เราจะทำงานกับคนที่ไม่ชอบหน้าได้อย่างไร

เป็นเรื่องยากสำหรับสังคมการทำงานที่จะหลีกเลี่ยง ‘คนที่เราไม่ชอบหน้า’ ได้ คำถามคือเราจะทำงานร่วมกับพวกเขาได้อย่างไร 

หลายคนมักจะมีคนที่เห็นครั้งแรกก็รู้สึกไม่ถูกชะตา คนที่รู้สึกว่าไม่มีทางเข้ากันได้ คนที่รู้สึกว่าเป็นเรื่องยากหากต้องอยู่ร่วม แต่ไม่ว่าจะอย่างไรโชคชะตามักจะพาคนแบบนี้มาร่วมงานกับคุณเสมอ

===== 

เช่นกรณีของนักบริหารหญิงคนหนึ่งที่เข้าไปทำงานในสถาบันการเงินชั้นนำ สถานการณ์โดยรวมไม่เลวเลย สิ่งต่างๆ ก็น่าจะเป็นไปด้วยดี แต่ที่นั่นมีผู้หญิงอีกคนที่ดันมีสถานะในทางการบริหารใกล้เคียงกันซึ่งคุมอีกทีมหนึ่งอยู่ เมฆดำปกคลุมมาแต่ไกล เมื่อทั้งสองรู้สึกไม่ชอบหน้ากันตั้งแต่แรกเห็น 

เวลาผ่านไป อะไรต่อมิอะไรก็ไม่ดีขึ้น หากปล่อยเอาไว้นานเชื่อว่าอาจจะทำให้ผลงานของทั้งสองทีมและทั้งบริษัทสะดุด ความร่วมมือไม่เกิด ความสำเร็จจะไม่มา และชีวิตการงานก็อาจจะพังพินาศไปด้วย
=====

ผู้บริหารสาวคนแรกลองเปิดใจกว้าง เธอลองวิเคราะห์สถานการณ์ และพบว่าผู้ริหารอีกคนมีภาพของคนที่มีทักษะการทำงานระดับสูง ประสบความสำเร็จ และเป็นนักบริหารที่ใคร ๆ ต่างก็ชื่นชอบ เสียอย่างเดียวก็เพราะเป็นมนุษย์คนละสไตล์นี่แหละ ทำให้รู้สึกไม่อยากจะเข้าใกล้เลย  

แต่เมื่อพบว่าการเข้าไม่ถึงอีกฝ่าย ไม่สนใจ ไม่ให้ความสำคัญที่จะทำงานด้วยกัน ทำให้เกิดความระหองระแหง การสื่อสารที่ติด ๆ ขัด ๆ ไปจนถึงความพยายามหลีกเลี่ยงที่จะเจอหน้ากันก็นำพาไปสู่วิกฤติเล็ก ๆ ผู้บริหารหญิงคนแรก จึงต้องคิดหากลยุทธ์การทำงานร่วมกับอีกฝ่าย 

=====

และต่อไปนี้คือวิธีการทำงานร่วมกับคนที่ไม่ชอบหน้า ซึ่งพิสูจน์แล้วว่า ได้ผลจริง 

1.หาสาเหตุ ว่าทำไมถึงได้มึนตึงต่อกัน

ลองคิดหาเหตุผลว่าทำไมถึงเกิดความไม่ชอบหน้ากัน สาเหตุหลักอันดับต้น ๆ ที่เกิดขึ้นออะไร พึงระลึกไว้เสมอว่าเราควรเรียนรู้จากคนทุกแบบที่ได้พบเจอว่าเราควรจะทำตัวอย่างไรต่อเขา แม้ว่าจะไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะการพบปะพูดคุยกันในฐานะเพื่อนร่วมงานนั้นสำคัญมาก บางที การที่มีบรรยากาศที่ไม่ดีต่อกัน การไม่ชอบหน้ากันนั้นอาจจะเกิดจากตัวเราก็ได้ 

=====

2.พยายามเข้าใจมุมมองของอีกฝ่าย

ลองคิดจากมุมมองของอีกฝ่ายดูว่าเพราะสาเหตุใดเขาจึงทำเช่นนั้น แล้วทำอย่างไรถึงจะจูงใจคนนั้นได้ คนนั้นมองเราอย่างไรและต้องการอะไรจากเราบ้าง บางทีอาจจะทำให้เห็นว่าอีกฝ่ายก็มีความต้องการที่จะประสบความสำเร็จเช่นเดียวกับเรา ซึ่งเป้าหมายปลายทางของเราและเขาไม่ใช่เรื่องขัดแย้งอะไรกันเลย

บางครั้งการพยายามเข้าใจอีกฝ่ายก็ยากเหลือเกิน ลองศึกษาวิธีใหม่ในการฝึกเข้าใจผู้อื่น

=====

3.ช่วยแก้ปัญหาดีกว่าวิพากษ์วิจารณ์ 

หากอยากทำงานด้วยกันให้ดี ควรเปลี่ยนคำว่าคู่แข่งให้กลายเป็นมิตร ด้วยการลดหรือเลิกการวิจารณ์อีกฝ่าย หนึ่งในกลยุทธ์สำคัญคือการทำให้อีกฝ่ายได้รับรู้ถึงความรู้สึกของเรา และเชิญชวนให้อีกฝ่ายบอกความรู้สึกของเขาเพื่อหาทางแก้ปัญหาร่วมกัน

=====

4.ถามคำถามให้มากขึ้น

ในสถานการณ์ที่ตึงเครียด หลายคนมักจะเลือกพูดๆๆ และสั่งๆๆ ซึ่งอาจจะทำให้คนนั้นมีลักษณะเหมือนพวกชอบบงการ  คนที่ได้ยินก็มักจะเกิดความรู้สึกลบ จะดีกว่าถ้าเราลองสร้างคำถามปลายเปิดดี ๆ ให้เขาได้ลองตอบและรับฟังซึ่งกันและกัน  

=====

5.ระมัดระวังเรื่องการสื่อสารระหว่างบุคคลให้มากขึ้น

แต่ละคนมีสไตล์การสื่อสารที่ไม่เหมือนกัน บางทีการสื่อสารหนึ่งอาจไปจี้ใจดำอีกคนหนึ่ง จะดียิ่งขึ้นถ้ามองเห็นความแตกต่างระหว่างกันแล้วหาทางประนีประนอม หาตัวเลือกอื่นๆ ที่จะทำให้ทั้งสองคนสามารถสื่อสารกันได้ดีขึ้น  หนึ่งในตัวเลือกคือการมีคนกลางมาถ่ายทอดสื่อสารระหว่างทั้งสองฝ่ายนั่นเอง 

=====

6.ขอความช่วยเหลือ 

การออกจากที่กำบังแล้วเดินมาขอความช่วยเหลืออีกฝ่าย ถือเป็นการทำลายกำแพงแห่งความตึงเครียด แสดงให้อีกฝ่ายเห็นถึงความเชื่อมั่นในตัวเขา การเห็นคุณค่า ความเฉลียวฉลาดและประสบการณ์ของเขาอีกด้วย

ถ้าอยากเรียนรู้และฝึกฝนทักษะการทำงานร่วมกับคนที่ไม่ชอบหน้าและช่วยทำให้คนที่ไม่ชอบหน้ากันทำงานร่วมกันได้ดีขึ้น ขอเชิญมาเรียนรู้ในหลักสูตร Team Communication & Collaboration

===== 

เรียบเรียงจากบทความ “How to Collaborate with People You Don’t Like” โดยMark Nevins ตีพิมพ์เมื่อ 4 ธันวาคม 2018 ใน Harvard Business Review

เรียบเรียงโดย Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 093 925 4962

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Ads, Google Analytics

    Statistics

  • Google Analytics

    Statistics

  • Facebook

    Marketing/Tracking

  • ActiveCampaign

    Functional

  • ActiveCampaign

    Marketing/Tracking

Save