วิธีสร้างทางเลือกเพื่อแก้ปัญหาที่ซับซ้อน

การจะตัดสินใจแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่งให้ดีที่สุด สิ่งสำคัญอยู่ที่การระบุให้ได้ว่า “ปัญหานั้น มีรูปแบบอย่างไร” คุณต้องถามตัวเองว่า “ฉันมีทางออกเดียว หรือมีทางออกที่มากกว่าหนึ่งทาง” 

การตั้งคำถามแบบนี้จะช่วยให้คุณคิดได้อย่างชัดเจน และยังช่วยให้ตัดสินใจได้ดีขึ้นอีกด้วย

====

ปัญหานี้ มีทางออกเดียว หรือหลายทาง

ปัญหาที่มีทางออกเดียว หรือมีหนทางแก้ไขจำกัด หมายถึงมีคำตอบแค่ ถูกหรือผิด (เช่น “2+2 เท่ากับเท่าไหร่?”, “สายการบินไหนบินตรงไปชิคาโก้บ้าง?”) ปัญหาลักษณะนี้จัดอยู่ในประเภท “ปัญหาที่มีทางออกเดียว”

แต่หากมีคำตอบที่เป็นไปได้มากมาย และไม่ได้มีคำตอบที่ดีที่สุดเพียงคำตอบเดียว (เช่น “จะเสิร์ฟอาหารอะไรในงานเลี้ยงอาหารค่ำ?”) ลักษณะนี้เรียกว่า “ปัญหาที่มีทางออกหลายทาง”

โดยปกติแล้ว เราจะพบเจอปัญหาที่มีทางออกหลายทางมากกว่าปัญหาที่มีทางออกเดียว แต่เพราะการมองปัญหาผิดๆ ทำให้คิดไปว่ามีทางออกเดียว ทั้งๆ ที่ความจริงไม่ได้เป็นแบบนั้น ทำให้การตัดสินใจเกิดขึ้นได้ยากกว่าที่ควรจะเป็น ต้องเสียเวลาและความพยายาม ทั้งยังต้องกังวลกับการเสาะหาทางออก “เพียงหนึ่งเดียว” ให้เจอ ทั้งที่มีทางออกอยู่หลายวิธี

====

การจัดการปัญหาที่มีทางออกเดียว

วิธีจัดการปัญหาที่มีทางออกเดียว คือต้องรีบกำจัดทางตันออกไป ลองจินตนาการถึงนักเดินเท้าสองคนที่กำลังแข่งกันไปถึงยอดเขา โดยเริ่มต้นจากจุดเดียวกัน แต่ละคนมีวิธีรับมือกับความท้าทายที่แตกต่างกัน

นักเดินทางที่มีความตั้งใจแบบนักบิน จะเริ่มต้นด้วยการใช้วิธีการอะไรก็ได้ ที่ทำให้เขาเข้าไปใกล้ภูเขามากขึ้น

ส่วนนักเดินทางซึ่งมีความตั้งใจแบบนักบุกเบิกจะเริ่มต้นด้วยการตรวจสอบภูมิประเทศแถบนั้นในแผนที่ เพื่อวางแผนเส้นทางทั้งหมด เมื่อทำแบบนี้ เขาจึงพบว่ามีแม่น้ำกว้างใหญ่กั้นระหว่างพวกเขากับภูเขา

====

ขณะที่คนอื่น ๆ จะพบแม่น้ำสายนี้ได้ก็ต้องมาถึงที่นี่ และต้องคิดทบทวนเส้นทางใหม่ ผู้ที่มีความตั้งใจแบบนักบุกเบิก จะเริ่มต้นด้วยวิธีที่ต่างจากนักบิน คือจะเริ่มเดิน “ออกห่างจากภูเขา” เพราะเขารู้แล้วว่า เส้นทางนั้นจะพาไปถึงสะพานข้ามแม่น้ำ

สำหรับปัญหาที่มีทางออกเดียว (นั่นคือจุดมุ่งหมาย หรือทางแก้ปัญหาที่จำกัดและเฉพาะเจาะจง) วิธีการของนักบุกเบิก จะใช้ได้ผลมากกว่า นั่นคือ การใช้เวลารวบรวมข้อมูลทุกอย่างที่จำเป็นล่วงหน้า ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาและพลังงาน จากการต้องเจอทางตัน แล้วกลับมาที่จุดเริ่มต้นอีกครั้ง…

====

การจัดการปัญหาที่มีทางออกหลายทาง

หากคุณกำลังจัดการกับปัญหาที่อาจมีทางออกมากมาย เช่น จะไปพักผ่อนที่ไหน? จะซื้อทีวีเครื่องไหน? จะเลือกเส้นทางการทำงานแบบไหน? เคล็ดลับความสำเร็จคือ ให้ใช้กลยุทธ์แบบนักบิน คือค่อยๆ ขยับเข้าไปสู่การตัดสินใจทีละน้อย แม้ไม่มั่นใจว่าจะใช่หนทางไปสู่การตัดสินใจหรือไม่ ก็ตาม

เทคนิคนี้ดัดแปลงมาจากกลยุทธ์นักบิน โดยเริ่มจากการพิจารณาปัญหา เพื่อดูว่าจะนำไปสู่อะไรได้บ้าง? การค่อยๆ พยายามหาคำตอบ โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ จะต้องแตกปัญหาใหญ่เป็นส่วนย่อยๆ ที่มองเห็นได้ชัดเจนที่สุด

จากนั้นลองทบทวนอีกครั้ง หากทางออกยังไม่ชัดเจน ให้แตกส่วนย่อยๆ เหล่านั้น เป็นส่วนย่อยที่เล็กลงไปอีก ลองทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนได้คำตอบ

====

ลองจินตนาการว่า คุณกำลังวางแผนพักผ่อนกับครอบครัว เริ่มต้นโดยพยายามหาทางออกที่เป็นทางออกทั่วไปที่สุด นั่นคือ หาสถานที่ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางสัก 2-3 แห่ง ที่เติมเต็มความต้องการเบื้องต้นของทุกๆ คน จากนั้นให้ถามตัวเองว่า จะต้องทำตามความต้องการของใครอีกบ้าง มีตัวเลือกใดหรือไม่ที่คุณนำมาปรับเปลี่ยน เพื่อจะได้มีทางเลือกมากขึ้น

ตัวอย่างเช่น หากจุดเริ่มต้นของคุณคือการพักผ่อนเที่ยวชมทิวทัศน์ ให้ดูว่ามีสถานที่ไหนใกล้ชายหาดที่ลูกๆ จะสนุกได้สัก 2-3 วัน หรือไม่? ให้ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งคุณตอบสนองความต้องการได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

====

วิธีแก้ปัญหาแบบมนตร์วิเศษ

ลองจินตนาการว่า เมื่อตื่นขึ้นในวันรุ่งขึ้น แล้วพบว่าปัญหาของคุณอันตรธานหายไปอย่างมหัศจรรย์ โดยไม่มีเหตุการณ์ใดมาเตือนล่วงหน้า คุณจะรู้ได้อย่างไร ว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นแล้ว?

ให้ลองจินตนาการถึงวันนั้นทั้งวัน และเขียนทุกอย่างลงไป (แม้กระทั่งเรื่องเล็กน้อยที่สุด) ว่าถ้าวันนั้นมีจริง จะมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง?

เทคนิคนี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่ความเชื่อ ว่าจะมีสิ่งดีๆ เกิดขึ้น… การจินตนาการถึงรายละเอียดต่างๆ ของชีวิตในอนาคต จะทำให้คุณคิดอย่างมีอิสระ ไม่มีข้อจำกัด และอาจพบมุมมองใหม่ๆ ที่ช่วยให้ปัญหาเบาบางลงในที่สุด หรือกระทั่งหลีกเลี่ยงปัญหาทั้งหมดได้

แม้จะจินตนาการถึงความสำเร็จจากการแก้ปัญหาได้ชัดเจนขนาดไหน แต่ถ้าไม่ลงมือทำก็คงไม่มีทางเกิดขึ้นได้จริง อ่าน อยากสำเร็จต้องเปลี่ยนจากการรู้ตัวเป็นการปรับตัวด้วยวิธีนี้ เพื่อต่อยอดสู่การลงมือปฏิบัติอย่างแท้จริง 

====

วิธีแก้ปัญหาแบบเน้นด้านบวก

ให้ถามตัวเองว่า “จะมีเวลานั้นไหม ที่จะได้เห็นผลลัพธ์ที่ฉันต้องการ” เช่น หากลูกปัสสาวะรดที่นอน คำถามที่คุณต้องเน้นคือ “คืนไหนที่ลูกของฉันจะไม่ปัสสาวะรดที่นอน”

หากคุณต้องการหาเงินได้มากขึ้น ลองถามว่า “เมื่อไหร่ที่ฉันจะหาเงินได้มากขึ้น” หรือมองเรื่องนั้นๆ จากมุมอื่น เช่น “เมื่อไหร่ที่จะรู้สึกพอใจกับสิ่งที่ฉันหามาได้”

หากระบุปัจจัยที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ต้องการได้ แม้จะเล็กน้อยแค่ไหนก็ตาม ให้คุณลองต่อยอดจากปัจจัยนั้นดู แล้วจะพบว่าทางแก้ปัญหาเริ่มชัดเจนมากขึ้นได้จริง ๆ 

====

การแก้ปัญหาเป็นทักษะที่คุณสามารถเรียนรู้และฝึกฝนได้ เราขอแนะนำหลักสูตร Problem Solving & Decision Making คลิกดูรายละเอียดที่นี่ 

บทความโดย Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

 
ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 093-925-4962

 

 

วิธีจัดการปัญหา แบบทางออกทางเดียว และหลายทาง

28 03 2017

การจะตัดสินใจแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่งให้ได้ดีที่สุด สิ่งสำคัญอยู่ที่การระบุให้ได้ว่า “ปัญหาหรือความท้าทายนั้น มีรูปแบบอย่างไร” ต้องถามตัวเองว่า “คุณมีทางออกเดียว หรือมีทางออกที่น่าพอใจมากกว่าหนึ่งทาง” การถามแบบนี้จะช่วยให้คุณคิดได้อย่างชัดเจน… ทั้งยังช่วยคุณเรื่องการตัดสินใจได้อีกด้วย…

 

ปัญหานี้ มีทางออกเดียว หรือหลายทาง

 

หากปัญหามีทางออกเดียว หรือมีหนทางแก้ไขจำนวนจำกัด และมีคำตอบแค่ ถูกหรือผิด (เช่น “2+2 เท่ากับเท่าไหร่?”, “สายการบินไหนบินตรงไปชิคาโก้บ้าง?”) ปัญหาลักษณะนี้จัดอยู่ในประเภท “มีทางออกเดียว” แต่หากมีคำตอบที่เป็นไปได้มากมาย และไม่ได้มีคำตอบที่ดีที่สุดเพียงคำตอบเดียว (เช่น “จะเสิร์ฟอาหารอะไรในงานเลี้ยงอาหารค่ำ?”) จะเรียกว่าเป็น ปัญหาแบบ “มีทางออกหลายทาง”

โดยปกติแล้ว ปัญหาที่มีทางออกหลายทาง เราพบเจอได้มากกว่าปัญหาที่มีทางออกเดียว เพราะการมองปัญหาผิดๆ คิดว่ามีทางออกเดียว ทั้งๆ ที่ไม่ได้เป็นแบบนั้น ทำให้การตัดสินใจเป็นไปได้ยากกว่าที่ควรจะเป็น อาจต้องเสียเวลาและความพยายาม ทั้งยังต้องกังวลกับการเสาะหาทางออก “เพียงทางเดียว” ให้เจอ ทั้งที่ทางออก “มีหลายวิธี”

 

การจัดการปัญหาที่มีทางออกเดียว

 

วิธีจัดการปัญหาที่มีทางออกเดียว คือต้องรีบกำจัดทางตันออกไป ลองจินตนาการถึงนักเดินเท้าสองคนที่กำลังแข่งกันไปถึงยอดเขา โดยเริ่มต้นจากจุดเดียวกัน แต่ละคนมีวิธีรับมือกับความท้าทายแตกต่างกัน

นักเดินทางที่มีความตั้งใจแบบนักบิน จะเริ่มต้นด้วยการใช้วิธีการอะไรก็ได้ ที่ทำให้เขาเข้าไปใกล้ภูเขามากขึ้น… ส่วนนักเดินทางอีกคนซึ่งมีความตั้งใจแบบนักบุกเบิก เขาจะเริ่มต้นด้วยการตรวจสอบภูมิประเทศแถบนั้นในแผนที่ เพื่อวางแผนเส้นทางทั้งหมด เมื่อทำแบบนี้ เขาจึงพบว่ามีแม่น้ำกว้างใหญ่กั้นระหว่างพวกเขากับภูเขา

ขณะที่เพื่อนของเขาจะพบแม่น้ำสายนี้ ก็ต่อเมื่อต้องมาถึงที่นี่ และต้องคิดทบทวนเส้นทางใหม่… ผู้มีความตั้งใจแบบนักบุกเบิก จะเริ่มต้นด้วยวิธีที่ต่างกัน และเริ่มเดิน “ออกห่างจากภูเขา” เพราะเขารู้แล้วว่า เส้นทางนั้นจะพาไปถึงสะพานข้ามแม่น้ำ

สำหรับปัญหาที่มีทางออกเดียวแบบนี้ (นั่นคือจุดมุ่งหมาย หรือทางแก้ปัญหาที่จำกัดและเฉพาะเจาะจง) วิธีการของนักบุกเบิก จะใช้ได้ผลมากกว่า… การใช้เวลารวบรวมข้อมูลทุกอย่างที่จำเป็นล่วงหน้า ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาและพลังงาน จากการต้องเจอทางตัน แล้วกลับมาที่จุดเริ่มต้นอีกครั้ง…

 

การจัดการปัญหาที่มีทางออกหลายทาง

 

หากคุณกำลังจัดการกับปัญหาที่อาจมีทางออกมากมาย เช่น จะไปพักผ่อนที่ไหน? จะซื้อทีวีเครื่องไหน? จะเลือกเส้นทางการทำงานแบบไหน? เคล็ดลับความสำเร็จคือ ให้ใช้กลยุทธ์แบบนักบิน คือค่อยๆ ขยับเข้าไปสู่การตัดสินใจทีละน้อย แม้ไม่มั่นใจว่าจะใช่หนทางไปสู่การตัดสินใจหรือไม่ ก็ตาม

เทคนิคนี้ดัดแปลงมาจากกลยุทธ์นักบิน โดยเริ่มจากการพิจารณาปัญหา เพื่อดูว่าจะนำไปสู่อะไรได้บ้าง? การค่อยๆ พยายามหาคำตอบ โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ จะต้องแตกปัญหาใหญ่เป็นส่วนย่อยๆ ที่มองเห็นได้ชัดเจนที่สุด แล้วลองทบทวนอีกครั้ง หากทางออกยังไม่ชัดเจน ให้แตกส่วนย่อยๆ เหล่านั้น เป็นส่วนย่อยที่เล็กลงไปอีก ลองทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนได้คำตอบ

ลองจินตนาการว่า คุณกำลังวางแผนพักผ่อนกับครอบครัว เริ่มต้นโดยพยายามหาทางออกที่เป็นทางออกทั่วไปที่สุด นั่นคือ หาสถานที่ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางสัก 2-3 แห่ง ที่เติมเต็มความต้องการเบื้องต้นของทุกๆ คน จากนั้นให้ถามตัวเองว่า จะต้องทำตามความต้องการของใครอีกบ้าง มีตัวเลือกใดหรือไม่ที่คุณนำมาปรับเปลี่ยน เพื่อจะได้มีทางเลือกมากขึ้น

ตัวอย่างเช่น หากจุดเริ่มต้นของคุณคือการพักผ่อนเที่ยวชมทิวทัศน์ ให้ดูว่ามีสถานที่ไหนใกล้ชายหาดที่ลูกๆ จะสนุกได้สัก 2-3 วัน หรือไม่? ให้ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งคุณตอบสนองความต้องการได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

 

วิธีแก้ปัญหาแบบมนต์วิเศษ

 

ลองจินตนาการว่า เมื่อตื่นขึ้นในวันรุ่งขึ้น แล้วพบว่าปัญหาของคุณอันตรธานหายไปอย่างมหัศจรรย์ โดยไม่มีเหตุการณ์ใดมาเตือนล่วงหน้า คุณจะรู้ได้อย่างไร ว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นแล้ว? ให้ลองจินตนาการถึงวันนั้นทั้งวัน และเขียนทุกอย่างลงไป (แม้กระทั่งเรื่องเล็กน้อยที่สุด) ว่าถ้าวันนั้นมีจริง จะมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง?

เทคนิคนี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่ความเชื่อ ว่าจะมีสิ่งดีๆ เกิดขึ้น… การจินตนาการถึงรายละเอียดต่างๆ ของชีวิตในอนาคต จะทำให้คุณคิดอย่างมีอิสระ ไม่มีข้อจำกัด และอาจพบมุมมองใหม่ๆ ที่ช่วยให้ปัญหาเบาบางลงในที่สุด หรือกระทั่งหลีกเลี่ยงปัญหาทั้งหมดได้…

 

วิธีแก้ปัญหาแบบเน้นด้านบวก

 

ให้ถามตัวเองว่า “จะมีเวลานั้นไหม ที่จะได้เห็นผลลัพธ์ที่ฉันต้องการ” เช่น หากลูกปัสสาวะรดที่นอน คำถามที่คุณต้องเน้นคือ “คืนไหนที่ลูกของฉันจะไม่ปัสสาวะรดที่นอน”

หากคุณต้องการหาเงินได้มากขึ้น ลองถามว่า “เมื่อไหร่ที่ฉันจะหาเงินได้มากขึ้น” หรือมองเรื่องนั้นๆ จากมุมอื่น เช่น “เมื่อไหร่ที่จะรู้สึกพอใจกับสิ่งที่ฉันหามาได้” หากระบุปัจจัยที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ต้องการได้ (แม้จะเล็กน้อยก็ตาม) ให้ลองต่อยอดจากปัจจัยนั้นออกไป…

 

เรียบเรียงโดย LEARNING HUB THAILAND

5 ขั้นตอน ของการตัดสินใจ

การที่คุณจะประสบความสำเร็จได้ จำเป็นต้องอาศัยการตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจที่จะทำ หรือเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่าง ซึ่งอาจเป็นเพียงการหยุดคิดเพื่อไตร่ตรอง… การตัดสินใจเรื่องเล็กๆ น้อยๆ… ไปจนกระทั่งเรื่องใหญ่ๆ เรื่องที่สำคัญและมีผลกระทบอย่างมาก…

ทุกสิ่งทุกอย่าง ทุกเรื่องราวในชีวิต คุณจำเป็นต้องตัดสินใจ ก่อนที่จะเริ่มได้รับผลจากการกระทำของคุณจริงๆ

หลายคนอาจบอกว่า เขาได้ตัดสินใจที่จะทำแล้ว แต่ไม่เห็นมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เกิดขึ้นเลย เช่น ตัดสินใจที่จะมีร่างกายที่ฟิตมากขึ้นในปีนี้ อ่านหนังสือให้ลูกฟังมากขึ้น ขอขึ้นเงินเดือน แต่ก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง… นั่นเป็นเพราะ “การตัดสินใจจะยังไม่ใช่การตัดสินใจจริงๆ ถ้าเราไม่ได้ลงมือปฏิบัติในทันที”

อย่าลืมว่า หลังการตัดสินใจที่เกิดขึ้นในความคิด ต้องลงมือปฏิบัติจริงด้วย… เรามาดู “5 ขั้นตอนสำคัญในการตัดสินใจ” ว่ามีอะไรบ้าง…

 

ขั้นตอนที่ 1

ขั้นตอนของ “การรับรู้” การรับรู้อาจเกิดขึ้นอย่างช้าๆ หรือเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว แล้วจึงนำไปสู่การตัดสินใจ… เราสามารถรับรู้ได้จากปฏิกิริยาโต้ตอบที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจเป็นแบบตรงไปตรงมา เช่น พนักงานขายรายงานยอดขายที่กำลังตกลงไปเรื่อยๆ ในแต่ละเดือน หรือรายงานซึ่งแสดงว่าการแก้ปัญหาของคุณยังเข้าไม่ถึงลูกค้า

เพื่อนอาจจะบอกว่า หน้าตาของคุณดูไม่ดีเลยช่วงนี้ แต่ปฏิกิริยาบางอย่างอาจไม่ชัดเจนนัก เช่น คุณรู้สึกว่าสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นไม่ถูกต้อง จงอย่าละเลยความรู้สึกนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อคุณเป็นคนที่มีความคิดแบบวิทยาศาสตร์ ลางสังหรณ์จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้คุณค้นพบและเกิดความคิดในการทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นได้จริง

ดังนั้น “จงตัดสินใจที่จะตัดสินใจ” สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นกับคุณ และปฏิกิริยาของคนรอบข้าง เพื่อรับรู้ว่าคุณจำเป็นจะต้องตัดสินใจแล้วหรือยัง? อย่าละเลยขั้นตอนนี้ ยิ่งคุณตัดสินใจต่อปฏิกิริยาต่างๆ รวมทั้งความรู้สึกของคุณได้เร็วเพียงใด… ก็จะยิ่งจัดการ หรือหาทางออกให้กับสิ่งนั้น ได้ง่ายขึ้นเพียงนั้น

 

ขั้นตอนที่ 2

เป็นขั้นตอน “เราจะตัดสินใจอย่างไร” การดึงองค์ประกอบต่างๆ มาใช้ในการตัดสินใจให้ง่ายขึ้น ประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ คือส่วนของการรวบรวมข้อมูล กับส่วนของการประเมินน้ำหนักความน่าเชื่อถือของข้อมูลนั้น แล้วนำมาพิจารณาข้อดี-ข้อเสีย

วิธีที่ง่ายที่สุดในการทำขั้นตอนนี้คือ เขียนข้อดี-ข้อเสียลงบนกระดาษ โดยแบ่งเป็นช่องข้อดีและข้อเสีย แล้วใส่รายละเอียดให้ได้มากที่สุด ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง แล้วกลับมาพิจารณาใหม่

ไม่ว่าคุณจะทำด้วยวิธีใด ขั้นตอนนี้จะช่วยให้คุณตัดสินใจได้ดีขึ้น เป็นขั้นตอนของการใช้เชาวน์ในการไตร่ตรอง ซึ่งสนับสนุนเชาวน์ปัญญาในด้านการเรียนรู้และประสบการณ์… “เชาวน์ในการไตร่ตรอง” จะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อเราหยุดทำสิ่งอื่นๆ ซึ่งในโลกที่เต็มไปด้วยความสับสนวุ่นวายในปัจจุบัน ทำให้เราใช้เชาวน์ด้านนี้กันน้อยลง


ขั้นตอนที่
3

ขั้นตอนนี้เกี่ยวข้องกับการกำหนดว่า “เมื่อใดที่เราเรียกว่าเป็นการตัดสินใจจริงๆ” คนโดยทั่วไปเมื่อได้ตัดสินใจแล้ว (เช่น ฉันจะเริ่มออม, ฉันจะหยุดสูบบุหรี่) มักจะรู้สึกโล่งอก เพราะคิดว่าตนเองพบทางแก้ปัญหาแล้ว แต่ในความเป็นจริงพวกเขายังไม่ได้เริ่มทำอะไรเลย!!!

เราจึงควรให้คำนิยามคำว่า “ตัดสินใจ” ว่าเป็น “การเริ่มลงมือทำจริงๆ อย่างที่เราคิดไว้” เช่น เมื่อเราได้ออมเงินครั้งแรก หรือเมื่อเราได้โยนบุหรี่ทิ้ง จึงจะเรียกว่า “เป็นการตัดสินใจจริงๆ

ดังนั้น “การตัดสินใจจะยังไม่ใช่การตัดสินใจจริงๆ จนกระทั่งได้มีการทำให้สิ่งที่คิด ให้เกิดเป็นรูปธรรม” ซึ่งการกระทำที่ว่านี้ ประกอบด้วยลักษณะ 3 อย่าง ดังนี้

อย่างแรก การกระทำนั้นต้องวัดได้ เพื่อให้คุณรู้เมื่อได้มันมา เช่น ออมเงินให้ได้มากขึ้น ไม่สามารถวัดได้ แต่ถ้าเป็นออมเงินวันละ 100 บาท ทุกเดือน สามารถวัดได้

อย่างที่สอง กำหนดวัน-เวลาที่จะกระทำให้ชัดเจน เช่น ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคมนี้ ฉันจะออมเงิน วันละ 100 บาท ทุกเดือน

อย่างที่สาม เป็นสิ่งที่เข้าใจได้ง่าย รวมทั้งง่ายต่อการปฏิบัติจริง

 

อันที่จริง สิ่งที่กล่าวมาข้างต้น เป็นสิ่งที่มีเหตุผลและถูกกล่าวถึงอยู่เสมอ แต่คนส่วนใหญ่มักจะไม่ได้ทำกัน เหตุผลหลักที่ทำให้เรามักไม่กำหนดเวลาให้ชัดเจนลงไป ก็เพราะเรากลัวที่จะพบกับความล้มเหลว เช่น ถ้าเราพูดว่า เราจะวิ่งสัปดาห์ละ 4 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคมนี้ แล้วเราทำไม่ได้ ก็จะคิดว่าเราล้มเหลว ถ้าไม่กำหนดวัน เราจะไม่ล้มเหลว…

ซึ่งก็จริง ว่าเราจะรู้สึกแบบนั้นได้ แต่คุณอย่าลืมว่า เราก็จะไม่พัฒนา เช่นกัน… ลองคิดใหม่ โดยไม่ต้องคำนึงถึงเรื่องสำเร็จหรือล้มเหลว เฝ้าดูความเปลี่ยนแปลงที่ค่อยๆ เพิ่มมากขึ้น และคิดด้วยความเชื่อที่ว่า “ไม่มีคำว่าล้มเหลว จะมีก็แต่ผลลัพธ์ที่คุณสามารถนำมาปรับปรุงให้ดีขึ้นได้”

 

ขั้นตอนที่ 4

เป็นขั้นตอนทางเลือก ซึ่งคุณอาจทำหรือไม่ทำก็ได้ แต่อย่าคิดว่าไม่สำคัญ เมื่อคุณได้ตัดสินใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง มันจะนำไปสู่การตัดสินใจและทำเรื่องต่อๆ ไป เช่น การเริ่มทำธุรกิจ หรือการปรับปรุงตัวเอง อาจมีส่วนคาบเกี่ยว หรือต่อเนื่องกับสิ่งที่คุณจะทำ

คุณควรวางแผนสิ่งที่คุณต้องทำอย่างเป็นระบบ ซึ่งหมายถึง “เมื่อเรารู้ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง ก็ควรกำหนดว่าต้องทำมันเมื่อใด ใครจะเป็นคนทำ และสิ่งนี้จะมีผลกระทบกับสิ่งอื่นๆ หรือไม่” พิจารณาว่าเรื่องใดเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งหากยังไม่ได้ทำ จะมีผลทำให้ไม่สามารถทำสิ่งอื่นๆ ได้ คุณอาจต้องเรียนรู้การใช้ซอฟต์แวร์สำหรับการจัดการโครงการ เพื่อช่วยวิเคราะห์สิ่งสำคัญที่คุณควรทำก่อนหลังได้ดีขึ้น

 

ขั้นตอนที่ 5

“ควรบอกการตัดสินใจของคุณกับผู้อื่นหรือไม่?” เช่น คุณตัดสินใจจะเริ่มธุรกิจใหม่ตามลำพัง หรือคุณตัดสินใจที่จะลาออกจากงานเพื่อมาเลี้ยงลูก จงจำไว้ว่า “ไม่ใช่ทุกคนที่จะช่วยสนับสนุนในสิ่งที่คุณกำลังจะทำ” คำแนะนำก็คือ “บอกเป้าหมายของคุณกับคนที่ช่วยสนับสนุนคุณเท่านั้น” อย่าบอกสิ่งนี้กับคนที่จะทำให้คุณหมดกำลังใจ…

           

เรียบเรียงโดย LEARNING HUB THAILAND

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Ads, Google Analytics

    Statistics

  • Google Analytics

    Statistics

  • Facebook

    Marketing/Tracking

  • ActiveCampaign

    Functional

  • ActiveCampaign

    Marketing/Tracking

Save