5 ตัวช่วย ที่ทำให้การประชุมไม่เป็นเรื่องน่าเบื่ออีกต่อไป

          ใครเบื่อการประชุมบ้าง  เชื่อว่ามีหลายคนยกมือขึ้นสุดแขนเลยทีเดียว แต่ชีวิตการทำงานของเราคงหลีกเลี่ยงการประชุมไม่ได้ และคงไม่ดีแน่ถ้าเรานั่งเคร่งเครียด ไม่มีความสุขอยู่ในการประชุมครึ่งค่อนวัน

       ยิ่งไปกว่านั้นจะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของเราย่ำแย่ลงเรื่อยๆ  ซึ่งคุณไม่ต้องกลุ้มใจไป  เพราะเรามีเทคนิคดีๆ ที่จะทำให้การประชุมไม่น่าเบื่ออีกต่อไปมาฝาก ดังนี้ 

====

1) ประเด็นต้องชัดเจน

“การกำหนดวาระประชุมที่แน่นอนทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมไม่หลงทาง”

          คุณเคยเข้าประชุมแล้วออกมาแบบงงๆ เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นบ้างไหมคะ พอรู้ตัวอีกทีเวลาก็หมดไปกับการนั่งเหม่อลอยมองคนปิ้งสไลด์ อ่านพรีเซนต์ ฟังคนเถียงกันในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับวาระการประชุม หากใครเคยประสบพบเจอปัญหาดังกล่าวแสดงว่าการประชุมไม่ได้ผล และเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์

          แต่ปัญหานี้มีทางแก้ค่ะ เพียงแค่คุณตอบคำถามให้ได้ว่า “ทำไมจึงมีการจัดประชุมขึ้น” “เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์การประชุมคืออะไร” ถ้าคุณตอบได้ การประชุมของคุณจะกระชับ ตรงประเด็น และได้ผลจริงค่ะ

          แต่หากคุณเอะอะก็นัดประชุมทุกเรื่องโดยไม่คัดกรองหัวข้อให้ดี ไม่วางแผนอย่างเป็นลำดับขั้น การประชุมก็จะเต็มไปด้วยความสับสนและนั่นทำให้คุณเสียเวลาประชุม แถมยังต้องกลับไปนั่งทำงานแบบไร้ทิศทางด้วย

====

2) ผู้เข้าร่วมประชุมต้องแชร์

“การแชร์ความเห็นทำให้การประชุมมีสีสัน และเกิดคุณค่า”

          คุณอาจเคยชินกับบรรยากาศการเข้าประชุมที่มีแต่คนหน้าเดิมๆ พูดออกความคิดเห็น ส่วนที่เหลือก็นั่งก้มหน้าก้มตากดโทรศัพท์บ้าง แสร้งทำเป็นจดบันทึกการประชุมบ้าง ฟังหูซ้ายทะลุหูขวาบ้าง

ภาพแบบนี้ทำให้การประชุมไร้ชีวิตชีวาและผิดวัตถุประสงค์ของการประชุมค่ะ เพราะความสำคัญของการประชุมคือ เป็นเวทีแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน เพื่อให้ทุกคนเข้าใจแผนงานและปฏิบัติงานอย่างมีเป้าหมายเดียวกัน

          ดังนั้นการประชุมที่ดีต้องมีการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง ประธานควรดำเนินการประชุมอย่างกระตือรือร้น ยิ้มแย้มแจ่มใส ไม่พูดระบายอารมณ์ของตนเองในที่ประชุม และควรเปิดใจรับฟังผู้เข้าร่วมประชุมโดยปราศจากอคติ

          ส่วนผู้เข้าร่วมประชุมก็ไม่ควรนั่งฟังเฉยๆ โดยไม่แสดงความคิดเห็น ไม่แชร์ไอเดีย หรือไม่ร่วมกิจกรรมใดๆ จงคิดว่าการได้เข้าประชุมคือ โอกาสดีที่ได้นั่งคุยกับเพื่อน ได้เห็นความคืบหน้าของงาน เพื่อที่ทีมจะได้มองเห็นภาพความสำเร็จร่วมกัน และช่วยกันสร้างสรรค์งานให้บรรลุเป้าหมายต่อไป

====

3) การนำเสนอต้องน่าสนใจ

“การนำเสนอที่น่าสนใจช่วยให้การประชุมสัมฤทธิ์ผล”

          เมื่อคุณลองหลับตาและนึกถึงภาพ Presentation ของการประชุมที่บริษัท เชื่อแน่ว่าคนส่วนใหญ่จะเห็นภาพ Presentation ที่เต็มไปด้วยตัวหนังสือที่ชวนให้ง่วงนอน มิหนำซ้ำผู้พูดก็ยังนำเสนอข้อมูลด้วยน้ำเสียงโมโนโทน ด้วยเหตุนี้จึงไม่น่าแปลกใจที่คุณจะสัปหงก และเผลอหลับคาห้องประชุมบ่อยๆ

          แต่รู้ไหมว่าตอนนี้หมดยุคที่ผู้คนจะสื่อสารกันด้วยวิธีการแบบเดิมๆ แล้วค่ะ โลกหมุนเร็วกว่าที่คิด การใช้ข้อมูลจากตัวหนังสือประกอบการนำเสนอเป็นสิ่งที่แสนน่าเบื่อและทำให้หัวใจห่อเหี่ยว

          ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่คุณต้องเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอให้ทันสมัย และดึงดูดความสนใจให้มากขึ้น เช่น ใช้ Infographic, Video Clip หรือ Multimedia เริ่ดๆ มาประกอบการนำเสนอในที่ประชุมลองทำดูนะคะ แล้วการประชุมของคุณจะ Work สุดๆ ไปเลยค่ะ

====

4) ความถี่ประชุมต้องเหมาะสม

“การปรับความถี่ในการประชุมมีผลต่อประสิทธิภาพของผู้ร่วมประชุม”

          ปัญหาที่หนุ่มสาวออฟฟิศต่างบ่นเป็นเสียงเดียวกันก็คือ ประชุมทั้งวันจนแทบไม่มีเวลาไปทำอย่างอื่น บางคนพูดติดตลกว่า “มีอาชีพรับจ้างประชุม” อย่างที่เกริ่นไว้ตอนต้นว่าการประชุมที่ดีต้องมีวัตถุประสงค์ชัดเจน ไม่ใช่นึกอยากจะเรียกประชุมเมื่อไหร่ก็ได้ เพราะหากประชุมพร่ำเพรื่อ ผู้เข้าร่วมจะไม่เห็นความสำคัญและพาลไม่อยากเข้าประชุมได้

          นอกจากนี้ ควรมีคนคอยควบคุมเวลาไม่ให้การประชุมยืดยาวเกินไป เพราะสมาธิของคนเรามีจำกัด การประชุมเลยเวลาอาจทำให้ผู้เข้าประชุมไม่สามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง เนื่องจากเหนื่อยล้าและมึนงงกับชั่วโมงประชุมที่ยาวนาน

====

5) ประชุมเสร็จต้องสรุปและติดตามผล

“การจดรายงานการประชุมช่วยเตือนความจำ และช่วยผลักดันงานให้สำเร็จ”

          เทคนิคอีก 1 ข้อที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ ต้องสรุปและติดตามผลการประชุมค่ะ เพราะการเขียนสรุปการประชุมจะทำให้ผู้เข้าร่วมทราบว่า ผลของการประชุมคืออะไร ใครต้องรับผิดชอบดำเนินการเรื่องใดต่อ

          ลองคิดดูนะคะว่าหากมีประเด็นถกเถียง โต้แย้ง หรือแชร์ไอเดียที่เป็นประโยชน์ในที่ประชุม แต่ไม่มีใครจดบันทึกเอาไว้ เมื่อเวลาผ่านไปทุกคนก็จะลืม และไม่ได้นำสิ่งที่ประชุมมาปฏิบัติต่อให้เป็นรูปธรรม ผลคือ การประชุมทั้งหมดสูญเปล่า

ในทางกลับกันหากมีการจดบันทึกข้อคิดเห็นสำคัญหรือมติที่ประชุมไว้ ทุกคนก็จะมีหลักฐานอ้างอิง สามารถยึดถือเป็นแนวปฏิบัติในการทำงานต่อไปได้ ซึ่งสิ่งนี้ทำให้การทำงานราบรื่น และมีประสิทธิภาพสูงสุดค่ะ

          เป็นยังไงกันบ้างคะสำหรับเทคนิคการจัดประชุมที่ Learning Hub นำมาเสนอในวันนี้ หวังว่าคงจะถูกใจกันนะคะแต่ถูกใจอย่างเดียวไม่พอนะคะ ต้องนำไปปฏิบัติด้วยเพื่อให้การประชุมเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง

อีกหนึ่งตัวช่วยที่ทำให้การประชุมมีประสิทธิภาพและไม่น่าเบื่อ ขอแนะนำ 3 กติกาง่าย ๆ ที่ทำให้ทุกฝ่ายมีความสุขในการประชุม อ่านที่นี่

====

อ้างอิงจาก

1) http://www.nuttaputch.com/5-unproductive-meeting/

2) http://incquity.com/articles/make-meetings-fun

3) http://th.jobsdb.com/th-th/articles

เพื่อให้คุณและคนในทีมมีทักษะในการประชุม การสื่อสาร และการทำงานร่วมกัน ขอแนะนำหลักสูตร Team Communication & Collaboration คลิกที่นี่

เรียบเรียงโดย 

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 094 959 2645

7 เทคนิค เลือกลูกน้องอย่างไรไม่ให้เปลี่ยนงานบ่อย

 สิ่งที่ยากที่สุดสำหรับผู้บริหารคือการคัดสรรคนให้เหมาะกับงาน  ผลประกอบการจะออกมาดีหรือไม่ย่อมขึ้นกับคน

Learning Hub ขอนำเสนอ 7 เคล็ดลับในการเลือกคนให้เข้ากับงาน หรือ “Put the right man on the right job” ฝากให้บรรดาผู้บริหารได้ลองนำไปเป็นไอเดียในการเลือกลูกน้องกันครับ 

====

1.พิจารณาจากงานที่เคยทำ  

งานที่แตกต่างจึงต้องการคนที่แตกต่างกัน 

 Peter  Drucker ปรมาจารย์ด้านการจัดการยุคใหม่ กล่าวว่าหากพนักงานทำงานไม่ดีย่อมเป็นความผิดของผู้บริหาร ไม่ใช่พนักงาน เพราะผู้บริหารเป็นคนเลือกเขามาทำงานเอง ดังนั้นเพื่อป้องกันความผิดพลาด ผู้บริหารจึงต้องใส่ใจกับการเลือกคนให้เหมาะสมกับงาน เขาจึงแนะนำว่าการเลือกคนต้องพิจารณาจากงานที่คนผู้นั้นเคยรับผิดชอบมาก่อน อย่างน้อยก็จากประสบการณ์ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา 

         ยกตัวอย่างเช่น การจะหาผู้จัดการฝ่ายการตลาดสักคน ต้องคิดก่อนว่า หน้าที่ของผู้จัดการคนนี้คืออะไร เพิ่มยอดขาย คิดค้นสินค้าใหม่ หรือเจาะตลาดใหม่

ซึ่งงานแต่ละอย่างมีความแตกต่างกัน    จึงต้องการคนที่มีประสบการณ์แตกต่างกัน ดังนั้นจึงควรเลือกพนักงานที่เคยผ่านงานหรือมีประสบการณ์ที่ใกล้เคียงกับตำแหน่งนั้นมากที่สุด หากคุณสนใจแนวคิดดีๆของ Drucker ผมแนะนำหนังสือชื่อ The Essential Drucker ครับ 

====

 2.อย่ามอบงานใหญ่ให้คนไม่ใหญ่   

กระจายอำนาจการตัดสินใจให้พนักงาน  

         Alfred Sloan อดีตผู้บริหารบริษัท General Motors ผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ให้กับบริษัท    หนึ่งในนั้นคือการปรับวิธีการทำงาน โดยการกระจายอำนาจให้พนักงาน ส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและสามารถแสดงความคิดเห็นได้ 

         ซึ่งเป็นการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในองค์กร  แต่ไม่ได้หมายความว่าพนักงานทุกคนจะมีอำนาจในการตัดสินใจเท่ากันนะครับ  เพราะสำหรับพนักงานใหม่แล้ว   เขาจะยังไม่มอบหมายภาระงานสำคัญให้ เนื่องจากยังอ่อนประสบการณ์ ซึ่งอาจจะนำไปสู่ความผิดพลาดได้    

        เขาจึงมอบหมายให้พนักงานใหม่ทำงานที่มีความชัดเจนสูง คาดการณ์ได้ ส่วนพนักงานที่มีประสบการณ์แล้วเขาจึงเพิ่มอำนาจในการตัดสินใจครับ    

====

3.ถามไถ่คนใกล้ชิด  

ผู้บริหารต้องฟังสิ่งที่คนอื่นคิด  

        Hermann Abs อดีตผู้บริหาร Deutsche Bank มีมุมมองว่า การเลือกใช้คนของผู้บริหารโดยมากตั้งอยู่บนอคติส่วนตัว ทำให้ใช้คนผิดประเภท หรือเลือกแต่งตั้งคนที่ใกล้ชิดมากกว่าคนที่มีความสามารถ  

        เพื่อให้การเลือกคนมีความถูกต้องและผิดพลาดน้อยที่สุด เขาจึงมองว่านอกจากการสอบประวัติของบุคคลที่ต้องการแต่งตั้งแล้ว ผู้บริหารควรจะสอบถามจากเจ้านายเก่า ลูกน้อง หรือเพื่อนร่วมงาน อย่างน้อย 3 – 5 คน เพื่อให้ได้ข้อมูลรอบด้านเพื่อประกอบการเลือกคนที่เหมาะสม

        ดังนั้น “ We need to listen ผู้บริหารจึงต้องรับฟัง” ครับ 

==== 

4.เลือกคนที่เข้าใจงาน  

วิถีของ Apple คือสร้างเอกลักษณ์ให้กับสินค้า  

        Tim Cook ซีอีโอบริษัท Apple ผู้มุ่งมั่นสร้างสรรค์สินค้าเทคโนโลยีขั้นเทพให้กับลูกค้า ดังนั้นหัวใจสำคัญของ Apple จึงอยู่ที่แผนกฮาร์ดแวร์เทคโนโลยี เพราะแผนกนี้จะทำหน้าที่ผลิตชิป ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นสมองของสินค้า ดังนั้นคนที่จะรับบทหนักเช่นนี้ Tim Cook จึงเลือก  Johny Srouji  ทำไมต้องเป็นเขา ? 

        Srouji เคยผ่านงานจากบริษัท Intel และ IBM มาก่อน เรียกได้ว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญการวางระบบชิปเป็นอย่างดี เมื่อเขาเข้าร่วมงานกับ Apple  Srouji มีส่วนอย่างมากในการออกแบบระบบการทำงานของ iPhone และแท็บเล็ตใหม่   ทำให้ระบบการทำงานมีเสถียรภาพและมีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น   

        จึงทำให้  Apple สามารถยืนหยัดแข่งขันกับคู่แข่งได้อย่างมั่นคง ทั้งหมดนี้เป็นเพราะ Tim Cook เลือกคนที่เข้าใจงานทำงานในตำแหน่งที่เหมาะสม

====

 5.เข้าใจคนก่อนใช้คน   

 อย่าให้จุดด่างดำมาบดบังหยกขาว  

         Bob Burg วิทยากรชื่อดังของสหรัฐอเมริกา และเจ้าของหนังสือชื่อ The Go-Giver Leader เป็นกูรูอีกคนหนึ่งด้านการใช้คนครับ แน่นอนครับว่า ทุกคนย่อมมีดีมีเสียแตกต่างกันไป เขาจึงแนะนำครับว่า ควรมองคนจากจุดแข็งก่อนครับ เพราะมูลค่าของงานจะสร้างสรรค์ขึ้นได้จากจุดแข็งของคน  

        จากนั้นจึงพิจารณาจากจุดอ่อนครับ แต่ไม่ใช่คือมีจุดอ่อนแล้วคัดออกนะครับ เพราะเขาแบ่งจุดอ่อนออกเป็น 3 ประเภท คือ     จุดอ่อนที่ไม่เป็นปัญหา จุดอ่อนที่แก้ไขได้ และจุดอ่อนที่เป็นปัญหา  พูดง่ายๆก็คือ หากพนักงานมีจุดอ่อน 2 ประเภทแรก ไม่ถือเป็นปัญหาครับ แต่หากเป็นจุดอ่อนประเภทที่สาม แม้ว่ามีจุดแข็งที่ดีแค่ไหนคงต้องคัดออก  

         เขาได้ยกตัวอย่างวิศวกรที่ทำงานเก่งคนหนึ่ง ซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าแผนก แต่วิศวกรรายนี้ทำหน้าที่ประสานงานได้ไม่ดี แต่งานในตำแหน่งหัวหน้าต้องมีทักษะการประสานงาน

         ดังนั้นจุดอ่อนของเขาถือเป็นประเภทที่สาม เพราะถ้าเขาไม่สามารถประสานงานได้  ก็ไม่อาจแบกรับความรับผิดชอบได้

==== 

 6.เลือกคนจากลักษณะนิสัย   

Judging เหมาะกับงานบัญชี แต่ Perceiving เหมาะกับงานการตลาด  

         โดยทั่วไปลักษณะนิสัยของแต่ละคนมีส่วนอย่างมากต่อผลลัพธ์ของการทำงาน   คนที่ชอบทำงานเป็นขั้นเป็นตอน วางแผนล่วงหน้า ไม่ค่อยครีเอทีฟ เรียกว่า Judging ครับ เหมาะกับการทำงานบัญชีหรือการเงินเพราะเป็นคนละเอียด 

          แต่คนที่ชอบแก้ปัญหาเฉพาะหน้า มีความคิดสร้างสรรค์ ไม่ชอบงานเอกสาร เรียกว่า Perceiving เหมาะกับงานการออกแบบหรือการตลาดครับ ยกตัวอย่างเช่น บริษัท Target ถูกโจรกรรมข้อมูล บริษัทสูญเสียความเชื่อมั่น ผู้ถือหุ้นจึงเลือก John Mulligan ดำรงตำแหน่งเป็นรักษาการ CEO แทน CEO คนเก่าที่ขาดความน่าเชื่อถือไปแล้ว

          เหตุที่เลือกเขาเพราะเขาเป็นรองประธานฝ่ายการเงินหลายปี ทำงานละเอียด หรือก็คือเป็นคนประเภท Judging ซึ่งเหมาะที่จะเข้ามาประเมินความเสียหายและฟื้นฟูสถานะทางการเงินภายหลังถูกโจรกรรมข้อมูล  

====

 7.ต้องเป็นที่ยอมรับ 

เลือกคนที่เป็นที่ยอมรับ ย่อมทำงานได้ราบรื่น  

         เทคนิคนี้ผมได้บทเรียนจากประธานาธิบดีโอบามาครับ   เมื่อครั้งโอบามารับตำแหน่งประธานาธิบดีใหม่ๆ เสียงวิพากษ์ดังขรมว่า โอบามาขาดประสบการณ์ด้านการต่างประเทศ เมื่อเป็นเช่นนี้การประสานงานกับรัฐสภาจะเป็นไปได้ด้วยความยากลำบากมาก  

         คงไม่มีใครให้ความร่วมมือกับเด็กอ่อนอย่างโอบามาแน่  ดังนั้นโอบามาจึงดึง โจเซฟ ไบเดน เข้ามาเป็นรองประธานาธิบดี ซึ่งจะเขาเคยเป็นกรรมาธิการด้านต่างประเทศถึง 9 สมัย

         ด้วยประสบการณ์ชั้นเซียนเช่นนี้ ย่อมกลบจุดอ่อนของโอบามาได้เป็นอย่างดี และความน่าเชื่อถือและการยอมรับย่อมเพิ่มขึ้น  

====

         แม้ว่าคุณจะเรียนรู้เทคนิคการใช้คนทั้ง 7 ข้อไปแล้วก็ตาม แต่ความผิดพลาดย่อมเกิดขึ้นได้ แต่หากเราใช้คนผิดพลาด เราก็ควรยอมรับความจริง และเปลี่ยนคนใหม่ให้เร็วที่สุด ไม่เช่นนั้นอาจจะสร้างความเสี่ยงให้กับองค์กรได้   เพราะ Misfit is cruel to an organization.    

ที่มา  The Eessential Drucker: Peter Drucker author  

ต่อให้คุณสามารถเลือกลูกน้องได้เป็นอย่างดีจนได้คนที่ไม่เปลี่ยนงานง่าย ๆ แล้วก็ตาม แต่ถุ้าคุณไม่บริหารลูกน้องให้ดีพวกเขาก็อาจจากไปได้เสมอ เรียนรู้และฝึกฝน 3 เทคนิคในการยอมรับและชื่นชมลูกน้อง คลิกที่นี่

หนึ่งในทักษะสำคัญที่ช่วยเพิ่มศักยภาพให้แก่ลูกน้องได้คือการ Coaching และให้ Feedback  ซึ่งคุณสามารถเรียนรู้และฝึกฝนได้จากหลักสูตร High Impact Coaching and Positive Feedback คลิกที่นี่

 

เรียบเรียงโดย 

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 094 959 2645

5 ขั้นตอนเปลี่ยน Mindset เพื่อเปลี่ยนชีวิตก่อนอายุ 30

Mindset หรือ ทัศนคติ เป็นสิ่งที่กำหนดรูปแบบการดำเนินชีวิตของเรา

การเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาตนเอง เพื่อให้ชีวิตเปลี่ยนไปในทางที่ดี ย่อมต้องเริ่มมาจาก “การมี Mindset ที่ถูกต้อง” เสียก่อน

ซึ่งการเปลี่ยน Mindset นั้น เราควรทำให้ได้ก่อนอายุ 30 ซึ่งผมขอแชร์จากประสบการณ์ตรง ที่สามารถเปลี่ยน Mindset ของตัวเองได้ ซึ่งส่งผลให้ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นเป็นไปในทางที่ต้องการ 

และต่อไปนี้เป็น 5 ขั้นตอนง่ายๆ ที่ผมใช้จริงซ่งคุณสามารถนำไปปรับใช้ได้กับตัวเองได้เช่นกัน 

====

1. มองให้เห็นว่าปัญหาเป็นโอกาส

“การมองเห็นปัญหาที่แท้จริง เป็นจุดเริ่มต้นของทุกการเปลี่ยนแปลง”

การมองเห็นตัวเอง ไม่ใช่สิ่งที่ง่าย  คนเรามักมองไม่เห็นตัวเอง ถึงมองเห็นก็มักไม่ยอมรับ หรือยอมรับแล้ว ก็ไม่คิดว่ามันเป็นปัญหา ดังนั้นการมองเห็นปัญหา จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงในชีวิต

ในช่วงก่อนอายุ 30 มีหลายคนสะท้อนว่า แรกๆ ที่พบผม ผมเป็นคนดูหยิ่ง หน้าดุ ไม่ค่อยยิ้ม ซึ่งผมฟังแล้วก็เฉยๆ ไม่คิดอะไร เพราะคิดว่าเกิดมาหน้าตาเป็นอย่างนี้ แล้วมันก็ไม่ได้เป็นปัญหาอะไร

====

เมื่อใช้ชีวิตมานานขึ้น ก็ได้ยินเสียงสะท้อนมากขึ้น จากคนที่หวังดีอีกหลายๆ คน ทำให้ผมเริ่มเอะใจขึ้นมา

เห็นได้ชัดว่า การเห็นปัญหาของตัวเอง ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเลยจริงๆ แต่ในทุกปัญหา ย่อมมีโอกาส ผมลองย้อนคิดดูว่า ขนาดหน้าไม่รับแขก ทุกวันนี้ก็มีเพื่อนหลายคนนะ ถ้าผมยิ้มเก่ง ยิ้มง่ายขึ้น ดูน่าเข้าหา จะมีโอกาสดีๆ เข้ามาในชีวิตมากขึ้นแค่ไหน  

====

2. อย่าปลอบใจตัวเอง

“ปัญหาเล็กๆ มักส่งผลกระทบยิ่งใหญ่ โดยที่เราไม่เคยรู้ตัวเลย”

ก่อนหน้านี้ ผมไม่เคยมองเห็นปัญหา เพราะมองแค่ที่ตัวเอง ไม่ได้มองลึกลงไปถึง “ปัญหาใหญ่ที่ซ่อนอยู่” เพราะแน่นอนว่าปัญหาใหญ่ มันจะไม่ได้อยู่ตื้นๆ ที่พื้นผิวให้เรามองเห็นง่ายๆ

สำหรับเรื่องการยิ้ม ถ้ามองแค่ตัวเอง ผมย่อมไม่เดือดร้อน เพราะผมไม่ได้เห็นหน้าตัวเองนี่นา แต่ปัญหาที่ซ่อนอยู่ลึกๆ ก็คือ คนจะไม่ค่อยกล้าเข้าหาผม หรือไม่อยากเข้ามาพูดคุยกับผม ทำให้ผมมีเพื่อนน้อย จะมีเพื่อนใหม่ยิ่งยาก แต่ผมก็มักจะปลอบใจตัวเองว่า ไม่เห็นเป็นไร การมีเพื่อนน้อยก็ดี เรื่องไม่เยอะ การอยู่คนเดียวก็ดี สงบดี

การปลอบใจตัวเอง เป็นแนวโน้มให้เรา “ยึดติด” ในนิสัยเดิมๆ และไม่ได้ช่วยให้เรา “แก้ปัญหา” นั้นได้เลย

====

ฉะนั้นเมื่อเจอปัญหาเราจำเป็นต้องนำมาพิจารณาตรงๆ อย่างเป็นกลาง ด้วยการตั้งคำถามใหม่ว่า ภายใต้ปัญหาเล็กๆ ในเรื่องนั้น “อะไรคือปัญหาใหญ่ที่ซ่อนอยู่บ้าง”

สำหรับกรณีของผม ถ้ามองอย่างเป็นกลางแล้ว การที่เพื่อนน้อย หากไม่ใช่ปัญหาใหญ่ แต่การที่คนใหม่ๆไม่อยากจะมาทำความรู้จักกับผม เป็นปัญหาใหญ่แน่นอน เพราะนั่นหมายถึง โอกาสดีๆ และคอนเนคชั่นดีๆ ในชีวิตจะหายไป

นอกจากนั้นผมก็คงไม่สามารถแบ่งปันสิ่งดีดีในชีวิตกับใครได้มาก เพราะไม่มีใครอยากเข้าหาผมนั่นเอง

====

3. ทำให้เป็นเรื่องเร่งด่วน

“ชีวิตไม่เคยเร่งด่วน แต่ปัญหาของชีวิตต้องทำให้เป็นเรื่องเร่งด่วน”

เราสามารถนอนทับปัญหา หรือจมอยู่กับมันได้นานเท่านาน ถ้าเรายังมองว่าชีวิตโอเคอยู่ นอกจากชีวิตจะเจอกับวิกฤต ที่จะบังคับให้เราต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง การเปลี่ยนเพราะวิกฤตเป็นเรื่องเจ็บปวดมาก การจะรอให้ชีวิตเจอวิกฤตแล้วค่อยเปลี่ยนแปลง จึงไม่ใช่ทางเลือกที่ควรทำนัก

ความเร่งด่วนจะไม่เกิดขึ้นเอง มันจะต้องมาจากการเห็นความสำคัญของปัญหา โดยการจินตนาการจากคำถามว่า “หากเรายังนอนทับปัญหานี้ต่อไป สิ่งที่แย่ที่สุดที่จะเกิดขึ้นกับเราจะเป็นอย่างไร”

การที่ผมเป็นคนไม่ค่อยยิ้ม แต่เมื่อใช้ชีวิตมาสักระยะหนึ่ง พบว่า บุคคลิกของคนที่ประสบความสำเร็จและคนรวย มักจะเป็นคนที่มนุษยสัมพันธ์ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส ดูน่าคบหา ผมก็ชอบคนเช่นนั้น แต่ไม่เคยคิดว่าตัวเองจำเป็นจะต้องทำ

====

การเห็นปัญหาจึงเป็นแค่จุดเริ่มต้น และอาจจะยังไม่พอให้เราเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ ความเร่งด่วนจึงเป็นสิ่งที่เราจะต้องทำให้เกิดขึ้น ผมต้องลองพิจารณาว่าสิ่งที่แย่ที่สุดที่จะเกิดขึ้นถ้าผมยังไม่ยิ้ม มันจะเป็นอย่างไรได้บ้าง 

มีคำกล่าวว่า “ผลลัพธ์ในชีวิตของเรา สะท้อนตัวตนที่เราเป็น” ดังนั้นผมเลยย้อนมาดูผลลัพธ์ที่เห็นชัดที่สุดก็คือ “เงินในกระเป๋า” จึงเห็นได้ชัดเลยว่า มีน้อยกว่าที่ควร ผมเองยังไม่พอใจกับรายได้ของตัวเอง นั่นแสดงว่า “ตัวตนที่ผมเป็น” ในตอนนี้ยังไม่โอเคความเร่งด่วนจึงเกิดขี้นทันที

เมื่อผมคิดว่า ถ้ายังไม่ยิ้มแบบนี้ ชีวิตคงจะถังแตกไปเรื่อยๆ แล้วมันจริงซะด้วย เห็นคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิต เค้ายิ้มแย้มแจ่มใสกันทุกคน ว่าแต่ คิดได้แล้ว จะเปลี่ยนยังไงดีล่ะ

====

4. ออกเดินทาง เพื่อแก้ปัญหา

“การแก้ปัญหา ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ แค่นั่งคิด
แม้ว่าจริงๆ แล้วการแก้ปัญหา ก็คือการพลิกความคิดนั่นเอง”

ฟังแล้วงงมั้ยครับ สิ่งที่ผมอยากสื่อก็คือ การแก้ปัญหานั้นจะง่ายดาย แบบพลิกความคิดเลย ถ้าเรารู้วิธี แต่ขั้นตอนกว่าที่จะรู้วิธี เราจำเป็นต้องออกแรงเดินทางไปค้นคว้า ไปหาผู้รู้ หรือหาวิธีการมาครับ นั่งคิดเองไม่ได้ เพราะหากมันเป็นปัญหาได้ มันต้องใหญ่เกินกรอบความคิดของเราในปัจจุบันแน่นอน

คนที่ “ฝึกเจริญสติ” มาอย่างดีแล้วเท่านั้น ที่จะมีปัญญาที่สามารถทะลุทะลวงเข้าไปพิจารณาอดีตของตัวเอง จนเจอที่มาของนิสัยของตัวเองได้

หากเรายังไม่แก่กล้าถึงเพียงนั้น แนะนำให้หา “โค้ช” ไปปรึกษาในเรื่องที่เราติดขัด หรือไปเข้า “อบรมสัมมนา” ในคอร์สที่จะพลิกมุมมองพลิกชีวิตของตัวเองได้ หรืออย่างน้อยที่สุด “อ่านหนังสือ” ด้านการพัฒนาตัวเอง ให้ได้ข้อมูลใหม่ๆมาพัฒนาชีวิต

====

ส่วนตัวผม ในช่วงวัย 25-30 ก็ได้ไปเรียนรู้เพื่อพัฒนาตัวเองจากหลากหลายที่ ไม่ว่าจะไปคอร์สปฏิบัติธรรม เข้าสัมมนา ฝึกเจริญสติ เรียนศาสตร์โค้ชชิ่ง อ่านหนังสือหลายสิบเล่ม เพราะผมเชื่อว่ายังมีปัญหาหรือจุดบอดอีกมาก ที่ผมยังไม่รู้ว่ามี

และสิ่งเหล่านี้จะเป็นเครื่องมือที่จะมาช่วยผมได้ในอนาคต และข้อดีของการออกเดินทางก็คือ ระหว่างทางที่เราจะเดินไปแก้ปัญหานึงนั้น โดยรู้ตัวและบางครั้งก็ไม่รู้ตัว เราได้แก้ปัญหาเรื่องอื่นๆในชีวิตไปได้อีกมากเลยทีเดียว

แม้ว่าผมจะยังยิ้มไม่เก่งอยู่ แต่ผมเข้าใจชีวิตมากขึ้น รู้จักคนมากขึ้น ยอมรับความแตกต่างของคนได้มากขึ้น โดยไม่รู้ตัว ผมเริ่มเป็นคนรับฟังคนเก่ง มนุษย์สัมพันธ์ดี และมีแฟนที่น่ารัก อันหลังไม่เกี่ยวกับนิสัย แต่เป็นผลพลอยได้ครับ

====

5. นิสัยใหม่ ทำให้ยั่งยืน

“ไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่ทำครั้งเดียวแล้วได้ผล นอกจากเราจะเป็นคนสร้างนิสัยใหม่ขึ้นมา”

ในเมื่อนิสัยเก่าๆเค้าใช้เวลาสะสมมาหลายปี ทำให้เรากลายเป็นคนแบบนี้ได้ การสร้างนิสัยใหม่ ก็ต้องใช้เวลา หากเราคาดหวังจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมอย่างรวดเร็ว ย่อมจะผิดหวัง

ดังนั้นต้องเผื่อใจ และค่อยๆทำมันทีละนิด แต่บ่อยๆ ซึ่งในตอนแรกๆมักจะรู้สึกฝืน นั่นก็แปลว่ามาถูกทางแล้วครับ

ผมจึงต้องเริ่มฝึกที่จะยิ้มกับกระจกทุกเช้า เจอใครก็เตือนตัวเองว่าให้ยิ้ม ทั้งๆ ที่ในใจก็วิพากษ์วิจารณ์ตัวเองอยู่ด้วย แต่ผมรู้ว่า นิสัยใหม่ ก็ต้องเปลี่ยนความคิดใหม่ ไอ้ความคิดเดิมๆ มันจะยังไม่ทิ้งผมไปไหนหรอก

แต่หากเราทำนิสัยใหม่ มากเข้า บ่อยเข้า นานพอ ความคิดใหม่ก็จะเสียงดังความความคิดเดิมได้เอง อีกครั้ง สิ่งสำคัญคือ เราต้องมีสติ ในการใช้ชีวิตทุกวัน อย่าปล่อยให้อารมณ์ ความขี้เกียจ และความคุ้นชินเดิมๆ มันลากเรากลับไปได้ เพราะนั่นเท่ากับเรายอมแพ้กับชีวิตและอนาคตของตัวเอง

====

ไม่จำเป็นว่าเราต้องอายุน้อยกว่า 30 ที่จะทำตามเทคนิคเหล่านี้ได้ ขอแค่หัวใจเราอายุน้อยกว่า 30 ที่ยังมองว่าอนาคตยังมีความหวัง ยังอยากเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อให้วันนี้ดีที่สุด และเพื่อวันพรุ่งนี้ที่จะดีกว่า

เทคนิคทั้ง 5 ข้อนี้ ก็จะช่วยคุณได้มากๆเลยละครับ แม้ผมไม่รู้สาเหตุในอดีตว่าทำไมตัวเองไม่ชอบยิ้ม แต่ด้วยการเปลี่ยน Mindset และการฝึกทุกวัน ตอนนี้เมื่ออายุ 40 กว่าปี ผมเริ่มยิ้มได้อย่างเป็นธรรมชาติแล้ว เสียงในหัวของผมเงียบลงไป และจะทำให้ผมยิ้มเก่งยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ถ้าเจอกับผมก็แวะเข้ามาหามาชวนคุยได้ครับ ผมไม่ดุ รับรอง ^__^

เมื่อปรับ Mindset ของตัวเองได้แล้ว ผมเชิญชวนทุกท่านให้มาทบทวน 4 คุณสมบัติของผู้นำยุคใหม่ ว่าคุณพร้อมหรือยังที่จะเป็นผู้นำในโลกธุรกิจที่เต็มไปด้วยความผันผวนเช่นนี้ คลิกอ่านที่นี่

====

บทความโดย CEO เรือรบ – ผู้ก่อตั้ง Learning Hub Thailand / ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาภาวะผู้นำ

ถ้าคุณสนใจเรียนรู้และฝึกฝนพัฒนา Mindset และทักษะของผู้นำยุคใหม่ ผมมีหลักสูตร The New Leadership Skills เพื่อพัฒนาให้คุณเป็นผู้นำที่พร้อมเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจยุคใหม่ คลิกดูรายละเอียดที่นี่

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

เทคนิคระบุประเภทปัญหาเพื่อแก้ปัญหายาก ๆ ให้จบได้จริง

เทคนิคระบุประเภทปัญหาเพื่อแก้ปัญหายาก ๆ ให้จบได้จริง

ถ้าหากเรามีมนต์วิเศษ ดีดนิ้วแล้วทำให้ปัญหาหายไปได้ คุณคิดว่าดีหรือไม่ครับ

ผมคิดว่าดีนะ ส่วนตัวอยากได้แบบนั้นเลย (เหมือน Thanos ใน The Avengers) แต่ในชีวิตจริงมันไม่มีอะไรแบบนั้นนี่สิ ซึ่งปกติแล้วผมมักจะเจอแต่คนบ่นว่า…
 
“สู้กับปัญหาเต็มที่แล้ว แต่จัดการไม่สำเร็จเสียที โดนปัญหาสู้กลับทุกที”
“พยายามจัดการปัญหา แต่กลับมีคนไม่เห็นด้วย เจอคัดค้าน ต่อต้าน หรือเจอตอ”
“คิดว่าตัวเองตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว แต่ผลลัพธ์ไม่เหมือนที่คาดการณ์เอาไว้เลย”
====
 
ตัวอย่างทั้งหมดนี้ คือเรื่องที่หลายคนเจอกันเป็นปกติอยู่แล้ว
 
ต้นเหตุสำคัญของการเกิดภาวะเหล่านี้ก็คือ … การที่เรารีบร้อนแก้ปัญหามากจนเกินไป
 
ใช่แล้วครับ ปัญหาที่เกิดจากการแก้ปัญหามีต้นเหตุมาจากการรีบร้อนกระโจนเข้าไปแก้ปัญหานั่นเอง
ก่อนจะงุนงงกับถ้อยคำมากไปกว่านี้ ผมขอพาทุกคนมาทำความเข้าใจเรื่องนี้กันดีกว่าครับ
====
หนึ่งในเคล็ดลับที่สำคัญของนักแก้ปัญหาชั้นยอดก็คือ…
 
“การรู้ว่าตัวเองกำลังเผชิญกับปัญหาประเภทไหนอยู่”
 
คุณอาจมีคำถามว่าปัญหามีกี่ประเภทกันแน่หลังจากอ่านประโยคด้านบนจบ
 
ก่อนจะอธิบาย ผมอยากให้คุณดูตัวอย่างการรายงานปัญหาเหล่านี้ก่อนครับ
====

1. ที่โรงงานของเรากำลังขาดทุน คนงานก็บ่นว่าถังขยะไม่พอ หัวหน้าแผนกการเงินกับฝ่ายผลิตทะเลาะกันรุนแรงมาก รปภ. นั่งหลับ เดือนที่แล้วเพิ่งเกิดเหตุไฟไหม้ แต่ยังจับมือใครดมไม่ได้ ประกันไม่ยอมจ่ายเพราะคิดว่ามีการวางเพลิงโดยทีมผู้บริหาร ผู้บริหารฝ่ายการตลาดเพิ่งลาออก หัวหน้าไลน์ผลิตที่ 3 คุมลูกน้องไม่อยู่เพราะอายุน้อยกว่า พนักงานกะกลางคืนแอบเสพยาเสพติด ชาวบ้านรอบโรงงานบ่นว่าโรงงานเราเป็นโรงงานที่ไร้ธรรมาภิบาล เพราะชอบปล่อยน้ำเสียลงคลอง ฯลฯ

2. จากการฟังปัญหาผ่านการสัมภาษณ์พนักงาน 20 คนจาก 5 แผนก และหัวหน้าแผนกต่างๆ แล้ว สรุปได้ว่าเรามีปัญหาดังนี้
A. การเงินที่ขาดทุน
B. ยอดขายที่ตกลงจากการโดนคืนสินค้า
C. ความปลอดภัยจากการชำรุดเกี่ยวกับไฟในโรงงาน
D. พนักงานกะกลางคืนมีการซื้อขายและเสพยาเสพติด
E. ชาวบ้านร้องเรียนโรงงานผ่านหน่วยงานราชการ 5 ครั้งใน 1 เดือน
F. การเคลมประกันที่ไม่คืบหน้า

3. ผมคิดว่าเหตุไฟไหม้อาจเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร หรือไม่ก็มีใครไปทำให้เกิดประกายไฟ

4. จากการตรวจสอบกล้องวงจรปิด และสถานที่แวดล้อมแล้ว ได้ข้อสรุปว่าเกิดไฟฟ้าลัดวงจรบริเวณเครื่องจักร A แล้วระบบตัดไฟไม่ทำงานเนื่องจากมีอายุ 15 ปีแล้ว (ซึ่งเกินกำหนดกว่าที่ผู้ผลิตแจ้งไว้ว่าควรเปลี่ยนทุก 5 ปี)

5. ระบบตัดไฟที่ผ่านเงื่อนไขความปลอดภัยมี 2 รุ่น รุ่นนึงจากประเทศเยอรมัน รับประกัน 3 ปีราคา 3 ล้านบาท อีกรุ่นจากประเทศไทย ราคา 1 ล้านบาท

6. ตามที่เราตัดสินใจจะแก้ปัญหาการตรวจสอบกระบวนการภายในของเรา ผมว่าเราต้องพิจารณากันแล้วว่าจะตั้งหน่วยงานตรวจสอบภายใน หรือจ้าง Outsource Agent มารับผิดชอบ
====
 
หลังจากอ่านทั้ง 6 ข้อด้านบนแล้ว นักแก้ปัญหาจะทำการพิจารณาทีละข้อดังนี้
 
ในข้อ 1 ปัญหาเยอะ และยุ่งเหยิงมาก เราควรลิสต์ปัญหาออกมาเป็นข้อๆ ก่อน ซึ่งถ้าทำตามนั้นเราจะได้ข้อ 2
ข้อ 2 เมื่อเห็นปัญหาแล้ว เราควรพิจารณาความสำคัญกับปัญหาต่าง ๆ เพื่อเรียงลำดับการแก้ไขปัญหา เพราะเรามีทรัพยากรจำกัด โดยเฉพาะ ‘เวลา’
 
ข้อ 3 เป็นกรณีการคาดเดา (โดยใช้ความคิดเห็น) เกี่ยวกับสาเหตุในการเกิดปัญหา ซึ่งเราควรค้นหาสาเหตุที่แท้จริง (ความจริงไม่ใช่ความคิดเห็น) เพื่อเข้าใจปัญหานั้นจริงๆ
 
ข้อ 4 เรารู้แล้วว่าสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาคืออะไร ต่อไปเราก็จะสามารถคิดหาทางเลือกในการแก้ปัญหาได้แล้ว
 
ข้อ 5 เป็นการตัดสินใจเลือกวิธีแก้ปัญหา โดยอาจจะต้องปรึกษาผู้มีอำนาจ หรือพิจารณาจากงบประมาณร่วมด้วยก็ได้
 
ข้อ 6 เป็นการตัดสินใจเลือกวิธีการแก้ปัญหา เช่นเดียวกับข้อ 5 แต่เพิ่มการวิเคราะห์ทางเลือกแต่ละทางแบบลงลึกมากขึ้น
====
 
ทั้งหมดนี้คือตัวอย่างที่บ่งชี้ว่า ปัญหาที่แตกต่างกันต้องการการตอบสนองที่แตกต่างกัน
 
ถ้าเรามัวแต่อยากรีบกระโจนเข้าไปแก้ปัญหาทันทีที่รู้ว่าเกิดปัญหา โดยยังไม่ได้ผ่านขั้นตอนทั้งหมดนั้นคิดว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไรครับ
 
ไม่รู้ว่ามีปัญหาอะไรบ้าง
ไม่รู้ว่าควรเริ่มแก้ปัญหาไหน (ปัญหาไหนสำคัญแลพะเร่งด่วนที่สุด)
 
ไม่รู้ว่าควรใช้วิธีไหนในการแก้ปัญหา
 
ถึงตรงนี้คุณน่าจะพอมองเห็นว่าการที่ผมบอกให้ทุกคนชะลอความต้องการแก้ปัญหาก่อนจะลงมือแก้ปัญหาเป็นคำแนะนำที่ดีกว่า
อีกหนึ่งต้นเหตุสำคัญที่ทำให้คุณแก้ปัญหาไม่ได้ คือ ต้นทุนจม เรียนรู้เรื่อง ต้นทุนจม อคติทางความคิดที่ทำให้คุณตัดสินใจผิดพลาด คลิกที่นี่
====
 
ซึ่งถ้าคุณอยากเรียนรู้เรื่องของประเภทปัญหา และวิธีการจัดการกับปัญหาให้ชัดเจนมากขึ้น
 
ผมขอเชิญชวนทุกคนมาเรียนรู้ร่วมกันในหลักสูตร  Problem Solving & Decision Making  
ซึ่งผมจะมาบอกเทคนิควิธีการลำดับความสำคัญและระบุประเภทของปัญหาอย่างลงลึก
ดูรายละเอียด คลิกที่นี่
 
เพราะการเริ่มต้นแก้ปัญหาที่แท้จริง เริ่มจากการเข้าใจว่ามันเป็นปัญหาประเภทไหนก่อน
แล้วพบกันนะครับ
====
 
บทความ โดย
อ.ป้อบ มาติก ตั้งตรงจิตร
CFA, FRM
Team Persuasion and Organizational Negotiator
 
Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

5 เทคนิครับมือกับเพื่อนร่วมงานเจ้าปัญหา

ในชีวิตของคนเราต้องพบเจอกับผู้คนมากมายหลายประเภท บางคนคอยช่วยเหลือและสนับสนุนให้เราทำสิ่งต่างๆให้สำเร็จ

ในทางตรงกันข้าม ก็มีบางคนที่คอยกลั่นแกล้ง ขัดขวาง เอาเปรียบ ใส่ร้ายป้ายสี มองโลกในแง่ลบ และทำให้เราหมดกำลังใจที่จะไล่ตามความฝัน

ซึ่งเราให้คำนิยามกับคนประเภทนี้ว่าเป็น “มนุษย์เจ้าปัญหา” หรือ  “เพื่อนร่วมงานเจ้าปัญหา”

เพื่อนร่วมงานเจ้าปัญหา คือ คนที่มักทำให้คนรอบข้างเกิดความยุ่งยาก หงุดหงิด รำคาญใจ และบางทีอาจทำให้ผู้อื่นเสียหายได้

====

พวกเขาอาจเป็นเจ้านาย ลูกน้อง ลูกค้า เพื่อน หรือคนในครอบครัวของคุณ ซึ่งวิธีที่ง่ายที่สุดเมื่อเจอกับคนเหล่านี้ก็คือ การเดินหนี หรือไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วย

อย่างไรก็ตามวิธีนี้ควรเป็นทางเลือกสุดท้าย เพราะหลายครั้งคุณอาจตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่อาจวิ่งหนีปัญหาได้ ยิ่งไปกว่านั้น บางครั้งคุณจำเป็นต้องรักษาความสัมพันธ์อันดีกับคนเหล่านี้ด้วย เพราะฉะนั้น คุณจึงควรเรียนรู้วิธีการรับมือกับเพื่อนร่วมงานเจ้าปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ

1) อย่าเกลียดชัง แต่จงขอบคุณมนุษย์เจ้าปัญหา

เมื่อคุณเจอกับมนุษย์เจ้าปัญหา คุณอาจรู้สึกโกรธ เกลียดชัง หรือท้อแท้สิ้นหวัง ความรู้สึกในแง่ลบเหล่านี้เป็นสิ่งที่คุณควรก้าวข้ามและผ่านมันไปให้ได้ เพราะมันเป็นตัวบ่อนทำลายความสุขของคุณ

วิธีการที่ดีที่สุดก็คือ คุณควรเปลี่ยนทัศนคติ โดยคิดว่าพวกเขาเป็นสิ่งที่ท้าทายในชีวิต

กล่าวคือ คุณควรคิดว่าการใช้ชีวิตหรือการทำงานกับคนเจ้าปัญหาเป็นบททดสอบหนึ่ง ซึ่งสิ่งนั้นจะทำให้คุณกลายเป็นคนที่แข็งแกร่งขึ้น

ด้วยเหตุนี้ คุณจึงควรขอบคุณพวกเขาที่ทำให้คุณรู้จักความอดทนอดกลั้น และได้พัฒนาตนเอง

วิธีการนี้ดูเหมือนว่าเป็นวิธีการที่ยาก แต่มันเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะหากคุณสามารถจัดการกับความรู้สึกของตนเองได้ คุณก็จะสามารถรับมือกับมนุษย์เจ้าปัญหาได้เช่นกัน

====

2) ใช้มนุษย์เจ้าปัญหาเป็นตัวกระตุ้นสิ่งดีๆในตัวคุณ

อีกหนึ่งวิธีในการรับมือกับมนุษย์เจ้าปัญหาก็คือ การใช้สิ่งเลวร้ายที่พวกเขาทำเป็นแรงผลักดันให้คุณก้าวไปข้างหน้า

ยกตัวอย่างเช่น ในขณะที่คุณกำลังนั่งทำงานอย่างหนัก เพื่อนร่วมงานของคุณได้นั่งจับกลุ่มนินทาและพูดคุยเรื่องไร้สาระทั้งวัน

แน่นอนว่าหากคุณเจอกับสถานการณ์เช่นนี้ คุณต้องอารมณ์เสีย หงุดหงิด และไม่พอใจเป็นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตาม คุณไม่ควรปล่อยให้ตัวเองจมกับความคิดด้านลบเหล่านั้น

สิ่งที่คุณควรทำก็คือ การเปลี่ยนความรู้สึกแย่ๆให้กลายเป็นพลังเชิงบวก

ให้คุณคิดซะว่ามันไม่ใช่เรื่องของคุณ ดังนั้นคุณจึงไม่ควรเสียเวลาหรือใส่ใจกับการกระทำของคนเหล่านั้น และจงปล่อยให้พวกเขาทำต่อไปเพราะคุณไม่สามารถเปลี่ยนแปลงพวกเขาได้สำหรับตัวคุณเองก็ควรมุ่งมั่นตั้งใจสร้างสรรค์สิ่งดีๆ พัฒนาตนเอง และใช้อุปสรรคทั้งหลายเป็นตัวกระตุ้นไฟในตัวคุณ

====

3) ใช้เวลากับพวกเขาให้มากขึ้น

แทนที่คุณจะวิ่งหนีปัญหา ให้คุณลองเปลี่ยนแนวทางดูบ้าง กล่าวคือ คุณอาจลองเข้ากลุ่ม หรือใช้เวลากับพวกมนุษย์เจ้าปัญหาให้มากขึ้น

แม้วิธีการนี้อาจทำให้คุณรู้สึกว่ากำลังบีบบังคับจิตใจตนเองก็ตาม แต่การคลุกคลีและร่วมทำกิจกรรมต่างๆกับคนเหล่านี้จะทำให้พวกเขาเปิดใจและยอมรับคุณมากขึ้น

ในขณะเดียวกัน ก็จะทำให้คุณรู้จักและเข้าใจพวกเขามากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งวิธีนี้อาจทำให้คุณทราบว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้พวกเขามีพฤติกรรมในการสร้างปัญหาหรือก่อความวุ่นวายให้กับคนรอบข้างตลอดเวลา

ทั้งนี้ เมื่อคุณเข้าใจพวกเขามากขึ้น คุณอาจได้ปรับมุมมองหรือทัศนคติของคุณที่มีต่อพวกเขาก็เป็นได้ และคุณก็จะสามารถควบคุมอารมณ์และจิตใจตนเองได้มากขึ้นเช่นกัน

สิ่งนี้จะช่วยให้คุณสามารถใช้ชีวิตอยู่กับมนุษย์เจ้าปัญหาได้อย่างเข้าใจ และราบรื่นยิ่งขึ้น

====

4) ตั้งเป้าหมายของตัวคุณเอง

การตั้งเป้าหมายเป็นหนึ่งในวิธีการรับมือกับคนเจ้าปัญหาพร้อมๆกับการพัฒนาตนเอง กล่าวคือ ให้คุณลองตั้งเป้าหมายของตนเองที่เกี่ยวกับการรับมือกับมนุษย์เจ้าปัญหา

เช่น หากฉันเจอกับคนขี้บ่น ก้าวร้าว ซุบซิบนินทา ฉันจะต้องไม่รู้สึกแย่ หงุดหงิด หรือหมดกำลังใจ นอกจากนี้ ฉันจะพยายามเปลี่ยนแปลงทัศนคติของคนเจ้าปัญหาให้ได้ เป็นต้น

คุณอาจตั้งเป้าหมายเล็กๆก่อน และค่อยๆขยับเป้าหมายให้สูงขึ้นเรื่อยๆ วิธีการนี้จะทำให้คุณรู้สึกท้าทาย และเห็นว่าการรับมือกับคนเหล่านี้เป็นเรื่องสนุก ทั้งยังช่วยให้คุณมีโอกาสในการพัฒนาตนเองอีกด้วย

กล่าวคือ หากคุณอดทนกับคนเจ้าปัญหาและยังสามารถทำงานร่วมกับเขาได้ ก็จะทำให้คุณเป็นคนใจเย็นขึ้น ใจกว้างขึ้น และอดทนมากขึ้น

====

5) พยายามทำความเข้าใจและช่วยเหลือมนุษย์เจ้าปัญหา

บางคนอาจเป็นมนุษย์เจ้าปัญหาด้วยเหตุผลบางประการ ยกตัวอย่างเช่น บางคนเผชิญกับสิ่งเลวร้ายในชีวิตหรือมีปัญหาทางร่างกาย จิตใจ หรืออารมณ์ และสิ่งเลวร้ายเหล่านั้นจึงส่งผลต่อพฤติกรรมการแสดงออกของพวกเขาจนทำให้เป็นมนุษย์เจ้าปัญหาในปัจจุบัน

เพื่อเป็นการช่วยให้พวกเขามีพฤติกรรมที่พึงประสงค์มากขึ้น คุณควรปฏิบัติต่อเขาอย่างที่คุณต้องการให้เขาปฏิบัติต่อคุณ

อย่างไรก็ตาม คุณอาจต้องทำใจยอมรับว่า เขาอาจปฏิบัติต่อคุณได้ไม่ดีเท่าที่คุณปฏิบัติต่อเขา นั่นเป็นเพราะปมปัญหาที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ดังนั้น คุณควรให้เวลากับพวกเขา พยายามทำความเข้าใจ และช่วยเหลือพวกเขาเมื่อมีโอกาสด้วย

บางครั้งมนุษย์เจ้าปัญหาก็มีมากกว่าหนึ่ง และในหลายครั้งพวกเขาก็เป็นต้นเหตุสำคัญของความขัดแย้งด้วย เรียนรู้วิธีจัดการความขัดแย้งในทีมฉบับฉุกเฉิน คลิกที่นี่

====

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากพัฒนาทักษะการทำงานร่วมกับมนุษย์เจ้าปัญหา แก้ไขความขัดแย้งในทีมและพัฒนาให้ทีมร่วมมือร่วมใจกันทำงานได้ดียิ่งขึ้น ขอแนะนำหลักสูตร Team Communication & Collaboration คลิกที่นี่

Source: http://www.lifehack.org/312503/encountered-difficult-people-and-wanna-escape-you-should-deal-with-them-these-5-ways

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 094 959 2645

5 พฤติกรรมที่คนสำเร็จจะไม่มีวันทำอย่างแน่นอน

ไม่ว่าคุณจะอยากประสบความสำเร็จในด้านใดก็ตาม จะเป็นการงาน อาชีพ งานอดิเรก การใช้ชีวิต ฯลฯ โลกมีกฎสากลอยู่แล้วในการจะประสบความสำเร็จ แต่ก็มีบางสิ่งที่คุณต้องหลีกเลี่ยง

ต่อไปนี้เป็น 5 พฤติกรรม ที่ต้องหลีกเลี่ยง มาลองดูกันว่าคุณตกหลุมพรางเหล่านี้บ้างแล้วหรือยัง

1.การเลี่ยงความรับผิดชอบ

“ราคาของความยิ่งใหญ่ ก็คือความรับผิดชอบ”

Winston Churchill

อย่างแรกที่คนสำเร็จไม่ทำกันคือ “การโทษคนอื่น หรือหาคนรับผิด” แม้กระทั่งในความคิดก็เถอะ เมื่อบางอย่างผิดพลาดไป อะไรคือปฏิกิริยาแรกของคุณ?

สำหรับคนสำเร็จ เค้าเลือกที่รับความผิดนั้นไว้กับตน แทนที่จะโทษคนอื่นหรือโทษโชคชะตา นั่นจึงทำให้เขาได้ “เรียนรู้” จากความผิดพลาดนั้น แล้วก็ไม่ผิดซ้ำอีก

====

2.การผัดวันประกันพรุ่ง

“การผัดวันประกันพรุ่ง คือพฤติกรรมแย่ๆที่เลื่อนไปถึงวันมะรืน ในขณะที่ควรทำตั้งแต่เมื่อวานซืน”

Napoleon Hill

คนสำเร็จนั้นเน้น “ทำทันที” โดยไม่สนว่าเป็น “เวลาที่เหมาะสม” หรือไม่ พวกเขาทำงานหนักและไม่เคยยอมแพ้ โดยไม่คำนึงถึงสภาพแวดล้อมว่าต้องเอื้ออำนวย

ความลับของความสำเร็จนั้นมาจาก “การสะสมความสำเร็จเล็กๆ” ด้วยการทำซ้ำ เป็นระยะเวลานานๆ ไม่ใช่การท่าให้เกิดความสำเร็จยิ่งใหญ่ครั้งเดียว

====

3.การตามกระแส

“ สิ่งที่ยิ่งใหญ่ ไม่ได้สำเร็จจากการที่ทำตามแนวโน้มหรือกระแสนิยมของคนทั่วไป”

Jack Kerouac

ในแต่ละวัน คนเราผลิตข้อมูลมากมายมหาศาลจนล้นทะลัก จึงง่ายที่เราจะกระโดดเข้าไปสนใจสิ่งใหม่ๆอยู่เสมอ เหมือนเป็นโรคกลัวตกเทรนด์ 

การทำเช่นนี้ ทำให้เราไม่เหลือเวลาสำหรับการทำความเข้าใจตัวเองกับสิ่งที่ตนทำอยู่อย่างลึกซึ้ง คนสำเร็จใช้พลังงานไปกับการทำความเข้าใจกับเป้าหมายของตนเองโดยไม่สนใจเรื่องอื่น

ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการสำเร็จในด้านการขายและการตลาด คุณอาจเลือกที่จะศึกษาลงลึกไปในด้านจิตวิทยามนุษย์ ไม่ใช่การมองหาวิธีโปรโมทแคมเปญใหม่ๆ บนโซเชียลมีเดียแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

====

4.ศิลปินเดี่ยว

“ ชีวิตไม่ใช่การแสดงคนเดียว แต่เป็นการร่วมมือกันอย่างยิ่งใหญ่ และเราจำเป็นต้องรวบรวมคนรอบตัวที่ใส่ใจและสนับสนุนเรา”

Tim Gunn

สิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่คนสำเร็จทำคือการแวดล้อมไปด้วยคนสำเร็จรอบตัว เขาจะไม่อยู่เพียงลำพัง เขาจะมีเครือข่ายและกลุ่มมืออาชีพ เขาจะอยู่ท่ามกลางคนฉลาด ที่สามารถทำเรื่องแตกต่างได้

นี่คือความจริง ไม่ว่าคุณจะอยากสำเร็จในเรื่องยิ่งใหญ่เพียงใด หรือแม้กระทั่งอยากลดน้ำหนักให้สำเร็จ มีการศึกษาวิจัยว่า เราจะลดน้ำหนักได้มากกว่าถ้าทำด้วยกันเป็นกลุ่ม

==== 

5.ขาดศรัทธา

“เชื่อในตนเอง มีศรัทธากับความสามารถของตน หากไม่มีความถ่อมตนและมั่นใจอย่างมีเหตุผลในพลังของตัวเองแล้วล่ะก็ คุณจะไม่มีทางประสบความสำเร็จและมีความสุขได้เลย”

Norma Vincent Peale

เรื่องนี้ไม่ใช่การคิดบวกหรือจินตนาการเข้าข้างตัวเอง “การมั่นใจอย่างมีเหตุผล” จะทำให้คุณสำเร็จในสิ่งที่วางเป้าหมายไว้

หากคุณไม่คิดแม้แต่ว่าจะทำได้สำเร็จแล้วล่ะก็ คุณจะไม่ลองทำด้วยซ้ำ ฉะนั้นคุณต้องบ่มเพาะความเชื่อและศรัทธาในตนเองให้เกิดขึ้น แม้ว่าชีวิตกำลังถอยหลังและยากลำบากอยู่ก็ตาม

====

การหลีกเลี่ยงความผิดพลาดทั้ง 5 ประเภทนี้ จะช่วยให้คุณบรรลุความสำเร็จในการงานและเป้าหมายส่วนตัวได้ แต่ถ้าอยากพบกับ”ความสำเร็จที่แท้จริง” แล้วล่ะก็ คุณต้องมีความสุขกับชีวิตเสียก่อน

อีกหนึ่งพฤติกรรมที่คนสำเร็จจะไม่มีวันทำคือการหยุดเรียนรู้อ่าน 3 เคล็ดลับที่การเรียนรู้ช่วยให้คุณประสบความสำเร็จได้มากขึ้น คลิกที่นี่

แถมท้ายกับความผิดพลาดข้อ 6. “ความไม่สมดุล” คนเรามักจะล้มเหลวเพราะไม่มีความสมดุลระหว่าง การงาน ครอบครัว เพื่อน และสุขภาพของตน การที่เราสำเร็จด้านเดียว แต่แล้วก็ล้มเหลวด้านอื่น ก็ไม่อาจทำให้เรารู้สึกเต็มเต็มชีวิตได้อย่างแท้จริง

ดังนั้น ความสำเร็จที่แท้จริง คือ “ความสุขและความสมดุล” หากคุณสามารถสร้างสมดุลให้ทุกพื้นที่ของชีวิตได้ คุณก็จะมีความสุขและกำลังใจเต็มเปี่ยม เรื่องอื่นจะไปยากอะไร จริงไหมครับ

====

ผู้บริหาร ผู้จัดการ และเจ้าของธุรกิจที่ต้องการพัฒนาการทำงานและใช้ชีวิตให้ประสบความสำเร็จสูงสุด เราขอแนะนำหลักสูตร The New Leadership Skill ดูรายละเอียดคลิกที่นี่

บทความโดย

อ. เรือรบ จิณณ์ณัฏฐ์ พรหมนุรักษ์

CEO และผู้ก่อตั้ง Learning Hub Thailand

ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาภาวะผู้นำ 

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

 

5 เคล็ดลับ อัพเกรดสมองให้ฉลาดเหมือนไอน์สไตน์

งานวิจัยบอกว่า คนทั่วไปใช้สมอง เพียงแค่ 3% จากที่ตัวเองมีอยู่ คุณคิดว่าจริงไหม?

นี่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เราไม่สามารถบรรลุศักยภาพสูงสุดของตัวเอง แถมยังสงสัยอีกว่า ทำไมบางคนถึงฉลาด มีไหวพริบมากกว่าคนอื่นจนทำให้เขาประสบความสำเร็จได้ง่ายกว่าคนอื่นๆ

‘สมอง’ อวัยวะพิเศษที่มีกลไกอัจฉริยะซึ่งคุณสามารถฝึกฝน ให้มันทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพได้ แค่คุณรู้วิธี แต่ถ้าคุณไม่รู้ ก็เปรียบเสมือนคุณซื้อคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ สเปคสูงมา แล้วไปลงซอฟแวร์รุ่นเก่าทำให้มันทำงานได้เพียง 3% เท่านั้น รู้เช่นนี้แล้วคุณรู้สึกอย่างไร?

====

‘Ron White’ เป็นแชมป์ความจำจากสหรัฐอเมริกา เขามีสมองดั่งซูเปอร์คอมพิวเตอร์จนได้รับการบันทึกลงกินเนสส์บุ๊กหลายสถิติ  เช่น การจำเลขจำนวน 28 หลัก ภายในเวลา 1.15 นาที การจำชื่อจำนวน 150 ชื่อ ภายในเวลา 20 นาที และการจดจำบทกลอนจำนวน 250 บรรทัดได้ภายในพริบตาเดียว

เขาฝึกฝนเทคนิคการเพิ่มความสามารถของสมองผ่านการจินตนาการแบบไอน์สไตน์ โดยมีเคล็ดลับในการเพิ่มความจำของสมองคนให้ทำหน้างานได้ดั่งสมองกล ด้วยการฝึกฝน 5 ขั้นตอนง่ายๆที่ใครๆ ก็ฝึกได้  ดังนี้ 

1. มุ่งประเด็นให้เด่นชัด (Focus)

ขั้นแรก คือ การโฟกัสสิ่งที่ต้องการจดจำให้ชัดเจนว่ามันคืออะไร?  มีความโดดเด่นหรือสำคัญตรงไหน ขั้นตอนนี้ถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำให้พลังของการจดจำมีประสิทธิภาพ เปรียบเสมือนกับการที่เราบันทึกข้อมูลลงในคอมพิวเตอร์ เราต้องรู้ชัดเจนว่าเรากำลังต้องการบันทึกอะไรภาพ ตัวอักษร หรือ พรีเซนเทชั่น การมีเป้าหมายเจาะจงชัดเจนเป็นขั้นแรกในการเพิ่มความจำให้มีประสิทธิภาพ

====

2. จัดทำแฟ้มบันทึก (File)

หากคุณต้องการเรียกคืนไฟล์ต่างๆ จากคอมพิวเตอร์กลับมาใช้ คุณจะต้องบันทึกโฟลเดอร์หรือไฟล์งานนั้นไว้เพื่อจะเรียกใช้ในภายหลัง ความจำต่างๆ ของคุณก็มีกลไกการทำงานแบบเดียวกับคอมพิวเตอร์นี่แหล่ะ 

ฉะนั้นเพื่อให้คุณสามารถเรียกข้อมูลกลับมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว คุณจำเป็นต้องบริหารจัดการความทรงจำ ด้วยการจัดเก็บข้อมูลไว้เป็นไฟล์แห่งความทรงจำ (Memory files) อย่างมีระบบและมีระเบียบ เพื่อจะได้เรียกใช้ได้ง่ายขึ้น

====

3. ฝึกจำเป็นภาพ (Picture)

ขั้นตอนนี้ เป็นการสร้างภาพต่างๆ เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ เนื่องจากสมองของเรามักจำภาพได้มากกว่าข้อมูลแบบอื่น เราจึงจำเป็นต้องจินตนาการถึงสิ่งที่ต้องการจำเป็นภาพที่คุ้นเคย หรือภาพที่สะดุดตา

เช่น อยากจำคำว่า การทำงานเป็นทีม (Teamwork) ก็ให้นึกเป็นภาพผู้คนกำลังร่วมมือกันทำงานอยู่ เป็นต้น 

พูดง่ายๆ ก็คือ อะไรก็ตามที่เราต้องการจำจะต้องแปลงให้อยู่ในรูปแบบของภาพเสมอเพื่อให้สมองมองเห็นและจดจำได้ หรือกล่าวได้ว่า เมื่อรู้ว่าสมองเราชอบจำเป็นภาพ  เราก็ถอดรหัสสิ่งต่างๆ ให้เป็นภาษาของสมอง เพื่อบันทึกเรื่องราวต่างๆ ลงไปได้ง่ายและมากขึ้นนั่นเอง

====

4. ตรึงให้มั่น (Glue)

ขั้นตอนนี้เป็นการเชื่อมข้อมูลที่เราต้องการจำ ให้ได้รับการบันทึกอยู่ในสมองได้นาน  Ron พบเคล็ดลับว่า การที่เราจะจำบางสิ่งบางอย่าง สิ่งนั้นต้องมีความโดดเด่นเพียงพอที่จะติดตรึงอยู่ในความทรงจำ มันต้องกระทบกับความรู้สึก (Feeling) ของเราอย่างรุนแรง

หากคุณลองสังเกตช่วงชีวิตที่ผ่านมา คุณจะเห็นว่าความจำจะติดตรึงอยู่ได้ก็ต่อเมื่อภาพนั้นมีความ เคลื่อนไหว มีความรู้สึก หรือมีสิ่งพิเศษบางอย่างมาเชื่อมโยงกับเรา

และนี่เป็นคำตอบว่าทำไมคุณจึงสามารถนึกถึงรายละเอียดของเรื่องเศร้าที่ทำให้คุณเสียใจมากๆ หรือเรื่องที่ประทับใจสุดๆ เมื่อ 20 ปีก่อนได้อย่างแม่นยำ

เทคนิคของรอนคือ ภาษาภาพที่คุณสร้างขึ้นมาเพื่อจะจดจำ นั้นจะต้องเป็นภาพที่ติดตรึงในความทรงจำได้ดี มีความเคลื่อนไหว มีความรู้สึกร่วมอยู่ในนั้นด้วย

และหากเป็นภาพที่มีความพิเศษมากก็จะยิ่งช่วยให้จำได้ดีขึ้น ทำได้ง่ายๆ ด้วยการติดตรึงความจำเอาไว้ ด้วยการจินตนาการถึงความรู้สึกและการเคลื่อนไหวต่างๆ ลงไปในเนื้อหาของสิ่งที่จะจำนั่นเอง

====

5. หมั่นทบทวน (Review)

การทบทวนสิ่งที่บันทึกไว้ในความทรงจำ เป็นอีกขั้นตอนที่ทำให้เราสามารถจำสิ่งต่างๆ ได้ในระยะยาว เปรียบเทียบกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ที่ต้องมีการรีเฟรช (Refresh) หรือ อัพเกรด (Upgrade) โปรแกรมอยู่เสมอ

Ron ได้แนะนำเทคนิคง่ายๆ สำหรับขั้นตอนนี้ไว้ว่า ถ้าคุณต้องการจดจำชื่อผู้คนที่ได้พบมา เมื่อตื่นขึ้นมาในเช้าวันใหม่  ให้ถามตัวเองว่า เมื่อวานนี้เราได้พบใครบ้าง เพื่อจะทบทวนรายชื่อของคนที่เราได้พบ แล้วดูว่ามีกี่คนที่คุณสามารถจำได้ ตรงนี้ถือเป็นแบบฝึกหัดที่ช่วยเพิ่มเติมข้อมูลลงไปในระบบบันทึกข้อมูลส่วนตัว คล้ายการ Upload ข้อมูลใหม่ใส่สมองนั่นเอง 

นักวิจัยได้นำสมองของไอน์สไตน์ มาวิเคราะห์ พบว่าไม่ได้มีขนาดใหญ่ไปกว่าคนทั่วไป เลย

ดังนั้นเราทุกคนมีสมองที่สุดอัจฉริยะอยู่แล้ว เพียงแต่ยังใช้ไม่เป็นเท่านั้น หากเราสามารถใช้ศักยภาพสมองได้เต็มที่แบบนี้ เราจะบรรลุถึงเป้าหมายและความสำเร็จในชีวิต ทั้งในด้านการงาน และชีวิตส่วนตัว ได้อย่างแน่นอน

ฝึกสมองแล้ว อย่าลืมฝึกฝนจิตใจควบคู่กันไปด้วย อ่าน ผู้นำยุคใหม่ฝึกจิตใจเพื่อสร้างทีม คลิกที่นี่

====

ผู้บริหาร ผู้จัดการ และเจ้าของธุรกิจที่ต้องพัฒนาการทำงานของสมอง ต่อยอดสู่การพัฒนา Mindset และทักษะในการทำงานเป็นผู้นำในโลกยุคใหม่ เราขอแนะนำหลักสูตร The New Leadership Skill ดูรายละเอียดคลิกที่นี่

บทความโดย

อ. เรือรบ จิณณ์ณัฏฐ์ พรหมนุรักษ์

CEO และผู้ก่อตั้ง Learning Hub Thailand

ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาภาวะผู้นำ 

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

 

เพิ่มความสำเร็จให้องค์กรด้วยการปลูกฝัง Entrepreneurship Mindset ให้ทีมงานของคุณ

เพิ่มความสำเร็จให้องค์กรด้วยการปลูกฝัง Entrepreneurship Mindset ให้ทีมของคุณ

ในฐานะเจ้าของกิจการ ผมมีหนึ่งความลับที่อยากจะมาแบ่งปัน

มันเป็นความลับในการช่วยให้ธุรกิจผ่านพ้นปัญหา ก้าวข้ามอุปสรรค และเติบโตขึ้นกว่าเดิมแม้จะพบเจอความเปลี่ยนแปลงมากมายขนาดไหนก็ตาม

และที่สำคัญที่สุด นี่คือความลับที่ผู้บริหารและเจ้าของธุรกิจเก่ง ๆ ซึ่งเคยนำพาธุรกิจให้เติบโตท่ามกลางวิกฤตไม่เคยบอกคุณมาก่อน

===

หัวใจของความสำเร็จของธุรกิจคือการพัฒนา Mindset ของคน

คนเก่งที่มีทักษะ ความสามารถ มีมันสมองเป็นเลิศ บริหารจัดการตัวเองได้ดีเยี่ยม เป็นทรัพยากรบุคคลที่ทุกบริษัทต้องการตัว แต่สิ่งสำคัญซึงเป็นรากฐานของทุกสิ่งที่กล่าวไปซึ่งน้อยคนจะพูดถึงก็คือ ทัศนคติ หรือ หลักคิด หรือ Mindset ของคน ๆ นั้น

ไม่มีประโยชน์อะไรเลยถ้าองค์กรคุณมีคนที่เก่งและฉลาดสุด ๆ แต่มี Mindset ที่ไม่ดี หรือ พูดให้ตรงกว่านั้นก็คือ มี Mindset ที่ไม่ได้ช่วยให้องค์กรเติบโต

ซึ่งหนึ่งใน Mindset ที่จะช่วยให้องค์กรก้าวข้ามปัญหาและเติบโตท่ามกลางวิกฤตได้ก็คือ  Entrepreneurship Mindset หรือ ทัศนคติของการเป็นผู้ประกอบการ

คุณอาจจะตั้งคำถามว่าเพราะอะไรพนักงานหรือทีมงานจะต้องมีทัศนคติของผู้ประกอบการด้วย ในเมื่อเขาไม่ใช่ผู้ประกอบการนี่นา จริงอยู่ครับที่ถ้ามองในนิยามหรือความหมายแบบตรงตัวแล้ว พนักงานของเราจะไม่ใช่ผู้ประกอบการโดยตรง แต่ถึงอย่างไรทัศนคติของผู้ประกอบการก็จำเป็นต่อการทำงานแบบมืออาชีพเป็นอย่างมาก

===

ทัศนคติที่แตกต่างกันของ ‘ลูกจ้าง (Employee) กับ ‘ผู้ประกอบการ ( Entrepreneur)’

เพื่อให้คุณเข้าใจเรื่องนี้มากขึ้น ผมจะยกตัวอย่างทัศนคติหรือหลักคิดที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงของคนสองแบบ (ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับตำแหน่งงานนะครับ) นั่นคือ คนที่มองว่าตัวเองคือลูกจ้าง กับ คนที่มองว่าตัวเองคือผู้ประกอบการ คนหนึ่ง

ด้านเป้าหมาย

ลูกจ้างจะต้องการความมั่นคง (Security) VS  ผู้ประกอบการจะมองหาการเปลี่ยนแปลง (Change)

ลูกจ้างโหยหาความมั่นคงปลอดภัยเป็นชีวิตจิตใจ เขาจึงไม่กล้าเสี่ยง ไม่คิด ริเริ่ม ทำอะไรใหม่ ๆ และหวาดกลัวปัญหา อุปสรรค ความท้าทายที่เข้ามาเป็นอย่างมาก

ด้วยทัศนคติเช่นนี้ทำให้เขาทำอะไรแบบพอผ่านไปวัน ๆ ไม่คิด ริเริ่มทำอะไรใหม่ ๆ แม้ว่าสิ่งที่ทำอยู่จะไม่เวิร์ค หรือ ยังดีไม่สุด(มันสามารถทำให้ดีเยี่ยมกว่านี้ได้)

ส่วนผู้ประกอบการคือคนที่มองหาความเปลี่ยนแปลง เขารู้ดีว่าทุกวิกฤตและปัญหาที่ผ่านเข้ามามีโอกาสซ่อนอยู่เสมอ เขายอมรับความจริงที่ว่าทุกสิ่งในโลกล้วนเปลี่ยนแปลงและไม่แน่นอนเสมอ พวกเขาจึงไม่กลัวความเปลี่ยนแปลง ไม่กลัว ปัญหา แถมยังพยายามคิดและทำสิ่งใหม่ ๆ ให้ดียิ่งขึ้นอยู่เสมออีกด้วย

===

ด้านอารมณ์

ลูกจ้างจะหวาดกลัว (Fear) VS ผู้ประกอบการจะมีไฟ (Motivation)

สอดคล้องกับด้านเป้าหมายที่ได้บอกไป เมื่ออยู่ด้วยภาวะยึดมั่นในความมั่นคงปลอดภัย ลูกจ้างก็จะเกิดความกลัวท่วมท้นใจ คนกลุ่มนี้จะหวาดผวากับความเปลี่ยนแปลงและปัญหาต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาเป็นอย่างมาก และภาวนาไม่ให้เกิดปัญหาใดใด

รวมถึงเมื่อเกิดปัญหาขึ้นจริง ๆ พวกเขาจะเชี่ยวชาญเป็นอย่างมากในการบ่น ด่า ว่า แก้ตัว และโทษคนอื่น สิ่งอื่นนอกตัว

ส่วนผู้ประกอบการนั้นเมื่อตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด พวกเขาจึงมองว่าทุกปัญหา ทุกการเปลี่ยนแปลงคือเรื่องปกติและโอกาสที่เข้ามาให้ได้เสี่ยง  พวกเขามีไฟอยู่ภายในที่พร้อมจะเผชิญความท้าทายเหล่านั้นและสร้างความสำเร็จจากความท้าทายเหล่านั้นด้วย

===

ด้านคาแรคเตอร์

ลูกจ้างจะเป็นคนล้มแล้วเลิก (Vulnerability) VS ผู้ประกอบการจะเป็นคนล้มแล้วลุก (Resilience)

แน่นอนว่าทุกคนจะต้องพบเจอปัญหา อุปสรรค ความไม่สะดวกสบาย ซึ่งมีทั้งขนาดเล็กๆ ไปจนถึงขนาดใหญ่และซับซ้อน  คนที่มองว่าตัวเองเป็นลูกจ้างเมื่อพบเจอปัญหาจะเข็ดขยาด

เขาอาจไม่กล้าทำสิ่งนั้นต่อ หลีกเลี่ยงการทำอะไรที่ต้องพบเจอเรื่องคล้ายเดิม หรือ แย่ไปกว่านั้นก็คือ ไม่สามารถลุกขึ้นยืนหยัดได้ใหม่ทำให้ปัญหาลุกลามบานปลายหรือสะสมเรื้อรัง

ส่วนผู้ประกอบการคือคนจำพวก Resilience คือ ล้มแล้วลุกขึ้นใหม่อีกครั้ง คนกลุ่มนี้เหมือนคนที่ฆ่าไม่ตาย ไม่ใช่ว่าจะไม่เศร้า เสียใจ หรือไม่ท้อ ไม่เครียดเวลาเจอปัญหา พวกเขามีความรู้สึกเหล่านั้นไม่ต่างจากลูกจ้าง

สิ่งที่ต่างกันคือพวกเขากำหนดขอบเขตความเศร้าเสียใจ ผิดหวังเอาไว้ แล้วสามารถลุกขึ้นมาได้ใหม่อีกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการแก้ปัญหาหรือปล่อยวางเรื่องที่แก้ไม่ได้แล้วทำสิ่งอื่นต่อไป

===

ด้านความรับผิดชอบ

ลูกจ้างจะรับผิดชอบตามหน้าที่ (Responsibility) VS ผู้ประกอบการจะรับผิดชอบต่อผลลัพธ์ (Accountability)

นี่คืออีกหนึ่งความแตกต่างที่ส่งผลอย่างมหาศาล ลูกจ้างทำตามบทบาทหน้าที่แค่ให้เสร็จไปวัน ๆ คำว่า คุณภาพเป็นเลิศ หรือ คุณภาพเหนือกว่าความคาดหวังของลูกค้าเป็นสิ่งที่ไม่เคยอยู่ในหัวของลูกจ้าง

ส่วนผู้ประกอบการจะโฟกัสที่ผลลัพธ์ เขาอาจไม่ได้ทำตาม Job Description ที่วางไว้แบบเป๊ะ ๆ แต่เขาคำนึงถึงคุณภาพของผลลัพธ์ ความพึงพอใจของลูกค้าหรือผู้ที่เขาส่งมอบงานเป็นหลักนั่นเอง

===

สรุปองค์ประกอบของ Entrepreneurship Mindset in Organization

เมื่อเข้าใจความต่างระหว่างคนที่มองว่าตัวเอง(เป็นแค่) ลูกจ้าง กับ คนที่มองว่าตัวเองคือ ผู้ประกอบการ คนหนึ่งแล้ว คุณจะเห็นภาพแล้วว่าเพราะอะไรเราถึงควรปลูกฝังทัศนคติของผู้ประกอบการให้แก่ทีมงานของเรา

และทั้งหมดนี้คือองค์ประกอบที่สำคัญของ Entrepreneurship Mindset

  • Drive for Change (มีแรงขับดันจากภายใน)
  • Self – Motivation (สร้างไฟให้ตัวเองได้)
  • Resilience (ล้มแล้วลุก มีความถึกทน)
  • Accountability (มีความรับผิดชอบที่แท้จริง)

คำถามก็คือ แล้วเราจะปลูกฝังหรือพัฒนา Entrepreneurship Mindset ให้ทีมงานได้อย่างไร ผมจะบอกวิธีการที่ผมใช้จริงกับองค์กรของตัวเองและนำไปถ่ายทอดให้แก่องค์กรที่ผมเป็นที่ปรึกษาแล้วประสบความสำเร็จมากกว่าสิบองค์กร

===

วิธีการพัฒนา Entrepreneurship Mindset ให้พนักงาน

การจะพัฒนา Entrepreneurship Mindset ขึ้นมาได้ คุณกับพนักงานจำเป็นจะต้องรู้เรื่องสำคัญอย่างน้อย 2 เรื่อง

เรื่องที่ 1 ระยะห่างระหว่างจุดสองจุด

จุด A = ตอนนี้เราอยู่ที่ไหน

จุด B = ปลายทางที่เราต้องการจะไปอยู่ที่ไหน

คุณกับคนในทีมจำเป็นต้องพูดคุยเพื่อให้เห็นภาพจุดทั้งสองให้ชัดเจนที่สุด เพื่อจะได้มองเห็นว่าระยะห่างระหว่างจุดทั้งสองมีมากแค่ไหน ต้องใช้เวลาในการเดินทางนานแค่ไหน แล้วระหว่างทางอาจมีอุปสรรคอะไรเกิดขึ้นบ้าง

หนึ่งในอุปสรรคสำคัญของการสร้าง Entrepreneurship Mindset คือ ความคิดที่ว่าทุกสิ่งที่ทำออกมาต้องประสบความสำเร็จตั้งแต่ครั้งแรก ซึ่งแก้ได้โดยการ ปรับวิธีการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงด้วย Agile Mindset คลิกอ่านที่นี่

===

เรื่องที่ 2 Talent Level Model

นี่คือโมเดลที่เปรียบเหมือนแผนที่ Mindset ของคน มันจะช่วยให้คุณเข้าใจคนในองค์กรได้มากขึ้นว่าตอนนี้คนไหนมี Mindset อยู่ ณ จุดไหน นำไปสู่การเลือกวิธีการพัฒนา Mindset ของเขาได้ดีขึ้นด้วย

โมเดลนี้จะแบ่งคนตามระดับ Mindset ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของความคิดและพฤติกรรมของคน ๆ นั้น เราจะสามารถวิเคราะห์ได้ว่าคน ๆ นี้มี Mindset ที่เข้าใกล้ความเป็นผู้ประกอบการมากกว่าลูกจ้างหรือไม่

ประโยชน์ของการเรียนรู้ Talent Level Model

  • ทำให้เข้าใจถึงรากของพฤติกรรมและความคิดของตัวเองและคนในทีม
  • ทำให้เห็นอุปสรรคหรือสิ่งที่ฉุดรั้งการเติบโตของคนแต่ละคน
  • ได้รู้วิธีการและขั้นตอนในการพัฒนา Mindset ของเราและคนในทีมให้เติบโตอย่างยั่งยืน

ซึ่งรายละเอียดเรื่อง Talent Level Model นั้นมีเยอะมาก ไม่สามารถเขียนอธิบายอย่างละเอียดได้ในบทความนี้ ซึ่งถ้าคุณต้องการเรียนรู้และฝึกฝนโมเดลนี้ ตลอดจนเทคนิควิธีการพัฒนา Entrepreneurship Mindset ให้แก่คนในทีมของคุณ ผมมีโปรแกรมที่สามารถพัฒนาและต่อยอดให้พนักงานของคุณกลายเป็นผู้ประกอบการภายในองค์กรอย่างเต็มตัวแม้ว่าเขาจะไม่เคยมีหลักคิดหรือพฤติกรรมแบบผู้ประกอบการมาก่อนเลยก็ตาม

โปรแกรมนี้ชื่อ Corporate Entrepreneurship Program ดูรายละเอียดที่นี่ 

===

บทความโดย

อ.พีท ชวรณ ธีระกุลชัย   

Business Transformation Coach   

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

5 เคล็ดลับ เปลี่ยนคนเบื่องาน ทะยานสู่ TOP 5 ในออฟฟิศ

ยอมรับมาซะดีๆ ว่าคุณเคยแอบอิจฉาคนในที่ทำงานที่ได้ดิบได้ดี เป็นลูกรักของ Boss แถมโบนัสและเงินเดือนก็ยังเกินหน้าเกินตาเพื่อนร่วมงานไปหลายเท่า

หลายต่อหลายครั้งที่ต้องยอมรับในความสามารถของคนที่ได้ชื่อว่าเป็นพนักงานระดับ Top 5 ในออฟฟิศ

ความสามารถที่เขาเหล่านั้นไม่ได้มาเพราะโชคช่วย ไม่ได้มาจากการประจบสอพลอ

และหลายต่อหลายคนคิดว่าความสามารถของคนระดับ Top 5 เกิดขึ้นเพราะเขามี ‘พรสวรรค์’ 

====

ความเชื่อเหล่านั้นทำให้หลายคนหยุดพัฒนาการทำงานของตัวเอง ซึ่งตามมาด้วยความรู้สึกหมดหวังต่อความก้าวหน้าในงานที่ทำอยู่ จนอาจกลายเป็นอาการเบื่องานในไม่ช้า

ทั้งที่ ในความเป็นจริงแล้วพนักงานระดับ Top 5 ก็ไม่ได้มีสิ่งใดเหนือกว่าพนักงานระดับธรรมดาๆ เลย ต่างกันเพียงแค่เรื่องเดียวเท่านั้น

นั่นคือ  ‘ความสามารถในการเรียนรู้ที่รวดเร็ว’

====

โชคดีที่ความสามารถนี้เป็นสิ่งที่สามารถสร้างได้ด้วยตัวเอง และ ต่อไปนี้ คือ 5 เคล็ดลับ ที่จะทำให้คุณมีศักยภาพในการเรียนรู้รวดเร็ว

1.สร้างสภาพแวดล้อมที่สงบ

ขั้นตอนแรกของการเรียนรู้  มิใช่แค่การฟังหรือการอ่าน แต่เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้

สภาพแวดล้อมที่เงียบ สงบ และปราศจากสิ่งรบกวนที่จะมาดึงความสนใจของคุณจากสิ่งที่กำลังเรียนรู้ จะช่วยให้จิตใจเกิดสมาธิ 

TIP : ควรให้ความสำคัญกับการจัดโต๊ะทำงานและบริเวณโดยรอบให้อยู่ในบรรยากาศที่เงียบ สงบ ปราศจากสิ่งรบกวน ควรปิดเสียงเครื่องมือสื่อสาร และไม่ควรตั้งไว้บนโต๊ะทำงาน ควรเก็บไว้ในลิ้นชักเพราะจะได้ไม่รบกวนสายตาซึ่งจะส่งผลดีต่อการสร้างสมาธิในการทำงานมากกว่า

====

2.ใช้จินตนาการช่วยในการเรียนรู้

ทฤษฎีทางจิตวิทยา สรุปได้ว่า มนุษย์เรียนรู้และจดจำเป็นภาพ มิใช่คลื่นเสียงหรือตัวอักษร  ดังนั้น ก่อนจะเรียนรู้งานเรื่องใดให้คุณลองจินตนาการว่า

เมื่อคุณได้รับความรู้นั้นแล้ว จะนำไปทำอะไรบ้าง ในขณะฟังหรืออ่านให้ค่อย ๆ ลำดับความคิดเป็นภาพ

วิธีการนี้เป็นการเปิดจิตใต้สำนึกให้ค่อย ๆ ดูดซับความรู้ใหม่เข้าไปไว้ในความทรงจำ นอกจากนี้การทบทวนความรู้ใหม่ในตอนกลางคืน โดยเฉพาะ 30 นาที ก่อนนอน ยังช่วยให้จิตใต้สำนึกจดจำภาพต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน และสามารถประมวลผล

เพื่อดึงกลับมาใช้ได้อย่างแม่นยำในวันหน้า

TIP : ทุกครั้งที่ได้รับมอบหมายงานที่ไม่เคยทำ ก่อนที่จะบ่นว่ายากให้เปลี่ยนเป็นการฝึกตั้งคำถามกับตัวเองว่า

งานนี้องค์กรจะนำไปใช้ประโยชน์ด้านใดได้บ้าง ?

เราจะได้เรียนรู้สิ่งใดจากงานนี้ ?

เราจะทำงานนี้ให้ดีที่สุดได้อย่างไร ?

====

3.  จดบันทึกสั้น ๆ

รูปแบบการเรียนรู้หลัก ๆ ที่มนุษย์มีติดตัวมาตั้งแต่เป็นทารก คือ เรียนรู้จากการฟัง (AUDITORY) และเรียนรู้จากการมองเห็น (VISUAL) ซึ่งการเรียนรู้จากการมองเห็นจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการฟัง

เนื่องจากเส้นประสาทที่เชื่อมระหว่างตากับสมองมีจำนวนมากกว่าเส้นประสาทที่เชื่อมระหว่างหูกับสมองถึง 22 เท่า แต่การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพที่สุด กลับเป็นการเรียนรู้จากการใช้มือเขียนบันทึกข้อมูลหรือการโน้ตย่อ

เพราะช่วยให้เส้นประสาทที่เชื่อมระหว่างสมองกับตา และสมองกับหูสามารถทำงานไปพร้อม ๆ กัน

กล่าวคือในระหว่างคุณจดบันทึกข้อความ สมองของคุณจะเห็นภาพและได้ยินเสียงเกี่ยวกับข้อมูลที่กำลังจดบันทึกในเวลาเดียวกัน

วิธีการจดบันทึกจึงเป็นเสมือนทางลัดที่ใช้ในการส่งข้อมูลความรู้เข้าไปจัดเก็บไว้ในคลังสมอง

Tip : ฝึกจดบันทึกประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้จากงานชิ้นใหม่ๆ ที่เพิ่งเคยทำ หรือ งานชิ้นเดิมๆ ที่เคยทำผิดพลาด รายละเอียดของงานในแต่ละขั้นแต่ละตอน หมั่นนำมาอ่านทบทวนสัปดาห์ละครั้ง เพื่อสะสมความรู้ที่ได้รับจากประสบการณ์ตรงไว้ในคลังสมอง

====

4.  แบ่งปันความรู้ใหม่ให้กับผู้อื่น

สิ่งที่น่าตกใจ คือ ความรู้ใหม่ที่เพิ่งได้เรียนรู้ กว่า 90 % ไม่ว่าจะมาจากการฟัง การอ่าน หรือการเขียนก็ตาม จะคงอยู่ในสมองได้ไม่นานนัก

หากคุณไม่รีบนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน สมองจะสั่งการว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นต่อชีวิตประจำวันของคุณ และจะค่อยๆ โละความรู้นั้นทิ้งในเวลาต่อมาเพื่อไม่ให้เป็นภาระสมอง 

ดังนั้น วิธีการที่ง่ายที่สุดในการเก็บความรู้ใหม่ให้คงอยู่ในคลังสมองตลอดไป คือ การพูดคุยเพื่อแบ่งปัน แลกเปลี่ยนสิ่งที่เพิ่งได้เรียนรู้ให้แก่คนในชีวิตประจำวันของคุณ เช่น เพื่อน คนรัก พี่น้อง

ซึ่งถือเป็นการย้ำเตือนกับสมองว่าเรื่องที่แบ่งปันเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตประจำวันห้ามลบทิ้งโดยเด็ดขาด

Tip : หาเวลาว่างสักวันละ 5 นาที พูดคุยเรื่องราวดีๆ ที่ได้เรียนรู้มาจากการทำงาน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ให้คำแนะนำซึ่งกันและกัน แทนการสุมหัว ตั้งวง บ่น นินทา เม้ามอย ฯลฯ

====

5.  ดื่มน้ำและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

เป็นวิธีที่สำคัญที่สุดวิธีหนึ่ง เนื่องจากสมองส่วนหน้าของมนุษย์มีไว้เพื่อทำหน้าที่ในการเรียนรู้และจดจำ ดังนั้น สมองส่วนหน้าจึงมีความต้องการใช้ออกซิเจนในเลือดในปริมาณที่เพียงพอเพื่อเพิ่มเซลสมองให้ส่วนนี้

การดื่มน้ำและการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เป็นวิธีการที่ใช้ส่งเลือดไปเลี้ยงสมองส่วนหน้าได้อย่างทั่วถึง จึงถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการสร้างสมองอัจฉริยะ

Tip : บนโต๊ะทำงานของคุณควรมีกระติกน้ำ หรือ ขวดน้ำที่มีความจุประมาณ 1 ลิตร ตั้งไว้ เพื่อเป็นการเตือนความจำให้คุณค่อยๆ หยิบมาจิบไปเรื่อยๆ ระหว่างนั่งทำงาน 8 – 10 ชั่วโมง และหลังเลิกงานควรแบ่งเวลาออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 15 – 30 นาที

====

อีกหนึ่งวิธีต่อยอดทักษะความสามารถในการเรียนรู้อย่างรวดเร็วเพื่อการประสบความสำเร็จในงาน อ่าน  3 เคล็ดลับที่การเรียนรู้ช่วยให้คุณประสบความสำเร็จได้มากขึ้น คลิกที่นี่

เคล็ดลับง่ายๆ ทั้ง 5 ข้อ คงเป็นเครื่องพิสูจน์ได้ว่าพรสวรรค์ ไม่ใช่สิ่งที่มีติดตัวมาตั้งแต่เกิด

อันที่จริงแล้ว “พรสวรรค์เป็นสิ่งที่เราต้องลงทุน”  การลงทุนที่ดีที่สุด ก็คือการลงทุนกับการเรียนรู้

อย่าลืมใส่ใจดูแลสมองและร่างกายให้พร้อมที่จะเรียนรู้อยู่เสมอ เพื่อสร้างความสำเร็จในการทำงานให้ทะลุอันดับ Top 5 Top 3 ไปจนถึง Number 1 กันนะครับ

====

วิธีการสำคัญที่ช่วยพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้รวดเร็วก็คือการพัฒนา Growth Mindset ในการทำงาน ขอแนะนำหลักสูตร Growth Mindset for Effective Work ดูรายละเอียดที่นี่

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 094 959 2645

 

7 อุปนิสัยของคนที่มี EQ สูง

งานวิจัยในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา พบว่าความฉลาดทางอารมณ์ หรือ EQ (Emotional Intelligence) เป็นตัวชี้วัดความสุขและความสำเร็จในชีวิต

แม้ว่า EQ จะเป็นสิ่งที่เรามองไม่เห็น จับต้องได้ยาก แต่มันจะปรากฎออกมาในพฤติกรรมของแต่ละคน ทั้งด้านความสามารถในการเข้าสังคม การรับมือกับสถานการณ์ที่ยาก กระบวนการตัดสินใจ และมุมมองในชีวิต เป็นต้น

ปัจจุบันเราสามารถทดสอบ EQ ของคนทั่วไปได้ แต่ก็มีค่าใช้จ่ายสูง อย่างไรก็ตามงานวิจัยจากผู้คนหลายพันคนทำให้ได้พบว่า มีอุปนิสัยและพฤติกรรมบางอย่างที่บ่งชี้ว่าคนเหล่านี้มี EQ ที่สูงกว่าคนทั่วไป ได้แก่ 

====

1. สามารถบ่งบอก ‘ภาวะอารมณ์’ ของตัวเองได้

มนุษย์ทุกคนมีอารมณ์ความรู้สึก  แต่เชื่อไหมว่า มีคนเพียง 36% เท่านั้น ที่สามารถบอกได้ว่า ขณะนี้ตัวเองรู้สึกอย่างไร

คนทั่วไปไม่เข้าใจอารมณ์ความรู้สึกจึงมักปฏิเสธ หรือกดทับอารมณ์ของตัวเอง คนที่มี EQ สูง จะสามารถบ่งบอก และแยกแยะระดับอารมณ์ได้อย่างละเอียดชัดเจน เช่น

ตอนนี้รู้สึกแย่ หงุดหงิด รำคาญ ขุ่นเคือง โกรธ กังวล กระวนกระวาย ว้าวุ่น ฟุ้งซ่าน ยิ่งสามารถอธิบายได้ละเอียดมากเท่าไหร่ แสดงว่าเขารู้จักตัวเองดีมากเท่านั้น

====

2. ใส่ใจผู้คน และไม่ด่วนตัดสินคนอื่น

คนมี EQ สูงนั้นจะมีความห่วงใยใส่ใจผู้คนที่อยู่รอบๆตัวของเขา จะไม่เอาตัวเองเป็นศูนย์กลางในการคิดหรือตัดสินใจ แต่จะมองรอบๆตัวว่าจะทำให้เกิดประโยชน์กับทุกฝ่ายได้มากที่สุดอย่างไร

เมื่อต้องเจอกับคนที่ขี้หงุดหงิด ขี้วีน เขาจะรักษาระดับอารมณ์ไม่ให้ขึ้นไปตามสิ่งที่มากระทบ เขามองว่าคนเหล่านี้อาจกำลังเผชิญกับปัญหาส่วนตัวอยู่ และรู้ว่าไม่มีใครถูกหรือผิดไปซะทุกอย่าง ดังนั้นเขาจะไม่ด่วนตัดสินคน และจะสื่อสารโดยใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์

====

3. ยอมรับความเปลี่ยนแปลง โดยไม่มองหาความสมบูรณ์แบบ

เขาคือคนที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับเปลี่ยนแผนได้ตลอด เขารู้ว่าความกลัวต่อการเปลี่ยนแปลง คืออุปสรรคต่อความสำเร็จและความสุขในชีวิต เขาจึงมองว่าความไม่แน่นอน คือสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้เสมอ และก็พร้อมที่จะเผชิญกับสิ่งเหล่านั้น

เขาจะไม่ตั้งเป้าหมายถึงความสมบูรณ์แบบ เพราะรู้ว่ามันไม่มีอยู่จริง แทนที่จะมองว่าตัวเองห่างจากความสมบูรณ์แบบมากแค่ไหน เขาจะมองว่าตัวเองทำอะไรสำเร็จมาแล้วบ้าง และจะทำอะไรต่อไปมากกว่า

====

4. รู้จักและรู้เท่าทันตัวเองจึงไม่โกรธง่าย ๆ

คนที่มี EQ สูงจะรู้ว่าตัวเองถนัดอะไร และจะปรับใช้สิ่งเหล่านั้นมากขึ้นเพื่อสร้างความได้เปรียบ ขณะเดียวกันก็จะเก็บจุดอ่อนเอาไว้ ไม่ให้มาฉุดรั้งตัวเอง

เขารู้ดีว่าอะไรเป็นสิ่งที่จะมากดปุ่มให้ตัวเองโกรธหรือเสียใจ และอะไรที่จะสร้างกำลังใจไปสู่ความสำเร็จ เขาจะเป็นผู้ “เลือกตอบสนองต่อสถานการณ์” ไม่ใช่ “เป็นเหยื่อของสถานการณ์” ที่เกิดขึ้น

ไม่ใช่ว่าโกรธไม่เป็น แต่ด้วยความที่เขารู้จักตัวเองดี จึงมีความมั่นใจในและเคารพในตัวเอง ดังนั้นแม้ว่าจะมีใครมาแหย่ให้โกรธ พูดจาดูถูก หรือล้อเลียน เขาจะไม่ถือเป็นอารมณ์ เพราะลึกๆแล้วเขารู้ว่า นั่นเป็นเพราะอีกฝ่ายอิจฉา และรู้สึกว่าตัวเองไม่ดีพอต่างหาก

====

5. รู้ว่าเมื่อไหร่ควรปฏิเสธและปฏิเสธเป็น

คนมี EQ สูง รู้ความต้องการของตัวเอง และควบคุมตัวเองได้ เขารู้ว่ายิ่งอดทนมากไป ยิ่งจะสร้างความเครียด ดังนั้นเขาจึงเลือกที่จะพูดว่า “ไม่” อย่างสุภาพ โดยที่ไม่รู้สึกแย่หรือกังวลภายหลัง

เขารู้ว่าการใช้คำว่า “บางที ไม่แน่ใจ อาจจะ ดูอีกทีนะ” ยิ่งจะทำให้เกิดความคาดหวัง และอึดอัดทั้ง 2 ฝ่าย ดังนั้นเค้าจะให้คำสัญญาหรือตอบรับ ก็ต่อเมื่อเค้าหมายความถึงสิ่งที่พูดจริงๆ เท่านั้น

====

6. ยอมให้ตัวเองผิดพลาดได้

คนมี EQ สูง ตระหนักดีว่า “ความผิดกับตัวเขา” ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน ดังนั้นเขาจะให้อภัยตัวเองได้เร็ว เมื่อเกิดความผิดพลาด เขาจะมองหาบทเรียนที่ได้รับ และนำไปปรับปรุงสำหรับครั้งต่อไป

เขาไม่ลืมความผิดนั้น แล้วก็ไม่ “จมอยู่กับความผิด” มันจะเป็นเพียงความทรงจำที่เตือนใจไม่ให้ทำผิดซ้ำ และความผิดที่ดูลำบากหนักหนาในครั้งนี้ เป็นสิ่งที่จะทำให้เค้าลุกขึ้นได้ง่ายและเร็วขึ้นในครั้งต่อไป

ถ้ายึดติดกับความผิดพลาดหรือสิ่งที่ไม่เป็นไปตามใจมาก ๆ มักจะทำให้เกิดความเครียด อ่าน 5 วิธีรับมือกับความเครียดในการทำงาน เพื่อเรียนรู้และฝึกฝนไปด้วยกัน คลิกที่นี่

====

7. รู้ว่าเมื่อไรควรหยุดและพัก 

คนมี EQ สูงนั้นมักจัดสรรเวลา “หยุดพัก” ให้กับตัวเองอย่างสม่ำเสมอ แม้เขาจะทำงานหนัก และมีเรื่องต้องทำมากมาย แต่เค้าก็หาเวลา “ออฟไลน์” ให้กับตัวเองได้ การปิดเครื่องมือสื่อสารทุกชนิด ออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์และงาน ไม่ต้องติดต่อหรือพูดคุยกับใคร คือการมอบ “ช่วงเวลาเงียบ” ให้กายและใจได้หยุดพักอย่างแท้จริง

การที่ได้มีเวลาทบทวน ใคร่ครวญกับตัวเอง ทำให้เขากลับมาทำงานได้อย่างสดชื่น มีชีวิตชีวา และเต็มเปี่ยมไปด้วยพลัง

7 อุปนิสัยของผู้มี EQ สูง ทำให้เราสามารถประเมินตัวเองคร่าวๆ ได้ว่ายังขาดตกบกพร่องในข้อใด เพราะระดับ EQ ของเรานั้น แปรผันโดยตรงกับความสุขในชีวิต EQ และความสุข ต่างก็เป็น “ทักษะ” ที่ฝึกฝนได้ และส่งต่อได้

อ้างอิงจาก Travis Bradberry ผู้เขียนหนังสือ Emotional Intelligence 2.0

====

ถ้าคุณต้องการเรียนรู้และฝึกฝนทักษะด้านความฉลาดทางอารมณ์อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อบริหารจัดการอารมณ์ที่ไม่พึงประสงค์ได้  ขอแนะนำหลักสูตร Emotion  Intelligence  คลิกดูรายละเอียดที่นี่

บทความโดย

อ.เรือรบ  จิณณ์ณัฏฐ์ พรหมนุรักษ์ 

ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาภาวะผู้นำ 
CEO ผู้ก่อตั้ง Learning Hub Thailand 

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 094 959 2645

Categories EQ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Ads, Google Analytics

    Statistics

  • Google Analytics

    Statistics

  • Facebook

    Marketing/Tracking

  • ActiveCampaign

    Functional

  • ActiveCampaign

    Marketing/Tracking

Save