หลักการที่ใช้ได้ผลในการสร้างทีมขนาดเล็ก
ทีมขนาดเล็กถูกพูดถึงมากขึ้นเรื่อย ๆ ทีมขนาดเล็กเหมาะกับธุรกิจในยุคปัจจุบันและจะทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต เพราะโลกธุรกิจเกิดการเปลี่ยนแปลงทุกขณะ
ทีมทำงานที่เหมาะสมกับยุคสมัยจึงต้องรวดเร็ว ตื่นตัวพร้อมปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา
คุณสมบัติเหล่านี้มีอยู่ในทีมขนาดเล็ก (Small Team)
====
แล้วทีมขนาดเล็กต้องมีกี่คนล่ะ Jeff Bezos ผู้ก่อตั้ง Amezon.com บอกว่าทีมที่เหมาะสมกับธุรกิจยุคใหม่ควรจะมีคนในทีมทั้งหมดที่สามารถกินพิซซ่าสองถาดได้แบบพอดี ๆ
นั่นหมายความว่าถ้าเราคิดจากพิซซ่าทั้งหมด 16 ชิ้น (ถาดละ 8 ชิ้น) ทีมขนาดเล็กควรจะมีแปดคน ถ้ากินคนละสองชิ้นซึ่งน่าจะเป็นปริมาณสำหรับคนทั่วไป
แต่ถ้าคนในทีมของเรากินคนละสี่ชิ้นก็เท่ากับว่ามีคนในทีมสี่คน และถ้ามีใครสักคนกินมากกว่าสี่ชิ้นผมแนะนำให้หาคนอื่นมาอยู่ในทีมเถอะครับ
====
ผู้ประกอบการจำนวนมากเข้าใจคอนเซ็ปของทีมขนาดเล็ก แต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่พอจะประยุกต์ใช้จริงกลับพบปัญหามากมาย จนต้องล้มเลิกกลางคัน
วันนี้ผมนำเอา 5 หลักการสำคัญที่จำเป็นสำหรับการสร้างทีมขนาดเล็กมาให้ทุกคนได้อ่านเพื่อทำความเข้าใจและมีแนวทางในการสร้างทีมขนาดเล็กด้วยกันนะครับ
1. หัวใจของทีมขนาดเล็กคือการถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อให้คนทำงานในทีมเห็นความเปลี่ยนแปลงของลูกค้าแบบใกล้ชิดที่สุด
ทีมขนาดเล็กไม่ได้มีเอาไว้เท่ ๆ เพื่อเอาไปบอกชาวบ้านว่า นี่ดูสิ ชั้นมีทีมขนาดเล็กแบบ google ด้วยแหล่ะ แต่หน้าที่ของทีมขนาดเล็กก็เพื่อให้เข้าไปอยู่ใกล้ชิดลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อทำความเข้าใจลูกค้า และสร้างนวัตกรรมขึ้นมาแก้ไขปัญหาให้ลูกค้าแบบใกล้ชิด จะถือว่าเป็นการสร้างนวัตกรรมร่วมกันกับลูกค้าเลยก็ว่าได้(เราสร้าง ลูกค้าทดลองใช้ แล้ว Feedback กลับมาทันที)
====
2. อะไรที่ช้า ต้องรออนุมัติหลายขั้นตอน ต้องถูกยกเลิกไปให้หมด
ความรวดเร็ว ความคล่องตัวคืออีกหนึ่งหัวใจของทีมขนาดเล็ก ฉะนั้นรูปแบบการขออนุมัติงบประมาณ การตรวจวัดผลที่ล่าช้าจะต้องถูกหยิบออกไปจากทีมขนาดเล็ก(หรือจะเรียกว่าไม่ถูกนำเข้ามาในทีมขนาดเล็กน่าจะถูกกว่า)
ทีมขนาดเล็กจะต้องได้รับงบประมาณ และทรัพยากรโดยตรงแบบไม่ต้องรออนุมัติเพื่อทำการทดลองได้อย่างอิสระ ภายใต้การวัดผลที่รวดเร็วและการลงทุนที่ยอมรับได้
====
3. ต้องให้อำนาจในการตัดสินใจแก่ทีมขนาดเล็กมากกว่าที่เคยทำกันมา
ทีมขนาดเล็กที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาในองค์กรขนาดใหญ่จะต้องอยู่นอกเหนือกฎระเบียบเดิม ๆ ขององค์กรนั้น
นอกจากเรื่องการจัดสรรงบประมาณแล้ว อำนาจในการตัดสินใจว่าจะทำหรือไม่ทำอะไรจะขึ้นอยู่กับทีมโดยตรง เพื่อความคล่องตัวที่สุดของการทำงาน
====
4. ต้องคัดสรรคนที่ดีที่สุดและมีความหลากหลายเข้าไปอยู่ในทีม
ทีมขนาดเล็กมีลักษณะไม่ต่างอะไรกับทีม Avenger คือ ต้องเป็นสมาชิกที่ดีที่สุด มีทั้งความฉลาดหลักแหลม ทักษะความสามารถ ความเป็นผู้นำ วินัย ความรับผิดชอบ ทักษะการสื่อสาร ความคิดสร้างสรรค์ การคิดวิเคราะห์ เพราะการให้อิสระและทรัพยากรที่ค่อนข้างไม่จำกัดจำเป็นต้องอยู่กับคนที่ทั้งเก่งและดีอย่างแท้จริง
อีกเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กันคือการคัดสรรคนที่มีความคิดและทักษะที่แตกต่างกันมาอยู่ในทีมเดียวกัน เพื่อให้มุมมองในการทำงานกว้างขึ้น และเกิดการปะทะสังสรรค์ระหว่างไอเดียที่แตกต่างจนเกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ นั่นเอง
====
5. ต้องระบุให้ชัดเจนว่าทีมนี้ตั้งขึ้นมาเพื่ออะไร(Why) ทำอะไร (What) ผลลัพธ์ที่ต้องการมีอะไรบ้าง และมีลักษณะเป็นอย่างไร (วัดผลได้)
เพื่อกำหนดทิศทางของทีมขนาดเล็ก อิสระต้องมาพร้อมกับความชัดเจนของ Why , What และ End Result ที่วัดผลได้อย่างชัดเจน
สิ่งสุดท้ายที่ควรรู้ก็คือทีมขนาดเล็กไม่ได้เกิดขึ้นมาเพื่อทำโปรเจคใหญ่ ๆ ตั้งแต่แรก แต่ถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อทดลองเปลี่ยนองค์ประกอบเล็ก ๆ ด้วยความถี่ แล้ววัดผลเป็นระยะ ๆ เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ในอนาคต
====
เรียบเรียงโดย อ. เวย์ เวสารัช โทณผลิน
ผู้เชี่ยวชาญด้านภาวะผู้นำและทีมเวิร์ค (Leadership &Teamwork Expert)
Learning Hub Thailand เราพัฒนาคนในองค์กร เพื่อเพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข
ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 094 959 2645
Categories
Recent Posts
- 3 กติกาง่าย ๆ ที่ทำให้ทุกฝ่ายมีความสุขในการประชุม
- 5 เคล็ดลับ เปลี่ยนคนเบื่องาน ทะยานสู่ TOP 5 ในออฟฟิศ
- 5 เคล็ดลับ เปลี่ยนวันจันทร์ ให้เป็นวันสุข
- 5 วิธีสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานเจ้าอารมณ์
- 7 ขั้นตอนทำงานร่วมกับเจ้านายดุให้มีประสิทธิภาพและมีความสุข
- วิธีทำชีวิตช้าลงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
- 5 เทคนิครับมือกับเพื่อนร่วมงานเจ้าปัญหา
- 7 เทคนิค เลือกลูกน้องอย่างไรไม่ให้เปลี่ยนงานบ่อย
- 4 ขั้นตอน ลดความขัดแย้งภายในทีม
- 8 วิธีสร้างความน่าเชื่อถือในที่ทำงาน