3 เคล็ดลับที่การเรียนรู้ช่วยให้คุณประสบความสำเร็จได้มากขึ้น

การเรียนรู้เป็นสิ่งที่ดี มีคุณค่า และให้ประโยชน์แก่ผู้เรียนมากมาย เช่น ทำให้เป็นคนเก่งขึ้น ฉลาดขึ้น ทันคนขึ้น ทำอะไรได้หลายอย่างมากขึ้น ทำให้การดำเนินชีวิตดีขึ้นและง่ายขึ้น เป็นต้น

ทว่า หากพูดถึง “การเรียนรู้” คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าการเรียนรู้ถูกจำกัดอยู่แต่ในสถานศึกษา และวัยที่เหมาะสมในการเรียนรู้ คือ วัยเด็กและวัยรุ่นเท่านั้น ซึ่งนั่นเป็นความเข้าใจผิด

เพราะการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ตลอดชีวิต เราสามารถแสวงหาความรู้ และพัฒนาตนเองได้ตลอดเวลา การเรียนรู้ไม่มีรูปแบบตายตัว ปราศจากกฎเกณฑ์หรือข้อกำหนดเรื่องเวลาและสถานที่ กล่าวคือ คนเราสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต

====

หากเปรียบชีวิตของคนเราเป็นดังต้นไม้ใหญ่ ปุ๋ยที่ดีที่สุดของคนเรา คือ การเรียนรู้ เพราะหากเราหยุดที่จะเรียนรู้ ชีวิตก็จะหยุดเติบโตเปรียบเสมือนต้นไม้ที่ไร้ใบ คือ ไม่มีคุณค่า และไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใดแก่สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในบริเวณนั้น ดังนั้น การเรียนรู้ตลอดชีวิตจึงมีความสำคัญมาก และเราทุกคนควรที่จะตระหนัก ปลูกฝังจิตใจและนิสัยให้รักการเรียนรู้ตลอดชีวิต

บทความนี้จะเปิดเผย 3 ปัจจัยหลักที่ทำให้คนเรามีแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ ทำมันอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นคนที่ชอบเรียนรู้ตลอดชีวิต

====

1.รู้เหตุผล และความสำคัญของการเรียนรู้

หากผู้เรียนเข้าใจถึงประโยชน์และความสำคัญของการเรียนรู้แล้ว ย่อมจะทำให้เกิดแรงจูงใจและทำให้การเรียนรู้เป็นไปได้ง่ายขึ้น การเรียนรู้มีประโยชน์มากมาย เช่น ช่วยให้คุณพัฒนาตนเอง ทำให้คุณมีความคิดใหม่ๆ และสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตของคุณได้ ดังนั้น เราจึงควรให้ความสำคัญกับสิ่งนี้สูงสุด

การเรียนรู้ คือ กระบวนการเพิ่มพูนและพัฒนาความรู้ความสามารถ ความคิด สติปัญญา ทักษะ ประสบการณ์ รวมถึงพฤติกรรมของผู้เรียนให้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆได้จากการเห็น การฟัง การอ่าน จากข้อผิดพลาดของตนเองและผู้อื่น เป็นต้น

บุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์หลายท่านได้กล่าวถึงความสำคัญของการเรียนรู้ไว้ ดังนี้

  • อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ กล่าวว่า “การพัฒนาทางสติปัญญาควรจะเริ่มเมื่อแรกเกิด และจะหยุดเมื่อชีวิตสิ้นสุดเท่านั้น”
  • เฮนรี่ ฟอร์ด กล่าวว่า “ใครก็ตามที่หยุดเรียนรู้ เขาจะกลายเป็นคนแก่ชรา ไม่ว่าเขาจะมีอายุ 20 หรือ 80 ปี แต่หากผู้ใดยังมีใจใฝ่เรียนรู้ เขาจะยังคงเป็นหนุ่มสาวเสมอ”
  • เอิร์ล ไนติงเกล กล่าวว่า “เมื่อคุณหยุดที่จะเรียนรู้ คุณก็เหมือนคนที่ตายแล้ว เพราะคุณจะเหลือเพียงร่างกายอันโดดเดี่ยวและเหี่ยวแห้ง”
  • อับราฮัม ลินคอร์น กล่าวว่า “สิ่งที่ฉันได้เรียนรู้ทั้งหมด มาจากการอ่านหนังสือ”
  • จอห์น อดัมส์ กล่าวว่า “ฉันจดจ่อกับการอ่านหนังสือ และอ่านไม่เคยพอ ยิ่งคนเราอ่านมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งรู้สึกว่าเราจำเป็นต้องอ่านมากเท่านั้น”

นอกจากนี้ ยังมีบุคคลที่มีชื่อเสียงอีกหลายท่านให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต เช่น โทมัส เจฟเฟอร์สัน แอนดรู คาร์เนกี นโปเลียน ฮิลล์ วินสตัน เชอร์ชิล บรูซ ลี มหาตมะ คานธี เลโอนาร์โด ดาวินซี ขงจื๊อ โสกราตีส เป็นต้น

====

2. ค่อยๆสร้างอุปนิสัย รักการเรียนรู้

 “จงใช้ชีวิตราวกับว่าคุณกำลังจะตายในวันพรุ่งนี้ จงเรียนรู้ราวกับว่าคุณจะมีชีวิตอยู่เป็นนิรันดร์”

มหาตมะ คานธี

ผู้ที่รักการเรียนรู้จะตระหนักว่าการเรียนรู้เป็นสิ่งจำเป็น พวกเขารู้ว่ายังมีสิ่งที่รอคอยให้พวกเขาค้นพบอีกมาก ดังนั้นพวกเขาจะใช้เวลาส่วนใหญ่ในชีวิตกับการเรียนรู้สิ่งต่างๆ

พวกเขาจะตัดสิ่งที่รบกวนสมาธิและขัดขวางการเรียนรู้ออกไป เช่น โทรทัศน์ วิทยุ เกมส์คอมพิวเตอร์ และสื่อออนไลน์ นอกจากนี้ พวกเขามักรับฟังข่าวสาร หรืออ่านหนังสือระหว่างที่เดินทาง

หากคุณต้องการสร้างอุปนิสัยการเรียนรู้ คุณไม่จำเป็นต้องทำมันอย่างสุดโต่ง เพราะสิ่งนั้นจะทำให้คุณเกิดอคติและมองโลกในแง่ร้ายว่า คุณจะต้องใช้ชีวิตทั้งหมดไปกับการอ่านหนังสือ

ให้คุณค่อยๆเปลี่ยนพฤติกรรมทีละเล็กทีละน้อย เช่น คุณอาจเริ่มต้นเรียนรู้สิ่งใหม่ๆโดยการอ่านหนังสือวันละ 1 ชั่วโมง และเมื่อคุณทำมันอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นนิสัย เท่ากับว่าตลอดทั้งปีคุณจะมีเวลาในการอ่านหนังสือมากถึง 365 ชั่วโมง และสุดท้ายคุณจะพบว่าตัวเองมีความรู้มากขึ้น และทำให้ชีวิตของคุณเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น

====

3. อยู่ในสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้

ผู้ที่ชอบการเรียนรู้จะพยายามค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆมากมาย เช่น การอ่านหนังสือ การเข้าเรียนในหลักสูตร การเข้าร่วมอบรมสัมมนา การทำกิจกรรมหรือสร้างเครือข่าย การค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต การสอบถามหรือแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ เป็นต้น

การรู้จักและสานสัมพันธ์กับเพื่อนที่เข้าใจและเห็นความสำคัญของการเรียนรู้ก็สามารถช่วยให้คุณเรียนรู้สิ่งต่างๆได้มากขึ้น

คุณอาจจะบอกเพื่อนและครอบครัวว่าคุณวางแผนที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆอย่างไร และให้พวกเขาช่วยย้ำเตือนให้คุณรับผิดชอบต่อความตั้งใจจริงของคุณ เพราะพวกเขาเหล่านี้จะเป็นตัวกระตุ้นและสนับสนุนให้คุณเกิดแรงจูงใจและมีความแน่วแน่ต่อเป้าหมายในการเรียนรู้

วิธีการนี้เป็นการสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ที่ดีและมีประสิทธิภาพ ผู้ที่ชอบการเรียนรู้ด้วยตัวเองและรักการเรียนรู้ตลอดชีวิตมักทำมันอย่างต่อเนื่อง เพราะมันช่วยให้พวกเขาเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น รวมทั้งมีความมั่นใจ และประสบความสำเร็จในที่สุด

อีกหนึ่งวิธีในการอยู่ในสภาพแวดล้อมแห่งการเรียนรู้คือการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ภายในทีมของคุณ อ่าน 4 เทคนิคสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ภายในทีม คลิกที่นี่

====

เชื่อว่า หากคุณปฏิบัติตามเคล็ดลับทั้ง 3 ข้อนี้ คุณจะกลายเป็นคนที่รักการเรียนรู้ตลอดชีวิต

และนั่นก็จะการันตีได้ว่า ไม่ว่าโลกจะหมุนเร็วแค่ไหน มีการเปลี่ยนแปลงอะไร คุณก็จะสามารถรับมือกับมันได้ ไม่เป็นคนตกยุคอย่างแน่นอน

ที่มา : http://www.lifehack.org/287498/3-things-life-long-learners-differently-make-them-learn-unremittingly

====

ถ้าคุณสนใจการพัฒนาการเรียนรู้ของคุณเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของคนทำงานยุคใหม่  ขอแนะนำหลักสูตร  Growth Mindset for Effective Work เพื่อเป็นผู้นำที่ประสบความสำเร็จ  คลิกที่นี่ 

 เรียบเรียงโดย Learning Hub Thailand

 เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

สองขั้นตอนฝึกทักษะ Resilience ที่ทำได้จริง

สองขั้นตอนฝึกทักษะ Resilience ที่ทำได้จริง

คุณเป็นคนหนึ่งใช่ไหมที่เคยจิตตกเพราะเจอสถานการณ์ร้ายๆ หรือ เจอคนที่ทำไม่ดีต่อคุณจนทำให้คุณไม่สามารถทำตามเป้าหมายได้เป็นเวลานาน

คุณคงรู้สึกแย่มากเลยใช่ไหมครับเมื่อพบว่าตัวเองตกอยู่ในสถานการณ์แบบนั้น

ต่อไปนี้เป็นข่าวดี เพราะคุณสามารถเรียนรู้และฝึกฝนทักษะที่สำคัญทักษะหนึ่งเพื่อรับมือกับสถานการณ์เลวร้ายหรือคนที่ทำแย่ ๆ ได้อย่างดีเยี่ยม

====

         เพราะสิ่งที่สำคัญกว่าการที่จะไม่ต้องพบเจอเหตุการณ์เลวร้ายหรือคนแย่ ๆ ก็คือ ‘การฟื้นคืนกลับมาอยู่ในวิถีทางสู่ความสำเร็จของเราอีกครั้ง’ หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า Resilience Skill นั่นเอง

เพราะถ้าเปรียบปัญหาและอุปสรรคเป็นคลื่นที่ถาโถมเข้ามาหาเราทุกคน การฝึกที่จะเผชิญและโต้ล้อไปกับคลื่นคือพันธกิจสำคัญของนักโต้คลื่นทุกคน

 ซึ่งผมอยากให้เราทุกคนเชื่อมั่นว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาเพื่อเป็นนักโต้คลื่น

เมื่อตระหนักได้เช่นนั้น เราจะรู้ว่าสิ่งสำคัญจึงไม่ใช่การสวดภาวนาไม่ให้พบปัญหา แต่คือการฝึกฝนทักษะที่จะเผชิญปัญหาและฟื้นคืนกลับมาได้ทุกครั้งที่เจอปัญหาต่างหาก

====


         Leo Babauta ผู้เขียนหนังสือชื่อดัง Zen Habits และ The Power of Less เป็นหนึ่งในคนที่ศึกษาและฝึกฝนเรื่อง Personal Productivity อย่างลึกซึ้งมานานหลายปี เขายอมรับว่า Resilience คือ หลักคิดและทักษะที่สำคัญที่สุดของคนทำงานยุคนี้และมันช่วยให้เรามี Productivity ที่สูงได้ด้วย 

         Resilience จะทำให้เรามีความยืดหยุ่น พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง และสามารถฟื้นคืนกลับมาได้ทุกครั้งที่เจอปัญหา ทั้งหมดนี้เป็นองค์ประกอบสำคัญในยุคที่ไม่สามารถคาดเดาอะไรได้เลยเช่นนี้

         คำถามก็คือ เราจะฝึกทักษะ Resilience ได้อย่างไร เพราะดูเหมือนมันจะเป็นแค่แนวคิดที่นามธรรมมากเหลือเกิน

         คำตอบอยู่ที่สองขั้นที่ Leo (และผม) ฝึกปฏิบัติและนำมาถ่ายทอดให้พวกเราทุกคนได้เรียนรู้ร่วมกัน ดังนี้

=====

1.กำจัดความเครียดที่ไม่จำเป็น (Remove Extra Stress)

ชีวิตคือความทุกข์ นี่คือเรื่องธรรมดาที่ทุกศาสนายอมรับและถ่ายทอดให้พวกเราทำความเข้าใจ  แต่ถึงอย่างไรมนุษย์ผู้มีระบบคิดที่ทรงพลังต่างก็เพิ่มความเครียดให้กับตัวเองโดยไม่รู้ตัว และนั่นก็ทำให้จิตใจของใครหลายคนต้องแบกรับความเครียดที่เกินพอดีจนยากที่จะฟื้นตัวกลับมาได้

ถ้าการควบคุมความคิดไม่ให้กังวลกับอนาคตหรือจมปลักอยู่ที่อดีตเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก Leo แนะนำให้เริ่มต้นในสิ่งที่ทำได้ทางกาย(พฤติกรรม) กันก่อน ดังตัวอย่างต่อไปนี้

  • ลดปริมาณเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ และสิ่งเสพติดทั้งหลายที่คุณใช้หลีกหนีปัญหาลง เพราะถ้าคุณเครียดก็มีแนวโน้มสูงมากที่คุณจะเสพมันเกินพอดี ซึ่งส่งผลให้คุณยิ่งเครียดมากขึ้นในอนาคต จงจำกัดปริมาณที่ดื่มให้น้อยลงอย่างน้อย 50%
  • จำกัดปริมาณงานที่ต้องโฟกัสให้สำเร็จลงจนเหลือเพียง 3 อย่าง โดยฝึกการปฏิเสธงานที่ไม่สอดคล้องกับเป้าหมาย และฝึกการส่งมอบงานให้คนอื่นทำบ้าง
  • หยุดพักจากหน้าจอและโซเชียลมีเดียอย่างน้อย 1 ชั่วโมงก่อนเข้านอน เพื่อเคลียร์จิตใจให้สงบอย่างแท้จริง

====

2.ทำสิ่งที่ช่วยให้คุณรู้สึกเติมเต็ม (Replenish Yourself)

เมื่อคุณลด ละ เลิกทำสิ่งที่ก่อให้เกิดความเครียดที่ไม่จำเป็น(มันอาจสร้างความสุขระยะสั้นให้คุณแต่มักจะก่อให้เกิดความเครียดในระยะยาว เช่น การดื่มเหล้า การไปปาร์ตี้ การช็อปปิ้งแบบสุดเหวี่ยง) แล้ว คุณจะมีเวลาและพลังงานเหลือที่จะทำในสิ่งที่…ทำให้คุณรู้สึกเต็มขึ้น

         สิ่งเหล่านั้นคือพฤติกรรมที่ไม่ได้ใช้เวลานาน ไม่ได้ใช้เงินเยอะ แต่คุณต้องทำอย่างสม่ำเสมอ (สร้างมันขึ้นมาแทนที่พฤติกรรมในข้อ 1) และต้องเป็นสิ่งที่ทำให้คุณรู้สึกดีขึ้นได้อย่างแท้จริง

         ถ้านึกไม่ออกว่ามีอะไรบ้าง ตัวอย่างของผมต่อไปนี้อาจช่วยคุณได้

  • เดินและนั่งชื่นชมธรรมชาติ เช่น สวนสาธารณะ แม่น้ำ ท้องฟ้า
  • ก่อนเข้านอนให้อาบน้ำอุ่นและจดบันทึกเรื่องราวในด้านบวกซึ่งเกิดขึ้นในวันนี้
  • ให้เวลาคุณภาพกับคนที่คุณรัก ไปรับประทานอาหารกับเขาโดยไม่มีมือถือมารบกวน
  • หายใจเข้าลึกขึ้น และออกให้ช้าลงและยาวขึ้นในระหว่างวัน

อีกหนึ่งพฤติกรรมที่ช่วยให้เรารู้สึกเติมเต็มได้คือการฝึกเป็นผู้นำที่ฉลาดทางอารมณ์ ศึกษาแนวทางการฝึกได้ที่นี่
=====

         พฤติกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงชีวิตของคุณไปในทางที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน ถ้าคุณทำอย่างสม่ำเสมอควบคู่ไปกับการเลิกทำพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความเครียดที่ไม่จำเป็น

         เพราะการเจอรถชน ไปทำงานสาย โดนเจ้านายด่า ถูกลูกค้าปฏิเสธ และโดนแฟนโมโหใส่เป็นสิ่งที่คุณไม่สามารถควบคุมได้ แต่ความคิดที่คุณมีต่อทุกสิ่งที่เกิดขึ้นต่างหากที่คุณสามารถควบคุมได้

         ยิ่งคุณโฟกัสไปที่สิ่งที่คุณบริหารจัดการและควบคุมได้ เช่น ความคิด พฤติกรรมของคุณ มากเท่าไหร่ คุณก็จะเริ่มสร้างทักษะ Resilience เพื่อการรับมือกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันได้มากขึ้นเท่านั้นครับ

=====

ถ้าคุณสนใจฝึกทักษะ Resilience คุณต้องเริ่มต้นที่การฝึกหลักคิดหรือ Mindset ของการเรียนรู้และเติบโต ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของคนทำงานยุคใหม่ ขอแนะนำหลักสูตร  Growth Mindset for Effective Work เพื่อเป็นผู้นำที่ประสบความสำเร็จ  คลิกที่นี่ 

เขียนโดย อ. เวย์ เวสารัช โทณผลิน

ผู้เชี่ยวชาญด้าน Productivity  (Personal Productivity Facilitator) 

 Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

โลกยุคนี้ต้องการผู้นำแบบไหน

ผู้นำแบบไหนที่โลกยุคใหม่ต้องการ

การสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้มีอิสระในการทำงานนั้น ช่วยทำให้เกิดบรรยากาศที่ดี และบรรยากาศที่ดีก็ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

โดยเฉพาะในยุคที่มีการแข่งขันสูงอย่างทุกวันนี้ ยิ่งต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์และความร่วมมือที่มากยิ่งขึ้น

ภาวะผู้นำ ที่ช่วยส่งเสริมการมีส่วนร่วม (Liberating Leadership) จึงเป็นแนวทางที่จะช่วยให้คนในองค์กรแสดงศักยภาพได้ดียิ่งขึ้น

ต่อไปนี้คือ 4 แนวทางการสร้างภาวะผู้นำที่ผู้บริหารยุคใหม่พึงตระหนักและบ่มเพาะไว้เสมอ

====

1.ลดอีโก้

ผู้นำยุคใหม่ไม่ใช่ว่าต้องรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ตัวเองเสมอไป เมื่อต้องทำงานเป็นทีมก็ควรมีการวางแผนและตัดสินใจร่วมกัน

การเปิดรับฟังความคิดเห็นของคนในทีมจะทำให้ลูกทีมรู้สึกว่าเขาได้รับความไว้วางใจ ทำให้เขารู้สึกมั่นใจ และสามารถดึงศักยภาพของเขาออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่
====

2.แลกเปลี่ยนความคิดระหว่างกัน

ลองพูดคุยแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ส่วนตัวเกี่ยวกับเรื่องการทำงานและวิสัยทัศน์ขององค์กรกับคนในทีม เพื่อหาจุดร่วมหรือหาบรรทัดฐานของการทำงาน ซึ่งช่วยให้สามารถกำหนดขอบเขตงานได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
====

3.เคารพซึ่งกันและกัน

สร้างบรรยากาศการทำงานให้อบอุ่นด้วยการให้ความเคารพต่อกัน เริ่มจากคนที่เป็นหัวหน้าต้องรู้สึกเคารพและเชื่อมั่นในตัวลูกทีม

นี่คือวิธีเริ่มต้นสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนในทีมที่ดีที่สุด ช่วยให้เกิดความสบายใจเมื่อต้องทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี
====

4.ถามไถ่สารทุกข์สุกดิบในการทำงาน

บางครั้งอุปสรรคในการทำงานอาจเกิดจากวัฒนธรรมองค์กร หรือโครงสร้างในการทำงานที่ไม่เหมาะสม

ครั้งต่อไปเมื่อเจออุปสรรคระหว่างการทำงาน ให้ลองถามลูกทีมว่าสาเหตุเกิดจากอะไร จากนั้นนำข้อคิดเห็นกลับมาปรับปรุงโครงสร้างเพื่อสนับสนุนการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

Liberating Leadership ไม่ใช่หลักการตายตัว เพียงแต่เป็นแนวทางที่ช่วยเสริมสร้างความเท่าเทียมกันในองค์กร และส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้นนั่นเอง

ถ้าอยากรู้ว่าอะไรคือแก่นแท้ของผู้นำที่ยิ่งใหญ่ อ่าน 5 แก่นแท้ของผู้นำชั้นยอด คลิกที่นี่
====

จากบทความ “Give Your Team the Freedom to Do the Work They Think Matters Most” โดย Brian Carney and Isaac Getz ตีพิมพ์เมื่อ 10 กันยายน 2018 ใน Harvard Business Review

ถ้าคุณต้องการเรียนรู้และฝึกฝนทักษะการเป็นผู้นำอย่างเข้มข้น ขอแนะนำหลักสูตร High Performance Leader ที่เชื่อมโยงทฤษฎีสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมและใช้ได้จริง ดูรายละเอียดที่นี่

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

ทำอย่างไร ให้ทีม ‘อึด ถึก ทน’ สู้งานหนักได้เหมือนเรา ?

ทำอย่างไร ให้ทีม “อึด ถึก ทน” สู้งานหนักได้เหมือนเรา ?

หลายครั้งที่ผมได้พบกับผู้บริหารในองค์กรต่าง ๆ ได้เล่าสู่กันฟังถึงสิ่งที่เป็นปัญหาหนักใจในการทำงาน สิ่งที่มักได้ยินอยู่เสมอก็คือ น้อง ๆ ที่ทำงาน ไม่อึด ไม่ถึก ไม่ทน ท้อถอยง่าย ลาออกบ่อย ทำให้ต้องหาคนมาแทน และสอนงานใหม่อยู่เสมอ

พอสอนงานได้ที่ เริ่มทำงานเป็นแล้ว สักพักก็ลาออกอีก วนลูปแบบนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า นี่เป็นปัญหาที่ผู้บริหารในองค์กรไหน ๆ ก็ต้องเจอในช่วงนี้

หากมองผิวเผิน หลายคนอาจจะคิดว่าปัญหานี้มาจากสาเหตุที่คนรุ่นใหม่ Gen Y – Gen Z นั้น ถูกเลี้ยงดูมาอย่างสบาย จึงไม่ค่อยอดทน หรืออีกสาเหตุหนึ่งคือ เกิดจากปัญหาความแตกต่างของช่วงวัย Gen Gap ทำให้เข้ากับหัวหน้าไม่ได้ เลยต้องลาออกไปในที่สุด

ทั้งหมดนี้ดูจะเป็นการโยนความผิดไปให้คนรุ่นใหม่ เป็นความคิดที่ไม่นำไปสู่การแก้ปัญหาใด ๆ ได้เลย ผมจึงอยากชวนให้มองลงลึกไปกว่านั้นว่า ในฐานะผู้นำ ผู้บริหาร เราทำอะไรกับเรื่องนี้ได้บ้าง

===

“ผลลัพธ์และพฤติกรรมของแต่ละคน สะท้อนออกมาจาก Mindset หรือ ทัศนคติ”

หากคุณเชื่อเหมือนกับผมเช่นนี้ เราอาจตั้งสมมติฐานได้ว่า “Mindset” น่าจะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คน ๆ หนึ่ง ทำงานไม่อึด  ไม่อดทน และไม่สู้งานหนัก

ดังนั้น หากจะแก้ปัญหานี้ จึงควรแก้และเปลี่ยนที่ “Mindset” ของคน ๆ นั้นนั่นเอง

ความสงสัยที่ตามมาทันที คือ Mindset ดูเป็นเรื่องนามธรรม จับต้องได้ยาก และการเปลี่ยน Mindset ของคน ที่ฝังติดตัวอยู่กับเขามานาน ก็น่าจะไม่ใช่เรื่องง่าย

ใช่ครับ ผมเห็นด้วย แต่ปัญหานี้เกิดจาก “เราคิดจะเปลี่ยนเขา” แต่จะเป็นอย่างไรถ้าเราสามารถช่วยให้ “เขาเต็มใจเปลี่ยนตัวเอง”

มันคงง่ายขึ้นเยอะเลย ใช่ไหมครับ ดังนั้น ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่า Mindset แบบไหน ที่เราต้องการ ?

===

“ความสำเร็จในชีวิต ไม่ได้มาจากพรสวรรค์ แต่มาจากความทรหด”

คุณคิดว่าประโยคนี้เป็นจริงไหม ลองนึกภาพง่าย ๆ ว่า คน 2 คน อายุเท่ากัน ความเก่งและฉลาดพอ ๆ กัน เริ่มทำงานพร้อมกัน ในที่ทำงานเดียวกัน ได้รับโอกาสเหมือน ๆ กัน เมื่อเวลาผ่านไป 10 ปี ไม่มีทางที่จะประสบความสำเร็จได้เท่ากัน

จะเห็นว่า “ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ที่เราสามารถควบคุมได้” ซึ่งทำให้เรามีความแตกต่างจากคนอื่น ๆ  มีเพียงเรื่องเดียวคือ “ความทรหด”

มากไปกว่านั้น โลกในปัจจุบันเป็นยุคแห่งความเปลี่ยนแปลง ไม่แน่นอน และคาดการณ์ไม่ได้ วิกฤตต่าง ๆ ทำให้เราต้องปรับตัวอยู่ตลอดเวลาเพื่อความอยู่รอด

แม้ว่าทำดีแล้วแต่อาจจะไม่ดีพอ เราต้องเจอกับผิดพลาดและความผิดหวังอยู่เสมอ ใครที่ท้อถอย ยอมแพ้ ล้มเลิกไปก่อน ก็จะไม่ประสบความสำเร็จ

ดังนั้น “ความทรหด” จึงเป็น Mindset สำคัญที่คนในยุคนี้ไม่อาจมองข้ามได้

===

“ความทรหด คืออะไร”

อ้างอิงจากหนังสือ “Grit” เขียนโดย ดร. แอนเจลา ดัคเวิร์ธ ซึ่งเขียนหนังสือเล่มนี้จากผลงานวิจัยมากมายตลอดหลายสิบปี จนเธอได้รับรางวัลแมคอาเธอร์ เฟลโลว์ชิพ ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้กับอัจฉริยะที่มีผลงานสำคัญและสร้างสรรค์ระดับโลก (คุณสามารถฟังเธอพูดเรื่องนี้ได้จาก Ted Talk ใน YouTube )

จากการศึกษาของเธอ ความทรหดนั้น เป็นพลังจากภายในที่เกิดจาก “Passion ความหลงใหล และ Perseverance ความอุตสาหะ”

ก่อนอื่นคุณต้องเชื่อก่อนว่า คนทุกคนต่างมีความทรหดอยู่ในตัว เพียงแต่มากน้อยไม่เท่ากัน แต่เราจะไม่ด่วนตัดสินว่า คน Gen Y Gen Z นั้นมีความทรหดน้อยกว่าคน Gen X

แน่นอนว่า สภาพแวดล้อม การเลี้ยงดู การเรียนรู้ และประสบการณ์ในยุคที่เติบโตมาต่างกัน ส่งผลต่อทัศนคติ ความเชื่อ และการให้ความสำคัญกับคุณค่าในชีวิตที่ต่างกันไป แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า คนรุ่นใหม่นั้นจะไม่มีความทรหด

อย่าลืมว่า คนรุ่นใหม่หลายคน มีความสามารถ มีความทรหด มุ่งมั่นจนประสบความสำเร็จในการงานได้อย่างรวดเร็วกว่าค่าเฉลี่ยที่ควรเป็นมากมายนัก เราเห็นตัวอย่างนี้อยู่ในสื่อทั้งหลายก็มีไม่น้อยเลย

ที่เราเห็นว่าคนรุ่นใหม่บางคน ใจร้อน อยากประสบความสำเร็จเร็ว แต่ไม่อดทน เปลี่ยนใจง่าย เปลี่ยนงานบ่อย ทั้งหมดนี้เป็นเพราะเขาไม่เคยได้ถูกพัฒนาทัศนคติแห่งความทรหดขึ้นในตนเอง

ดังนั้นหากมองอย่างเป็นกลาง คน Gen ไหน ๆ ต่างก็มีปัญหาเรื่องความทรหดเหมือน ๆ กัน ไม่เกี่ยวกับช่วงอายุ หรือ Gen เลยแม้แต่น้อย

มีปัจจัยทางจิตวิทยาที่จะช่วยสร้างความทรหด มีอยู่ 4 องค์ประกอบด้วยกัน ได้แก่ Interest ความสนใจที่มากพอ, Purpose เป้าหมายที่ชัดเจน, Deliberate Practice การฝึกฝนอย่างจดจ่อ, Hope ความหวังที่เต็มเปี่ยม

===

คุณจะพัฒนาทัศนคติแห่ง “ความทรหด” ให้ทีมงานได้อย่างไร ?

ผมมีคำแนะนำ 4 ข้อ ซึ่งคุณสามารถนำไปปรับใช้ทีมงานได้เลย ดังนี้

  1. Interest – ชวนคุยจนรู้ว่าทีมงานมีความสนใจ และถนัดในเรื่องอะไรมากที่สุด สนับสนุนให้เขาทำสิ่งนั้นมากขึ้น ลดในสิ่งที่เขาไม่ชอบหรือไม่ถนัดให้น้อยลง

 

ข้อนี้จะทำให้ทีมงานรู้สึกว่าได้รับการใส่ใจจากหัวหน้า ไม่ใช่แค่สั่งให้ทำงานไปวัน ๆ เมื่อคุณเข้าใจเขาและรู้จักจิตใจเบื้องลึกของเขา ความสัมพันธ์และความเชื่อใจระหว่างกันจะมีมากขึ้น เขาจะเริ่มเปิดใจกับคุณ โดยเข้าหาและปรึกษาคุณมากขึ้น

 

  1. Purpose – เมื่อทีมงานเริ่มเปิดใจกับคุณแล้ว ชวนให้เขาตั้งเป้าหมายส่วนตัว ช่วยเชื่อมโยงให้สอดคล้องกับเป้าหมายองค์กร

 

ข้อนี้จะช่วยให้เขาเห็นว่า ยิ่งเขาตั้งใจทำงาน และทำงานสำเร็จ เป้าหมายส่วนตัวของเขาก็จะสำเร็จไปพร้อมกันด้วย เขาจะมีกำลังใจและกระตือรือร้นในการทำงานมากขึ้น  

 

  1. Deliberate Practice – สนับสนุนให้ทีมงานทำสิ่งในที่ชอบและถนัด และคอยให้ Feedback เพื่อช่วยให้เขาฝึกฝนตัวเองและมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง

 

ข้อนี้เขาจะรู้สึกว่าการได้ทำงานกับคุณ มีทั้งความท้าทายและการเติบโต ไม่ซ้ำซากจำเจและน่าเบื่อ เขาจะรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า และเก่งมากขึ้น และเมื่อเขาเก่งแล้วก็เพิ่มระดับโจทย์ที่ยากขึ้นไปอีก (แต่ต้องไม่ยากเกินไป) เขาจะสนุกที่ได้ท้าทายตัวเอง

 

  1. Hope –ให้รางวัลเมื่อเขาทำได้ตามเป้าหมายในแต่ละขั้นตอน รางวัลไม่จำเป็นต้องเป็นของมีค่ามาก แม้แต่คำชื่นชมให้กำลังใจในความพยายามเมื่อเห็นเขาทำได้ดีขึ้น หรือขนมอร่อยๆสักชิ้น ก็ทำให้เขาประทับใจไม่รู้ลืมแล้ว

ข้อนี้จะทำให้เขารู้สึกไม่โดดเดี่ยว มีกำลังใจ เพราะมีคนสนับสนุน ทำให้เขามีความหวังที่จะฟันฝ่าสิ่งที่ยากลำบากได้มากขึ้น คุณต้องทำให้เขารู้เลยว่า ไม่ว่าอย่างไรคุณจะอยู่เคียงข้างเขาเสมอ

===

ส่งท้าย “ผู้คนจะไม่เชื่อในสิ่งที่คุณพูด แต่เขาจะดูจากสิ่งที่คุณเป็น” 

ถึงตอนนี้ เชื่อว่าคุณได้แนวทางในการพัฒนาทีมงาน “ให้อึด ถึก ทน” มากขึ้นแล้ว และคุณก็สามารถปรับใช้แนวทางนี้กับตัวเองได้ด้วยเช่นกัน เพราะหากคุณมีความทรหดในตัวน้อย คุณก็จะไม่สามารถพัฒนาความทรหดให้กับใครได้เลย

บทความโดย CEO เรือรบ – ผู้ก่อตั้ง Learning Hub Thailand / ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาภาวะผู้นำ

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

===

ถ้าอยากรู้ว่า ผู้นำจะปรับตัวและบริหารองค์กรให้เติบโตได้อย่างไรในยุค Next Normal หรือความปกติถัดไปที่กำลังรอพวกเราอยู่ อ่านที่นี่

ปล. หากคุณเป็นผู้บริหารหรือผู้นำองค์กร และต้องการพัฒนาทัศนคติของผู้นำในยุคดิจิทัล ที่จะนำพาทีมและองค์กร ให้อยู่รอดและเติบโตท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในอนาคต ผมกำลังจะเปิดหลักสูตร “The Digital Leadership Skills” ในวันที่ 17 ก.พ.นี้  ซึ่งคุณจะได้เรียนรู้ Mindset และ Skillset ที่สำคัญของผู้นำยุคใหม่ ซึ่งแน่นอนว่าไม่ได้มีแค่ความทรหดเพียงอย่างเดียว ดูรายละเอียด คลิกที่นี่ครับ

5 แก่นแท้สู่การเป็นผู้นำชั้นยอด

5 แก่นแท้สู่การเป็นผู้นำชั้นยอด

คุณคิดว่าสิ่งที่ทำให้ผู้นำหลายคนล้มเหลว คืออะไร

ทั้งที่บางคนมีความเฉลียวฉลาดถึงระดับวัดไอคิวได้เป็นอัจฉริยะ ผลงานอยู่ในระดับดีเลิศ หรือมีบุคลิกดีจนน่าเลื่อมใส แต่ทำไมคนเหล่านั้นกลับไม่สามารถคุมทีมให้ประสบความสำเร็จได้

คำตอบก็คือ ผู้นำเหล่านี้ขาดสิ่งที่เรียกว่า ‘ความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence)’

จากการค้นคว้าวิจัย หาความสัมพันธ์ของบรรดาผู้นำในองค์กรและระดับความสำเร็จที่เกิดขึ้น พบว่ายิ่งผู้นำฉลาดทางอารมณ์เท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้องค์กรเดินหน้าไปอย่างสดใสมากเท่านั้น
=====

ความฉลาดทางอารมณ์เป็นสิ่งที่เรียนรู้และพัฒนาได้ ประกอบไปด้วย 5 แก่นหลัก ได้แก่ การรู้จักตัวเอง การควบคุมตนเอง แรงกระตุ้นจูงใจ ความเห็นอกเห็นใจ และทักษะทางสังคม

1.การรู้จักตัวเอง

ไม่ใช่เพียงรู้ว่าตัวเองเป็นใครในองค์กรเท่านั้น แต่ต้องรู้เท่าทันว่าตนเองมีคุณสมบัติอะไร อะไรคือข้อดี อะไรคือข้อเสีย และปรับใช้สิ่งเหล่านั้นให้เหมาะสมกับสถานการณ์

ผู้นำชั้นยอดจะรู้จักปฏิเสธ ถ้าโปรเจคที่ได้รับข้อเสนอมานั้นไม่เหมาะกับตัวเอง เช่น ถ้าเป็นคนค่อนข้างอารมณ์ร้อน แต่ต้องทำงานกับหัวหน้าอารมณ์ร้อนพอๆ กันภายใต้สถานการณ์กดดันตลอดเวลา แบบนั้นก็จะคิดให้หนักก่อน

หรือผู้นำที่รู้จักตัวเองอาจจะรับงานดังกล่าว แต่มอบหมายให้ผู้นำระดับรองลงไปที่มีความอดทนดีกว่า เป็นคนเข้าไปจัดการแทน เป็นต้น

ถ้าคุณคิดว่ารู้และเข้าใจตัวเองดีพอแล้ว คุณจำเป็นต้องนำความรู้ความเข้าใจนั้นมาลงมือเปลี่ยนแปลงตัวเอง ศึกษาวิธีการนำความรู้จักตัวเองมาเป็นการปรับตัวได้ที่นี่
=====

2.การควบคุมตนเอง

ลืมเรื่องเล่าอย่างบอสจอมทำลายข้าวของและด่ากราดไปได้เลย เพราะคนเป็นผู้นำต้องมีน้ำอดน้ำทน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบคุมตัวเองในการทำงานกับคนอื่น ลองนึกถึงผู้นำที่ยังใจเย็นได้ท่ามกลางสถานการณ์ร้อนระอุ เป็นใครก็ย่อมเคารพนับถือ

ผู้นำที่ควบคุมตนเองได้จะถูกมองว่ามีเหตุผลและสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจได้ดี รวมถึงไม่แสดงอาการร้อนรน สามารถพาทีมก้าวข้ามความเปลี่ยนแปลงได้ดีไปด้วยนั่นเอง
=====

3.แรงกระตุ้นจูงใจ

เชื่อว่าคนทำงานที่ไหนต่างก็มีแรงกระตุ้นทั้งนั้น แต่การเป็นหัวหน้าทีม จะต้องแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่าง แรงกระตุ้นในเรื่องเงินกับแรงกระตุ้นในเรื่องงาน

ผู้นำที่ทุ่มเทเพื่อให้ผลงานออกมาดี ด้วยความลุ่มหลงและความรักในงาน มีพลังงานที่จะทำงานอย่างล้นเหลือ ย่อมจะทำให้ลูกทีมเห็นถึงแบบอย่างที่ดี จนอยากจะร่วมมือผลักดันให้งานสำเร็จมากกว่าจะรอจังหวะหยิบฉวยผลประโยชน์เพื่อตัวเอง
=====

4.ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

ไม่ว่าใครก็ล้วนอยากได้ความเข้าใจและความเห็นใจ ในชีวิตส่วนตัวคนอาจจะเห็นใจกันได้แต่เมื่อเข้าสู่เรื่องธุรกิจก็มักจะเต็มไปด้วยความเขี้ยวจนไม่ค่อยคิดถึงจิตใจกันสักเท่าไหร่

เหมือนประโยคที่บอกว่า “นี่ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว แต่เป็นเรื่องธุรกิจ” แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า การทำธุรกิจจะเห็นอกเห็นใจกันไม่ได้

ผู้นำไม่จำเป็นต้องแคร์คนในทีมถึงขนาดที่ต้องทำให้ทุกคนโอเคหรือเอาใจทุกคนเกินเหตุ แต่ในยามที่ต้องตัดสินใจหรือคิดถึงการทำงาน ผู้นำจะนำความรู้สึกของคนในทีมมาใคร่ครวญด้วยเพื่อหาหนทางที่จะสร้างสมดุลระหว่างการตัดสินใจกับความรู้สึกของผู้อื่นให้ได้มากที่สุด
=====

5.ทักษะทางสังคม

ในแก่นของความฉลาดทางอารมณ์ 3 ข้อแรกคือการเน้นไปที่ตัวเอง ส่วน 2 ข้อหลังจะเน้นไปที่คนอื่น ข้อนี้คือการเข้าสังคมที่ไม่ได้หมายความถึงการแต่งตัวเป็น ออกงานบ่อย สร้างภาพดีแต่อย่างใด

ทักษะเข้าสังคมของผู้นำ คือการมีมนุษย์สัมพันธ์อย่างมีจุดมุ่งหมาย รู้ว่าคนในสังคม (หมายถึงคนในทีมและคนภายนอก) เป็นอย่างไร มีทักษะว่าจะจูงใจคนให้มารวมกัน ปลุกเร้าให้คนเดินไปในทิศทางใด ถ้ามีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในธุรกิจ ก็สามารถใช้ทักษะโน้มน้าวคนจำนวนมากให้คล้อยตามได้

แก่นแท้ทั้ง 5 ข้อที่กล่าวมา ทักษะข้อสุดท้ายมีความสำคัญมากที่สุด เพราะลูกทีมย่อมคาดหวังว่าผู้นำจะต้องหลอมคนในทีมให้เป็นหนึ่งเดียว แต่นั่นก็หมายความว่าผู้นำคนนั้นจะต้องมี 4 ข้อก่อนหน้านี้เป็นพื้นฐานก่อนนั่นเอง
=====

ถ้าคุณต้องการเรียนรู้และฝึกฝนทักษะการเป็นผู้นำทั้ง 5 อย่างจริงจัง ขอแนะนำหลักสูตร High Performance Leader ที่เชื่อมโยงทฤษฎีสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมและใช้ได้จริง ดูรายละเอียดที่นี่

เรียบเรียงจาก “What Makes a Leader?” โดย Daniel Goleman จาก Harvard Business Review มกราคม 2014

เรียบเรียงโดย Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 094 959 2645

ผู้นำจะปรับตัวและบริหารองค์กรให้เติบโตได้อย่างไร ในยุค Next Normal

ผู้นำจะปรับตัวและบริหารองค์กรให้เติบโตได้อย่างไร ในยุค Next Normal

เพียงแค่เริ่มปี 2022 สังคมโลกก็มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและคาดการณ์ยากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ  จนยากจะคาดเดาได้

ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยด้านเทคโนโลยี นวัตกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นใหม่จนตามแทบไม่ทัน ความไม่แน่นอนที่เกิดจากภัยธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วิกฤตไวรัสโควิด หรือมลพิษฝุ่น PM 2.5 ซึ่งเราทุกคนกำลังเผชิญอยู่ 

ปัจจัยทั้งหมดนี้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ และวิถีชีวิตของทุกคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  เรียกว่านี่คือยุค ‘Next Normal’ ซึ่งความไม่แน่นอนและการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน กลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาไปเสียแล้ว

====

ในฐานะผู้นำหรือผู้บริหารในองค์กร การบริหารธุรกิจให้ไปต่อและเติบโตท่ามกลางความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมแบบนี้ไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้ง่ายๆ เพราะเมื่อหลายปัญหาถาโถมรวมกันก็อาจทำให้เราจับต้นชนปลายไม่ถูกว่าจะตัดสินใจแก้ปัญหาอย่างไร แม้แต่วิธีที่เคยได้ผลดีในอดีตก็ไม่อาจการันตีความสำเร็จในอนาคตได้อีกต่อไป 

ผู้นำหรือผู้บริหารองค์กรในยุคนี้จึงต้องมองให้ไกลกว่าภาพในปัจจุบันเท่านั้นไม่ใช่แค่สามารถคาดการณ์แนวโน้มในอนาคตได้ แต่ควรมีหลักคิดและแนวทางในการเตรียมองค์กรเพื่อที่จะปรับตัวและรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงทีด้วย 

ยิ่งไปกว่านั้น ผู้นำควรที่จะมีความสามารถในการออกแบบอนาคตขององค์กรให้เป็นตามที่ต้องการ ไม่ใช่ทำงานแค่พออยู่รอดไปแต่ละวัน หรือนั่งรอดูว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อไป 

เพราะเมื่อบางสิ่งได้เกิดขึ้นไปแล้ว มันอาจสายเกินไปที่จะแก้ไข คุณคงได้เห็นข่าวการปิดตัวของธุรกิจใหญ่ๆในช่วงนี้แทบจะทุกวัน ไม่นับธุรกิจเล็กๆที่ไม่เป็นข่าว ซึ่งคงเยอะกว่าเป็นร้อยเท่าเลยทีเดียว 

====

เพื่อเป็นแนวทางในการช่วยเหลือผู้นำ ผู้บริหารองค์กร และผู้ประกอบการในประเทศไทยให้อยู่รอดและเติบโต  ผมจึงศึกษางานวิจัยหลายชิ้นในช่วงต้นปีนี้  โดยเฉพาะจากองค์กรที่ปรึกษาชั้นนำระดับโลก เช่น  Mckinsey & Company , PwC, Freeman ซึ่งผมได้นำมาเรียบเรียงและตกผลึกอยู่ในบทความนี้ เพื่อตอบคำถามสำคัญ ที่ได้จั่วหัวไว้ในบรรทัดแรกนั่นเอง 

ผมขอเสนอหลักการ “4Ps of the future” ซึ่งคุณสามารถใช้เป็นหลักคิดในการพาองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต หลักการนี้ประกอบไปด้วย 4P  ได้แก่  Purpose, People, Planet และ Profit

====

1.Purpose

“จุดมุ่งหมายของธุรกิจ ไม่ใช่แค่คำพูดสวยหรู แต่เป็นหัวใจของวิธีคิดและการตัดสินใจขององค์กร”

Purpose นั้นอธิบายว่า เราเป็นใคร ทำไมเราถึงทำสิ่งที่ทำอยู่นี้ ธุรกิจของเรามีเป้าหมายอย่างไร  การที่ผมยก Purpose ขึ้นมาเป็นข้อแรก เพราะมีประเด็นสำคัญอยู่ 2 ประการ ยิ่งองค์กรมี Purpose ชัดเท่าไหร่ก็จะได้รับความร่วมมือจากพนักงานในองค์กร และได้รับการสนับสนุนจากลูกค้ามากเท่านั้น 

ประการแรก Purpose กำหนดแก่นแท้ของคนในองค์กร 

เมื่อองค์กรมี Purpose ชัดก็จะดึงดูด Talent และคนเก่งๆที่มีเป้าหมายเดียวกันกับองค์กรเข้ามาเพื่อร่วมกันทำให้ภารกิจนั้นกลายเป็นจริง คนที่มีความสามารถสูงไม่ได้เลือกงานที่ได้เงินดีอย่างเดียว เขาอยากทำงานที่มีความหมายและได้เรียนรู้พัฒนาตนเองไปด้วย

เมื่อเกิดปัญหาในการทำงานไม่ว่าจะเรื่องใหญ่เรื่องเล็ก พนักงานจะมั่นใจที่จะตัดสินใจได้โดยไม่รีรอ หากพวกเขาเข้าใจว่า Purpose ขององค์กรคืออะไร โดยพวกเขาจะตัดสินใจเพื่อตอบเป้าหมายเดียวกันนั่นเอง

เมื่อต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ หรือทำสิ่งใหม่ๆ ผู้คนในองค์กรจะไม่หลงทางหรือเสียเวลาไปกับสิ่งที่ไม่ใช่ เพราะเขารู้ว่า Purpose ขององค์กรคืออะไร เขาจะมุ่งตรงไปยังทิศทางเดียวกัน

====

ประการที่สอง Purpose ช่วยสร้างการสนับสนุนจากลูกค้า

ในอนาคตอันใกล้ องค์กรที่จะเติบโตและได้รับการสนับสนุนจากลูกค้าเป็นอย่างดีจะไม่ใช่องค์กรที่เน้นเป้าหมายในการทำกำไรสูงสุดให้แก่ผู้ถือหุ้น แต่เป็นองค์กรที่ทำ ‘ประโยชน์สูงสุด’ ให้กับโลกและสังคมในวงกว้าง 

แบรนด์ที่จะอยู่ในใจของผู้บริโภคได้ ท่ามกลางแบรนด์คู่แข่งนับร้อยย่อมจะต้องแตกต่าง  จดจำง่าย เข้าถึงได้ และแสดงความเป็นตัวตนที่ชัดเจน 

เมื่อมี Purpose ที่ชัดเจนแล้วต้องประกาศอย่างชัดเจนให้ลูกค้ารู้ถึงเหตุผลของการมีอยู่ขององค์กรผ่านการสื่อสารและการเล่าเรื่องในทุกช่องทาง รวมถึงการดำเนินกิจการที่สอดคล้องกับ Purpose นั้น

เพียงไม่นาน ผู้บริโภคหรือลูกค้าจะรับรู้ได้ว่าเหตุใดเขาถึงควรจะสนับสนุนสินค้าหรือผลิตภัณฑ์องค์กรนี้ไม่ใช่องค์กรคู่แข่งที่พยายาม ลด แลก แจก แถม เพียงเพราะอยากได้ยอดขายมากขึ้น

====

กรณีศึกษาของบริษัท Learning Hub Thailand 

บริษัทของผม เริ่มก่อตั้งเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ด้วยเป้าประสงค์ (Purpose) ในการพัฒนาคนด้าน Soft Skills เพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพให้ผู้คนทำงานอย่างมีความสุข 

ด้วยเป้าประสงค์นี้ นับตั้งแต่ปีแรกที่เริ่มธุรกิจ นอกจากการจัดอบรมพัฒนาคนในองค์กรเอกชนและมหาชนแล้ว ในวันหยุดเรายังจัดคอร์ส Soft Skills ให้กับคนทั่วไปเป็นประจำทุกเดือน ในราคาเพียง 500 บาท แล้วนำเงินที่ได้ไปบริจาคตามองค์กรการกุศลต่างๆ

เมื่อปีที่แล้วในช่วงโควิด รัฐบาลมีมาตรการให้ Lockdown  เราจึงจัดอบรมแบบปกติไม่ได้ รายได้เริ่มหดหาย ผมจึงริเริ่มจัดอบรมผ่าน Zoom โดยตั้งชื่อว่า ‘Live Training’  โดยเชิญวิทยาการหลายท่านมาสอนฟรี เพียงเวลาไม่นาน ลูกค้าก็ติดต่อมาให้จัดอบรมออนไลน์ ทำให้เรามีรายได้แทบไม่ต่างจากปีก่อนหน้าที่ไม่ได้เกิดโควิดเลย

(ปัจจุบัน Live Training จัดมา 42 ครั้งแล้ว ในปีนี้เราก็ยังจัดอบรมคอร์สใหม่ๆ ทุกเดือน มีสมาชิกอยู่ในกลุ่มไลน์กว่า 1,200 คน  ซึ่งคุณสามารถเข้าร่วมเรียนได้ฟรี โดยคลิกสมัครที่นี่  https://bit.ly/Livetraining-Free)
====

ส่วนปีนี้เราก็ริเริ่มโครงการใหม่โดยตั้งใจจะนำกำไร 10% ที่ได้ไปจัดกิจกรรมพัฒนา Mindset ให้แก่น้องๆ นักเรียนในชนบทห่างไกลเป็นประจำทุกเดือนด้วย

ยิ่งธุรกิจของเราเติบโตในแต่ละปี เราก็ยิ่งสร้างผลกระทบทางบวกต่อสังคมได้มากขึ้น และเมื่อลูกค้ารับรู้เช่นนั้นเขาก็ยิ่งยินดีที่จะสนับสนุนธุรกิจของเรา เพราะรู้ว่าการจ่ายเงินของเขามีส่วนช่วยสังคมไปพร้อมกัน

ไม่ต้องเล่าต่อคุณก็คงเดาได้ว่า เราได้รับการสนับสนุนจากคนที่มี Purpose เดียวกันเสมอมา ไม่ว่าจะเป็นคนทำงานรุ่นใหม่ที่เข้ามาร่วมทีม วิทยากรเก่งๆ ที่มีจิตใจแห่งการให้ และลูกค้าน่ารักๆ ที่สนับสนุนเราอย่างต่อเนื่องมายาวนาน

เมื่อมีสถานการณ์วิกฤตหรือไม่ปกติ ผมจะไม่ลดราคาเพื่อความอยู่รอด แต่จะสร้างคุณค่าให้ลูกค้าเห็นมากขึ้น ปรับ Business Model ให้ตอบโจทย์ Purpose อย่างชัดเจนขึ้น และนั่นก็ทำให้ธุรกิจของเราเติบโตรวดเร็วกว่าเดิมเมื่อวิกฤตผ่านไป

====

2.People 

“คน ไม่ใช่ฟันเฟืองขับเคลื่อนองค์กร แต่เป็นหัวใจของการเติบโตที่ยั่งยืน”

องค์กรจะเติบโตได้นั้นสิ่งสำคัญที่ต้องโฟกัสก็คือ ‘คน’ เพราะไม่ว่ากระบวนการทำงานจะเป็นระบบ มีมาตรฐาน มีเทคโนโลยีหรือโปรแกรมที่ล้ำสมัยเพียงใด หากคนไม่มีคุณภาพ คนไม่เรียนรู้ คนไม่ร่วมมือ การลงทุนด้านระบบและโครงสร้างทั้งหมดก็สูญเปล่า

ในช่วง 2-3 ปีมานี้ ผู้นำที่อยากให้องค์กรเติบโตอาจจะพยายามลงทุนในเทคโนโลยีต่างๆ อยากทำ Digital Transformation พยายามผลักดันให้คนปรับตัวเป็นการทำงานแบบ Agile และต้องสามารถ Remote Working ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แต่คนไม่ใช่เครื่องจักรที่สั่งงานได้ทันที เราอาจต้องใช้เวลา และใช้ทักษะหลายอย่างในการผลักดันเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง คำถามคือเราจะพัฒนาเรื่องคนอย่างไร

====

สิ่งที่ผมได้เรียนรู้จากประสบการณ์ที่ทำงานเรื่องการพัฒนาคนให้กับองค์กรมหาชนมากว่า 7 ปี คือหลักการสำคัญทั้งหมด 3 ข้อ 

  1. รู้ว่าใคร คือคนที่ใช่
  2. รู้ว่าจะช่วยให้คนที่ใช่ ทำงานได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดได้อย่างไร
  3. รู้ว่าจะพัฒนาคนที่ใช่ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างต่อเนื่องได้อย่างไร

คนที่ใช่ 1 คน สามารถทำงานได้มากกว่าคนทั่วไป 3 คน ฉะนั้นการเลือกคนที่ใช่ เป็นกระบวนการที่สำคัญที่สุด หากพยายามเคี่ยวเข็ญคนที่ไม่ใช่ คนที่ไม่เหมาะกับตำแหน่งนั้น นอกจากจะเป็นภาระและสร้างปัญหาให้กับองค์กรแล้ว เรายังเสียโอกาสในการที่จะได้คนที่ใช่มาทำงานด้วย เท่ากับเสียหาย 2 ต่อเลยทีเดียว

กระบวนการคัดเลือกคน บางครั้งเราก็ทำอย่างเร่งรีบจนเกินไป สัมภาษณ์เพียงผิวเผินเกินไป หากคุณสามารถวัด Level of Mindset ของคนทำงานได้ก็จะช่วยป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดตามมาได้มากมาย 

ระดับของ Mindset จะบ่งบอกว่าคนๆ นี้ควรจะทำงานในตำแหน่งไหน ระดับใด หากคุณให้คนที่มี Mindset มองแค่ตัวเองแบบวันต่อวันไปคุมทีม ทีมย่อมพังอย่างแน่นอน 

====

หากเป็นคนที่มี Mindset ระดับทีมก็จะมองสิ่งต่าง ๆ ระดับเดือนต่อเดือน การจะให้เขาไปทำงานบริหารขับเคลื่อนองค์กรสู่อนาคตด้วยการทำงานเชิงกลยุทธ์นั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้ 

ทักษะเรื่องคนเป็นเรื่องใหญ่และเรื่องสำคัญที่ผู้นำต้องเรียนรู้และสะสมให้มากพอ ถ้าคุณอยากให้องค์กรเติบโต  ก็บอกได้เลยว่า Soft Skills สำคัญกว่า Hard Skills อย่างแน่นอน 

(ผมได้รวบรวม 24 ทักษะ Soft Skills ที่สำคัญสำหรับคนทำงาน ไว้ใน eBook เล่มใหม่ “24 Future Soft Skills” คุณสามารถดาวน์โหลดอ่านได้ฟรี คลิกที่นี่ https://bit.ly/24SoftSkills)

หากต้องการปรึกษาเรื่องการวางระบบในการคัดสรร ประเมินผล และพัฒนาคนในองค์กร โดยใช้หลัก Level of Mindset สามารถส่งอีเมลมาหาผู้ช่วยผมได้ที่ assist@learninghub.1stcraft.com 

====

3.Planet 

“ธุรกิจที่จะเติบโตได้ในวันนี้และอนาคต คือธุรกิจที่ทำเพื่อโลก”  

กระแสรักษ์โลก อาจเป็นแคมเปญทางการตลาดเมื่อหลายปีก่อน แต่ปัจจุบันได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณาเลือกซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภค เมื่อลูกค้าส่วนใหญ่เริ่มหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมและโลกอย่างจริงจัง พวกเขาย่อมคิดมากขึ้นว่าตัวเองกำลังสนับสนุนบริษัทแบบไหนอยู่

ปัจจุบันสินค้าออร์แกนิคกำลังเป็นเทรนด์ คนมีรายได้สูงหันมาบริโภคสินค้าออร์แกนิคมากขึ้นเพราะปลอดภัยจากสารพิษและช่วยโลกให้ดีขึ้น ในต่างประเทศกระแสการกินแบบ Vegan เติบโตอย่างรวดเร็ว คนรุ่นใหม่ต่างเลิกบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ทำให้ Plant Based Food เป็นธุรกิจที่มาแรงในหลายประเทศ

====

การที่สินค้ามีราคาสูงไม่ใช่ปัญหาของคนที่รักและห่วงใยโลก เพราะเขารู้ว่าหากโลกอยู่ไม่ได้ เราทุกคนก็จะอยู่ไม่ได้เช่นกัน แบรนด์ที่ใส่ใจโลกสามารถขายสินค้าราคาแพงกว่าแบรนด์คู่แข่งแถมยังเติบโตได้ดีกว่าอีกด้วย 

ในขณะที่ธุรกิจยุคเก่า ยิ่งเติบโตก็ยิ่งเผาผลาญทำลายทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ปล่อยมลพิษสู่อากาศและทะเลมากขึ้น คนรุ่นใหม่ต่างหันมาเริ่มธุรกิจและสร้างอุตสาหกรรมจากพลังงานสะอาดที่ช่วยฟื้นฟูโลกในทุกแง่มุม เพราะพวกเขาเห็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่คนรุ่นเก่าทิ้งไว้ให้มากมาย 

ลองดูกรณีของ Tesla ที่มียอดจองรถยนต์ทะลุเป้า จนมีมูลค่าบริษัทเป็นอันดับหนึ่งของอุตสาหกรรมรถยนต์ได้ ทั้งๆ ที่ก่อตั้งขึ้นมาไม่นาน

อย่าเข้าใจผิดว่า การ Disruption ที่ทำให้ธุรกิจเก่าๆล้มหายตายไป เกิดจากเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเพียงอย่างเดียว อันที่จริงแล้วมันเกิดจากการมองเห็นปัญหาหรือ Pain Point ที่ธุรกิจเก่าๆตอบโจทย์ผู้บริโภคไม่ได้ต่างหาก (เช่น น้ำมันราคาสูง และทำลายสิ่งแวดล้อม)

====

ผู้นำจึงต้องคิดค้น Business Model และเฟ้นหากลยุทธ์ในการนำพาธุรกิจของตนเองให้เติบโตได้ในระยะยาว บางครั้งต้องมองไกลไปกว่าชั่วอายุของตัวเองด้วยซ้ำ มิใช่คิดแต่จะหาเงินในระยะสั้น เพราะนั่นเท่ากับว่า เราเริ่มธุรกิจที่มีวันหมดอายุระบุตั้งแต่เริ่มแล้ว 

หากธุรกิจของคุณมีส่วนช่วยให้โลกใบนี้น่าอยู่ขึ้น ไม่ว่าจะมากหรือน้อยเพียงใด รับรองได้ว่าคุณจะมีความสุขในทุกๆวันที่ทำงาน และความเจริญรุ่งเรืองจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและเป็นธรรมชาติ คุณสามารถพิสูจน์แนวคิดนี้โดยการไปดูองค์กรที่อยู่ยั่งยืนมากกว่า 100 ปีเพราะพวกเขาล้วนใช้หลักการนี้ทั้งนั้น 

====

4.Profit

“ผลกำไร ไม่ใช่เพียงตัวเลขทางการเงิน แต่เป็นผลกระทบทางบวกที่ธุรกิจได้สร้างไว้ด้วย” 

ปฏิเสธไม่ได้ว่า เป้าหมายหลักอย่างหนึ่งของการทำธุรกิจคือผลกำไร แต่คงจะเป็นการมองที่แคบไปหากวัดกันที่ตัวเลขเพียงอย่างเดียว เราสามารถวัดผลกำไรของธุรกิจได้ในหลายมิติ โดยวัดจากผลกระทบทางบวกที่ธุรกิจนั้น ๆ ได้สร้างไว้ เช่น

  • มิติทางเศรษฐกิจ ธุรกิจได้ช่วยให้คุณภาพชีวิตของลูกค้าดีขึ้นมากเพียงใด ธุรกิจของเรามีส่วนช่วยให้ลูกค้ามีรายได้มากขึ้น ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นอย่างไร
  • มิติทางสังคม ธุรกิจได้ช่วยพัฒนาสังคมให้น่าอยู่ขึ้นในรูปแบบไหนบ้าง เช่น สินค้าของเราลดปัญหาทางสังคมได้หรือไม่ บริการของเราช่วยให้คนบางกลุ่มมีชีวิตที่ดีขึ้นมากเพียงใด
  • มิติทางการพัฒนา ธุรกิจได้สร้างแนวคิด หรือสร้างอิทธิพลให้ผู้คนหันมาปรับปรุงวิถีการดำเนินชีวิตให้ดีขึ้นมากแค่ไหน มีผู้ที่ได้รับประโยชน์ มีชีวิตที่ดีขึ้น แล้วส่งเสียงสะท้อนกลับมาบอกเรามากเพียงใด

====

คุณสามารถสร้างตัวชี้วัดเหล่านี้ได้อีกมากมายหลายรูปแบบ ทั้งมิติที่วัดจากภายนอกและมิติที่วัดจากภายในองค์กรเอง 

ผลกำไรที่วัดจากภายใน เช่น ความสุข คุณภาพชีวิตของพนักงาน การเรียนรู้พัฒนาตัวเองของพนักงาน

การที่คุณสามารถวัดผลกระทบทางบวกในการดำเนินธุรกิจของคุณได้ ผมมั่นใจว่าจะสร้างความสุขและกำลังใจให้กับทีมงานทั่วทั้งองค์กร มากกว่าตัวเลขผลกำไรอย่างแน่นอน 

เพราะตัวเลขผลกำไรจะรับรู้ได้ปีละครั้ง แต่ผลกระทบทางบวกสามารถรับรู้ได้ทุกๆวันที่ทำงาน และเรื่องราวทางบวกนั้นจับต้องได้มากกว่าตัวเลขในบัญชีเสียอีก 

ยังไม่นับเรื่องเล่าดีๆ ที่จะกระจายออกไปสู่สังคม โดยพนักงานของพวกเราเองหรือครอบครัวของพวกเขา ไม่ต้องเสียเงินจ้าง Youtuber หรือ Influencer มาโปรโมทองค์กรของคุณเลย

====

บทสรุป 

บทความนี้นำเสนอหลักการ 4Ps of Future: Purpose, People, Planet และ Profit เพื่อช่วยให้คุณในฐานะผู้นำและผู้บริหารองค์กร นำไปใช้ออกแบบอนาคตของธุรกิจในยุคหลังโควิด หรือยุค Next Normal ให้เกิดการเติบโตที่ยั่งยืน 

ก่อนหน้านี้ ผมเคยได้คุยกับนักธุรกิจท่านหนึ่งที่ทำงานด้านสื่อ เขาถามว่า ผมมีหลักช่วยเหลือ SME ในยุคโควิดอย่างไร ผมก็ได้แนะนำหลักการสร้างความยั่งยืนให้ธุรกิจไป 

เขาตอบกลับมาว่า “เรื่องความยั่งยืนไม่สนใจหรอก เอาหลักการที่ว่า ทำยังไงให้พรุ่งนี้รอดก็พอแล้ว ทำยังไงให้พนักงานทำงานมากขึ้น ขยันขึ้น เก่งขึ้น รวดเร็วขึ้น ทั้งที่่มีรายได้น้อยลง มีมั้ย” 

เมื่อจากมา ผมก็ได้แต่คิดในใจว่า คนที่คิดเอาตัวรอดแค่วันต่อวัน มองแต่ตัวเลขอย่างเดียว จะสร้างอนาคตระยะยาวให้ธุรกิจได้อย่างไร และเมื่อผู้นำมองสั้น ก็ทำให้ธุรกิจของเขาอายุสั้นไปด้วย…

ผู้นำหลายคนโฟกัสที่ Profit หรือผลกำไรทางการเงิน โดยไม่ได้สร้าง P อีก 3 ตัวที่สำคัญก่อนหน้าเลย แล้วจะหวังผลให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างไร เหมือนเราติดกระดุมผิดเม็ดแต่แรก ไม่มีทางที่จะสำเร็จเลย

====

หากคุณอ่านบทความนี้จบแล้วก็ผ่านเลยไปโดยไม่นำไปคิดปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงอะไร ในที่สุดธุรกิจของคุณก็จะถูกเปลี่ยนอยู่ดี 

แทนที่จะเจอการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ต้องการ ไม่ตั้งใจ และไม่ได้ตั้งตัว จะดีกว่าไหมถ้าเรามาออกแบบอนาคตเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่เราต้องการ

สุดท้าย ผมขอยืนยันอีกหนึ่งเสียงว่าหลักการ 4Ps นี้ ‘ทำได้จริง’  ไม่ใช่แค่แนวคิดสวยหรู เพราะได้ใช้มาตั้งแต่เริ่มโดยไม่ตั้งใจ และไม่ว่าจะเป็น SME หรือ บริษัทมหาชนก็ใช้หลักการนี้ได้ ลองนำไปปรึกษากันในทีมผู้บริหาร และเริ่มออกแบบอนาคตของธุรกิจกันดูนะครับ 

====

ถ้าคุณต้องการฝึก Mindset และ Skill ในการเป็นผู้นำในโลกยุคใหม่ เราขอแนะนำหลักสูตร The New Leadership Skill คลิกดูรายละเอียดที่นี่

เขียนโดย CEO เรือรบ ผู้ก่อตั้ง Learning Hub Thailand

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

ผู้นำยุคใหม่ฝึกจิตใจเพื่อสร้างทีม

ผู้นำยุคใหม่ฝึกจิตใจเพื่อสร้างทีม

มีอยู่หลายเรื่องที่ดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้ในโลกการทำงานยุคปัจจุบัน

หนึ่งในเรื่องดังกล่าวก็คือการที่ผู้นำจะต้องทำให้คนในทีมทำงานได้อย่าง รวดเร็วพร้อม ๆ กับมีความคิดสร้างสรรค์ไปด้วย

งานยุคใหม่ทั้งซับซ้อนและหนักหนาสาหัสซึ่งก็มักจะทำให้คนทำงานอยู่ในสภาพที่ล่องลอยเลื่อนไหลไปเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นสภาวะที่คนมักทำอะไรไปวันต่อวันด้วยตามความเคยชิน

การปล่อยให้ตัวเองอยู่ในสภาพนั้น ทำให้‘ความคิดสร้างสรรค์’ ค่อย ๆ มลายหายไปทีละน้อย ซึ่งถ้าผู้นำจะให้คนทำงานโฟกัสไปที่งานทีละชิ้นโดยมีเป้าหมายให้พวกเขาเกิดไอเดียแปลกใหม่สุด ๆ ต่องานแต่ละชิ้น ก็คงไม่มีเวลามากพอจะทำอย่างนั้นได้

แล้วทีนี้จะทำอย่างไรดีล่ะ

====

เชื่อหรือไม่ ‘การฝึกจิตใจ’ ช่วยทีมของคุณได้

ผลการวิจัยที่ได้จากการทดลองล่าสุดสรุปว่ากลุ่มที่เข้ารับการฝึกจิตใจสามารถทำงานที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในช่วงเวลาจำกัดได้ดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ฝึก

ข้อสรุปจากผลการวิจัยนี้คือ การฝึกจิตใจทำให้ภายในทีมมีความสร้างสรรค์มากขึ้น แถมยังมีความคิดที่ยืดหยุ่นกว่า มองเห็นภาพรวมดีกว่า ไปจนถึงสามารถแก้ปัญหาจากภายในได้ดีกว่าอีกด้วย

การฝึกจิตใจในรูปแบบที่เรียกว่า Mindfulness ต้องอาศัยเวลาและความตั้งใจ รวมถึงเรียนรู้แบบนามธรรม ซึ่งถ้าหากฝึกอย่างต่อเนื่องจะทำให้เรากลายเป็นคนที่คิดอะไรได้ด้วยสายตาแปลกใหม่ ไม่ติดอยู่ในวังวนการทำงานซ้ำซากอีกต่อไป

แน่นอนว่าการฝึกจิตใจส่งผลดีต่อการทำงานเป็นทีม และควรค่าที่จะให้องค์กรต่าง ๆ พิจารณาเพื่อนำไปใส่ไว้ในแผนยุทธศาสตร์พัฒนาบุคลากรด้วย

กระทั่งองค์กรอย่าง google  ก็ยังสร้างโปรแกรมฝึกพนักงานให้มีความฉลาดทางปัญหาและสุขภาวะที่ดีจากการฝึกจิตใจ และนี่คือสิ่งที่เราสกัดมาจากแนวทางของกูเกิ้ลเผื่อว่าคุณจะลองนำไปปรับใช้กับองค์กรของคุณดูนะครับ

====

เชื่อมโยงการฝึกจิตใจเข้ากับค่านิยมองค์กร

มองหาว่าอะไรคือค่านิยมร่วมขององค์กร แล้วเชื่อมโยงให้สอดคล้องกับเป้าหมายการฝีกจิตใจ เช่น ถ้าองค์กรของคุณมีค่านิยม ‘โอบกอดและขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลง’ คุณก็อาจจะนำเอา Keyword ‘ความเปลี่ยนแปลง’ มาใช้ โดยชูธงว่าการฝึกจิตใจในโปรแกรมนี้จะนำไปสู่การเปลี่ยนที่ดีนั่นเอง

=====

สร้างโปรแกรมการฝึกขององค์กร

ออกแบบการฝึกฝนเพื่อให้พนักงานสามารถนำการฝึกจิตใจมาใช้ในชีวิตประจำวันของพวกเขาได้ เช่น ลองถามพนักงานของคุณว่านิสัยแบบใดที่ส่งผลให้เกิดการมองเห็นสิ่งใหม่

ถามต่อไปว่าจะทำอย่างไรให้กระบวนการทำงานอย่างสร้างสรรค์เกิดขึ้นได้ และพวกเขามีวิธีทำให้เกิดขึ้นในที่ทำงานได้อย่างไร จากนั้นนำข้อมูลเหล่านั้นมาออกแบบวิธีการฝึกจิตใจ

สอดแทรกโปรแกรมฝึกอบรมในองค์กร
เมื่อมีการฝึกฝนอบรมอื่น ๆ ขององค์กร ลองนำการฝึกจิตใจใส่เข้าไปในการฝึกอบรมด้วย

=====

ส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศที่ดี

ลองทำให้พนักงานมีเวลาที่จะฝึกจิตใจได้เสมอ เช่น แนะนำให้พวกเขาทำอะไรช้าลง, แนะนำให้พวกเขามองสิ่งต่าง ๆ ด้วยวิธีการแบบใหม่

ในตอนก่อนจะเริ่มการประชุมต่าง ๆ ก็ให้พนักงานลองหายใจเข้าออกลึกๆ ลืมเรื่องกังวลภายนอกห้องประชุมออกไปให้หมด วิธีการเหล่านี้ทำให้เกิดการพัฒนาทางจิตใจที่ดีมาก

=====

หาทรัพยากรสนับสนุน

ทำได้โดยการจัดหาสิ่งที่พนักงานสามารถเดินเข้ามาใช้งานเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตใจของเขาได้ ไม่ว่าจะเป็น คอร์สสัมมนาออนไลน์ อุปกรณ์ช่วยทำสมาธิ การสร้างคอร์สเรียนรู้ระหว่างกินข้าวเที่ยง คอลเล็คชั่นนักพูดสร้างแรงบันดาลใจ ฯลฯ

ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสิ่งที่ผู้นำอย่างคุณทำได้ และจะพาให้ทีมของคุณข้ามผ่านการทำงานที่เร่งรีบและสร้างสรรค์ในเวลาเดียวกันได้แน่นอน

อีกหนึ่งรูปแบบการฝึกจิตใจก็คือการฝึกมีสติรู้ตัวในทุก ๆ เรื่องที่ทำ หรือการมี Self – Awareness อ่าน วิธีฝึก Self – Awareness แบบ Step by Step ได้ที่นี่

====

การฝึกบริหารจัดการอารมณ์เพื่อไม่ให้การทำงานและการสร้างทีมพังเป็นหนึ่งวิธีการที่ควรทำควบคู่กับการฝึกจิตใจ เราขอแนะนำหลักสูตร Emotion Intelligence เพื่อให้คุณเป็นผู้นำที่ยอดเยี่ยมยิ่งขึ้น ดูรายละเอียดที่นี่

เรียบเรียงจาก “How to Use Mindfulness to Increase Your Team’s Creativity” โดย Ellen Keithline Byrne and Tojo Thatchenkeryจาก Harvard Business Review 12 กรกฎาคม 2018

เรียบเรียงโดย  Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

วิธีฝึก Self – Awareness เพื่อความสงบในการทำงาน

วิธีฝึก Self - Awareness เพื่อความสงบในการทำงาน

เป็นเรื่องธรรมดาที่เรามักไม่ค่อยรู้เท่าทันจิตใจตัวเอง เพราะมันเป็นนามธรรมที่จับต้องยาก แถมเรายังมีเรื่องสำคัญและเร่งด่วนถาโถมเข้ามาทุกวันอีกด้วย  

แต่หากคุณต้องการมีความสุขและประสบความสำเร็จในชีวิต การรู้เท่าทันจิตใจตัวเอง หรือ  Self -Awareness คือทักษะที่สำคัญที่สุด ที่คุณควรฝึกฝน

Self – Awareness หรือ การตระหนักรู้ตัวเอง คือ รากฐานที่สำคัญของภาวะผู้นำ (Leadership)  ถ้าการลงเสาเข็มให้หยั่งรากลึกลงในพื้นดินก่อนการสร้างตึกสูงเป็นเรื่องสำคัญฉันท์ใด การฝึก Self – Awareness ก่อนการฝึกภาวะผู้นำก็เป็นเรื่องสำคัญฉันท์นั้น

====

Self – Awareness จะช่วยทำให้เกิด Self – understanding (การเข้าใจตนเอง) Self – Acceptance (การยอมรับตัวเอง)  Self – Esteem (ความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง) ไปจนมี Self – Control หรือ สามารถควบคุมตนเองให้ทำพฤติกรรมที่ช่วยให้ประสบความสำเร็จรวมถึงเลิกพฤติกรรมบ่อนทำลายตัวเองลงได้ด้วย

ซึ่งสุดท้ายมันจะช่วยทำให้ชีวิตของคุณมีประสิทธิผล หรือ  Productive มากขึ้นได้ด้วย 

แม้จะเข้าใจในเชิงแนวคิด(Concept) แต่ในทางปฏิบัติก็ยังทำได้ยากอยู่ดี ใช่แล้วครับ ผมไม่ได้บอกว่ามันทำได้ง่าย แต่ผมยืนยันว่านี่คือรากฐานของการเป็นผู้นำ และเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนควรฝึกไม่ว่าจะมีตำแหน่งและบทบาทใดก็ตาม

====

ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างประสิทธิผลส่วนบุคคลและทักษะการร่วมมือร่วมใจภายในองค์กร ผมขอแบ่งปันประสบการณ์จากการฝึก Self – Awareness ในชีวิตจริงทั้งในชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวซึ่งเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน จนกลายมาเป็นวิธีการฝึกแบบ Step by Step ที่คุณสามารถฝึกตามได้ทันที ดังนี้ 

1.ใส่ใจกับความรู้สึกทางร่างกายของคุณ

เริ่มต้นที่ส่วนที่สัมผัสได้ง่ายที่สุดในตัวคุณ นั่นคือร่างกาย วางทุกสิ่งที่ทำตรงหน้าแล้วมารับรู้ร่างกายของคุณอย่างเต็มที่ โดยจะเลือกที่อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ที่ลมหายใจก็ได้ 

====

2. ใส่ใจกับความรู้สึกภายในใจคุณ

หลับตา แล้วถามตัวเองว่า “ขณะนี้ฉันรู้สึกอย่างไร” อาจเริ่มที่การจับว่าความรู้สึกตัวเองเป็นไปในทางบวก ลบ หรือกลาง ๆ ก่อนก็ได้ เมื่อฝึกไปเรื่อย ๆ ค่อยเริ่มระบุชื่อความรู้สึกออกมา เช่น กลัว กังวล เครียด โกรธ โมโห แค้น ไม่พอใจ เป็นต้น

====

3. ยอมรับทุกสิ่งที่กำลังปรากฏ

ระวังความคิดต่อต้านตัดสินความรู้สึกต่าง ๆ ยอมรับว่าทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมีเหตุปัจจัย มีที่มาที่ไป และไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริงของเรา ยอมรับว่าความคิดทั้งหมดไม่ว่ามันจะดีหรือไม่ดีคือส่วนหนึ่งข้างในตัวเรา และเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดทุกข์ด้วย

====

4. กำหนดรู้ตัวอยู่กับปัจจุบัน

ขั้นตอนนี้คือหัวใจของทุกสิ่ง การกำหนดรู้อยู่กับปัจจุบันจะอยู่กับลมหายใจหรือการเคลื่อนไหวโดยไม่ต้องคิดของอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งของเราก็ได้ (ควรเคลื่อนไหวง่าย ๆ ซ้ำ ๆ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องคิด) ถ้าจิตหลุดไปคิดก็แค่กลับมารู้ตัวในปัจจุบันเท่านั้น

====

5. เฝ้าดูทุกสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นภายใน

รับรู้ทุกสิ่ง ทั้งความคิด ความรู้สึกทางจิตใจ ความรู้สึกทางร่างกาย แค่รับรู้โดยไม่ต้องไปตัดสินอะไรเลย อยู่กับปัจจุบันขณะต่อไปเรื่อย ๆ และถ้าหลุดไปจากปัจจุบันก็เพียงแค่กลับมา โดยไม่ต้องคิดตัดสินอะไรตัวเองเลย ฝึกแบบนี้ต่อเนื่องจะสามารถอยู่กับปัจจุบันได้มากขึ้นและนานขึ้นเอง 

เมื่อฝึกทักษะการมีสติรู้ตัวได้ในระดับหนึ่งแล้ว คุณจำเป็นต้องเปลี่ยน ‘การรู้ตัว’ เป็น ‘การปรับตัว’ เพื่อความสำเร็จที่แท้จริง คลิกอ่านที่นี่

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากมีทักษะตระหนักรู้เท่าทันความคิด ความรู้สึกของตัวเอง (Self -Awareness) เพื่อพัฒนาสู่การเป็นคนที่ฉลาดทางอารมณ์ เราขอแนะนำหลักสูตร Emotion Intelligence  คลิกที่นี่

====

เรียบเรียงโดย อ. เวย์ เวสารัช โทณผลิน
ผู้เชี่ยวชาญด้าน Productivity (Productivity Facilitator) 

Learning Hub Thailand เราพัฒนาคนในองค์กร เพื่อเพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

แนวทางจัดการอารมณ์โกรธให้อยู่หมัด

แนวทางจัดการอารมณ์โกรธให้อยู่หมัด

ครั้งสุดท้ายที่ระเบิดลง คุณรู้สึกอย่างไร และรับมือกับมันอย่างไร?

แม้ผมจะมีช่วงเช้าที่แสนสดใส แต่ช่วงบ่ายกลับเป็นเหมือนหนังคนละม้วน  เพราะผมได้ระเบิดอารมณ์ใส่น้องที่ทำงาน!!

จากการส่งข้อความแจ้งเรื่องงานที่เรียบง่าย แต่ไม่ถึง 3 นาทีต่อจากนั้น ภาพตัดมาที่ผมกำลังตะโกนเสียงดังผ่านโทรศัพท์ว่า…

“จะเถียงพี่ทำไม #%$^&”

หัวใจผมเต้นแรงไม่เป็นจังหวะ สายตาของผมเริ่มพร่ามัว ปากและมือของผมสั่นระริก ถ้าอยู่ใกล้ ๆ อยากจะเอามือตบโต๊ะใส่ให้รู้แล้วรู้รอดไปเลย

====

แม้จะรู้สึกผิดที่คุมอารมณ์ไว้ไม่อยู่ แต่อีกใจก็รู้สึกสะใจชะมัดที่ได้ทำอะไรแบบนี้บ้าง จนกระทั่งน้องปลายสายถามผมว่า…

“อันนี้คือพี่ใช่ไหม?”

คำถามนั้นทำให้ผมนิ่งไปพักใหญ่ ๆ แล้วสูดลมหายใจเข้าลึก ๆ เพื่อดึงสติให้กลับมา

นี่ไม่ใช่ตัวตนของผม!!

แต่ความพลุ่งพล่านที่เกิดขึ้นนี้ มันเกิดมาจากการที่ ‘ความต้องการ’ และ ‘ความกลัว’ ของผม ถูกกระตุ้น ด้วยเสียงกระซิบเบา ๆ

เสียงกระซิบที่ดังในหัวว่า…

“มึงจะยอมให้เด็กมาข้ามหน้าข้ามตามึงไม่ได้”

“เด็กนี่มันเก่งกว่ามึงอีก มึงสู้น้องมันไม่ได้”

“น้องมันทำงานดีกว่า และกำลังทำให้มึงเป็นพวกดีแต่พูด”

และเสียงอื่น ๆ อีกมากมาย ที่ผมก็ฟังไม่ทันเหมือนกัน

====

เสียงเหล่านี้ชวนให้ผมตีความว่าข้อความทางแชทและน้ำเสียงที่คุยกัน คือน้องคนนี้กำลังกวนประสาทและท้าทายผม

ซึ่งในเสี้ยววินาที ผมก็เชื่ออย่างสนิทใจว่า…

“การระเบิดอารมณ์ใส่น้อง คือสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมที่สุดแล้ว”

เหตุการณ์นี้ทำให้ผมนึกถึงบทเรียนที่พึ่งได้เรียนในคลาส Communication Secrets

ปัญหาอย่างหนึ่งในการสื่อสารนั่นก็คือ… ‘เจตนาหรือความกลัวลึก ๆ ที่ซ่อนอยู่ใต้คำพูด (Subtext)’

ซึ่งเจตนาที่ซ่อนอยู่ในการระเบิดอารมณ์ครั้งนี้ของผมคือ… “การแสดงอำนาจ”

เพราะเสียงกระซิบที่ผมได้ยินมันกำลังทำให้ผมเห็นว่า “ผมกำลังไม่ปลอดภัย” ถ้ายังปล่อยให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น

ความสำคัญของผมในทีมจะถูกลดทอนลงและผมจะไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของทีมนี้อีกต่อไป ซึ่งผมยอมไม่ได้!!

====

พอรู้ว่าความกลัวลึก ๆ นี้กำลังบงการชีวิต ผมจึงเปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารใหม่

เพราะ “การระเบิดอารมณ์” แค่ทำให้ผมรู้สึกมีอำนาจ แต่มันไม่ได้ช่วยให้ทีมของเราเติบโตไปไหนเลย

ผมค่อย ๆ สำรวจเสียงกระซิบภายในใจ ปรับจังหวะของลมหายใจให้ช้าและผ่อนคลาย เปลี่ยนท่าทางใหม่ ให้ผ่อนคลายและมีรอยยิ้มมากขึ้น

ผมเปิดใจคุยกับน้อง เล่าให้ฟังว่ามีอะไรเกิดขึ้นในใจผม และขอโทษที่ระเบิดอารมณ์ออกไปแบบนั้น

ท้ายที่สุด เราก็ได้ข้อสรุปกันว่า…

การสื่อสารผ่านข้อความ ทำให้เกิดการตีความที่ผิดเพี้ยน

ดังนั้นต่อไปในกรณีที่เป็นเนื้องานที่ต้องพูดคุยกัน เราจะใช้การโทรหากัน มากกว่าการพิมพ์

และหากคุยแล้วอารมณ์เริ่มพลุ่งพล่านแบบนี้อีก ผมจะให้น้องส่งสัญญาณกับผมว่า… “เราหายใจกันเถอะ”

เพื่อให้ผมกลับมามีสติ และตอบสนองได้ดีขึ้น

====

วิธีรับมือเวลาที่อารมณ์ขึ้น

หากคุณเคยหลุดอารมณ์เสียใส่ทีม หรือเพื่อนร่วมงานของคุณ และคุณก็รู้สึกเสียใจที่ทำแบบนั้นลงไป ผมแนะนำให้คุณได้ฝึก 3 ขั้นตอนดังนี้

1.ฝึกรู้เท่าทันอารมณ์ตัวเอง

อารมณ์เกิดขึ้นได้เสมอ ไม่ต้องรู้สึกผิดเวลาอารมณ์ขึ้น เราแค่ต้องฝึกรู้เท่าทันว่าตอนนี้ เรากำลังโกรธ เรากำลังเสียใจ เรากำลังอึดอัดอยู่ นี่เป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก และเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง

====

2.ฝึกสำรวจใจตัวเอง

อารมณ์ที่เกิดขึ้น คือผลลัพธ์ปลายทางที่เกิดความกลัวบางอย่างภายในใจ หรืออาจเป็นการที่เรารู้สึกว่าความต้องการบางอย่างที่สำคัญของเรากำลังถูกคุกคาม

หากเรื่องอะไรมากระทบใจเราบ่อย ๆ ลองสำรวจใจของเราว่าเรากลัวอะไร หรือเราต้องการอะไรกันแน่

และเมื่อเรารู้ความต้องการที่แท้จริงของตัวเองแล้ว มันจะทำให้เรากลับมาพิจารณาหาทางเลือกอื่น ๆ ได้มากขึ้น

เพราะบางครั้ง เราก็ไม่ได้โกรธเพราะอยากโกรธ แต่เราโกรธ เพราะเราต้องการให้ผลงานออกมาดี ซึ่งการจะให้ผลงานออกมาดีนั้น  ยังมีวิธีอีกมากมายที่จะทำให้ได้ผลลัพธ์นั้นมา โดยไม่ต้องทำร้ายจิตใจคนอื่น

====

3.ฝึกเริ่มใหม่เสมอ

พลาดแล้วก็เริ่มใหม่ ระเบิดแล้วก็ขอโทษแล้วก็ปรับตัว มันอาจจะยากที่จะทำให้คนเชื่อว่าเราจะเปลี่ยนไป แต่หากเราเริ่มใหม่ทุกครั้งเวลาที่พลาด ไม่หมดความพยายามต่อตัวเองที่จะฝึกบริหารและรับมืออารมณ์ให้ดีขึ้น

เมื่อเรารู้ตัวอีกทีหลังจากที่ทำต่อเนื่องไปได้สักระยะ คุณจะประหลาดใจว่าทำไมเพื่อนร่วมงานถึงรู้สึกสนิท เคารพ และอยากเข้าใกล้คุณมากกว่าแต่ก่อน

อีกหนึ่งรูปแบบการฝึกจิตใจก็คือการฝึกมีสติรู้ตัวในทุก ๆ เรื่องที่ทำ หรือการมี Self – Awareness อ่าน วิธีฝึก Self – Awareness แบบ Step by Step ได้ที่นี่

====

เป็นกำลังใจในการฝึกฝนนะครับ

บทความโดย

อ.กิตติ ไตรรัตน์

Self-Leadership Facilitator

ถ้าต้องการฝึกบริหารจัดการอารมณ์เพื่อให้การทำงานและการสร้างทีมมีประสิทธิภาพสูงสุด เราขอแนะนำหลักสูตร Emotion Intelligence เพื่อให้คุณเป็นผู้นำที่สามารถสร้างทีมที่ยอดเยี่ยมได้สำเร็จ ดูรายละเอียดที่นี่

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

.

5 วิธีรับมือกับความเครียดในการทำงาน

5 วิธีรับมือกับความเครียดในการทำงาน

การทำงานเป็นสาเหตุให้คุณเกิดความเครียดได้ ไม่ว่าความเครียดนั้นจะมาจากงานที่เพิ่มขึ้น เวลาที่น้อยลง หัวหน้างานผู้เข้มงวด หรือเพื่อนร่วมงานช่างนินทา

มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งเปิดเผยว่า ชาวอเมริกันสามในสี่คนทุกข์ทรมานจากความเครียดในที่ทำงาน นอกจากนี้ องค์กรอนามัยโลกรายงานว่า ในแต่ละปีความเครียดเป็นสาเหตุให้พนักงานหยุดงานเนื่องจากป่วย และทำให้ธุรกิจของอเมริกาเสียหายถึง 3,000 ล้านเหรียญ

จากข้อมูลเบื้องต้น จะเห็นว่าความเครียดนั้นน่ากลัวกว่าที่คิด เพราะไม่เพียงแต่ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย รวมถึงจิตใจของผู้คนแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติในด้านต่างๆด้วย

ดังนั้น เราจึงจำเป็นที่จะต้องกำจัดความเครียดก่อนที่มันจะกำจัดเรา โดยบทความนี้ได้แนะนำหลักปฏิบัติ 5 ข้อ เพื่อให้คุณสามารถจัดการและรับมือกับความเครียดในที่ทำงานได้ ดังนี้

====

1) ใส่ใจเรื่องอาหารการกิน

อาหารเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเครียดของคุณ กล่าวคือ อาหารสามารถกระตุ้นหรือบรรเทาความเครียดให้คุณได้ ขึ้นอยู่กับชนิดหรือประเภทของอาหาร

อาหารที่ช่วยขจัดความเครียด ได้แก่ อาหารจำพวกผัก ผลไม้ ข้าวกล้อง ธัญพืช ถั่ว เผือก มัน น้ำเปล่า เป็นต้น อาหารเหล่านี้มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะระบบประสาท เพราะอุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามิน ช่วยรักษาระดับน้ำตาลให้คงที่ และยังช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายและลดความเครียดได้อีกด้วย

นอกจากอาหารที่ควรรับประทานเพื่อลดความเครียดแล้ว ยังมีอาหารที่คุณควรหลีกเลี่ยง ยกตัวอย่างเช่น ชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาหารฟาสต์ฟู้ด อาหารที่มีไขมันสูง เป็นต้น

อาหารและเครื่องดื่มเหล่านี้มีสารเพิ่มความเครียด ในระยะแรกที่ได้รับประทานคุณอาจรู้สึกดี แต่หากคุณรับประทานในปริมาณที่มากเกินไปหรือรับประทานอย่างต่อเนื่อง จะทำให้เกิดสภาวะความเครียดสะสมในร่างกายได้

====

 2) กำหนดลมหายใจเข้า-ออก

เรื่องการหายใจก็มีความสัมพันธ์กับความเครียดเช่นกัน คุณจะพบว่าเมื่อคุณเครียด คุณจะหายใจเร็วหายใจตื้น หัวใจเต้นเร็ว และมีอาการกระสับกระส่าย

ดังนั้น เมื่อคุณเครียด ให้คุณกำหนดลมหายใจเข้าออก โดยคุณอาจหายใจเข้าและออกอย่างช้าๆประมาณ 1-2 นาที คุณสามารถทำเช่นนี้ในช่วงพักเที่ยง หรือระหว่างวันก็ได้ และหากคุณมีเวลามากกว่านั้น คุณอาจทำในช่วงเช้าและก่อนนอนด้วย

วิธีการกำหนดลมหายใจเข้าและออกคล้ายๆกับการนั่งสมาธิ ซึ่งจะช่วยให้คุณลดความเครียดลงได้ เพราะเมื่อคุณหายใจเต็มปอดก็จะทำให้เลือดและสมองได้รับออกซิเจนมากขึ้น และสิ่งนี้จะทำให้คุณสดชื่น และกระปรี้กระเปร่ามากยิ่งขึ้น

====

3) ออกกำลังกาย

เวลาที่คุณนั่งจมอยู่กับปัญหาในที่ทำงาน นอกจากจะทำให้เสียสุขภาพจิตแล้ว ยังทำให้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ เครียดเกร็งโดยที่คุณไม่รู้ตัว ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการปวดเมื่อยเรื้อรังที่รักษายาก

วิธีแก้ไขความเครียดที่ง่ายและทำได้ทันที ก็คือ ลุกออกมาจากโต๊ะทำงาน ยืดเส้นยืดสาย หรือเดินเพื่อเปลี่ยนอิริยาบถสัก 10-15 นาที 

นอกจากนี้ ในแต่ละวันคุณควรแบ่งเวลาประมาณ 30 นาทีเพื่อออกกำลังกาย ในช่วงแรกของการเริ่มต้น คุณอาจรู้สึกว่ายาก แต่หากคุณทำมันอย่างต่อเนื่อง ร่างกายของคุณจะแข็งแรงขึ้น และแน่นอนว่าเมื่อร่างกายแข็งแรง คุณก็จะสามารถรับมือกับความเครียดได้

การออกกำลังกายทำให้ร่างกายหลั่งสารเอ็นโดพิน ซึ่งทำให้คุณรู้สึกดี มีพลัง และกระฉับกระเฉงมากขึ้น แต่หากคุณยังไม่มีแรงบันดาลใจมากพอ ให้ลองจัดกิจกรรมออกกำลังกายกับเพื่อนร่วมงานของคุณ วิธีการนี้จะทำให้คุณรู้สึกสนุกและอยากออกกำลังกายมากขึ้น

====

4) เลือกรับฟังข้อมูลด้านบวก หลีกเลี่ยงข้อมูลด้านลบ

ในที่ทำงานของคุณย่อมมีคนหลากหลายประเภท และคำกล่าวที่ว่า “หงส์อยู่ในฝูงหงส์ กาอยู่ในฝูงกา” นั้นเป็นจริงเสมอ

กล่าวคือ คนที่มีลักษณะนิสัยคล้ายคลึงกันมักรวมตัวอยู่ด้วยกัน ดังนั้น หากคุณไม่อยากเครียด ก็ไม่ควรที่จะสุงสิงหรือยุ่งเกี่ยวกับคนที่ทำให้คุณเครียด

ยกตัวอย่างเช่น เพื่อนร่วมงานบางคนชอบระบายความเครียดให้ผู้อื่น เมื่อเขาไม่พอสิ่งใด เขาจะใช้ถ้อยคำรุนแรงเพื่อต่อว่า แสดงน้ำเสียงเกรี้ยวกราด หรือแสดงท่าทางก้าวร้าว เป็นต้น

พฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลต่ออารมณ์และความรู้สึกของคุณ เพราะฉะนั้นจงอยู่ให้ไกลจากคนประเภทนี้ แต่ทว่า บางครั้งหากเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ให้คุณมีสติ กลั่นกรองข้อเท็จจริง อย่าเชื่อข้อมูลทุกอย่างที่เขาพยายามสาดใส่คุณ เพราะนั่นจะทำให้คุณเครียด และกลายเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย

ทางที่ดีที่สุดก็คือ คุณควรเลือกคบเพื่อนร่วมงานที่มองโลกในแง่ดี และเลือกรับฟังข้อมูลด้านบวก และหากคุณเกิดความเครียดให้ทำกิจกรรมที่ช่วยให้ตนเองผ่อนคลาย เช่น การดูหนัง ฟังเพลง การท่องเที่ยว เป็นต้น

====

5) เลือกเสพข่าวสารอย่างเหมาะสม

หากคุณเป็นพวกที่ชอบเกาะติดสถานการณ์บ้านเมืองโดยติดตามข่าวสารผ่านโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ และโซเชียลเน็ตเวิร์กตลอดเวลา คุณกำลังจะเครียดโดยไม่รู้ตัว

เนื่องจากพฤติกรรมของสื่อในปัจจุบันมุ่งเน้นการนำเสนอข้อมูลในเชิงลบอย่างซ้ำไปซ้ำมา นอกจากนี้ ผู้สื่อข่าวมักใส่ความคิดเห็น หรือแสดงอารมณ์และความรู้สึกส่วนตัวลงไปในเหตุการณ์ที่นำเสนอ สิ่งนี้ทำให้ผู้รับสารเกิดอารมณ์ร่วม และเกิดความเครียดในที่สุด

ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงความคิดเชิงลบ คุณควรเลือกรับข่าวสารอย่างเหมาะสม กล่าวคือ คุณควรจัดแบ่งเวลาในการรับข้อมูล ไม่ควรเสพข้อมูลมากเกินไป เพราะเมื่อคุณรับข้อมูลแล้ว สมองของคุณก็จะบันทึกและประมวลผล ซึ่งหากข้อมูลมีเนื้อหาที่รุนแรงและมีปริมาณมากเกินไป คุณก็จะได้รับอิทธิพลจากสิ่งที่คุณเสพด้วย

นอกจากนี้ คุณควรเลือกรับสารที่มีประโยชน์ และมีเนื้อหาในแง่บวก เช่น ภาพการช่วยเหลือสังคม ภาพความสำเร็จ เป็นต้น เพราะข่าวสารดีๆเหล่านี้จะทำให้คุณมองโลกในแง่ดี และเกิดกำลังใจในการใช้ชีวิต

มีวิธีการบริหารความเครียดอีกมากมายที่คุณเรียนรู้และฝึกฝนได้ด้วยตัวเอง  อ่านประสบความสำเร็จได้มากขึ้นด้วยการเป็นผู้นำที่ฉลาดทางอารมณ์เพื่อฝึกบริหารจัดการอารมณ์ของคุณเองคลิกที่นี่

===

ที่มา : http://www.pickthebrain.com/blog/5-ways-reduce-stress-work-place/

 

หากคุณอยากให้ตัวเองและทีม มีความมั่นใจและพัฒนา EQ เพื่อเป็นผู้นำที่ดีขึ้น ขอแนะนำหลักสูตร Emotion Intelligence ผู้นำฉลาดทางอารมณ์ ที่จะช่วยให้คุณได้เรียนรู้ทักษะทั้ง 5 ได้เป็นอย่างดี คลิกดูรายละเอียดที่นี่

เรียบเรียงโดย  Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Ads, Google Analytics

    Statistics

  • Google Analytics

    Statistics

  • Facebook

    Marketing/Tracking

  • ActiveCampaign

    Functional

  • ActiveCampaign

    Marketing/Tracking

Save