เทคนิคระบุประเภทปัญหาเพื่อแก้ปัญหายาก ๆ ให้จบได้จริง

ถ้าหากเรามีมนต์วิเศษ ดีดนิ้วแล้วทำให้ปัญหาหายไปได้ คุณคิดว่าดีหรือไม่ครับ

ผมคิดว่าดีนะ ส่วนตัวอยากได้แบบนั้นเลย (เหมือน Thanos ใน The Avengers) แต่ในชีวิตจริงมันไม่มีอะไรแบบนั้นนี่สิ ซึ่งปกติแล้วผมมักจะเจอแต่คนบ่นว่า…
 
“สู้กับปัญหาเต็มที่แล้ว แต่จัดการไม่สำเร็จเสียที โดนปัญหาสู้กลับทุกที”
“พยายามจัดการปัญหา แต่กลับมีคนไม่เห็นด้วย เจอคัดค้าน ต่อต้าน หรือเจอตอ”
“คิดว่าตัวเองตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว แต่ผลลัพธ์ไม่เหมือนที่คาดการณ์เอาไว้เลย”
====
 
ตัวอย่างทั้งหมดนี้ คือเรื่องที่หลายคนเจอกันเป็นปกติอยู่แล้ว
 
ต้นเหตุสำคัญของการเกิดภาวะเหล่านี้ก็คือ … การที่เรารีบร้อนแก้ปัญหามากจนเกินไป
 
ใช่แล้วครับ ปัญหาที่เกิดจากการแก้ปัญหามีต้นเหตุมาจากการรีบร้อนกระโจนเข้าไปแก้ปัญหานั่นเอง
ก่อนจะงุนงงกับถ้อยคำมากไปกว่านี้ ผมขอพาทุกคนมาทำความเข้าใจเรื่องนี้กันดีกว่าครับ
====
หนึ่งในเคล็ดลับที่สำคัญของนักแก้ปัญหาชั้นยอดก็คือ…
 
“การรู้ว่าตัวเองกำลังเผชิญกับปัญหาประเภทไหนอยู่”
 
คุณอาจมีคำถามว่าปัญหามีกี่ประเภทกันแน่หลังจากอ่านประโยคด้านบนจบ
 
ก่อนจะอธิบาย ผมอยากให้คุณดูตัวอย่างการรายงานปัญหาเหล่านี้ก่อนครับ
====

1. ที่โรงงานของเรากำลังขาดทุน คนงานก็บ่นว่าถังขยะไม่พอ หัวหน้าแผนกการเงินกับฝ่ายผลิตทะเลาะกันรุนแรงมาก รปภ. นั่งหลับ เดือนที่แล้วเพิ่งเกิดเหตุไฟไหม้ แต่ยังจับมือใครดมไม่ได้ ประกันไม่ยอมจ่ายเพราะคิดว่ามีการวางเพลิงโดยทีมผู้บริหาร ผู้บริหารฝ่ายการตลาดเพิ่งลาออก หัวหน้าไลน์ผลิตที่ 3 คุมลูกน้องไม่อยู่เพราะอายุน้อยกว่า พนักงานกะกลางคืนแอบเสพยาเสพติด ชาวบ้านรอบโรงงานบ่นว่าโรงงานเราเป็นโรงงานที่ไร้ธรรมาภิบาล เพราะชอบปล่อยน้ำเสียลงคลอง ฯลฯ

2. จากการฟังปัญหาผ่านการสัมภาษณ์พนักงาน 20 คนจาก 5 แผนก และหัวหน้าแผนกต่างๆ แล้ว สรุปได้ว่าเรามีปัญหาดังนี้
A. การเงินที่ขาดทุน
B. ยอดขายที่ตกลงจากการโดนคืนสินค้า
C. ความปลอดภัยจากการชำรุดเกี่ยวกับไฟในโรงงาน
D. พนักงานกะกลางคืนมีการซื้อขายและเสพยาเสพติด
E. ชาวบ้านร้องเรียนโรงงานผ่านหน่วยงานราชการ 5 ครั้งใน 1 เดือน
F. การเคลมประกันที่ไม่คืบหน้า

3. ผมคิดว่าเหตุไฟไหม้อาจเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร หรือไม่ก็มีใครไปทำให้เกิดประกายไฟ

4. จากการตรวจสอบกล้องวงจรปิด และสถานที่แวดล้อมแล้ว ได้ข้อสรุปว่าเกิดไฟฟ้าลัดวงจรบริเวณเครื่องจักร A แล้วระบบตัดไฟไม่ทำงานเนื่องจากมีอายุ 15 ปีแล้ว (ซึ่งเกินกำหนดกว่าที่ผู้ผลิตแจ้งไว้ว่าควรเปลี่ยนทุก 5 ปี)

5. ระบบตัดไฟที่ผ่านเงื่อนไขความปลอดภัยมี 2 รุ่น รุ่นนึงจากประเทศเยอรมัน รับประกัน 3 ปีราคา 3 ล้านบาท อีกรุ่นจากประเทศไทย ราคา 1 ล้านบาท

6. ตามที่เราตัดสินใจจะแก้ปัญหาการตรวจสอบกระบวนการภายในของเรา ผมว่าเราต้องพิจารณากันแล้วว่าจะตั้งหน่วยงานตรวจสอบภายใน หรือจ้าง Outsource Agent มารับผิดชอบ
====
 
หลังจากอ่านทั้ง 6 ข้อด้านบนแล้ว นักแก้ปัญหาจะทำการพิจารณาทีละข้อดังนี้
 
ในข้อ 1 ปัญหาเยอะ และยุ่งเหยิงมาก เราควรลิสต์ปัญหาออกมาเป็นข้อๆ ก่อน ซึ่งถ้าทำตามนั้นเราจะได้ข้อ 2
ข้อ 2 เมื่อเห็นปัญหาแล้ว เราควรพิจารณาความสำคัญกับปัญหาต่าง ๆ เพื่อเรียงลำดับการแก้ไขปัญหา เพราะเรามีทรัพยากรจำกัด โดยเฉพาะ ‘เวลา’
 
ข้อ 3 เป็นกรณีการคาดเดา (โดยใช้ความคิดเห็น) เกี่ยวกับสาเหตุในการเกิดปัญหา ซึ่งเราควรค้นหาสาเหตุที่แท้จริง (ความจริงไม่ใช่ความคิดเห็น) เพื่อเข้าใจปัญหานั้นจริงๆ
 
ข้อ 4 เรารู้แล้วว่าสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาคืออะไร ต่อไปเราก็จะสามารถคิดหาทางเลือกในการแก้ปัญหาได้แล้ว
 
ข้อ 5 เป็นการตัดสินใจเลือกวิธีแก้ปัญหา โดยอาจจะต้องปรึกษาผู้มีอำนาจ หรือพิจารณาจากงบประมาณร่วมด้วยก็ได้
 
ข้อ 6 เป็นการตัดสินใจเลือกวิธีการแก้ปัญหา เช่นเดียวกับข้อ 5 แต่เพิ่มการวิเคราะห์ทางเลือกแต่ละทางแบบลงลึกมากขึ้น
====
 
ทั้งหมดนี้คือตัวอย่างที่บ่งชี้ว่า ปัญหาที่แตกต่างกันต้องการการตอบสนองที่แตกต่างกัน
 
ถ้าเรามัวแต่อยากรีบกระโจนเข้าไปแก้ปัญหาทันทีที่รู้ว่าเกิดปัญหา โดยยังไม่ได้ผ่านขั้นตอนทั้งหมดนั้นคิดว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไรครับ
 
ไม่รู้ว่ามีปัญหาอะไรบ้าง
ไม่รู้ว่าควรเริ่มแก้ปัญหาไหน (ปัญหาไหนสำคัญแลพะเร่งด่วนที่สุด)
 
ไม่รู้ว่าควรใช้วิธีไหนในการแก้ปัญหา
 
ถึงตรงนี้คุณน่าจะพอมองเห็นว่าการที่ผมบอกให้ทุกคนชะลอความต้องการแก้ปัญหาก่อนจะลงมือแก้ปัญหาเป็นคำแนะนำที่ดีกว่า
อีกหนึ่งต้นเหตุสำคัญที่ทำให้คุณแก้ปัญหาไม่ได้ คือ ต้นทุนจม เรียนรู้เรื่อง ต้นทุนจม อคติทางความคิดที่ทำให้คุณตัดสินใจผิดพลาด คลิกที่นี่
====
 
ซึ่งถ้าคุณอยากเรียนรู้เรื่องของประเภทปัญหา และวิธีการจัดการกับปัญหาให้ชัดเจนมากขึ้น
 
ผมขอเชิญชวนทุกคนมาเรียนรู้ร่วมกันในหลักสูตร  Problem Solving & Decision Making  
ซึ่งผมจะมาบอกเทคนิควิธีการลำดับความสำคัญและระบุประเภทของปัญหาอย่างลงลึก
ดูรายละเอียด คลิกที่นี่
 
เพราะการเริ่มต้นแก้ปัญหาที่แท้จริง เริ่มจากการเข้าใจว่ามันเป็นปัญหาประเภทไหนก่อน
แล้วพบกันนะครับ
====
 
บทความ โดย
อ.ป้อบ มาติก ตั้งตรงจิตร
CFA, FRM
Team Persuasion and Organizational Negotiator
 
Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Ads, Google Analytics

    Statistics

  • Google Analytics

    Statistics

  • Facebook

    Marketing/Tracking

  • ActiveCampaign

    Functional

  • ActiveCampaign

    Marketing/Tracking

Save