แนวทางการสร้างทีมของคุณให้ยอดเยี่ยมยิ่งกว่าเดิม
ทุกวันนี้การทำงานเป็นทีมแตกต่างจากสมัยก่อนอย่างสิ้นเชิง ทั้งเรื่องความหลากหลายของคน ผู้คนอยู่ในโลกดิจิทัล มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
แต่ต่อให้คนแตกต่างกันขนาดไหน ทีมเวิร์คก็ยังจำเป็นจะต้องมีสิ่งที่เป็นแกนของความสำเร็จ ซึ่งก็คือ การหลอมรวมใจกันเพื่อทำภารกิจให้ลุล่วง
ปรมาจารย์แห่งการศึกษาพฤติกรรมคนในองค์กร ‘เจ.ริชาร์ด แฮ็คแมน’ บอกว่าการที่คนจะประสานรวมกันได้นั้นไม่ได้มาจากทัศนคติ พฤติกรรม หรือบุคลิกเป็นหลัก แต่มาจากการที่ทีมนั้นได้ต่อสู้ฝ่าฟันกันมาด้วย ‘เงื่อนไขบางอย่าง’ ที่เหมือนกัน
และเมื่อนำความรู้นั้นมาขยายเพื่อสร้างทีมเวิร์คในโลกของการทำงานยุคปัจจุบัน เราจะพบเคล็ดลับบางอย่างที่ผู้นำควรจะทำ และหลายคนอาจจะไม่เคยนึกถึงมาก่อน!
===
4 วิธีการสร้างเงื่อนไขให้ทีมประสบความสำเร็จ
คนในทีมอาจจะแตกต่างหลากหลาย ปัจจัยหลักไม่ใช่การทำให้ทุกคนปรับตัวหากันแต่มาจากการทำให้ทุกคนมี ‘เงื่อนไข’ หรือ ‘หลักยึด’ เดียวกันต่างหาก ซึ่งคุณสามารถสร้างได้ด้วยวิธีการต่อไปนี้
1. ทิศทางที่เร้าใจ
ทิศทางในการทำงานร่วมกันนั้นสำคัญมาก เพราะต่างคนที่มาร่วมทีมล้วนต่างแบ็คกราวด์ จึงมีมุมมองต่อโลกแตกต่างกัน ถ้าทุกคนมองเห็นทิศทางที่จะไปเหมือนกันก็ย่อมที่จะผนึกกำลังไปสู่จุดหมายเดียวกันได้ง่ายขึ้น
เช่น ทำงานสำเร็จแล้วจะได้รับการจดจำ ได้โบนัสพิเศษ ได้เลื่อนขั้น หรือได้รับคุณค่าทางใจ
ดังนั้น ในความแตกต่างของชาติพันธุ์ สถานที่ ไปจนถึงการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลง ทุกคนในทีมจะพยายามต่อสู้โดยมองไปยัง ‘เป้าหมายที่คู่ควร’ ซึ่งทุกคนจะผสานกำลังโดยมองอุปสรรคตรงหน้าเป็นเพียงสิ่งที่จะต้องผ่านไปให้ได้เท่านั้น
หนึ่งในวิธีสร้างหรือค้นหาทิศทางที่เร้าใจคือการใช้ OKRs ในการตั้งเป้าหมายร่วมกันภายในทีม อ่าน OKRs ภาคปฏิบัติในองค์กร เพื่อทำความเข้าใจและประยุกต์ใช้ร่วมกัน คลิกที่นี่
===
2. โครงสร้างแข็งแกร่ง
ทีมไม่จำเป็นจะต้องมีสมาชิกที่เหมือนกัน แต่ทีมจะต้องจัดวางความแตกต่างให้สมดุล หรืออาจกล่าวว่า ต้องสร้างบทบาทหน้าที่อย่างสอดคล้องลงตัวตามเอกลักษณ์ของแต่ละคน คนในทีมจึงควรมีภาระงาน และกระบวนการทำงานในแบบของตนเอง
เป็นที่ทราบกันดีว่าทีมที่สร้างผลงานยอดเยี่ยมนั้นเกิดจากทักษะที่แตกต่างกัน ซึ่งสอดประสานกันได้ด้วยการหยิบเอาจุดเด่นของแต่ละคนมาสนับสนุนกัน แล้วก้าวเดินไปข้างหน้าร่วมกัน
===
3. เห็นค่าของการร่วมใจ
แน่นอนว่าทีมที่มีความหลากหลายของที่มาและความสนใจ อาจจะปรับตัวเข้าหากันได้ยาก หากคนหนึ่งอยู่ในสถานะที่สบายมาตลอดแล้วต้องมาทำงานร่วมกับคนที่มักจะเห็นแก่ผลตอบแทนเสมอก็อาจจะยากที่ทั้งสองฝ่ายจะมีทัศนคติที่สอดคล้องกันจนอาจจะลงเอยด้วยความขัดแย้งได้
แต่มนุษย์นั้นจะร่วมมือร่วมใจกันได้ก็เพราะเห็นอกเห็นใจกัน ถ้าหากให้สักคนหนึ่งได้เข้าถึงมุมมองของอีกคน เช่น ได้รับทราบว่าอีกคนนั้นเห็นแก่ผลตอบแทนเพราะเขามาจากครอบครัวที่ยากจนและล้มเหลวมาตลอด
เมื่อรับรู้ว่าความลำบากขัดสนเป็นแรงผลักดันชีวิตของเขาก็ทำให้รู้ว่าอีกฝ่ายมีปมปัญหาชีวิต ความเข้าใจกันจะนำไปสู่การกำจัดอุปสรรคทางมุมมอง และร่วมใจกันทำงานได้
===
4. แชร์ความเชื่อพื้นฐานกัน
ข้อที่กล่าวไปก่อนหน้านี้ก็เพียงพอต่อการทำให้ทีมผสานกลายเป็นหนึ่งเดียว และในโลกยุคใหม่นั้น ทีมจะดียิ่งขึ้นไปอีกถ้ามีความเชื่อพื้นฐานร่วมกัน ทำให้ไม่แบ่งเขาแบ่งเราอีกต่อไป
ผู้นำของทีมมีหน้าที่ค่อยๆ หล่อหลอมให้ลูกทีมที่มีความแตกต่างรับเอาความเชื่อบางอย่างเข้าไปด้วยกัน เช่น ความเชื่อว่าการทำงานอย่างดีเลิศจะทำให้เกิดความภาคภูมิใจ
เมื่อบ่มเพาะความเชื่อเหล่านั้น เวลาผ่านไปคนในทีมจะกลายเป็นมนุษย์ที่มีพื้นฐานความคิดแบบเดียวกัน การทำงานเป็นทีมจึงสำเร็จได้ในทุกสถานการณ์
ลองประเมินทีมของคุณ
เมื่อลองทำตาม 4 ข้อเบื้องต้นแล้ว ลองมาดูกันว่าทีมของคุณนั้นเป็นอย่างไร โดยใช้เกณฑ์การประเมินตามแบบของปรมาจารย์แฮ็คแมน นั่นคือ ดูผลงานของทีมที่ออกมา ดูการร่วมแรงร่วมใจ และดูพัฒนาการรายบุคคล
หากเป็นไปด้วยดีทั้ง 3 ข้อนี้ บอกได้เลยว่าคุณกำลังเป็นผู้นำของทีมที่ยอดเยี่ยมแล้วล่ะ
===
การสร้างความร่วมมือร่วมใจภายในทีมเพื่อให้กลุ่มคนที่ทำงานร่วมกันกลายเป็นทีมเวิร์คที่ยอดเยี่ยมเป็นทักษะที่เรียนรู้และฝึกฝนได้ ขอแนะนำหลักสูตร Team Communication & Collaboration คลิกที่นี่
เรียบเรียงจาก “The Secrets of Great Teamwork” โดย Martine Haas and Mark Mortensen จาก Harvard Business Review เดือนมิถุนายน 2016
เรียบเรียงโดย Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข
ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962
Recent Posts
- 3 กติกาง่าย ๆ ที่ทำให้ทุกฝ่ายมีความสุขในการประชุม
- 5 เคล็ดลับ เปลี่ยนคนเบื่องาน ทะยานสู่ TOP 5 ในออฟฟิศ
- 5 เคล็ดลับ เปลี่ยนวันจันทร์ ให้เป็นวันสุข
- 5 วิธีสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานเจ้าอารมณ์
- 7 ขั้นตอนทำงานร่วมกับเจ้านายดุให้มีประสิทธิภาพและมีความสุข
- วิธีทำชีวิตช้าลงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
- 5 เทคนิครับมือกับเพื่อนร่วมงานเจ้าปัญหา
- 7 เทคนิค เลือกลูกน้องอย่างไรไม่ให้เปลี่ยนงานบ่อย
- 4 ขั้นตอน ลดความขัดแย้งภายในทีม
- 8 วิธีสร้างความน่าเชื่อถือในที่ทำงาน