Active Listening ทักษะการฟังที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้คนในทีม

โดยปกติแล้วคนเราจะจำในสิ่งที่ได้ยิน เพียงร้อยละ 25 – 50 เท่านั้น

นั่นแปลว่า ตลอดเวลา 10 นาทีที่เราคุยกับเจ้านาย เพื่อนร่วมงาน ลูกค้า หรือคนรัก เราจะสนใจฟังและจดจำสิ่งที่เขาพูดได้ไม่ถึงครึ่งด้วยซ้ำ 

=====

ในบรรดาทักษะสำคัญในการสื่อสารและเรียนรู้ทั้ง 4 อย่าง  คือ ฟัง พูด อ่าน เขียน ผู้คนมักจะให้คุณค่ากับการพูดและการเขียนมากที่สุด รองลงมาคือการอ่าน ส่วนการฟังคนมักจะไม่ค่อยสนใจ ทั้งที่ในความเป็นจริง การฟัง คือ ทักษะที่สำคัญมากถึงขนาดที่ทำให้การทำงานประสบความสำเร็จเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว และยังช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่นอีกด้วย

=====

ลองนึกถึงการฟังแล้วได้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ ฟังจนเข้าใจสิ่งต่างๆ อย่างแตกฉาน ฟังแล้วเกิดความเพลิดเพลิน สบายใจหรือฟังแล้วได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ

ประโยชน์มากมายเหล่านี้ที่น่าจะทำให้ถึงเวลาที่คุณจำเป็นต้องฝึกทักษะ “Active Listening” หรือ การฟังอย่างตั้งใจ กันแล้ว

===== 

Active Listening คือ การมีสติตลอดเวลาที่ฟัง ไม่เพียงรู้ว่าข้อความที่ได้ยินคืออะไร แต่ยังรวมไปถึงการเข้าใจประเด็นของสิ่งที่ได้ยินอีกด้วย

 หลักการเบื้องต้น คือ การมีสมาธิ กับ สติ ไม่ถูกสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศรอบตัวทำให้ไขว้เขว ไม่คิดฟุ้งหรือตอบโต้สิ่งที่ได้ยิน 

เคล็ดลับง่าย ๆ ก็คือ เวลาฟังอะไรให้ทวนสิ่งที่ได้ยินเป็นระยะ ๆ ทำให้เรายังจดจ่อกับเรื่องราวได้ดี รวมไปถึงการทำให้อีกฝ่ายได้รับรู้ด้วยว่า เรากำลังตั้งใจฟังเขาอยู่  

การทวนนี้ทำได้ตั้งแต่การทวนคำพูดของเขา  การตอบรับสั้น ๆ เช่น อืม อ่อ  การใช้ภาษาท่าทาง เช่น การพยักหน้า หรือทำทั้งหมดนี้สลับกันไปเรื่อย ๆ 

=====

อย่างไรก็ตาม ให้ระวังการพยักหน้าตอนกำลังฟัง เพราะอาจทำให้อีกฝ่ายเข้าใจผิดว่าคุณกำลังเห็นพ้องต้องกันกับเขาไปเสียทุกเรื่อง ให้ทำแค่พอประมาณเพื่อให้รู้ว่าคุณกำลังตั้งใจฟังเขาอยู่ก็เพียงพอแล้ว 

สรุปแล้ว เคล็ดลับสำหรับการเป็น “นักฟังที่ดี” ได้แก่ การเดินตาม 5 วิธีการดังนี้

1.สนใจผู้พูด

เมื่อฟังใครพูดก็มุ่งเน้นความสนใจไปยังคนที่กำลังพูด คอยสังเกตภาษากายหรือน้ำเสียงของเขาด้วย เริ่มจากมองไปยังผู้พูด ถ้าคิดว่ามีอะไรที่จะมากวนจิตใจของเราก็ให้ทิ้งไปก่อน  อย่าคิดตอบโต้ระหว่างฟัง และคอยหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะรบกวนสมาธิคุณ  เช่น คนอื่นที่คุยกันอยู่ข้างๆ และสุดท้ายคือการอ่านภาษาท่าทางของผู้พูดให้ได้ว่าเขาสื่อความว่าอย่างไร

=====

2.แสดงให้เห็นว่าเรากำลังฟัง

ทำได้ตั้งแต่การพยักหน้าเป็นระยะๆ (แต่อย่าทำบ่อยจนคล้ายการเห็นด้วยไปเสียหมด) มองตา ยิ้มให้หรือแสดงออกทางสีหน้าบ้าง ทำให้อีกฝ่ายเห็นว่าเราสนใจในสิ่งที่เขาพูด และช่วยให้ผู้พูดมีกำลังใจว่าไม่ได้พูดอยู่คนเดียว ด้วยการตอบรับบ้างเป็นครั้งคราว

=====

3.สะท้อนกลับไปบ้าง

เมื่อเราฟัง เราควรจะให้ฟีดแบ็คด้วยการประมวลผลคำพูดของเขาเป็นระยะ ๆ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการทวนสิ่งที่พูดว่า “ที่ได้ยินมานี่ หมายความว่า…” “แบบนี้มันก็แปลว่า…”  หรือถ้าเป็นไปได้ ให้ตั้งคำถามกลับไปบ้าง เช่น “ตรงที่บอกว่า… อันนี้หมายความว่ายังไงนะครับ” หรือคุณจะช่วยสรุปสิ่งที่ได้ยินออกมาเป็นระยะๆ ก็ได้เช่นกัน

=====

4.อย่าด่วนตัดสิน

การฟังก็คือการฟัง ไม่ใช่การหาทางตอบโต้ ดังนั้น การฟังอย่างตั้งใจจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการกวนใจผู้พูด ปล่อยให้เขาได้พูดจนจบก่อนที่จะโต้แย้งหรือตั้งคำถามยากๆ และระหว่างที่ได้ยินความคิดเห็นอะไร อย่ารีบเร่งไปถกเถียงจนกว่าคุณจะฟังจนครบถ้วนแล้วจริง ๆ 

=====

5.ตอบกลับให้เหมาะ

การตอบกลับควรจะทำอย่างมีศิลปะและจริงใจ ไม่ใช่การแสดงว่าเห็นด้วยในสิ่งที่คุณไม่ได้เห็นด้วยจริง ๆ การแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างนั้นสามารถทำได้ ซึ่งก็ต้องเป็นความคิดเห็นที่มีเหตุผลประกอบและอยู่บนพื้นฐานของการเคารพซึ่งกันและกัน

===== 

ทั้งหมดนี้ล้วนต้องฝึกฝน เพราะคนส่วนใหญ่มักจะเคยชินกับการฟังแบบผ่าน ๆ ฟังแบบจับใจความแบบได้บ้างไม่ได้บ้าง

แต่เมื่อการฝึกฝนจนก้าวหน้าและผลักดันให้ตัวเองกลายเป็นนักฟังอย่างจริงจัง  คุณจะประสบความสำเร็จในการสื่อสารกับคนอื่นๆ และเกิดประสิทธิภาพต่อชีวิตและการงานอย่างแน่นอน  
ซึ่งเราขอแนะนำให้คุณฝึกทักษะการฟังอย่างตั้งใจนี้ควบคู่กับทักษะการฟังอย่างเข้าอกเข้าใจ

สุดท้ายนี้ หากคุณต้องการฝึกฝนการฟังอย่างจริงจังและช่วยให้ทีมมีทักษะการฟังที่ดีขึ้น เราขอแนะนำหลักสูตร “Executive Communication ทักษะการสื่อสารของผู้บริหารยุคใหม่” ที่คุณจะได้ฝึกการฟังหลากหลายรูปแบบและการสื่อสารที่จะช่วยสร้างทีมเวิร์คที่ดีขึ้นได้ คลิกดูได้ที่นี่ครับ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Ads, Google Analytics

    Statistics

  • Google Analytics

    Statistics

  • Facebook

    Marketing/Tracking

  • ActiveCampaign

    Functional

  • ActiveCampaign

    Marketing/Tracking

Save