5 วิธีสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานเจ้าอารมณ์

เป็นความจริงที่ว่ามนุษย์ออฟฟิศอย่างเราสามารถเลือกบริษัทใหญ่โตที่ดูมั่นคงเพื่อไปทำงานด้วยได้ เราเลือกโลเคชั่นหรือสถานที่ทำงานที่สะดวกในการเดินทางได้ แต่เราแทบจะไม่สามารถเลือกเพื่อนร่วมงาน หรือหัวหน้าได้เลย

เพื่อนร่วมงานดีและหัวหน้างานน่ารักย่อมทำให้ชีวิตการทำงานของเรามีความสุข แต่ถ้าเคราะห์ซ้ำกรรมซัด ต้องติดต่อประสานงานกับเพื่อนร่วมงานที่ไม่มีเหตุผล นิสัยเสีย เจ้าอารมณ์นั่นหมายความว่า ชีวิตการทำงานของเราก็คงไม่เป็นสุข ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่องาน และประสิทธิภาพในการทำงานด้วย

=====

จากประสบการณ์ในการทำงานอบรมและโค้ชผู้บริหารมานานหลายปี เราได้ถอดบทเรียนเทคนิควิธีการในการรับมือและสื่อสารกับ “เพื่อนร่วมงานนิสัยไม่น่ารัก” เหล่านั้นมาให้คุณแล้ว 


1. ปรับอารมณ์ก่อนพูดคุยกับพวกเขา

สิ่งแรกที่เราอยากบอกกับคุณก็คือ … เรารู้ว่าคุณโดนอะไรมา แต่ถ้าคุณกำลังรู้สึกแย่กับคำพูด หรือการกระทำของเขา จงอย่าตอบโต้ตามอารมณ์คุกรุ่นที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้วยถ้อยคำรุนแรงหรือท่าทางที่ไม่พอใจ  เพราะมันไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้น ทั้งยังจะทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงอีกด้วย  

การใช้อารมณ์  “เหวี่ยงร่วม(เขาแรงมาเราแรงตอบ)” นอกจากจะทำให้ตัวเราดูแย่ ยังทำให้บรรยากาศแย่ตามไปด้วย ทั้งเรื่องความสัมพันธ์ และภาพลักษณ์ที่คนในองค์กรมองมาที่คุณ

จงสูดหายใจเข้าลึกๆ ควบคุมสติ ประคองอารมณ์ ทำตัวสวยๆ พูดคุยกันด้วยเหตุผล  มันอาจไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำแต่มันก็ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ขอเพียงเริ่มจากความคิดในใจของคุณเองว่า

“ฉันทำได้… ฉันรับมือได้… ”

=====

2. พูดคุยกับคนอื่น เพื่อระบายความรู้สึกแย่ๆ ออกมา

คุณอาจจะเพิ่งโดนเหวี่ยงมา ทั้งที่คุณไม่ได้เป็นฝ่ายเริ่มก่อนเลย… เวลานี้ คุณอาจต้องการคนคุยด้วย เพื่อระบายความอึดอัด และเพื่อให้คุณรู้สึกแย่น้อยลง

ลองแชร์เรื่องราวของคุณกับเพื่อนหรือคนที่ไว้ใจ เล่าสิ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่เสริมอคติส่วนตัว ถ้าเป็นไปได้อย่าเพิ่งด่วนตัดสินผิด-ถูก ลองฟังความคิดเห็นจากคนที่ไม่ได้อยู่ในสถานการณ์นั้นเพื่อให้คุณมองเห็นภาพที่กว้างขึ้น

บ่อยครั้ง คนเหล่านั้นก็จะมีความคิดดีๆ ให้เราฉุกคิดอะไรบางอย่างขึ้นมาได้ เพราะพวกเขามองสิ่งที่เกิดขึ้นจากมุมมองของคนนอก ทำให้สามารถมองด้วยเหตุผล และไม่ใช้อารมณ์ในการตัดสินได้

แต่คุณก็ไม่จำเป็นต้องทำตามคำแนะนำของพวกเขาทั้งหมด เพราะการที่คุณได้ระบายสิ่งที่อึดอัดโดยมีคนรับฟังอย่างพินิจพิเคราะห์และเป็นกลาง เพียงเท่านี้ก็ช่วยให้อารมณ์ของคุณดีขึ้นได้แล้ว

=====

3. เปลี่ยนมุมมองในใจโดยการทดลองคิดด้วยมุมของเขาดู

การเปลี่ยนมุมมอง แล้วย้อนคิดว่า “เขาพบเจออะไรมาหรือเติบโตมาอย่างไรถึงได้มีบุคลิกนิสัยอย่างนี้” จะทำให้คุณเห็นภาพว่าเพื่อนร่วมงานเจ้าอารมณ์อาจได้รับแรงกดดันมหาศาล จากที่บ้าน ที่ทำงาน

หรือเขาอาจเติบโตมาในครอบครัวที่ไม่สมบูรณ์ มีปมด้อยในชีวิต เหตุการณ์ต่าง ๆ บ่มเพาะให้เขาคิดไปว่า “การเหวี่ยงวีน หรือทำตัวเจ้าอารมณ์ใส่คนอื่น เป็นสิ่งที่ใช้เอาตัวรอดได้และใครๆ ก็ทำกัน”

เมื่อคุณวิเคราะห์พื้นฐานครอบครัว วิเคราะห์ที่มาของความคิดความเชื่อของพวกเขาจะช่วยทำให้คุณเข้าอกเข้าใจตัวเขามากขึ้น เมื่อไหร่ก็ตามที่พวกเขาแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม แสดงออกไม่น่ารัก คุณก็จะรู้สึกแย่น้อยลง แถมยังยิ้มในใจว่า “ก็เขาเคยโดนอย่างนั้นมา เขาเลยเป็นคนแบบนี้แหละ”

หนึ่งลักษณะของคนที่ทำงานด้วยยากมากก็คือ คนที่คิดว่าตัวเองถูกเสมอ อ่าน แนวทางการทำงานร่วมกับคนที่คิดว่าตัวเองถูกเสมอ คลิกที่นี่

=====

4.  หาเวลาพูดคุยกันด้วยความผ่อนคลาย

เมื่อคุณเริ่มเข้าอกเข้าใจ โดยรู้ที่มาที่ไปของบุคลิกนิสัยไม่น่ารักของเขาแล้ว คุณอาจหาเวลาพูดคุย หรือทำกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวกับงาน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ไม่ต้องเกี่ยวกับเรื่องงานเท่านั้น เช่น การตีแบตหลังเลิกงาน ไปกินข้าว กันเป็นกลุ่ม หรือทำกิจกรรมสนุกๆ ร่วมกัน

เมื่อเรามีความสัมพันธ์ที่ดีซึ่งอยู่นอกเหนือหน้าที่การงาน จะทำให้เขากับเราผ่อนคลายต่อกันมากขึ้น  และเมื่อคุณสนิทกับเขามากขึ้น คุณอาจหาจังหวะพูดคุยแบบเปิดอก ว่าคุณรู้สึกอย่างไร? พร้อมทั้งอธิบายสิ่งที่เขาแสดงออกว่ามันส่งผลกระทบเชิงลบอย่างไร?

วิธีนี้คือ “การเปลี่ยนศัตรูให้เป็นมิตร” นั่นเอง

=====

5. ไว้คุยกันเมื่อพร้อมและสบายใจ แต่ตอนนี้ ขออยู่ห่างๆ กันก่อนนะ

สำหรับ “บางคน” ถ้าคุณได้ลองทุกวิธีข้างต้น ไม่ว่าจะเป็นการปรับเปลี่ยนมุมมองหรือทัศนคติที่มีต่อพวกเขา ทำดีด้วยก็แล้ว พูดคุยด้วยความเข้าอกเข้าใจก็แล้ว เปิดโอกาสให้ตัวเองและเพื่อนร่วมงานพัฒนาความสัมพันธ์อันดีก็แล้ว แต่สถานการณ์ก็ยังไม่ดีขึ้น

สุดท้าย คุณอาจจำเป็นต้องตัดเขาออกจากการพบปะพูดคุย โดยการอยู่ห่างจากเขา หลีกเลี่ยงการทำงานร่วมกันเท่าที่สามารถทำได้ไปก่อน  เพราะเขาคงยังไม่พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง 

การเปลี่ยนนิสัย-ความคิด-ความเชื่อของคนบางคนเป็นสิ่งที่ยากมาก แต่สิ่งที่ง่ายกว่า(และควรทำมากกว่า)ก็คือการควบคุมปัจจัยภายในของตัวเราเอง

อย่าให้คนชอบวีน คนขี้เหวี่ยง คนนิสัยไม่น่ารัก และคนแสดงพฤติกรรมแย่ๆ มาทำลายการทำงานทั้งหมดของคุณ หรือส่งผลให้คุณเป็นทุกข์อีกต่อไปเลย 

ถ้าคุณสนใจเรียนรู้และฝึกฝนพัฒนาทักษะการบริหารจัดการอารมณ์ของคนทำงานยุคใหม่ขอแนะนำหลักสูตร   Emotion Intelligence  เพื่อพัฒนาให้คุณมีทักษะความสามารถที่จะบริหารจัดการอารมณ์เพื่อการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ  คลิกดูรายละเอียด ที่นี่

=====

เรียบเรียงโดย

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กรฟรี  ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

 

5 ขั้นตอน ของการตัดสินใจให้มีประสิทธิภาพ

การที่คุณจะประสบความสำเร็จได้ จำเป็นต้องอาศัยการตัดสินใจ

ไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจที่จะทำ หรือเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่าง ซึ่งอาจเป็นเพียงการหยุดคิดเพื่อไตร่ตรอง การตัดสินใจเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ไปจนกระทั่งเรื่องใหญ่ๆ เรื่องที่สำคัญและมีผลกระทบอย่างมาก

ทุกสิ่งทุกอย่าง ทุกเรื่องราวในชีวิต คุณจำเป็นต้องตัดสินใจ ก่อนที่จะเริ่มได้รับผลจากการกระทำของคุณจริงๆ

=====

หลายคนอาจบอกว่า เขาได้ตัดสินใจที่จะทำแล้ว แต่ไม่เห็นมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เกิดขึ้นเลย เช่น ตัดสินใจที่จะมีร่างกายที่ฟิตมากขึ้นในปีนี้ อ่านหนังสือให้ลูกฟังมากขึ้น ขอขึ้นเงินเดือน แต่ก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง

นั่นเป็นเพราะ “การตัดสินใจจะยังไม่ใช่การตัดสินใจจริงๆ ถ้าเราไม่ได้ลงมือปฏิบัติในทันที”

อย่าลืมว่า หลังการตัดสินใจที่เกิดขึ้นในความคิด ต้องลงมือปฏิบัติจริงด้วย

เรามาดู “5 ขั้นตอนสำคัญในการตัดสินใจ” ว่ามีอะไรบ้างกันดีกว่า

=====

ขั้นตอนที่ 1 การรับรู้

ขั้นตอนของ “การรับรู้” การรับรู้อาจเกิดขึ้นอย่างช้าๆ หรือเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว แล้วจึงนำไปสู่การตัดสินใจ

เราสามารถรับรู้ได้จากปฏิกิริยาโต้ตอบที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจเป็นแบบตรงไปตรงมา

เช่น พนักงานขายรายงานยอดขายที่กำลังตกลงไปเรื่อยๆ ในแต่ละเดือน หรือรายงานซึ่งแสดงว่าการแก้ปัญหาของคุณยังเข้าไม่ถึงลูกค้า

เพื่อนอาจจะบอกว่า หน้าตาของคุณดูไม่ดีเลยช่วงนี้ แต่ปฏิกิริยาบางอย่างอาจไม่ชัดเจนนัก เช่น คุณรู้สึกว่าสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นไม่ถูกต้อง จงอย่าละเลยความรู้สึกนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อคุณเป็นคนที่มีความคิดแบบวิทยาศาสตร์ ลางสังหรณ์จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้คุณค้นพบและเกิดความคิดในการทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นได้จริง

ดังนั้น “จงตัดสินใจที่จะตัดสินใจ” สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นกับคุณ และปฏิกิริยาของคนรอบข้าง เพื่อรับรู้ว่าคุณจำเป็นจะต้องตัดสินใจแล้วหรือยัง? อย่าละเลยขั้นตอนนี้ ยิ่งคุณตัดสินใจต่อปฏิกิริยาต่างๆ รวมทั้งความรู้สึกของคุณได้เร็วเพียงใดก็จะยิ่งจัดการ หรือหาทางออกให้กับสิ่งนั้น ได้ง่ายขึ้นเพียงนั้น

=====

ขั้นตอนที่ 2 ตัดสินใจอย่างไร

เป็นขั้นตอน “เราจะตัดสินใจอย่างไร” การดึงองค์ประกอบต่างๆ มาใช้ในการตัดสินใจให้ง่ายขึ้น ประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ คือส่วนของการรวบรวมข้อมูล กับส่วนของการประเมินน้ำหนักความน่าเชื่อถือของข้อมูลนั้น แล้วนำมาพิจารณาข้อดี-ข้อเสีย

วิธีที่ง่ายที่สุดในการทำขั้นตอนนี้คือ เขียนข้อดี-ข้อเสียลงบนกระดาษ โดยแบ่งเป็นช่องข้อดีและข้อเสีย แล้วใส่รายละเอียดให้ได้มากที่สุด

ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง แล้วกลับมาพิจารณาใหม่

ไม่ว่าคุณจะทำด้วยวิธีใด ขั้นตอนนี้จะช่วยให้คุณตัดสินใจได้ดีขึ้น เป็นขั้นตอนของการใช้เชาวน์ในการไตร่ตรอง ซึ่งสนับสนุนเชาวน์ปัญญาในด้านการเรียนรู้และประสบการณ์

“เชาวน์ในการไตร่ตรอง” จะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อเราหยุดทำสิ่งอื่นๆ ซึ่งในโลกที่เต็มไปด้วยความสับสนวุ่นวายในปัจจุบัน ทำให้เราใช้เชาวน์ด้านนี้กันน้อยลง

=====

ขั้นตอนที่ 3  การตัดสินใจที่แท้จริง

ขั้นตอนนี้เกี่ยวข้องกับการกำหนดว่า “เมื่อใดที่เราเรียกว่าเป็นการตัดสินใจจริงๆ”

คนโดยทั่วไปเมื่อได้ตัดสินใจแล้ว (เช่น ฉันจะเริ่มออม, ฉันจะหยุดสูบบุหรี่) มักจะรู้สึกโล่งอก เพราะคิดว่าตนเองพบทางแก้ปัญหาแล้ว แต่ในความเป็นจริงพวกเขายังไม่ได้เริ่มทำอะไรเลย!

เราจึงควรให้คำนิยามคำว่า “ตัดสินใจ” ว่าเป็น “การเริ่มลงมือทำจริงๆ อย่างที่เราคิดไว้” เช่น เมื่อเราได้ออมเงินครั้งแรก หรือเมื่อเราได้โยนบุหรี่ทิ้ง จึงจะเรียกว่า “เป็นการตัดสินใจจริงๆ

ดังนั้น “การตัดสินใจจะยังไม่ใช่การตัดสินใจจริงๆ จนกระทั่งได้มีการทำให้สิ่งที่คิด ให้เกิดเป็นรูปธรรม” ซึ่งการกระทำที่ว่านี้ ประกอบด้วยลักษณะ 3 อย่าง ดังนี้

=====

อย่างแรก การกระทำนั้นต้องวัดได้ เพื่อให้คุณรู้เมื่อได้มันมา เช่น ออมเงินให้ได้มากขึ้น ไม่สามารถวัดได้ แต่ถ้าเป็นออมเงินวันละ 100 บาท ทุกเดือน สามารถวัดได้

อย่างที่สอง กำหนดวัน-เวลาที่จะกระทำให้ชัดเจน เช่น ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคมนี้ ฉันจะออมเงิน วันละ 100 บาท ทุกเดือน

อย่างที่สาม เป็นสิ่งที่เข้าใจได้ง่าย รวมทั้งง่ายต่อการปฏิบัติจริง

=====

อันที่จริง สิ่งที่กล่าวมาข้างต้น เป็นสิ่งที่มีเหตุผลและถูกกล่าวถึงอยู่เสมอ แต่คนส่วนใหญ่มักจะไม่ได้ทำกัน

เหตุผลหลักที่ทำให้เรามักไม่กำหนดเวลาให้ชัดเจนลงไป ก็เพราะเรากลัวที่จะพบกับความล้มเหลว

เช่น ถ้าเราพูดว่า เราจะวิ่งสัปดาห์ละ 4 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคมนี้ แล้วเราทำไม่ได้ ก็จะคิดว่าเราล้มเหลว ถ้าไม่กำหนดวัน เราจะไม่ล้มเหลว

ซึ่งก็จริง ว่าเราจะรู้สึกแบบนั้นได้ แต่คุณอย่าลืมว่า เราก็จะไม่พัฒนา เช่นกัน

ลองคิดใหม่ โดยไม่ต้องคำนึงถึงเรื่องสำเร็จหรือล้มเหลว เฝ้าดูความเปลี่ยนแปลงที่ค่อยๆ เพิ่มมากขึ้น และคิดด้วยความเชื่อที่ว่า “ไม่มีคำว่าล้มเหลว จะมีก็แต่ผลลัพธ์ที่คุณสามารถนำมาปรับปรุงให้ดีขึ้นได้”

หนึ่งสิ่งที่เราควรระวังคือเรื่อง “ต้นทุนจม” เพราะมันมักทำให้เราตัดสินใจผิดพลาดเสมอ เรียนรู้เรื่องนี้ได้ใน ต้นทุนจม อคติความคิดที่ทำให้คุณตัดสินใจผิดพลาด  คลิกที่นี่

=====

ขั้นตอนที่ 4 วางแผนอย่างเป็นระบบ

เป็นขั้นตอนทางเลือก ซึ่งคุณอาจทำหรือไม่ทำก็ได้ แต่อย่าคิดว่าไม่สำคัญ เมื่อคุณได้ตัดสินใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง มันจะนำไปสู่การตัดสินใจและทำเรื่องต่อๆ ไป เช่น การเริ่มทำธุรกิจ หรือการปรับปรุงตัวเอง อาจมีส่วนคาบเกี่ยว หรือต่อเนื่องกับสิ่งที่คุณจะทำ

คุณควรวางแผนสิ่งที่คุณต้องทำอย่างเป็นระบบ ซึ่งหมายถึง “เมื่อเรารู้ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง ก็ควรกำหนดว่าต้องทำมันเมื่อใด ใครจะเป็นคนทำ และสิ่งนี้จะมีผลกระทบกับสิ่งอื่นๆ หรือไม่”

พิจารณาว่าเรื่องใดเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งหากยังไม่ได้ทำ จะมีผลทำให้ไม่สามารถทำสิ่งอื่นๆ ได้ คุณอาจต้องเรียนรู้การใช้ซอฟต์แวร์สำหรับการจัดการโครงการ เพื่อช่วยวิเคราะห์สิ่งสำคัญที่คุณควรทำก่อนหลังได้ดีขึ้น

=====

ขั้นตอนที่ 5 ประกาศการตัดสินใจให้ผู้อื่นรับรู้ 

“ควรบอกการตัดสินใจของคุณกับผู้อื่นหรือไม่?” เช่น คุณตัดสินใจจะเริ่มธุรกิจใหม่ตามลำพัง หรือคุณตัดสินใจที่จะลาออกจากงานเพื่อมาเลี้ยงลูก จงจำไว้ว่า “ไม่ใช่ทุกคนที่จะช่วยสนับสนุนในสิ่งที่คุณกำลังจะทำ”

คำแนะนำก็คือ “บอกเป้าหมายของคุณกับคนที่ช่วยสนับสนุนคุณเท่านั้น” อย่าบอกสิ่งนี้กับคนที่จะทำให้คุณหมดกำลังใจ

การแก้ปัญหาและการตัดสินใจเป็นทักษะที่คุณสามารถเรียนรู้และฝึกฝนได้ เราขอแนะนำหลักสูตร Problem Solving & Decision Making คลิกดูรายละเอียดที่นี่

====

เรียบเรียงโดย

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

Categories EQ

5 เทคนิคทำให้คุณเป็นที่รักของทุกคนในทีม

ตั้งใจอ่านบทความนี้ให้ดีๆ นะครับ! เพราะนี่คือวิธีที่จะทำให้คุณ กลายเป็นที่รักของคนรอบข้างได้อย่างง่ายดาย

 และที่สำคัญมันทำจะให้ตัวคุณเอง ได้ค้นพบด้วยว่า… ภาษารักของคุณคืออะไร

====

คุณเคยมีคำถามแบบนี้กับตัวเองหรือเปล่า?

“ทั้งๆ ที่คุณก็แสดงออกถึงความใส่ใจต่อคนที่คุณรักแล้ว แต่เขากลับไม่รู้สึกถึงความรักจากคุณเลย!” 

ถ้าเคย… บทความนี้จะทำให้คุณรู้ว่า… มันเกิดจากอะไร และคุณควรจะทำอย่างไร

ถ้าไม่เคย… บทความนี้ จะช่วยให้คุณรู้เทคนิค ที่จะทำให้คุณ มัดใจผู้คนได้ง่ายมากๆ

====

ผมมีคำถามง่ายๆ 1 ข้อมาถามคุณครับ

ระหว่างคน 2 คน คนที่ 1 เขาจะให้ในสิ่งที่ “คุณต้องการ” เสมอ
กับคนที่ 2 ที่ มักจะให้ ในสิ่งที่เขา “คิดว่ามันน่าจะดี” กับคุณเสมอ

คุณรู้สึกดี และชอบคนไหนมากกว่ากัน?

ผมเชื่อว่าคำตอบของคุณก็ต้องเป็น  “คนที่ 1” ใช่ไหม

ถ้าคุณตอบว่า “ใช่” เรามาเรียนรู้กันเลยครับว่า 5 เทคนิคที่จะช่วยให้คุณ เป็นที่รัก และเอาชนะใจของผู้คนในทีมคืออะไร

====

1. พูดชื่นชม และยกย่อง

หมั่นพูดเพราะๆ คอยหยอดคำหวาน แค่นี้ก็ทำให้คนบางคนใจละลายได้แล้ว

“ตัวเองน่ารักจังเลย” “ขอบคุณมากๆ เลยนะ… น่ารักที่สุด” “ถ้าไม่ได้คุณช่วยเอาไว้… ฉันคงแย่แน่ๆ” “วันนี้คุณดูสวย/หล่อ มากๆ เลยนะครับ”

“ผม/ฉัน รู้สึกชื่นชมในความกล้าหาญของคุณจากใจจริง” ฯลฯ
ใช้ปิยวาจา ในเวลาที่เหมาะสม ด้วยถ้อยคำที่กลั่นมาจากใจ ใครๆ ก็จะชื่นชอบในตัวคุณครับ

====

2. คอยช่วยเหลือ และสนับสนุนเขา

การหยิบยื่นการสนับสนุน เป็นสะพานเชื่อมหัวใจของผู้คนได้เป็นอย่างดีครับ เมื่อคุณเห็นเขากำลังทำงาน หรือทำภารกิจอะไรอยู่ สอบถามเขาสักนิด หยิบยื่นน้ำใจ และความช่วยเหลือไปให้

ที่สำคัญคือ การสนับสนุนนี้ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นเรื่องใหญ่ๆ ก็ได้ เพราะแม้การสนับสนุนเล็กๆ น้อยๆ ก็ล้วนมีคุณค่าทางจิตใจทั้งสิ้น

และการช่วยเหลือเล็กๆ น้อยๆ อย่างต่อเนื่อง…. ก็อาจมีผลต่อใจเขามากกว่า การหยิบยื่นของใหญ่ๆ เพียง 1 ครั้งนะครับ

====

3. มอบของขวัญ พิเศษให้กับเขา

แอบมีของขวัญเล็กๆ ไปเซอร์ไพรส์เขา ไปไหนมาไหน มีของฝากติดไม้ติดมือมาบ้าง ทำให้รู้ว่าคุณยังคิดถึงเขาอยู่

และทุกๆ ครั้งที่เขาหยิบเอาของขวัญของคุณขึ้นมา เขาจะคิดถึงคุณครับ ฝากเยอะๆ ฝากบ่อยๆ คุณจะไปอยู่ในใจเขาอย่างรวดเร็ว 

====

4. มอบช่วงเวลาที่มีคุณภาพให้แก่เขา

แบ่งเวลาคุณภาพให้กับเขา มอบเวลาของคุณเพื่ออยู่กับเขาอย่างเต็มที่เต็ม 100

ใช้ช่วงเวลาดีๆ ร่วมกัน อาจเป็นการทำกิจกรรมเพื่อสังคม ใช้เวลาเพื่อดูหนังกันอย่างอิ่มเอม หรือการนั่งลงและพูดคุยกันแบบเปิดอก พูดคุยกันอย่างเป็นกันเองและสนุกสนาน ทำให้ช่วงเวลาที่ได้ใช้ไปด้วยกันนี้ เป็นช่วงเวลาที่มีคุณภาพ เป็นช่วงเวลาที่ดี และน่าจดจำ

====

5. สัมผัส โอบกอด ทำให้เขารู้ว่าคุณอยู่ข้างๆ เขา

การสัมผัส และการโอบกอด เป็นอีก 1 วิธีการการแสดงออกถึงความรักที่น่าทึ่งนะครับ

บางคนพูดอะไรมากมายเป็นร้อยเป็นพันคำ กลับทำทำให้อีกฝ่ายรู้สึกอบอุ่นได้ไม่เท่าการโอบกอดเพียงไม่กี่นาที

คุณอาจสวมบทบาทเป็นหมอนวดแผนไทยชั่วคราวทำการบีบนวดผ่อนคลายให้เขา หลังจากที่เขาต้องเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้ามาทั้งวัน…. แค่นี้คนถูกนวดก็ฟิน และรักคุณจะตายแล้ว(ควรทำกับคนเพศเดียวกันเท่านั้นนะครับ) 

====

และนี่ครับ คือ 5 เทคนิคง่ายๆ ที่จะทำให้คุณเป็นที่รัก และชนะใจผู้อื่นได้ทันที

แต่!!!.. ผมยังมีข่าวดี มากกว่านี้อีก!

ข่าวดีก็คือ…. เพื่อที่จะเป็นที่รัก และเอาชนะใจผู้คน
คุณไม่จำเป็นต้องทำ ครบทั้ง 5 ข้อที่ผมแบ่งปันนี้ก็ได้!

เพียงคุณรู้ว่า เขาคนนั้น เป็นคนที่มีภาษารักแบบไหน จากภาษารักทั้ง 5 ภาษา
(จากหนังสือ The 5 Love Languages โดย Gary Chapman)

ภาษารักแบบที่ 1 – Words of Affirmation การใช้คำพูดชื่นชม
ภาษารักแบบที่ 2 – Acts of Service การแสดงออกถึงการบริการ
ภาษารักแบบที่ 3 – Receiving Gifts การได้รับของขวัญ
ภาษารักแบบที่ 4 – Quality Time การได้ใช้เวลาคุณภาพ
ภาษารักแบบที่ 5 – Physical Touch การสัมผัส

ซึ่งแต่ละคน จะมีภาษารักที่รู้สึกสำคัญของตัวเอง 1 หรือ 2 ภาษา และมีภาษารักที่ไม่สำคัญอยู่ด้วย

====

ตัวอย่างเช่น ตัวผมเอง เป็นคนที่มีภาษารักในแบบที่ 2 (Acts of Service) เยอะมากๆ และ ภาษารักแบบที่ 3 (Receiving Gifts) เป็นรูปแบบที่ผมให้ความสำคัญน้อยที่สุด

ดังนั้น หากใครที่มาช่วยงานผม หรืออาสามาสนับสนุนในภารกิจ หรืองานที่ผมทำอยู่ ผมจะรักคนเหล่านี้มากๆ มากกว่าคนเอาของขวัญมาให้ แต่ไม่ได้ช่วยเหลือหรือสนับสนุนอะไรเลย

และในขณะเดียวกัน ผมก็จะเป็นคนที่ชอบอาสาไปช่วยงานผู้อื่นอยู่เป็นประจำ เพราะมันคือภาษารักที่ผมให้ความสำคัญเป็นอันดับ 1

เมื่อเราทำให้คนในทีมรักเราได้แล้ว มาลองฝึกฝนวิธีทำให้ลูกน้องร่วมมือกับเราอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน คลิกอ่านที่นี่

====

ภาษารักของคุณคืออะไร?

คุณจะลองสังเกตตัวเองดูก็ได้นะครับ ว่าตัวคุณ มีภาษารักแบบไหน?
และคนที่คุณรักเขาให้ความสำคัญกับภาษารักแบบไหน?

เพราะเมื่อคุณได้ให้ในสิ่งที่ตรงกับภาษารักของเขามากที่สุด เขาจะรักคุณอย่างง่ายดายครับ

ขอให้คุณมีความสุข และสมหวังในความรักนะครับ 

หนึ่งทักษะสำคัญที่ทำให้คนรักและเคารพคุณก็คือ ทักาะการบริหารอารมณ์ ผมขอแนะนำหลักสูตรสำึัญสำหรับผู้นำยุคใหม่ Emotion Intelligence คลิกดูรายละเอียดที่นี่

บทความโดย อ.กิตติ ไตรรัตน์ 

Self – Leadership Coach


Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

 

แนวทางการทำงานร่วมกับคนที่คิดว่าตัวเองถูกเสมอ

แนวทางการทำงานร่วมกับคนที่คิดว่าตัวเองถูกเสมอ

เวลาทำงานร่วมกันก็ย่อมจะต้องมีการแสดงความคิดเห็น แล้วในทุกองค์กรก็มักจะมีคนที่เสนอความคิดเห็นที่มีเหตุผล เป็นประโยชน์ต่องาน

แต่ในขณะเดียวกันก็จะมี “คนเก่งจอมมั่น” ที่เชื่อว่าตัวเองถูกเสมอ แม้ว่าจะเคยนำสิ่งที่เขาเสนอไปปฏิบัติจริงแล้วไม่เวิร์คมาแล้วก็ตาม

====

นี่คือสถานการณ์ที่ต้องรับมือด้วยความระมัดระวังโดยเฉพาะกับหัวหน้า เพราะถ้าทำตามที่เขาแนะนำตลอดก็อาจส่งผลลบต่อทีมและงานในหลาย ๆ ด้าน แต่ถ้าไม่ทำตามคำแนะนำก็อาจทำให้คนนั้นรู้สึกว่าความภาคภูมิใจในตัวเองถูกทำลายจนอาจจะไม่เสนอไอเดียที่เป็นประโยชน์ต่อไป

ไม่ใช่เรื่องแปลกถ้าจะปวดหัวเวลาทำงานร่วมกับ “คนเก่งจอมมั่น” แต่ก็มีวิธีที่สามารถช่วยป้องกันปัญหาที่ชวนเหนื่อยใจลักษณะนี้ได้ และยังทำให้เกิดผลงานที่เป็นรูปเป็นร่างและมีประสิทธิภาพตามมาได้อีก ด้วยวิธีต่อไปนี้
====

หาต้นตอของความเก่งและมั่นให้เจอ

คนเราจะเก่งและมีความมั่นใจจากหลายเหตุผล แต่เหตุผลที่พบบ่อยนั้นเกิดจากความสำเร็จในการทำงานครั้งก่อน ๆ หลังจากที่เคยแสดงความคิดเห็นและตัดสินใจจนเกิดผลลัพธ์ที่ดีมาแล้วทำให้ครั้งต่อ ๆ ไป เขาก็จะพยายามรักษาความสำเร็จเดิมเอาไว้ด้วยการแสดงออกว่าสิ่งที่เขาคิดนั้นถูกต้องแน่นอน

สิ่งที่คุณสามารถทำได้คือควบคุมบทสนทนาให้เป็นไปอย่างราบรื่น และปราศจากการโต้แย้งอย่างรุนแรง ลองพยายามดึงจังหวะ ดึงอารมณ์ของผู้เข้าร่วมประชุมไม่ให้พุ่งสูงจนเกินไป

ถ้ามีคนน็อตหลุดขึ้นมาเพราะตกลงกันไม่ได้จริง ๆ ก็อาจต้องหาโอกาสประชุมแยกนอกรอบเพื่อพูดคุยปรับความเข้าใจ และปรับมุมมองให้เข้าใจกัน อย่างน้อยก็จะรักษาความมั่นใจของอีกฝ่ายเอาไว้ไม่ให้เขารู้สึกว่าตัวเองทำพลาดหรือหมดประโยชน์ต่อทีม
====

เปิดโอกาสให้ผู้อื่นมีส่วนในการแสดงความคิดเห็นบ้าง

เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานี้ สิ่งสำคัญที่ต้องทำเป็นประจำคือการเปิดกว้างให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็นอย่างรอบด้าน นั่นคือการบอกทั้งข้อดีและข้อเสียในแต่ละประเด็นอย่างตรงไปตรงมา

การให้คนในทีมมีส่วนร่วมและช่วยกันประเมินมุมมองของงานอย่างหลากหลายจะก่อให้เกิดความคิดที่เป็นประโยชน์ในการตัดสินใจครั้งสำคัญ ๆ แล้วยังทำให้แต่ละคนมีความมั่นใจโดยที่ไม่เกิดความขัดแย้งรุนแรงขึ้นมาจนทำลายบรรยากาศและผลของการทำงานอีกด้วย
====

เสริมสร้างบรรยากาศให้คนอยากฟังและอยากแสดงความคิดเห็น

เมื่อต้องทำงานกับคนที่เก่งและมั่นมาก ๆ อาจส่งผลให้เพื่อนร่วมงานรู้สึกว่าคุณค่าของตนเองลดลงจนไม่กล้านำเสนอความคิดเห็นที่แตกต่าง

แนวทางแก้ไขปัญหานี้ คือ เมื่อต้องประชุม แสดงความคิดเห็น สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือการเป็นผู้ฟังที่ดีและโทนเสียงในการพูด ทั้งสองอย่างนี้ต้องมาควบคู่กันจึงจะสามารถลดปัญหานี้ลงได้

เพราะทุกคนล้วนมีมุมมองเป็นของตนเอง และทุกมุมมองต่างมีความสำคัญ โทนเสียงเวลาแสดงความคิดเห็นมีผลต่อความรู้สึกของผู้ฟัง ว่าจะทำให้ผู้ฟังคล้อยตามได้มากแค่ไห

ในขณะเดียวกัน ก็ต้องเป็นผู้ฟังที่ดีด้วย คนอื่นจึงจะกล้าแสดงความคิดเห็นออกมาแล้วจะไม่มีใครรู้สึกอายในความคิดเห็นของตนเอง

และเมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว ท้ายที่สุดทุกคนจะกล้าพูดกันอย่างตรงไปตรงมา จะเกิดความความไว้วางใจซึ่งกันและกัน จนการทำงานราบรื่นในท้ายที่สุด

ยังมีเทคนิครับมือกับคนที่คิดว่าตัวเองถูกที่มักจะชอบวีนเหวี่ยงใส่คนอื่นด้วย อ่าน สื่อสารกับเพื่อนร่วมงานขี้วีนอย่างไรให้ได้ผล คลิกที่นี่

====

เรียบเรียงจาก How to Work with Someone Who Thinks They’re Always Right โดย Ron Carucci and Jarrod Shappell จาก Harvard Business Review 26 มิถุนายน 2019

การทำงานร่วมกับคนที่แตกต่างหลากหลายมี Mindset และทักษะมากมายที่คุณสามารถเรียนรู้และฝึกฝนได้ ขอแนะนำหลักสูตร Team Communication & Collaboration คลิกอ่านรายละเอียดที่นี่

เรียบเรียงโดย

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

4 ขั้นตอนการจัดการ เมื่อมีคนทำให้คุณโกรธ

แว่บแรกเมื่อมีใครสักคนทำให้คุณไม่พอใจ ทำให้คุณโกรธ หรือเจ็บปวด คุณคงคิดที่จะตอบโต้ หรือหาทางแก้แค้น ไม่ว่าจะเป็นทางตรง หรือทางอ้อมใช่ไหมครับ  ผมก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน

ทั้งหมดนั้นเป็นปฏิกริยาโต้ตอบอัตโนมัติของมนุษย์ ถ้าสู้ได้ก็ลุย ถ้าดูแล้วสู้ไม่ได้หรือไม่เหมาะสม ก็ผูกใจเจ็บแล้วค่อยหาทางแก้แค้นวันหลัง

สัญชาตญาณนี้มันถูกฝังอยู่ส่วนลึกสุดของสมองของเรา และคงยากที่จะปฏิเสธได้

แต่ทุกครั้งที่ผมคิดแก้แค้น ตอบโต้ หรืออยากทำเรื่องร้ายๆกับใครสักคน ผมพบว่า ความโกรธแค้นเหล่านั้นไม่ได้ลดลงไป แต่มันกลับกัดกินในใจหนักกว่าเดิม เมื่อกลับมาทบทวนผมจึงเริ่มเข้าใจว่า…

“ศัตรูที่ต้องจัดการไม่ใช่คนที่ทำให้เราเจ็บ แต่เป็นความโกรธเกลียดในใจของเราเองต่างหาก”

====

ซึ่งต่อไปนี้เป็น 4 ขั้นตอนที่ผมใช้จัดการอารมณ์โกรธและบริหารจิตใจของตัวเองเวลารู้สึกโกรธ ซึ่งผมเรียกว่า Inner Listening หรือ การรับฟังเสียงภายใน 

1.รับรู้อารมณ์ที่เกิดขึ้น

เมื่อมีเหตุการณ์ที่ทำให้เราไม่พอใจ เรามักกระโจนไปสู่วิธีการจัดการ สมองคิดจากอารมณ์ที่พลุ่งพล่าน และนั่นทำให้เราคิดไปสารพัด ถึงสิ่งไม่ดีของอีกฝ่าย ที่เราได้รับรู้มาตลอด นำไปสู่สภาวะ ยิ่งคิดยิ่งแค้น

“เมื่อไม่พอใจ ให้รับรู้อารมณ์ อย่าจมอยู่กับความคิด”

สิ่งแรกที่เราควรทำ จึงควรเป็นการกลับมารับรู้อารมณ์ของเราว่ากำลัง หงุดหงิด โกรธ ไม่พอใจมากแค่ไหน มองดูตัวเองเสมือนว่าเรากำลังดูหนังสักเรื่องหนึ่งอยู่ มองเห็นว่าตัวเอกกำลังฉุนได้ที่อยู่

การรับรู้อารมณ์อาจจะไม่ง่ายในช่วงแรก อาจฝึกจากการรับรู้ร่างกายก่อน เช่น สังเกตเห็นความร้อนผ่าวของเลือดที่สูบฉีดขึ้นหน้า รับรู้ถึงลมหายใจฟืดฟาดที่รุนแรง รับรู้อาการเกร็งกล้ามเนื้อส่วนต่างๆของร่างกาย ซึ่งจะทำให้เรารับรู้ตัวเองได้ดีขึ้น

====


2. ยอมรับอารมณ์นั้น

หลายครั้งเมื่ออารมณ์ของเราขึ้น เราจะไม่ยอมให้มันอยู่ในตัวเรา เราจะระบายอารมณ์ด้วยวิธีต่างๆ เช่น ระบายออกด้วยการขว้างปาข้าวของ ปิดประตูเสียงดัง บีบแตรเสียงดัง ตะโกนดังๆ แต่พฤติกรรมเหล่านั้นไม่ใช่วิธีที่ทำให้อารมณ์ลดลง

บางคนทำตรงข้าม พยายามควบคุมอารมณ์ ระงับมันด้วยการเก็บกดเอาไว้ แต่คนเหล่านี้ก็จะกลายเป็นคนขี้บ่น ขี้ฟ้อง ขี้น้อยใจ เจ้าคิดเจ้าแค้น หรือไปออกอาการโวยวายกับคนใกล้ตัวแทน

เราไม่ต้องพยายามควบคุมอารมณ์ เพราะอารมณ์นั้น ควบคุมไม่ได้

“ยิ่งใช้อารมณ์ มันจะยิ่งบานปลาย เราแค่ยอมรับมันให้ได้ก็พอ”

เริ่มจากขั้นที่ 1 คือ รับรู้ว่าเรามีอารมณ์ จากนั้นก็ยอมรับให้อารมณ์เหล่านั้นแสดงตัว แล้วค่อยๆเห็นมันเปลี่ยนแปลงไปเอง ตามธรรมชาติ

โอบอุ้มอารมณ์ ให้เหมือนเราอุ้มทารกน้อย ให้อยู่ในอ้อมกอด เมื่อเวลาผ่านไป อารมณ์โกรธนั้นจะค่อยๆ ลดลงเอง โดยที่เราไม่ต้องไปจัดการใดๆเลย

====


3. สำรวจความต้องการ

แม้ว่าอารมณ์ลดลงแล้ว แต่ปัญหาและคู่กรณีที่ค้างคา ยังแก้ไขไม่ได้ หลายคนพยายามแก้ปัญหา ด้วยการคิดบวก มองในด้านดีของคนๆนั้น หรือหาข้อดดีอื่นๆมาชดเชย

บางทีก็พยายามหาวิธีคิดใดๆ มาปลอบใจตัวเอง บอกกับตัวเองว่า มันคงเป็นกรรมเก่าละมั้ง เจ้ากรรมนายเวรเก่าละสิ ดวงตกมั้ง ฟาดเคราะห์ไปละกันเรา

การคิดบวก มันช่วยเราได้เพียงชั่วคราว เพราะในส่วนลึก เราก็ยังไม่โอเคอยู่ดี เราอาจหลอกคนอื่นด้วยการฝืนยิ้มได้ ทำว่าตอนนี้ชีวิตดี๊ดี แต่เราหลอกข้างในใจตัวเองไม่ได้แน่นอน

บางคนพยายามหาทางที่จะลืม ด้วยการไปหาของกินอร่อยๆ ไปช้อปปิ้ง หรือไปกินเหล้าย้อมใจให้ลืมเธอ นั่นก็ไม่ใช่วิธีทำให้ปัญหาหมดไป (ส่วนใหญ่จะเพิ่มปัญหาใหม่ๆเข้ามาด้วยซ้ำ)

“สิ่งที่แย่กว่าในการพยายามลืม คือมันจะยิ่งจำฝังแน่นขึ้นอีก”

วิธีการแก้ปัญหาขั้นที่ 3 คือ เมื่ออารมณ์ลดลงแล้ว คือการกลับมาคุยกับตัวเอง ด้วยการ “สำรวจความต้องการ” ที่อยู่ลึกๆในใจเรา

ลองหากระดาษกับปากกามานั่งเขียนทบทวนตัวเองว่า สาเหตุที่เราโกรธ ไม่พอใจ คนๆนั้นเค้าทำอะไรที่ขัดกับ “คุณค่า” ที่เรายึดถือ หรือสวนทางกับ “ความต้องการ” ในขณะนั้นของเรา

เขียนมาให้ชัดว่าลึกๆแล้ว เราต้องการอะไร และถ้าเป็นไปได้ ลองพิจารณาว่า อีกฝ่ายต้องการอะไร จากเหตุการณ์นั้นๆ ด้วย

====


4. สื่อสารด้วย I Statement

หลายครั้งเมื่อเราได้กลับมาทบทวน จะพบว่า ความขัดแย้งต่างๆเกิดขึ้นเพียงเพราะเรายึดถือคุณค่าที่ต่างกัน หรือมีความต้องการที่ต่างกันนั่นเอง  

หากเรารู้ความต้องการที่ชัดเจนของเราแล้ว อย่างน้อยเราก็จะเจอทางออกจากปัญหาได้ง่ายขึ้น

ดังคำกล่าวที่ว่า “เมื่อเจอปัญหา แล้วหาทางออกไม่ได้ ให้ไปออกที่ทางเข้า” ก็คือการกลับไปย้อนดูว่าทางเข้า หรือจุดเริ่มของปัญหาคือ ความต้องการ หรือคุณค่าใด ที่ไม่ตรงกันนั่นเอง

เมื่อเรารับรู้อารมณ์ ดูแลมันได้แล้ว เราสามารถมองเห็นความต้องการของตัวเองชัดเจน ก็ถึงเวลาสำคัญ คือขั้นตอนในการสื่อสารกับอีกฝ่าย

หลายๆคนคงเคยเรียนเรื่อง เทคนิคการพูดเจรจาต่อรอง การใช้วาทะศิลป์ในแบบต่างๆ แต่ผมพบว่าเทคนิคเหล่านั้น มันจะไม่ได้ผลเลย ถ้าหากคุณไม่สามารถพูดมันออกมาจากใจที่แท้จริง

การพูดจากใจที่แท้จริง คือ “การสื่อสารที่ความรู้สึก และความต้องการของเราตรงๆ”

====

ผมจะเรียกว่า เทคนิค I Statement คือ พูดจากตัวเรา ไม่ใช่กล่าวโทษอีกฝ่าย ไม่ใช่การสื่อสารด้วยความคาดหวัง หรือบอกวิธีการที่เราต้องการให้อีกฝ่ายทำ มาดูตัวอย่างต่อไปนี้

เหตุการณ์ที่ 1: เจ้านาย ต้องการจะตักเตือนลูกน้องที่ทำงานบกพร่อง

คุณเคยคิดบ้างมั้ยกับสิ่งที่ทำลงไป ผมหวังว่าคราวหลังคุณควรจะคิดให้ถี่ถ้วนกว่านี้ (กล่าวโทษ)

ผมรู้สึกเสียใจในสิ่งที่เกิดขึ้น ผมต้องการหาวิธีที่เราจะแก้ไขปัญหานี้ร่วมกัน  (I Statement)

เหตุการณ์ที่ 2: อยากจะบอกตรงๆว่า ไม่ชอบนิสัยบางอย่างของเพื่อนร่วมงาน

อย่ามาทำนิสัยแบบนี้กับฉันได้มั้ย เป็นใครก็ไม่ชอบ ทำไมไม่คิดถึงใจคนอื่นซะบ้าง (กล่าวโทษ)

ฉันรู้สึกหงุดหงิดและไม่พอใจ ฉันต้องการความเคารพเท่าเทียม ในฐานะเพื่อนร่วมงาน (I Statement)

เหตุการณ์ที่ 3: ภรรยา รู้สึกน้อยใจ กับบางพฤติกรรมของสามี

ทำไมต้องบ่นต้องว่าฉันตลอด ใช่สิ ฉันมันไม่ได้เป็นที่คุณหวังไว้ ฉันคงไม่ดีพอสำหรับคุณ (กล่าวโทษ)

ฉันรู้สึกเสียใจและน้อยใจ ฉันต้องการการยอมรับ และความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเรา (I Statement)

====

สรุปจากกรณีตัวอย่าง

การใช้ I Statement ต้องอาศัยการฝึกฝน เพราะเป็นสิ่งที่ฝืนกับนิสัยตอบโต้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นระบบอัตโนมัติของมนุษย์ 

แม้ว่าการใช้ I Statement อาจจะยังไม่รู้ว่า หลังจากนั้นอีกฝ่ายจะตอบกลับมาอย่างไร จะออกหัวหรือออกก้อย แต่อย่างน้อยมันก็เปิดพื้นที่ให้มีการพูดคุยในระดับที่ลงลึกมากขึ้น

ที่สำคัญที่สุดคือ มันจะไม่ทำให้อีกฝ่าย “ปกป้องตัวเอง” หรือ “โต้ตอบอย่างรุนแรง” เพราะเราช่วยลดกำแพงลงและเปิดใจตัวเองออกไปแล้วนั่นเอง


คุณคงเคยตอบโต้กับเหตุการณ์ หรือผู้คนด้วยอารมณ์ ด้วยความรวดเร็ว คุณจะพบว่าหลายๆครั้งแล้ว แทนที่มันจะดีขึ้น มันกลับยิ่งเลวร้ายลงกว่าเดิม นั่นเป็นเพราะอะไร

“คนขาดสติ ย่อมไม่อาจคิดอ่าน ที่จะจัดการกับสิ่งต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม”

การฟังเสียงในใจ หรือ Inner Listening ก็คือการกลับมามีสติ รู้สึกตัวและใช้ปัญญาในการใคร่ครวญตัวเอง ก่อนที่จะสื่อสารออกไป

การแก้ปัญหาได้ที่ต้นเหตุ ก็คือ เริ่มจัดการกับตัวเอง ก่อนที่จะจัดการกับคนอื่น

4 ขั้นตอนนี้ ไม่ได้ใช้เวลานาน ถ้าได้รับการฝึกฝนมาบ้าง ก็จะทำได้อย่างง่ายขึ้น

หากเพียงอ่านบทความนี้จบ อาจจะยังทำทั้ง 4 ขั้นตอนไม่ได้ทันที แต่อย่างน้อย เตือนตัวเองสักนิด ในครั้งหน้าเมื่อเราเริ่มอารมณ์ขึ้น ขอให้เราฝึกที่จะรับรู้อารมณ์ตัวเองให้ทัน

หยุดยั้งตัวเองแล้ว “ขอเวลานอก” ออกมาก่อนจะเหตุการณ์มันจะบานปลายรุนแรง

เมื่อเรามีเวลาได้อยู่กับตัวเอง การใช้เทคนิค “ฟังเสียงภายใน” ก็จะช่วยให้เราคลี่คลายสถานการณ์ในใจได้ดีขึ้นเอง และการสื่อสารหลังจากนั้น ก็จะเป็นเรื่องง่ายขึ้นอย่างมาก

Inner Listening กับ I – Statement เป็นสองทักษะที่ทุกคนสามารถฝึกฝนได้เพื่อพัฒนาความสามารถในการบริหารอารมณ์ แต่ถ้าคุณอยากพัฒนาเพิ่มเติม แนะนำการเรียนรู้เรื่อง 7 อุปนิสัยของคนที่มี EQ สูง คลิกที่นี่

บทความโดย CEO เรือรบ – ผู้ก่อตั้ง Learning Hub Thailand / ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาภาวะผู้นำ

ถ้าคุณสนใจเรียนรู้และฝึกฝนพัฒนาทักษะการบริหารจัดการอารมณ์ของคนทำงานยุคใหม่ขอแนะนำหลักสูตร   Emotion Intelligence  เพื่อพัฒนาให้คนทำงานยุคใหม่มีความสามารถที่จะบริหารจัดการอารมณ์โกรธและอารมณ์ไม่ดีอื่น ๆ ของตัวเองเพื่อการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ  คลิกดูรายละเอียด ที่นี่

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

Categor

 

Categories EQ

10 วิธีที่ทำให้คุณเลิกนิสัยแย่ ๆ ได้สำเร็จ

คุณอาจเคยหงุดหงิดกับนิสัยแย่ๆของตัวเอง  ที่บางครั้งคุณก็รู้อยู่แกใจว่าไม่มีใครชอบ และคุณก็ไม่อยากจะมีนิสัยแย่ๆเหล่านั้นหรอก แต่ว่าคุณก็เลิกทำไม่ได้ซักที   

คุณสามารถที่จะค่อยๆ ลด และเลิกนิสัยแย่ๆของคุณได้ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามวิธีการ 10 ข้อ ที่เราแนะนำ

คุณไม่จำเป็นต้องทำทุกข้อ แต่ถ้ายิ่งทำได้หลายข้อ มันจะยิ่งเพิ่มพลังให้การละ เลิกนิสัยแย่ ๆ ของคุณได้มากขึ้น

====

1.สร้างแรงบันดาลใจที่ยิ่งใหญ่

ถ้าคุณตั้งใจจะเลิกสูบบุหรี่แบบจริงจัง มันไม่ใช่แค่คิดว่า ถ้าหยุดสูบแล้วจะดีกับสุขภาพคุณเอง แต่คุณต้องมีทัศนคติ และความเชื่อที่ยิ่งใหญ่ก่วานั้น เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ และเป็นตัวกระตุ้นอันทรงพลังในการเลิกสูบบุหรี่

เช่น คิดเสมอว่าทุกครั้งที่ฉันสูบบุหรี่ ฉันกำลังตายผ่อนส่งอยู่ หรือ คนที่ฉันรู้จักตายเพราะมะเร็งปอด ถ้าไม่อยากตายแบบทรมาน ฉันต้องเลิกสูบบุหรี่เดี๋ยวนี้ เป็นต้น

====

2.สัญญากับตัวเอง

คุณสัญญากับตัวเอง ว่าคุณจะไม่ทำพฤติกรรมแย่ๆ อีก แต่นั่นอาจไม่พอ เพราพอเกิดความต้องการจะทำขึ้นจริง ๆ คุณอาจใจอ่อนกับตัวเอง เทคนิคที่มีพลังมากขึ้นก็คือ คุณต้องบอกเพื่อนรอบข้าง บอกคนใกล้ชิด

จงบอกให้โลกรู้ว่าคุณมีแผนจะลด ละ เลิกสิ่งที่ไม่ดี และเมื่อคุณมีความคิด หรืออยากจะไปทำพฤติกรรมแย่ๆอีก  พวกเขาเหล่านั้น คือ คนที่จะมาช่วยเตือนสติคุณ ให้กำลังใจคุณ และอยู่เคียงข้างคุณ ไม่ให้คุณกลับไปใช้ชีวิตแย่ๆแบบเดิมอีก

====

3.ระวังสิ่งกระตุ้น

อะไรคือสิ่งที่กระตุ้นให้คุณมีพฤติกรรมแย่ๆ เหล่านั้น คุณต้องหามันให้เจอ และคอยระวังไม่ให้คุณไปสัมผัสสิ่งกระตุ้นเหล่านั้น เช่น คุณสูบบุหรี่ก็ต่อเมื่อมีคนชวน  เห็นคนสูบบุหรี่ หรือได้กลิ่นบุหรี่

สิ่งเหล่านี้สามารถกระตุ้นสัญชาติญาณดิบของคุณ โดยที่คุณไม่สามารถหักหามใจได้  คุณจะรู้สึกหงุดหงิด และห้ามตัวเองไมได้ จงสังเกตตัวเองให้ดีว่าอะไรคือสิ่งเร้า หรือสิ่งกระตุ้น ให้คุณเลิกนิสัยแย่ๆแบบนี้ไม่ได้ซักที จากนั้นให้นำมันออกไปจากชีวิตของคุณทันที 

====

4.รู้ที่มาของพฤติกรรมแย่ๆ

อะไรคือปัจจัยหรือสาเหตุที่ทำให้คุณมีพฤติกรรมแย่ๆเหล่านั้น ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นเพราะเหตุ คุณต้องหาสาเหตุนั้นให้เจอ โดยการพิจารณาตัวเอง และซื่อสัตย์กับตัวเอง

เช่น ถ้าคุณเป็นคนอ้วน เพราะชอบกินของหวาน และคุณอยากที่จะเลิกกินของหวาน เพราะรู้ว่ามันไม่ได้ดีกับสุขภาพ และทำให้คุณยิ่งอ้วน คุณต้องหาสาเหตุให้เจอว่าทำไมคุณถึงอยากกินของหวาน ชอบกินของหวานตอนไหน 

ยกตัวอย่างเช่น คุณจะรู้สึกอยากกินของหวานตอนที่คุณรู้สึกเครียด รู้สึกเศร้า หรือรู้สึกหดหู่ เพราะคุณไปผูกโยงว่าของหวานจะทำให้คุณรู้สึกดีขึ้น เป็นต้น

====

5.หากิจกรรมอื่นทดแทน

คุณอาจชอบสูบบุหรี่ ชอบใช้ความรุนแรงกับผู้อื่น หรือ ชอบกินอาหารที่ทำลายสุขภาพ เมื่อคุณเครียด หรือ ท้อแท้  คุณสามารถแก้พฤติกรรมแย่ๆเหล่านั้นได้ โดยการหากิจกรรมอื่นมาทดแทน เพื่อบำบัด ความเครียด หรือระบายความรู้สึกของคุณ

เช่น สมัครคอรส์เรียนชกมวย  ดูหนัง ร้องคาราโอเกะ  แต่ถ้าจะให้ดียิ่งขึ้นกิจกรรมใหม่ๆที่หามาทดแทนนั้นควรจะมีเพื่อนหรือคนรักที่สนับสนุนคุณด้วย

====

6.มีสติกับสิ่งกระตุ้นที่อยู่รอบตัว

หลังจากที่คุณรู้แล้วว่าสิ่งไหนเป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้คุณมีพฤติกรรมแย่ๆ คุณควรที่จะระวัง และอยู่ห่างปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดสิ่งกระตุ้นเหล่านั้น 

เช่น ถ้าคุณได้ยินเสียงน้ำแข็งกระทบแก้ว แล้วทำให้คุณอยากดื่มเหล้า หรือ ได้กลิ่นควันจางๆแล้วทำให้คุณอยากสูบบุหรี่ จงมีสติ ดื่มน้ำ และหายใจเข้าออกช้าๆ คุณสามารถให้เพื่อนคุณช่วย และควรเดินออกจากสิ่งแวดล้อมเหล่านั้นให้เร็วที่สุด

====

7.สร้างนิสัยใหม่ๆหลังจากเจอสิ่งกระตุ้น

มันยากมากที่จะเปลี่ยนนิสัย หรือสัญชาตญานหลังจากที่คุณทำมันมานานแสนนาน แต่คุณสามารถเริ่มนิสัยใหม่ได้ ด้วยการมีสติ และความเชื่อ คุณต้องพึงระลึกอยู่เสมอ และแข็งใจกับสิ่งเร้าหรือสิ่งกระตุ้นรอบข้าง

เช่น ทุกครั้งที่คุณได้กลิ่นบุหรี่ แล้วอยากสูบบุหรี่ ให้คุณเปลี่ยนไปเคี้ยวหมากฝรั่งแทน ทำแบบนี้ทุกครั้งจนกลายเป็นนิสัยใหม่

แต่ถ้ามันเกิดข้อผิดพลาดที่คุณไม่สามารถหักห้ามใจ หรือเผลอที่จะมีหรือแสดงพฤติกรรมแย่ๆออกมา คุณควรให้อภัยตัวเอง แล้วเริ่มใหม่ให้เร็วที่สุด 

====

8.ระวังความคิดของคุณ

เพราะความคิด และความเชื่อมีผลต่อพฤติกรรม และการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆในชีวิตคุณ คุณต้องระวังความคิดคุณให้มาก  ถ้าจะมีเหตุผลหรือข้อแก้ตัวสำหรับพฤติกรรมแย่ๆ

เช่น วันนี้วันเกิดฉัน ขอเว้นวรรคสักวัน หรือ ฉันเพิ่งปิดจ็อบงานนี้สำเร็จขอให้รางวัลตัวเองหน่อย  คุณควรหยุดความคิดที่เข้าข้างตัวเอง ถ้าคุณอยากจะเลิกนิสัย หรือ พฤติกรรมแย่ๆ เหล่านั้นอย่างจริงจัง

====

9.ค่อยๆ เลิก

มันไม่จำเป็นที่จะต้องหักดิบ เลิกทันที เลิกเลย คุณสามารถค่อยๆลด และละ จนเลิกได้ เช่นถ้าคุณอยากเป็นคนตื่นเช้า แต่ปกติคุณตื่นเที่ยงตลอด คุณอาจเริ่มด้วยการตื่นตอน 11 โมง  และวันต่อไปๆ

คุณอาจเริ่มนอนให้เร็วขึ้นครึ่งชั่วโมง และตื่นให้เร็วขึ้นครึ่งชั่วโมง  การที่ตั้งเป้าทีละเล็กละน้อย ในแต่ละวัน มันเป็นเป้าหมายที่ทำได้ง่าย และคุณจะรู้สึกดีขึ้นเรื่อยๆ ถ้าคุณทำมันสำเร็จในแต่ละวัน มันเป็นกำลังใจที่ดีที่ทำให้คุณไปถึงเป้าหมายของคุณได้ง่ายขึ้น และทำให้คุณเป็นคนใหม่ได้ในที่สุด

====

10.เรียนรู้จากข้อผิดพลาด

บางครั้งเราก็พลาดได้ ให้อภัยตัวเอง ล้มแล้วลุกขั้นใหม่ให้เร็วที่สุด พิจารณาสิ่งที่เกิดตามความเป็นจริง ไม่เข้าข้างใคร ยอมรับมัน และหาแผนสำรองเพื่อกันไม่ให้มันเกิดขึ้นอีก และทุกครั้งที่มันเกิดขึ้นซ้ำ คุณจะต้องรับมือมันได้ดีกว่าเดิม

คุณต้องมีพัฒนาและเข้มแข็งขึ้น การเรียนรู้จากข้อผิดพลาดคือสิ่งที่ทำให้คุณใกล้เป้าหมายมากยิ่งขึ้น

ไม่ใช่เรื่องง่ายที่คนเราจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตัวเอง แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ หลายคนล้มเลิกความตั้งใจกลางครันเพราะมองข้ามสิบข้อเหล่านี้ จงระวังความคิดในทำนองคนขี้แพ้  ทุกคนสามารถเอาชนะใจตัวเองได้ เพียงแค่คุณใช้ความตั้งใจ ความพยายาม และแรงบันดาลใจของคุณเอง

อาจมีหลายพฤติกรรมที่คุณอยากกำจัด แต่ถ้าคุณไม่แน่ใจว่าพฤติกรรมที่ทำอยู่ควรกำจัดหรือไม่  อ่าน 5 พฤติกรรมที่คนสำเร็จจะไม่มีวันทำแน่นอน คลิกที่นี่

ที่มาบทความ http://zenhabits.net/bad/

====

ถ้าสนใจการกำจัดนิสัยหรือพฤติกรรมแย่ ๆ และสร้างพฤติกรรมที่ดีให้กับตัวเองและคนในทีม ขอแนะนำหลักสูตร High Performance Leader คลิกดูรายละเอียดที่นี่

เรียบเรียงโดย 

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 094 959 2645

 

Categories EQ

7 อุปนิสัยของคนที่มี EQ สูง

งานวิจัยในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา พบว่าความฉลาดทางอารมณ์ หรือ EQ (Emotional Intelligence) เป็นตัวชี้วัดความสุขและความสำเร็จในชีวิต

แม้ว่า EQ จะเป็นสิ่งที่เรามองไม่เห็น จับต้องได้ยาก แต่มันจะปรากฎออกมาในพฤติกรรมของแต่ละคน ทั้งด้านความสามารถในการเข้าสังคม การรับมือกับสถานการณ์ที่ยาก กระบวนการตัดสินใจ และมุมมองในชีวิต เป็นต้น

ปัจจุบันเราสามารถทดสอบ EQ ของคนทั่วไปได้ แต่ก็มีค่าใช้จ่ายสูง อย่างไรก็ตามงานวิจัยจากผู้คนหลายพันคนทำให้ได้พบว่า มีอุปนิสัยและพฤติกรรมบางอย่างที่บ่งชี้ว่าคนเหล่านี้มี EQ ที่สูงกว่าคนทั่วไป ได้แก่ 

====

1. สามารถบ่งบอก ‘ภาวะอารมณ์’ ของตัวเองได้

มนุษย์ทุกคนมีอารมณ์ความรู้สึก  แต่เชื่อไหมว่า มีคนเพียง 36% เท่านั้น ที่สามารถบอกได้ว่า ขณะนี้ตัวเองรู้สึกอย่างไร

คนทั่วไปไม่เข้าใจอารมณ์ความรู้สึกจึงมักปฏิเสธ หรือกดทับอารมณ์ของตัวเอง คนที่มี EQ สูง จะสามารถบ่งบอก และแยกแยะระดับอารมณ์ได้อย่างละเอียดชัดเจน เช่น

ตอนนี้รู้สึกแย่ หงุดหงิด รำคาญ ขุ่นเคือง โกรธ กังวล กระวนกระวาย ว้าวุ่น ฟุ้งซ่าน ยิ่งสามารถอธิบายได้ละเอียดมากเท่าไหร่ แสดงว่าเขารู้จักตัวเองดีมากเท่านั้น

====

2. ใส่ใจผู้คน และไม่ด่วนตัดสินคนอื่น

คนมี EQ สูงนั้นจะมีความห่วงใยใส่ใจผู้คนที่อยู่รอบๆตัวของเขา จะไม่เอาตัวเองเป็นศูนย์กลางในการคิดหรือตัดสินใจ แต่จะมองรอบๆตัวว่าจะทำให้เกิดประโยชน์กับทุกฝ่ายได้มากที่สุดอย่างไร

เมื่อต้องเจอกับคนที่ขี้หงุดหงิด ขี้วีน เขาจะรักษาระดับอารมณ์ไม่ให้ขึ้นไปตามสิ่งที่มากระทบ เขามองว่าคนเหล่านี้อาจกำลังเผชิญกับปัญหาส่วนตัวอยู่ และรู้ว่าไม่มีใครถูกหรือผิดไปซะทุกอย่าง ดังนั้นเขาจะไม่ด่วนตัดสินคน และจะสื่อสารโดยใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์

====

3. ยอมรับความเปลี่ยนแปลง โดยไม่มองหาความสมบูรณ์แบบ

เขาคือคนที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับเปลี่ยนแผนได้ตลอด เขารู้ว่าความกลัวต่อการเปลี่ยนแปลง คืออุปสรรคต่อความสำเร็จและความสุขในชีวิต เขาจึงมองว่าความไม่แน่นอน คือสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้เสมอ และก็พร้อมที่จะเผชิญกับสิ่งเหล่านั้น

เขาจะไม่ตั้งเป้าหมายถึงความสมบูรณ์แบบ เพราะรู้ว่ามันไม่มีอยู่จริง แทนที่จะมองว่าตัวเองห่างจากความสมบูรณ์แบบมากแค่ไหน เขาจะมองว่าตัวเองทำอะไรสำเร็จมาแล้วบ้าง และจะทำอะไรต่อไปมากกว่า

====

4. รู้จักและรู้เท่าทันตัวเองจึงไม่โกรธง่าย ๆ

คนที่มี EQ สูงจะรู้ว่าตัวเองถนัดอะไร และจะปรับใช้สิ่งเหล่านั้นมากขึ้นเพื่อสร้างความได้เปรียบ ขณะเดียวกันก็จะเก็บจุดอ่อนเอาไว้ ไม่ให้มาฉุดรั้งตัวเอง

เขารู้ดีว่าอะไรเป็นสิ่งที่จะมากดปุ่มให้ตัวเองโกรธหรือเสียใจ และอะไรที่จะสร้างกำลังใจไปสู่ความสำเร็จ เขาจะเป็นผู้ “เลือกตอบสนองต่อสถานการณ์” ไม่ใช่ “เป็นเหยื่อของสถานการณ์” ที่เกิดขึ้น

ไม่ใช่ว่าโกรธไม่เป็น แต่ด้วยความที่เขารู้จักตัวเองดี จึงมีความมั่นใจในและเคารพในตัวเอง ดังนั้นแม้ว่าจะมีใครมาแหย่ให้โกรธ พูดจาดูถูก หรือล้อเลียน เขาจะไม่ถือเป็นอารมณ์ เพราะลึกๆแล้วเขารู้ว่า นั่นเป็นเพราะอีกฝ่ายอิจฉา และรู้สึกว่าตัวเองไม่ดีพอต่างหาก

====

5. รู้ว่าเมื่อไหร่ควรปฏิเสธและปฏิเสธเป็น

คนมี EQ สูง รู้ความต้องการของตัวเอง และควบคุมตัวเองได้ เขารู้ว่ายิ่งอดทนมากไป ยิ่งจะสร้างความเครียด ดังนั้นเขาจึงเลือกที่จะพูดว่า “ไม่” อย่างสุภาพ โดยที่ไม่รู้สึกแย่หรือกังวลภายหลัง

เขารู้ว่าการใช้คำว่า “บางที ไม่แน่ใจ อาจจะ ดูอีกทีนะ” ยิ่งจะทำให้เกิดความคาดหวัง และอึดอัดทั้ง 2 ฝ่าย ดังนั้นเค้าจะให้คำสัญญาหรือตอบรับ ก็ต่อเมื่อเค้าหมายความถึงสิ่งที่พูดจริงๆ เท่านั้น

====

6. ยอมให้ตัวเองผิดพลาดได้

คนมี EQ สูง ตระหนักดีว่า “ความผิดกับตัวเขา” ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน ดังนั้นเขาจะให้อภัยตัวเองได้เร็ว เมื่อเกิดความผิดพลาด เขาจะมองหาบทเรียนที่ได้รับ และนำไปปรับปรุงสำหรับครั้งต่อไป

เขาไม่ลืมความผิดนั้น แล้วก็ไม่ “จมอยู่กับความผิด” มันจะเป็นเพียงความทรงจำที่เตือนใจไม่ให้ทำผิดซ้ำ และความผิดที่ดูลำบากหนักหนาในครั้งนี้ เป็นสิ่งที่จะทำให้เค้าลุกขึ้นได้ง่ายและเร็วขึ้นในครั้งต่อไป

ถ้ายึดติดกับความผิดพลาดหรือสิ่งที่ไม่เป็นไปตามใจมาก ๆ มักจะทำให้เกิดความเครียด อ่าน 5 วิธีรับมือกับความเครียดในการทำงาน เพื่อเรียนรู้และฝึกฝนไปด้วยกัน คลิกที่นี่

====

7. รู้ว่าเมื่อไรควรหยุดและพัก 

คนมี EQ สูงนั้นมักจัดสรรเวลา “หยุดพัก” ให้กับตัวเองอย่างสม่ำเสมอ แม้เขาจะทำงานหนัก และมีเรื่องต้องทำมากมาย แต่เค้าก็หาเวลา “ออฟไลน์” ให้กับตัวเองได้ การปิดเครื่องมือสื่อสารทุกชนิด ออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์และงาน ไม่ต้องติดต่อหรือพูดคุยกับใคร คือการมอบ “ช่วงเวลาเงียบ” ให้กายและใจได้หยุดพักอย่างแท้จริง

การที่ได้มีเวลาทบทวน ใคร่ครวญกับตัวเอง ทำให้เขากลับมาทำงานได้อย่างสดชื่น มีชีวิตชีวา และเต็มเปี่ยมไปด้วยพลัง

7 อุปนิสัยของผู้มี EQ สูง ทำให้เราสามารถประเมินตัวเองคร่าวๆ ได้ว่ายังขาดตกบกพร่องในข้อใด เพราะระดับ EQ ของเรานั้น แปรผันโดยตรงกับความสุขในชีวิต EQ และความสุข ต่างก็เป็น “ทักษะ” ที่ฝึกฝนได้ และส่งต่อได้

อ้างอิงจาก Travis Bradberry ผู้เขียนหนังสือ Emotional Intelligence 2.0

====

ถ้าคุณต้องการเรียนรู้และฝึกฝนทักษะด้านความฉลาดทางอารมณ์อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อบริหารจัดการอารมณ์ที่ไม่พึงประสงค์ได้  ขอแนะนำหลักสูตร Emotion  Intelligence  คลิกดูรายละเอียดที่นี่

บทความโดย

อ.เรือรบ  จิณณ์ณัฏฐ์ พรหมนุรักษ์ 

ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาภาวะผู้นำ 
CEO ผู้ก่อตั้ง Learning Hub Thailand 

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 094 959 2645

Categories EQ

10 สุดยอดเทคนิค พิชิตใจเพื่อนร่วมงาน

คุณมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงานมากแค่ไหน 

งานวิจัยของ gallup organization องค์กรระดับโลกที่ทำงานเรื่องวัฒนธรรมองค์กรพบว่าคนที่มีเพื่อนสนิทหรือกัลยาณมิตรที่ดี 7 เท่าได้มาจากการทำงาน

ในบทความนี้จะโฟกัสที่คำถามว่าเราจะสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและมีประสิทธิภาพได้อย่างไร

เราจะมาดูกันว่าเพราะอะไรการมีความสัมพันธ์ที่ดีจึงมีความสำคัญและจะแนะนำวิธีพัฒนาความสัมพันธ์ของคุณกับคนที่ไม่ค่อยลงรอยกับคุณให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้นด้วย

====

 

ทำไมในการทำงานเราจึงควรมีความสัมพันธ์หรือมิตรภาพที่ดี

ตามธรรมชาติแล้วมนุษย์เราเป็นสัตว์สังคม เราโหยหามิตรภาพความสัมพันธ์ที่ดีเสมือนโหยหาน้ำและอาหาร

ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ยิ่งเรามีความสัมพันธ์ที่ดีในการทำงานมากเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งมีความสุขและสามารถสร้างสรรค์ผลงานได้ดีขึ้นมากเท่านั้น

====

ข้อดีในการมีความสัมพันธ์ที่ดีในชีวิตการทำงานนั้นมีมากมาย เช่น

คุณจะเพลิดเพลินในการทำงานขึ้นมาทันทีเมื่อคุณถูกรายล้อมไปด้วยเพื่อนร่วมงานที่ดี

คนเหล่านั้นมีแนวโน้มในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่ดี

ทำให้เรากลายเป็นคนที่มีไอเดียใหม่ๆ คิดค้นสิ่งใหม่ๆ ตลอดจนสามารถปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ได้เสมอ 

====

นอกเหนือจากนี้ ความสัมพันธ์ที่ดียังให้อิสระต่อเราด้วย ยกตัวอย่างเช่น

แทนที่เราจะใช้เวลาหมดไปกับการแก้ปัญหาวุ่นวายเกี่ยวกับความสัมพันธ์แย่ๆ เราสามารถโฟกัสไปที่โอกาสต่างๆที่เข้ามาได้มากขึ้น

ความสัมพันธ์ที่ดียังเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากถ้าคุณต้องการจะพัฒนาความก้าวหน้าในอาชีพของคุณเอง

พูดง่ายๆคือหากเจ้านายคุณไม่ไว้ใจคุณเพราะมีความสัมพันธ์ที่ไม่ดีต่อกันแล้วละก็ สิทธิในการได้รับเลื่อนตำแหน่งในโอกาสต่างๆของคุณก็จะหมดไปอย่างแน่นอน

เพราะคนส่วนใหญ่ก็คงไม่อยากร่วมงานกับคนที่ไม่ลงรอยกับเราเท่าไหร่หรอก 

นอกจากเจ้านายของคุณแล้ว คุณยังต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงานคนอื่นๆอีกด้วย 

ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า ผู้ผลิต และผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการประสบความสำเร็จของคุณ สรุปว่าการสร้างและรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับคนที่ทำงานกับเรามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง 

====

 

แล้วแบบไหนล่ะที่เรียกว่าการมีความสัมพันธ์ที่ดีในชีวิตการทำงาน

ลักษณะของความสัมพันธ์ที่ดีในชีวิตการทำงาน มีดังนี้ 

มีความไว้เนื้อเชื่อใจ

ความไว้เนื้อเชื่อใจถือเป็นพื้นฐานสำคัญของทุกๆความสัมพันธ์ เมื่อไหร่ที่คุณเชื่อใจ ไม่ว่าจะเป็นทีมงานหรือเพื่อนร่วมงานของคุณ นั่นหมายถึงคุณได้เชื่อมสายสัมพันธ์ที่แข็งแรงซึ่งสิ่งนี้จะช่วยให้คุณทำงานและสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะความเชื่อใจจะทำให้คุณคิดและทำทุกอย่างอย่างซื่อสัตย์ เปิดเผย และไม่ต้องมาคอยกังวลหรือเสียเวลากับการคอยระมัดระวังการกระทำของคุณ

====

มีความเคารพซึ่งกันและกัน

 เมื่อไหร่ที่คุณเคารพเพื่อนร่วมงานของคุณ เช่น เคารพการทำงานหรือความคิด คุณก็จะได้สิ่งนั้นกลับคืนมาเช่นกัน

====

มีการเอาใจใส่

 ในที่นี้หมายถึงการมีความรับผิดชอบต่อการกระทำและคำพูด คนที่เอาใจใส่ผู้อื่นจะระมัดระวังและใส่ใจสิ่งที่เขาพูดไปและจะไม่ยอมให้คำพูดหรืออารมณ์ในด้านลบของตนเองต้องไปกระทบกับคนใกล้ตัว

====

มีการยอมรับในความหลากหลาย

ผู้คนที่มีความสัมพันธ์ที่ดีไม่เพียงแต่ยอมรับความหลากหลายทางความคิดหรือระหว่างตัวบุคคลเท่านั้นแต่จะใส่ใจสิ่งเหล่านั้นจริงๆ เช่น เมื่อไหร่ที่เพื่อนร่วมงานของคุณเสนอไอเดียที่แตกต่างออกไปจากคุณ คุณให้เวลากับตัวเองในการพิจารณาไอเดียเหล่านั้น เจาะลึกไปในแต่ละจุดและนำสิ่งเหล่านั้นไปพิจารณาประกอบการตัดสินใจ

====

มีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในปริมาณที่เหมาะสม

คนเราสื่อสารกันอยู่ทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นการส่งอีเมล์ การส่งข้อความต่างๆหรือแม้แต่การประชุม ยิ่งคุณมีการสื่อสารที่ดีและมีประสิทธิภาพกับผู้คนรอบๆตัวคุณมากเท่าไหร่ คุณก็ยิ่งมีความสัมพันธ์ที่ดีเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น ความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นอยู่กับการสื่อสารที่เปิดเผยและตรงไปตรงมา

====

ต่อไปนี้คือ 10 สุดยอดเทคนิคในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและพิชิตใจเพื่อนร่วมงานที่คุณควรนำไปใช้

1.พัฒนาทักษะการทำงานกับผู้อื่น

ความสัมพันธ์ที่ดีเริ่มจากการมีทักษะเรื่องการทำงานที่ดีกับคน เช่น การร่วมมือกันทำงาน การสื่อสารและการแก้ปัญหาความขัดแย้ง

====

2.แยกแยะความสัมพันธ์กับคนที่คุณต้องการจะพัฒนา

โฟกัสไปที่ความสัมพันธ์ที่คุณต้องการ คุณรู้รึเปล่าว่าคุณต้องการอะไรจากคนเหล่านั้น? แล้วพวกเขาเหล่านั้นต้องการอะไรจากคุณ? การเข้าใจถึงความต้องการเหล่านี้สามารถเป็นเครื่องมือในการสร้างความสำคัญที่ดีขึ้นได้

====

3.รู้จักจัดตารางเวลา

สละเวลาของคุณเพียงเล็กน้อยในแต่ละวันในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงานเพียงแค่ 5 นาทีหรือ 20 นาที เช่น เข้าไปถามไถ่เพื่อนร่วมงานช่วงพักกลางวัน ตอบข้อความในทวิตเตอร์หรือชวนกันไปนั่งดื่มกาแฟ สิ่งเล็กๆน้อยๆเหล่านี้จะสร้างพื้นฐานของความสัมพันธ์ที่ดีโดยเฉพาะการพูดคุยหรือทำอะไรต่อหน้ากัน

====

4.ให้ความสำคัญกับความฉลาดทางอารมณ์

ใช้เวลาในการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวช่วยให้คุณรับรู้ความรู้สึกของคุณเองและเข้าใจสิ่งที่คนอื่นพยายามที่จะบอกคุณ ดังนั้นผู้ที่มีความฉลาดทางอารมณ์จะสามารถเข้าใจอารมณ์และความต้องการของผู้อื่นได้เป็นอย่างดี

====

5.ยกย่องผู้อื่น

แสดงความขอบคุณเมื่อไหร่ก็ตามที่มีคนช่วยคุณ ทุกคนในที่นี้คือตั้งแต่เจ้านายของคุณไปจนถึงแม่บ้านทุกคนต้องการรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าในงานที่ทำ ดังนั้นการที่เราชื่นชมยกย่องผู้คนรอบตัวคุณด้วยความจริงใจ นั้นจะเป็นสิ่งที่ช่วยเปิดประตูในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีของคุณกับคนเหล่านั้น

====

6.คิดบวก

การคิดบวกเป็นสิ่งที่น่าดึงดูดและสามารถส่งต่อไปยังคนรอบข้างได้และมันจะช่วยทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคุณและเพื่อนร่วมงานแข็งแรงขึ้น ไม่มีใครหรอกที่อยากอยู่ท่ามกลางคนที่คิดลบตลอดเวลา

====

7.จัดการกับขอบเขตของคุณ

คุณต้องแน่ใจว่าคุณจัดการขอบเขตของคุณอย่างเรียบร้อย ทุกคนต้องการมีเพื่อนในที่ทำงานแต่บางครั้งมิตรภาพก็ส่งผลกระทบต่องานของคุณ โดยเฉพาะเมื่อไหร่ก็ตามที่เพื่อนร่วมงานของคุณเริ่มอยากจะใช้เวลากับคุณมากขึ้น

เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้นเมื่อไหร่มันจำเป็นอย่างมากที่คุณจะต้องบริหารเวลาของคุณให้ดีว่าคุณมีเวลาเข้าสังคม พบปะสังสรรค์มากน้อยเพียงใดในระหว่างการทำงานแต่ละวัน

====

8.หลีกเลี่ยงการนินทา

การแบ่งพรรคแบ่งพวกในที่ทำงานและการนินทาเป็นปัจจัยหลักที่จะทำร้ายความสัมพันธ์ของคุณ ถ้าคุณมีประสบการณ์การมีปัญหาความขัดแย้งกับใครบางคนในกลุ่มให้คุยกันแบบเปิดเผยถึงปัญหา

เพราะการนินทาเพื่อนร่วมงานไม่เพียงแต่จะเพิ่มความรุนแรงแต่ยังก่อให้เกิดความหวาดระแวงและความเกลียดชังอีกด้วย

====

9.ฟังอย่างตั้งใจ

เมื่อไหร่ที่คุณพูดคุณกับลูกค้าหรือเพื่อนร่วมงาน คนเหล่านั้นจะตอบสนองต่อสิ่งที่ผู้ฟังตั้งใจฟังว่าพวกเขาพูดอะไร โฟกัสการฟังมากกว่าการพูดแล้วคุณจะกลายเป็นคนที่น่าไว้ใจได้ภายในพริบตา

ทักษะการฟังที่ช่วยให้ความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับเพื่อนร่วมงานดียิ่งขึ้น คือ Active Listening ทักษะการฟังที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้คนในทีม อ่านและศึกษาเพิ่มเติมที่นี่

====

10.จัดการกับความสัมพันธ์ที่ยากลำบาก

บางครั้งคุณอาจจะต้องทำงานกับคนที่คุณไม่ชอบหรือบางคนที่ทำงานไม่เข้าขากันบ้างแต่ยังไงก็ตามมันก็จำเป็นอย่างมากในการรักษาความสัมพันธ์ให้มีความเป็นมืออาชีพกับคนเหล่านั้น เมื่อไหร่ที่สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นพยายามเรียนรู้คนคนนั้น

ช่วงแรกๆมันอาจจะดูเหมือนว่าเราไม่ค่อยลงรอยกันเท่าไหร่ ดังนั้นเราควรเริ่มต้นบทสนทนาที่เป็นกันเอง จริงใจ เช่นอาจจะชวนไปทานอาหารเที่ยง เป็นต้น ระหว่างบทสนทนาเพื่อให้เป็นกันเองมากขึ้นอาจจะถามถึงสิ่งที่เขาสนใจหรือสิ่งที่ประสบความสำเร็จในอดีต แทนที่คุณจะมองหาความแตกต่างระหว่างกัน คุณควรมองหาสิ่งที่คล้ายคลึงระหว่างเขาและคุณมากกว่า

====

สุดท้ายนี้ให้คุณระลึกเอาไว้เสมอว่า ไม่ใช่ทุกความสัมพันธ์ที่เราพยายามจะออกมาเวิร์คแต่อย่างน้อยเราก็ได้พยายามอย่างเต็มที่แล้ว

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากพิชิตใจคนในทีม เพื่อพัฒนาการทำงานร่วมกันให้ดียิ่งขึ้น ขอแนะนำหลักสูตร Team Communication & Collaboration คลิกที่นี่

ที่มา

https://www.mindtools.com/pages/article/good-relationships.htm

เรียบเรียงโดย
Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 094 959 2645

แนวทางการทำงานร่วมกับคนที่คิดว่าตัวเองถูกเสมอ

แนวทางการทำงานร่วมกับคนที่คิดว่าตัวเองถูกเสมอ

เวลาทำงานร่วมกันก็ย่อมจะต้องมีการแสดงความคิดเห็น แล้วในทุกองค์กรก็มักจะมีคนที่เสนอความคิดเห็นที่มีเหตุผล เป็นประโยชน์ต่องาน

แต่ในขณะเดียวกันก็จะมี “คนเก่งจอมมั่น” ที่เชื่อว่าตัวเองถูกเสมอ แม้ว่าจะเคยนำสิ่งที่เขาเสนอไปปฏิบัติจริงแล้วไม่เวิร์คมาแล้วก็ตาม

====

นี่คือสถานการณ์ที่ต้องรับมือด้วยความระมัดระวังโดยเฉพาะกับหัวหน้า เพราะถ้าทำตามที่เขาแนะนำตลอดก็อาจส่งผลลบต่อทีมและงานในหลาย ๆ ด้าน แต่ถ้าไม่ทำตามคำแนะนำก็อาจทำให้คนนั้นรู้สึกว่าความภาคภูมิใจในตัวเองถูกทำลายจนอาจจะไม่เสนอไอเดียที่เป็นประโยชน์ต่อไป

ไม่ใช่เรื่องแปลกถ้าจะปวดหัวเวลาทำงานร่วมกับ “คนเก่งจอมมั่น” แต่ก็มีวิธีที่สามารถช่วยป้องกันปัญหาที่ชวนเหนื่อยใจลักษณะนี้ได้ และยังทำให้เกิดผลงานที่เป็นรูปเป็นร่างและมีประสิทธิภาพตามมาได้อีก ด้วยวิธีต่อไปนี้
====

หาต้นตอของความเก่งและมั่นให้เจอ

คนเราจะเก่งและมีความมั่นใจจากหลายเหตุผล แต่เหตุผลที่พบบ่อยนั้นเกิดจากความสำเร็จในการทำงานครั้งก่อน ๆ หลังจากที่เคยแสดงความคิดเห็นและตัดสินใจจนเกิดผลลัพธ์ที่ดีมาแล้วทำให้ครั้งต่อ ๆ ไป เขาก็จะพยายามรักษาความสำเร็จเดิมเอาไว้ด้วยการแสดงออกว่าสิ่งที่เขาคิดนั้นถูกต้องแน่นอน

สิ่งที่คุณสามารถทำได้คือควบคุมบทสนทนาให้เป็นไปอย่างราบรื่น และปราศจากการโต้แย้งอย่างรุนแรง ลองพยายามดึงจังหวะ ดึงอารมณ์ของผู้เข้าร่วมประชุมไม่ให้พุ่งสูงจนเกินไป

ถ้ามีคนน็อตหลุดขึ้นมาเพราะตกลงกันไม่ได้จริง ๆ ก็อาจต้องหาโอกาสประชุมแยกนอกรอบเพื่อพูดคุยปรับความเข้าใจ และปรับมุมมองให้เข้าใจกัน อย่างน้อยก็จะรักษาความมั่นใจของอีกฝ่ายเอาไว้ไม่ให้เขารู้สึกว่าตัวเองทำพลาดหรือหมดประโยชน์ต่อทีม
====

เปิดโอกาสให้ผู้อื่นมีส่วนในการแสดงความคิดเห็นบ้าง

เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานี้ สิ่งสำคัญที่ต้องทำเป็นประจำคือการเปิดกว้างให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็นอย่างรอบด้าน นั่นคือการบอกทั้งข้อดีและข้อเสียในแต่ละประเด็นอย่างตรงไปตรงมา

การให้คนในทีมมีส่วนร่วมและช่วยกันประเมินมุมมองของงานอย่างหลากหลายจะก่อให้เกิดความคิดที่เป็นประโยชน์ในการตัดสินใจครั้งสำคัญ ๆ แล้วยังทำให้แต่ละคนมีความมั่นใจโดยที่ไม่เกิดความขัดแย้งรุนแรงขึ้นมาจนทำลายบรรยากาศและผลของการทำงานอีกด้วย
====

เสริมสร้างบรรยากาศให้คนอยากฟังและอยากแสดงความคิดเห็น

เมื่อต้องทำงานกับคนที่เก่งและมั่นมาก ๆ อาจส่งผลให้เพื่อนร่วมงานรู้สึกว่าคุณค่าของตนเองลดลงจนไม่กล้านำเสนอความคิดเห็นที่แตกต่าง

แนวทางแก้ไขปัญหานี้ คือ เมื่อต้องประชุม แสดงความคิดเห็น สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือการเป็นผู้ฟังที่ดีและโทนเสียงในการพูด ทั้งสองอย่างนี้ต้องมาควบคู่กันจึงจะสามารถลดปัญหานี้ลงได้

เพราะทุกคนล้วนมีมุมมองเป็นของตนเอง และทุกมุมมองต่างมีความสำคัญ โทนเสียงเวลาแสดงความคิดเห็นมีผลต่อความรู้สึกของผู้ฟัง ว่าจะทำให้ผู้ฟังคล้อยตามได้มากแค่ไห

ในขณะเดียวกัน ก็ต้องเป็นผู้ฟังที่ดีด้วย คนอื่นจึงจะกล้าแสดงความคิดเห็นออกมาแล้วจะไม่มีใครรู้สึกอายในความคิดเห็นของตนเอง

และเมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว ท้ายที่สุดทุกคนจะกล้าพูดกันอย่างตรงไปตรงมา จะเกิดความความไว้วางใจซึ่งกันและกัน จนการทำงานราบรื่นในท้ายที่สุด

ยังมีเทคนิครับมือกับคนที่คิดว่าตัวเองถูกที่มักจะชอบวีนเหวี่ยงใส่คนอื่นด้วย อ่าน สื่อสารกับเพื่อนร่วมงานขี้วีนอย่างไรให้ได้ผล คลิกที่นี่

====

เรียบเรียงจาก How to Work with Someone Who Thinks They’re Always Right โดย Ron Carucci and Jarrod Shappell จาก Harvard Business Review 26 มิถุนายน 2019

การทำงานร่วมกับคนที่แตกต่างหลากหลายมี Mindset และทักษะมากมายที่คุณสามารถเรียนรู้และฝึกฝนได้ ขอแนะนำหลักสูตร Team Communication & Collaboration คลิกอ่านรายละเอียดที่นี่

เรียบเรียงโดย

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

แนวทางจัดการอารมณ์โกรธให้อยู่หมัด

แนวทางจัดการอารมณ์โกรธให้อยู่หมัด

ครั้งสุดท้ายที่ระเบิดลง คุณรู้สึกอย่างไร และรับมือกับมันอย่างไร?

แม้ผมจะมีช่วงเช้าที่แสนสดใส แต่ช่วงบ่ายกลับเป็นเหมือนหนังคนละม้วน  เพราะผมได้ระเบิดอารมณ์ใส่น้องที่ทำงาน!!

จากการส่งข้อความแจ้งเรื่องงานที่เรียบง่าย แต่ไม่ถึง 3 นาทีต่อจากนั้น ภาพตัดมาที่ผมกำลังตะโกนเสียงดังผ่านโทรศัพท์ว่า…

“จะเถียงพี่ทำไม #%$^&”

หัวใจผมเต้นแรงไม่เป็นจังหวะ สายตาของผมเริ่มพร่ามัว ปากและมือของผมสั่นระริก ถ้าอยู่ใกล้ ๆ อยากจะเอามือตบโต๊ะใส่ให้รู้แล้วรู้รอดไปเลย

====

แม้จะรู้สึกผิดที่คุมอารมณ์ไว้ไม่อยู่ แต่อีกใจก็รู้สึกสะใจชะมัดที่ได้ทำอะไรแบบนี้บ้าง จนกระทั่งน้องปลายสายถามผมว่า…

“อันนี้คือพี่ใช่ไหม?”

คำถามนั้นทำให้ผมนิ่งไปพักใหญ่ ๆ แล้วสูดลมหายใจเข้าลึก ๆ เพื่อดึงสติให้กลับมา

นี่ไม่ใช่ตัวตนของผม!!

แต่ความพลุ่งพล่านที่เกิดขึ้นนี้ มันเกิดมาจากการที่ ‘ความต้องการ’ และ ‘ความกลัว’ ของผม ถูกกระตุ้น ด้วยเสียงกระซิบเบา ๆ

เสียงกระซิบที่ดังในหัวว่า…

“มึงจะยอมให้เด็กมาข้ามหน้าข้ามตามึงไม่ได้”

“เด็กนี่มันเก่งกว่ามึงอีก มึงสู้น้องมันไม่ได้”

“น้องมันทำงานดีกว่า และกำลังทำให้มึงเป็นพวกดีแต่พูด”

และเสียงอื่น ๆ อีกมากมาย ที่ผมก็ฟังไม่ทันเหมือนกัน

====

เสียงเหล่านี้ชวนให้ผมตีความว่าข้อความทางแชทและน้ำเสียงที่คุยกัน คือน้องคนนี้กำลังกวนประสาทและท้าทายผม

ซึ่งในเสี้ยววินาที ผมก็เชื่ออย่างสนิทใจว่า…

“การระเบิดอารมณ์ใส่น้อง คือสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมที่สุดแล้ว”

เหตุการณ์นี้ทำให้ผมนึกถึงบทเรียนที่พึ่งได้เรียนในคลาส Communication Secrets

ปัญหาอย่างหนึ่งในการสื่อสารนั่นก็คือ… ‘เจตนาหรือความกลัวลึก ๆ ที่ซ่อนอยู่ใต้คำพูด (Subtext)’

ซึ่งเจตนาที่ซ่อนอยู่ในการระเบิดอารมณ์ครั้งนี้ของผมคือ… “การแสดงอำนาจ”

เพราะเสียงกระซิบที่ผมได้ยินมันกำลังทำให้ผมเห็นว่า “ผมกำลังไม่ปลอดภัย” ถ้ายังปล่อยให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น

ความสำคัญของผมในทีมจะถูกลดทอนลงและผมจะไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของทีมนี้อีกต่อไป ซึ่งผมยอมไม่ได้!!

====

พอรู้ว่าความกลัวลึก ๆ นี้กำลังบงการชีวิต ผมจึงเปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารใหม่

เพราะ “การระเบิดอารมณ์” แค่ทำให้ผมรู้สึกมีอำนาจ แต่มันไม่ได้ช่วยให้ทีมของเราเติบโตไปไหนเลย

ผมค่อย ๆ สำรวจเสียงกระซิบภายในใจ ปรับจังหวะของลมหายใจให้ช้าและผ่อนคลาย เปลี่ยนท่าทางใหม่ ให้ผ่อนคลายและมีรอยยิ้มมากขึ้น

ผมเปิดใจคุยกับน้อง เล่าให้ฟังว่ามีอะไรเกิดขึ้นในใจผม และขอโทษที่ระเบิดอารมณ์ออกไปแบบนั้น

ท้ายที่สุด เราก็ได้ข้อสรุปกันว่า…

การสื่อสารผ่านข้อความ ทำให้เกิดการตีความที่ผิดเพี้ยน

ดังนั้นต่อไปในกรณีที่เป็นเนื้องานที่ต้องพูดคุยกัน เราจะใช้การโทรหากัน มากกว่าการพิมพ์

และหากคุยแล้วอารมณ์เริ่มพลุ่งพล่านแบบนี้อีก ผมจะให้น้องส่งสัญญาณกับผมว่า… “เราหายใจกันเถอะ”

เพื่อให้ผมกลับมามีสติ และตอบสนองได้ดีขึ้น

====

วิธีรับมือเวลาที่อารมณ์ขึ้น

หากคุณเคยหลุดอารมณ์เสียใส่ทีม หรือเพื่อนร่วมงานของคุณ และคุณก็รู้สึกเสียใจที่ทำแบบนั้นลงไป ผมแนะนำให้คุณได้ฝึก 3 ขั้นตอนดังนี้

1.ฝึกรู้เท่าทันอารมณ์ตัวเอง

อารมณ์เกิดขึ้นได้เสมอ ไม่ต้องรู้สึกผิดเวลาอารมณ์ขึ้น เราแค่ต้องฝึกรู้เท่าทันว่าตอนนี้ เรากำลังโกรธ เรากำลังเสียใจ เรากำลังอึดอัดอยู่ นี่เป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก และเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง

====

2.ฝึกสำรวจใจตัวเอง

อารมณ์ที่เกิดขึ้น คือผลลัพธ์ปลายทางที่เกิดความกลัวบางอย่างภายในใจ หรืออาจเป็นการที่เรารู้สึกว่าความต้องการบางอย่างที่สำคัญของเรากำลังถูกคุกคาม

หากเรื่องอะไรมากระทบใจเราบ่อย ๆ ลองสำรวจใจของเราว่าเรากลัวอะไร หรือเราต้องการอะไรกันแน่

และเมื่อเรารู้ความต้องการที่แท้จริงของตัวเองแล้ว มันจะทำให้เรากลับมาพิจารณาหาทางเลือกอื่น ๆ ได้มากขึ้น

เพราะบางครั้ง เราก็ไม่ได้โกรธเพราะอยากโกรธ แต่เราโกรธ เพราะเราต้องการให้ผลงานออกมาดี ซึ่งการจะให้ผลงานออกมาดีนั้น  ยังมีวิธีอีกมากมายที่จะทำให้ได้ผลลัพธ์นั้นมา โดยไม่ต้องทำร้ายจิตใจคนอื่น

====

3.ฝึกเริ่มใหม่เสมอ

พลาดแล้วก็เริ่มใหม่ ระเบิดแล้วก็ขอโทษแล้วก็ปรับตัว มันอาจจะยากที่จะทำให้คนเชื่อว่าเราจะเปลี่ยนไป แต่หากเราเริ่มใหม่ทุกครั้งเวลาที่พลาด ไม่หมดความพยายามต่อตัวเองที่จะฝึกบริหารและรับมืออารมณ์ให้ดีขึ้น

เมื่อเรารู้ตัวอีกทีหลังจากที่ทำต่อเนื่องไปได้สักระยะ คุณจะประหลาดใจว่าทำไมเพื่อนร่วมงานถึงรู้สึกสนิท เคารพ และอยากเข้าใกล้คุณมากกว่าแต่ก่อน

อีกหนึ่งรูปแบบการฝึกจิตใจก็คือการฝึกมีสติรู้ตัวในทุก ๆ เรื่องที่ทำ หรือการมี Self – Awareness อ่าน วิธีฝึก Self – Awareness แบบ Step by Step ได้ที่นี่

====

เป็นกำลังใจในการฝึกฝนนะครับ

บทความโดย

อ.กิตติ ไตรรัตน์

Self-Leadership Facilitator

ถ้าต้องการฝึกบริหารจัดการอารมณ์เพื่อให้การทำงานและการสร้างทีมมีประสิทธิภาพสูงสุด เราขอแนะนำหลักสูตร Emotion Intelligence เพื่อให้คุณเป็นผู้นำที่สามารถสร้างทีมที่ยอดเยี่ยมได้สำเร็จ ดูรายละเอียดที่นี่

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Ads, Google Analytics

    Statistics

  • Google Analytics

    Statistics

  • Facebook

    Marketing/Tracking

  • ActiveCampaign

    Functional

  • ActiveCampaign

    Marketing/Tracking

Save