ค้นพบความง่าย ในการเปลี่ยนทุกเป้าหมาย ให้กลายเป็นจริง

ปัญหาของการไม่มีเป้าหมายชีวิต เปรียบได้กับการที่คุณสามารถใช้เวลาทั้งชีวิตไปกับการวิ่งขึ้นวิ่งลงไปทั่วสนาม

และทำคะแนนไม่ได้แม้แต่แต้มเดียว

– บิลล์ โคปแลนด์

คุณเคยรู้สึกไหมว่าตัวเองทำงานหนักมากแต่กลับย่ำอยู่กับที่? บางครั้งคุณพบว่าตัวเองมีพัฒนาการขึ้นเล็กน้อยในทักษะฝีมือหรือในด้านความสำเร็จเมื่อเทียบกับตัวเองเมื่อห้าหรือสิบปีก่อน หรือบางทีคุณต้องดิ้นรนเพื่อให้รู้สึกว่าตัวเองจะตอบสนองความทะเยอทะยานในไม่กี่ปีข้างหน้านี้ได้

ผู้คนจำนวนมากใช้ชีวิตไปกับการทำงานหนึ่งไปสู่อีกงานหนึ่ง หรือวิ่งวุ่นไปทั่วเพื่อทำอะไรให้สำเร็จมากขึ้นแต่กลับมีสิ่งที่ทำสำเร็จจริงๆ ได้เล็กน้อยเท่านั้น

การตั้ง ‘เป้าหมายที่ชาญฉลาด’ หรือ SMART Goals หมายความว่าคุณสามารถเข้าใจความคิดของตัวเองได้อย่างชัดเจน โฟกัสไปที่ความพยายาม ใช้เวลาและทรัพยากรที่ตัวเองมีได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงเพิ่มโอกาสของความสำเร็จในชีวิต

ในบทความของเราวันนี้ จะพาทุกท่านไปรู้จักกับ SMART Goals ว่าคืออะไร และคุณจะสามารถใช้มันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ต่างๆ ของตัวเองได้อย่างไร

SMART หมายถึงอะไร?

SMART คืออักษรย่อที่คุณสามารถใช้เป็นแนวทางการตั้งเป้าหมายได้

หลักเกณฑ์ทั่วไปนำมาจากแนวคิด ‘หลักการบริหารจัดการของปีเตอร์ ดรักเกอร์’ ซึ่งเป็นที่รู้จักครั้งแรกในนิตยสาร Management Review ฉบับเดือนพฤศจิกายน ปี 1981 โดยจอร์จ ที. โดแรน  จากนั้นศาสตราจารย์โรเบิร์ต เอส. รูบิน (มหาวิทยาลัยเซนต์หลุยส์) ได้เขียนเกี่ยวกับ SMART ในบทความสำหรับสมาคมจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กร เขาเริ่มใช้คำว่า SMART เพื่อนิยามถึงสิ่งที่แตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล

เพื่อให้มั่นใจว่าเป้าหมายของคุณนั้นชัดเจนและสัมผัสได้ แต่ละเป้าหมายควรจะ :

  • Specific: มีความเฉพาะเจาะจง เรียบง่าย สมเหตุสมผล เป็นเป้าหมายที่สำคัญ
  • Measurable: วัดผลได้ มีความหมาย มีแรงจูงใจ
  • Achievable: ลงมือทำได้จริง สามารถทำสำเร็จได้
  • Relevant: มีความเกี่ยวเนื่องกัน มีเหตุผล และมีทรัพยากร ตั้งอยู่บนฐานผลลัพธ์ที่ได้
  • Time bound: กำหนดเวลาได้

ศาสตราจารย์รูบินยังเพิ่มเติมว่าบางที SMART นั้นต้องการการอัพเดทบ้างเพื่อสะท้อนความสำคัญของประสิทธิภาพและข้อเสนอแนะต่างๆ

อย่างไรก็ตามนักเขียนบางคนได้ขยายแนวคิดนี้ขึ้นเพื่อโฟกัสด้านอื่นเพิ่มเติม เช่น SMARTER โดยรวมเอาการประเมินผล (Evaluated) และการทบทวน (Reviewed) เข้าไปด้วย

วิธีการใช้แนวคิด SMART

นักธุรกิจชื่อ พอล เจ. เมเยอร์ นักเขียนและผู้ค้นพบแนวคิด ‘แรงจูงใจในความสำเร็จระดับสากล’ ซึ่งอธิบายลักษณะเฉพาะของ SMART Goals ในหนังสือของเขาเมื่อปี 2003 ชื่อว่า “Attitude Is Everything: If You Want to Succeed Above and Beyond.”

 พวกเราจะลองมาดูว่าเขาได้นิยามวิธีการสร้าง พัฒนา และวิธีประสบความสำเร็จในเป้าหมายไว้ว่าอย่างไรบ้าง

1.มีความเฉพาะเจาะจง (Specific)

เป้าหมายของคุณควรชัดเจนและมีความเฉพาะเจาะจง มิฉะนั้นแล้ว คุณจะไม่สามารถรวบรวมความตั้งใจหรือรู้สึกถึงแรงจูงใจที่แท้จริงในการประสบความสำเร็จได้ เมื่อทำการร่างเป้าหมายจึงควรตอบ 5 คำถาม W นี้ให้ได้

  • What: คุณต้องการประสบความสำเร็จเรื่องอะไร?
  • Why: ทำไมเป้าหมายนี้จึงมีความสำคัญ?
  • Who: ใครมีส่วนเกี่ยวข้องบ้าง?
  • Where: สถานที่ในการดำเนินการตั้งอยู่ที่ไหน?
  • Which: ทรัพยากรหรือข้อจำกัดอะไรที่เกี่ยวข้อง?

ตัวอย่าง

ลองจินตนาการว่าคุณทำงานเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดและต้องการขึ้นเป็นหัวหน้าฝ่าย เป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงอาจเป็น “ฉันต้องการทักษะและประสบการณ์ที่จำเป็นในการเป็นหัวหน้าฝ่ายการตลาดในองค์กร เพราะฉะนั้นฉันต้องสร้างหน้าที่การงานและทีมที่ประสบความสำเร็จ”

2.วัดผลได้ (Measurable)

การมีเป้าหมายที่วัดผลได้นั้นเป็นสิ่งสำคัญ เพราะคุณจะสามารถติดตามความคืบหน้าและยังคงมีแรงจูงใจต่อไปได้ การประเมินความคืบหน้าจะช่วยให้คุณสามารถโฟกัสที่เป้าหมาย เผชิญกับกำหนดเวลาและรู้สึกตื่นเต้นทุกครั้งที่เข้าใกล้ความสำเร็จ

เป้าหมายที่วัดผลได้อาจเริ่มจากคำถามเหล่านี้:

  • มีค่าใช้จ่ายเท่าไร?
  • มีปริมาณมากแค่ไหน?
  • จะรู้ได้อย่างไรว่าประสบความสำเร็จ?

ตัวอย่าง

คุณอาจวัดเป้าหมายในการได้รับทักษะสำหรับการเป็นหัวหน้าฝ่ายการตลาด จากการเข้าร่วมการอบรมที่จำเป็นจนเสร็จสิ้นหรือได้รับประสบการณ์จากงานที่เกี่ยวข้องเป็นเวลาห้าปี

3. ลงมือทำได้จริง (Achievable)

เป้าหมายของคุณต้องมีความสมจริงและสามารถทำให้สำเร็จได้ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือมันควรท้าทายความสามารถของคุณแต่ก็สามารถทำให้เกิดขึ้นได้ เมื่อคุณตั้งเป้าหมาย

คุณอาจมองไปถึงโอกาสหรือทรัพยากรที่ต้องใช้เพื่อทำให้คุณเข้าใกล้ความสำเร็จในอนาคต

เป้าหมายที่ลงมือทำได้จริงมักจะเริ่มด้วยคำถาม เช่น

  • ฉันจะทำเป้าหมายนี้ให้สำเร็จได้อย่างไร?
  • เป้าหมายนี้ตั้งบนฐานความเป็นจริงมากแค่ไหน เช่น ดูจากปัจจัยทางการเงิน เป็นต้น

ตัวอย่าง

คุณอาจต้องถามตัวเองว่าการพัฒนาทักษะที่จำเป็นเพื่อเป็นหัวหน้าฝ่ายการตลาดนั้นอยู่บนพื้นฐานความจริงหรือไม่ อาจมองจากคุณสมบัติหรือประสบการณ์เดิมที่คุณมี เช่น

คุณมีเวลามากพอจะเข้าอบรมจนเสร็จสิ้นไหม?

มีทรัพยากรที่จำเป็นหรือไม่?

คุณสามารถที่จะทำมันได้หรือไม่?

4. มีความเกี่ยวเนื่องกัน (Relevant)

สำหรับขั้นตอนนี้เป็นการทำให้แน่ใจว่าเป้าหมายนั้นเหมาะสมกับคุณและมีความเกี่ยวเนื่องกันกับเป้าหมายอื่นๆ พวกเราทุกคนต่างต้องการการสนับสนุนและความช่วยเหลือในการทำเป้าหมายให้สำเร็จ

แต่ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องสามารถควบคุมเหนือปัจจัยต่างๆ เหล่านั้นได้ ดังนั้นทำให้แน่ใจว่าแผนของคุณจะผลักดันคนอื่นๆ ไปข้างหน้าแต่คุณก็ต้องรับผิดชอบความสำเร็จของเป้าหมายของตัวเองด้วย

การหาว่าเป้าหมายนั้นมีความเกี่ยวเนื่องกันหรือไม่ คุณต้องตอบ ‘ใช่’ จากคำถามต่อไปนี้:

  • มันดูคุ้มค่าหรือไม่?
  • ถูกช่วงเวลาแล้วใช่ไหม?
  • มันตรงกับความต้องการอื่นๆ หรือไม่?
  • ฉันใช่คนที่จะก้าวไปถึงเป้าหมายนี้ไหม?
  • สามารถใช้ได้ในสภาพเศรษฐกิจหรือสังคมปัจจุบันหรือไม่?

ตัวอย่าง

คุณอาจต้องการเพิ่มพูนทักษะเพื่อก้าวไปสู่ตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายการตลาดในองค์กรของคุณ แต่นี่คือเวลาสำหรับการเข้าร่วมอบรมหรือยัง หรือจะเลือกที่จะเพิ่มเติมคุณสมบัติที่จำเป็นก่อน

คุณแน่ใจแล้วใช่ไหมว่าตัวเองเหมาะกับบทบาทหัวหน้าฝ่ายการตลาด  คุณพิจารณาเป้าหมายของคู่สมรสบ้างหรือไม่

ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการเริ่มสร้างครอบครัว การเข้าฝึกอบรมต่างๆ จะต้องกินเวลาว่างของคุณ ซึ่งอาจทำให้เรื่องต่างๆ ยากขึ้นหรือไม่?

5.ผูกพันกับเวลา (Time-bound)

ทุกๆ เป้าหมายต้องการกำหนดเวลา ดังนั้นคุณต้องตั้งเส้นตายในการทำเป้าหมายต่างๆ เพื่อให้ตัวเองโฟกัสในการทำสิ่งต่างๆ ให้ก้าวหน้า หัวข้อนี้ของ SMART Goals จะช่วยให้สามารถจัดลำดับความสำคัญสำหรับเป้าหมายระยะยาวได้

การกำหนดเวลามักถามด้วยคำถามเหล่านี้:

  • เมื่อไร?
  • ฉันสามารถทำอะไรได้บ้างในหกเดือนต่อจากนี้?
  • ฉันสามารถทำอะไรได้บ้างในหกสัปดาห์ต่อจากนี้?
  • ฉันสามารถทำอะไรได้บ้างในวันนี้?

ตัวอย่าง

การเพิ่มพูนทักษะสำหรับเป็นหัวหน้าฝ่ายการตลาดอาจต้องการการฝึกฝนหรือประสบการณ์ ตามที่เรากล่าวไปก่อนหน้านี้ คุณต้องใช้เวลานานแค่ไหนในการเรียนรู้ทักษะเหล่านั้น?

หากคุณต้องการเข้าอบรมคุณก็ต้องทดสอบว่าตัวเองมีคุณสมบัติหรือไม่ มันเป็นสิ่งสำคัญที่คุณต้องให้กรอบเวลาตามความเป็นจริงสำหรับทำเป้าหมายเล็กๆ น้อยๆ ให้สำเร็จ เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จในเป้าหมายใหญ่ๆ ต่อไป

ข้อดีและข้อเสียของการตั้งเป้าแบบ SMART Goals

SMART นั้นมีประสิทธิภาพในการทำให้คุณมองเห็นเป้าหมายต่างๆ ได้อย่างชัดเจน สามารถโฟกัสกับจุดมุ่งหมายและมีแรงจูงใจเพื่อทำเป้าหมายนั้นให้สำเร็จได้ นอกจากนี้มันยังช่วยเพิ่มความสามารถเพิ่มแรงใจในการกำหนดวัตถุประสงค์ต่างๆ และกำหนดวันที่ต้องการให้สำเร็จอีกด้วย

ทุกคนสามารถนำหลัก SMART Goals ไปปฏิบัติตามได้ง่ายในทุกที่โดยไม่ต้องการเครื่องมือพิเศษหรือการฝึกฝนใดๆ มาก่อน

การตีความได้หลากหลายของ SMART นั้นหมายความว่า อาจทำให้มันสูญเสียประสิทธิภาพหรือเกิดการเข้าใจผิดในความหมายที่แท้จริงได้ อีกทั้งบางคนก็มีความเชื่อว่า SMART ไม่เหมาะกับเป้าหมายระยะยาวเพราะขาดความยืดหยุ่นและความคิดสร้างสรรค์

เคล็ดลับ

SMART เป็นเครื่องมือที่ดีสำหรับการวางแผนหรือการตั้งเป้าหมาย ในขณะที่มีการตีความเรื่องอักษรย่อที่หลากหลายทั้งความเฉพาะเจาะจง การวัดผลได้ ทำให้สำเร็จได้ มีความเกี่ยวเนื่องกันและเรื่องความผูกพันกับเวลา

เมื่อคุณใช้แนวคิด SMART คุณสามารถสร้างเป้าหมายที่ชัดเจน สามารถทำได้จริงและมีความหมายขึ้นได้ นอกจากนี้ยังสามารถพัฒนาแรงจูงใจ แนวทางปฏิบัติและการสนับสนุนที่ต้องการเพื่อทำให้สำเร็จได้

การประยุกต์ SMART Goals ในชีวิตประจำวัน

บางครั้งคุณอาจฝันบ่อยๆ ว่าอยากไปเที่ยวรอบโลก แต่มันก็ไม่เคยเกิดขึ้น คุณอาจจะบอกตัวเองว่าเป็นเพราะคุณไม่มีเวลาหรือเงินและบางทีอาจผลัดไปเป็นปีหน้า

ลองตั้งเป้าหมายแบบ SMART Goals เพื่อช่วยให้เป้าหมายการท่องเที่ยวของคุณมีความเจาะจงมากขึ้น สามารถวัดผลได้ ทำได้จริง มีความเกี่ยวเนื่องกับเป้าหมายอื่นๆ และผูกพันกับกำหนดเวลา

คุณอาจพบเหตุผลที่แท้จริงว่าทำไมคุณถึงไม่เคยได้ออกเดินทาง อาจเพราะแผนการของคุณไม่ชัดเจนหรือเกินจริงมากไป ลองปรับเปลี่ยนทัศนคติใหม่ให้เข้ากับแนวคิด SMART Goals และนี่ก็คือตัวช่วยที่จะทำให้ความฝันของคุณกลายเป็นจริง

แปลและเรียบเรียงโดย 

Learning Hub Team

ที่มา: https://www.mindtools.com/pages/article/smart-goals.htm

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Ads, Google Analytics

    Statistics

  • Google Analytics

    Statistics

  • Facebook

    Marketing/Tracking

  • ActiveCampaign

    Functional

  • ActiveCampaign

    Marketing/Tracking

Save