สาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้นำเก่ง ๆ ‘ล้มเหลว’
เคยเห็นผู้นำเก่งๆ ที่สร้างผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมได้ตลอดไหม?
เชื่อว่าทุกคนคงมีภาพผู้นำแบบนั้นอยู่ในใจ แต่ถ้าจะบอกว่าผู้นำที่เก่งแบบนั้นก็ล้มเหลวได้เหมือนกันล่ะ คุณคิดอย่างไร
=====
ไม่ใช่ทุกคนที่จะเก่งไปหมดทุกอย่าง และคนที่เก่งก็อาจจะล้มเหลวด้วยสาเหตุที่คุณนึกไม่ถึงมาก่อนเลยก็ได้
ผู้นำ หรือ หัวหน้า นั้นมีอย่างน้อยสองแบบ แบบแรกโฟกัสไปยังการสร้างผลงานเป็นชิ้นเป็นอัน เช่น สร้างสินค้ามาแรงในตลาด ทำยอดขาดสูงลิบลิ่ว ส่วนแบบที่สองโฟกัสไปยังการสร้างความสัมพันธ์กับคนในทีม
=====
บรรดาผู้นำที่สร้างผลลัพธ์ได้เก่งกาจ หลายครั้งก็มักจะโฟกัสไปยังผลงานที่จับต้องได้มากจนเกินไป หากเป็นเช่นนั้น เขาอาจจะละเลย …
– ความใส่ใจที่มีต่อลูกน้อง
– การสร้างความสัมพันธ์ การสร้างทีมที่ดี
-การให้แรงบันดาลใจ
ผู้นำบางคนถึงกับคิดว่า ถ้าให้ความสนใจกับมนุษย์มากเกินไปจะทำให้เป้าหมายที่ตั้งไว้ไม่บรรลุผลเลยด้วยซ้ำ !
ผลการศึกษายืนยันว่า ผู้นำที่เน้นผลลัพธ์ของการทำงานมากเกินไป จะเอาแต่สร้างตัวเลขและยอดรายได้จนกระทั่งลืมเรื่องอื่นๆ จนเมื่อนำทุกองค์ประกอบมาประมวลเป็นคะแนน ผู้นำแบบนี้กลับสอบตก เพราะสิ่งที่เขาทำไม่สมดุล ทำให้เกิดผลที่เสียหายต่อองค์กร บรรยากาศในการทำงานแย่ ลูกน้องต่างหมดใจที่จะทำงานด้วย ทั้งหมดนี้ยืนยันได้จากตัวเลขการลาออกของพนักงาน
=====
ผู้นำที่เก่งจริงจะสร้างสมดุลระหว่างงาน (ทำให้งานสำเร็จ) กับคน (ให้แรงบันดาลใจ พัฒนา สนับสนุน ส่งเสริมให้เกิดพลัง) ซึ่งผู้นำส่วนใหญ่มักไม่ค่อยทำอย่างหลัง บางคนขาดทักษะด้านนี้หรือไม่เชื่อในเรื่องการสร้างสัมพันธ์กับคนเลยด้วยซ้ำ เนื่องจากกลัวควบคุมคนไม่ได้ หรือกลัวทำให้มีเวลาไปสร้างผลงานน้อยลง
แต่ถ้าหากอยากจะเป็นผู้นำที่ไม่ล้มเหลว คุณต้องไม่โฟกัสไปยังผลงานมากเกินไป โดยใช้วิธีการต่อไปนี้
=====
ลองฟังฟีดแบ็ค
ลองถามคนที่เกี่ยวข้องในการทำงานว่าเราสร้างสมดุลของการโฟกัสได้ดีหรือยัง ให้อีกฝ่ายคิดเป็นคะแนนกลับมาก็ได้ ถ้าคะแนนฝั่งของการโฟกัสไปยังผลงานมากเกินไป คุณควรจะหันกลับมาให้ความสนใจเกี่ยวกับคนบ้าง
=====
โฟกัสไปยังคนด้วยความตั้งใจ
ให้เวลากับคนที่ทำงานร่วมกันและลูกทีม หาเวลาพูดคุยสนทนา แลกเปลี่ยนเรื่องงาน อาจจะไปดื่มกินเพื่อรู้จักกันให้ดี กระชับความสัมพันธ์ ซึ่งควรจะทำให้เป็นธรรมชาติ ไม่ได้รู้สึกฝืนใจทำ ซึ่งจะทำให้คนรอบข้างรู้สึกสบายใจที่ได้ทำงานร่วมกัน
=====
สังเกตตัวเองให้ดี
ลองสังเกตว่าคุณทำอะไรเร็วเกินไป หรือไม่ค่อยมีความอดทนหรือเปล่า เพราะนั่นแปลว่าคุณกำลังคิดแต่จะสร้างผลลัพธ์ มองเห็นแต่เป้าหมาย ลองสร้างสติระลึกตัวเอง หรือตั้งคำถามว่า เราทำอะไรเร็วไปไหม การที่เราไม่ยอมปล่อยวางหรือทำอะไรให้ช้าลง นั้น เรากำลังกลัวอะไรอยู่หรือเปล่า
การสังเกตและรู้เท่าทันตัวเองคือทักษะที่ฝึกได้ อ่านบทความวิธีการฝึก Self – Awareness แบบ Step by Step ได้ที่นี่
=====
ทำลายความเชื่อผิดๆ
คนเรามักจะมีความเชื่อผิดๆ ในการทำงาน เช่น เชื่อว่าตนเองทำบางเรื่องไม่ได้ ซึ่งส่งผลให้มีพฤติกรรมที่ไม่โอเคตามมา ลองหาเวลาคุยกับคนที่สร้างสมดุลระหว่างผลงานกับสร้างคนได้ดี ลองถามเคล็ดลับว่าทำอย่างไรให้ประสบความสำเร็จทั้งสองอย่างพร้อมๆ กันแล้วนำมาปรับใช้กับตัวเอง
=====
ฝึกจัดการตัวเอง
เมื่อระลึกตัวเองได้แล้วว่าอะไรเข้าท่า อะไรไม่เข้าท่าสำหรับคุณและทีมของคุณ ขั้นตอนต่อไปคือการฝึกตัวเองให้ทำในสิ่งที่ถูกต้อง เช่น การไม่เที่ยวไปส่งอีเมลเกี่ยวกับงานสำคัญในช่วงวันหยุด เลิกย้ำเตือนให้คนอื่นใช้ความพยายามมากขึ้น หรือใช้เวลาในการหันมาเอาใจใส่สอนงานลูกน้อง เป็นต้น
หากไม่อยากเป็นหนึ่งในผู้นำที่เก่งแต่ล้มเหลว เราขอแนะนำให้คุณเรียนรู้และฝึกฝนทักษะสำหรับผู้นำยุคใหม่ ในหลักสูตร The New Leadership Skill คลิกที่นี่ครับ
=====
เรียบเรียงจาก“Why Highly Efficient Leaders Fail” โดย Rebecca Zucker ตีพิมพ์เมื่อ 12 กุมภาพันธุ์ 2019 ใน Harvard Business Review
เรียบเรียงโดย Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข
ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962
Recent Posts
- 3 กติกาง่าย ๆ ที่ทำให้ทุกฝ่ายมีความสุขในการประชุม
- 5 เคล็ดลับ เปลี่ยนคนเบื่องาน ทะยานสู่ TOP 5 ในออฟฟิศ
- 5 เคล็ดลับ เปลี่ยนวันจันทร์ ให้เป็นวันสุข
- 5 วิธีสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานเจ้าอารมณ์
- 7 ขั้นตอนทำงานร่วมกับเจ้านายดุให้มีประสิทธิภาพและมีความสุข
- วิธีทำชีวิตช้าลงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
- 5 เทคนิครับมือกับเพื่อนร่วมงานเจ้าปัญหา
- 7 เทคนิค เลือกลูกน้องอย่างไรไม่ให้เปลี่ยนงานบ่อย
- 4 ขั้นตอน ลดความขัดแย้งภายในทีม
- 8 วิธีสร้างความน่าเชื่อถือในที่ทำงาน