห่งการเรียนรู้” ทำให้เห็นว่าการเรียนในห้องเรียน จะไม่สามารถทำให้ความรู้ถูกจดจำหรือคงอยู่ได้นาน ไม่ว่าจะเป็นการฟังบรรยาย การอ่าน การดูคลิป ดูการสาธิต เพราะการเรียนรู้เหล่านั้นเป็นเพียง “ความรู้มือสอง” เท่านั้น

ในชีวิตจริง ความรู้กว่า 90% ที่เรียนมา อาจจะไม่ถูกนำไปใช้เลย ไม่นานเราจึงลืมไปหมด จากแผนภาพนี้ เมื่อได้เรียนอะไรมาก็ตาม สิ่งแรกที่ควรทำคือ การนำไปฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง และนำไปสอนผู้อื่นต่อ เพื่อให้ความรู้นั้นฝังลงไปในตัวเราอย่างแท้จริง

ดังนั้นสิ่งสำคัญที่เราต้องการ เพื่อที่จะก้าวหน้าและประสบความสำเร็จในชีวิตก็คือ “ทักษะ” ซึ่งจะเป็น “ความรู้มือหนึ่ง” ที่มาจากตัวเรานั่นเอง

คำถามต่อมา ในบรรดาความรู้และทักษะอันมากมาย อะไรคือทักษะสำคัญ ที่เราต้องการในการทำงานและทำธุรกิจ ?

 

“ความเก๋า” คือ ทักษะขั้นเทพ ที่จะสร้างความสำเร็จให้กับการงานและธุรกิจ

แม้เราจะฉลาดแค่ไหน มีความรู้ระดับอัจฉริยะ กวาดปริญญามาไม่ว่ากี่ใบ ก็ไม่ได้การันตีความสำเร็จในชีวิต เพราะความรู้ในระบบการศึกษา อาจให้ในเรื่องของ เทคนิค วิธีการในการทำงาน แต่สิ่งที่ไม่มีโรงเรียนใดที่สอนได้คือ “ความเก๋า”

“ความเก๋า” นั้นมาจากประสบการณ์เชิงลึก เป็นองค์ความรู้ที่ถูกถ่ายทอดและสั่งสมมาอย่างยาวนาน เฉพาะคนที่คร่ำหวอดในวงการทำงานนั้นๆเท่านั้น ที่เรียกว่า Tacit Knowledge หรือความรู้ฝังลึก และคงจะไม่สามารถถ่ายทอดออกเป็นเสต็ปขั้นตอนได้ง่ายๆ หรือเล่าให้ใครฟังได้ในวันสองวัน

ในฐานะมือใหม่ เราควรที่จะเรียนรู้กับ “คนเก๋า” ที่เป็นนักปฏิบัติจริงด้วย ไม่ใช่เชื่อถือแต่ “นักคิด” หรือคนที่มีหลักการดีทางทฤษฎีอย่างเดียว

คนที่เก๋าไม่ใช่คนอัจริยะ ไม่ใช่ว่าผิดไม่เป็น แต่ทุกครั้งที่ตัดสินใจผิดพลาด แม้จะถึงขั้นต้องล้มลงไป ด้วยเวลาเพียงไม่นาน กลับมายืนหยัดได้ใหม่เสมอ และเค้าพร้อมที่จะเรียนรู้ที่จะไม่ผิดซ้ำสอง และการยืนขึ้นมาครั้งใหม่ก็จะแกร่งกว่าเดิม เป็นเพราะเค้าไม่ยึดติดกับแบบแผนเดิมๆ แต่ให้ความสำคัญกับการปรับตัวมากกว่า ดังนั้น “คนเก่าแก่” ก็อาจไม่ใช่คนเก๋าเสมอไป จากนิยามนี้

อาจเป็นการยากสำหรับคนรุ่นใหม่ ที่จะสะสมประสบการณ์และความเก๋าด้วยเวลาอันสั้น แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำสำหรับใครก็ตาม ที่อยากจะประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว ในธุรกิจหรืองานที่ตนเองสนใจ

ก่อนจะออกท่องยุทธภพ ลองใช้  3 เคล็ดวิชาต่อไปนี้เพื่อ “สะสมความเก๋า” ด้วยความรวดเร็ว มันอาจย่นย่อระยะเวลาการเรียนรู้ ลดความผิดพลาด และป้องกันความล้มเหลวและความสูญเสียสำหรับมือใหม่ได้เป็นอย่างดี

1. หาโอกาส ไม่ใช่หางาน

สำหรับคนที่กำลังอยู่ในวัยค้นหาตนเอง อย่าเพิ่งไปตกหลุมกับงานที่ให้รายได้ดีๆ ให้ลองตรวจสอบความรักและความถนัดของตัวเองก่อน เมื่อเรารู้ว่าเราอยากทำงานอะไรในชีวิตข้างหน้า แม้ว่าเราจะไม่มีความรู้ ไม่มีทุน แต่เมื่อเรามองหา เราจะมองเห็นโอกาสแน่นอน

หลายคนที่ทำอะไรตามกระแส เห็นเค้าทำแล้วรวย ก็อยากรวยบ้าง จะไม่สามารถผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากของวงจรธุรกิจไปได้ เมื่อเลิกล้ม ก็คือความล้มเหลว

การที่เราเลือกทำสิ่งที่รักและถนัด จะทำให้เราอยู่กับงานนั้นได้นาน แม้ว่าอาจจะยังมองไม่เห็นความสำเร็จอันใกล้ เราก็จะไม่ท้อแท้หรือเลิกไปซะก่อน นั่นแหละจุดเริ่มแห่งความสำเร็จ

2. ถ้าหาโอกาสไม่ได้ ก็สร้างมันซะ

หลายๆครั้ง โอกาสก็ไม่ได้หาง่ายๆ แต่เราอาจจะ “สร้างโอกาส” ขึ้นได้ด้วยตัวเอง ลองเสนอตัว “ทำฟรี” ดูบ้าง ของฟรีใครก็ชอบ ปฏิเสธยากเพราะมีแต่ได้ไม่มีเสีย ดังนั้นหากเราเอาแรงและเอาเวลาบางส่วนเข้าแลก เราจะได้โอกาสนั้นโดยไม่ยาก

นักธุรกิจระดับโลกหลายคน เริ่มต้นชีวิตด้วยการเข้าไปของานค่าตัวถูกๆทำ เพื่อเรียนรู้กลยุทธ์ธุรกิจแบบอินไซด์จากมือเก๋า แล้วเขาก็จะขยันและตั้งใจทำอย่างเต็มที่สุดความสามารถ เพื่อเรียนรู้ให้มากที่สุด

เมื่ออยู่ในธุรกิจนั้นแล้ว ถึงจะเริ่มมองเห็นจุดแข็งจุดอ่อน ซึ่งก่อนนี้มองไม่เห็น แล้วจึงค่อยออกมาเริ่มธุรกิจของตนเอง ทำให้ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว การที่เราเข้าไปสัมผัสธุรกิจนั้นจริงๆ ก็อาจจะบอกได้ว่า จริงๆแล้วเราไม่ได้ชอบ หรือไม่ได้สนใจมันจริงๆก็เป็นได้ แบบนี้ถ้าจะเลิกหรือถอยออกมาก็ไม่ต้องเดือดร้อน เพราะเรายังไม่ได้ลงทุนอะไรไป

อยากประสบความสำเร็จในธุรกิจอะไร อย่าเพียงวิเคราะห์จากภาพภายนอกที่เห็น แล้วรีบทุ่มเทเงินลงทุนกระโจนไปเพียงเพื่อลองทำ

แต่จงแอบเข้าไปทำก่อน เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง และจากคนที่อยู่ในธุรกิจนั้นๆ นั่นจึงเป็นการสะสม “ความรู้มือหนึ่ง” อย่างแท้จริง

3.เรียนรู้จากยอดฝีมือเท่านั้น

ความเก๋าที่เราต้องการ คงไม่ใช่มาจากใครก็ได้ หากจะย่นย่อความสำเร็จ จาก 20 ปีให้เหลือสัก 5 ปี ดังนั้น จงใช้เวลาในการค้นหาอาจารย์ และต้องเลือกเฟ้นหายอดฝีมือในตำนานคนนั้นให้เจอ เมื่อเจอแล้วให้คิดอุทิศตัวสัก 3 ปี ไปฝากตัวเป็นศิษย์ก้นกุฏิ สะสมเคล็ดวิชาความเก๋าระดับเทพเข้ามาไว้ในตนเอง

การที่เป็นศิษย์มีครู หากขยัน ซื่อสัตย์ อดทน มักจะได้รับโอกาสดีๆจากครูเสมอ ทั้งคอนเนคชั่นและสายสัมพันธ์ที่อาจารย์ได้สั่งสมมา จะเป็นฐานต่อยอดงานของเราได้อย่างดี แล้วโอกาสใหญ่ๆ ก็จะเข้ามาโดยไม่คาดหมาย เผลอๆจะได้แจ้งเกิดเป็นเจ้าสำนักคนต่อไปโดยไม่ได้ตั้งตัว

อย่าคิดว่าการเรียนรู้ คือการอ่านหนังสือ หรือไปอบรมอย่างเดียว แต่การเข้าไปขลุกหรือคลุกคลีกับคนเก่งในธุรกิจ เราจะได้รับการถ่ายทอดสิ่งที่ไม่ได้บอกไว้ในตำรา

จนกระทั่งเราได้ประสบการณ์ที่ตกผลึกมาเอง และนี่ต่างหากที่เรียกว่า “เคล็ดลับ” ที่แท้จริง

 บทความโดย เรือรบ 

ทักษะการสื่อสาร สำหรับผู้บริหาร ยุค AEC

ในปัจจุบัน “ปัญหาเรื่องคน” คือปัญหาใหญ่ในองค์กร จริงหรือไม่?

เข้าสู่ยุค AEC ระบบสังคมมีความซับซ้อน ผู้คนนั้นก็มีความแตกต่างหลากหลาย ทั้งในแง่ของประสบการณ์ การศึกษา ทัศนคติ ความเชื่อ ทำให้การฟังของพวกเขามีข้อจำกัดมากขึ้น การสื่อสารจึงเป็นไปได้ยากขึ้น ไม่เกิดความร่วมมือกันในการทำงาน กลายเป็นความขัดแย้งที่ไม่พึงปรารถนา

ต่อไปนี้เป็น 5 ปัญหายอดฮิตในการทำงาน คุณเจอบ้างหรือเปล่า ?

  1. ความเร่งรีบในการสื่อสาร ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดบ่อย
  2. อยากจะคุยด้วย แต่อีกฝ่ายไม่ค่อยพูด ไม่ยอมเสนอความเห็น
  3. ลูกน้องพยักหน้าเข้าใจ แต่พองานออกมา ไม่เหมือนที่สั่งไปเลย
  4. วิธีการสื่อสารในแบบเรา คนนึงรับได้ แต่กับบางคนรับไม่ได้ เอาใจไม่ถูก
  5. ปัญหาการลาออกส่วนใหญ่ เป็นเพราะมีปัญหาความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน หรือหัวหน้างาน

เพราะเหตุใด จึงเกิดปัญหาเหล่านี้ ?

เราจะพบว่ามีผู้บริหารอยู่ 2 ประเภทในองค์กร ที่ใช้หลักการบริหารที่ต่างกัน

การบริหาร ด้วย “ความกลัว”

โดยมากมักจะเกิดกับผู้บริหารแบบอนุรักษ์นิยม (Conservative Stlye) ด้วยความมั่นใจจากประสบการณ์และความสำเร็จในอดีต เขาจึงคิดว่าลูกน้องซึ่งเด็กกว่าและอ่อนประสบการณ์กว่า ควรจะเป็นฝ่ายเชื่อฟังและทำตาม โดยที่ไม่รู้ตัว เขามักจะใช้หลัก “6 บ.” ในการบริหารงาน นั่นคือ

บี้ ชอบสั่งการแบบขู่เข็ญโดยใช้อำนาจ
ใบ้ ไม่ค่อยสอนงาน เห็นอะไรดีไม่เคยชม
เบลม ชอบตำหนิต่อว่า เห็นอะไรก็ผิดไปหมด
โบ้ย หากถ้าตัวเองทำผิด หรือตัดสินใจพลาด ก็อ้างว่าเป็นเพราะคนอื่น
เบิ้ล ถ้าลูกน้องทำผิดมา จะถูกซ้ำเติม หรือลงโทษทันที
บล็อก เขาไม่อยากเห็นใครทำตัวโดดเด่น และไม่ค่อยฟังความเห็นใคร

ผลลัพธ์จากการบริหาร ด้วยความกลัว

พนักงานจะรู้สึกไม่ปลอดภัยและไม่ไว้วางใจ เมื่อเกิดข้อผิดพลาดใดๆ ก็จะซุกไว้ด้วยกลัวความผิด อาจทำให้ปัญหาเล็กน้อยก็ลุกลามไปจนยากที่จะแก้ไข คนที่ไม่อยากถูกตำหนิ ก็คอยระวังตัวแจ จนไม่กล้าทำอะไร เห็นสิ่งที่ไม่เวิร์คก็จะเฉยชา องค์กรจะเป็นยังไงก็ช่าง ไม่ใช่เรื่องของตัวเอง ไม่มีความผูกพันกันในองค์กร ใครทนได้ทน ทนไม่ได้ก็ลาออกไป

เพื่อหลีกเลี่ยง “วัฒนธรรม 6 บ.” ซึ่งจะเป็นวงจรขาลงของการทำงานและส่งให้เกิดผลเสียมากมาย  จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ผู้บริหารและหัวหน้างาน ควรที่จะเรียนรู้  “ทักษะการสื่อสาร สำหรับผู้บริหารยุคใหม่”  และนำไปปรับใช้ในการทำงาน


การสื่อสารด้วย “ความรัก”

ผู้บริหารยุค AEC จำเป็นจะต้องแก้ปัญหาเรื่องคน ประสานงานให้เกิดการสื่อสารที่ลื่นไหลในองค์กรได้ “ความสัมพันธ์ที่ดี” จึงเป็นปัจจัยสำคัญ ดังนั้นจะต้องเปลี่ยนบทบาทจากการเป็น “เจ้านาย หรือ Boss” ที่เอาแต่สั่งการและตำหนิ ไปเป็น “ผู้หล่อเลี้ยง หรือ Mentor” ที่จะคอยรับฟังและให้การสนับสนุน

ทักษะการสื่อสาร ของผู้บริหารยุคใหม่ ได้แก่

1.การฟังเสียงภายในตนเอง (Inner Listening)

การที่จะรักผู้อื่นได้ ต้องเริ่มด้วยการรู้จัก เข้าใจและยอมรับในตนเองให้ได้ก่อน ดังนั้น ทักษะการฟังเสียงภายในตนเอง จะทำให้ผู้นำคนนั้น เข้าใจความรู้สึกและความต้องการของตนเองอย่างถ่องแท้ แล้วจะนำไปสู่ความเข้าใจผู้อื่นได้อย่างแท้จริง ซึ่งนั่นจะทำให้เขาสามารถมอบความรักและความเห็นอกเห็นใจ ให้กับผู้คนได้อย่างเป็นธรรมชาติ

2.การฟังเพื่อผลลัพธ์ (Active Listening)

การฟังเพื่อผลลัพธ์ เป็นทักษะที่ช่วยประหยัดเวลาในการฟังได้ อีกทั้งมีประสิทธิภาพอย่างสูง สามารถเก็บประเด็นได้ครบ และช่วยให้อีกฝ่ายได้แก้ปัญหาของตนเองด้วย

ซึ่งการจะฟังแบบนี้ต้องมีทักษะในการตั้งคำถามต่อยอด การสะท้อนอารมณ์ การทวนความ และการจับประเด็น เพื่อให้ผู้พูดรู้ว่า ผู้บริหารกำลังใส่ใจและรับฟัง อีกทั้งช่วยสนับสนุนให้เค้าแก้ปัญหาและหาทางออกด้วยตนเอง โดยไม่ชี้นำและสั่งการ

3.การสื่อสารด้วยใจกรุณา (Compassionate Communication)

ผู้บริหารยุค AEC ควรมีความมั่นคงในใจและเปิดเผย จะสามารถพูดจากความรู้สึก และความต้องการที่แท้จริง ออกมาจากใจอย่างตรงๆซื่อๆได้ โดยไม่ปิดบัง ไม่ต้องใช้กลยุทธ์ ไม่จำเป็นต้องอ้อมค้อมหว่านล้อมใดๆ การพูดแบบปากไม่ตรงกับใจ การพูดเป็นปริศนาที่ต้องทิ้งให้ผู้ฟังตีความเอง ย่อมทำให้เกิดความเข้าใจผิดและเสียเวลา

ผู้นำที่ดี มีสติตระหนักรู้ว่า คำพูดที่ตรงไปตรงมาของเขา จะไม่ไปทำร้ายจิตใจอีกฝ่าย เขาจะเลือกใช้คำพูดที่รับผิดชอบในความรู้สึกของตัวเองและไม่กล่าวหาโจมตีอีกฝ่าย

แทนที่จะพูดอย่างเกรี้ยวกราดว่า “คุณเอ ทำไมงานที่สั่งไปทำไม่เสร็จ รู้ไหมว่าทำงานล่าช้าแบบนี้บริษัทเสียหาย คุณจะว่ายังไง”

ผู้นำจะเลือกใช้คำพูดที่แสดงถึงความรู้สึกและความต้องการแทน “คุณเอ ตอนนี้ผมเริ่มรู้สึกเครียด เพราะงานที่เราต้องส่งลูกค้าไม่เสร็จตามกำหนด ผมต้องการรักษาเครดิตของบริษัท เราควรทำยังไงดี มีอะไรให้ผมช่วยเหลือบ้างมั้ย”

ผลลัพธ์จากการสื่อสาร ด้วย “ความรัก”

ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันในการทำงาน เกิดความรักและผูกพันซึ่งกันและกัน บรรยากาศการทำงานเหมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน ทำให้พนักงานรู้สึกอยากทำงานไปด้วยนานๆ อยากเห็นองค์กรเจริญเติบโต มีความรู้สึกเป็นเจ้าของ คอยระวังความผิดพลาดและจุดบกพร่องรั่วไหล มีความคิดสร้างสรรค์ทำสิ่งดีๆให้แก่องค์กรโดยไม่ต้องสั่ง และจะสร้าง “วัฒนธรรมแห่งความรัก” แบบนี้ส่งต่อรุ่นสู่รุ่นต่อไป


ผู้นำในยุค AEC นอกจากจะมีทักษะในด้านการบริหารจัดการและเทคนิค (Hard Skill) ที่ดีแล้ว จึงต้องมีทักษะในด้านการบริหารคน (Soft Skill) ที่เป็นเลิศ

โดยเฉพาะ “ทักษะการสื่อสารและการฟัง” (Communication & Listening Skill) ถือเป็นทักษะหลักที่ผู้บริหารยุคใหม่ต้องให้ความสนใจและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ จึงจะสร้างแรงบันดาลใจและปลุกศักยภาพในผู้คน และนำพาองค์กรฟันฝ่าความผันผวนและความเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วของกระแสธุรกิจในอนาคตได้ต่อไป

บทความโดย “เรือรบ” ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาการสื่อสารและการฟัง

ขอแนะนำ หลักสูตร “ ทักษะการสื่อสาร สำหรับผู้บริหารยุค AEC” โดย “เรือรบ”   

เน้น Workshop เพื่อฝึกทักษะการฟังและสื่อสารขั้นสูง และเพิ่มศักยภาพความเป็นผู้นำ ให้สามารถนำไปใช้ได้ทันที

9 ก.ค. นี้ หลักสูตร 1 วัน สำหรับบุคคลทั่วไป คลิกที่นี่

หลักสูตร In House 2 วัน สำหรับองค์กร คลิกที่นี่

ทักษะของผู้บริหารในยุค AEC

ในยุคที่ AEC กำลังจะมาถึง ซึ่งจะสร้างผลกระทบกับทุกธุรกิจในประเทศไทย อาจเป็นได้ทั้งโอกาสหรืออุปสรรค ขึ้นอยู่กับว่าธุรกิจนั้นจะสามารถคาดการณ์ ปรับปรุงพัฒนา และตอบสนองกับสถานการณ์ที่แปรผันได้มากแค่ไหน ดังนั้นผู้บริหารจำเป็นจะต้องขับเคลื่อนองค์กรอย่างเป็นพลวัตมากยิ่งขึ้น โดยปรับบทบาทตัวเองจาก “ผู้สั่งการ” ให้เป็น “ผู้นำการเปลี่ยนแปลง” สาเหตุหลักที่องค์กรเปลี่ยนแปลงได้ช้าและพัฒนาได้ยาก แม้ว่าจะมีระบบที่ดีแล้วก็ตาม ก็เป็นเพราะปัจจัยที่ซับซ้อนที่สุด ที่เรียกว่า “คน” นั่นเอง

ด้วยปัจจุบัน มนุษย์นั้นมีความหลากหลายทั้งในแง่ของประสบการณ์ การศึกษา ทัศนคติ ความเชื่อ อีกทั้งความแตกต่างของรุ่นอายุหรือเจนเนอเรชั่น ทำให้ “การฟัง” ของพวกเขามีข้อจำกัดมากขึ้น การสื่อสารจึงเป็นไปได้ยากขึ้น ไม่เกิดความร่วมมือกันในการทำงาน และบางครั้งก็เกิดเป็นความขัดแย้งที่ไม่พึงปรารถนา ความแบ่งแยก ความไม่ไว้วางใจต่อกันนั้น ส่งผลต่อระบบการทำงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สิ่งที่เป็นที่ต้องการและสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้บริหารในยุคนี้ จึงหนีไม่พ้น “ทักษะการบริหารคน”

ดังนั้นผู้บริหาร นอกจากจะมีทักษะในด้านการบริหารจัดการและเทคนิค (Hard Skill) ที่ดีแล้ว จึงต้องมีทักษะในด้านการบริหารคน (Soft Skill) ที่เป็นเลิศอีกด้วย ทักษะของผู้นำยุคใหม่ ต้องสามารถรับรู้และตอบสนองต่อโลก 3 ระดับของผู้คน และมีทักษะในการบริหารคนใน 3 ระดับนั้น ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันได้แก่

1. Concrete World: โลกแห่งผลลัพธ์

โลกแห่งผลลัพธ์ เป็นโลกภายนอกทางกายภาพ ที่มีตัวเลข ตัวชี้วัด วัดค่าและประเมินผลได้ เป็นโลกที่หลายคนคุ้นเคย แต่กระนั้นบางคนก็มีปัญหากับการทำงานในโลกที่เต็มไปด้วยความคาดหวังผลลัพธ์แบบนี้ การแก้ไขปัญหาให้คนเหล่านั้น คงไม่ได้แก้ง่ายๆเพียงอบรมให้ความรู้ หรือให้ออกจากงานไป

ผู้บริหารยุคใหม่ควรมีทักษะเพื่อทำให้ผู้คน มีแรงบันดาลใจ มุ่งมั่นที่พัฒนาตนเอง สามารถสร้างเป้าหมายที่ท้าทายในชีวิต มีผลลัพธ์ในการทำงาน ตระหนักถึงข้อจำกัดที่ตนเองมี และมองเห็นวิธีการใหม่ๆที่จะก้าวข้ามข้อจำกัดนั้นด้วยตนเอง เพื่อจะสร้างผลลัพธ์ที่แตกต่างออกไป ซึ่งทักษะที่สำคัญในส่วนนี้คือ Brain Based Coaching ซึ่งจะประกอบไปด้วย “ทักษะการฟังและการตั้งคำถาม” เพื่อให้ผู้คนบรรลุเป้าหมายและมุ่งสู่ความสำเร็จที่เขาต้องการได้นั่นเอง

2. Dream Land: โลกแห่งจิตใต้สำนึก

โลกแห่งจิตใต้สำนึก เป็นโลกภายใน ประกอบไปด้วย อารมณ์ ความรู้สึกและความต้องการ ซึ่งอยู่ภายในจิตใจลึกๆ บางครั้งกล่าวเป็นคำพูดไม่ได้ หรือไม่อาจเปิดเผยให้ใครรู้ได้ง่ายๆ ด้วยคนเรานั้นไม่มีใครสมบูรณ์แบบ ย่อมมีความแหว่งเว้าและขาดแคลนในฐานของอารมณ์อยู่บางส่วน ทำให้บางครั้งเกิดทัศนคติในแง่ลบ มีปมความขัดแย้งในใจ รู้สึกไม่เติมเต็ม หรือกระทั่งควบคุมอารมณ์ไม่ได้ ย่อมส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพการทำงานของคนๆนั้น และส่งผลกระทบต่อบุคคลรอบข้างเป็นอย่างมาก

ผู้บริหารยุคใหม่จะไม่ละเลยและเห็นความสำคัญของปัญหาในระดับนี้ สามารถเข้าใจและมีหลักในการวิเคราะห์พฤติกรรมความต้องการ และตอบสนองความต้องการเหล่านั้นได้อย่างเป็นธรรมชาติและทรงประสิทธิผลตามหลักการบริหารยุคใหม่ ซึ่งทักษะที่สำคัญในส่วนนี้คือ NLP (Nuero Linguistic Program) เป็นการใช้ “ทักษะภาษาเพื่อการโปรแกรมสมอง” ให้ผู้คนเกิดการเปลี่ยนแปลงจากอารมณ์ภายใน จากจิตใต้สำนึก ส่งผลเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมใหม่ๆตามที่เขาต้องการนั่นเอง

3. The Essene: โลกแห่งคุณค่าและเจตนารมณ์

ในโลกเบื้องลึกที่สุดแห่งจิตใจของแต่ละคน ประกอบไปด้วยชุดความเชื่อ ความศรัทธา ทัศนคติ การยึดถือคุณค่า และความหมายในการมีชีวิตอยู่ของตน แม้ว่าเราจะอาศัยอยู่ท่ามกลางความแตกต่างหลากหลายของผู้คน ซึ่งมีทั้งความวุ่นวายและสับสน แต่ในทุกความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะจะเล็กหรือใหญ่เพียงใดก็ตาม หากสืบค้นลงไปแล้ว ก็จะพบว่าในเบื้องลึกที่สุด ในหัวใจของมนุษย์ทุกคนนั้น ล้วนมี “คุณธรรม ความรัก ความเมตตา” ไม่แตกต่างกัน

ด้วยการศึกษาศาสตร์ทางจิตใจ คำสอนทางศาสนา การปฏิบัติสมาธิภาวนา หรือการพัฒนาตนเองอย่างไม่หยุดยั้ง หากเราสามารถฝึกฝนจน “มองเห็น เข้าใจ ยอมรับ และรักตนเอง” ได้อย่างไม่มีเงื่อนไขได้แล้ว เราจะสามารถรับรู้โลกภายในของผู้อื่นได้ จะสามารถฟังได้ลึกลงไปกว่าแค่คำพูด มองได้ลึกไปกว่าแค่การกระทำหรือพฤติกรรม จะสามารถรับรู้เจตนารมณ์หรือคุณค่าที่เขายึดถือได้ เมื่อนั้นเราจะสามารถ “เข้าถึง” ตัวตนของผู้คนรอบตัว และสื่อสารกับพวกเขาได้อย่างแท้จริง
……………………

บทสรุป

ในฐานะผู้นำยุคใหม่ หากเราต้องการเป็นผู้นำที่ครองใจคน ย่อมจะต้องสามารถสื่อสาร “คุณค่าของคนที่เราเป็น” ได้อย่างทรงพลังและมีประสิทธิภาพ ใช้ทักษะภาวะผู้นำที่มีการตัดสินใจตามเป้าหมาย โดยที่ไม่ละเลยในคุณค่าหรือความต้องการของผู้อื่น
สามารถสร้างภาวะแห่งความสมดุลของสถานการณ์ โดยมีการประยุกต์กระบวนการทางจิตวิทยาพฤติกรรม ศาสตร์ทางสมอง และกระบวนการใช้ภาษาเพื่อโปรแกรมจิต เพื่อการโน้มน้าวและสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คน จนเกิดนำไปสู่การลงมือทำด้วยพันธะสัญญา (Commitment) สู่ความสำเร็จด้วยตัวของเขาเอง และทำให้เกิดผลลัพธ์ในเชิงบวกต่อองค์กรได้อย่างยั่งยืน


บทความโดย “เรือรบ”

เครดิต เนื้อหาจากหลักสูตร “The Magic Leadership Skills” จิตวิทยาผู้นำด้วยศาสตร์ NLP และ Brain Based Coaching

อบรมโดย ดร.ขวัญนภา ชูแสง

หลักสูตรอบรมสำหรับบุคคลทั่วไป เริ่ม 4-5 ก.ค.นี้ คลิกที่นี่

รายละเอียดหลักสูตรการอบรมสำหรับองค์กร คลิกที่นี่

 

 

15 ข้อที่คุณควรรู้ ก่อนจะให้คำปรึกษาใคร

หลายครั้งที่เวลามีผู้ที่มาปรึกษาปัญหาต่างๆ กับเรา ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครอบครัวหรือคนรัก แล้วเรารู้สึกทุกข์ไปกับเขาหรือรู้สึกไม่เข้าใจว่าทำไมเขาถึงไม่นำคำแนะนำของเราไปใช้ ปัญหาจะได้หมดไป จนบางครั้ง การให้คำปรึกษาเพื่อหาทางออกของปัญหา กลับกลายเป็นการสร้างปัญหาเพิ่มขึ้นไปอีก มาดูกันว่าอะไรที่คุณควรรู้ ก่อนจะให้คำปรึกษาใคร

1. ทำตัวเองให้เป็นแก้วน้ำที่ว่างเปล่า

คุณจำเป็นต้องวางอัตตาตัวตนของคุณลงก่อน เพื่อรับฟัง เปรียบเหมือนเทน้ำในแก้วของตนเอง เพื่อรองรับน้ำใหม่จากผู้ขอคำปรึกษา

2. เข้าถึงความรู้สึกมากกว่าคำพูด

คุณต้องตระหนักอยู่เสมอว่า บุคคลตรงหน้า คือผู้ที่กำลังมีความทุกข์ มีปัญหาและต้องการคำตอบเพื่อบรรเทาทุกข์ ดังนั้น จิตใจของเขาย่อมอยู่ในช่วงเวลาที่กำลังอ่อนแอ สับสน และต้องการกำลังใจ

3. เปิดใจรับฟังด้วยความเมตตา

จงตั้งใจฟัง คุณต้องฟังให้ได้ยิน ไม่ใช่แค่เสียง ไม่ใช่แค่รู้ความหมาย แต่คุณต้องเปิดใจรับฟังด้วยความเมตตา และคิดถึงใจเขาใจเรา แสดงให้เขาสัมผัสได้ว่า เขาคือคนสำคัญที่คุณกำลังสนใจฟัง

4. ฟังอย่างลึกซึ้ง

ปล่อยให้เขาพูดในสิ่งที่ต้องการจะพูด ให้เขาได้บอกเล่าความรู้สึก ให้เขาได้บอกเล่าสิ่งที่คิด เพราะนั่นคือการระบายความในใจ ซึ่งจะทำให้เขาคลายความอึดอัดลงได้

5. ตอบเฉพาะในสิ่งที่รู้จริง

เมื่อคุณรับฟังจนเข้าใจแล้ว จงให้คำแนะนำไปตามสิ่งที่ตนเองรู้ อะไรที่รู้ก็แนะนำไป อะไรที่ไม่รู้อย่าไปคาดเดา ตามความเข้าใจของตนเอง เมื่อไม่รู้ คุณก็บอกเขาไปตรงๆว่า คุณไม่รู้

6. เข้าใจความแตกต่างของบุคคล

แต่ละบุคคลมีข้อจำกัด และสิ่งแวดล้อม รวมถึงสภาพจิตใจที่ต่างกัน วิธีแก้บางวิธีอาจได้ผลกับคนหนึ่ง แต่ไม่ได้แปลว่า วิธีดังกล่าวจะได้ผลกับทุกคน ดังนั้นผู้ให้คำปรึกษา จะต้องดูเป็นรายๆ ไป ไม่อาจนำมาเปรียบเทียบกับกรณีที่ผ่านไปแล้วได้

7. ให้คำแนะนำที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล

อย่าแนะนำในสิ่งที่เป็นอุดมคติ หมายความว่า คุณต้องเข้าใจว่า ทุกคนเป็นมนุษย์ มีรัก โลภ โกรธ หลง มีอ่อนแอ ผิดหวัง เสียใจ ดังนั้น คำแนะนำของคุณ ควรเป็นคำแนะนำที่ปฏิบัติตามได้ ไม่ใช่คำแนะนำในจิตนาการที่ฟังดูดี แต่ไม่อาจใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง

8. ทำตัวเป็นพื้นที่ว่าง ไม่ใช้อารมณ์ในการให้คำปรึกษา

ผู้ให้คำปรึกษา ไม่ควรโกรธ ไม่ควรใช้อารมณ์ ไม่ควรยึดติดกับคำแนะนำของตนเอง เพราะหากเป็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมหมายความว่า คุณไม่ใช่ผู้ให้คำปรึกษา แต่คุณคือผู้เพิ่มปัญหาให้ผู้ที่กำลังเดือดร้อนอยู่

9. ให้คำปรึกษาบนพื้นฐานของคุณธรรม

ผู้ให้คำปรึกษา สมควรมีความเข้าใจตนเอง มีความรู้ในด้านที่ตนเองกำลังให้คำปรึกษาอยู่ การให้คำปรึกษา สมควรอย่างยิ่งที่จะอยู่ในกรอบของความดีงาม ไม่ใช้ระบบลักษณะตาต่อตาฟันต่อฟัน ผู้ให้คำปรึกษาควรเป็นผู้มีวุฒิภาวะ คุณธรรม และความเข้าใจธรรมดาของโลกเป็นของตนเอง ยิ่งไปกว่านั้น คุณไม่ควรให้คำแนะนำใครในช่วงเวลาที่คุณอยู่ในสภาพจิตใจที่ไม่พร้อมจะให้คำแนะนำ

10. เป็นที่ปลอดภัยและไม่ตัดสิน

การให้คำปรึกษา เป็นคนละเรื่องกับการอวดตน จงให้คำปรึกษาอย่างอ่อนน้อม ถ่อมตน คิดอยู่เสมอว่า เราเองก็เคยผิดพลาด เราเองก็ไม่ได้ดีไปทุกอย่าง และไม่ได้รู้ไปทุกเรื่อง และการที่เขามาขอคำปรึกษา ก็ไม่ได้แปลว่าเขาไร้ความสามารถ หากแต่เป็นธรรมดาที่คนเราจะมีช่วงเวลาที่ไม่สบายใจ และต้องการใครสักคน

11. ให้คำปรึกษาที่มีแบบแผนชัดเจน ไม่เลื่อนลอย

การให้คำปรึกษาที่ดี นอกจากจะให้ทัศนคติที่ถูกต้องแล้ว คุณควรมีแผนการปฏิบัติเพื่อถึงเป้าหมายให้เขาด้วย เช่นคุณบอกว่า ควรปล่อยวาง คุณก็ควรมีขั้นตอนว่า เขาจะไปถึงความปล่อยวางได้อย่างไรหนึ่ง สอง สาม สี่ การให้คำปรึกษาจึงไม่ล่องลอย จับต้องได้ และนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

12. รักษาสมดุลระหว่างเหตุผลและความรู้สึก

ผู้ให้คำปรึกษาไม่ควรแนะนำในสิ่งที่ตนเองไม่มีความรู้ โดยเฉพาะเรื่องความสัมพันธ์ เรื่องความรู้สึก เพราะเรื่องเหล่านี้มีความละเอียดอ่อนเกินกว่าจะเอาเหตุผลเชิงตรรกะเข้าไปวิเคราะห์ ดังนั้นจึงไม่ควรใช้การสันนิษฐาน ไม่ควรใช้การคาดเดา ไม่ควรมีการตัดสินในลักษณะฟันธงเด็ดขาด เพราะเมื่อเกิดความเสียหายขึ้น คุณไม่ได้เป็นผู้เผชิญกับความเสียหายนั้น หากแต่ผู้ที่เผชิญก็คือผู้ที่ขอคำปรึกษา ดังนั้นเรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่ผู้ให้คำปรึกษาต้องตระหนักเป็นลำดับต้นๆ

13. ถูกที่ ถูกเวลา ถูกกับสภาพจิตใจ

คำแนะนำต่างๆ ควรเป็นคำแนะนำที่ถูกที่ ถูกเวลา ถูกกับสภาพจิตใจของเขาในช่วงเวลานั้นๆ และคำแนะนำที่ดีที่สุดไม่มีจริง คำแนะนำจะต้องปรับเปลี่ยนไปตามบุคคล เหตุการณ์ และสภาพจิตใจ ยิ่งไปกว่านั้น คำแนะนำที่ดีควรมีทั้งทางออก การแก้ และหนทางป้องกันปัญหาครั้งต่อๆ ไปไม่ให้เกิดขึ้นอีก

14. การให้คำปรึกษาที่ดีและง่ายที่สุด คือ การรับฟัง

เมื่อพบว่า ผู้ขอคำปรึกษา มักปรึกษาในเรื่องเดิมๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ก็ให้มีความเข้าใจว่า เขาอาจยังไม่พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนจริงๆ ให้ยุติการให้คำปรึกษา แต่เปลี่ยนเป็นการรับฟังแทน

15. ทำตัวเป็นอ่างน้ำที่รั่ว… รับฟังเสร็จแล้ว ต้องปล่อยวาง

ผู้ให้คำปรึกษาควรระลึกไว้เสมอว่า ผู้ขอคำปรึกษาไม่จำเป็นต้องทำตามคำแนะนำ และเมื่อรู้ว่า เขาไม่ทำตามคำแนะนำ ก็ไม่สมควรโกรธ แต่ควรปล่อยวาง บนพื้นฐานความเข้าใจว่า ทุกคนย่อมมีความคิด ชีวิต รวมถึงแนวทางการตัดสินใจเป็นของตนเอง นอกจากนี้ผู้ให้คำปรึกษา ควรน้อมเอาปัญหาต่างๆ ของผู้ขอรับคำปรึกษามาพิจารณา จนเกิดเป็นปัญญาของตนเอง นำไปสู่การเข้าใจตนเอง และเข้าใจผู้อื่น การให้คำปรึกษาต่างๆ จะต้องไม่ย้อนกลับมาสร้างความทุกข์ใจให้ตนเอง ควรรักษาจิตใจของตนเองให้มีความเบิกบานอยู่เสมอ ควรระลึกเสมอว่า ทุกคนมีวาระกรรมเป็นของตนเอง เมื่อช่วยเหลือจนถึงที่สุดแล้ว ก็ต้องปล่อยวางอย่างถึงที่สุดเช่นกัน

เครดิตบทความโดย พศิน อินทรวงค์ https://www.facebook.com/Talktopasin


คอร์ส “ฟังเป็น เปลี่ยนชีวิต”

หลักสูตร 1 วัน ที่จะเปลี่ยนมุมมองความคิด เปลี่ยนชีวิตด้วยการฟัง สร้างความสุข และความสำเร็จในชีวิต ด้วยการฝึก “ทักษะการฟัง” เพื่อให้เกิดการสื่อสารที่แท้จริงต่อกัน

ดูรายละเอียดคอร์สนี้ คลิกเลย —> ฟังเป็น เปลี่ยนชีวิต

9 วิธีเพิ่มทักษะการฟัง สำหรับคนทำงาน เพื่อพัฒนาศักยภาพตนเอง

listenatwork

การฟัง หรือ Listening ถือเป็นหนึ่งทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งของผู้ที่กระหายในความสำเร็จของชีวิต เพราะเราในฐานะมนุษย์คนหนึ่งนั้น สามารถเริ่มต้นเรียนรู้ได้จากทักษะแรกสุดที่ธรรมชาติให้มา นั่นคือการฟังนั่นเอง ยิ่งถ้าคุณทำงาน หรือสร้างธุรกิจ (Start Up) ด้วยแล้ว การฟังยิ่งทวีความสำคัญเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว เพราะหากการฟังไม่ดี เกิดการเข้าใจผิดหรือตัดสินใจผิด ปัญหาจะเกิดกับธุรกิจทันที

ดังนั้นเพื่อให้ทักษะการฟังพัฒนาขึ้น “9 วิธีการเพิ่มทักษะการฟัง” ต่อไปนี้ อาจช่วยให้คุณ มีพัฒนาการที่ดีด้านการฟัง และที่สำคัญ อาจกลายเป็นจิ้กซอว์ สำคัญในการสร้างความสำเร็จของคุณได้ด้วย

1.เรียนรู้ที่จะฟังเสียก่อน

ผมเริ่มจากสิ่งที่ง่ายที่สุด แต่เป็นสิ่งที่เราอาจลืม หรือไม่ได้นึกถึงมากที่สุด นั่นคือ จงเริ่มต้นที่การเรียนรู้ที่จะฟังเสียก่อน เราฟังเพื่ออะไร เพื่อที่จะได้ถอดรหัสของเสียงเหล่านั้นกลายเป็นข้อมูลเพื่อการนำไปใช้ เช่น ฟังการสอน  ฟังวิธีการในการทำอาหาร เสียงช่วยให้เราถอดรหัสได้ง่ายเพิ่มขึ้น

2.คิดตามเสมอที่คุณฟัง

อย่าฟังเรื่องใดๆแบบปล่อยผ่าน แต่จงฟังอย่างตั้งใจ และพยายามตรองเรื่องที่เราฟังไปพร้อมๆกับเสียงที่ได้ยิน การที่เรานึกถึงสิ่งเหล่านั้นไปด้วย จะช่วยให้สมองได้รับการสนับสนุนให้กระตุ้นความคิดในเรื่องนั้นๆอย่างต่อเนื่องอยู่เสมอ และมันจะกลายเป็นทักษะที่สำคัญสำหรับคุณ

3.ทวนความเป็นช่วงๆ ช่วยคุณได้

เพื่อให้การจดจำในสิ่งที่คนอื่นพูด เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว หากคุณสนทนากับบุคคลดังกล่าวอยู่ ลองเปลี่ยนเป็น การพูดสลับออกมาจากที่คุณฟังด้วย โดยพูดในเรื่องที่ผู้พูดคนนั้นได้ถ่ายทอดบทความออกมา ผมมักทำแบบนี้อยู่เสมอๆ และเป็นเรื่องที่น่าแปลกมาก คือผมสามารถจดจำเรื่องต่างๆได้ดีขึ้นกว่าเดิมมากเลยครับ

4.ฝึกสมาธิของคุณเป็นประจำ

อย่าดูเบาในเรื่องของสมาธินะครับ มีงานวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ และด้านจิตวิทยาทั่วโลกมากมาย ที่สนับสนุนให้เรารู้ว่า การฝึกสมาธิเป็นประจำอย่างน้อย 15 นาทีทุกวัน สามารถพัฒนาขีดความสามารถด้านความจำของคุณได้อย่างมาก ดังนั้นเมื่อมีการค้นพบเทคนิคง่ายๆอย่างนี้แล้ว ก็อย่ารอช้า ฝึกสมาธิเลยครับ หรือเลือกเข้าคอร์สการอบรมเรื่องโยคะก็ได้

5.ลองฟังเสียงธรรมชาติและแยกเสียงสิ

ผมว่าเทคนิคข้อนี้ค่อนข้างจะเป็นอะไรที่ สร้างความประหลาดใจให้กับผู้ที่ฝึกฝนทักษะในเรื่องของการฟังอยู่ไม่น้อย นั่นคือ คุณลองหาโอกาสในการไปท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ โดยเฉพาะหากสถานที่นั้นเป็นสถานที่แบบธรรมชาติ เพื่อที่ว่า ผมอยากให้คุณลองฟังดูเสียของธรรมชาติ เสียงต้นไม้ เสียงลมพัด หรือเสียงน้ำตกที่ไหลรินอย่างอ้อยอิ่ง ตามลำธารต่างๆ เป็นเรื่องเหลือเชื่อว่า ถ้าเราสามารถฟังและแยกเสียงเหล่านั้นได้ดี จะมีผลต่อประสิทธิภาพในการฟังอย่างเหลือเชื่อเลยทีเดียว

6. การอบรมเรื่องการฟัง ช่วยได้มาก

อย่าคิดว่าเรื่องนี้ไม่จำเป็นนะครับ หากคุณมีปัญหาว่า ไม่สามารถเข้าใจสารที่เจ้านายสั่งงานคุณเป็นประจำ หรือรู้สึกว่าตนเองนั้นค่อนข้างมีสมาธิสั้นในการฟังแล้ว จงเริ่มเปลี่ยนแปลงวิถีของตนเองอย่างง่ายๆด้วยการเรียนรู้ทักษะการฟังที่ถูกต้อง จากวิทยากรที่มากด้วยความสามารถอย่างนี้จะดีกว่า การเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญ ช่วยให้คุณไม่ต้องเริ่มต้นทักษะการฟังจากศูนย์

หลักสูตรสอนเรื่องการสื่อสารและการฟัง สำหรับคนทำงานในองค์กร เช่น “Communication for AEC Leadership: ทักษะการสื่อสารสำหรับผู้บริหารยุค AEC”

7.จดด้วยทุกครั้งที่คุณฟัง

สิ่งหนึ่งที่ผมนั้นชื่นชอบมากๆ เวลาเข้าไปฟังการอบรมหรือสัมมนานั่นคือ ยิ่งถ้าเรานั้นฟังมากเท่าใด สิ่งที่ตามมาคือปริมาณของข้อมูลที่ดีๆอาจล้นทะลัก จากคลังสมองของเรา ทำให้เราพลาดในการเลือกใช้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเอง ถ้าเป็นอย่างนั้นแล้ว อย่ารอช้า เตรียมสมุดจดไปสักเล่ม และบันทึกเรื่องราวต่างๆไปด้วยเสมอในระหว่างที่คุณฟัง การทำอย่างนี้จะทำให้คุณไม่ต้องกังวลเรื่องของข้อมูล ที่เกินกว่าจำนวนที่คุณรับรู้ได้อย่างแน่นอน

8. บันทึกผลของการฟังไว้บ้าง

หากเป็นไปได้ ผมแนะนำว่า คุณควรจดบันทึกผลของการฟังลงในสมุดเสียหน่อย เช่นวันนี้ฟังเรื่องอะไร และสามารถฟังได้นานกว่าปกติมากน้อยแค่ไหน ผมว่าการทำอย่างนี้ช่วยให้เราเห็นพัฒนาการและความก้าวหน้าของการฟังได้ชัดเจนขึ้นมากเลยนะครับ

9.เชื่อมั่นว่าสามารถพัฒนาทักษะด้านการฟังได้

เทคนิคข้อที่เก้านี้ อาจเป็นเทคนิคที่หลายๆคนมองข้าม หรืออาจเกิดความไม่มั่นใจว่า มันจำเป็นจริงหรือ ผมยังจำได้ตอนที่ผมเริ่มฝึกทักษะการฟังใหม่ๆ และสามารถฟังเรื่องราวของครูผู้สอนได้อย่างต่อเนื่องเกินกว่า 1 ชั่วโมง ในตอนนั้นผมคิดเสมอว่า มนุษย์เราจะสามารถฟังอะไรได้ต่อเนื่องยาวนานขนาดนั้นได้หรือไม่ ซึ่งท้ายที่สุดผมตัดสินใจว่า ผมต้องฟังอะไรได้ยาวกว่านั้น และเมื่อผมเชื่อ! ในที่สุดผมก็ทำได้ และนั่นควรเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับคุณด้วยเช่นกัน


เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับ 9 วิธีการอย่างง่ายๆในการเพิ่มทักษะด้านการฟัง ที่เราสามารถนำแนวทางข้างต้นต่อไปนี้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตการทำงานของเราได้จริง และถ้าเราหมั่นฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง ผมมั่นใจว่า ทักษะด้านการฟังของคุณจะต้องดีขึ้นอย่างมากอย่างแน่นอนครับ

บทความโดย Learning Hub Thailand

พัฒนาทักษะการฟัง อย่างก้าวกระโดดใน 1 วัน ด้วยหลักสูตร “Dialogue & Deep Listening : ศิลปะการสื่อสารและการฟัง” โดย เรือรบ ดูรายละเอียดคลิก

5 ความผิดพลาด ที่คนสำเร็จเค้าไม่ทำกัน

ไม่ว่าคุณจะอยากประสบความสำเร็จในด้านใดก็ตาม จะเป็นการงานอาชีพ งานอดิเรก การใช้ชีวิตส่วนตัว ในเมื่อมีกฎสากลอยู่แล้วในการที่จะประสบความสำเร็จ มันก็มีบางสิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยง ต่อไปนี้เป็น ความผิดพลาด 5 ประการ ที่ต้องระวัง มาลองดูกันว่าคุณตกหลุมพรางเหล่านี้ไปบ้างแล้วรึยัง

1.การเลี่ยงความรับผิดชอบ

“ราคาของความยิ่งใหญ่ ก็คือความรับผิดชอบ”

Winston Churchill

อย่างแรกที่คนสำเร็จเค้าไม่ทำกันคือ “การโทษคนอื่น หรือหาคนรับผิด” แม้กระทั่งในความคิดก็เถอะ เมื่อบางอย่างผิดพลาดไป อะไรคือปฏิกิริยาแรกของคุณ? สำหรับคนสำเร็จ เค้าเลือกที่รับความผิดนั้นไว้กับตน แทนที่จะโทษคนอื่นหรือโทษโชคชะตา นั่นจึงทำให้เขาได้ “เรียนรู้” จากความผิดพลาดนั้น แล้วก็ไม่ผิดซ้ำอีก

2.การผัดวันประกันพรุ่ง

“การผัดวันประกันพรุ่ง คือพฤติกรรมแย่ๆที่เลื่อนไปถึงวันมะรืน ในขณะที่ควรทำตั้งแต่เมื่อวานซืน”

Napoleon Hill

คนสำเร็จนั้นเน้น “กระทำทันที” โดยไม่สนว่าเป็น “เวลาที่เหมาะสม” หรือไม่ พวกเขาทำงานหนักและไม่เคยยอมแพ้ โดยไม่คำนึงถึงสภาพแวดล้อมว่าต้องเอื้ออำนวย ความลับของความสำเร็จนั้นมาจาก “การสะสมความสำเร็จเล็กๆ” ด้วยการทำซ้ำ เป็นระยะเวลานานๆ ไม่ใช่รอท่าให้เกิดความสำเร็จใหญ่ครั้งเดียว

3.การตามกระแส

“ สิ่งที่ยิ่งใหญ่ ไม่ได้สำเร็จจากการที่ทำตามแนวโน้มหรือกระแสนิยมของคนทั่วไป”

Jack Kerouac

ในแต่ละวัน คนเราผลิตข้อมูลมากมายมหาศาลจนล้นทะลัก มันจึงง่ายที่เราจะกระโดดเข้าไปสนใจในสิ่งใหม่ๆอยู่เสมอ เหมือนเป็นโรค “กลัวตกเทรนด์” การทำเช่นนี้ ทำให้เราไม่เหลือเวลาสำหรับการทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งกับสิ่งที่ตนทำอยู่ คนสำเร็จใช้พลังงานไปกับการทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งกับเป้าหมายของตนเอง โดยไม่สนใจเรื่องอื่น ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการสำเร็จในด้านการขายและการตลาด คุณอาจจะเลือกที่จะศึกษาลงลึกไปในด้านจิตวิทยามนุษย์ ไม่ใช่การมองหาวิธีโปรโมทแคมเปญใหม่ๆบนโซเชียลมีเดีย

4.ศิลปินเดี่ยว

“ ชีวิตไม่ใช่การแสดงคนเดียว แต่เป็นการร่วมมือกันอย่างยิ่งใหญ่ และเราจำเป็นต้องรวบรวมคนรอบๆตัวที่เค้าใส่ใจและสนับสนุนเรา”

Tim Gunn

สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งที่คนสำเร็จทำ นั่นก็คือแวดล้อมไปด้วยคนสำเร็จรอบๆตัว เขาจะไม่อยู่เพียงลำพัง จะมีเครือข่ายและกลุ่มมืออาชีพ อยู่ท่ามกลางคนฉลาด ที่สามารถทำเรื่องแตกต่างได้ นี่คือความจริง ไม่ว่าคุณจะอยากสำเร็จในเรื่องยิ่งใหญ่เพียงใด หรือแม้กระทั่งอยากลดน้ำหนักให้สำเร็จ มีการศึกษาวิจัยว่า เราจะลดน้ำหนักได้มากกว่าถ้าทำด้วยกันเป็นกลุ่ม

5.ขาดศรัทธา

เชื่อในตนเอง มีศรัทธากับความสามารถของตน หากไม่มีความถ่อมตนและมั่นใจอย่างมีเหตุผลในพลังของตัวเองแล้วล่ะก็ คุณจะไม่มีทางประสบความสำเร็จและมีความสุขได้เลย”

Norma Vincent Peale

เรื่องนี้ไม่ใช่การคิดบวกหรือจินตนาการเข้าข้างตัวเอง “การมั่นใจอย่างมีเหตุผล” จะทำให้คุณสำเร็จในสิ่งที่คุณวางเป้าหมายไว้ หากคุณไม่คิดแม้แต่ว่าจะทำได้สำเร็จแล้วล่ะก็ คุณจะไม่ลองทำด้วยซ้ำ ดังนั้นคุณต้องเพาะบ่มความเชื่อและศรัทธาในตนเองให้เกิดขึ้น แม้ว่าชีวิตกำลังถอยหลังและยากลำบากอยู่ก็ตาม

 

การหลีกเลี่ยงความผิดพลาดเหล่านี้ จะช่วยให้คุณบรรลุความสำเร็จในการงานและเป้าหมายส่วนตัวได้ แต่ถ้าอยากพบกับ “ความสำเร็จที่แท้จริง” แล้วล่ะก็ คุณต้องมีความสุขกับชีวิตเสียก่อน แถมท้ายกับความผิดพลาดข้อ 6. “ความไม่สมดุล” คนเรามักจะล้มเหลวเพราะไม่มีความสมดุลระหว่าง การงาน ครอบครัว เพื่อน และสุขภาพของตน การที่เราสำเร็จด้านเดียว แต่แล้วก็ล้มเหลวด้านอื่น ก็ไม่อาจทำให้เรารู้สึกเต็มเต็มชีวิตได้อย่างแท้จริง

ดังนั้น ความสำเร็จที่แท้จริง คือ “ความสุขและความสมดุล” หากคุณสามารถสร้างสมดุลให้ทุกพื้นที่ของชีวิตได้ คุณก็จะมีความสุขและกำลังใจเต็มเปี่ยม เรื่องอื่นจะไปยากอะไร จริงมั้ยครับ

บทความโดย เรือรบ

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Ads, Google Analytics

    Statistics

  • Google Analytics

    Statistics

  • Facebook

    Marketing/Tracking

  • ActiveCampaign

    Functional

  • ActiveCampaign

    Marketing/Tracking

Save