การค้นพบใหม่ในการสร้างทีมที่ยอดเยี่ยม
เคยสงสัยไหมครับว่าอะไรเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ทีมทำงานร่วมกันได้ดีและประสบความสำเร็จ
หลายคนอาจทึกทักว่าเป็นเรื่องที่ ‘จับต้องไม่ได้’ เพราะมันเป็นศิลปะและเคมีความเข้ากันได้ส่วนบุคคลซึ่งมองอย่างไรก็ไม่ใช่วิทยาศาสตร์เลย
แต่ในความจริงแล้ว ปัจจัยที่ทำให้ทีมยอดเยี่ยมคือวิทยาศาสตร์ล้วน ๆ ที่สามารถสังเกตและมีตัวชี้วัดได้ สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ มันเป็นเรื่องที่สามารถสอนกันได้ด้วย
====
มองหาสิ่งเดียวกัน
เมื่อทำการสำรวจพฤติกรรมของทีมที่ ‘คลิก’ กัน เราพบว่าทีมที่ประสบความสำเร็จมีวิธีการสื่อสารที่ยอดเยี่ยม
มีงานวิจัยเพียงน้อยนิดที่ให้ความสนใจในเรื่องนี้ แต่เราเชื่อว่ามันคือส่วนที่สำคัญที่สุด ยิ่งเราสำรวจทีมต่าง ๆ ในหลากหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นงานหน้าบ้านหรืองานหลังบ้าน เราศึกษาโดยการติดเครื่องมือที่อยู่ในรูปเข็มกลัดเพื่อใช้เก็บข้อมูลเสียง ภาษาร่างกาย ทั้งของเจ้าตัวและคู่สนทนา ตลอดจนรายละเอียดอื่น ๆ อีกมากมายกับสมาชิกในทีม
ข้อมูลที่ได้ช่วยยืนยันว่า ‘การสื่อสาร’ เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการประสบความสำเร็จของทีม เราพบว่าการสื่อสารกันนอกห้องประชุมของสมาชิกมีส่วนในความสำเร็จเป็นอย่างมาก
====
หลังจากแนะนำให้ผู้จัดการลองย้ายเวลาเบรกของทุกคนในทีมเป็นเวลาเดียวกันแล้ว เราพบว่าทีมทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ตัวอย่างเช่น ทีม Call Center ได้รับคะแนนความพึงพอใจของลูกค้าเพิ่มขึ้นถึง 10% เลยทีเดียว
จากการเก็บข้อมูลพนักงานจำนวนราว 2,500 คนจากหลากหลายองค์กรเป็นเวลาร่วม 7 ปี ผลที่ได้จากทีมที่ประสบความสำเร็จชัดเจนถึงขนาดที่เราสามารถทำนายล่วงหน้าได้เลยว่าทีมไหนจะชนะรางวัลการประกวดแผนธุรกิจ
สิ่งที่เราพบจากสมาชิกในทีมที่ยอดเยี่ยมเหล่านั้น ได้แก่
1. โดยเฉลี่ยทุกคนในทีมพูดคุยและรับฟังกันในปริมาณเท่า ๆ กัน
2. คนในทีมมองหน้าและสนทนากันอย่างกระตือรือร้นและมีพลังงานสูง
3. ทุกคนในทีมสื่อสารระหว่างกันเองโดยไม่ได้คุยแต่กับหัวหน้าทีมเพียงอย่างเดียว
4. คนในทีมพูดคุยปรึกษากันระหว่างประชุม
5. สมาชิกในทีมพักเป็นระยะ และออกไปคุยกับคนอื่นนอกทีมเพื่อนำข้อมูลกลับมาแลกเปลี่ยนกันภายในทีมเสมอ
====
อีกสิ่งที่น่าสนใจก็คือ ความสำเร็จของทีมส่วนใหญ่กลับไม่ได้มาจากความสามารถส่วนบุคคลอย่างที่หลายคนเคยเข้าใจ สิ่งที่ดีที่สุดในการสร้างทีมเวิร์คคือการเรียนรู้วิธีการสื่อสารและแนะนำให้สมาชิกในทีมทำตามแบบแผนการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
วิธีการนำข้อมูลจากการวิจัยไปใช้เพื่อพัฒนาทีมที่มีประสิทธิภาพ
1. ทำให้เห็นภาพ
ด้วยการแสดงข้อมูลในรูปของแผนภาพกราฟฟิกที่ดูง่าย กราฟฟิกจะช่วยให้เห็นจุดอ่อนของทีมที่อาจไม่ทันสังเกต เช่น สมาชิกที่ไม่ค่อยออกความเห็น
====
2. ฝึกสอน
แสดงแผนภาพความร่วมมือของสมาชิกในแต่ละวันเพื่อกระตุ้นความร่วมมือ ทำให้สมาชิกที่เป็นจุดอ่อนได้เห็นการทำงานของตัวเองเปรียบเทียบกับคนอื่นและนำไปปรับปรุงได้
หนึ่งในวิธีฝึกสอนและพัฒนาคนในทีมที่ดีที่สุดก็คือการโค้ช อ่าน โค้ชอย่างไรถึงจะเพิ่มศักยภาพได้อย่างเต็มที่ คลิกที่นี่
3. ปรับสมดุลการทำงาน
นำข้อมูลที่เครื่องมือบันทึกได้มาเปรียบเทียบกับผลงานของทีม แสดงให้เห็นว่าข้อมูลที่ได้มีผลต่อการทำงานอย่างแท้จริง เช่น วันที่การประชุมไม่ได้เรื่อง ข้อมูลจากเครื่องมือจะแสดงให้เห็นว่าวันนั้นสมาชิกในทีมมีการสื่อสารที่ไม่ราบรื่นอย่างไร
การสร้างทีมที่มีประสิทธิภาพไม่ได้มาจากโชคช่วย หรือเกิดจากเพื่อนร่วมทีมที่เก่งและฉลาดในระดับสุดยอดแต่เพียงอย่างเดียว แต่มันสามารถอธิบายได้ด้วยวิทยาศาสตร์ผ่านการเก็บข้อมูลจนทำให้เราค้นพบกุญแจสำคัญของทีมที่ดี นั่นคือ ‘การสื่อสาร’
สมาชิกในทีมที่หลายคนเรียกว่า ‘มีความเป็นผู้นำ’ แท้จริงแล้ว ก็คือคนที่มีความสามารถในการสื่อสารกับทุกคนอย่างเท่าเทียมและกระตุ้นให้เกิดพลังงานในการสนทนา ซึ่งยิ่งเรามีคนแบบนี้ในทีมมากเท่าไร ทีมก็ยิ่งประสบความสำเร็จมากขึ้นเท่านั้นนั่นเอง
====
คุณสามารถเป็นหัวหน้าทีมหรือช่วยให้ทีมทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ ถ้าเรียนรู้และฝึกฝนทักษะการสื่อสารและทักษะการทำงานร่วมกัน ขอแนะนำหลักสูตร Team Communication & Collaboration คลิกดูรายละเอียดที่นี่
เรียบเรียงจาก “The New Science of Building Great Teams” โดย Alex “Sandy” Pentland จาก Harvard Business Review เมษายน 2012
เรียบเรียงโดย
Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข
ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962
Recent Posts
- 3 กติกาง่าย ๆ ที่ทำให้ทุกฝ่ายมีความสุขในการประชุม
- 5 เคล็ดลับ เปลี่ยนคนเบื่องาน ทะยานสู่ TOP 5 ในออฟฟิศ
- 5 เคล็ดลับ เปลี่ยนวันจันทร์ ให้เป็นวันสุข
- 5 วิธีสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานเจ้าอารมณ์
- 7 ขั้นตอนทำงานร่วมกับเจ้านายดุให้มีประสิทธิภาพและมีความสุข
- วิธีทำชีวิตช้าลงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
- 5 เทคนิครับมือกับเพื่อนร่วมงานเจ้าปัญหา
- 7 เทคนิค เลือกลูกน้องอย่างไรไม่ให้เปลี่ยนงานบ่อย
- 4 ขั้นตอน ลดความขัดแย้งภายในทีม
- 8 วิธีสร้างความน่าเชื่อถือในที่ทำงาน