3 กติกาง่าย ๆ ที่ทำให้ทุกฝ่ายมีความสุขในการประชุม

3 กติกาง่าย ๆ ที่ทำให้ทุกฝ่ายมีความสุขในการประชุม

ปัญหาในการประชุมสำหรับทีมของคุณคืออะไร?

มีคนที่แตกต่างหลากหลาย ทั้งหัวหน้า คนพูดเยอะ และคนไม่ค่อยพูด (หรือไม่พูดเลย) ซึ่งความแตกต่างเหล่านี้แหล่ะที่อาจสร้างปัญหาในห้องประชุมได้  

ประเด็นสำคัญสำคัญในการประชุมก็คือ ทุกคนที่ถูกเชิญเข้าร่วมประชุม ควรจะมีบทบาทต่อหัวข้อที่ต้องการความคิดเห็นและการตัดสินใจ คำถามก็คือจะทำอย่างไรให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการประชุมได้อย่างแท้จริงโดยที่ทุกคนรู้สึกพึงพอใจ ไม่มีใครรู้สึกว่าถูกบังคับ ถูกครอบงำ หรือถูกเรียกเข้ามาให้เป็นตรายางรับรองการประชุมเฉย ๆ

====

‘Tsedal Neeley’  นักเขียนของ Harvard Business Review ออกแบบการประชุมโดยกำหนดว่าควรจะมีกฎ 3 ข้อสำหรับคน 3 แบบ เพื่อที่จะให้การตัดสินใจต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้น มีประสิทธิภาพสูงที่สุด

1.กฎสำหรับหัวหน้าทีม

สิ่งที่คนกลุ่มนี้ต้องท่องเอาไว้ก็คือ สร้างสมดุลในการประชุม ทำให้ทุกคนมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียม คอยดูว่าแต่ละคนที่มีส่วนร่วมนั้น มีบทบาทมากไหน รับฟังกันหรือเปล่า และได้มีโอกาสพูดอย่างทั่วถึงและเหมาะสมหรือไม่ 

หากพบว่าใครพูดน้อยหรือไม่พูดเลย ก็ควรจะขอให้คนนั้นได้กล่าวอะไรสักหน่อย ถ้าเจอคนที่พูดไม่คล่องนักก็ต้องคอยช่วยเหลือ ช่วยเสริมประเด็น หรือซักถามให้เคลียร์ 

หน้าที่สำคัญอีกอย่างก็คือ คอยสรุปและจับใจความสิ่งที่สมาชิกในที่ประชุมพูดออกมา ถ้ามีอะไรที่ไม่ชัดเจนก็ต้องทำให้กระจ่างชัดที่สุดด้วย

บางครั้งการเป็นหัวหน้าที่พูดเยอะเกินไปหรือพูดอย่างไม่ระวังก็อาจทำให้ทีมพังได้ อ่าน ระวัง! คุณอาจเป็นหัวหน้าที่พูดจนทีมพัง  คลิกที่นี่ 

====

2.กฎสำหรับคนที่พูดคล่องหรือพูดเยอะ 

สิ่งที่ต้องจำเอาไว้ก็คือ อย่าครอบงำคนอื่นมาก ไม่งั้นอาจจะทำให้เกิดบรรยากาศที่ชวนหมั่นไส้ได้  สิ่งที่ควรปฏิบัติก็คือ ใช้ภาษาที่เข้าใจได้ง่ายไม่ว่าใครก็รู้เรื่อง อย่าเล่นศัพท์เทคนิคหรือสลับภาษาไปมาจนน่าเวียนหัว ควรลดจังหวะการพูดให้ช้าลงสักหน่อย ไม่งั้นยิ่งพูดจะยิ่งมัน จึงยิ่งดังและยิ่งเร็ว

ถ้าอยากให้เกิดบรรยากาศที่ดี อย่าเสนอตัวพูดไปหมดทุกเรื่อง ลองฝึกที่จะตั้งใจฟังคนอื่นพูดบ้าง และที่สำคัญ คอยถามคนอื่น ๆ ว่าเข้าใจและเคลียร์ในสิ่งที่คุณสื่อสารออกไปหรือไม่

====

3.กฎสำหรับคนที่พูดไม่เก่งหรือไม่พูด

สิ่งที่ควรจดจำก็คือ หาทางมีส่วนร่วม เพื่อให้การประชุมสมบูรณ์ คุณควรจะหาทางพูดหรือแสดงความคิดเห็นออกมาบ้าง ถ้าการประชุมนั้นเปิดโอกาสให้พูดแบบเวียนไปเรื่อย ๆ เมื่อถึงคิวก็อย่าหลีกเลี่ยงหรือลุกหนีไปเข้าห้องน้ำ 

อย่าหลุดไปใช้ภาษาส่วนตัวหรือภาษาท้องถิ่น คอยหมั่นถามคนอื่นเวลาที่พูดเสร็จว่าเข้าใจในสิ่งที่เราสื่อสารหรือไม่ เคล็ดลับอีกอย่างสำหรับการมีส่วนร่วมโดยไม่ต้องมีทักษะการพูดที่ดีมากก็คือการฟังแล้วถามในกรณีที่ไม่เข้าใจ หรืออยากจะให้คนพูดอธิบายเพิ่มเติมเพื่อความกระจ่าง

เพียงทำตามกฎ 3 ข้อเท่านี้ก็จะทำให้การประชุมออกมาราบรื่น สร้างการมีส่วนร่วมของทุกคน และผลลัพธ์ออกมาเป็นที่น่าพอใจสำหรับสมาชิกอย่างแน่นอน

เพื่อให้คุณและคนในทีมมีทักษะในการประชุม การสื่อสาร และการทำงานร่วมกัน ขอแนะนำหลักสูตร Team Communication & Collaboration คลิกที่นี่

=====

เรียบเรียงจาก “Global teams that work” โดย Tsedal Neeley จาก Harvard Business Review ตุลาคม 2015

เรียบเรียงโดย Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

5 เทคนิครับมือกับเพื่อนร่วมงานเจ้าปัญหา

ในชีวิตของคนเราต้องพบเจอกับผู้คนมากมายหลายประเภท บางคนคอยช่วยเหลือและสนับสนุนให้เราทำสิ่งต่างๆให้สำเร็จ

ในทางตรงกันข้าม ก็มีบางคนที่คอยกลั่นแกล้ง ขัดขวาง เอาเปรียบ ใส่ร้ายป้ายสี มองโลกในแง่ลบ และทำให้เราหมดกำลังใจที่จะไล่ตามความฝัน

ซึ่งเราให้คำนิยามกับคนประเภทนี้ว่าเป็น “มนุษย์เจ้าปัญหา” หรือ  “เพื่อนร่วมงานเจ้าปัญหา”

เพื่อนร่วมงานเจ้าปัญหา คือ คนที่มักทำให้คนรอบข้างเกิดความยุ่งยาก หงุดหงิด รำคาญใจ และบางทีอาจทำให้ผู้อื่นเสียหายได้

====

พวกเขาอาจเป็นเจ้านาย ลูกน้อง ลูกค้า เพื่อน หรือคนในครอบครัวของคุณ ซึ่งวิธีที่ง่ายที่สุดเมื่อเจอกับคนเหล่านี้ก็คือ การเดินหนี หรือไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วย

อย่างไรก็ตามวิธีนี้ควรเป็นทางเลือกสุดท้าย เพราะหลายครั้งคุณอาจตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่อาจวิ่งหนีปัญหาได้ ยิ่งไปกว่านั้น บางครั้งคุณจำเป็นต้องรักษาความสัมพันธ์อันดีกับคนเหล่านี้ด้วย เพราะฉะนั้น คุณจึงควรเรียนรู้วิธีการรับมือกับเพื่อนร่วมงานเจ้าปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ

1) อย่าเกลียดชัง แต่จงขอบคุณมนุษย์เจ้าปัญหา

เมื่อคุณเจอกับมนุษย์เจ้าปัญหา คุณอาจรู้สึกโกรธ เกลียดชัง หรือท้อแท้สิ้นหวัง ความรู้สึกในแง่ลบเหล่านี้เป็นสิ่งที่คุณควรก้าวข้ามและผ่านมันไปให้ได้ เพราะมันเป็นตัวบ่อนทำลายความสุขของคุณ

วิธีการที่ดีที่สุดก็คือ คุณควรเปลี่ยนทัศนคติ โดยคิดว่าพวกเขาเป็นสิ่งที่ท้าทายในชีวิต

กล่าวคือ คุณควรคิดว่าการใช้ชีวิตหรือการทำงานกับคนเจ้าปัญหาเป็นบททดสอบหนึ่ง ซึ่งสิ่งนั้นจะทำให้คุณกลายเป็นคนที่แข็งแกร่งขึ้น

ด้วยเหตุนี้ คุณจึงควรขอบคุณพวกเขาที่ทำให้คุณรู้จักความอดทนอดกลั้น และได้พัฒนาตนเอง

วิธีการนี้ดูเหมือนว่าเป็นวิธีการที่ยาก แต่มันเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะหากคุณสามารถจัดการกับความรู้สึกของตนเองได้ คุณก็จะสามารถรับมือกับมนุษย์เจ้าปัญหาได้เช่นกัน

====

2) ใช้มนุษย์เจ้าปัญหาเป็นตัวกระตุ้นสิ่งดีๆในตัวคุณ

อีกหนึ่งวิธีในการรับมือกับมนุษย์เจ้าปัญหาก็คือ การใช้สิ่งเลวร้ายที่พวกเขาทำเป็นแรงผลักดันให้คุณก้าวไปข้างหน้า

ยกตัวอย่างเช่น ในขณะที่คุณกำลังนั่งทำงานอย่างหนัก เพื่อนร่วมงานของคุณได้นั่งจับกลุ่มนินทาและพูดคุยเรื่องไร้สาระทั้งวัน

แน่นอนว่าหากคุณเจอกับสถานการณ์เช่นนี้ คุณต้องอารมณ์เสีย หงุดหงิด และไม่พอใจเป็นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตาม คุณไม่ควรปล่อยให้ตัวเองจมกับความคิดด้านลบเหล่านั้น

สิ่งที่คุณควรทำก็คือ การเปลี่ยนความรู้สึกแย่ๆให้กลายเป็นพลังเชิงบวก

ให้คุณคิดซะว่ามันไม่ใช่เรื่องของคุณ ดังนั้นคุณจึงไม่ควรเสียเวลาหรือใส่ใจกับการกระทำของคนเหล่านั้น และจงปล่อยให้พวกเขาทำต่อไปเพราะคุณไม่สามารถเปลี่ยนแปลงพวกเขาได้สำหรับตัวคุณเองก็ควรมุ่งมั่นตั้งใจสร้างสรรค์สิ่งดีๆ พัฒนาตนเอง และใช้อุปสรรคทั้งหลายเป็นตัวกระตุ้นไฟในตัวคุณ

====

3) ใช้เวลากับพวกเขาให้มากขึ้น

แทนที่คุณจะวิ่งหนีปัญหา ให้คุณลองเปลี่ยนแนวทางดูบ้าง กล่าวคือ คุณอาจลองเข้ากลุ่ม หรือใช้เวลากับพวกมนุษย์เจ้าปัญหาให้มากขึ้น

แม้วิธีการนี้อาจทำให้คุณรู้สึกว่ากำลังบีบบังคับจิตใจตนเองก็ตาม แต่การคลุกคลีและร่วมทำกิจกรรมต่างๆกับคนเหล่านี้จะทำให้พวกเขาเปิดใจและยอมรับคุณมากขึ้น

ในขณะเดียวกัน ก็จะทำให้คุณรู้จักและเข้าใจพวกเขามากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งวิธีนี้อาจทำให้คุณทราบว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้พวกเขามีพฤติกรรมในการสร้างปัญหาหรือก่อความวุ่นวายให้กับคนรอบข้างตลอดเวลา

ทั้งนี้ เมื่อคุณเข้าใจพวกเขามากขึ้น คุณอาจได้ปรับมุมมองหรือทัศนคติของคุณที่มีต่อพวกเขาก็เป็นได้ และคุณก็จะสามารถควบคุมอารมณ์และจิตใจตนเองได้มากขึ้นเช่นกัน

สิ่งนี้จะช่วยให้คุณสามารถใช้ชีวิตอยู่กับมนุษย์เจ้าปัญหาได้อย่างเข้าใจ และราบรื่นยิ่งขึ้น

====

4) ตั้งเป้าหมายของตัวคุณเอง

การตั้งเป้าหมายเป็นหนึ่งในวิธีการรับมือกับคนเจ้าปัญหาพร้อมๆกับการพัฒนาตนเอง กล่าวคือ ให้คุณลองตั้งเป้าหมายของตนเองที่เกี่ยวกับการรับมือกับมนุษย์เจ้าปัญหา

เช่น หากฉันเจอกับคนขี้บ่น ก้าวร้าว ซุบซิบนินทา ฉันจะต้องไม่รู้สึกแย่ หงุดหงิด หรือหมดกำลังใจ นอกจากนี้ ฉันจะพยายามเปลี่ยนแปลงทัศนคติของคนเจ้าปัญหาให้ได้ เป็นต้น

คุณอาจตั้งเป้าหมายเล็กๆก่อน และค่อยๆขยับเป้าหมายให้สูงขึ้นเรื่อยๆ วิธีการนี้จะทำให้คุณรู้สึกท้าทาย และเห็นว่าการรับมือกับคนเหล่านี้เป็นเรื่องสนุก ทั้งยังช่วยให้คุณมีโอกาสในการพัฒนาตนเองอีกด้วย

กล่าวคือ หากคุณอดทนกับคนเจ้าปัญหาและยังสามารถทำงานร่วมกับเขาได้ ก็จะทำให้คุณเป็นคนใจเย็นขึ้น ใจกว้างขึ้น และอดทนมากขึ้น

====

5) พยายามทำความเข้าใจและช่วยเหลือมนุษย์เจ้าปัญหา

บางคนอาจเป็นมนุษย์เจ้าปัญหาด้วยเหตุผลบางประการ ยกตัวอย่างเช่น บางคนเผชิญกับสิ่งเลวร้ายในชีวิตหรือมีปัญหาทางร่างกาย จิตใจ หรืออารมณ์ และสิ่งเลวร้ายเหล่านั้นจึงส่งผลต่อพฤติกรรมการแสดงออกของพวกเขาจนทำให้เป็นมนุษย์เจ้าปัญหาในปัจจุบัน

เพื่อเป็นการช่วยให้พวกเขามีพฤติกรรมที่พึงประสงค์มากขึ้น คุณควรปฏิบัติต่อเขาอย่างที่คุณต้องการให้เขาปฏิบัติต่อคุณ

อย่างไรก็ตาม คุณอาจต้องทำใจยอมรับว่า เขาอาจปฏิบัติต่อคุณได้ไม่ดีเท่าที่คุณปฏิบัติต่อเขา นั่นเป็นเพราะปมปัญหาที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ดังนั้น คุณควรให้เวลากับพวกเขา พยายามทำความเข้าใจ และช่วยเหลือพวกเขาเมื่อมีโอกาสด้วย

บางครั้งมนุษย์เจ้าปัญหาก็มีมากกว่าหนึ่ง และในหลายครั้งพวกเขาก็เป็นต้นเหตุสำคัญของความขัดแย้งด้วย เรียนรู้วิธีจัดการความขัดแย้งในทีมฉบับฉุกเฉิน คลิกที่นี่

====

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากพัฒนาทักษะการทำงานร่วมกับมนุษย์เจ้าปัญหา แก้ไขความขัดแย้งในทีมและพัฒนาให้ทีมร่วมมือร่วมใจกันทำงานได้ดียิ่งขึ้น ขอแนะนำหลักสูตร Team Communication & Collaboration คลิกที่นี่

Source: http://www.lifehack.org/312503/encountered-difficult-people-and-wanna-escape-you-should-deal-with-them-these-5-ways

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 094 959 2645

7 เทคนิค เลือกลูกน้องอย่างไรไม่ให้เปลี่ยนงานบ่อย

 สิ่งที่ยากที่สุดสำหรับผู้บริหารคือการคัดสรรคนให้เหมาะกับงาน  ผลประกอบการจะออกมาดีหรือไม่ย่อมขึ้นกับคน

Learning Hub ขอนำเสนอ 7 เคล็ดลับในการเลือกคนให้เข้ากับงาน หรือ “Put the right man on the right job” ฝากให้บรรดาผู้บริหารได้ลองนำไปเป็นไอเดียในการเลือกลูกน้องกันครับ 

====

1.พิจารณาจากงานที่เคยทำ  

งานที่แตกต่างจึงต้องการคนที่แตกต่างกัน 

 Peter  Drucker ปรมาจารย์ด้านการจัดการยุคใหม่ กล่าวว่าหากพนักงานทำงานไม่ดีย่อมเป็นความผิดของผู้บริหาร ไม่ใช่พนักงาน เพราะผู้บริหารเป็นคนเลือกเขามาทำงานเอง ดังนั้นเพื่อป้องกันความผิดพลาด ผู้บริหารจึงต้องใส่ใจกับการเลือกคนให้เหมาะสมกับงาน เขาจึงแนะนำว่าการเลือกคนต้องพิจารณาจากงานที่คนผู้นั้นเคยรับผิดชอบมาก่อน อย่างน้อยก็จากประสบการณ์ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา 

         ยกตัวอย่างเช่น การจะหาผู้จัดการฝ่ายการตลาดสักคน ต้องคิดก่อนว่า หน้าที่ของผู้จัดการคนนี้คืออะไร เพิ่มยอดขาย คิดค้นสินค้าใหม่ หรือเจาะตลาดใหม่

ซึ่งงานแต่ละอย่างมีความแตกต่างกัน    จึงต้องการคนที่มีประสบการณ์แตกต่างกัน ดังนั้นจึงควรเลือกพนักงานที่เคยผ่านงานหรือมีประสบการณ์ที่ใกล้เคียงกับตำแหน่งนั้นมากที่สุด หากคุณสนใจแนวคิดดีๆของ Drucker ผมแนะนำหนังสือชื่อ The Essential Drucker ครับ 

====

 2.อย่ามอบงานใหญ่ให้คนไม่ใหญ่   

กระจายอำนาจการตัดสินใจให้พนักงาน  

         Alfred Sloan อดีตผู้บริหารบริษัท General Motors ผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ให้กับบริษัท    หนึ่งในนั้นคือการปรับวิธีการทำงาน โดยการกระจายอำนาจให้พนักงาน ส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและสามารถแสดงความคิดเห็นได้ 

         ซึ่งเป็นการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในองค์กร  แต่ไม่ได้หมายความว่าพนักงานทุกคนจะมีอำนาจในการตัดสินใจเท่ากันนะครับ  เพราะสำหรับพนักงานใหม่แล้ว   เขาจะยังไม่มอบหมายภาระงานสำคัญให้ เนื่องจากยังอ่อนประสบการณ์ ซึ่งอาจจะนำไปสู่ความผิดพลาดได้    

        เขาจึงมอบหมายให้พนักงานใหม่ทำงานที่มีความชัดเจนสูง คาดการณ์ได้ ส่วนพนักงานที่มีประสบการณ์แล้วเขาจึงเพิ่มอำนาจในการตัดสินใจครับ    

====

3.ถามไถ่คนใกล้ชิด  

ผู้บริหารต้องฟังสิ่งที่คนอื่นคิด  

        Hermann Abs อดีตผู้บริหาร Deutsche Bank มีมุมมองว่า การเลือกใช้คนของผู้บริหารโดยมากตั้งอยู่บนอคติส่วนตัว ทำให้ใช้คนผิดประเภท หรือเลือกแต่งตั้งคนที่ใกล้ชิดมากกว่าคนที่มีความสามารถ  

        เพื่อให้การเลือกคนมีความถูกต้องและผิดพลาดน้อยที่สุด เขาจึงมองว่านอกจากการสอบประวัติของบุคคลที่ต้องการแต่งตั้งแล้ว ผู้บริหารควรจะสอบถามจากเจ้านายเก่า ลูกน้อง หรือเพื่อนร่วมงาน อย่างน้อย 3 – 5 คน เพื่อให้ได้ข้อมูลรอบด้านเพื่อประกอบการเลือกคนที่เหมาะสม

        ดังนั้น “ We need to listen ผู้บริหารจึงต้องรับฟัง” ครับ 

==== 

4.เลือกคนที่เข้าใจงาน  

วิถีของ Apple คือสร้างเอกลักษณ์ให้กับสินค้า  

        Tim Cook ซีอีโอบริษัท Apple ผู้มุ่งมั่นสร้างสรรค์สินค้าเทคโนโลยีขั้นเทพให้กับลูกค้า ดังนั้นหัวใจสำคัญของ Apple จึงอยู่ที่แผนกฮาร์ดแวร์เทคโนโลยี เพราะแผนกนี้จะทำหน้าที่ผลิตชิป ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นสมองของสินค้า ดังนั้นคนที่จะรับบทหนักเช่นนี้ Tim Cook จึงเลือก  Johny Srouji  ทำไมต้องเป็นเขา ? 

        Srouji เคยผ่านงานจากบริษัท Intel และ IBM มาก่อน เรียกได้ว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญการวางระบบชิปเป็นอย่างดี เมื่อเขาเข้าร่วมงานกับ Apple  Srouji มีส่วนอย่างมากในการออกแบบระบบการทำงานของ iPhone และแท็บเล็ตใหม่   ทำให้ระบบการทำงานมีเสถียรภาพและมีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น   

        จึงทำให้  Apple สามารถยืนหยัดแข่งขันกับคู่แข่งได้อย่างมั่นคง ทั้งหมดนี้เป็นเพราะ Tim Cook เลือกคนที่เข้าใจงานทำงานในตำแหน่งที่เหมาะสม

====

 5.เข้าใจคนก่อนใช้คน   

 อย่าให้จุดด่างดำมาบดบังหยกขาว  

         Bob Burg วิทยากรชื่อดังของสหรัฐอเมริกา และเจ้าของหนังสือชื่อ The Go-Giver Leader เป็นกูรูอีกคนหนึ่งด้านการใช้คนครับ แน่นอนครับว่า ทุกคนย่อมมีดีมีเสียแตกต่างกันไป เขาจึงแนะนำครับว่า ควรมองคนจากจุดแข็งก่อนครับ เพราะมูลค่าของงานจะสร้างสรรค์ขึ้นได้จากจุดแข็งของคน  

        จากนั้นจึงพิจารณาจากจุดอ่อนครับ แต่ไม่ใช่คือมีจุดอ่อนแล้วคัดออกนะครับ เพราะเขาแบ่งจุดอ่อนออกเป็น 3 ประเภท คือ     จุดอ่อนที่ไม่เป็นปัญหา จุดอ่อนที่แก้ไขได้ และจุดอ่อนที่เป็นปัญหา  พูดง่ายๆก็คือ หากพนักงานมีจุดอ่อน 2 ประเภทแรก ไม่ถือเป็นปัญหาครับ แต่หากเป็นจุดอ่อนประเภทที่สาม แม้ว่ามีจุดแข็งที่ดีแค่ไหนคงต้องคัดออก  

         เขาได้ยกตัวอย่างวิศวกรที่ทำงานเก่งคนหนึ่ง ซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าแผนก แต่วิศวกรรายนี้ทำหน้าที่ประสานงานได้ไม่ดี แต่งานในตำแหน่งหัวหน้าต้องมีทักษะการประสานงาน

         ดังนั้นจุดอ่อนของเขาถือเป็นประเภทที่สาม เพราะถ้าเขาไม่สามารถประสานงานได้  ก็ไม่อาจแบกรับความรับผิดชอบได้

==== 

 6.เลือกคนจากลักษณะนิสัย   

Judging เหมาะกับงานบัญชี แต่ Perceiving เหมาะกับงานการตลาด  

         โดยทั่วไปลักษณะนิสัยของแต่ละคนมีส่วนอย่างมากต่อผลลัพธ์ของการทำงาน   คนที่ชอบทำงานเป็นขั้นเป็นตอน วางแผนล่วงหน้า ไม่ค่อยครีเอทีฟ เรียกว่า Judging ครับ เหมาะกับการทำงานบัญชีหรือการเงินเพราะเป็นคนละเอียด 

          แต่คนที่ชอบแก้ปัญหาเฉพาะหน้า มีความคิดสร้างสรรค์ ไม่ชอบงานเอกสาร เรียกว่า Perceiving เหมาะกับงานการออกแบบหรือการตลาดครับ ยกตัวอย่างเช่น บริษัท Target ถูกโจรกรรมข้อมูล บริษัทสูญเสียความเชื่อมั่น ผู้ถือหุ้นจึงเลือก John Mulligan ดำรงตำแหน่งเป็นรักษาการ CEO แทน CEO คนเก่าที่ขาดความน่าเชื่อถือไปแล้ว

          เหตุที่เลือกเขาเพราะเขาเป็นรองประธานฝ่ายการเงินหลายปี ทำงานละเอียด หรือก็คือเป็นคนประเภท Judging ซึ่งเหมาะที่จะเข้ามาประเมินความเสียหายและฟื้นฟูสถานะทางการเงินภายหลังถูกโจรกรรมข้อมูล  

====

 7.ต้องเป็นที่ยอมรับ 

เลือกคนที่เป็นที่ยอมรับ ย่อมทำงานได้ราบรื่น  

         เทคนิคนี้ผมได้บทเรียนจากประธานาธิบดีโอบามาครับ   เมื่อครั้งโอบามารับตำแหน่งประธานาธิบดีใหม่ๆ เสียงวิพากษ์ดังขรมว่า โอบามาขาดประสบการณ์ด้านการต่างประเทศ เมื่อเป็นเช่นนี้การประสานงานกับรัฐสภาจะเป็นไปได้ด้วยความยากลำบากมาก  

         คงไม่มีใครให้ความร่วมมือกับเด็กอ่อนอย่างโอบามาแน่  ดังนั้นโอบามาจึงดึง โจเซฟ ไบเดน เข้ามาเป็นรองประธานาธิบดี ซึ่งจะเขาเคยเป็นกรรมาธิการด้านต่างประเทศถึง 9 สมัย

         ด้วยประสบการณ์ชั้นเซียนเช่นนี้ ย่อมกลบจุดอ่อนของโอบามาได้เป็นอย่างดี และความน่าเชื่อถือและการยอมรับย่อมเพิ่มขึ้น  

====

         แม้ว่าคุณจะเรียนรู้เทคนิคการใช้คนทั้ง 7 ข้อไปแล้วก็ตาม แต่ความผิดพลาดย่อมเกิดขึ้นได้ แต่หากเราใช้คนผิดพลาด เราก็ควรยอมรับความจริง และเปลี่ยนคนใหม่ให้เร็วที่สุด ไม่เช่นนั้นอาจจะสร้างความเสี่ยงให้กับองค์กรได้   เพราะ Misfit is cruel to an organization.    

ที่มา  The Eessential Drucker: Peter Drucker author  

ต่อให้คุณสามารถเลือกลูกน้องได้เป็นอย่างดีจนได้คนที่ไม่เปลี่ยนงานง่าย ๆ แล้วก็ตาม แต่ถุ้าคุณไม่บริหารลูกน้องให้ดีพวกเขาก็อาจจากไปได้เสมอ เรียนรู้และฝึกฝน 3 เทคนิคในการยอมรับและชื่นชมลูกน้อง คลิกที่นี่

หนึ่งในทักษะสำคัญที่ช่วยเพิ่มศักยภาพให้แก่ลูกน้องได้คือการ Coaching และให้ Feedback  ซึ่งคุณสามารถเรียนรู้และฝึกฝนได้จากหลักสูตร High Impact Coaching and Positive Feedback คลิกที่นี่

 

เรียบเรียงโดย 

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 094 959 2645

4 ขั้นตอน ลดความขัดแย้งภายในทีม

การทำงานในทุกๆ ที่ มักเกิด “ปัญหาขัดแย้ง” ไม่มากก็น้อย… “ความคิดเห็นไม่ตรงกัน” คือสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำในที่ประชุม โดยเฉพาะที่ทำงานซึ่งมีพนักงานจำนวนมาก…

ไม่มีทางที่ “ทุกคน” จะชอบไอเดียของคุณได้ แต่เมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้น คุณไม่ควรกลัว หรือหลีกเลี่ยง แต่ควรเผชิญหน้าอย่างชาญฉลาด

และถ้าคุณสามารถจัดการข้อขัดแย้งในแต่ละครั้งได้ จะทำให้คุณแข็งแกร่งและเก่งขึ้นกว่าเดิม

====

บ่อยครั้งที่คุณอยากจะให้ปัญหานี้จบๆ ไป… ปล่อยผ่าน… ไม่อยากเข้าไปยุ่ง หรือมีเรื่องกับใครเพิ่ม…

โดยเฉพาะออฟฟิศในองค์กรแบบไทยๆ ที่มักแบ่งฝักแบ่งฝ่ายชัดเจน ถ้าใครไม่ได้อยู่พวกนี้ ก็หมายความว่าเป็นศัตรูกับพวกนั้น การอยู่เฉย แน่นอนว่าเป็นการไม่หาเรื่องเข้าตัว แต่ก็ไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้นเช่นกัน

ในทางตรงข้าม มันหมายความว่า คุณจะไม่ได้พัฒนาตัวเอง หรือมีอะไรโดดเด่นที่ทำให้เจ้านายและผู้บริหารระดับสูงมองเห็นศักยภาพในตัวคุณ…

ทางที่ดี ถ้าปัญหาและข้อขัดแย้งต่างๆ มาถึง พยายามมอง “เป็นโจทย์ และความท้าทายใหม่ๆ” เป็นเวทีที่ทำให้คุณได้แสดงศักยภาพของตัวเองในการแก้ไขปัญหานั้นๆ

และที่สำคัญ เมื่อคุณแก้ไขปัญหาได้ คุณอาจได้รับการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง เป็นหัวหน้าแผนก เพราะคุณได้แสดงให้เห็นว่า คุณจัดการปัญหานั้นได้ดี ได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงานและหัวหน้าอย่างแท้จริง

====

เริ่มต้นจากหาสาเหตุความขัดแย้ง

เริ่มแรก คุณควรเข้าใจและเข้าถึงปัญหาเสียก่อน พยายามเปิดใจให้เป็นกลาง ไม่มีอคติใดๆ คุณจึงจะมองเห็นปัญหาได้ทะลุรอบ 360 องศา กว้างมากขึ้น และเข้าถึงต้นตอของปัญหาได้มากขึ้น ว่ามาจาก...

====

1. อารมณ์

ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ทุกคนกำลังมีอารมณ์ และพร้อมระเบิดมันออกมา ทางที่ดีที่สุดคือเดินออกมาจากห้องนั้น หรือ ณ ตรงนั้น เพื่อสงบสติอารมณ์…

อย่าใช้อารมณ์ในการโต้แย้ง แต่จงใช้ความจริง สถิติ หลักฐานในอีเมล์ พยาน ลูกค้า และทางที่ดี พยายามหาข้อเท็จจริงที่มาจากต้นตอของปัญหา

อย่าคิดไปเอง อย่าคาดว่าสิ่งโน้นสิ่งนี้จะเกิด เลิกโทษอดีต เช่น ถ้าอย่างงั้น ทำไมพี่ไม่ทำล่ะ… ถ้ารู้อย่างงี้ ทำไมเธอไม่รับผิดชอบ

มันไม่มีประโยชน์ที่จะอ้างถึงอดีตที่เป็นไปไม่ได้ เมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว ไม่ควรเอาเรื่องไม่สร้างสรรค์และวนในอ่างมาพูดถึง แต่ควรพยายามหาทางที่เป็นทางออกเชิงสร้างสรรค์

เช่น แล้วคุณจะทำอย่างไร? คุณมีแผนสำรองอย่างไร? คุณได้ลองติดต่อทางโน้นแล้วหรือยัง? นั่นคือประโยคเชิงบวกที่ดีและสร้างสรรค์กว่าการนั่งถกเถียง และเกี่ยงกัน

====

2. การสื่อสาร

คุณกำลังใช้ภาษาหยาบคาย หรือถ้อยคำประชดประชัน ในการตอบคำถาม โต้แย้ง หรือปะทะคารม ให้อีกฝ่ายมีอารมณ์รุนแรงมากยิ่งขึ้นหรือเปล่า?

และถ้าคุณต้องเป็นกรรมการในการห้ามมวยคู่นั้น คุณควรพูดอย่างเป็นกลาง พยายามตัดจบเรื่องราว ณ ตอนนั้น เช่น เรื่องนี้ยังไม่ตกผลึก ให้ทุกคนไปหาข้อมูลมาเพิ่มเพื่อใช้ประชุมในครั้งหน้า และข้อมูลที่นำมาเสนอ ควรเป็นเรื่องที่ชัดเจน แม่นยำ เชื่อถือได้ และไม่เก่าจนเกินไป

====


4 ขั้นตอน ลดความขัดแย้งในที่ทำงาน

1. หาจุดร่วมของทีม

สร้างโมเดล หรือกติกาในการตัดสินใจร่วมกัน หรือหาความเห็นตรงกัน “การสร้างจุดร่วม” อาจเกิดจากการถามความเห็นและสนับสนุนสิ่งที่ทำให้เกิดทีมเวิร์ค โดยคุณอาจจะกำหนดคนที่เป็น Team Player คนที่มีบทบาทในการแสดงทัศนคติ Influencer สร้างเฟรมเวิร์คที่มาจากความเห็นของพวกเขา และใช้สิ่งนี้เป็นรากฐาน เป็นโมเดลในการแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งต่างๆ

====

2. หาปมขัดแย้ง

พยายามหาปมขัดแย้งให้เร็วที่สุด ทุกอย่างมีโอกาสเป็นปมขัดแย้งได้หมด แม้ว่าปัญหานั้นจะเกิดจากเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ จะเป็นเรื่องไร้สาระหรือมีสาระ หรือแม้แต่จะเป็นเรื่องที่แทบเป็นไปไม่ได้ด้วยซ้ำ

ทางที่ดี คุณและทีมควรเปิดใจให้กว้าง เป็นกลาง และอย่ากลัวที่ต้องเผชิญความจริง คุณต้องย้ำกับเพื่อนร่วมงานหรือทีมเสมอๆ ว่าไม่มีใครผิดใครถูกในเรื่องนี้ เราลงเรือเดียวกันแล้ว ทุกอย่างเรารับผิดชอบร่วมกัน

แสดงสปิริตที่จะทำให้คนกล้าพูดความจริง เพื่อที่จะหาต้นตอของปัญหาที่ถูก และใช่ ในเวลาจำกัด

====

3. หาแรงจูงใจ

การเล็งไปที่แรงจูงใจของสิ่งที่ทำให้เกิดปัญหานั้นขึ้นมา จะทำให้คุณได้ความคิดและมุมมองอีกแบบหนึ่ง ใครได้ประโยชน์สูงสุดจากเรื่องนี้ ใครเสียผลประโยชน์สูงสุด ปัญหาและปมขัดแย้งนี้มีที่มาจากคนแบบไหน และเขาต้องการอะไร เพื่อความสะใจ เพื่อทำลายใคร เพื่อจุดมุ่งหมายแบบไหน บางที เราไม่ควรมองที่การกระทำ แต่ควรใส่ใจที่เจตนาด้วย

====

4. หาปัจจัยแวดล้อม

หลังจากเราหาเหตุเจอแล้ว มาถึงคราวที่เราจะต้องหาปัจจัยแวดล้อมที่ทำให้เกิดปมขัดแย้ง อะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้ปมขัดแย้งในที่ทำงานปะทุขึ้นมากกว่าเดิม ใครมีส่วนร่วมบ้าง และเหตุการณ์นั้นเป็นอย่างไร

พยายามพูดคุยเปิดใจกัน และมองภาพใหญ่ให้ออก ว่าใครเป็นคนสนับสนุนปัจจัยสำคัญเหล่านั้น… พยายามเชื่อมโยงและทำให้พวกเขาเห็นภาพในสิ่งที่พวกเขาควรทำ หรือไม่ควรทำ

เรียนรู้ต้นเหตุสำคัญของความขัดแย้งและวิธีการจัดการเพิ่มเติมได้ใน วิธีจัดการความขัดแย้งในทีมฉบับฉุกเฉิน คลิกที่นี่

====

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากพัฒนาทักษะการทำงานร่วมกัน อยากแก้ไขความขัดแย้งในทีมและพัฒนาให้ทีมร่วมมือร่วมใจกันทำงานได้ดียิ่งขึ้น ขอแนะนำหลักสูตร Team Communication & Collaboration คลิกที่นี่

เรียบเรียงโดย

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

5 ตัวช่วย ที่ทำให้การประชุมไม่เป็นเรื่องน่าเบื่ออีกต่อไป

          ใครเบื่อการประชุมบ้าง  เชื่อว่ามีหลายคนยกมือขึ้นสุดแขนเลยทีเดียว แต่ชีวิตการทำงานของเราคงหลีกเลี่ยงการประชุมไม่ได้ และคงไม่ดีแน่ถ้าเรานั่งเคร่งเครียด ไม่มีความสุขอยู่ในการประชุมครึ่งค่อนวัน

       ยิ่งไปกว่านั้นจะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของเราย่ำแย่ลงเรื่อยๆ  ซึ่งคุณไม่ต้องกลุ้มใจไป  เพราะเรามีเทคนิคดีๆ ที่จะทำให้การประชุมไม่น่าเบื่ออีกต่อไปมาฝาก ดังนี้ 

====

1) ประเด็นต้องชัดเจน

“การกำหนดวาระประชุมที่แน่นอนทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมไม่หลงทาง”

          คุณเคยเข้าประชุมแล้วออกมาแบบงงๆ เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นบ้างไหมคะ พอรู้ตัวอีกทีเวลาก็หมดไปกับการนั่งเหม่อลอยมองคนปิ้งสไลด์ อ่านพรีเซนต์ ฟังคนเถียงกันในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับวาระการประชุม หากใครเคยประสบพบเจอปัญหาดังกล่าวแสดงว่าการประชุมไม่ได้ผล และเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์

          แต่ปัญหานี้มีทางแก้ค่ะ เพียงแค่คุณตอบคำถามให้ได้ว่า “ทำไมจึงมีการจัดประชุมขึ้น” “เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์การประชุมคืออะไร” ถ้าคุณตอบได้ การประชุมของคุณจะกระชับ ตรงประเด็น และได้ผลจริงค่ะ

          แต่หากคุณเอะอะก็นัดประชุมทุกเรื่องโดยไม่คัดกรองหัวข้อให้ดี ไม่วางแผนอย่างเป็นลำดับขั้น การประชุมก็จะเต็มไปด้วยความสับสนและนั่นทำให้คุณเสียเวลาประชุม แถมยังต้องกลับไปนั่งทำงานแบบไร้ทิศทางด้วย

====

2) ผู้เข้าร่วมประชุมต้องแชร์

“การแชร์ความเห็นทำให้การประชุมมีสีสัน และเกิดคุณค่า”

          คุณอาจเคยชินกับบรรยากาศการเข้าประชุมที่มีแต่คนหน้าเดิมๆ พูดออกความคิดเห็น ส่วนที่เหลือก็นั่งก้มหน้าก้มตากดโทรศัพท์บ้าง แสร้งทำเป็นจดบันทึกการประชุมบ้าง ฟังหูซ้ายทะลุหูขวาบ้าง

ภาพแบบนี้ทำให้การประชุมไร้ชีวิตชีวาและผิดวัตถุประสงค์ของการประชุมค่ะ เพราะความสำคัญของการประชุมคือ เป็นเวทีแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน เพื่อให้ทุกคนเข้าใจแผนงานและปฏิบัติงานอย่างมีเป้าหมายเดียวกัน

          ดังนั้นการประชุมที่ดีต้องมีการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง ประธานควรดำเนินการประชุมอย่างกระตือรือร้น ยิ้มแย้มแจ่มใส ไม่พูดระบายอารมณ์ของตนเองในที่ประชุม และควรเปิดใจรับฟังผู้เข้าร่วมประชุมโดยปราศจากอคติ

          ส่วนผู้เข้าร่วมประชุมก็ไม่ควรนั่งฟังเฉยๆ โดยไม่แสดงความคิดเห็น ไม่แชร์ไอเดีย หรือไม่ร่วมกิจกรรมใดๆ จงคิดว่าการได้เข้าประชุมคือ โอกาสดีที่ได้นั่งคุยกับเพื่อน ได้เห็นความคืบหน้าของงาน เพื่อที่ทีมจะได้มองเห็นภาพความสำเร็จร่วมกัน และช่วยกันสร้างสรรค์งานให้บรรลุเป้าหมายต่อไป

====

3) การนำเสนอต้องน่าสนใจ

“การนำเสนอที่น่าสนใจช่วยให้การประชุมสัมฤทธิ์ผล”

          เมื่อคุณลองหลับตาและนึกถึงภาพ Presentation ของการประชุมที่บริษัท เชื่อแน่ว่าคนส่วนใหญ่จะเห็นภาพ Presentation ที่เต็มไปด้วยตัวหนังสือที่ชวนให้ง่วงนอน มิหนำซ้ำผู้พูดก็ยังนำเสนอข้อมูลด้วยน้ำเสียงโมโนโทน ด้วยเหตุนี้จึงไม่น่าแปลกใจที่คุณจะสัปหงก และเผลอหลับคาห้องประชุมบ่อยๆ

          แต่รู้ไหมว่าตอนนี้หมดยุคที่ผู้คนจะสื่อสารกันด้วยวิธีการแบบเดิมๆ แล้วค่ะ โลกหมุนเร็วกว่าที่คิด การใช้ข้อมูลจากตัวหนังสือประกอบการนำเสนอเป็นสิ่งที่แสนน่าเบื่อและทำให้หัวใจห่อเหี่ยว

          ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่คุณต้องเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอให้ทันสมัย และดึงดูดความสนใจให้มากขึ้น เช่น ใช้ Infographic, Video Clip หรือ Multimedia เริ่ดๆ มาประกอบการนำเสนอในที่ประชุมลองทำดูนะคะ แล้วการประชุมของคุณจะ Work สุดๆ ไปเลยค่ะ

====

4) ความถี่ประชุมต้องเหมาะสม

“การปรับความถี่ในการประชุมมีผลต่อประสิทธิภาพของผู้ร่วมประชุม”

          ปัญหาที่หนุ่มสาวออฟฟิศต่างบ่นเป็นเสียงเดียวกันก็คือ ประชุมทั้งวันจนแทบไม่มีเวลาไปทำอย่างอื่น บางคนพูดติดตลกว่า “มีอาชีพรับจ้างประชุม” อย่างที่เกริ่นไว้ตอนต้นว่าการประชุมที่ดีต้องมีวัตถุประสงค์ชัดเจน ไม่ใช่นึกอยากจะเรียกประชุมเมื่อไหร่ก็ได้ เพราะหากประชุมพร่ำเพรื่อ ผู้เข้าร่วมจะไม่เห็นความสำคัญและพาลไม่อยากเข้าประชุมได้

          นอกจากนี้ ควรมีคนคอยควบคุมเวลาไม่ให้การประชุมยืดยาวเกินไป เพราะสมาธิของคนเรามีจำกัด การประชุมเลยเวลาอาจทำให้ผู้เข้าประชุมไม่สามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง เนื่องจากเหนื่อยล้าและมึนงงกับชั่วโมงประชุมที่ยาวนาน

====

5) ประชุมเสร็จต้องสรุปและติดตามผล

“การจดรายงานการประชุมช่วยเตือนความจำ และช่วยผลักดันงานให้สำเร็จ”

          เทคนิคอีก 1 ข้อที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ ต้องสรุปและติดตามผลการประชุมค่ะ เพราะการเขียนสรุปการประชุมจะทำให้ผู้เข้าร่วมทราบว่า ผลของการประชุมคืออะไร ใครต้องรับผิดชอบดำเนินการเรื่องใดต่อ

          ลองคิดดูนะคะว่าหากมีประเด็นถกเถียง โต้แย้ง หรือแชร์ไอเดียที่เป็นประโยชน์ในที่ประชุม แต่ไม่มีใครจดบันทึกเอาไว้ เมื่อเวลาผ่านไปทุกคนก็จะลืม และไม่ได้นำสิ่งที่ประชุมมาปฏิบัติต่อให้เป็นรูปธรรม ผลคือ การประชุมทั้งหมดสูญเปล่า

ในทางกลับกันหากมีการจดบันทึกข้อคิดเห็นสำคัญหรือมติที่ประชุมไว้ ทุกคนก็จะมีหลักฐานอ้างอิง สามารถยึดถือเป็นแนวปฏิบัติในการทำงานต่อไปได้ ซึ่งสิ่งนี้ทำให้การทำงานราบรื่น และมีประสิทธิภาพสูงสุดค่ะ

          เป็นยังไงกันบ้างคะสำหรับเทคนิคการจัดประชุมที่ Learning Hub นำมาเสนอในวันนี้ หวังว่าคงจะถูกใจกันนะคะแต่ถูกใจอย่างเดียวไม่พอนะคะ ต้องนำไปปฏิบัติด้วยเพื่อให้การประชุมเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง

อีกหนึ่งตัวช่วยที่ทำให้การประชุมมีประสิทธิภาพและไม่น่าเบื่อ ขอแนะนำ 3 กติกาง่าย ๆ ที่ทำให้ทุกฝ่ายมีความสุขในการประชุม อ่านที่นี่

====

อ้างอิงจาก

1) http://www.nuttaputch.com/5-unproductive-meeting/

2) http://incquity.com/articles/make-meetings-fun

3) http://th.jobsdb.com/th-th/articles

เพื่อให้คุณและคนในทีมมีทักษะในการประชุม การสื่อสาร และการทำงานร่วมกัน ขอแนะนำหลักสูตร Team Communication & Collaboration คลิกที่นี่

เรียบเรียงโดย 

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 094 959 2645

7 เทคนิค เลือกลูกน้องอย่างไรไม่ให้เปลี่ยนงานบ่อย

 สิ่งที่ยากที่สุดสำหรับผู้บริหารคือการคัดสรรคนให้เหมาะกับงาน  ผลประกอบการจะออกมาดีหรือไม่ย่อมขึ้นกับคน

Learning Hub ขอนำเสนอ 7 เคล็ดลับในการเลือกคนให้เข้ากับงาน หรือ “Put the right man on the right job” ฝากให้บรรดาผู้บริหารได้ลองนำไปเป็นไอเดียในการเลือกลูกน้องกันครับ 

====

1.พิจารณาจากงานที่เคยทำ  

งานที่แตกต่างจึงต้องการคนที่แตกต่างกัน 

 Peter  Drucker ปรมาจารย์ด้านการจัดการยุคใหม่ กล่าวว่าหากพนักงานทำงานไม่ดีย่อมเป็นความผิดของผู้บริหาร ไม่ใช่พนักงาน เพราะผู้บริหารเป็นคนเลือกเขามาทำงานเอง ดังนั้นเพื่อป้องกันความผิดพลาด ผู้บริหารจึงต้องใส่ใจกับการเลือกคนให้เหมาะสมกับงาน เขาจึงแนะนำว่าการเลือกคนต้องพิจารณาจากงานที่คนผู้นั้นเคยรับผิดชอบมาก่อน อย่างน้อยก็จากประสบการณ์ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา 

         ยกตัวอย่างเช่น การจะหาผู้จัดการฝ่ายการตลาดสักคน ต้องคิดก่อนว่า หน้าที่ของผู้จัดการคนนี้คืออะไร เพิ่มยอดขาย คิดค้นสินค้าใหม่ หรือเจาะตลาดใหม่

ซึ่งงานแต่ละอย่างมีความแตกต่างกัน    จึงต้องการคนที่มีประสบการณ์แตกต่างกัน ดังนั้นจึงควรเลือกพนักงานที่เคยผ่านงานหรือมีประสบการณ์ที่ใกล้เคียงกับตำแหน่งนั้นมากที่สุด หากคุณสนใจแนวคิดดีๆของ Drucker ผมแนะนำหนังสือชื่อ The Essential Drucker ครับ 

====

 2.อย่ามอบงานใหญ่ให้คนไม่ใหญ่   

กระจายอำนาจการตัดสินใจให้พนักงาน  

         Alfred Sloan อดีตผู้บริหารบริษัท General Motors ผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ให้กับบริษัท    หนึ่งในนั้นคือการปรับวิธีการทำงาน โดยการกระจายอำนาจให้พนักงาน ส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและสามารถแสดงความคิดเห็นได้ 

         ซึ่งเป็นการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในองค์กร  แต่ไม่ได้หมายความว่าพนักงานทุกคนจะมีอำนาจในการตัดสินใจเท่ากันนะครับ  เพราะสำหรับพนักงานใหม่แล้ว   เขาจะยังไม่มอบหมายภาระงานสำคัญให้ เนื่องจากยังอ่อนประสบการณ์ ซึ่งอาจจะนำไปสู่ความผิดพลาดได้    

        เขาจึงมอบหมายให้พนักงานใหม่ทำงานที่มีความชัดเจนสูง คาดการณ์ได้ ส่วนพนักงานที่มีประสบการณ์แล้วเขาจึงเพิ่มอำนาจในการตัดสินใจครับ    

====

3.ถามไถ่คนใกล้ชิด  

ผู้บริหารต้องฟังสิ่งที่คนอื่นคิด  

        Hermann Abs อดีตผู้บริหาร Deutsche Bank มีมุมมองว่า การเลือกใช้คนของผู้บริหารโดยมากตั้งอยู่บนอคติส่วนตัว ทำให้ใช้คนผิดประเภท หรือเลือกแต่งตั้งคนที่ใกล้ชิดมากกว่าคนที่มีความสามารถ  

        เพื่อให้การเลือกคนมีความถูกต้องและผิดพลาดน้อยที่สุด เขาจึงมองว่านอกจากการสอบประวัติของบุคคลที่ต้องการแต่งตั้งแล้ว ผู้บริหารควรจะสอบถามจากเจ้านายเก่า ลูกน้อง หรือเพื่อนร่วมงาน อย่างน้อย 3 – 5 คน เพื่อให้ได้ข้อมูลรอบด้านเพื่อประกอบการเลือกคนที่เหมาะสม

        ดังนั้น “ We need to listen ผู้บริหารจึงต้องรับฟัง” ครับ 

==== 

4.เลือกคนที่เข้าใจงาน  

วิถีของ Apple คือสร้างเอกลักษณ์ให้กับสินค้า  

        Tim Cook ซีอีโอบริษัท Apple ผู้มุ่งมั่นสร้างสรรค์สินค้าเทคโนโลยีขั้นเทพให้กับลูกค้า ดังนั้นหัวใจสำคัญของ Apple จึงอยู่ที่แผนกฮาร์ดแวร์เทคโนโลยี เพราะแผนกนี้จะทำหน้าที่ผลิตชิป ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นสมองของสินค้า ดังนั้นคนที่จะรับบทหนักเช่นนี้ Tim Cook จึงเลือก  Johny Srouji  ทำไมต้องเป็นเขา ? 

        Srouji เคยผ่านงานจากบริษัท Intel และ IBM มาก่อน เรียกได้ว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญการวางระบบชิปเป็นอย่างดี เมื่อเขาเข้าร่วมงานกับ Apple  Srouji มีส่วนอย่างมากในการออกแบบระบบการทำงานของ iPhone และแท็บเล็ตใหม่   ทำให้ระบบการทำงานมีเสถียรภาพและมีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น   

        จึงทำให้  Apple สามารถยืนหยัดแข่งขันกับคู่แข่งได้อย่างมั่นคง ทั้งหมดนี้เป็นเพราะ Tim Cook เลือกคนที่เข้าใจงานทำงานในตำแหน่งที่เหมาะสม

====

 5.เข้าใจคนก่อนใช้คน   

 อย่าให้จุดด่างดำมาบดบังหยกขาว  

         Bob Burg วิทยากรชื่อดังของสหรัฐอเมริกา และเจ้าของหนังสือชื่อ The Go-Giver Leader เป็นกูรูอีกคนหนึ่งด้านการใช้คนครับ แน่นอนครับว่า ทุกคนย่อมมีดีมีเสียแตกต่างกันไป เขาจึงแนะนำครับว่า ควรมองคนจากจุดแข็งก่อนครับ เพราะมูลค่าของงานจะสร้างสรรค์ขึ้นได้จากจุดแข็งของคน  

        จากนั้นจึงพิจารณาจากจุดอ่อนครับ แต่ไม่ใช่คือมีจุดอ่อนแล้วคัดออกนะครับ เพราะเขาแบ่งจุดอ่อนออกเป็น 3 ประเภท คือ     จุดอ่อนที่ไม่เป็นปัญหา จุดอ่อนที่แก้ไขได้ และจุดอ่อนที่เป็นปัญหา  พูดง่ายๆก็คือ หากพนักงานมีจุดอ่อน 2 ประเภทแรก ไม่ถือเป็นปัญหาครับ แต่หากเป็นจุดอ่อนประเภทที่สาม แม้ว่ามีจุดแข็งที่ดีแค่ไหนคงต้องคัดออก  

         เขาได้ยกตัวอย่างวิศวกรที่ทำงานเก่งคนหนึ่ง ซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าแผนก แต่วิศวกรรายนี้ทำหน้าที่ประสานงานได้ไม่ดี แต่งานในตำแหน่งหัวหน้าต้องมีทักษะการประสานงาน

         ดังนั้นจุดอ่อนของเขาถือเป็นประเภทที่สาม เพราะถ้าเขาไม่สามารถประสานงานได้  ก็ไม่อาจแบกรับความรับผิดชอบได้

==== 

 6.เลือกคนจากลักษณะนิสัย   

Judging เหมาะกับงานบัญชี แต่ Perceiving เหมาะกับงานการตลาด  

         โดยทั่วไปลักษณะนิสัยของแต่ละคนมีส่วนอย่างมากต่อผลลัพธ์ของการทำงาน   คนที่ชอบทำงานเป็นขั้นเป็นตอน วางแผนล่วงหน้า ไม่ค่อยครีเอทีฟ เรียกว่า Judging ครับ เหมาะกับการทำงานบัญชีหรือการเงินเพราะเป็นคนละเอียด 

          แต่คนที่ชอบแก้ปัญหาเฉพาะหน้า มีความคิดสร้างสรรค์ ไม่ชอบงานเอกสาร เรียกว่า Perceiving เหมาะกับงานการออกแบบหรือการตลาดครับ ยกตัวอย่างเช่น บริษัท Target ถูกโจรกรรมข้อมูล บริษัทสูญเสียความเชื่อมั่น ผู้ถือหุ้นจึงเลือก John Mulligan ดำรงตำแหน่งเป็นรักษาการ CEO แทน CEO คนเก่าที่ขาดความน่าเชื่อถือไปแล้ว

          เหตุที่เลือกเขาเพราะเขาเป็นรองประธานฝ่ายการเงินหลายปี ทำงานละเอียด หรือก็คือเป็นคนประเภท Judging ซึ่งเหมาะที่จะเข้ามาประเมินความเสียหายและฟื้นฟูสถานะทางการเงินภายหลังถูกโจรกรรมข้อมูล  

====

 7.ต้องเป็นที่ยอมรับ 

เลือกคนที่เป็นที่ยอมรับ ย่อมทำงานได้ราบรื่น  

         เทคนิคนี้ผมได้บทเรียนจากประธานาธิบดีโอบามาครับ   เมื่อครั้งโอบามารับตำแหน่งประธานาธิบดีใหม่ๆ เสียงวิพากษ์ดังขรมว่า โอบามาขาดประสบการณ์ด้านการต่างประเทศ เมื่อเป็นเช่นนี้การประสานงานกับรัฐสภาจะเป็นไปได้ด้วยความยากลำบากมาก  

         คงไม่มีใครให้ความร่วมมือกับเด็กอ่อนอย่างโอบามาแน่  ดังนั้นโอบามาจึงดึง โจเซฟ ไบเดน เข้ามาเป็นรองประธานาธิบดี ซึ่งจะเขาเคยเป็นกรรมาธิการด้านต่างประเทศถึง 9 สมัย

         ด้วยประสบการณ์ชั้นเซียนเช่นนี้ ย่อมกลบจุดอ่อนของโอบามาได้เป็นอย่างดี และความน่าเชื่อถือและการยอมรับย่อมเพิ่มขึ้น  

====

         แม้ว่าคุณจะเรียนรู้เทคนิคการใช้คนทั้ง 7 ข้อไปแล้วก็ตาม แต่ความผิดพลาดย่อมเกิดขึ้นได้ แต่หากเราใช้คนผิดพลาด เราก็ควรยอมรับความจริง และเปลี่ยนคนใหม่ให้เร็วที่สุด ไม่เช่นนั้นอาจจะสร้างความเสี่ยงให้กับองค์กรได้   เพราะ Misfit is cruel to an organization.    

ที่มา  The Eessential Drucker: Peter Drucker author  

ต่อให้คุณสามารถเลือกลูกน้องได้เป็นอย่างดีจนได้คนที่ไม่เปลี่ยนงานง่าย ๆ แล้วก็ตาม แต่ถุ้าคุณไม่บริหารลูกน้องให้ดีพวกเขาก็อาจจากไปได้เสมอ เรียนรู้และฝึกฝน 3 เทคนิคในการยอมรับและชื่นชมลูกน้อง คลิกที่นี่

หนึ่งในทักษะสำคัญที่ช่วยเพิ่มศักยภาพให้แก่ลูกน้องได้คือการ Coaching และให้ Feedback  ซึ่งคุณสามารถเรียนรู้และฝึกฝนได้จากหลักสูตร High Impact Coaching and Positive Feedback คลิกที่นี่

 

เรียบเรียงโดย 

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 094 959 2645

5 เทคนิครับมือกับเพื่อนร่วมงานเจ้าปัญหา

ในชีวิตของคนเราต้องพบเจอกับผู้คนมากมายหลายประเภท บางคนคอยช่วยเหลือและสนับสนุนให้เราทำสิ่งต่างๆให้สำเร็จ

ในทางตรงกันข้าม ก็มีบางคนที่คอยกลั่นแกล้ง ขัดขวาง เอาเปรียบ ใส่ร้ายป้ายสี มองโลกในแง่ลบ และทำให้เราหมดกำลังใจที่จะไล่ตามความฝัน

ซึ่งเราให้คำนิยามกับคนประเภทนี้ว่าเป็น “มนุษย์เจ้าปัญหา” หรือ  “เพื่อนร่วมงานเจ้าปัญหา”

เพื่อนร่วมงานเจ้าปัญหา คือ คนที่มักทำให้คนรอบข้างเกิดความยุ่งยาก หงุดหงิด รำคาญใจ และบางทีอาจทำให้ผู้อื่นเสียหายได้

====

พวกเขาอาจเป็นเจ้านาย ลูกน้อง ลูกค้า เพื่อน หรือคนในครอบครัวของคุณ ซึ่งวิธีที่ง่ายที่สุดเมื่อเจอกับคนเหล่านี้ก็คือ การเดินหนี หรือไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วย

อย่างไรก็ตามวิธีนี้ควรเป็นทางเลือกสุดท้าย เพราะหลายครั้งคุณอาจตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่อาจวิ่งหนีปัญหาได้ ยิ่งไปกว่านั้น บางครั้งคุณจำเป็นต้องรักษาความสัมพันธ์อันดีกับคนเหล่านี้ด้วย เพราะฉะนั้น คุณจึงควรเรียนรู้วิธีการรับมือกับเพื่อนร่วมงานเจ้าปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ

1) อย่าเกลียดชัง แต่จงขอบคุณมนุษย์เจ้าปัญหา

เมื่อคุณเจอกับมนุษย์เจ้าปัญหา คุณอาจรู้สึกโกรธ เกลียดชัง หรือท้อแท้สิ้นหวัง ความรู้สึกในแง่ลบเหล่านี้เป็นสิ่งที่คุณควรก้าวข้ามและผ่านมันไปให้ได้ เพราะมันเป็นตัวบ่อนทำลายความสุขของคุณ

วิธีการที่ดีที่สุดก็คือ คุณควรเปลี่ยนทัศนคติ โดยคิดว่าพวกเขาเป็นสิ่งที่ท้าทายในชีวิต

กล่าวคือ คุณควรคิดว่าการใช้ชีวิตหรือการทำงานกับคนเจ้าปัญหาเป็นบททดสอบหนึ่ง ซึ่งสิ่งนั้นจะทำให้คุณกลายเป็นคนที่แข็งแกร่งขึ้น

ด้วยเหตุนี้ คุณจึงควรขอบคุณพวกเขาที่ทำให้คุณรู้จักความอดทนอดกลั้น และได้พัฒนาตนเอง

วิธีการนี้ดูเหมือนว่าเป็นวิธีการที่ยาก แต่มันเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะหากคุณสามารถจัดการกับความรู้สึกของตนเองได้ คุณก็จะสามารถรับมือกับมนุษย์เจ้าปัญหาได้เช่นกัน

====

2) ใช้มนุษย์เจ้าปัญหาเป็นตัวกระตุ้นสิ่งดีๆในตัวคุณ

อีกหนึ่งวิธีในการรับมือกับมนุษย์เจ้าปัญหาก็คือ การใช้สิ่งเลวร้ายที่พวกเขาทำเป็นแรงผลักดันให้คุณก้าวไปข้างหน้า

ยกตัวอย่างเช่น ในขณะที่คุณกำลังนั่งทำงานอย่างหนัก เพื่อนร่วมงานของคุณได้นั่งจับกลุ่มนินทาและพูดคุยเรื่องไร้สาระทั้งวัน

แน่นอนว่าหากคุณเจอกับสถานการณ์เช่นนี้ คุณต้องอารมณ์เสีย หงุดหงิด และไม่พอใจเป็นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตาม คุณไม่ควรปล่อยให้ตัวเองจมกับความคิดด้านลบเหล่านั้น

สิ่งที่คุณควรทำก็คือ การเปลี่ยนความรู้สึกแย่ๆให้กลายเป็นพลังเชิงบวก

ให้คุณคิดซะว่ามันไม่ใช่เรื่องของคุณ ดังนั้นคุณจึงไม่ควรเสียเวลาหรือใส่ใจกับการกระทำของคนเหล่านั้น และจงปล่อยให้พวกเขาทำต่อไปเพราะคุณไม่สามารถเปลี่ยนแปลงพวกเขาได้สำหรับตัวคุณเองก็ควรมุ่งมั่นตั้งใจสร้างสรรค์สิ่งดีๆ พัฒนาตนเอง และใช้อุปสรรคทั้งหลายเป็นตัวกระตุ้นไฟในตัวคุณ

====

3) ใช้เวลากับพวกเขาให้มากขึ้น

แทนที่คุณจะวิ่งหนีปัญหา ให้คุณลองเปลี่ยนแนวทางดูบ้าง กล่าวคือ คุณอาจลองเข้ากลุ่ม หรือใช้เวลากับพวกมนุษย์เจ้าปัญหาให้มากขึ้น

แม้วิธีการนี้อาจทำให้คุณรู้สึกว่ากำลังบีบบังคับจิตใจตนเองก็ตาม แต่การคลุกคลีและร่วมทำกิจกรรมต่างๆกับคนเหล่านี้จะทำให้พวกเขาเปิดใจและยอมรับคุณมากขึ้น

ในขณะเดียวกัน ก็จะทำให้คุณรู้จักและเข้าใจพวกเขามากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งวิธีนี้อาจทำให้คุณทราบว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้พวกเขามีพฤติกรรมในการสร้างปัญหาหรือก่อความวุ่นวายให้กับคนรอบข้างตลอดเวลา

ทั้งนี้ เมื่อคุณเข้าใจพวกเขามากขึ้น คุณอาจได้ปรับมุมมองหรือทัศนคติของคุณที่มีต่อพวกเขาก็เป็นได้ และคุณก็จะสามารถควบคุมอารมณ์และจิตใจตนเองได้มากขึ้นเช่นกัน

สิ่งนี้จะช่วยให้คุณสามารถใช้ชีวิตอยู่กับมนุษย์เจ้าปัญหาได้อย่างเข้าใจ และราบรื่นยิ่งขึ้น

====

4) ตั้งเป้าหมายของตัวคุณเอง

การตั้งเป้าหมายเป็นหนึ่งในวิธีการรับมือกับคนเจ้าปัญหาพร้อมๆกับการพัฒนาตนเอง กล่าวคือ ให้คุณลองตั้งเป้าหมายของตนเองที่เกี่ยวกับการรับมือกับมนุษย์เจ้าปัญหา

เช่น หากฉันเจอกับคนขี้บ่น ก้าวร้าว ซุบซิบนินทา ฉันจะต้องไม่รู้สึกแย่ หงุดหงิด หรือหมดกำลังใจ นอกจากนี้ ฉันจะพยายามเปลี่ยนแปลงทัศนคติของคนเจ้าปัญหาให้ได้ เป็นต้น

คุณอาจตั้งเป้าหมายเล็กๆก่อน และค่อยๆขยับเป้าหมายให้สูงขึ้นเรื่อยๆ วิธีการนี้จะทำให้คุณรู้สึกท้าทาย และเห็นว่าการรับมือกับคนเหล่านี้เป็นเรื่องสนุก ทั้งยังช่วยให้คุณมีโอกาสในการพัฒนาตนเองอีกด้วย

กล่าวคือ หากคุณอดทนกับคนเจ้าปัญหาและยังสามารถทำงานร่วมกับเขาได้ ก็จะทำให้คุณเป็นคนใจเย็นขึ้น ใจกว้างขึ้น และอดทนมากขึ้น

====

5) พยายามทำความเข้าใจและช่วยเหลือมนุษย์เจ้าปัญหา

บางคนอาจเป็นมนุษย์เจ้าปัญหาด้วยเหตุผลบางประการ ยกตัวอย่างเช่น บางคนเผชิญกับสิ่งเลวร้ายในชีวิตหรือมีปัญหาทางร่างกาย จิตใจ หรืออารมณ์ และสิ่งเลวร้ายเหล่านั้นจึงส่งผลต่อพฤติกรรมการแสดงออกของพวกเขาจนทำให้เป็นมนุษย์เจ้าปัญหาในปัจจุบัน

เพื่อเป็นการช่วยให้พวกเขามีพฤติกรรมที่พึงประสงค์มากขึ้น คุณควรปฏิบัติต่อเขาอย่างที่คุณต้องการให้เขาปฏิบัติต่อคุณ

อย่างไรก็ตาม คุณอาจต้องทำใจยอมรับว่า เขาอาจปฏิบัติต่อคุณได้ไม่ดีเท่าที่คุณปฏิบัติต่อเขา นั่นเป็นเพราะปมปัญหาที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ดังนั้น คุณควรให้เวลากับพวกเขา พยายามทำความเข้าใจ และช่วยเหลือพวกเขาเมื่อมีโอกาสด้วย

บางครั้งมนุษย์เจ้าปัญหาก็มีมากกว่าหนึ่ง และในหลายครั้งพวกเขาก็เป็นต้นเหตุสำคัญของความขัดแย้งด้วย เรียนรู้วิธีจัดการความขัดแย้งในทีมฉบับฉุกเฉิน คลิกที่นี่

====

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากพัฒนาทักษะการทำงานร่วมกับมนุษย์เจ้าปัญหา แก้ไขความขัดแย้งในทีมและพัฒนาให้ทีมร่วมมือร่วมใจกันทำงานได้ดียิ่งขึ้น ขอแนะนำหลักสูตร Team Communication & Collaboration คลิกที่นี่

Source: http://www.lifehack.org/312503/encountered-difficult-people-and-wanna-escape-you-should-deal-with-them-these-5-ways

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 094 959 2645

วิธีจัดการความขัดแย้งในทีมฉบับฉุกเฉิน

วิธีจัดการความขัดแย้งในทีมฉบับฉุกเฉิน

ในฐานะผู้นำที่ต้องบริหารคน ไม่ว่าจะอย่างไรคุณก็ต้องเจอกับปัญหาความขัดแย้งเข้าสักวัน

แต่ก่อนจะคิดหาทางแก้ไข คุณต้องเริ่มจากการวินิจฉัยปัญหาเสียก่อนว่ามันเป็นปัญหาใหม่เกิดขึ้นสด ๆ ร้อน ๆ หรือ ปัญหาเรื้อรังมาระยะหนึ่งแล้ว

====

สำหรับปัญหาสด ๆ ร้อน ๆ (Hot Conflict) แต่ละฝ่ายจะยังเต็มไปด้วยอารมณ์คุกรุ่น อาจมีการพูดจาโหวกเหวก โวยวายเสียงดัง บางครั้งอาจสัมผัสได้ถึงความหยาบคายหรือการข่มขู่คุกคามที่ดูเหมือนควบคุมได้ยาก

ส่วนปัญหาเรื้อรัง (Cold Conflict) แต่ละฝ่ายจะผ่านช่วงอารมณ์รุนแรงไปสักพักแล้ว แต่มีความไม่ชอบหน้ากันที่สะสมมาอย่างต่อเนื่อง ปฏิริยาที่เกิดขึ้นมีทั้งการบ่นพึมพำใส่กัน ทำปากขมุบขมิบประชดประชัน แซว หรือเบ้ปากใส่กัน มีการเลี่ยงการประสานงานหรือทำงานร่วมกัน ไปจนถึงดูเย็นชาต่อกัน
====

ถ้าเป็นปัญหาสด ๆ ร้อน ๆ คุณจะต้องทำตรงข้ามกับสภาพที่เกิด คือจะต้องทำให้บรรยากาศเย็นลง (cool it down) เพื่อจะได้ไม่เกิดความรุนแรงและเป็นการเรียกสติกลับมา

การนำคู่ขัดแย้งมาเคลียร์กันจะต้องมีกติกาที่ชัดเจน และต้องแน่ใจว่าทั้งสองฝ่ายเต็มใจที่จะแก้ปัญหา คุณต้องให้โอกาสแต่ละฝ่ายได้พูดมุมมองและความรู้สึกของตนเอง เพื่อสร้างความไว้วางใจต่อกัน
====

ส่วนปัญหาเรื้อรัง คุณจะต้องรื้อปัญหานั้นกลับมาให้ร้อนขึ้นอีกครั้ง (warm it up) เพื่อให้ต่างฝ่ายกลับไประลึกถึงต้นตอของเรื่อง หวนไปหาความรู้สึกตอนนั้น

เพราะปัญหาก็เหมือนกับการปรุงอาหาร คุณจะต้องทำให้มันอยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดเพื่อที่คุณจะสามารถจัดการได้ง่ายที่สุด สำคัญที่สุดคือการให้ความเป็นธรรมในการพูดของแต่ละฝ่าย

สิ่งที่คุณต้องจำไว้ก็คือ เป้าหมายหลักของการจัดการความขัดแย้ง ไม่ใช่การประนีประนอมอย่างที่หลายคนคิดกัน

แท้จริงแล้วสิ่งที่ดีที่สุดคือการทำให้ทั้งสองฝ่ายกลับมาสานสัมพันธ์จนเกิดความไว้วางใจกันอีกครั้งหนึ่ง นำไปสู่การหาหนทางใหม่ ๆ ในการแก้ปัญหาเพื่อทำงานร่วมกัน
====

ต่อไปนี้ คือคำแนะนำในกรณีที่คุณกำลังตกอยู่ในสถานการณ์ความขัดแย้งกับใครก็ตาม จงทำตามนี้

1.อย่ารีบร้อน

คุมสถานการณ์ให้ดี อย่างแสดงออกผลีผลาม มิเช่นนั้นคุณออาจจะเสียใจไปตลอดกาล

2.วางเป้าหมายให้ชัดว่าต้องการให้สถานการณ์นี้จบแบบไหน

กำหนดเป้าหมายโดยไม่วอกแวกกับสิ่งอื่นที่เข้ามา

3.อย่าชี้นิ้วใส่หน้าใครหรือพุ่งเป้าไปที่ชื่อของคน

ให้สนใจที่ตัวปัญหามากกว่าตัวบุคคล

4.อย่าเป็นพวก ‘คนดีขี้ตัดสิน’

จงเปิดใจให้กว้างต่อความแตกต่างระหว่างคุณกับเขาเอาไว้เสมอ

5.รับฟังทุกอย่าง

แต่จงฟังอย่างมีประเด็น

หนึ่งทักษะการฟังที่ช่วยบริหารจัดการความขัดแย้งได้ดีคือ Active Listening ทักษะการฟังที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้คนในทีม อ่านและศึกษาเพิ่มเติมที่นี่

====

6.อย่าเพิ่งด่วนสรุปอะไรทั้งหมดจนกว่าทั้งสองฝ่ายจะได้แสดงออก

7.ลองหาบุคคลที่ 3 ที่ไม่ได้อยู่ฝ่ายไหนมาแชร์มุมมองของเขา

8.อย่าปัดป้องตัวเองเกินไป

ให้คู่กรณีเข้าถึงมุมมองเราในฐานะมนุษย์เหมือนกัน

9.เช็คอุณหภูมิความขัดแย้งเป็นระยะ ๆ

ถ้ายังไม่ดีก็หาทางประวิงเวลามาคุยกันอีกครั้งตอนที่อารมณ์เย็นลงกว่าเดิมอีกนิด

10.อย่าลืมเอาใจเขามาใส่ใจเรา

สุภาพเอาไว้เสมอ และอยากให้เขาทำอย่างไรกับเรา ก็จงทำกับคนอื่นเช่นนั้นด้วยเช่นกัน จำไว้ว่าคุณต้องรักษาความเห็นอกเห็นใจกันและกันเอาไว้

อย่าลืมว่า ‘การจัดการกับปัญหา’ เป็นการทำให้คุณและคนอื่น ๆ เห็นตัวตนของคุณได้ชัดขึ้นนั่นเอง

====

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากแก้ไขความขัดแย้งในทีมและพัฒนาให้ทีมร่วมมือร่วมใจกันทำงานได้ดียิ่งขึ้น ขอแนะนำหลักสูตร Team Communication & Collaboration คลิกที่นี่

เรียบเรียงจาก “To Resolve a Conflict, First Decide: Is It Hot or Cold?” โดย Mark Gerzon จาก Harvard Business Review 26 มิถุนายน 2014

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 094 959 2645

3 กติกาง่าย ๆ ที่ทำให้ทุกฝ่ายมีความสุขในการประชุม

3 กติกาง่าย ๆ ที่ทำให้ทุกฝ่ายมีความสุขในการประชุม

ปัญหาในการประชุมสำหรับทีมของคุณคืออะไร?

มีคนที่แตกต่างหลากหลาย ทั้งหัวหน้า คนพูดเยอะ และคนไม่ค่อยพูด (หรือไม่พูดเลย) ซึ่งความแตกต่างเหล่านี้แหล่ะที่อาจสร้างปัญหาในห้องประชุมได้  

ประเด็นสำคัญสำคัญในการประชุมก็คือ ทุกคนที่ถูกเชิญเข้าร่วมประชุม ควรจะมีบทบาทต่อหัวข้อที่ต้องการความคิดเห็นและการตัดสินใจ คำถามก็คือจะทำอย่างไรให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการประชุมได้อย่างแท้จริงโดยที่ทุกคนรู้สึกพึงพอใจ ไม่มีใครรู้สึกว่าถูกบังคับ ถูกครอบงำ หรือถูกเรียกเข้ามาให้เป็นตรายางรับรองการประชุมเฉย ๆ

====

‘Tsedal Neeley’  นักเขียนของ Harvard Business Review ออกแบบการประชุมโดยกำหนดว่าควรจะมีกฎ 3 ข้อสำหรับคน 3 แบบ เพื่อที่จะให้การตัดสินใจต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้น มีประสิทธิภาพสูงที่สุด

1.กฎสำหรับหัวหน้าทีม

สิ่งที่คนกลุ่มนี้ต้องท่องเอาไว้ก็คือ สร้างสมดุลในการประชุม ทำให้ทุกคนมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียม คอยดูว่าแต่ละคนที่มีส่วนร่วมนั้น มีบทบาทมากไหน รับฟังกันหรือเปล่า และได้มีโอกาสพูดอย่างทั่วถึงและเหมาะสมหรือไม่ 

หากพบว่าใครพูดน้อยหรือไม่พูดเลย ก็ควรจะขอให้คนนั้นได้กล่าวอะไรสักหน่อย ถ้าเจอคนที่พูดไม่คล่องนักก็ต้องคอยช่วยเหลือ ช่วยเสริมประเด็น หรือซักถามให้เคลียร์ 

หน้าที่สำคัญอีกอย่างก็คือ คอยสรุปและจับใจความสิ่งที่สมาชิกในที่ประชุมพูดออกมา ถ้ามีอะไรที่ไม่ชัดเจนก็ต้องทำให้กระจ่างชัดที่สุดด้วย

บางครั้งการเป็นหัวหน้าที่พูดเยอะเกินไปหรือพูดอย่างไม่ระวังก็อาจทำให้ทีมพังได้ อ่าน ระวัง! คุณอาจเป็นหัวหน้าที่พูดจนทีมพัง  คลิกที่นี่ 

====

2.กฎสำหรับคนที่พูดคล่องหรือพูดเยอะ 

สิ่งที่ต้องจำเอาไว้ก็คือ อย่าครอบงำคนอื่นมาก ไม่งั้นอาจจะทำให้เกิดบรรยากาศที่ชวนหมั่นไส้ได้  สิ่งที่ควรปฏิบัติก็คือ ใช้ภาษาที่เข้าใจได้ง่ายไม่ว่าใครก็รู้เรื่อง อย่าเล่นศัพท์เทคนิคหรือสลับภาษาไปมาจนน่าเวียนหัว ควรลดจังหวะการพูดให้ช้าลงสักหน่อย ไม่งั้นยิ่งพูดจะยิ่งมัน จึงยิ่งดังและยิ่งเร็ว

ถ้าอยากให้เกิดบรรยากาศที่ดี อย่าเสนอตัวพูดไปหมดทุกเรื่อง ลองฝึกที่จะตั้งใจฟังคนอื่นพูดบ้าง และที่สำคัญ คอยถามคนอื่น ๆ ว่าเข้าใจและเคลียร์ในสิ่งที่คุณสื่อสารออกไปหรือไม่

====

3.กฎสำหรับคนที่พูดไม่เก่งหรือไม่พูด

สิ่งที่ควรจดจำก็คือ หาทางมีส่วนร่วม เพื่อให้การประชุมสมบูรณ์ คุณควรจะหาทางพูดหรือแสดงความคิดเห็นออกมาบ้าง ถ้าการประชุมนั้นเปิดโอกาสให้พูดแบบเวียนไปเรื่อย ๆ เมื่อถึงคิวก็อย่าหลีกเลี่ยงหรือลุกหนีไปเข้าห้องน้ำ 

อย่าหลุดไปใช้ภาษาส่วนตัวหรือภาษาท้องถิ่น คอยหมั่นถามคนอื่นเวลาที่พูดเสร็จว่าเข้าใจในสิ่งที่เราสื่อสารหรือไม่ เคล็ดลับอีกอย่างสำหรับการมีส่วนร่วมโดยไม่ต้องมีทักษะการพูดที่ดีมากก็คือการฟังแล้วถามในกรณีที่ไม่เข้าใจ หรืออยากจะให้คนพูดอธิบายเพิ่มเติมเพื่อความกระจ่าง

เพียงทำตามกฎ 3 ข้อเท่านี้ก็จะทำให้การประชุมออกมาราบรื่น สร้างการมีส่วนร่วมของทุกคน และผลลัพธ์ออกมาเป็นที่น่าพอใจสำหรับสมาชิกอย่างแน่นอน

เพื่อให้คุณและคนในทีมมีทักษะในการประชุม การสื่อสาร และการทำงานร่วมกัน ขอแนะนำหลักสูตร Team Communication & Collaboration คลิกที่นี่

=====

เรียบเรียงจาก “Global teams that work” โดย Tsedal Neeley จาก Harvard Business Review ตุลาคม 2015

เรียบเรียงโดย Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

ร่วมงานกันอย่างไร ไม่ให้หมดไฟไปเสียก่อน

ร่วมงานกันอย่างไร ไม่ให้หมดไฟไปเสียก่อน

ว่ากันว่าเหนื่อยกับงานไม่เท่าไหร่ แต่เหนื่อยกับคนนี่สิที่ถือเป็น ‘ที่สุดแห่งความเหนื่อย’

และหากต้องทำงานที่ต้องเจอกับคนหลากหลายประเภท (หรือจะเรียกว่า ร้อยพ่อพันแม่) ความกดดันและตึงเครียดก็ยิ่งถาโถมมากขึ้นหลายเท่า

====

การทำงานในปัจจุบันไม่ได้หมกตัวอยู่แค่ในออฟฟิศ แต่มีการกระจายตัวไปหลายที่ มีโมเดลการทำงานใหม่ ๆ ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด ความสลับซับซ้อนในการทำงานเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ยังทำให้มีการทำงานเกิดขึ้นแทบจะตลอดเวลาอีกด้วย

การวิจัยเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันพบว่า คนยุคนี้ต้องปรับตัวกับวัฒนธรรมองค์กร เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ ทำตามคำบัญชาของเจ้านาย รับมือกับลูกค้าเอาแต่ใจ ไปจนถึงเพื่อนร่วมงานที่ไม่ค่อยเข้าท่า

ทั้งหมดนี้ ทำให้คนทำงาน “รับมือไม่ไหว” และสะสมจนเกิดอาการที่เรียกว่า Burn Out (ภาวะหมดไฟ)จากการทำงานมากขึ้น

และต่อไปนี้คือแนวทางความเข้าใจและหนทางแก้ไข
====

‘หนักเกินเหตุ’ สองรูปแบบที่คุณต้องรู้

การทำงานหนักเกินเหตุมี 2 รูปแบบที่ทำให้คนทำงานถึงขั้นร่างสลายได้ แบบแรกเรียกว่า ‘เห็นผลทันตา’ ส่วนแบบที่สองเรียก ‘สะสมเรื้อรัง’

การทำงานจัดหนักเพื่อให้เห็นผลทันตา มักจะเกิดขึ้นเมื่อต้องทำงานกับคนอื่น ๆ โดยต้องเพิ่มปริมาณงานมากกว่าปกติ ประเภทมีงานด่วนที่ต้องทุ่มเวลาทั้งสัปดาห์จนไม่ได้หลับไม่ได้นอน
คุณต้องทำเพราะไม่อยากจะได้ชื่อว่ากลายเป็นคนนอกกลุ่มหรือไม่ให้ความร่วมมือ

และลึก ๆ คุณก็อยากจะได้รางวัลตอบแทน เช่น ได้เลื่อนขั้นด้วย ฉะนั้น หากเจ้านายขอคุณก็ต้องทำ หากเพื่อนบอกคุณก็ต้องช่วย ในขณะที่คุณก็ยังมีงานตามหน้าที่อยู่ด้วย

รูปแบบสะสมเรื้อรังนั้นน่ากลัว เพราะไม่ใช่การที่จู่ ๆ คุณก็ถูกกระชากมาทำงานโหดอย่างฉับพลัน แต่เป็นการค่อย ๆ สะสม ค่อย ๆ เพิ่มพูน ค่อย ๆ ขยายตัวมากขึ้นเรื่อย ๆ จากทำงานของตัวเองคนเดียวจะเริ่มรับผิดชอบมากขึ้น มีคนมาเกี่ยวข้องมากขึ้น สะสมเครือข่ายการทำงานไม่สิ้นสุด

รู้ตัวอีกทีคุณก็อาจจะกลายเป็นคนที่ทำงานทั้งวันทั้งคืน ใครทำอะไรคุณก็โผล่ไปช่วยทุกอย่าง จนร่างกายเริ่มพัง จิตใจเริ่มเสื่อมสลาย มีอาการห่อเหี่ยวซึมเศร้าสะสมในตัวเอง

การนอนหลับพักผ่อนให้ถูกต้องคือวิธีการสำคัญที่ช่วยในเรื่องนี้ได้ มีงานวิจัยจำนวนมากยืนยันว่าคนที่นอนไม่ดีมีโอกาส Burn out มากกว่าปกติสามเท่า อ่าน 3 เทคนิคเพิ่มประสิทธิภาพการนอนเพื่อชีวิตที่ Productive มากขึ้น คลิกที่นี่
====

ทำไมเป็นคนแบบนี้

พฤติกรรมทำงานให้ส่วนรวมแบบจัดหนักเกินไปมักเกิดจากความต้องการสร้างชื่อเสียงให้คนรู้ รวมถึงต้องการลดความตึงเครียดในการทำงานร่วมกัน (เพราะเมื่อมีการปฏิเสธ คนก็จะเริ่มทำหน้าตึง คิ้วขมวดใส่กัน)

หรือบางที อาจจะมาจากนิสัยเต็มใจทำเพื่อส่วนรวมมากเกินไป โดยไม่ได้ยั้งคิดว่ามันทำลายสุขภาพของตัวเอง

การรับมือกับภาวะช่วยงานมากเกินต้องเริ่มต้นจากการรู้ก่อนว่า ทำไมคุณถึงจะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการทำงานนั้น หรือทำไมคุณถึงเข้าไปช่วยทำงานของส่วนรวม เมื่อไตร่ตรองให้รอบคอบเพื่อค้นหาที่มาที่ไปจะทำให้คุณเริ่มเข้าใจสาเหตุที่แท้จริง

และนั่นคือจุดเริ่มต้นคือการปรับทัศนคติของตัวเองก่อน
====

ทำอย่างไรให้งานส่วนรวมไม่ทำร้ายเรา

การปฏิเสธให้เป็น ถือเป็นก้าวแรกในการรับมือกับนิสัยทำงานส่วนรวมมากเกินไป ไม่ใช่เรื่องน่าอายหรือทำลายสังคมแม้แต่น้อยหากจะบอกคนอื่นว่า เราไม่อาจทำงานนั้นได้ด้วยเหตุผลที่น่ารับฟัง แถมเรายังได้ความรู้สึกมั่นใจและเคารพตัวเองกลับคืนมาอีกด้วย

ถัดมา คือการปรับบทบาทหน้าที่ ตารางงาน และเครือข่ายการทำงาน เพื่อไม่ให้คุณต้องตกอยู่ในวงล้อมของการทำงานส่วนรวม และลดการทำงานร่วมกับคนอื่นๆ ที่ไม่มีความจำเป็นออกไปให้หมด เรียกกระบวนการนี้ว่า การปรับภูมิทัศน์การทำงานของตัวเอง

เพื่อไม่ให้เสี่ยงต่อการเผลอไปรับปากทำงานส่วนรวมที่ไม่สำคัญสำหรับคุณ รวมถึงปรับวิธีประสานงานให้เกิดผลดีกับตัวเอง บางอย่างใช้ reply all บางอย่างใช้ cc ในการตอบอีเมล์ เพื่อให้ภาระไม่ตกอยู่กับคุณในตอนท้าย

วิธีการทั้งหมดนี้ จะทำให้คุณสามารถทำงานได้อย่างมีความสุข ไม่ทุกข์ทรมานกับการต้องร่วมงานกับคนมากๆ หรือรับงานส่วนรวมมาใส่ตัว และท้ายที่สุด คุณจะสามารถหลีกเลี่ยงอาการเหนื่อยเกินทน หรือภาวะหมดไฟได้อีกด้วย

====

การสร้างความสัมพันธ์ภายในทีมต้องมี  Mindset และทักษะมากมายที่คุณจำเป็นต้องเรียนรู้และฝึกฝน ขอแนะนำหลักสูตร High Impact Coaching and Feedback  คลิกอ่านรายละเอียดที่นี่

เขียนโดย

เรียบเรียงจาก “Collaboration Without Burnout” โดย Rob Cross, Scott Taylor, and Deb Zehner จาก Harvard Business Review กรกฎาคม ถึง สิงหาคม 2018

เรียบเรียงโดย

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Ads, Google Analytics

    Statistics

  • Google Analytics

    Statistics

  • Facebook

    Marketing/Tracking

  • ActiveCampaign

    Functional

  • ActiveCampaign

    Marketing/Tracking

Save