โลกยุคนี้ต้องการผู้นำแบบไหน

โลกยุคนี้ต้องการผู้นำแบบไหน

การสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้มีอิสระในการทำงานนั้น ช่วยทำให้เกิดบรรยากาศที่ดี และบรรยากาศที่ดีก็ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

โดยเฉพาะในยุคที่มีการแข่งขันสูงอย่างทุกวันนี้ ยิ่งต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์และความร่วมมือที่มากยิ่งขึ้น

ภาวะผู้นำ ที่ช่วยส่งเสริมการมีส่วนร่วม (Liberating Leadership) จึงเป็นแนวทางที่จะช่วยให้คนในองค์กรแสดงศักยภาพได้ดียิ่งขึ้น

 

ต่อไปนี้คือ 4 แนวทางการสร้างภาวะผู้นำที่ผู้บริหารยุคใหม่พึงตระหนักและบ่มเพาะไว้เสมอ

====

1.ลดอีโก้

ผู้นำยุคใหม่ไม่ใช่ว่าต้องรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ตัวเองเสมอไป เมื่อต้องทำงานเป็นทีมก็ควรมีการวางแผนและตัดสินใจร่วมกัน

การเปิดรับฟังความคิดเห็นของคนในทีมจะทำให้ลูกทีมรู้สึกว่าเขาได้รับความไว้วางใจ ทำให้เขารู้สึกมั่นใจ และสามารถดึงศักยภาพของเขาออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่
===

2.แลกเปลี่ยนความคิดระหว่างกัน

ลองพูดคุยแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ส่วนตัวเกี่ยวกับเรื่องการทำงานและวิสัยทัศน์ขององค์กรกับคนในทีม เพื่อหาจุดร่วมหรือหาบรรทัดฐานของการทำงาน ซึ่งช่วยให้สามารถกำหนดขอบเขตงานได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
===

 

3.เคารพซึ่งกันและกัน

สร้างบรรยากาศการทำงานให้อบอุ่นด้วยการให้ความเคารพต่อกัน เริ่มจากคนที่เป็นหัวหน้าต้องรู้สึกเคารพและเชื่อมั่นในตัวลูกทีม

นี่คือวิธีเริ่มต้นสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนในทีมที่ดีที่สุด ช่วยให้เกิดความสบายใจเมื่อต้องทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี
===

4.ถามไถ่สารทุกข์สุกดิบในการทำงาน

บางครั้งอุปสรรคในการทำงานอาจเกิดจากวัฒนธรรมองค์กร หรือโครงสร้างในการทำงานที่ไม่เหมาะสม

ครั้งต่อไปเมื่อเจออุปสรรคระหว่างการทำงาน ให้ลองถามลูกทีมว่าสาเหตุเกิดจากอะไร จากนั้นนำข้อคิดเห็นกลับมาปรับปรุงโครงสร้างเพื่อสนับสนุนการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
===

Liberating Leadership ไม่ใช่หลักการตายตัว เพียงแต่เป็นแนวทางที่ช่วยเสริมสร้างความเท่าเทียมกันในองค์กร และส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้นนั่นเอง
========

 

จากบทความ “Give Your Team the Freedom to Do the Work They Think Matters Most” โดย Brian Carney and Isaac Getz ตีพิมพ์เมื่อ 10 กันยายน 2018 ใน Harvard Business Review

เรียบเรียงโดย Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 094 959 2645

5 ลักษณะผู้นำสุดแมนที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง

5 ลักษณะผู้นำสุดแมน ที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง


โลกธุรกิจเป็นโลกที่มีการแข่งขันรวดเร็วและไม่หยุดนิ่ง และตลาดก็มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน

หลายองค์กรพยายามค้นหาและไขว่คว้าโอกาสใหม่ ๆ เพื่อให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดได้ต่อไป

====

‘ผู้นำที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง’

คือหัวใจสำคัญที่จะพาองค์กรอยู่รอดและเติบโตท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วนี้

หลายคนอาจสงสัยว่าผู้นำที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างไร

นี่คือ 5 คุณลักษณะสำคัญของผู้นำที่สามารถโอบรับความเปลี่ยนแปลงและพาองค์กรข้ามผ่านการเปลี่ยนแปลงจนสามารถเติบโตได้

1.สร้างเป้าหมายที่ชัดเจน

การมีเป้าหมายจะนำไปสู่การลงมือทำ เป้าหมายที่มีพลังต้องชัดเจน และมีความหนักแน่นมั่นคงในหลักการ มีการกำหนดกรอบเวลาที่ชัดเจน

เป้าหมายเช่นนี้จะไม่พังครืนลงมาเมื่อต้องเผชิญกับปัญหาและความท้าทายที่ผ่านเข้ามา
====

2.มองการณ์ไกล

ผู้นำหลายคนมองว่าการมองการไกลเป็นเรื่องของผู้บริหารระดับสูงเท่านั้น แต่การจะรับมือกับความไม่แน่นนอนควรปลูกฝังและบ่มเพาะตั้งแต่ผู้จัดการทั่วไปขึ้นมาจนถึงระดับบน

คนกลุ่มนี้ต้องการการสนับสนุนและการกระตุ้นให้มองเห็นโอกาสในงานที่ทำอยู่ทุกวัน ซึ่งคนกลุ่มนี้ต้องให้ความสำคัญกับเทรนด์ที่กำลังจะเกิดขึ้น เพื่อการวางแผนและดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
====

3.อะไรไม่เวิร์คก็ปรับเปลี่ยน

การลองผิดลองถูกเป็นเรื่องปกติของการทำธุรกิจ เพราะเทรนด์โลกเข้ามาและจากไปอยู่ตลอด

บางวิธีที่เคยใช้ได้ผลอาจไม่ได้ผลกับตลาดเดิม การหารือกันจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการหาจุดบกพร่องที่จะนำมาปรับปรุงและพัฒนาธุรกิจต่อไป

นอกจากนี้การหารือกันแบบนี้ยังสร้างการมีส่วนร่วมของคนในองค์กรให้เกิดขึ้นได้ด้วย
====

4. ให้ความสำคัญกับการประเมินความเสี่ยง

แทนที่จะถามหาที่มาที่ไปของความเสี่ยงที่จะลงทุน ลองมองหาช่องทางประเมินความเสี่ยงกับสิ่งที่จะลงมือทำดูบ้างว่า ถ้าทำแล้วผลที่ได้จะเป็นอย่างไร

การตั้งคำถามลักษณะนี้ยังต่อยอดไปถึงการทดลองทำสิ่งต่าง ๆ เรียกได้ว่าเป็นการเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จอีกขั้นด้วย
====

5.มองหาช่องทางการทำงานร่วมกับผู้อื่น

มองหาโอกาสในการทำงานร่วมกับองค์กรอื่นเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวคิด จุดประกายความคิดซึ่งจะนำไปต่อยอดในการทำธุรกิจของเราได้ด้วย
====

ท้ายที่สุดคุณควรตระหนักไว้เสมอว่า ‘ความสามารถในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลง’ เป็นคุณลักษณะที่จำเป็นของผู้นำทุกระดับตั้งแต่หัวหน้าผู้จัดการไปจนถึงผู้บริหารองค์กรเลยทีเดียว
====

เรียบเรียงจากบทความ “5 Behaviors of Leaders Who Embrace Change” โดย Edith Onderick Harvey ตีพิมพ์เมื่อ 18 พฤษภาคม 2018 ใน Harvard Business Review

เรียบเรียงโดย Learning Hub Thailand เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข
ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 094 959 2645

8 ทักษะง่าย ๆ ที่หัวหน้างานควรรู้

8 ทักษะง่าย ๆ ที่หัวหน้างานควรรู้

หลายคนชอบคิดไปว่า “การเป็นหัวหน้า” เป็นเรื่องง่าย แค่ชี้นิ้วสั่งให้ลูกน้องทำงาน ทั้งยังมีอำนาจสามารถทำตามใจต้องการได้ทุกเรื่อง… แต่ความเป็นจริงแล้ว “หัวหน้าคือคนที่ทำงานหนัก แบกความรับผิดชอบไว้มากมาย ทั้งยังต้องสร้างความน่าเชื่อถือ และครองใจลูกน้องได้ด้วย”

บทความนี้จะขอนำเสนอ 8 ทักษะง่าย ๆ ที่หัวหน้างานควรรู้” เพราะเมื่อคุณอ่านจบและทำตาม คุณจะพบว่า “ชีวิตการเป็นหัวหน้าของคุณดีขึ้น” คุณสามารถทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญ ลูกน้องจะรักคุณมากขึ้นด้วย…

1. เอ่ยคำ “ขอบคุณ” อย่างจริงใจ

หากคุณเป็นหัวหน้า คุณย่อมรู้ดีว่า ในแต่ละวันตั้งแต่เช้าจรดเย็น มีภารกิจต้องทำมากมาย ต้องประชุม ต้องทำงานร่วมกับทีม แก้ไขปัญหาต่าง ๆ แม้กระทั่งการตอบอีเมล… คุณต้องไม่ลืมว่า ระหว่างทางไปสู่ความสำเร็จ คุณต้องเดินผ่านบันไดไปทีละขั้น ๆ และข้างทางยังต้องอาศัยคนคอยช่วยเหลือตลอดเวลา

นั่นหมายความว่า “การที่คุณจะประสบความสำเร็จในอาชีพการงาน คุณไม่สามารถทำงานคนเดียว” ทุกคนที่แวดล้อมมีส่วนผลักดันและคอยสนับสนุนคุณอยู่เสมอ ดังนั้น คุณควรกล่าว “ขอบคุณ” พวกเขาเป็นการตอบแทน แม้สิ่งที่พวกเขาทำให้ อาจเป็นเพียงเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ตาม

หลายองค์กรคิดว่าการจ่ายผลตอบแทนให้พนักงานในรูปแบบตัวเงิน โบนัส และสวัสดิการ ก็น่าจะเพียงพอ… แต่คุณลองคิดดูว่า หากคุณทำสิ่งดี ๆ ให้ใครสักคน แล้วเขารู้สึกได้ถึงความปรารถนาดีของคุณ เขาซาบซึ้งใจและกล่าวขอบคุณ สิ่งนี้จะทำให้คุณรู้สึกดี โดยไม่จำเป็นต้องให้สิ่งของหรือรางวัลใด ๆ เป็นการตอบแทน…

หัวหน้างานก็เช่นกัน หากลูกน้องทำสิ่งต่าง ๆ ให้ คุณควรกล่าวขอบคุณพวกเขาอย่างจริงใจ เพราะนั่นทำให้พวกเขารับรู้ว่า “คุณเห็นคุณค่าในสิ่งที่พวกเขาทำ” และพวกเขาก็จะประทับใจในตัวคุณ

2. จัดเวลาคุยกับทีม อย่างน้อย 5-10 นาทีต่อวัน

ไม่ว่าคุณจะยุ่งสักแค่ไหน คุณควรมีเวลาสัก 5-10 นาทีต่อวัน ในการพูดคุยเรื่องต่าง ๆ กับทีมงาน คุณควรสอบถามความก้าวหน้าของงานเป็นระยะ ๆ เพื่อจะได้รู้ว่าพวกเขาประสบปัญหา หรือติดขัดเรื่องอะไรหรือไม่…

วิธีการนี้จะทำให้พนักงานรู้สึกว่า “คุณดูแลเอาใจใส่ ไม่ทิ้งให้พวกเขาอยู่ลำพัง” และคุณจะได้ช่วยเหลือพวกเขาได้ทันท่วงที ทั้งนี้ หากคุณมีเวลาว่างมากกว่านั้น คุณอาจถามถึงเรื่องสารทุกข์สุกดิบอื่น ๆ เช่น เรื่องท่องเที่ยว, ชีวิตครอบครัว, งานอดิเรก, ข่าวสารบ้านเมือง…

หากคุณให้ความเป็นกันเอง พยายามพูดคุยสื่อสาร เข้าหาพนักงานในความดูแล จะช่วยลดช่องว่างระหว่างกัน ซึ่งจะทำให้พวกเขาไม่เครียด ไม่อึดอัด และสามารถทำงานกับคุณได้อย่างสบายใจ

3. มอบหมายงานอย่างเหมาะสม

คุณเป็นหัวหน้าแบบไหน? ระหว่างหัวหน้าที่ทำงานด้วยตัวเองทั้งหมด หรือหัวหน้าที่กระจายงานให้กับลูกทีม…

หากคุณเป็นประเภทแรก คุณจะทำงานหามรุ่งหามค่ำ กลับบ้านดึกดื่น และบางครั้ง คุณอาจส่งงานไม่ทันตามกำหนดเวลา ในทางกลับกัน หากคุณเป็นหัวหน้างานประเภทที่สอง คุณจะมอบหมายงานต่าง ๆ ให้ลูกทีม โดยคุณเป็นผู้ติดตาม ตรวจทาน และเสนอแนะวิธีแก้ไข

หัวหน้างานที่ดี คือหัวหน้างานประเภทที่สอง คุณควรสอนให้พวกเขาทำงานเป็น เพราะหากไม่มีคุณ ลูกทีมก็ยังสามารถสานต่อและรับผิดชอบงานแทนได้… วิธีนี้คล้ายกับสุภาษิตจีนที่ว่า “ถ้าให้ปลาเขา เขาจะมีกินแค่วันนี้ แต่ถ้าคุณสอนเขาตกปลา เขาจะมีปลากินไปชั่วชีวิต”

นอกจากนี้ การมอบหมายงานยังทำให้คุณรู้จักการบริหารจัดการเวลา และมีเวลาว่างเป็นของตัวเอง อย่างไรก็ตาม เมื่อคุณมอบหมายงานให้ลูกน้องแล้ว คุณก็ควรเป็นผู้ฝึกสอน คอยให้คำปรึกษาในยามที่พวกเขาพบเจออุปสรรคในการทำงานด้วย

4. เลิกงานตรงเวลา

Work-Life Balance เป็นกระแสที่มาแรงมากในปัจจุบัน กล่าวคือ พนักงานจะประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานเพียงอย่างเดียวไม่ได้ แต่ต้องมีสุขภาพกายและใจที่สมบูรณ์แข็งแรงด้วย ดังนั้น คุณไม่ควรโหมทำงานหนักจนเกินไป คุณควรแบ่งเวลาในการพักผ่อนหรือดูแลตัวเองบ้าง เพราะหากคุณมัวแต่หมกมุ่นกับการทำงาน สุขภาพของคุณก็จะแย่ และทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บตามมา

นอกจากนี้ การที่คุณซึ่งเป็นหัวหน้างาน กลับบ้านดึก เพราะเอาแต่ทำงาน ถือเป็นการกดดันลูกน้องทางอ้อม ให้พวกเขากลับบ้านดึกเหมือนคุณ เพราะลูกน้องจะรู้สึกไม่สบายใจที่ต้องกลับบ้านก่อนหัวหน้า ซึ่งความรู้สึกนี้จะทำให้สภาพแวดล้อมการทำงานตึงเครียด อึดอัด ไม่มีชีวิตชีวา… ด้วยเหตุนี้ คุณจึงควรเป็น Role Model ด้วยการเลิกงานให้ตรงเวลา และบริหารจัดการงานของคุณให้มีประสิทธิภาพ

5. ตรวจเช็คอีเมลก่อนส่งทุกครั้ง

จะเกิดอะไรขึ้น หากคุณรีบร้อนส่งอีเมลออกไปโดยไม่ตรวจทาน แน่นอนว่าคุณต้องพบกับความผิดพลาดด้านเนื้อหา หรือการใช้ภาษาผิด คุณอาจคิดว่าความผิดพลาดเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้ ไม่ส่งผลเสียต่อการทำงานของคุณ แต่จริง ๆ แล้ว มันทำให้ “ภาพลักษณ์ของคุณ เป็นคนที่ไม่ละเอียดรอบคอบ ไม่มีความเป็นมืออาชีพ” ดังนั้น ก่อนที่คุณจะส่งอีเมลทุกครั้ง ควรตรวจทานให้ดี

6. สื่อสารระหว่างกันและกันตลอดเวลา

“เป้าหมาย” เป็นสิ่งสำคัญเมื่อต้องทำงานเป็นทีม เพราะหากทุกคนไม่เห็นเป้าหมายเดียวกัน ย่อมไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ ยกตัวอย่าง หัวหน้ามีเป้าหมายในการทำกำไรให้บริษัท แต่ลูกน้องมีเป้าหมายในการหาเลี้ยงครอบครัว…

ดังนั้น เพื่อให้ทุกคนบรรลุเป้าหมาย และสามารถทำตามความต้องการของตน คุณจึงควรเปิดโอกาสให้ลูกน้องได้สื่อสารบ้าง กล่าวคือ หัวหน้าที่ดีต้องใช้การสื่อสารแบบ Two-Way Communication ในทางตรงกันข้าม หัวหน้าที่ไม่ดีจะใช้การสื่อสารแบบ One-Way Communication เพราะฉะนั้น หากคุณต้องการให้ลูกน้องเข้าใจคุณ คุณต้องพยายามทำความเข้าใจลูกน้องก่อน และทั้งสองฝ่ายจะทำงานด้วยกันอย่างมีความสุข

7. ปฏิเสธอย่างมีศิลปะ

หัวหน้าไม่จำเป็นต้องตอบรับความต้องการ หรือแก้ไขปัญหาทุกอย่างให้ลูกน้อง เพราะหากคุณทำเช่นนั้น ปัญหาทุกอย่างจะถาโถมเข้าหาคุณ ดังนั้น หากมีสิ่งที่เกินกำลัง หรือคุณไม่สามารถทำได้ คุณควรปฏิเสธ ดีกว่าจะรับทุกอย่างไว้ที่ตัวเอง อย่างไรก็ตาม การปฏิเสธของหัวหน้า ควรเป็นการปฏิเสธที่มีศิลปะ คุณควรอธิบายเหตุผลให้ชัดเจน และอย่าลืมรักษาน้ำใจคนฟังด้วย

8. ควบคุมอารมณ์ และให้เกียรติลูกน้อง

หากคุณเจอะเจอปัญหาในออฟฟิศ ทำให้หัวเสีย โมโห หรือส่งผลให้อารมณ์ไม่ดี จงจำให้ขึ้นใจว่า “การใช้ความรุนแรงไม่เกิดประโยชน์อันใด” และจะยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายมากขึ้น วิธีที่ถูกต้องเมื่อคุณรู้สึกไม่พอใจผลงานของลูกน้อง หรือสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น คุณต้องตั้งสติ พยายามระงับความเดือดดาลภายในใจ และปฏิบัติต่อคนรอบข้างอย่างให้เกียรติ… อย่าแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว เช่น ตะโกน หรือตะคอกใส่ผู้อื่น เพราะไม่มีใครชอบพฤติกรรมเช่นนี้ แม้กระทั่งตัวคุณเอง

เรียบเรียงโดย LEARNING HUB THAILAND


ปล. ไม่ว่าคุณจะเป็น Old Boss หรือ New Leader ทักษะที่สำคัญในการนำทีม ในยุคนี้ มี 3 ประการ คือ Mindset Performance Teamwork 

การช่วยให้ทีมงาน รับมือกับความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงไม่ใช่เรื่องยาก หากคุณมีทักษะของผู้นำยุคใหม่ครบ 3 ข้อ ซึ่งผมได้รวบรวมไว้ในหลักสูตร “THE NEW LEADERSHIP SKILL – สู่การเป็นผู้นำยุคใหม่” คลิกอ่านที่นี่ครับ

ทักษะการสื่อสาร สำหรับผู้บริหารยุคใหม่

ปัจจุบัน “ปัญหาเรื่องคน” กลายเป็นปัญหาใหญ่ในองค์กร

เมื่อเข้าสู่ยุคดิจิทัล ระบบสังคมมีความซับซ้อน ผู้คนนั้นก็มีความแตกต่างหลากหลาย ทั้งในแง่ของประสบการณ์ การศึกษา ทัศนคติ ความเชื่อ ทำให้การฟังของพวกเขามีข้อจำกัดมากขึ้น การสื่อสารจึงเป็นไปได้ยากขึ้น ไม่เกิดความร่วมมือกันในการทำงาน กลายเป็นความขัดแย้งที่ไม่พึงปรารถนา

ต่อไปนี้เป็น 5 ปัญหายอดฮิตในการทำงาน คุณเจอบ้างหรือเปล่า ?

  1. ความเร่งรีบในการสื่อสาร ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดบ่อย
  2. อยากจะคุยด้วย แต่อีกฝ่ายไม่ค่อยพูด ไม่ยอมเสนอความเห็น
  3. ลูกน้องพยักหน้าเข้าใจ แต่พองานออกมา ไม่เหมือนที่สั่งไป
  4. วิธีการสื่อสารในแบบเราคนนึงรับได้ แต่กับบางคนรับไม่ได้ เอาใจไม่ถูก
  5. ปัญหาการลาออกส่วนใหญ่ เป็นเพราะมีปัญหาความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน หรือหัวหน้างาน

เพราะเหตุใด จึงเกิดปัญหาเหล่านี้ ?

เราจะพบว่ามีผู้บริหารอยู่ 2 ประเภทในองค์กร ที่ใช้หลักการบริหารที่ต่างกัน

การบริหาร ด้วย “ความกลัว”

โดยมากมักจะเกิดกับผู้บริหารแบบอนุรักษ์นิยม (Conservative Style) ด้วยความมั่นใจจากประสบการณ์และความสำเร็จในอดีต เขาจึงคิดว่าลูกน้องซึ่งเด็กกว่าและอ่อนประสบการณ์กว่า ควรจะเป็นฝ่ายเชื่อฟังและทำตาม โดยที่ไม่รู้ตัว เขามักจะใช้หลัก “6 บ.” ในการบริหารงาน นั่นคือ

  • บี้ ชอบสั่งการแบบขู่เข็ญโดยใช้อำนาจ
  • ใบ้ ไม่ค่อยสอนงาน เห็นอะไรดีไม่เคยชม
  • เบลม ชอบตำหนิต่อว่า เห็นอะไรก็ผิดไปหมด
  • โบ้ย หากถ้าตัวเองทำผิด หรือตัดสินใจพลาด ก็อ้างว่าเป็นเพราะคนอื่น
  • เบิ้ล ถ้าลูกน้องทำผิดมา จะถูกซ้ำเติม หรือลงโทษทันที
  • บล็อก เขาไม่อยากเห็นใครทำตัวโดดเด่น และไม่ค่อยฟังความเห็นใคร

ผลลัพธ์จากการบริหาร ด้วยความกลัว

พนักงานจะรู้สึกไม่ปลอดภัยและไม่ไว้วางใจ เมื่อเกิดข้อผิดพลาดใดๆ ก็จะซุกไว้ด้วยกลัวความผิด อาจทำให้ปัญหาเล็กน้อยก็ลุกลามไปจนยากที่จะแก้ไข คนที่ไม่อยากถูกตำหนิ ก็คอยระวังตัวแจ จนไม่กล้าทำอะไร เห็นสิ่งที่ไม่เวิร์คก็จะเฉยชา องค์กรจะเป็นยังไงก็ช่าง ไม่ใช่เรื่องของตัวเอง ไม่มีความผูกพันกันในองค์กร ใครทนได้ทน ทนไม่ได้ก็ลาออกไป

เพื่อหลีกเลี่ยง “วัฒนธรรม 6 บ.” ซึ่งจะเป็นวงจรขาลงของการทำงานและส่งให้เกิดผลเสียมากมาย  จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ผู้บริหารและหัวหน้างาน ควรที่จะเรียนรู้ทักษะการสื่อสารของผู้บริหารยุคใหม่ และนำไปปรับใช้ในการทำงาน

การสื่อสารด้วย “ความรัก”

ผู้บริหารยุคใหม่ จำเป็นจะต้องแก้ปัญหาเรื่องคน ประสานงานให้เกิดการสื่อสารที่ลื่นไหลในองค์กรได้ “ความสัมพันธ์ที่ดี” จึงเป็นปัจจัยสำคัญ ดังนั้นจะต้องเปลี่ยนบทบาทจากการเป็น “เจ้านาย หรือ Boss” ที่เอาแต่สั่งการและตำหนิ ไปเป็น “ผู้หล่อเลี้ยง หรือ Mentor” ที่จะคอยรับฟังและให้การสนับสนุน

ทักษะการสื่อสาร ของผู้บริหารยุคใหม่ ได้แก่

1.การฟังเสียงภายในตนเอง (Inner Listening)

การที่จะรักผู้อื่นได้ ต้องเริ่มด้วยการรู้จัก เข้าใจและยอมรับในตนเองให้ได้ก่อน ดังนั้น ทักษะการฟังเสียงภายในตนเอง จะทำให้ผู้นำคนนั้น เข้าใจความรู้สึกและความต้องการของตนเองอย่างถ่องแท้ แล้วจะนำไปสู่ความเข้าใจผู้อื่นได้อย่างแท้จริง ซึ่งนั่นจะทำให้เขาสามารถมอบความรักและความเห็นอกเห็นใจ ให้กับผู้คนได้อย่างเป็นธรรมชาติ

2.การฟังเพื่อผลลัพธ์ (Active Listening)

การฟังเพื่อผลลัพธ์ เป็นทักษะที่ช่วยประหยัดเวลาในการฟังได้ อีกทั้งมีประสิทธิภาพอย่างสูง สามารถเก็บประเด็นได้ครบ และช่วยให้อีกฝ่ายได้แก้ปัญหาของตนเองด้วย

ซึ่งการจะฟังแบบนี้ต้องมีทักษะในการตั้งคำถามต่อยอด การสะท้อนอารมณ์ การทวนความ และการจับประเด็น เพื่อให้ผู้พูดรู้ว่า ผู้บริหารกำลังใส่ใจและรับฟัง อีกทั้งช่วยสนับสนุนให้เค้าแก้ปัญหาและหาทางออกด้วยตนเอง โดยไม่ชี้นำและสั่งการ

3.การสื่อสารด้วยใจกรุณา (Compassionate Communication)

ผู้บริหารยุค AEC ควรมีความมั่นคงในใจและเปิดเผย จะสามารถพูดจากความรู้สึก และความต้องการที่แท้จริง ออกมาจากใจอย่างตรงๆซื่อๆได้ โดยไม่ปิดบัง ไม่ต้องใช้กลยุทธ์ ไม่จำเป็นต้องอ้อมค้อมหว่านล้อมใดๆ การพูดแบบปากไม่ตรงกับใจ การพูดเป็นปริศนาที่ต้องทิ้งให้ผู้ฟังตีความเอง ย่อมทำให้เกิดความเข้าใจผิดและเสียเวลา

ผู้นำที่ดี มีสติตระหนักรู้ว่า คำพูดที่ตรงไปตรงมาของเขา จะไม่ไปทำร้ายจิตใจอีกฝ่าย เขาจะเลือกใช้คำพูดที่รับผิดชอบในความรู้สึกของตัวเองและไม่กล่าวหาโจมตีอีกฝ่าย

แทนที่จะพูดอย่างเกรี้ยวกราดว่า “คุณเอ ทำไมงานที่สั่งไปทำไม่เสร็จ รู้ไหมว่าทำงานล่าช้าแบบนี้บริษัทเสียหาย คุณจะว่ายังไง”

ผู้นำจะเลือกใช้คำพูดที่แสดงถึงความรู้สึกและความต้องการแทน “คุณเอ ตอนนี้ผมเริ่มรู้สึกเครียด เพราะงานที่เราต้องส่งลูกค้าไม่เสร็จตามกำหนด ผมต้องการรักษาเครดิตของบริษัท เราควรทำยังไงดี มีอะไรให้ผมช่วยเหลือบ้างมั้ย”

ผลลัพธ์จากการสื่อสาร ด้วย “ความรัก”

ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันในการทำงาน เกิดความรักและผูกพันซึ่งกันและกัน บรรยากาศการทำงานเหมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน ทำให้พนักงานรู้สึกอยากทำงานไปด้วยนานๆ อยากเห็นองค์กรเจริญเติบโต มีความรู้สึกเป็นเจ้าของ คอยระวังความผิดพลาดและจุดบกพร่องรั่วไหล มีความคิดสร้างสรรค์ทำสิ่งดีๆให้แก่องค์กรโดยไม่ต้องสั่ง และจะสร้าง “วัฒนธรรมแห่งความรัก”แบบนี้ส่งต่อรุ่นสู่รุ่นต่อไป

ผู้นำในยุคดิจิตอล นอกจากจะมีทักษะในด้านการบริหารจัดการและเทคนิค (Hard Skill) ที่ดีแล้ว จึงต้องมีทักษะในด้านการบริหารคน (Soft Skill) ที่เป็นเลิศ

โดยเฉพาะ “ทักษะการสื่อสารและการฟัง” (Communication & Listening Skill) ถือเป็นทักษะหลักที่ผู้บริหารยุคใหม่ต้องให้ความสนใจและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ จึงจะสร้างแรงบันดาลใจและปลุกศักยภาพในผู้คน และนำพาองค์กรฟันฝ่าความผันผวนและความเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วของกระแสธุรกิจในอนาคตได้ต่อไป

บทความโดย “เรือรบ” ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาการสื่อสาร

www.learninghubthailand.com

หากคุณต้องการเพิ่มศักยภาพการสื่อสารกับทีมงาน ขอแนะนำหลักสูตร

“Executive Communication : ทักษะการฟังและการสื่อสาร สำหรับผู้บริหารยุคใหม่”

9-10 มิ.ย. นี้ โดย อ.เรือรบ  ดูรายละเอียดคอร์ส คลิกที่นี่

8 เรื่องเล็กๆ ที่หัวหน้าไม่ควรมองข้าม

23 03 2017

หลายคนชอบคิดไปว่า “การเป็นหัวหน้า” เป็นเรื่องง่าย แค่ชี้นิ้วสั่งให้ลูกน้องทำงาน ทั้งยังมีอำนาจสามารถทำตามใจต้องการได้ทุกเรื่อง… แต่ความเป็นจริงแล้ว “หัวหน้าคือคนที่ทำงานหนัก แบกความรับผิดชอบไว้มากมาย อีกทั้งยังต้องสร้างความน่าเชื่อถือ และครองใจลูกน้องได้ด้วย”

บทความนี้จะนำเสนอ “8 คำแนะนำ” ซึ่งคนเป็นหัวหน้าควรอ่าน เพราะเมื่อคุณอ่านจบและทำตามคำแนะนำ คุณจะพบว่า “ชีวิตการเป็นหัวหน้าของคุณดีขึ้น” คุณสามารถทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญ ลูกน้องก็จะรักคุณมากขึ้นด้วย…

 

1. เอ่ยคำ “ขอบคุณ” อย่างจริงใจ

 

หากคุณเป็นหัวหน้า คุณย่อมรู้ดีว่า ในแต่ละวันตั้งแต่เช้าจรดเย็น มีภารกิจที่ต้องทำมากมาย ต้องประชุม ทำงานร่วมกับทีม แก้ไขปัญหาต่างๆ แม้กระทั่งการตอบอีเมล์… และต้องไม่ลืมว่า ระหว่างทางไปสู่ความสำเร็จ คุณต้องเดินผ่านบันไดไปทีละขั้นๆ และข้างทางยังต้องอาศัยคนคอยช่วยเหลือตลอดเวลา

นั่นหมายความว่า “การที่คุณจะประสบความสำเร็จในอาชีพการงาน คุณไม่สามารถทำงานคนเดียว” แต่ทุกคนที่แวดล้อมคุณมีส่วนผลักดันและคอยสนับสนุนคุณอยู่เสมอ ดังนั้น คุณควรกล่าว “ขอบคุณ” พวกเขาเป็นการตอบแทนบ้าง แม้ว่าสิ่งที่พวกเขาทำให้คุณ อาจเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็ตาม

หลายองค์กรคิดว่าการจ่ายผลตอบแทนให้พนักงานในรูปแบบตัวเงิน โบนัส และสวัสดิการ ก็น่าจะเพียงพอแล้ว… แต่คุณลองคิดดูว่า หากคุณทำสิ่งดีๆ ให้ใครสักคน แล้วเขารู้สึกได้ถึงความตั้งใจดีของคุณ เขาซาบซึ้งใจและกล่าวขอบคุณ สิ่งนี้จะทำให้คุณรู้สึกดี โดยไม่จำเป็นต้องให้สิ่งของหรือรางวัลใดๆ เป็นการตอบแทน… หัวหน้างานก็เช่นกัน หากลูกน้องทำสิ่งต่างๆ ให้ คุณควรกล่าวขอบคุณพวกเขาอย่างจริงใจ เพราะนั่นทำให้พวกเขารับรู้ว่า “คุณเห็นคุณค่าในสิ่งที่พวกเขาทำ” และพวกเขาก็จะประทับใจในตัวคุณ

 

2. ใช้เวลาพูดคุยกับทีมอย่างน้อย 5-10 นาทีต่อวัน

 

ไม่ว่าคุณจะยุ่งสักแค่ไหน คุณควรจัดสรรเวลาสัก 5-10 นาทีต่อวัน ในการพูดคุยเรื่องต่างๆ กับทีมงาน คุณควรสอบถามความก้าวหน้าของงานเป็นระยะๆ เพื่อให้รู้ว่าพวกเขาประสบปัญหาหรือติดขัดเรื่องอะไรหรือไม่…

วิธีการนี้จะทำให้พนักงานรู้สึกว่า “คุณดูแลเอาใจใส่ ไม่ทิ้งให้พวกเขาอยู่ลำพัง” และคุณจะได้ช่วยเหลือพวกเขาได้ทันท่วงที ทั้งนี้ หากคุณมีเวลาว่างมากกว่านั้น คุณอาจถามถึงเรื่องสารทุกข์สุกดิบอื่นๆ เช่น เรื่องท่องเที่ยว, ชีวิตครอบครัว, งานอดิเรก, ข่าวสารบ้านเมือง… หากคุณให้ความเป็นกันเอง พยายามพูดคุยสื่อสาร และเข้าหาพนักงาน จะทำให้ช่องว่างระหว่างคุณกับพนักงานลดลง ซึ่งสิ่งนี้จะทำให้พวกเขาไม่เครียด ไม่อึดอัด และสามารถทำงานกับคุณได้อย่างสบายใจ

 

3. มอบหมายงานให้ลูกน้องอย่างเหมาะสม

 

คุณเป็นหัวหน้าแบบไหน? ระหว่างหัวหน้าที่ทำงานด้วยตัวเองทั้งหมด หรือหัวหน้าที่กระจายงานบางส่วนให้กับลูกน้อง…

หากคุณเป็นประเภทแรก คุณจะทำงานหามรุ่งหามค่ำ กลับบ้านดึกดื่น และบางครั้ง คุณอาจส่งงานไม่ทันตามกำหนดเวลา ในทางกลับกัน หากคุณเป็นหัวหน้างานประเภทที่สอง คุณจะมอบหมายงานต่างๆ ให้ลูกน้องทำ โดยคุณจะเป็นผู้ติดตาม ตรวจทาน และเสนอแนะวิธีแก้ไขให้กับลูกน้อง

หัวหน้างานที่ดี คือหัวหน้างานประเภทที่สอง คุณควรสอนให้พวกเขาทำงานเป็น เพราะหากไม่มีคุณ ลูกน้องก็ยังสามารถสานต่อและรับผิดชอบงานแทนได้… วิธีนี้คล้ายกับสุภาษิตจีนที่ว่า “ถ้าให้ปลาเขา เขาจะมีกินแค่วันนี้ แต่ถ้าคุณสอนเขาตกปลา เขาจะมีปลากินไปชั่วชีวิต”

นอกจากนี้ การมอบหมายงานยังทำให้คุณรู้จักการบริหารจัดการเวลา และมีเวลาว่างเป็นของตัวเอง อย่างไรก็ตาม เมื่อคุณมอบหมายงานให้ลูกน้องแล้ว คุณก็ควรเป็นผู้ฝึกสอน คอยให้คำปรึกษาในยามที่พวกเขาพบเจอกับอุปสรรคในการทำงานด้วย

 

4. เลิกงานตรงเวลา

 

Work-Life Balance เป็นกระแสที่มาแรงมากในปัจจุบัน กล่าวคือ พนักงานจะประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานเพียงอย่างเดียวไม่ได้ แต่ต้องมีสุขภาพกายและใจที่สมบูรณ์แข็งแรงด้วย ดังนั้น คุณไม่ควรโหมทำงานหนักจนเกินไป คุณควรแบ่งเวลาในการพักผ่อนหรือดูแลตัวเองบ้าง เพราะหากคุณมัวแต่หมกมุ่นกับการทำงาน สุขภาพของคุณก็จะแย่ และทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บตามมา

นอกจากนี้ การที่คุณซึ่งเป็นหัวหน้างาน กลับบ้านดึก เพราะเอาแต่ทำงาน ถือเป็นการกดดันลูกน้องทางอ้อม ให้กลับบ้านดึกเหมือนคุณ เพราะลูกน้องจะรู้สึกไม่สบายใจที่ต้องกลับบ้านก่อนหัวหน้า ซึ่งความรู้สึกนี้จะทำให้สภาพแวดล้อมการทำงานตึงเครียด อึดอัด ไม่มีชีวิตชีวา… ด้วยเหตุนี้ คุณจึงควรเป็น Role Model ให้กับลูกน้อง โดยการเลิกงานให้ตรงเวลา และบริหารจัดการงานของคุณให้มีประสิทธิภาพ

 

5. ตรวจเช็คอีเมล์ก่อนส่งทุกครั้ง

 

จะเกิดอะไรขึ้นหากคุณรีบร้อนส่งอีเมล์ออกไปโดยไม่ตรวจทาน แน่นอนว่าคุณต้องพบกับความผิดพลาดด้านเนื้อหา หรือการใช้ภาษาผิด คุณอาจคิดว่าความผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ ไม่ส่งผลเสียต่อการทำงานของคุณ แต่จริงๆ แล้ว มันทำให้ “ภาพลักษณ์ของคุณ” กลายเป็นคนที่ไม่ละเอียดรอบคอบ เลินเล่อ สะเพร่า และไม่มีความเป็นมืออาชีพ ดังนั้น ก่อนที่คุณจะส่งอีเมล์ทุกครั้ง ควรตรวจทานให้ดี

 

6. สื่อสารซึ่งกันและกัน

 

“เป้าหมาย” เป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการทำงานเป็นทีม เพราะหากทุกคนมองไม่เห็นเป้าหมายเดียวกัน ก็จะไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ ยกตัวอย่าง หัวหน้ามีเป้าหมายในการทำกำไรให้บริษัท แต่ลูกน้องมีเป้าหมายในการหาเลี้ยงครอบครัว…

ดังนั้น เพื่อให้ทุกคนบรรลุเป้าหมาย และสามารถทำตามความต้องการของตน คุณจึงควรเปิดโอกาสให้ลูกน้องได้สื่อสารบ้าง กล่าวคือ หัวหน้าที่ดีต้องใช้การสื่อสารแบบ Two-Way Communication ในทางตรงกันข้าม หัวหน้าที่ไม่ดีจะใช้การสื่อสารแบบ One-Way Communication เพราะฉะนั้น หากคุณต้องการให้ลูกน้องเข้าใจคุณ คุณต้องพยายามทำความเข้าใจลูกน้องก่อน และทั้งสองฝ่ายจะทำงานด้วยกันอย่างมีความสุข

 

7. ปฏิเสธอย่างมีศิลปะ

 

คุณไม่จำเป็นต้องตอบรับความต้องการ หรือแก้ไขปัญหาทุกอย่างให้ลูกน้อง เพราะหากคุณทำเช่นนั้น ปัญหาทุกอย่างจะถาโถมเข้าหาคุณ ดังนั้น หากมีสิ่งที่เกินกำลัง หรือคุณไม่สามารถทำได้ คุณควรปฏิเสธ ดีกว่าจะรับทุกอย่างไว้ที่ตัวเอง อย่างไรก็ตาม การปฏิเสธของหัวหน้า ควรเป็นการปฏิเสธที่มีศิลปะ คุณควรอธิบายเหตุผลให้ชัดเจน และอย่าลืมรักษาน้ำใจคนฟังด้วย

 

8. มีสติ และให้เกียรติลูกน้อง

 

หากคุณเผชิญอุปสรรคในที่ทำงาน ทำให้คุณหัวเสีย โมโห หรือส่งผลให้อารมณ์ไม่ดี จงจำให้ขึ้นใจว่า การใช้ความรุนแรงไม่เกิดประโยชน์อันใด และยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายไปกว่าเดิม วิธีที่ถูกต้องเมื่อคุณรู้สึกไม่พอใจผลงานของลูกน้อง หรือสิ่งต่างๆ คุณต้องตั้งสติ พยายามระงับความเดือดดาลภายในใจ และปฏิบัติต่อคนรอบข้างอย่างให้เกียรติ… อย่าแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว เช่น ตะโกน หรือตะคอกใส่ผู้อื่น เพราะไม่มีใครชอบพฤติกรรมเช่นนี้ แม้กระทั่งตัวคุณเอง

 

เรียบเรียงโดย LEARNING HUB THAILAND

10 สัญญาณความล้มเหลวของการเป็นผู้นำ

15 02 2017

ทุกหน่วยงาน ทุกองค์กร ล้วนมีหัวหน้างาน-ลูกน้อง มีผู้บริหาร-พนักงาน แต่ในกลุ่มผู้เป็นหัวหน้า หรือกลุ่มผู้บริหาร กลับมีหลายคนที่กำลังประสบความล้มเหลวในการเป็น “ผู้นำ”

นโปเลียน ฮิลล์ ได้เขียนไว้ในหนังสือ Think & Grow Rich หนังสือแนวพัฒนาตนเองที่ผู้ประสบความสำเร็จทั่วโลกล้วนเคยอ่าน ว่า “ภาวะการเป็นผู้นำ มีด้วยกัน 2 แบบ หนึ่ง ผู้นำที่ได้รับการยินยอมและความเห็นชอบจากผู้ปฏิบัติตาม ซึ่งเป็นการนำทีมที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด สอง การนำทีมด้วยการสั่งงาน การบังคับ เป็นการนำโดยไม่ได้รับการยินยอมพร้อมใจใดๆ จากผู้ปฏิบัติตาม”

นโปเลียน ฮิลล์ ย้ำว่า “จากหน้าประวัติศาสตร์ เราจะเห็นชัดว่า ผู้นำที่ใช้การออกคำสั่งบังคับให้ทำตาม จะดำรงอยู่ได้ไม่ยั่งยืน มีบันทึกถึงกลุ่มผู้นำที่เคยยิ่งใหญ่ในอดีต แต่กลับสูญเสียอำนาจลงอย่างรวดเร็ว นั่นหมายความว่า คนส่วนใหญ่จะไม่ยินยอมพร้อมใจเดินตามผู้นำที่นำด้วยการบังคับตลอดไป”

ในฐานะหัวหน้า หรือผู้บริหารองค์กร ย่อมไม่อยากประสบความล้มเหลวในการเป็นผู้นำ… นโปเลียน ฮิลล์ ได้แนะวิธีสังเกต “10 สัญญาณอันตราย” ไว้ดังนี้…

 

1. ไม่สามารถจัดการงานลงรายละเอียด

บุคลิกสำคัญของการเป็น “ผู้นำที่มีประสิทธิภาพ” จะต้องเป็นคนละเอียดรอบคอบ มองทะลุทุกปัญหา สามารถจัดการกับรายละเอียดงานต่างๆ ได้อย่างครบถ้วน 

ที่สำคัญ ไม่มีผู้นำคนใดที่จะ “ยุ่งเกิน” จนไม่สามารถตัดสินใจในฐานะผู้นำภารกิจไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ เมื่อใดก็ตามที่ผู้นำรู้ทุกรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับงาน ย่อมมองออกว่า งานใดควรเร่งทำ งานใดควรลงมือทำเอง และงานใดควรมอบหมายให้ผู้ช่วยที่สามารถรับงานต่อได้

 

2. ไม่ยุ่งเกี่ยวกับงานเล็กๆ น้อยๆ
 
ในทุกการทำงานย่อมมีงานใหญ่ งานรอง งานสำคัญ งานเร่งด่วน และงานที่รอก่อนได้ แต่บางครั้ง กับผู้นำบางคน เมื่อเห็นเป็น “งานเล็กๆ น้อยๆ” แม้จะสามารถช่วยเหลือทีมได้ แต่กลับเพิกเฉย ปล่อยให้ลูกทีมลงมือทำกันเอง

“ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในหมู่พวกท่าน จะเป็นผู้รับใช้ท่าน” นโปเลียน ฮิลล์ ยกคำกล่าวอ้างอิงมาจาก “พระคัมภีร์ มัทธิว 23 :11” เพื่อชี้ให้เห็นว่า ถึงจะเป็นงานเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งปกติได้มอบให้ผู้อื่นทำ แต่ถ้าสามารถช่วยแล้วงานเสร็จเร็วขึ้น ผู้นำควรเข้าไปร่วมทำด้วย เพราะสิ่งที่จะได้กลับมา คือผู้นำคนนั้นจะได้รับความร่วมแรงร่วมใจ และการนับถือจากผู้ปฏิบัติตาม

 

3. คาดหวังค่าตอบแทนจาก “สิ่งที่รู้”

ไม่แปลกที่คนเป็นหัวหน้า คนเป็นผู้บริหาร จะมีความรู้ในตำแหน่งหน้าที่เป็นอย่างดี แต่บางคนเมื่อ “รู้” แล้ว คาดหวังค่าตอบแทนจากความรู้ที่อยู่ในหัว เรียกร้องรายได้จากวุฒิการศึกษา ทั้งที่โลกแห่งความเป็นจริง ค่าตอบแทนจะขึ้นอยู่กับ “การกระทำ”

หัวหน้า หรือผู้บริหาร จะเป็นผู้นำที่ดีไม่ได้เลย หากหวังรายได้จากความรู้ที่มี โดยไม่ได้แปรความรู้เหล่านั้นเป็นการกระทำ และในฐานะผู้ปฏิบัติตาม ก็จะไม่เข้าใจความรู้ (ที่อยู่ในหัวของพวกเขา) หากไม่ได้เห็นภาพการกระทำที่ชัดเจน และทำตามได้ทันที

นโปเลียน ฮิลล์ กล่าวว่า “โลกนี้ไม่จ่ายเงินสำหรับ ‘ความรู้ของใคร’ แต่จะจ่ายให้กับ… สิ่งที่พวกเขาทำ หรือสิ่งที่โน้มน้าวให้ผู้อื่นทำ”

 

4. กลัวการแข่งขันจากผู้ปฏิบัติตาม

เราสามารถเห็นได้ทั่วไปในสังคม ว่ามีผู้นำที่หวาดกลัวผู้ปฏิบัติตามคนใดคนหนึ่งจะมาแย่งตำแหน่ง ยิ่งคุณกลัวมากเท่าไหร่ สิ่งที่กลัวก็จะเป็นจริงเร็วขึ้นเท่านั้น

ผู้นำที่ดีควรสอนงาน มอบหมายงาน ทำทุกวิถีทางให้พนักงานรู้ทุกรายละเอียดงานในตำแหน่งของเขาด้วยความเต็มใจ วิธีนี้จะทำให้ผู้นำสามารถปลีกตัวจากหน้าที่เดิม มีเวลาพัฒนาตนเอง และก้าวไปสร้างสรรค์สิ่งที่สำคัญยิ่งขึ้นในหน่วยงานของตน

นโปเลียน ฮิลล์ ยืนยันจากการเก็บข้อมูลบุคคลผู้ประสบความสำเร็จนับร้อยคน ว่า “การมอบหมายงานให้ผู้อื่น จะทำให้ได้รับผลตอบแทนมากกว่าการพยายามทำทั้งหมดคนเดียว”

 

5. ไม่มีภาพจินตนาการล่วงหน้า

หากคุณตีความคำว่า “จินตนาการ” เป็นเพียงเรื่องเพ้อฝัน เรื่องเหนือจริง คุณย่อมไม่เห็นค่า ว่าผู้นำควรจะมีจินตนาการไปเพื่ออะไร?

คำว่า “จินตนาการ” ไม่ได้หมายความเพียงแค่นั้น แต่ยังหมายถึง “การคิดภาพล่วงหน้าถึงสิ่งที่ ‘อาจจะ’ เกิดขึ้น” ผู้นำที่ดีควรต้องคิดภาพ คาดการณ์ทั้งด้านดีและด้านร้าย เพื่อเตรียมการรับมือเหตุฉุกเฉิน ทั้งยังต้องคิดแผนสำรองสำหรับให้พนักงานปฏิบัติ มิเช่นนั้น เวลาเกิดเหตุสุดวิสัย เมื่อขาดจินตนาการภาพเหตุการณ์ล่วงหน้า ทีมจะเกิดภาวะระส่ำระสาย

 

6. รับความดีความชอบเพียงอย่างเดียว

หัวหน้าหรือผู้บริหารที่ชอบออกหน้า รับเอาความดีความชอบทั้งหมดของผู้ใต้บังคับบัญชา ว่า “เป็นผลงานของตน” มักเผชิญกับความรู้สึกไม่พอใจ แต่น่าแปลกที่บางทีพวกเขาไม่รู้ตัว และคิดว่าสิ่งที่พนักงานทำ เป็นสิ่งที่เขาทำ!

จากการวิเคราะห์ของนโปเลียน ฮิลล์ ผู้นำที่ยิ่งใหญ่แทบทุกคนจะไม่ขอรับความดีความชอบใดๆ และยินดีที่จะบอกให้ทุกคนรู้ ว่าความดีความชอบเหล่านั้นเป็นของทีม เพราะผู้นำที่ดี รู้ว่าผู้ปฏิบัติงานส่วนใหญ่จะทำงานหนักขึ้น หากได้รับการยกย่องชมเชย เป็นผลดีมากกว่าแค่ได้รับผลตอบแทนเป็นตัวเงินเพียงอย่างเดียว

 

7. ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง

หัวหน้างานที่มักยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางของทุกสรรพสิ่ง มักเผยท่าทีให้เห็นว่า “อยากทำอะไรก็ทำ” ซึ่งเมื่อใดก็ตามที่ลูกน้อง/พนักงานต้องรับมือกับการมีหัวหน้างานประเภทนี้ พวกเขาจะรู้สึกเหนื่อยหน่าย แถมยังจะเอาไปนินทาว่าร้ายลับหลัง และแม้จะทำงานให้ตามสั่ง แต่ก็จะคอยระวังตัวตลอดเวลา ว่าคำสั่งนั้นเป็นเพียงอารมณ์ชั่ววูบหรือเปล่า?

นโปเลียน ฮิลล์ กล่าวว่า “ผู้ตามจะไม่ยอมรับนับถือผู้นำที่ไม่ยับยั้งชั่งใจ หรือยึดตัวเองเป็นที่ตั้ง”

 

8. ไม่จริงใจต่อทีม
 
เชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยเจอ คนที่ต่อหน้าอย่าง ลับหลังอย่าง เมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกน้อง/พนักงานจับได้ว่าโดนหลอก โดนหักหลัง โดยเฉพาะจากคนที่เป็นหัวหน้า/เป็นผู้บริหาร พวกเขาจะแสดงท่าทีก้าวร้าวต่อต้านขึ้นมาทันที และไม่ว่าต่อไปจะมีงานใดมอบหมายให้ทำ ก็จะทำแบบขอไปที ทำด้วยความระแวง ว่าจะโดนอะไรอีก!?

ผู้นำที่ดีจะต้อง ‘จริงใจ’ ทั้งต่อเพื่อนร่วมงาน ต่อผู้ที่เหนือกว่าและผู้ที่ต่ำกว่า คุณจะไม่สามารถคงความเป็นผู้นำของตนไว้ได้นาน หากไร้ซึ่งความจริงใจ

นโปเลียน ฮิลล์ เปรียบ “ผู้นำที่ไม่จริงใจ” ว่าต่ำกว่าผงธุลีดิน สมควรถูกเหยียดหยาม และ “ความไม่จริงใจต่อกัน คือสาเหตุหลักของความล้มเหลวในทุกด้านของชีวิต”

 

9. ไม่พยายามโน้มน้าวให้เชื่อ

ผู้นำที่ดีจะนำทีมด้วยการพยายามโน้มน้าวให้เชื่อ ให้คิด และทำตาม ไม่ใช่การทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชา “หวาดกลัว” แต่ก็มีผู้นำที่ไม่สามารถทำให้พนักงานเชื่อและยินดีทำตามด้วยความเต็มใจได้ โดยจะพยายามทำให้ผู้ปฏิบัติตาม รู้สึกถึง ‘อำนาจ’ นั่นหมายความว่า พวกเขาจะเป็นผู้นำประเภทที่จะคอยข่มขู่ บังคับ และออกคำสั่ง

คุณจะเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพได้ ต้องทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชายอมรับในความคิด ยอมรับไปถึงบุคลิกที่ไม่เบียดเบียน หรือเอารัดเอาเปรียบ เมื่อพนักงานยอมรับความคิดและการกระทำของผู้นำ นั่นหมายถึงว่า พวกเขาจะสัมผัสได้ถึงความเห็นอกเห็นใจ ความเข้าใจ และความยุติธรรม ที่จะได้รับในทุกการปฏิบัติงาน

 

10. ชอบออกงาน ชอบคุยโว อวดตำแหน่ง
 
เรามักจะเห็นหัวหน้า/ผู้บริหารบางคน ชอบออกงาน คุยโวอวดตัว ว่าตนมีหน้าที่การงานดี มีตำแหน่งใหญ่โต เพื่อให้คนนับถือใน “ตำแหน่ง” ที่ตนได้รับ

เป็นความจริง ว่าพวกเขาจะได้รับการนับถือจากตำแหน่งที่ได้รับ แต่กลับไม่ได้รับการนับถือจากพนักงาน ในฐานะที่เป็นผู้นำที่ดี เพราะพวกเขาจะรู้สึกว่า ผู้นำของเขากำลังให้ความสำคัญกับตำแหน่งมากเกินพอดี

นโปเลียน ฮิลล์ เขียนแซวคนที่ชอบคุยโวอวดตำแหน่ง ในหนังสือ Think & Grow Rich ว่า “พวกเขาเป็นผู้ไม่มีความสำคัญอื่นให้คนทั่วไปเห็น นอกจาก ‘ตำแหน่ง’ ที่ได้มา จึงพยายามวางตัวหรูหรา เจ้ายศเจ้าอย่าง อวดโอ้เพื่อให้คนอื่นๆ เห็นความสำคัญ”

 

 

บทความโดย LEARNING HUB TEAM

7 เทคนิคใหม่ เลือกคนอย่างไร ไม่ให้เปลี่ยนงานบ่อย

2

สิ่งที่ยากที่สุดสำหรับผู้บริหารคือการคัดสรรคนให้เหมาะกับงาน  ผลประกอบการจะออกมาดีหรือไม่ย่อมขึ้นกับคน Learning Hub จึงขอนำเสนอ 7 เคล็ดลับในการเลือกคนให้เข้ากับงาน หรือ “Put the right man on the right job”

ฝากให้บรรดาผู้บริหารได้ลองนำไปเป็นไอเดียในการเลือกลูกน้องกันครับ 


1.พิจารณาจากงานที่เคยทำ  

งานที่แตกต่างจึงต้องการคนที่แตกต่างกัน  

Peter  Drucker ปรมาจารย์ด้านการจัดการยุคใหม่ กล่าวว่าหากพนักงานทำงานไม่ดี   ย่อมเป็นความผิดของผู้บริหาร ไม่ใช่พนักงาน เพราะผู้บริหารเป็นคนเลือกเขามาทำงานเอง                        

ดังนั้นเพื่อป้องกันความผิดพลาด ผู้บริหารจึงต้องใส่ใจกับการเลือกคนให้เหมาะสมกับงาน เขาจึงแนะนำว่า    การเลือกคนต้องพิจารณาจากงานที่คนผู้นั้นเคยรับผิดชอบมาก่อน อย่างน้อยก็จากประสบการณ์ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา 

ยกตัวอย่างเช่น การจะหาผู้จัดการฝ่ายการตลาดสักคน ต้องคิดก่อนว่า หน้าที่ของผู้จัดการคนนี้ คืออะไร เพิ่มยอดขาย คิดค้นสินค้าใหม่   หรือเจาะตลาดใหม่

ซึ่งงานแต่ละอย่างมีความแตกต่างกัน จึงต้องการคนที่มีประสบการณ์แตกต่างกัน ดังนั้นจึงควรเลือกพนักงานที่เคยผ่านงานหรือมีประสบการณ์ที่ใกล้เคียงกับตำแหน่งนั้นมากที่สุด

หากคุณสนใจแนวคิดดีๆของ Drucker ผมแนะนำหนังสือชื่อ The Essential Drucker ครับ 


2.อย่ามอบงานใหญ่ ให้คนไม่ใหญ่   

กระจายอำนาจการตัดสินใจให้พนักงาน  

Alfred Sloan อดีตผู้บริหารบริษัท General Motors ผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ให้กับบริษัท  หนึ่งในนั้นคือการปรับวิธีการทำงาน โดยการกระจายอำนาจให้พนักงาน ส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและสามารถแสดงความคิดเห็นได้ 

ซึ่งเป็นการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในองค์กร  แต่ไม่ได้หมายความว่าพนักงานทุกคนจะมีอำนาจในการตัดสินใจเท่ากันนะครับ เพราะสำหรับพนักงานใหม่แล้ว        

เขาจะยังไม่มอบหมายภาระงานสำคัญให้ เนื่องจากยังอ่อนประสบการณ์ ซึ่งอาจจะนำไปสู่ความผิดพลาดได้     เขาจึงมอบหมายให้พนักงานใหม่ทำงานที่มีความชัดเจนสูง คาดการณ์ได้

ส่วนพนักงานที่มีประสบการณ์แล้วเขาจึงเพิ่มอำนาจในการตัดสินใจครับ  คุณสามารถติดตามแนวคิดของเขาเพิ่มเติมได้ที่ http://www.economist.com/node/13047099  


3. ถามไถ่คนใกล้ชิด  

ผู้บริหารต้องฟังสิ่งที่คนอื่นคิด  

Hermann Abs อดีตผู้บริหาร Deutsche Bank มีมุมมองว่า การเลือกใช้คนของผู้บริหารโดยมากตั้งอยู่บนอคติส่วนตัว ทำให้ใช้คนผิดประเภท หรือเลือกแต่งตั้งคนที่ใกล้ชิดมากกว่าคนที่มีความสามารถ  

เพื่อให้การเลือกคนมีความถูกต้องและผิดพลาดน้อยที่สุด เขาจึงมองว่านอกจากการสอบประวัติของบุคคลที่ต้องการแต่งตั้งแล้ว ผู้บริหารควรจะสอบถามจากเจ้านายเก่า ลูกน้อง หรือเพื่อนร่วมงาน อย่างน้อย 3 – 5 คน

เพื่อให้ได้ข้อมูลรอบด้านเพื่อประกอบการเลือกคนที่เหมาะสม ดังนั้น “ We need to listen ผู้บริหารจึงต้องรับฟัง” ครับ

คุณสามารถอ่านแนวคิดของเขาเพิ่มเติมที่ http://www.independent.co.uk/news/people/obituary-hermann-abs-1392727.html  


4.เลือกคนที่เข้าใจงาน  

วิถีของ Apple คือสร้างเอกลักษณ์ให้กับสินค้า  

Tim Cook ซีอีโอบริษัท Apple ผู้มุ่งมั่นสร้างสรรค์สินค้าเทคโนโลยีขั้นเทพให้กับลูกค้า ดังนั้นหัวใจสำคัญของ Apple จึงอยู่ที่แผนกฮาร์ดแวร์เทคโนโลยี เพราะแผนกนี้จะทำหน้าที่ผลิตชิป ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นสมองของสินค้า

ดังนั้นคนที่จะรับบทหนักเช่นนี้ Tim Cook จึงเลือก  Johny Srouji  ทำไมต้องเป็นเขา ? 

 Srouji เคยผ่านงานจากบริษัท Intel และ IBM มาก่อน เรียกได้ว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญการวางระบบชิปเป็นอย่างดี เมื่อเขาเข้าร่วมงานกับ Apple  Srouji มีส่วนอย่างมากในการออกแบบระบบการทำงานของ iPhone และแท็บเล็ตใหม่  

ทำให้ระบบการทำงานมีเสถียรภาพและมีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น   

จึงทำให้  Apple สามารถยืนหยัดแข่งขันกับคู่แข่งได้อย่างมั่นคง ทั้งหมดนี้เป็นเพราะ Tim Cook เลือกคนที่เข้าใจงานทำงานในตำแหน่งที่เหมาะสม ทำความรู้จัก Johny Srouji ได้ที่นี่ครับ https://www.linkedin.com/in/johny-srouji-1b7a944  


5.เข้าใจคนก่อนใช้คน   

อย่าให้จุดด่างดำมาบดบังหยกขาว  

Bob Burg วิทยากรชื่อดังของสหรัฐอเมริกา และเจ้าของหนังสือชื่อ The Go-Giver Leader  เป็นกูรูอีกคนหนึ่งด้านการใช้คนครับ แน่นอนครับว่า ทุกคนย่อมมีดีมีเสียแตกต่างกันไป

เขาจึงแนะนำครับว่าควรมองคนจากจุดแข็งก่อนครับ เพราะมูลค่าของงานจะสร้างสรรค์ขึ้นได้จากจุดแข็งของคน  

จากนั้นจึงพิจารณาจากจุดอ่อนครับ แต่ไม่ใช่คือมีจุดอ่อนแล้วคัดออกนะครับ เพราะเขาแบ่งจุดอ่อนออกเป็น 3 ประเภท คือ จุดอ่อนที่ไม่เป็นปัญหา จุดอ่อนที่แก้ไขได้ และจุดอ่อนที่เป็นปัญหา 

พูดง่ายๆก็คือ หากพนักงานมีจุดอ่อน 2 ประเภทแรก ไม่ถือเป็นปัญหาครับ แต่หากเป็นจุดอ่อนประเภทที่สาม แม้ว่ามีจุดแข็งที่ดีแค่ไหนคงต้องคัดออกครับ  

เขาได้ยกตัวอย่างวิศวกรที่ทำงานเก่งคนหนึ่ง ซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าแผนก แต่วิศวกรรายนี้ทำหน้าที่ประสานงานได้ไม่ดี แต่งานในตำแหน่งหัวหน้าต้องมีทักษะการประสานงาน

ดังนั้นจุดอ่อนของเขาถือเป็นประเภทที่สาม เพราะถ้าเขาไม่สามารถประสานงานได้  ก็ไม่อาจแบกรับความรับผิดชอบได้ครับ ติดตามแนวคิดของ Bog Burg ได้ที่ https://www.facebook.com/burgbob/  


 6.เลือกคนจากลักษณะนิสัย   

Judging เหมาะกับงานบัญชี แต่ Perceiving เหมาะกับงานการตลาด  

โดยทั่วไปลักษณะนิสัยของแต่ละคนมีส่วนอย่างมากต่อผลลัพธ์ของการทำงาน   คนที่ชอบทำงานเป็นขั้นเป็นตอน วางแผนล่วงหน้า ไม่ค่อยครีเอทีฟ เรียกว่า Judging ครับ เหมาะกับการทำงานบัญชีหรือการเงิน เพราะเป็นคนละเอียด 

แต่คนที่ชอบแก้ปัญหาเฉพาะหน้า มีความคิดสร้างสรรค์ ไม่ชอบงานเอกสาร เรียกว่า Perceiving เหมาะกับงานการออกแบบหรือการตลาดครับ ยกตัวอย่างเช่น บริษัท Target ถูกโจรกรรมข้อมูลบริษัทสูญเสียความเชื่อมั่น  

ผู้ถือหุ้นจึงเลือก John Mulligan ดำรงตำแหน่งเป็นรักษาการ CEO แทน CEO คนเก่าที่ขาดความน่าเชื่อถือไปแล้ว เหตุที่เลือกเขาเพราะเขาเป็นรองประธานฝ่ายการเงินหลายปี ทำงานละเอียด

หรือก็คือเป็นคนประเภท Judging ซึ่งเหมาะที่จะเข้ามาประเมินความเสียหายและฟื้นฟูสถานะทางการเงินภายหลังถูกโจรกรรมข้อมูล  คนละเอียดและรอบคอบจึงเหมาะกับสถานการณ์นี้มากกว่าคนครีเอทีฟครับ

คุณสามารถศึกษาประวัติของ John Mulligan ได้ที่  https://www.linkedin.com/in/john-mulligan-2664812 


 7.ต้องเป็นที่ยอมรับ 

เลือกคนที่เป็นที่ยอมรับ ย่อมทำงานได้ราบรื่น  

เทคนิคนี้ผมได้บทเรียนจากประธานาธิบดีโอบามาครับ   เมื่อครั้งโอบามารับตำแหน่งประธานาธิบดีใหม่ๆ เสียงวิพากษ์ดังขรมว่า โอบามาขาดประสบการณ์ด้านการต่างประเทศ เมื่อเป็นเช่นนี้การประสานงานกับรัฐสภาจะเป็นไปได้ด้วยความยากลำบากมาก  

คงไม่มีใครให้ความร่วมมือกับเด็กอ่อนอย่างโอบามาแน่  ดังนั้นโอบามาจึงดึง โจเซฟ ไบเดน เข้ามาเป็นรองประธานาธิบดี ซึ่งจะเขาเคยเป็นกรรมาธิการด้านต่างประเทศถึง 9 สมัย

ด้วยประสบการณ์ชั้นเซียนเช่นนี้ ย่อมกลบจุดอ่อนของโอบามาได้เป็นอย่างดี และความน่าเชื่อถือและการยอมรับย่อมเพิ่มขึ้น  หากคุณสนใจสามารถติดตามโอบามาได้ที่ https://www.barackobama.com/  

แม้ว่าคุณจะเรียนรู้เทคนิคการใช้คนทั้ง 7 ข้อไปแล้วก็ตาม แต่ความผิดพลาดย่อมเกิดขึ้นได้ แต่หากเราใช้คนผิดพลาด เราก็ควรยอมรับความจริง และเปลี่ยนคนใหม่ให้เร็วที่สุด ไม่เช่นนั้นอาจจะสร้างความเสี่ยงให้กับองค์กรได้  เพราะ Misfit is cruel to an organization.    

เรียบเรียงโดย วิญญู – Learning Hub Team 

ที่มา  http://www.bloomberg.com/features/2016-johny-srouji-apple-chief-chipmaker/

 

5 ผู้นำทางความคิด ที่มีคนติดตามมากที่สุดบนโลกโซเชียล

5-leader-the-most-follower

“เราจะเป็นอะไรในอนาคต ขึ้นอยู่กับเพื่อนที่เราคบ หนังสือที่เราอ่าน” วลีนี้มีมานานแล้วครับ และยังคงเป็นจริงต่อไปทุกยุคทุกสมัย ไม่ว่าเราจะเป็นใคร สังคมที่เราอยู่ สื่อที่เรารับ มีผลต่อชีวิตเราอย่างชัดเจน

ดังนั้นถ้าอยากทำให้ชีวิตตัวเองดีขึ้น เราก็ต้องรับสื่อดีๆ ติดตามความคิดของคนสำเร็จในแบบที่เราต้องการจะเป็น แต่เพื่อนๆ คงมีคำถามว่า แล้วถ้าอยากจะเริ่มติดตามความคิดดีๆ จะหาได้จากที่ไหนกันล่ะ

วันนี้ Learning Hub เลยขอเสนอ “5 นักคิด ที่มีคนติดตามมากที่สุดบนโลกโซเชียล” เผื่อว่าคุณจะมีพลังฮึดอยากลุกมาเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อเปลี่ยนโลกเหมือนนักคิด 5 ท่านนี้ มาเริ่มกันเลยครับ

1. Mark Zuckerberg – มาร์ค ซักเกอร์เบิร์ก

“Some people dream of success… while others wake up and work hard at it.”

“คนบางคนได้แต่ฝันที่จะประสบความสำเร็จ ขณะที่คนอื่นลุกขึ้นมาทำงานหนักเพื่อความฝันนั้น”

ชื่อนี้ในยุคนี้คงยากที่จะมีคนไม่รู้จัก มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งและ CEO ของ facebook เว็บไซต์เครือข่ายสังคม (Social Network) ที่มีผู้ใช้มากที่สุดในโลก  สิ่งที่ทำให้เขาโดดเด่นคือ เขาเป็นมหาเศรษฐีพันล้านที่อายุน้อยที่สุดคนหนึ่งของโลก (ปัจจุบันอายุ 31 ปี) และทำให้การใช้ Social Network แพร่กระจายไปทั่วโลก

ส่งผลให้วิถีชีวิตของคนในยุคนี้เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงครับ แค่นี้ ก็รู้สึกถึงความโดดเด่นของผู้ชายคนนี้แล้วใช่ไหมครับ แต่ยังไม่พอครับ… สิ่งที่ทำให้ชายหนุ่มผู้นี้มีคนติดตามทั่วโลก คือ ปณิธานอันแรงกล้าที่จะทำให้โลกนี้เชื่อมโยงกันและเปิดเผยกันมากที่สุด

มาร์ค มีวิสัยทัศน์เพื่อสร้างผลกระทบที่ดีต่อโลก โดยไม่ได้สนใจความมั่งคั่งของตัวเองเลย (เงินเป็นเพียงของแถมในชีวิตเขา) ซึ่งนี่ไม่ใช่แค่คำพูดสวยหรู แต่มาร์คทำจริงครับ ทั้งการทำงานและการใช้ชีวิตที่พอเพียง น้อยครั้งนักที่เราจะเห็นชีวิตหรูหราของชายผู้นี้ ทั้งที่ติดอันดับต้นๆ ของมหาเศรษฐีโลก

เขาพูดเสมอว่า “ผมไม่ได้ทำ Facebook เพื่อเงิน แต่เงินเป็นเพียงเครื่องมือที่ใช้เปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ให้ดีขึ้น”

นอกจากความคิดดีๆ แบบนี้ หนุ่มคนนี้ยังเป็นคนใจบุญเอามากๆ เพราะมาร์คตัดสินใจบริจาคหุ้น 99% ของหุ้นที่เขามีอยู่ใน facebook ให้กับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่เขาก่อตั้งขึ้นร่วมกับภรรยาครับ องค์กรที่ว่านี้จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือและพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ในด้านต่างๆ

เช่น สุขภาพ การศึกษา งานวิจัยและพลังงาน ทั้งหมดที่เขาทำก็เพื่อทำให้โลกนี้ดีขึ้น เราจึงไม่แปลกใจเลยที่ มาร์ค จะถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในผู้ทรงอิทธิพลที่สุดของโลกโดยเขามีผู้ติดตามเขาผ่าน facebook กว่า 53 ล้านคน

ซึ่งนอกเหนือจากข่าว และบทความต่างๆ เกี่ยวกับเขา เราสามารถติดตามความคิดของมาร์คได้ใน facebook ส่วนตัวของเขาได้เลยที่ https://www.facebook.com/zuck ลองติดตามกันดูนะครับ

2. Oprah Winfrey – โอปราห์ วินฟรีย์

“Be thankful for what you have; you’ll end up having more. If you concentrate on what you don’t have, you will never, ever have enough.”

“จงมองเห็นคุณค่าในสิ่งที่คุณมี แล้วคุณจะได้รับสิ่งนั้นเพิ่มมากขึ้น  แต่ถ้าคุณหมกมุ่นอยู่กับสิ่งที่คุณไม่มี คุณจะไม่มีวันได้รับสิ่งไหนพอเลย”

หากพูดถึงหญิงเก่งระดับโลก เชื่อว่าหลายคนต้องนึกถึง โอปราห์ วินฟรีย์ ด้วยแน่นอนครับ เธอเป็นพิธีกรชื่อดัง ของรายการ “The Oprah Winfrey Show” ซึ่งเป็นทอล์คโชว์ที่มีเรทติ้งการชมสูงสุดในประวัติศาสตร์   และเป็นหญิงแอฟริกันอเมริกัน ที่รวยที่สุดในศตวรรษที่ 20   

มีผู้ติดตามเธอผ่าน twitter กว่า 31 ล้านคนและผ่าน facebook page กว่า 11 ล้านคน แน่นอนว่าสิ่งที่ทำให้มีคนติดตามเธอทั่วโลกขนาดนี้ ส่วนหนึ่งคือความเป็นเซเลปของเธอ แต่ปัจจัยที่สำคัญกว่า นั่นคือความคิดและชีวิตของเธอครับ

ผู้หญิงคนนี้เติบโตมาด้วยวัยเด็กที่โหดร้าย เธอถูกเหยียดผิว โดนคำดูหมิ่นดูแคลนจากคนอื่นและยังถูกข่มขืนถึง 2 ครั้งมาตั้งแต่อายุ 9 ขวบ แต่เธอก็สามารถเปลี่ยนความเจ็บปวดในอดีต ให้กลายเป็นการเห็นคุณค่าในตัวเองอย่างแรงกล้า ลุกขึ้นมาทำชีวิตตัวเองให้ดีที่สุด

จนกลายเป็นหนึ่งในบุคคลผู้ทรงอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งของโลก ทั้งหมดนี้ก็ด้วยจิตใจที่แกร่ง ทัศนคติที่ไม่ยอมแพ้ จนตกผลึกมาเป็นความคิดดีๆ ให้ผู้คนทั่วโลกได้เรียนรู้ครับ  เช่น

“ไม่ว่าใครจะทำอะไรคุณไว้ในอดีต มันไม่มีอำนาจในปัจจุบันเลย คุณนั่นแหละ ที่ให้อำนาจมัน”

“รักตนเอง และเรียนรู้ที่จะเผยแผ่ความรักนั้น ไปยังคนอื่นๆ”

ซึ่งนั่นก็เป็นเหตุผลหนึ่ง ที่ทำให้รายการของเธอเน้นให้กำลังใจผู้คนและชักจูงให้ผู้ชมดำเนินชีวิตในแง่บวก ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคง่ายๆ และยังใช้อำนาจของความเป็นสื่อมวลชนผลักดันสิ่งดีๆสู่สังคมอีกด้วย

นอกจากนี้ เธอยังทำการกุศลมากมาย ตั้งมูลนิธิเพื่อเด็กและสตรีทั่วโลก มูลนิธิช่วยเหลือผู้ประสบภัยและแก้ปัญหาสังคม จนนิตยสารฟอร์บส์ ยกย่องให้เธอเป็น 1 ใน 3 คนบันเทิง ที่บริจาคเงินเพื่อการกุศลมากที่สุดในโลก

ใครอยากติดตามความคิดของเธอ นอกเหนือจากติดตามรายการของเธอ ซึ่งแทรกแนวคิดดีๆ อยู่ตลอดแล้ว เราก็สามารถติดตามเธอ ผ่านข่าว บทความต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วไป หรือโซเชียลมีเดียที่เธอใช้อยู่คือ Facebook page: https://www.facebook.com/oprahwinfrey หรือ Twitter: https://www.facebook.com/oprahwinfrey  ครับ

3. Tenzin Gyatso – องค์ทะไลลามะ (The 14th Dalai Lama)

“Happiness is not something ready made.  It comes from your own actions.”

“ความสุข ไม่ใช่ของสำเร็จรูป แต่มันเกิดจากการกระทำของคุณเอง” 

ท่านผู้นี้ คือ องค์ทะไลลามะ องค์ที่ 14 แห่งทิเบต ซึ่งถือเป็นตำแหน่งผู้นำสูงสุดของชาวทิเบต ถ้าใครชอบอ่านแง่คิด คำคมหรือปรัชญาชีวิต เชื่อว่าคำพูดของท่าน ต้องเคยผ่านตาเราอย่างแน่นอนครับ เพราะในโลกโซเชียลมีการยกคำพูดหรือข้อเขียนของท่าน มาแชร์ต่อกันมากมาย 

ท่านมีผู้ติดตามผ่านทาง twitter กว่า 12 ล้านคน และผ่าน Facebook page กว่า 13 ล้านคน แค่นั้นเอง !!! และสิ่งที่ทำให้ท่านเป็นที่ติดตามขนาดนี้ เพราะแนวคิดและปรัชญาที่ท่านได้เผยแพร่ออกไปนั้น เป็นประโยชน์ต่อคนทุกคนบนโลก โดยท่านมักกล่าวเสมอว่า “คนเราอยากได้ความสุข แต่กลับให้คุณค่ามันเป็นสิ่งสุดท้าย เพราะมัวแต่หาเงินจนลืมดูแล ลืมใส่ใจตัวเอง ไม่เคยคิดว่าแท้จริงแล้ว สิ่งที่คนเราต้องการจริงๆ คืออะไร สุดท้ายก็เลยไม่มีความสุข”

นอกจากนี้งานของท่าน ยังช่วยสร้างประโยชน์ต่อโลกนี้มากมาย จนทำให้ท่านได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ในปี ค.ศ. 1989 และได้รับการยกย่องเชิดชู ว่าเป็น “ผู้นำทางจิตวิญญาณคนสำคัญของโลก” อีกด้วยครับ

ไม่ว่าเราจะเป็นใคร ประกอบอาชีพไหน ก็สามารถนำแนวคิดของท่านไปใช้ในชีวิตได้อย่างแน่นอน โดยถ้าใครอยากได้ปรัชญาชีวิตแบบถึงแก่น ตรงไปตรงมา นำไปใช้ได้ทันที สามารถติดตามแนวคิดของท่านผ่านทาง Twitter: https://twitter.com/dalailama หรือ Facebook page: https://www.facebook.com/DalaiLama ได้เลยครับ

4. Warren Buffet  – วอร์เรน บัฟเฟตต์

“If you buy things you do not need, soon you will have to sell things you need.”

“ถ้าคุณซื้อสิ่งที่ไม่จำเป็น สักวันหนึ่งคุณจะต้องขายสิ่งที่จำเป็น”

หากพูดถึงนักลงทุนที่ได้ชื่อว่า ประสบความสำเร็จ มากที่สุดในโลก ต้องมีชื่อของคนคนนี้อยู่แน่ๆ ครับ

วอร์เรน บัฟเฟตต์ หรือ ปู่บัฟเฟตต์ ที่วงการนักลงทุนชอบเรียกกัน คือชายอายุ 85 ปี ผู้ได้รับฉายาว่า “เทพพยากรณ์แห่งโอมาฮา” และเป็นหนึ่งในมหาเศรษฐี ที่ได้ชื่อว่า “รวยที่สุดในโลก”

สิ่งที่น่าสนใจคือ บัฟเฟตต์ เป็นคนไม่ค่อยออกสื่อ ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ ไม่มี facebook page ของตัวเอง และเพิ่งจะเปิดบัญชี twitter ของตัวเองเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมานี้เอง แต่กลับมีผู้ติดตามทั่วโลกโซเชียล โดยคำพูดทุกคำพูดของเขา ไม่ว่าจะพูดอะไรออกมา คนทั่วโลกจะสนใจและนำไปตีความอย่างลึกซึ้งอยู่เสมอครับ

แน่นอนว่าที่เขามีคนติดตามขนาดนี้ ไม่ใช่แค่เพราะความร่ำรวยอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่เพราะเป็นคนยึดมั่นในปรัชญาการลงทุนแบบเน้นคุณค่า ที่ต้องใช้ความอดทนสูงมากและยังมีปรัชญาชีวิตที่น่าสนใจ เช่น

“เราใช้เวลาสร้างชื่อเสียงถึง 20 ปี แต่ใช้เวลาแค่ 5 นาทีก็ทำลายมันได้”

“ชีวิตเรา ต้องการแค่การทำเรื่องไม่กี่เรื่องให้ถูกต้อง”

เห็นไหมครับ ว่าไม่ใช่แค่เรื่องลงทุนนะ เราสามารถติดตามแนวคิดอื่นของเขา เพื่อนำไปใช้ในชีวิตตัวเองได้มากมาย โดยเฉพาะความเป็นอยู่อย่างประหยัด พอเพียง

ที่แม้เขาจะรวยล้นฟ้า แต่กลับใช้ชีวิตต่ำกว่าฐานะแบบสุดๆครับ เขายังขับรถเก่าๆ และอยู่บ้านหลังเดิมมานาน ไม่ยึดติดความหรูหรา มีชีวิตที่เรียบง่าย แต่ไร้กังวล และมีความสุขมาก นอกจากนี้เขายังบริจาคทรัพย์สินเกิน 85% และบริจาคมากขึ้นเรื่อยๆ ในมูลนิธิของบิล เกตส์ เพื่อช่วยเหลือโลกใบนี้อีกต่างหาก

เห็นแบบนี้แล้ว หลายคนคงอยากติดตามความคิดของบัฟเฟตต์ เราแนะนำว่าให้ติดตามผ่านข่าว หรือบทความต่างประเทศเอาครับ เพราะ Twitter ของเขา (https://twitter.com/warrenbuffett) ไม่ค่อยได้ใช้เท่าไหร่ ลองหาอ่านกันดูนะครับ

5. Jack Ma – แจ๊ค หม่า

“Don’t Complain. You can find opportunities.”

“จงอย่าบ่น โอกาสมีอยู่เสมอถ้าคุณมองหา”

วินาทีนี้ โลกธุรกิจออนไลน์ต้องพูดถึงชายคนหนึ่ง เขาคือ แจ๊ค หม่า มหาเศรษฐีอันดับหนึ่งของจีนนั่นเอง ผู้ก่อตั้ง Alibaba Group กลุ่มเว็บไซต์ e-commerce ที่ใหญ่ที่สุดของจีน

ชายผู้นี้มีคนติดตามความคิดทั่วโลก ด้วยเรื่องราวชีวิตที่พลิกสุดขั้ว จากครูสอนภาษาอังกฤษ กลายเป็นนักธุรกิจผู้ครองอาณาจักร e-commerce ระดับโลก ทำให้ความคิด ปรัชญาความสำเร็จของเขา คือสิ่งที่ตกผลึกมาจากประสบการณ์จริงๆ มีความตรงไปตรงมา ไม่อ้อมค้อม

ทุกครั้งที่พูด จึงมีคนทั่วโลกฟังเขาเสมอ และสิ่งที่เขาพูดไม่ใช่แค่เรื่องธุรกิจนะครับ แต่เป็นปรัชญาชีวิตแบบถึงลูกถึงคนเลยทีเดียว สไตล์ของเขาคือ คมคาย ไม่ต้องตีความ เอาไปใช้ได้ทันที โดยตัวอย่างแนวคิดดีๆจากแจ๊ค หม่า เช่น

“คุณไม่สามารถที่จะทำให้คนทุกคนนั้นคิดเหมือนกันได้หรอก 

แต่คุณสามารถที่จะทำให้ทุกคนก้าวไปทางเดียวกันได้ด้วยเป้าหมายเดียวกัน”

“โลกนี้จำไม่ได้หรอก ว่าคุณพูดอะไรไปบ้าง แต่จะไม่ลืมสิ่งที่คุณทำ”

หากใครจะติดตามความคิดของมหาเศรษฐี e-commerce ท่านนี้เห็นทีต้องหาอ่านตามบทความและหนังสือที่พูดถึงเขาครับ เพราะเขาไม่มีบัญชี twitter และ facebook อย่างเป็นทางการเลย (มีแต่ที่คนอื่นพูดถึง) ลองติดตามกันดูนะครับ

ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวและความน่าสนใจของเหล่านักคิด ที่แม้จะมาจากต่างสาขาอาชีพ มีเรื่องราวชีวิตที่ไม่เหมือนกัน แต่เราทุกคนสามารถเรียนรู้จากนักคิดเหล่านี้ได้ครับ เพียงเปลี่ยนมุมมองความคิด ชีวิตก็เปลี่ยนแล้วครับ

เรียบเรียงโดย Pump – Learning Hub Team

ทักษะการสื่อสาร สำหรับผู้บริหาร ยุค AEC

ในปัจจุบัน “ปัญหาเรื่องคน” คือปัญหาใหญ่ในองค์กร จริงหรือไม่?

เข้าสู่ยุค AEC ระบบสังคมมีความซับซ้อน ผู้คนนั้นก็มีความแตกต่างหลากหลาย ทั้งในแง่ของประสบการณ์ การศึกษา ทัศนคติ ความเชื่อ ทำให้การฟังของพวกเขามีข้อจำกัดมากขึ้น การสื่อสารจึงเป็นไปได้ยากขึ้น ไม่เกิดความร่วมมือกันในการทำงาน กลายเป็นความขัดแย้งที่ไม่พึงปรารถนา

ต่อไปนี้เป็น 5 ปัญหายอดฮิตในการทำงาน คุณเจอบ้างหรือเปล่า ?

  1. ความเร่งรีบในการสื่อสาร ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดบ่อย
  2. อยากจะคุยด้วย แต่อีกฝ่ายไม่ค่อยพูด ไม่ยอมเสนอความเห็น
  3. ลูกน้องพยักหน้าเข้าใจ แต่พองานออกมา ไม่เหมือนที่สั่งไปเลย
  4. วิธีการสื่อสารในแบบเรา คนนึงรับได้ แต่กับบางคนรับไม่ได้ เอาใจไม่ถูก
  5. ปัญหาการลาออกส่วนใหญ่ เป็นเพราะมีปัญหาความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน หรือหัวหน้างาน

เพราะเหตุใด จึงเกิดปัญหาเหล่านี้ ?

เราจะพบว่ามีผู้บริหารอยู่ 2 ประเภทในองค์กร ที่ใช้หลักการบริหารที่ต่างกัน

การบริหาร ด้วย “ความกลัว”

โดยมากมักจะเกิดกับผู้บริหารแบบอนุรักษ์นิยม (Conservative Stlye) ด้วยความมั่นใจจากประสบการณ์และความสำเร็จในอดีต เขาจึงคิดว่าลูกน้องซึ่งเด็กกว่าและอ่อนประสบการณ์กว่า ควรจะเป็นฝ่ายเชื่อฟังและทำตาม โดยที่ไม่รู้ตัว เขามักจะใช้หลัก “6 บ.” ในการบริหารงาน นั่นคือ

บี้ ชอบสั่งการแบบขู่เข็ญโดยใช้อำนาจ
ใบ้ ไม่ค่อยสอนงาน เห็นอะไรดีไม่เคยชม
เบลม ชอบตำหนิต่อว่า เห็นอะไรก็ผิดไปหมด
โบ้ย หากถ้าตัวเองทำผิด หรือตัดสินใจพลาด ก็อ้างว่าเป็นเพราะคนอื่น
เบิ้ล ถ้าลูกน้องทำผิดมา จะถูกซ้ำเติม หรือลงโทษทันที
บล็อก เขาไม่อยากเห็นใครทำตัวโดดเด่น และไม่ค่อยฟังความเห็นใคร

ผลลัพธ์จากการบริหาร ด้วยความกลัว

พนักงานจะรู้สึกไม่ปลอดภัยและไม่ไว้วางใจ เมื่อเกิดข้อผิดพลาดใดๆ ก็จะซุกไว้ด้วยกลัวความผิด อาจทำให้ปัญหาเล็กน้อยก็ลุกลามไปจนยากที่จะแก้ไข คนที่ไม่อยากถูกตำหนิ ก็คอยระวังตัวแจ จนไม่กล้าทำอะไร เห็นสิ่งที่ไม่เวิร์คก็จะเฉยชา องค์กรจะเป็นยังไงก็ช่าง ไม่ใช่เรื่องของตัวเอง ไม่มีความผูกพันกันในองค์กร ใครทนได้ทน ทนไม่ได้ก็ลาออกไป

เพื่อหลีกเลี่ยง “วัฒนธรรม 6 บ.” ซึ่งจะเป็นวงจรขาลงของการทำงานและส่งให้เกิดผลเสียมากมาย  จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ผู้บริหารและหัวหน้างาน ควรที่จะเรียนรู้  “ทักษะการสื่อสาร สำหรับผู้บริหารยุคใหม่”  และนำไปปรับใช้ในการทำงาน


การสื่อสารด้วย “ความรัก”

ผู้บริหารยุค AEC จำเป็นจะต้องแก้ปัญหาเรื่องคน ประสานงานให้เกิดการสื่อสารที่ลื่นไหลในองค์กรได้ “ความสัมพันธ์ที่ดี” จึงเป็นปัจจัยสำคัญ ดังนั้นจะต้องเปลี่ยนบทบาทจากการเป็น “เจ้านาย หรือ Boss” ที่เอาแต่สั่งการและตำหนิ ไปเป็น “ผู้หล่อเลี้ยง หรือ Mentor” ที่จะคอยรับฟังและให้การสนับสนุน

ทักษะการสื่อสาร ของผู้บริหารยุคใหม่ ได้แก่

1.การฟังเสียงภายในตนเอง (Inner Listening)

การที่จะรักผู้อื่นได้ ต้องเริ่มด้วยการรู้จัก เข้าใจและยอมรับในตนเองให้ได้ก่อน ดังนั้น ทักษะการฟังเสียงภายในตนเอง จะทำให้ผู้นำคนนั้น เข้าใจความรู้สึกและความต้องการของตนเองอย่างถ่องแท้ แล้วจะนำไปสู่ความเข้าใจผู้อื่นได้อย่างแท้จริง ซึ่งนั่นจะทำให้เขาสามารถมอบความรักและความเห็นอกเห็นใจ ให้กับผู้คนได้อย่างเป็นธรรมชาติ

2.การฟังเพื่อผลลัพธ์ (Active Listening)

การฟังเพื่อผลลัพธ์ เป็นทักษะที่ช่วยประหยัดเวลาในการฟังได้ อีกทั้งมีประสิทธิภาพอย่างสูง สามารถเก็บประเด็นได้ครบ และช่วยให้อีกฝ่ายได้แก้ปัญหาของตนเองด้วย

ซึ่งการจะฟังแบบนี้ต้องมีทักษะในการตั้งคำถามต่อยอด การสะท้อนอารมณ์ การทวนความ และการจับประเด็น เพื่อให้ผู้พูดรู้ว่า ผู้บริหารกำลังใส่ใจและรับฟัง อีกทั้งช่วยสนับสนุนให้เค้าแก้ปัญหาและหาทางออกด้วยตนเอง โดยไม่ชี้นำและสั่งการ

3.การสื่อสารด้วยใจกรุณา (Compassionate Communication)

ผู้บริหารยุค AEC ควรมีความมั่นคงในใจและเปิดเผย จะสามารถพูดจากความรู้สึก และความต้องการที่แท้จริง ออกมาจากใจอย่างตรงๆซื่อๆได้ โดยไม่ปิดบัง ไม่ต้องใช้กลยุทธ์ ไม่จำเป็นต้องอ้อมค้อมหว่านล้อมใดๆ การพูดแบบปากไม่ตรงกับใจ การพูดเป็นปริศนาที่ต้องทิ้งให้ผู้ฟังตีความเอง ย่อมทำให้เกิดความเข้าใจผิดและเสียเวลา

ผู้นำที่ดี มีสติตระหนักรู้ว่า คำพูดที่ตรงไปตรงมาของเขา จะไม่ไปทำร้ายจิตใจอีกฝ่าย เขาจะเลือกใช้คำพูดที่รับผิดชอบในความรู้สึกของตัวเองและไม่กล่าวหาโจมตีอีกฝ่าย

แทนที่จะพูดอย่างเกรี้ยวกราดว่า “คุณเอ ทำไมงานที่สั่งไปทำไม่เสร็จ รู้ไหมว่าทำงานล่าช้าแบบนี้บริษัทเสียหาย คุณจะว่ายังไง”

ผู้นำจะเลือกใช้คำพูดที่แสดงถึงความรู้สึกและความต้องการแทน “คุณเอ ตอนนี้ผมเริ่มรู้สึกเครียด เพราะงานที่เราต้องส่งลูกค้าไม่เสร็จตามกำหนด ผมต้องการรักษาเครดิตของบริษัท เราควรทำยังไงดี มีอะไรให้ผมช่วยเหลือบ้างมั้ย”

ผลลัพธ์จากการสื่อสาร ด้วย “ความรัก”

ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันในการทำงาน เกิดความรักและผูกพันซึ่งกันและกัน บรรยากาศการทำงานเหมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน ทำให้พนักงานรู้สึกอยากทำงานไปด้วยนานๆ อยากเห็นองค์กรเจริญเติบโต มีความรู้สึกเป็นเจ้าของ คอยระวังความผิดพลาดและจุดบกพร่องรั่วไหล มีความคิดสร้างสรรค์ทำสิ่งดีๆให้แก่องค์กรโดยไม่ต้องสั่ง และจะสร้าง “วัฒนธรรมแห่งความรัก” แบบนี้ส่งต่อรุ่นสู่รุ่นต่อไป


ผู้นำในยุค AEC นอกจากจะมีทักษะในด้านการบริหารจัดการและเทคนิค (Hard Skill) ที่ดีแล้ว จึงต้องมีทักษะในด้านการบริหารคน (Soft Skill) ที่เป็นเลิศ

โดยเฉพาะ “ทักษะการสื่อสารและการฟัง” (Communication & Listening Skill) ถือเป็นทักษะหลักที่ผู้บริหารยุคใหม่ต้องให้ความสนใจและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ จึงจะสร้างแรงบันดาลใจและปลุกศักยภาพในผู้คน และนำพาองค์กรฟันฝ่าความผันผวนและความเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วของกระแสธุรกิจในอนาคตได้ต่อไป

บทความโดย “เรือรบ” ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาการสื่อสารและการฟัง

ขอแนะนำ หลักสูตร “ ทักษะการสื่อสาร สำหรับผู้บริหารยุค AEC” โดย “เรือรบ”   

เน้น Workshop เพื่อฝึกทักษะการฟังและสื่อสารขั้นสูง และเพิ่มศักยภาพความเป็นผู้นำ ให้สามารถนำไปใช้ได้ทันที

9 ก.ค. นี้ หลักสูตร 1 วัน สำหรับบุคคลทั่วไป คลิกที่นี่

หลักสูตร In House 2 วัน สำหรับองค์กร คลิกที่นี่

ทักษะของผู้บริหารในยุค AEC

ในยุคที่ AEC กำลังจะมาถึง ซึ่งจะสร้างผลกระทบกับทุกธุรกิจในประเทศไทย อาจเป็นได้ทั้งโอกาสหรืออุปสรรค ขึ้นอยู่กับว่าธุรกิจนั้นจะสามารถคาดการณ์ ปรับปรุงพัฒนา และตอบสนองกับสถานการณ์ที่แปรผันได้มากแค่ไหน ดังนั้นผู้บริหารจำเป็นจะต้องขับเคลื่อนองค์กรอย่างเป็นพลวัตมากยิ่งขึ้น โดยปรับบทบาทตัวเองจาก “ผู้สั่งการ” ให้เป็น “ผู้นำการเปลี่ยนแปลง” สาเหตุหลักที่องค์กรเปลี่ยนแปลงได้ช้าและพัฒนาได้ยาก แม้ว่าจะมีระบบที่ดีแล้วก็ตาม ก็เป็นเพราะปัจจัยที่ซับซ้อนที่สุด ที่เรียกว่า “คน” นั่นเอง

ด้วยปัจจุบัน มนุษย์นั้นมีความหลากหลายทั้งในแง่ของประสบการณ์ การศึกษา ทัศนคติ ความเชื่อ อีกทั้งความแตกต่างของรุ่นอายุหรือเจนเนอเรชั่น ทำให้ “การฟัง” ของพวกเขามีข้อจำกัดมากขึ้น การสื่อสารจึงเป็นไปได้ยากขึ้น ไม่เกิดความร่วมมือกันในการทำงาน และบางครั้งก็เกิดเป็นความขัดแย้งที่ไม่พึงปรารถนา ความแบ่งแยก ความไม่ไว้วางใจต่อกันนั้น ส่งผลต่อระบบการทำงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สิ่งที่เป็นที่ต้องการและสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้บริหารในยุคนี้ จึงหนีไม่พ้น “ทักษะการบริหารคน”

ดังนั้นผู้บริหาร นอกจากจะมีทักษะในด้านการบริหารจัดการและเทคนิค (Hard Skill) ที่ดีแล้ว จึงต้องมีทักษะในด้านการบริหารคน (Soft Skill) ที่เป็นเลิศอีกด้วย ทักษะของผู้นำยุคใหม่ ต้องสามารถรับรู้และตอบสนองต่อโลก 3 ระดับของผู้คน และมีทักษะในการบริหารคนใน 3 ระดับนั้น ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันได้แก่

1. Concrete World: โลกแห่งผลลัพธ์

โลกแห่งผลลัพธ์ เป็นโลกภายนอกทางกายภาพ ที่มีตัวเลข ตัวชี้วัด วัดค่าและประเมินผลได้ เป็นโลกที่หลายคนคุ้นเคย แต่กระนั้นบางคนก็มีปัญหากับการทำงานในโลกที่เต็มไปด้วยความคาดหวังผลลัพธ์แบบนี้ การแก้ไขปัญหาให้คนเหล่านั้น คงไม่ได้แก้ง่ายๆเพียงอบรมให้ความรู้ หรือให้ออกจากงานไป

ผู้บริหารยุคใหม่ควรมีทักษะเพื่อทำให้ผู้คน มีแรงบันดาลใจ มุ่งมั่นที่พัฒนาตนเอง สามารถสร้างเป้าหมายที่ท้าทายในชีวิต มีผลลัพธ์ในการทำงาน ตระหนักถึงข้อจำกัดที่ตนเองมี และมองเห็นวิธีการใหม่ๆที่จะก้าวข้ามข้อจำกัดนั้นด้วยตนเอง เพื่อจะสร้างผลลัพธ์ที่แตกต่างออกไป ซึ่งทักษะที่สำคัญในส่วนนี้คือ Brain Based Coaching ซึ่งจะประกอบไปด้วย “ทักษะการฟังและการตั้งคำถาม” เพื่อให้ผู้คนบรรลุเป้าหมายและมุ่งสู่ความสำเร็จที่เขาต้องการได้นั่นเอง

2. Dream Land: โลกแห่งจิตใต้สำนึก

โลกแห่งจิตใต้สำนึก เป็นโลกภายใน ประกอบไปด้วย อารมณ์ ความรู้สึกและความต้องการ ซึ่งอยู่ภายในจิตใจลึกๆ บางครั้งกล่าวเป็นคำพูดไม่ได้ หรือไม่อาจเปิดเผยให้ใครรู้ได้ง่ายๆ ด้วยคนเรานั้นไม่มีใครสมบูรณ์แบบ ย่อมมีความแหว่งเว้าและขาดแคลนในฐานของอารมณ์อยู่บางส่วน ทำให้บางครั้งเกิดทัศนคติในแง่ลบ มีปมความขัดแย้งในใจ รู้สึกไม่เติมเต็ม หรือกระทั่งควบคุมอารมณ์ไม่ได้ ย่อมส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพการทำงานของคนๆนั้น และส่งผลกระทบต่อบุคคลรอบข้างเป็นอย่างมาก

ผู้บริหารยุคใหม่จะไม่ละเลยและเห็นความสำคัญของปัญหาในระดับนี้ สามารถเข้าใจและมีหลักในการวิเคราะห์พฤติกรรมความต้องการ และตอบสนองความต้องการเหล่านั้นได้อย่างเป็นธรรมชาติและทรงประสิทธิผลตามหลักการบริหารยุคใหม่ ซึ่งทักษะที่สำคัญในส่วนนี้คือ NLP (Nuero Linguistic Program) เป็นการใช้ “ทักษะภาษาเพื่อการโปรแกรมสมอง” ให้ผู้คนเกิดการเปลี่ยนแปลงจากอารมณ์ภายใน จากจิตใต้สำนึก ส่งผลเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมใหม่ๆตามที่เขาต้องการนั่นเอง

3. The Essene: โลกแห่งคุณค่าและเจตนารมณ์

ในโลกเบื้องลึกที่สุดแห่งจิตใจของแต่ละคน ประกอบไปด้วยชุดความเชื่อ ความศรัทธา ทัศนคติ การยึดถือคุณค่า และความหมายในการมีชีวิตอยู่ของตน แม้ว่าเราจะอาศัยอยู่ท่ามกลางความแตกต่างหลากหลายของผู้คน ซึ่งมีทั้งความวุ่นวายและสับสน แต่ในทุกความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะจะเล็กหรือใหญ่เพียงใดก็ตาม หากสืบค้นลงไปแล้ว ก็จะพบว่าในเบื้องลึกที่สุด ในหัวใจของมนุษย์ทุกคนนั้น ล้วนมี “คุณธรรม ความรัก ความเมตตา” ไม่แตกต่างกัน

ด้วยการศึกษาศาสตร์ทางจิตใจ คำสอนทางศาสนา การปฏิบัติสมาธิภาวนา หรือการพัฒนาตนเองอย่างไม่หยุดยั้ง หากเราสามารถฝึกฝนจน “มองเห็น เข้าใจ ยอมรับ และรักตนเอง” ได้อย่างไม่มีเงื่อนไขได้แล้ว เราจะสามารถรับรู้โลกภายในของผู้อื่นได้ จะสามารถฟังได้ลึกลงไปกว่าแค่คำพูด มองได้ลึกไปกว่าแค่การกระทำหรือพฤติกรรม จะสามารถรับรู้เจตนารมณ์หรือคุณค่าที่เขายึดถือได้ เมื่อนั้นเราจะสามารถ “เข้าถึง” ตัวตนของผู้คนรอบตัว และสื่อสารกับพวกเขาได้อย่างแท้จริง
……………………

บทสรุป

ในฐานะผู้นำยุคใหม่ หากเราต้องการเป็นผู้นำที่ครองใจคน ย่อมจะต้องสามารถสื่อสาร “คุณค่าของคนที่เราเป็น” ได้อย่างทรงพลังและมีประสิทธิภาพ ใช้ทักษะภาวะผู้นำที่มีการตัดสินใจตามเป้าหมาย โดยที่ไม่ละเลยในคุณค่าหรือความต้องการของผู้อื่น
สามารถสร้างภาวะแห่งความสมดุลของสถานการณ์ โดยมีการประยุกต์กระบวนการทางจิตวิทยาพฤติกรรม ศาสตร์ทางสมอง และกระบวนการใช้ภาษาเพื่อโปรแกรมจิต เพื่อการโน้มน้าวและสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คน จนเกิดนำไปสู่การลงมือทำด้วยพันธะสัญญา (Commitment) สู่ความสำเร็จด้วยตัวของเขาเอง และทำให้เกิดผลลัพธ์ในเชิงบวกต่อองค์กรได้อย่างยั่งยืน


บทความโดย “เรือรบ”

เครดิต เนื้อหาจากหลักสูตร “The Magic Leadership Skills” จิตวิทยาผู้นำด้วยศาสตร์ NLP และ Brain Based Coaching

อบรมโดย ดร.ขวัญนภา ชูแสง

หลักสูตรอบรมสำหรับบุคคลทั่วไป เริ่ม 4-5 ก.ค.นี้ คลิกที่นี่

รายละเอียดหลักสูตรการอบรมสำหรับองค์กร คลิกที่นี่

 

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Ads, Google Analytics

    Statistics

  • Google Analytics

    Statistics

  • Facebook

    Marketing/Tracking

  • ActiveCampaign

    Functional

  • ActiveCampaign

    Marketing/Tracking

Save