7 ขั้นตอนทำงานร่วมกับเจ้านายดุให้มีประสิทธิภาพและมีความสุข

คุณผู้อ่านทุกท่านคงเคยชมภาพยนตร์ ซึ่งท่านคงสังเกตเห็นว่าภาพยนตร์แทบทุกเรื่องจะต้องมีจุดวิกฤต (Climax) ที่ทำให้ชีวิตตัวละครตกต่ำ ซึ่งสุดท้ายตัวละครนั้นก็จะสามารถฝ่าฟันไปพบตอนจบที่สวยงามได้ในที่สุด

ภาพยนตร์เรื่องหนึ่งจะสนุกหรือไม่ อยู่ที่ว่าคนเขียนบทและผู้กำกับภาพยนตร์เรื่องนั้นวาง Plot เรื่องไว้ดีแค่ไหน

=====

ในชีวิตคนทำงานก็เช่นกัน สถานการณ์ที่ถือเป็นจุดวิกฤตของคนทำงานคงหนีไม่พ้นการถูกเจ้านายดุด่าว่ากล่าว 

และตอนจบนั้นจะสวยงามหรือแสนเศร้าก็ขึ้นอยู่กับเราในฐานะคนเขียนบทและผู้กำกับภาพยนตร์ชีวิตตัวเองว่าก่อนที่เราจะตัดสินใจพูดหรือทำอะไรลงไป เราได้วางPlot ที่เหมาะสมแล้วหรือยัง

7 ขั้นตอนง่ายๆ ต่อไปนี้ จะช่วยให้คุณผ่านสถานการณ์วิกฤตอย่างการถูกเจ้านายดุไปได้อย่างสวยงาม 

            วาง Plot คือ การวางโครงเรื่องให้สละสลวย และเอื้อต่อโอกาสที่จะสร้างตอนจบที่สวยงาม

=====

1.สร้างนิยามใหม่

หากคุณคิดว่าสาเหตุที่ถูกเจ้านายหรือลูกค้าตำหนิ เพราะ คุณอยู่ในฐานะลูกน้องหรือผู้รับใช้ ความคิดแบบนี้เป็นการนิยามให้ตนเองรู้สึกต้อยต่ำและจะเป็นจุดเริ่มต้นของความคิดลบๆ อื่นๆ ที่กำลังจะตามมา

การสร้างนิยามใหม่คือการที่คุณเปลี่ยนมุมมองว่าผลงานของคุณคือการ “ช่วย” หรือ “ให้” สิ่งใดกับเจ้านายหรือลูกค้า เช่น ฉันช่วยอำนวยความสะดวกเรื่อง…. ,ฉันให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ…

จุดเริ่มต้นของความคิดแบบนี้จะป้องกันไม่ให้คุณรู้สึกต่ำต้อยและยังทำให้เกิดไอเดียในการจัดการกับปัญหาในขั้นตอนต่อไปอีกด้วย

=====

2.ทบทวนผลงาน

ตัดอารมณ์ที่ไม่ดีและความกังวลออกให้หมด แล้วใช้สมาธิ focus ไปที่คุณภาพของผลงานของตัวเอง แล้วตอบคำถามตัวเองด้วยใจที่เป็นกลางว่า “ผลงานของฉันมีคุณภาพเพียงพอแล้วหรือยัง ถ้ายังฉันสามารถพัฒนาจุดไหนได้บ้าง”

=====

3.ยอมรับความจริง

หากผลงานของคุณมีคุณภาพ ก็ควรยอมรับความจริงว่า “สิ่งที่ดีที่สุดในความคิดเห็นของเราอาจไม่ดีที่สุดในความคิดเห็นของผู้อื่น”

แต่หากผลงานของคุณมีจุดบกพร่อง ก็ควรยอมรับความจริงว่า “เป็นธรรมดาที่ผู้อื่นมักจะเห็นส่วนที่บกพร่อง มากกว่าเรื่องดีๆ ที่อยู่ในส่วนอื่นๆ”

          สร้าง Theme คือ การสร้างแก่นของคุณค่าที่จะนำเสนอ ยิ่งสร้างคุณค่ามาก ตอนจบก็ยิ่งสวยงาม

=====

4.เลือกบรรยากาศที่ใช่

หลายคนพอเจอปัญหานี้จะสื่อสารด้วยการพูดโต้ตอบทันที ทำให้บรรยากาศการสนทนากลายเป็นการโต้เถียงและสิ่งที่พูดออกมาก็ไม่มีอะไรดีไปกว่าการแก้ตัว

ก่อนพูดจึงควรคิดสักนิดว่าเราควรสร้างบรรยายกาศในการสนทนาอย่างไร เช่น เป็นการอธิบายแทนที่จะโต้เถียง ,เป็นการขอบคุณในคำแนะนำแทนที่จะแก้ตัว ,เป็นการสร้างความมั่นใจแทนที่จะปัดความรับผิดชอบ เป็นต้น 

บรรยากาศเป็นอย่างไร ตอนจบก็จะเป็นอย่างนั้น

=====

5.ห้ามลดตัว

ไม่ว่าผลงานของคุณจะดีหรือไม่ดีในความรู้สึกผู้อื่น จุดยืนของคุณคือห้ามลดตัวเด็ดขาด เพราะนอกจากจะไม่ทำให้อะไรดีขึ้นยังอาจจะเป็นการทำให้เจ้านายหรือลูกค้าหมดความศรัทธาในผลงานชิ้นอื่นๆ ของคุณ

สิ่งที่คุณควรทำ คือ หากผลงานที่ทำมีคุณภาพ ให้ยืนยันในคุณภาพนั้นแต่ยอมรับว่าอาจจะไม่เหมาะสมในความคิดเห็นของคนบางกลุ่ม

หากผลงานมีข้อบกพร่องให้ยืนยันในเจตนาที่ดีในการสร้างสรรผลงานนี้แต่ยอมรับว่ามีบางสิ่งต้องแก้ไข

          เริ่ม Action คือ การเริ่มลงมือทำตามโครงเรื่องและแก่นของเรื่องที่สร้างมา (Plot )

=====

6.เสนอทางแก้ปัญหา

ไม่ว่าผลงานคุณจะมีคุณภาพหรือไม่ ไม่ว่าเจ้านายหรือลูกค้าจะเห็นว่าผลงานของคุณดีหรือแย่เพียงให้ การเริ่มต้นพูดคุยโดยเสนอตัวที่จะลงมือแก้ไขปัญหาต่างๆ ถือเป็นการแสดงความสง่างามของผู้พูด

บรรยายการของการสนทนาต่อจากนี้จะไม่มีใครผิดใครถูกเพราะจะไม่มีอะไรมากไปกว่าการที่คนสองคนพูดคุยหารือเรื่องการสร้างสรรค์ผลงานร่วมกัน 

=====

7.จบด้วยความรู้สึกขอบคุณ

ในทุกปัญหา ในทุกวิกฤติ สร้างสิ่งดีๆ ให้เราได้เรียนรู้เสมอ เมื่อคุณทำครบตั้งแต่ข้อ 1-6 เรียบร้อยแล้ว อย่าลืมจบการสนทนากับเจ้านายหรือลูกค้าด้วยความรู้สึกดีๆ ยิ้มและกล่าวขอบคุณจากใจ

ภาพยนตร์ในโรง หรือ ภาพยนตร์ในชีวิตจริง ถ้าใช้ Plot ที่ดี ก็ล้วนแต่มีตอนจบที่สวยงามเช่นกัน ไม่ว่าปัญหาของคุณจะหนักแค่ไหนของให้มีตอนจบแบบ Happy Ending ครับ

ถ้าเริ่มมีแนวทางทำงานกับหัวหน้าดุแล้ว คุณสามารถพัฒนาตัวเองให้ทำงานร่วมกับคนอื่นให้ดีขึ้นด้วย 5 เทคนิคทำให้คุณเป็นที่รักของทุกคนในทีม คลิกที่นี่

=====

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากพัฒนาทักษะการทำงานร่วมกับเจ้านายที่ดุ และพัฒนาความร่วมมือร่วมใจทำงานเป็นทีมให้ดียิ่งขึ้น ขอแนะนำหลักสูตร Team Communication & Collaboration คลิกที่นี่

บทความโดย จิตเกษม น้อยไร่ภูมิ (โค้ชแมงปอ)

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กรฟรี  ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

8 วิธีสร้างความน่าเชื่อถือในที่ทำงาน

ในที่ทำงานทุกคนล้วนต้องการเป็นคนสำคัญ โดดเด่น และได้รับความเคารพนับถือจากผู้อื่น เพราะสิ่งนี้จะนำไปสู่หนทางแห่งความสำเร็จ

แต่กว่าที่คุณจะได้รับความไว้วางใจจากเจ้านาย เพื่อนร่วมงาน และลูกน้อง คุณจะต้องใช้ความพยายามอย่างหนัก

กล่าวคือ คุณต้องอุทิศตนในการทำงาน และวางตัวให้เหมาะสมในทุกสถานการณ์ อย่างไรก็ตาม หากคุณมีความตั้งใจจริง โดยปฏิบัติตามคำแนะนำ 8 ข้อในบทความนี้ คุณจะได้รับความไว้วางใจ และความน่าเชื่อถือในที่ทำงานแน่นอน

====

1) มีความมั่นใจในตัวเอง และแสดงความเป็นผู้นำ

หากคุณต้องการให้คนอื่นเคารพนับถือคุณ สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือคุณต้องเคารพตัวเองก่อน คุณควรเชื่อมั่นในทุกการกระทำของตนเอง มีความรับผิดชอบ กล้าคิด กล้าตัดสินใจ และไม่กลัวกับปัญหาอุปสรรคใดๆ

เพราะหากคุณสามารถตัดสินใจเรื่องสำคัญๆ และสามารถผ่านพ้นจากปัญหาต่างๆไปได้ ก็จะทำให้ผู้คนเกิดความศรัทธา ความเชื่อมั่นในตัวคุณ และสิ่งนี้จะเปลี่ยนเป็นความเคารพนับถือในท้ายที่สุด

====

2) บริหารเวลาให้เป็น

หนึ่งในพฤติกรรมที่สร้างความน่าเชื่อถือให้กับคุณก็คือ การบริหารเวลา

หากคุณลองเปรียบเทียบพนักงาน 2 คน ระหว่างพนักงานคนแรกที่เข้าประชุมตรงเวลาและส่งงานตามกำหนดทุกครั้งกับพนักงานคนที่ 2 ที่มักเข้าประชุมสายและไม่เคยส่งงานทันเวลา

แน่นอนว่าเมื่อคุณจะมอบหมายงานหนึ่งชิ้น คุณจะมอบหมายให้พนักงานคนแรกทำ เพราะคุณไว้วางใจและเชื่อมั่นว่าเขาจะไม่ทำให้คุณผิดหวัง

ทั้งนี้ ในระหว่างทำงาน คุณควรทุ่มเทกำลังความสามารถในการทำงานอย่างเต็มที่ ทำงานให้เสร็จอย่างรวดเร็ว ไม่เสียเวลากับกิจกรรมที่ไร้สาระ เพื่อที่งานจะได้ออกมาอย่างสมบูรณ์แบบ และเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเพื่อนร่วมงาน

====

3) อ่อนน้อมถ่อมตน

แม้ว่าคุณจะรู้ว่าตนเองสามารถทำงานได้ดี รวดเร็ว หรือมีประสิทธิภาพมากแค่ไหน จงอย่าคุยโวโอ้อวด แต่จงคิดว่าสิ่งนั้นเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบซึ่งคุณต้องทำอยู่แล้ว

นอกจากนี้ เมื่อได้รับการยกย่องชมเชย คุณไม่ควรหลงระเริงไปกับคำพูดเยินยอของคนอื่น

ในทางกลับกัน คุณควรคิดว่าแต่ละคนเป็นเพียงหน่วยหนึ่งที่ประกอบเข้าด้วยกันเพื่อทำให้งานสำเร็จและบรรลุเป้าหมายขององค์กร การอ่อนน้อมถ่อมตนจะทำให้คุณไม่หยุดนิ่ง และรู้จักการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นเรื่อยๆ

====

4) ให้ความเคารพเพื่อนร่วมงาน

เพื่อนร่วมงานบางคนอาจทำงานอย่างเฉื่อยชา และไร้ประสิทธิภาพ พวกเขาอาจไม่มีแรงบันดาลใจเหมือนเช่นคุณ หรือพวกเขาอาจมีปัญหาส่วนตัวบางอย่างทำให้ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่

แต่นั่นไม่ได้แปลว่าคุณจะสามารถดูถูกพวกเขาได้ คุณควรปฏิบัติต่อพวกเขาเฉกเช่นมนุษย์ด้วยกัน จงให้เกียรติพวกเขา และไม่ก้าวล้ำเส้นของกันและกัน

กล่าวคือ คุณไม่ควรมองพวกเขาว่าเป็นเพียงเพื่อนร่วมงาน แต่ให้มองพวกเขาเป็นเพื่อนมนุษย์ เพราะวิธีการนี้จะทำให้คุณเข้าใจจิตใจของผู้อื่นมากยิ่งขึ้น และคุณจะได้รับความไว้วางใจ รวมทั้งความเคารพนับถือเป็นการตอบแทน

====

5) ชื่นชมและให้กำลังใจเพื่อนร่วมงาน

คุณควรหาโอกาสชื่นชมเพื่อนร่วมงานบ้าง ยกตัวอย่างเช่น หากเพื่อนร่วมงานของคุณทำงานชิ้นหนึ่งได้อย่างยอดเยี่ยมและส่งผลดีต่อบริษัท คุณก็ควรแสดงชื่นชมในความรู้ความสามารถ และความมุ่งมั่นตั้งใจที่เขาทุ่มเทจนทำให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย

คำชื่นชมเหล่านี้จะทำให้พวกเขามีความมั่นใจและกำลังใจในการทำงานมากขึ้น

ในทางกลับกัน หากเพื่อนร่วมงานของคุณล้มเหลวแทนที่คุณจะคอยซ้ำเติมและตอกย้ำความผิดพลาดนั้น คุณควรให้อภัยและให้กำลังใจต่อกัน

เพราะการต่อว่าหรือแสดงพฤติกรรมด้านลบนั้น นอกจากจะไม่ช่วยให้เกิดประโยชน์ใดๆ ยังทำให้เพื่อนร่วมงานเกิดทัศนคติในแง่ลบต่อคุณอีกด้วย

====

6) ช่วยเหลือทีม และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน

มันอาจเป็นเรื่องง่ายที่จะต่อว่าหรือโจมตีเพื่อนร่วมงานที่ไร้ประสิทธิภาพ แต่อย่างไรก็ตาม การกระทำเช่นนี้ไม่ก่อให้เกิดผลดีต่อตัวคุณและบริษัท

ทางที่ดีคือ คุณควรช่วยให้ทีมประสบความสำเร็จไปพร้อมๆกัน ร่วมมือร่วมใจกันทำงาน ไม่แก่งแย่งชิงดีกัน

นอกจากนี้ การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในทีมจะทำให้การทำงานมีความราบรื่นเพราะเมื่อคุณต้องการความช่วยเหลือจากผู้ใดก็จะมีคนสนับสนุน และผลักดันคุณด้วยความเต็มใจ

ซึ่งสิ่งนี้จะทำให้คุณประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานได้ง่ายยิ่งขึ้น

====

7) ไม่ซุบซิบนินทา

การซุบซิบนินทาในที่ทำงานเป็นเรื่องที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะทำให้คุณเสียเวลาในการทำงานแล้ว คงไม่มีใครเคารพนับถือคนที่ปล่อยข่าวลือ และพูดจาให้ร้ายผู้อื่น

กล่าวคือ หากคุณไม่ให้ความเคารพนับถือผู้อื่น คุณก็จะไม่ได้รับความน่าเชื่อถือเช่นเดียวกัน

ดังนั้น คุณจึงไม่ควรจับกลุ่มซุบซิบนินทาในที่ทำงาน เพราะสิ่งนี้จะส่งผลต่อความน่าเชื่อถือ และภาพลักษณ์ในตัวคุณ

====

8) ไม่บังคับหรือควบคุมคนอื่น

การประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานไม่ได้เกิดจากความสามารถแต่เพียงอย่างเดียว กล่าวคือ หากคุณได้งานแต่ไม่ได้ใจคน คุณก็ไม่มีทางที่จะบรรลุเป้าหมายได้

การทำงานที่ดี คือ การคิดถึงเรื่องงานพร้อมๆกับจิตใจของผู้ร่วมงาน ในทางกลับกัน หากคุณใช้วิธีการบังคับเพื่อนร่วมงานให้ทำอย่างที่ใจคุณต้องการ คุณก็จะไม่ได้รับความร่วมมือใดอย่างเต็มที่

ดังนั้น คุณไม่ควรบังคับหรือควบคุมคนอื่น ให้ยึดหลักเอาใจเขามาใส่ใจเรา มอบหมายงานให้คนในทีมอย่างเหมาะสม และเมื่อเพื่อนร่วมงานมีปัญหา คุณก็ควรช่วยเหลืออย่างสุดความสามารถ

เมื่อเริ่มทำให้คนเชื่อถือได้แล้ว เชิญชวนทุกท่านมาทบทวน 4 คุณสมบัติของผู้นำยุคใหม่ ว่าคุณพร้อมหรือยังที่จะเป็นผู้นำในโลกธุรกิจที่เต็มไปด้วยความผันผวนเช่นนี้ คลิกอ่านที่นี่

====

ถ้าคุณสนใจเรียนรู้และฝึกฝนพัฒนา Mindset และทักษะของผู้นำยุคใหม่ที่ผู้คนให้ความเชื่อถือ ขอแนะนำหลักสูตร The New Leadership Skills เพื่อพัฒนาคุณให้เป็นผู้นำยุคใหม่ที่ผู้คนเชื่อถือ  คลิกดูรายละเอียดที่นี่

เรียบเรียงโดย

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

 

3 สิ่งที่ผู้นำมักทำพลาด (โดยไม่รู้ตัว)

3 สิ่งที่ผู้นำมักทำพลาด (โดยไม่รู้ตัว)

ช่วงสัปดาห์สุดท้ายของทุกปี ผมจะหาโอกาสให้ตัวเองได้หยุดพักจากงาน ถอยออกมาจากความวุ่นวายยุ่งเหยิงของชีวิต เข้าหาธรรมชาติ ปลีกวิเวกไปพักในที่เงียบๆสัก 1 สัปดาห์

ผมใช้เวลานี้ในการทบทวนและตกผลึกตัวเอง อีกทั้งใช้ในการมองภาพที่กำลังจะนำพาบริษัทและทีมงานก้าวต่อไปในอนาคต

สิ่งที่ผมได้จากการทบทวนตัวเอง ไม่ใช่ไอเดียใหม่ๆ ดีๆ แต่จะเห็นสิ่งที่ตนเองทำผิดพลาดไป ซึ่งในชีวิตการทำงานปกติ ไม่มีทางเลยที่ผมจะสังเกตหรือมองเห็น

และต่อไปนี้คือ 3 สิ่งที่ผมสังเกตเห็นตัวเองทำผิดพลาด และคิดว่านี่อาจเป็นสิ่งที่ผู้นำหรือผู้บริหารส่วนใหญ่เป็นเหมือนกับผม จึงเขียนบทความนี้แชร์ให้คุณได้เรียนรู้ไปด้วยกัน

====

แน่นอนว่า คนที่เป็นผู้นำเป็นผู้บริหาร ส่วนใหญ่มักจะเป็นคนที่เก่ง ฉลาด มั่นใจ มีความมุ่งมั่นพยายามอย่างเต็มที่ที่จะบรรลุผลลัพธ์และเป้าหมาย นอกจากนี้ยังมีความหวังดีกับผู้อื่น อยากช่วยเหลือผู้อื่น

คุณสมบัติเหล่านี้ล้วนเป็นประโยชน์และช่วยให้เราประสบความสำเร็จในการทำงาน แต่ในแง่ของการนำทีม สิ่งเหล่านี้อาจจะกลายเป็นความผิดพลาดครั้งใหญ่ได้ นั่นเพราะอะไรบทความนี้มีคำตอบ

====

1.ความมั่นใจที่มากไปจนกลายเป็นอีโก้

ในฐานะผู้นำ เราผ่านชีวิตการทำงานมามาก มีประสบการณ์มาเยอะ จนประสบความสำเร็จมาถึงจุดนี้ แน่นอนว่าเมื่อเจอสถานการณ์อะไรที่คุ้นเคย เราจะสามารถตัดสินใจในสิ่งนั้นได้อย่างรวดเร็ว จนบางทีไม่ทันจะฟังความเห็นคนอื่น

แม้อีกฝ่ายจะพยายามอธิบาย เราก็จะมีธงในใจและเอาตามสิ่งที่เราเห็นว่าถูก สั่งการฟันธงลงไปทันที นั่นทำให้ลูกน้องและคนรอบตัวมองว่าเรามีอีโก้ จึงมีระยะห่าง ไม่อยากจะเข้าหา หรือมาคุยกับเรา

====

2.มุ่งผลลัพธ์มากไป จนกลายเป็นเผด็จการ

ในฐานะผู้บริหาร เราอยากจะสร้างผลลัพธ์อย่างมีประสิทธิภาพ อยากทำงานให้สำเร็จอย่างรวดเร็ว ไม่อยากให้เกิดความผิดพลาดแม้จุดเล็กๆน้อยๆ สิ่งที่เราทำจึงเป็นการพยายามควบคุมทุกอย่าง ออกคำสั่งอย่างเดียว ลงรายละเอียดทุกจุด โดยไม่เปิดโอกาสให้ลูกน้องคิดและทำด้วยตนเอง

หลายๆครั้ง ทีมงานอยากเสนอไอเดีย หรืออยากทำในสิ่งที่ต่างไป แต่พอจะพูด ก็ไปเจอข้อ 1 อีก คือเราไม่ฟังเขาเลย สุดท้ายทีมงานจะมองว่าเราเผด็จการ จึงหยุดคิด หยุดเสนอความเห็น เปลี่ยนเป็นรอฟังคำสั่งแทน เพื่อไม่ให้ตัวเองต้องเดือดร้อนถ้าตัดสินใจผิดพลาด

====

3.หวังดีมากไป จนกลายเป็นยัดเยียด

ในฐานะรุ่นพี่ที่ผ่านโลกมามากกว่า เรามีความหวังดีต่อทีมงาน อยากช่วยเหลือลูกน้อง จึงพยายามแนะนำสั่งสอนในจุดที่คิดว่าเขายังทำได้ไม่ดีพอ พอเราแนะนำไปแล้วเขาไม่ทำตาม เราก็ผิดหวัง ขุ่นเคือง หรือถึงขั้นน้อยใจ ทั้ง ๆ ที่หลายครั้งเขาก็ไม่ได้ขอให้ช่วยเลย

นั่นทำให้ทีมงาน มองว่าเรายัดเยียด จึงพยายามเอาตัวออกห่าง หรือถึงขั้นหูทวนลม ในทุกๆครั้งที่เราเอ่ยปากพูดอะไร เพราะมองว่าเราไม่ได้เข้าใจสถานการณ์ของเขาจริงๆ

====

ต่อไปนี้เป็นสิ่งที่ผมใช้ปรับตัวเองเพื่อให้เป็นผู้นำที่ดีขึ้น จนได้รับผลสะท้อนที่ดีจากน้อง ๆ ในทีมหลังจากนั้นไม่นาน ผมมีคำแนะนำให้กับผู้นำหรือผู้บริหารที่ไม่อยากมีปัญหาเหมือนผม ดังนี้

1.ไม่อยากมีอีโก้ ให้ลดความเร็วลง

ไม่ใช่ทุกเรื่องเป็นเรื่องเร่งด่วน ที่จะต้องได้คำตอบเดี๋ยวนี้ตอนนี้เท่านั้น เวลามีเรื่องอะไรเข้ามากระทบ ไม่ควรรีบตัดสินถูกผิด “ปล่อยให้ตัวเองได้ช้าลง” รับฟังมากขึ้น ถามความเห็นของทีมก่อน หากเขาคิดไม่ตรงกับเรา ก็ถามเหตุผลและให้เขาอธิบายมากขึ้นอีก ยังไม่ต้องรีบหาคำตอบหรือแก้ไขปัญหาเลย ทิ้งเวลาตัวเองและอีกฝ่ายกลับไปคิดใคร่ครวญในอีกมุมที่ต่างกัน แล้วค่อยนัดมาหารือกันทีหลัง

บางทีเราอาจจะเห็นจุดที่ดีกว่าจากมุมของอีกฝ่าย หรือกระทั่งแง่มุมที่มาปรับรวมกันแล้วดีขึ้นก็เป็นได้ แม้สุดท้ายแล้วเราตัดสินใจว่าจะไม่ทำตามความคิดของเขา แต่เราก็ได้แสดงออกอย่างจริงใจว่าเราได้รับฟังและเคารพมุมมองของเขาอย่างเป็นกลางแล้วนั่นเอง

====

2.ไม่อยากเป็นเผด็จการ ปล่อยให้ทีมทำผิดพลาดได้

ไม่ใช่ทุกเรื่องที่ต้องเป๊ะทั้งหมด อย่าเพิ่งรีบสั่งการหรือควบคุม “ฝึกให้ความไว้วางใจทีมงาน” ให้โอกาสทีมได้ทดลองทำ และเปิดพื้นที่ให้สำหรับความผิดพลาด หรือไม่สมบูรณ์แบบบ้าง เพื่อให้ทีมงานได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ได้บทเรียนจากการคิดเองทำเอง จะได้พัฒนาตัวเองได้เร็วขึ้น

เมื่อมอบหมายงานให้ไปแล้ว ก็อย่าไปคอยถามหรือตามงานบ่อย ๆ เพราะเขาจะมองว่าเราจู้จี้และไม่ไว้ใจ หากกังวลว่าลูกน้องจะทำงานสำคัญพัง ก็ให้มาเล่าแผนการและนัดให้มีการรายงานผลเป็นระยะแทน

====

3.ไม่อยากยัดเยียด อย่ารีบสอนรีบแนะนำ

สิ่งที่ยากในการเป็นผู้บริหาร คือ “การวางตัวเป็นกลาง” เป็นเพียงผู้สังเกตการณ์ แล้วปล่อยให้สิ่งต่าง ๆ ค่อย ๆ เป็นไปตามจังหวะเวลาของมัน ไม่ใช่ทุกเรื่องที่ต้องเข้าไปแก้ไข บางทีความหวังดีที่เราให้ไป แต่ไม่ใช่จังหวะเวลาที่เขาจะเข้าใจ คำแนะนำของเราเสียเปล่าหรืออาจเป็นผลเสียต่อเขาก็ได้ เช่น เขาต่อต้านแล้วไปทำตรงข้ามกับที่เราแนะนำ หรือเขาทำตามคำแนะนำโดยที่ไม่ได้รู้เหตุผลที่แท้จริง ปัญหาเดิมก็ไม่ถูกแก้ แต่จะกลับมาใหม่อีกเรื่อย ๆ

แต่ก็ไม่ใช่จะวางเฉยจนไม่ทำอะไรเลย เมื่อเราพบว่าสิ่งที่ลูกน้องคิดและทำอาจส่งผลเสียหาก และดูท่าทางเขาจะไม่รู้ว่าตัวเองพลาดอะไร ให้หาโอกาสชวนมาพูดคุยเป็นการส่วนตัว พูดถึงสิ่งที่เราสังเกตเห็น พูดถึงความเป็นห่วงของเรา ให้ทำด้วยความเมตตาและปรารถนาดี

จากนั้นถามความเห็นหรือมุมมองของเขาว่าคิดเรื่องนี้อย่างไร ให้เวลาในการรับฟังเพื่อทำความเข้าใจ ยังไม่ต้องรีบสอนหรือแนะนำ จนกว่าเขาจะขอความเห็นจากเรา เราก็ค่อยอธิบายมุมมองของเรา โดยไม่ต้องบังคับหรือคิดว่าเขาจะทำตามเรา เพราะชีวิตเขา เขาต้องรับผิดชอบผลลัพธ์นั้นด้วยตัวเอง

ยกเว้นว่าสิ่งนั้นส่งผลกระทบต่องานและส่วนรวม เราจะต้องอธิบายให้เห็นผลกระทบส่วนนี้ แล้วถามเขาต่อว่าเขาจะป้องกันหรือแก้ไขมันอย่างไร หากเขาไม่ทราบหรือไม่รู้ เราค่อยแชร์มุมมองของเราอีกที ถ้าเป็นแบบนี้ทีมงานจะรู้สึกว่าเราไม่ได้ก้าวก่ายชีวิตเขา แต่เรากำลังทำเพื่อส่วนรวม

ฝึกฝนทักษะการฟังเพื่อให้คุณเป็นผู้นำที่ไม่ด่วนแนะนำด้วย  Active Listening ทักษะการฟังที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้คนในทีมคลิกที่นี่

====

จากที่เล่ามา เป็นสิ่งที่ผมพยายามสังเกตตนเองจากการบริหารทีม และพยายามปรับตัวเองเพื่อเป็นผู้นำที่ดีขึ้น ซึ่งหลายท่านที่อ่านอาจจะรู้สึกว่า ต้องปรับตัวเองมากไปหรือเปล่า ต้องผืนใจหรือพยายามเกินไปไหม

จากประสบการณ์ตรงของผม ยิ่งเราพูดน้อยลง สั่งการน้อยลง เข้าไปนั่งในออฟฟิศน้อยลง ผมพบว่าทีมงานยิ่งเก่งขึ้น ขยันมากขึ้น รับผิดชอบมากขึ้น และดูเหมือนว่าบรรยากาศในการทำงานจะดีขึ้นด้วย

ส่วนสิ่งที่ผมทำมากขึ้นคือ ให้เวลาในการฟังแต่ละคนมากขึ้น ให้เวลาพัฒนาแต่ละคนตามเป้าหมายของเขามากขึ้น สนับสนุนให้กำลังใจและชื่นชมแต่ละคนมากขึ้น

ที่ผมเน้นย้ำว่า “แต่ละคน” คือไม่ทำแบบเหมารวม แต่ทำแบบเฉพาะคน เลือกคนที่สำคัญเป็น Keyman ไม่กี่คนที่เราจะโฟกัสพัฒนาเขา แล้วสอนเขาให้ไปพัฒนาคนอื่นต่อ

เพราะงานที่แท้จริงของผู้นำ คือ “การสร้างผู้นำรอบ ๆ ตัว”

บทความโดย อ.เรือรบ CEO และผู้ก่อตั้ง Learning Hub Thailand

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962


====

ปล. ผมมีหลักสูตรใหม่ล่าสุดสำหรับปี 2023 ชื่อ Leading with Empathy” ออกแบบเฉพาะสำหรับผู้บริหารระดับสูง ดูรายละเอียดหลักสูตร คลิกที่นี่ หากสนใจจัดอบรมในองค์กร โทร 093 925 4962 หรือ Line @lhtraining

5 วิธีฟื้นคืน จากวิกฤตชีวิต

ยากเหลือเกินที่จะยิ้มและใช้ชีวิตได้อย่างปกติ หากต้องเผชิญกับความท้อแท้สิ้นหวังจากสถานการณ์ต่าง ๆ 

ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตด้านการเงิน การตกงานกะทันหัน การถูกทำร้ายทั้งร่างกายและจิตใจ  หรือความสัมพันธ์ที่ไปไม่รอด

การสูญเสียคนรักอย่างกะทันหัน หรือความเจ็บป่วยเรื้อรังของญาติผู้ใหญ่

สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่คุณกำลังเผชิญอยู่ใช่หรือเปล่า 

====

ซ้ำร้ายกว่านั้น ในยามที่ชีวิตเป็นขาลง ดูเหมือนอะไรๆก็จะเข้ามาตามซ้ำเติม

ปัญหาหนึ่งยังไม่จบ ปัญหาใหม่ๆก็เข้ามาทับถม และส่งผลกระทบถึงเรื่องอื่นต่อๆไป

คุณทำอย่างไร เมื่อชีวิตอยู่ในช่วงวิกฤต

====

   ในช่วงเวลาแบบนี้คุณจะพบว่า ในใจมีแต่ความกลัวและความเจ็บปวด เพราะความหวังพังทลาย  คุณรู้สึกสูญเสียความมั่นใจ รู้สึกไร้คุณค่าและไม่ดีพอ รู้สึกสิ้นหวังและไม่มีกำลังใจจะก้าวเดินต่อ

สิ่งที่เกิดขึ้น อาจทำให้คุณจมอยู่ความรู้สึกย่ำแย่ และเศร้าโศกเนิ่นนาน จนกลายเป็นความซึมเศร้า ขาดกำลังใจที่จะใช้ชีวิต

คุณไม่รู้ว่าจะลุกขึ้นมาอีกครั้งได้อย่างไร ไม่ว่าใครจะมาพูดหรือปลอบโยนเท่าไหร่ ก็ไม่อาจช่วยให้คุณดีขึ้นมาได้เลย…

====

ตามกฎของจักรวาล “ทุกสิ่งไม่เที่ยงและจะเปลี่ยนแปลงไปเสมอ”

ดังนั้นโชคร้ายก็จะไม่อยู่กับคุณตลอดไป ในเมื่อชีวิตมีขาลงก็ย่อมมีขาขึ้น

ไม่ว่าคุณจะเชื่อหรือไม่ ข่าวดีก็จะมาเยือน แล้วคุณก็จะลุกขึ้นมาได้อย่างแน่นอน

แต่จะดีขนาดไหนถ้าหากเรามีวิธีที่จะทำให้ตัวเองดีขึ้นได้ในเร็ววัน

และต่อไปนี้คือ 5 วิธีที่จะช่วยคุณให้ฟื้นคืนจากวิกฤตชีวิตได้อย่างรวดเร็วและมั่นคง 

====

1. ยอมรับและเผชิญหน้ากับความเป็นจริง

มีความทุกข์อยู่ 2 อย่าง คือ ทุกข์ที่ทำให้คุณเจ็บปวด และทุกข์ที่ทำให้คุณเปลี่ยนแปลง

คุณจะเจ็บปวดก็ต่อเมื่อคุณต่อต้านมัน หากคุณยอมรับและพร้อมที่จะเดินไปกับมันได้ สิ่งนั้นจะนำมาซึ่งการเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่สำหรับคุณ 

อย่างแรกที่คุณต้องทำก็คือ ยอมรับว่ามันเกิดขึ้นแล้ว แม้ว่าคุณจะไม่ชอบมันเลยก็ตาม  การดิ้นรนต่อสู้กับมัน ด้วยความคาดหวังว่ามันจะไม่เกิดขึ้น(หรือหายไป)  จะยิ่งเสียพลังงานและเสียเวลาไปเปล่าๆ

การยอมรับจะทำให้คุณกลับมาพบความสงบในใจ และพร้อมที่จะเดินหน้าต่อในทิศทางใหม่ๆ

การปล่อยวางจะง่ายยิ่งขึ้น หากคุณ“ให้อภัย” ไม่ว่าจะเป็นกับตัวคุณเอง กับใครบางคน หรือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นไปแล้ว

การให้อภัยจะปลดปล่อยตัวคุณจากความเครียด ความกดดัน ความกังวล ความยึดติดกับอดีตและอนาคตทั้งหลาย

การยอมรับและการอภัย จะช่วยให้ใจของคุณรู้สึกเบาสบายขึ้น เป็นอิสระจากสิ่งที่คุณยืดถือและคาดหวังว่าจะต้องเป็น แม้ว่าสิ่งภายนอกจะยังเหมือนเดิมก็ตาม

====

2. โอบกอดตัวเองในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง

หากคุณหมดความมั่นใจ หมดความเชื่อมั่นและศรัทธาในตนเอง แสดงว่าคุณกำลังอยากจะเป็นใครคนอื่นที่ไม่ใช่ตัวคุณเอง 

ถามตัวเองว่า ฉันกำลังคาดหวังความสมบูรณ์แบบในชีวิตอยู่หรือเปล่า ลองฝึกมองอดีตที่ผ่านมาของตัวเอง จะพบว่าตัวคุณก็มีความสำเร็จเกิดขึ้นมาแล้วตั้งมากมาย

สิ่งที่คุณต้องการก็คือ การโอบกอดและยอมรับตัวเอง ในฐานะมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่ง

ระวังการเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น ชื่นชมความสำเร็จและมองเห็นความสวยงามของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ 

คุณคือคนธรรมดาที่สามารถทำผิดพลาดได้ มีความกังวล มีความกลัวอยู่เป็นปกติธรรมดาเช่นเดียวกับมนุษย์ทุกคน 

คุณไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์แบบ หรือไร้ข้อผิดพลาด คุณก็สามารถยอมรับและรักตัวเองได้

====

3. เตือนตัวเองว่า ทุกสิ่งเป็นของชั่วคราว

การก้าวข้ามที่สำคัญในชีวิต เกิดขึ้นเมื่อคุณตระหนักว่าสิ่งเลวร้ายต่างๆในชีวิต ทั้งที่เป็นข้อจำกัด ความล้มเหลว ความผิดพลาด ความสูญเสีย โชคร้ายและความเสื่อมถอย เป็นเพียงของชั่วคราวเท่านั้น

และหลายครั้งมันผ่านไปแล้ว แต่ความคิดของคุณยังทำให้มันคงอยู่ ไม่ไปไหน 

ความทุกข์และความไม่แน่นอน เป็นของชั่วคราว มันไม่มีทางอยู่ยั่งยืนไปตลอดกาล

เวลาจะค่อย ๆ เยียวยาจิตใจของคุณ แม้ว่าจะต้องใช้เวลานับเดือนนับปี แต่ท้ายที่สุดมันก็จะผ่านไป

ชีวิตคือภาพยนตร์เรื่องยาวที่จะหมุนต่อไปไม่หยุดนิ่ง ฉะนั้นอย่าให้ความทุกข์แค่บางฉากบางตอนมาเปลี่ยนตัวตนที่แท้จริงของคุณไปอีกเลย 

คนที่เข้มแข็งคือคนที่ร้องไห้ได้อย่างเปิดเผย แล้วก็พร้อมก้าวต่อไปเมื่อหยาดน้ำตาเหือดแห้งลง

====

4. มองหาสิ่งที่ขอบคุณได้ ในช่วงเวลานี้

การขอบคุณ คือการเยียวยาตัวเองที่เรียบง่ายและเป็นวิธีช่วยฟื้นฟูจิตใจเราได้อย่างน่าอัศจรรย์ 

ในภาวะที่กำลังจมอยู่กับตัวเองและความทุกข์ ลองมองหาสิ่งที่จะขอบคุณ ซึ่งจะเป็นอะไรก็ได้รอบตัว 

แม้ว่าสิ่งนั้นจะเป็นเล็กน้อยและธรรมดาแค่ไหนเราก็ขอบคุณ(ระลึกถึงคุณค่าของมัน) ได้เสมอ เช่น 

ขอบคุณที่ยังมีลมหายใจ ขอบคุณความรักจากคนรอบตัว ขอบคุณสิ่งที่คุณได้เรียนรู้จากเรื่องนี้

ฯลฯ 

หากเราลดการมองสิ่งที่ขาดหายไป แล้วหันมาขอบคุณสิ่งที่มีอยู่ ด้วยความรู้สึกสำนึกคุณ จะพบว่าหลายๆครั้งได้มองข้ามอะไรไปบ้าง

สิ่งที่สูญเสียไป คงเอากลับมาไม่ได้ แต่จะดีแค่ไหน ที่คุณได้ค้นพบสิ่งมีค่าที่ยังอยู่กับชีวิตที่เหลือนี้ 

====

5. ยื่นมือออกไป ช่วยใครสักคน

ความท้อแท้ในชีวิต ส่วนใหญ่เกิดขึ้นเพราะคุณรู้สึกสมเพชตัวเอง แม้มันไม่ใช่สิ่งที่ควรทำ แต่คุณก็ทำอยู่บ่อย ๆ โดยที่คุณอาจจะไม่รู้ตัว

ถ้าคุณสามารถจับความคิดได้ว่า คุณเริ่มดูถูกและต่อว่าตัวเอง ให้หยุดพักจากการสนใจตัวเองชั่วคราวแล้วมองไปที่ผู้คนรอบตัว

ลองหาทางที่จะช่วยเหลือใครสักคน แม้จะเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย เชื่อไหมว่าการช่วยเหลือคนอื่นจะทำให้คุณรู้สึกดีขึ้นได้แทบจะทันทีเลยทีเดียว 

เมื่อไหร่ที่คุณอยากได้รับการใส่ใจ ให้คุณใส่ใจผู้อื่น  จงดูแลเขาให้เหมือนกับที่คุณต้องการได้รับการดูแลด้วยจิตที่เมตตา และอ่อนโยน

 

การได้ช่วยเหลือใครสักคน จะทำให้คุณตื่นขึ้นมาจากฝันร้าย ที่ขังคุณไว้ในจิตใจอันโดดเดี่ยวของตัวเอง

====

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังท้อแท้สิ้นหวัง ขอให้รู้ว่า คุณไม่ได้เผชิญกับสถานการณ์นี้เพียงลำพัง

คนรอบตัวที่รักคุณ ต่างรู้สึกและได้รับผลกระทบจากความเศร้าและสิ้นหวังของคุณอยู่เช่นกัน

ยิ่งทำร้ายตัวเอง ก็จะยิ่งทำให้พวกเขาเจ็บปวดไปด้วย

ถ้านั่นไม่ใช่สิ่งที่คุณต้องการ ลองนำวิธีการทั้ง 5 ข้อนี้ในการพาตัวเองให้ฟื้นคืนขึ้นมาจากวิกฤตชีวิตและการงานดูสิครับ 

นั่นเท่ากับว่าคุณกำลังช่วยให้ชีวิตตัวเองและคนรอบตัวดีขึ้นไปพร้อมๆ กันเลยทีเดียว 

เมื่อฟื้นคืนจากวิกฤตชีวิตได้แล้ว ขั้นต่อไปคุณน่าจะอยากพัฒนาตัวเองให้ประสบความสำเร็จมากขึ้น อ่าน 5 พฤติกรรมที่คนสำเร็จจะไม่มีวันทำ คลิกที่นี่

====

บทความโดย CEO เรือรบ – ผู้ก่อตั้ง Learning Hub Thailand / ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาภาวะผู้นำ

ถ้าคุณสนใจเรียนรู้และฝึกฝนพัฒนา Mindset และทักษะของผู้นำยุคใหม่ ผมมีหลักสูตร The New Leadership Skills เพื่อพัฒนาให้คุณเป็นผู้นำที่พร้อมเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจยุคใหม่ คลิกดูรายละเอียดที่นี่

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962



3 Mindset ที่ช่วยให้การโค้ชลูกน้องมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

3 Mindset ที่ช่วยให้การโค้ชลูกน้องมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

เบื่อไหมครับกับการที่ลูกน้องกลับมาถามวิธีแก้ปัญหาเดิมซ้ำ ๆ ทั้งที่เราเคยบอกไปแล้วหลายครั้ง

เหนื่อยไหมครับกับการต้องคอยบอกคอยสอนงานลูกน้องทุกคนอย่างละเอียด  และเครียดไหมครับกับการที่ลูกน้องไม่เคยปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตัวเองทั้งที่เรามั่นใจว่า ‘โค้ช’ ไปตั้งหลายรอบแล้ว

ถ้าคุณเคยประสบปัญหา 1 ใน 3 อย่างข้างต้น (หรือพบเจอทุกปัญหา) ไม่ต้องกังวลไปครับ บทความนี้มีทางออกให้กับปัญหาหนักอกที่ทำให้คุณเบื่อ เหนื่อย และเครียดกับการบริหารลูกน้องมานานหลายปี

====

โค้ชลูกน้อง หนึ่งในงานหลักของหัวหน้า

        ในการทำงานยุคนี้เราทุกคนต่างเคยได้ยินคำว่า โค้ช (Coaching) หรือ โค้ชลูกน้อง กันมาบ้างไม่มากก็น้อย แต่เชื่อไหมครับว่ายังมีหลายคนที่เข้าใจคำนี้ผิดไป

เวลาที่บอกว่า “ฉันโค้ชลูกน้องแล้วนะ” บางคนหมายถึงการพูด บอก แนะนำ และสอนงาน ซึ่งทั้งหมดนี้เคยเป็นวิธีการที่โลกการทำงานยุคก่อนเรียกรวมๆ กันว่า โค้ช (เหมือนโค้ชกีฬาที่สอนและฝึกนักกีฬาด้วยการแนะนำ)

แต่ทว่าแท้จริงแล้วการโค้ช (Coaching) นั้นหมายถึง กระบวนการและทักษะการสื่อสารเพื่อกระตุ้นให้บุคคลค้นพบและตระหนักรู้ในสถานการณ์ปัจจุบันของตัวเอง (Reality) เล็งเห็นเป้าหมาย (Goal) ปลดปล่อยศักยภาพของตนเองออกมาในการค้นหาทางเลือก (Options) และกำหนดวิธีการจัดการ (Will) ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะนำไปสู่ทางออกหรือ Solution ซึ่งถือเป็นการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน

โดยการโค้ชจะใช้ทักษะหลัก ๆ 3 ทักษะ นั่นคือ

การตั้งคำถาม

การรับฟัง

การสะท้อน

นั่นหมายความว่าการโค้ชจะไม่มีการบอก การแนะนำ การพูดสอน ให้เขาทำอย่างนั้นอย่างนี้แต่จะช่วยให้เขาสามารถคิดหาคำตอบหรือวิธีการได้ด้วยตัวของเขาเอง

====

เพราะอะไรการโค้ชถึงไม่เวิร์ค

แม้จะเข้าใจการโค้ชได้อย่างถูกต้อง และมั่นใจว่าตัวเองใช้การตั้งคำถาม การรับฟัง และสะท้อนสิ่งที่ได้ยิน ทั้งการทวนคำ การสะท้อนสิ่งที่เขาอาจจะไม่เคยเข้าใจตัวเองมาก่อน ไปจนถึงการช่วยสรุปประเด็นแล้วก็ตาม แต่ในความเป็นจริงก็ยังมีหัวหน้าจำนวนมากที่พบว่าการโค้ชของพวกเขาไม่ประสบผลสำเร็จตามที่ต้องการ

เรื่องนี้อาจอธิบายได้จาก Mindset หรือ ทัศนคติของการโค้ช ที่คนซึ่งทำหน้าที่โค้ชหลายคนอาจยังไม่มีหรือที่หนักไปกว่านั้นก็คือ อาจจะเข้าใจการโค้ชผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริงอย่างสิ้นเชิงเลย

ก่อนจะฝึกฝนและพัฒนาทักษะ (Skills) ใดก็ตาม การกำหนดวิธีคิดให้ถูกต้องและเหมาะสมเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะมันอาจเป็นตัวกำหนดว่าการใช้ทักษะนั้นจะเวิร์คหรือไม่เวิร์คได้เลย

และจากประสบการณ์การโค้ชลูกน้องมานานหลายปี ตลอดจนเป็นที่ปรึกษาด้านการใช้ทักษะการโค้ชเพื่อพัฒนาลูกน้องให้กับองค์กรขนาดใหญ่ในประเทศหลายร้อยแห่ง ทำให้ผมได้ตกผลึก Coaching Mindset 3 ประการขึ้นมา ดังนี้

1.โค้ชไม่ใช่นักตีกรอบความคิด

เราอาจมีความรู้ มีประสบการณ์ที่มากกว่า สามารถบริหารจัดการอารมณ์ ความคิด และชีวิตได้ดีกว่าจนมั่นใจว่าวิธีการที่เราใช้คือสิ่งที่ดีที่สุดแล้ว แต่ความคิดเช่นนั้นทำให้เราไม่สามารถโค้ชได้อย่างแท้จริง

เพราะในกระบวนการโค้ช เราจำเป็นต้องปล่อยวางความคิดทั้งหลายเหล่านั้นลง แล้วทำหน้าที่เป็นเพื่อนร่วมเดินทางที่ยืนอยู่ ณ ตำแหน่งเดียวกับเขาอย่างแท้จริง การตั้งคำถามด้วย Mindset เช่นี้จึงเป็นคำถามที่เป็นปลายเปิด และเป็นคำถามที่โค้ชเองก็ไม่รู้คำตอบมาก่อนด้วยเช่นกัน

ระวังการตั้งคำถามที่ตัวเราเองรู้หรือคิดคำตอบอยู่ในใจแล้ว เพราะนั่นจะกลายเป็นคำถามปลายเปิดแบบปลอม ๆ เช่น เคยลองทำวิธีนี้แล้วหรือยัง หรือ เธอเคยคิดบ้างไหมว่าถ้าทำแบบนั้นจะส่งผลเสียอย่างไร เป็นต้น

====

2. การโค้ชไม่ใช่การสอนงาน

อย่างที่บอกไปว่าในสมัยก่อนคนมักใช้คำว่า โค้ช กับการสอนงาน และความเข้าใจนั้นก็ฝังแน่นติดต่อกันมารุ่นสู่รุ่น จนทำให้บางที่ บางคนยังเข้าใจเช่นนั้นอยู่

การสอนงาน ก็คือการเป็นครู (Teacher) หรือ การเป็นพี่เลี้ยง (Mentor) ที่ใช้ความรู้และประสบการณ์ตัวเองในการบอก แนะนำ สั่งสอน ซึ่งโดยมากจะเหมาะสำหรับคนที่เพิ่งเข้ามาทำงานใหม่ ๆ หรือ คนที่ไม่ค่อยมีประสบการณ์นั่นเอง

ส่วนการโค้ชนั่นมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคน ส่วนมากจะเหมาะกับคนที่มีความรู้หรือประสบการณ์มาพอสมควรแล้ว เพื่อที่เขาจะได้มีวัตถุดิบในการคิดและค้นหาทางเลือกใหม่ๆ ได้

ตราบใดที่ยังคิดว่าการโค้ชคือการสอน การบอก การแนะนำ การโค้ชของเราก็จะครึ่ง ๆ กลาง ๆ และขาดประสิทธิภาพอย่างแท้จริง ฉะนั้นต่อให้คุณรู้หรืออยากสอนแค่ไหนก็ต้องข่มใจ และหุบปากเอาไว้เสมอ

====

3. การโค้ชอาจไม่ใช่วิธีการที่สำเร็จเสมอไป

        แม้ว่าผมจะเชี่ยวชาญการโค้ช และนำการโค้ชไปใช้ในหลายองค์กร แต่ก็ต้องยอมรับว่าการโค้ชไม่ใช่วิธีการที่มีประสิทธิภาพเพียงวิธีการเดียวในการแก้ปัญหาและพัฒนาคน

การโค้ชจำเป็นต้องพิจารณาจากคนที่เราโค้ชและสถานการณ์ด้วย คนที่เหมาะสมจะได้รับการโค้ชควรเป็นคนที่มีความรู้และประสบการณ์มาพอสมควร ทำงานมาถึงระดับนึงจนถึงจุดติดขัดจนไปต่อไม่ได้ ซึ่งปัญหานั้นก็ควรเป็นปัญหาที่ไม่เร่งด่วนมากนักเพราะบางครั้งกระบวนการโค้ชจะต้องใช้เวลามากกว่าหนึ่งครั้งนั่นเอง

ถ้าคุณเป็นหัวหน้าที่ต้องบริหารคน ยังมีรูปแบบการดูแล และพัฒนาคนอีกเยอะมากที่คุณควรเรียนรู้และฝึกฝน ไม่ว่าจะเป็นการเป็นครูและพี่เลี้ยงที่บอกและสอนงานจากประสบการณ์ ซึ่งเหมาะกับมือใหม่ที่ยังไม่ค่อยมีประสบการณ์มากนัก

หรือคุณจะทำหน้าที่เป็นพี่หรือเพื่อนที่คอยรับฟังและทำความเข้าใจเขาโดยที่ยังไม่ต้องตั้งคำถามเพื่อรีบร้อนหาทางออกก่อนก็ได้

จะเห็นว่าการโค้ชเป็นกระบวนการและทักษะที่ทรงพลังถ้าหากคุณมี Mindset ที่ถูกต้องและสอดคล้องกับมันอย่างแท้จริง และการโค้ชของคุณอาจจะพังหรือไม่เกิดผลที่ดีถ้าคุณยังไม่มี Mindset เหล่านี้

====

ตั้งแต่นี้เป็นต้นไป ก่อนที่คุณจะเริ่มต้นโค้ชใคร ลองตั้งคำถามกับตัวเองดูนะครับว่า “ฉันมีความเชื่อทั้ง 3 ข้อนี้แล้วหรือยัง” นั่นคือ

ฉันคือโค้ช ไม่ใช่คนที่ตีกรอบความคิดของเขา

ฉันคือโค้ช ไม่ใช่ครูที่มาสอนงานเขา

ฉันคือโค้ช และฉันสามารถใช้วิธีการอื่น ๆ เพื่อช่วยเขาได้เช่นกัน

ขอให้คุณประสบผลสำเร็จในการโค้ชนะครับ

ถ้าคุณต้องการฝึกฝนการโค้ชให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อ่านโค้ชอย่างไรที่จะเพิ่มศักยภาพได้อย่างเต็มที่ คลิกที่นี่

====

ถ้าหากคุณต้องการเรียนรู้ทักษะการโค้ชเพื่อเพิ่มศักยภาพทีมงาน ขอแนะนำหลักสูตร High Impact Coaching & Positive Feedback คลิกดูได้ที่นี่ครับ 

บทความโดย 

อ.แบท อรรณพ นิยมเดชา

นักจิตวิทยาองค์กร

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 094 959 2645

5 ขั้นตอนเปลี่ยน Mindset เพื่อเปลี่ยนชีวิตก่อนอายุ 30

Mindset หรือ ทัศนคติ เป็นสิ่งที่กำหนดรูปแบบการดำเนินชีวิตของเรา

การเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาตนเอง เพื่อให้ชีวิตเปลี่ยนไปในทางที่ดี ย่อมต้องเริ่มมาจาก “การมี Mindset ที่ถูกต้อง” เสียก่อน

ซึ่งการเปลี่ยน Mindset นั้น เราควรทำให้ได้ก่อนอายุ 30 ซึ่งผมขอแชร์จากประสบการณ์ตรง ที่สามารถเปลี่ยน Mindset ของตัวเองได้ ซึ่งส่งผลให้ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นเป็นไปในทางที่ต้องการ 

และต่อไปนี้เป็น 5 ขั้นตอนง่ายๆ ที่ผมใช้จริงซ่งคุณสามารถนำไปปรับใช้ได้กับตัวเองได้เช่นกัน 

====

1. มองให้เห็นว่าปัญหาเป็นโอกาส

“การมองเห็นปัญหาที่แท้จริง เป็นจุดเริ่มต้นของทุกการเปลี่ยนแปลง”

การมองเห็นตัวเอง ไม่ใช่สิ่งที่ง่าย  คนเรามักมองไม่เห็นตัวเอง ถึงมองเห็นก็มักไม่ยอมรับ หรือยอมรับแล้ว ก็ไม่คิดว่ามันเป็นปัญหา ดังนั้นการมองเห็นปัญหา จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงในชีวิต

ในช่วงก่อนอายุ 30 มีหลายคนสะท้อนว่า แรกๆ ที่พบผม ผมเป็นคนดูหยิ่ง หน้าดุ ไม่ค่อยยิ้ม ซึ่งผมฟังแล้วก็เฉยๆ ไม่คิดอะไร เพราะคิดว่าเกิดมาหน้าตาเป็นอย่างนี้ แล้วมันก็ไม่ได้เป็นปัญหาอะไร

====

เมื่อใช้ชีวิตมานานขึ้น ก็ได้ยินเสียงสะท้อนมากขึ้น จากคนที่หวังดีอีกหลายๆ คน ทำให้ผมเริ่มเอะใจขึ้นมา

เห็นได้ชัดว่า การเห็นปัญหาของตัวเอง ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเลยจริงๆ แต่ในทุกปัญหา ย่อมมีโอกาส ผมลองย้อนคิดดูว่า ขนาดหน้าไม่รับแขก ทุกวันนี้ก็มีเพื่อนหลายคนนะ ถ้าผมยิ้มเก่ง ยิ้มง่ายขึ้น ดูน่าเข้าหา จะมีโอกาสดีๆ เข้ามาในชีวิตมากขึ้นแค่ไหน  

====

2. อย่าปลอบใจตัวเอง

“ปัญหาเล็กๆ มักส่งผลกระทบยิ่งใหญ่ โดยที่เราไม่เคยรู้ตัวเลย”

ก่อนหน้านี้ ผมไม่เคยมองเห็นปัญหา เพราะมองแค่ที่ตัวเอง ไม่ได้มองลึกลงไปถึง “ปัญหาใหญ่ที่ซ่อนอยู่” เพราะแน่นอนว่าปัญหาใหญ่ มันจะไม่ได้อยู่ตื้นๆ ที่พื้นผิวให้เรามองเห็นง่ายๆ

สำหรับเรื่องการยิ้ม ถ้ามองแค่ตัวเอง ผมย่อมไม่เดือดร้อน เพราะผมไม่ได้เห็นหน้าตัวเองนี่นา แต่ปัญหาที่ซ่อนอยู่ลึกๆ ก็คือ คนจะไม่ค่อยกล้าเข้าหาผม หรือไม่อยากเข้ามาพูดคุยกับผม ทำให้ผมมีเพื่อนน้อย จะมีเพื่อนใหม่ยิ่งยาก แต่ผมก็มักจะปลอบใจตัวเองว่า ไม่เห็นเป็นไร การมีเพื่อนน้อยก็ดี เรื่องไม่เยอะ การอยู่คนเดียวก็ดี สงบดี

การปลอบใจตัวเอง เป็นแนวโน้มให้เรา “ยึดติด” ในนิสัยเดิมๆ และไม่ได้ช่วยให้เรา “แก้ปัญหา” นั้นได้เลย

====

ฉะนั้นเมื่อเจอปัญหาเราจำเป็นต้องนำมาพิจารณาตรงๆ อย่างเป็นกลาง ด้วยการตั้งคำถามใหม่ว่า ภายใต้ปัญหาเล็กๆ ในเรื่องนั้น “อะไรคือปัญหาใหญ่ที่ซ่อนอยู่บ้าง”

สำหรับกรณีของผม ถ้ามองอย่างเป็นกลางแล้ว การที่เพื่อนน้อย หากไม่ใช่ปัญหาใหญ่ แต่การที่คนใหม่ๆไม่อยากจะมาทำความรู้จักกับผม เป็นปัญหาใหญ่แน่นอน เพราะนั่นหมายถึง โอกาสดีๆ และคอนเนคชั่นดีๆ ในชีวิตจะหายไป

นอกจากนั้นผมก็คงไม่สามารถแบ่งปันสิ่งดีดีในชีวิตกับใครได้มาก เพราะไม่มีใครอยากเข้าหาผมนั่นเอง

====

3. ทำให้เป็นเรื่องเร่งด่วน

“ชีวิตไม่เคยเร่งด่วน แต่ปัญหาของชีวิตต้องทำให้เป็นเรื่องเร่งด่วน”

เราสามารถนอนทับปัญหา หรือจมอยู่กับมันได้นานเท่านาน ถ้าเรายังมองว่าชีวิตโอเคอยู่ นอกจากชีวิตจะเจอกับวิกฤต ที่จะบังคับให้เราต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง การเปลี่ยนเพราะวิกฤตเป็นเรื่องเจ็บปวดมาก การจะรอให้ชีวิตเจอวิกฤตแล้วค่อยเปลี่ยนแปลง จึงไม่ใช่ทางเลือกที่ควรทำนัก

ความเร่งด่วนจะไม่เกิดขึ้นเอง มันจะต้องมาจากการเห็นความสำคัญของปัญหา โดยการจินตนาการจากคำถามว่า “หากเรายังนอนทับปัญหานี้ต่อไป สิ่งที่แย่ที่สุดที่จะเกิดขึ้นกับเราจะเป็นอย่างไร”

การที่ผมเป็นคนไม่ค่อยยิ้ม แต่เมื่อใช้ชีวิตมาสักระยะหนึ่ง พบว่า บุคคลิกของคนที่ประสบความสำเร็จและคนรวย มักจะเป็นคนที่มนุษยสัมพันธ์ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส ดูน่าคบหา ผมก็ชอบคนเช่นนั้น แต่ไม่เคยคิดว่าตัวเองจำเป็นจะต้องทำ

====

การเห็นปัญหาจึงเป็นแค่จุดเริ่มต้น และอาจจะยังไม่พอให้เราเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ ความเร่งด่วนจึงเป็นสิ่งที่เราจะต้องทำให้เกิดขึ้น ผมต้องลองพิจารณาว่าสิ่งที่แย่ที่สุดที่จะเกิดขึ้นถ้าผมยังไม่ยิ้ม มันจะเป็นอย่างไรได้บ้าง 

มีคำกล่าวว่า “ผลลัพธ์ในชีวิตของเรา สะท้อนตัวตนที่เราเป็น” ดังนั้นผมเลยย้อนมาดูผลลัพธ์ที่เห็นชัดที่สุดก็คือ “เงินในกระเป๋า” จึงเห็นได้ชัดเลยว่า มีน้อยกว่าที่ควร ผมเองยังไม่พอใจกับรายได้ของตัวเอง นั่นแสดงว่า “ตัวตนที่ผมเป็น” ในตอนนี้ยังไม่โอเคความเร่งด่วนจึงเกิดขี้นทันที

เมื่อผมคิดว่า ถ้ายังไม่ยิ้มแบบนี้ ชีวิตคงจะถังแตกไปเรื่อยๆ แล้วมันจริงซะด้วย เห็นคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิต เค้ายิ้มแย้มแจ่มใสกันทุกคน ว่าแต่ คิดได้แล้ว จะเปลี่ยนยังไงดีล่ะ

====

4. ออกเดินทาง เพื่อแก้ปัญหา

“การแก้ปัญหา ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ แค่นั่งคิด
แม้ว่าจริงๆ แล้วการแก้ปัญหา ก็คือการพลิกความคิดนั่นเอง”

ฟังแล้วงงมั้ยครับ สิ่งที่ผมอยากสื่อก็คือ การแก้ปัญหานั้นจะง่ายดาย แบบพลิกความคิดเลย ถ้าเรารู้วิธี แต่ขั้นตอนกว่าที่จะรู้วิธี เราจำเป็นต้องออกแรงเดินทางไปค้นคว้า ไปหาผู้รู้ หรือหาวิธีการมาครับ นั่งคิดเองไม่ได้ เพราะหากมันเป็นปัญหาได้ มันต้องใหญ่เกินกรอบความคิดของเราในปัจจุบันแน่นอน

คนที่ “ฝึกเจริญสติ” มาอย่างดีแล้วเท่านั้น ที่จะมีปัญญาที่สามารถทะลุทะลวงเข้าไปพิจารณาอดีตของตัวเอง จนเจอที่มาของนิสัยของตัวเองได้

หากเรายังไม่แก่กล้าถึงเพียงนั้น แนะนำให้หา “โค้ช” ไปปรึกษาในเรื่องที่เราติดขัด หรือไปเข้า “อบรมสัมมนา” ในคอร์สที่จะพลิกมุมมองพลิกชีวิตของตัวเองได้ หรืออย่างน้อยที่สุด “อ่านหนังสือ” ด้านการพัฒนาตัวเอง ให้ได้ข้อมูลใหม่ๆมาพัฒนาชีวิต

====

ส่วนตัวผม ในช่วงวัย 25-30 ก็ได้ไปเรียนรู้เพื่อพัฒนาตัวเองจากหลากหลายที่ ไม่ว่าจะไปคอร์สปฏิบัติธรรม เข้าสัมมนา ฝึกเจริญสติ เรียนศาสตร์โค้ชชิ่ง อ่านหนังสือหลายสิบเล่ม เพราะผมเชื่อว่ายังมีปัญหาหรือจุดบอดอีกมาก ที่ผมยังไม่รู้ว่ามี

และสิ่งเหล่านี้จะเป็นเครื่องมือที่จะมาช่วยผมได้ในอนาคต และข้อดีของการออกเดินทางก็คือ ระหว่างทางที่เราจะเดินไปแก้ปัญหานึงนั้น โดยรู้ตัวและบางครั้งก็ไม่รู้ตัว เราได้แก้ปัญหาเรื่องอื่นๆในชีวิตไปได้อีกมากเลยทีเดียว

แม้ว่าผมจะยังยิ้มไม่เก่งอยู่ แต่ผมเข้าใจชีวิตมากขึ้น รู้จักคนมากขึ้น ยอมรับความแตกต่างของคนได้มากขึ้น โดยไม่รู้ตัว ผมเริ่มเป็นคนรับฟังคนเก่ง มนุษย์สัมพันธ์ดี และมีแฟนที่น่ารัก อันหลังไม่เกี่ยวกับนิสัย แต่เป็นผลพลอยได้ครับ

====

5. นิสัยใหม่ ทำให้ยั่งยืน

“ไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่ทำครั้งเดียวแล้วได้ผล นอกจากเราจะเป็นคนสร้างนิสัยใหม่ขึ้นมา”

ในเมื่อนิสัยเก่าๆเค้าใช้เวลาสะสมมาหลายปี ทำให้เรากลายเป็นคนแบบนี้ได้ การสร้างนิสัยใหม่ ก็ต้องใช้เวลา หากเราคาดหวังจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมอย่างรวดเร็ว ย่อมจะผิดหวัง

ดังนั้นต้องเผื่อใจ และค่อยๆทำมันทีละนิด แต่บ่อยๆ ซึ่งในตอนแรกๆมักจะรู้สึกฝืน นั่นก็แปลว่ามาถูกทางแล้วครับ

ผมจึงต้องเริ่มฝึกที่จะยิ้มกับกระจกทุกเช้า เจอใครก็เตือนตัวเองว่าให้ยิ้ม ทั้งๆ ที่ในใจก็วิพากษ์วิจารณ์ตัวเองอยู่ด้วย แต่ผมรู้ว่า นิสัยใหม่ ก็ต้องเปลี่ยนความคิดใหม่ ไอ้ความคิดเดิมๆ มันจะยังไม่ทิ้งผมไปไหนหรอก

แต่หากเราทำนิสัยใหม่ มากเข้า บ่อยเข้า นานพอ ความคิดใหม่ก็จะเสียงดังความความคิดเดิมได้เอง อีกครั้ง สิ่งสำคัญคือ เราต้องมีสติ ในการใช้ชีวิตทุกวัน อย่าปล่อยให้อารมณ์ ความขี้เกียจ และความคุ้นชินเดิมๆ มันลากเรากลับไปได้ เพราะนั่นเท่ากับเรายอมแพ้กับชีวิตและอนาคตของตัวเอง

====

ไม่จำเป็นว่าเราต้องอายุน้อยกว่า 30 ที่จะทำตามเทคนิคเหล่านี้ได้ ขอแค่หัวใจเราอายุน้อยกว่า 30 ที่ยังมองว่าอนาคตยังมีความหวัง ยังอยากเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อให้วันนี้ดีที่สุด และเพื่อวันพรุ่งนี้ที่จะดีกว่า

เทคนิคทั้ง 5 ข้อนี้ ก็จะช่วยคุณได้มากๆเลยละครับ แม้ผมไม่รู้สาเหตุในอดีตว่าทำไมตัวเองไม่ชอบยิ้ม แต่ด้วยการเปลี่ยน Mindset และการฝึกทุกวัน ตอนนี้เมื่ออายุ 40 กว่าปี ผมเริ่มยิ้มได้อย่างเป็นธรรมชาติแล้ว เสียงในหัวของผมเงียบลงไป และจะทำให้ผมยิ้มเก่งยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ถ้าเจอกับผมก็แวะเข้ามาหามาชวนคุยได้ครับ ผมไม่ดุ รับรอง ^__^

เมื่อปรับ Mindset ของตัวเองได้แล้ว ผมเชิญชวนทุกท่านให้มาทบทวน 4 คุณสมบัติของผู้นำยุคใหม่ ว่าคุณพร้อมหรือยังที่จะเป็นผู้นำในโลกธุรกิจที่เต็มไปด้วยความผันผวนเช่นนี้ คลิกอ่านที่นี่

====

บทความโดย CEO เรือรบ – ผู้ก่อตั้ง Learning Hub Thailand / ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาภาวะผู้นำ

ถ้าคุณสนใจเรียนรู้และฝึกฝนพัฒนา Mindset และทักษะของผู้นำยุคใหม่ ผมมีหลักสูตร The New Leadership Skills เพื่อพัฒนาให้คุณเป็นผู้นำที่พร้อมเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจยุคใหม่ คลิกดูรายละเอียดที่นี่

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

เพิ่มความสำเร็จให้องค์กรด้วยการปลูกฝัง Entrepreneurship Mindset ให้ทีมงานของคุณ

เพิ่มความสำเร็จให้องค์กรด้วยการปลูกฝัง Entrepreneurship Mindset ให้ทีมของคุณ

ในฐานะเจ้าของกิจการ ผมมีหนึ่งความลับที่อยากจะมาแบ่งปัน

มันเป็นความลับในการช่วยให้ธุรกิจผ่านพ้นปัญหา ก้าวข้ามอุปสรรค และเติบโตขึ้นกว่าเดิมแม้จะพบเจอความเปลี่ยนแปลงมากมายขนาดไหนก็ตาม

และที่สำคัญที่สุด นี่คือความลับที่ผู้บริหารและเจ้าของธุรกิจเก่ง ๆ ซึ่งเคยนำพาธุรกิจให้เติบโตท่ามกลางวิกฤตไม่เคยบอกคุณมาก่อน

===

หัวใจของความสำเร็จของธุรกิจคือการพัฒนา Mindset ของคน

คนเก่งที่มีทักษะ ความสามารถ มีมันสมองเป็นเลิศ บริหารจัดการตัวเองได้ดีเยี่ยม เป็นทรัพยากรบุคคลที่ทุกบริษัทต้องการตัว แต่สิ่งสำคัญซึงเป็นรากฐานของทุกสิ่งที่กล่าวไปซึ่งน้อยคนจะพูดถึงก็คือ ทัศนคติ หรือ หลักคิด หรือ Mindset ของคน ๆ นั้น

ไม่มีประโยชน์อะไรเลยถ้าองค์กรคุณมีคนที่เก่งและฉลาดสุด ๆ แต่มี Mindset ที่ไม่ดี หรือ พูดให้ตรงกว่านั้นก็คือ มี Mindset ที่ไม่ได้ช่วยให้องค์กรเติบโต

ซึ่งหนึ่งใน Mindset ที่จะช่วยให้องค์กรก้าวข้ามปัญหาและเติบโตท่ามกลางวิกฤตได้ก็คือ  Entrepreneurship Mindset หรือ ทัศนคติของการเป็นผู้ประกอบการ

คุณอาจจะตั้งคำถามว่าเพราะอะไรพนักงานหรือทีมงานจะต้องมีทัศนคติของผู้ประกอบการด้วย ในเมื่อเขาไม่ใช่ผู้ประกอบการนี่นา จริงอยู่ครับที่ถ้ามองในนิยามหรือความหมายแบบตรงตัวแล้ว พนักงานของเราจะไม่ใช่ผู้ประกอบการโดยตรง แต่ถึงอย่างไรทัศนคติของผู้ประกอบการก็จำเป็นต่อการทำงานแบบมืออาชีพเป็นอย่างมาก

===

ทัศนคติที่แตกต่างกันของ ‘ลูกจ้าง (Employee) กับ ‘ผู้ประกอบการ ( Entrepreneur)’

เพื่อให้คุณเข้าใจเรื่องนี้มากขึ้น ผมจะยกตัวอย่างทัศนคติหรือหลักคิดที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงของคนสองแบบ (ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับตำแหน่งงานนะครับ) นั่นคือ คนที่มองว่าตัวเองคือลูกจ้าง กับ คนที่มองว่าตัวเองคือผู้ประกอบการ คนหนึ่ง

ด้านเป้าหมาย

ลูกจ้างจะต้องการความมั่นคง (Security) VS  ผู้ประกอบการจะมองหาการเปลี่ยนแปลง (Change)

ลูกจ้างโหยหาความมั่นคงปลอดภัยเป็นชีวิตจิตใจ เขาจึงไม่กล้าเสี่ยง ไม่คิด ริเริ่ม ทำอะไรใหม่ ๆ และหวาดกลัวปัญหา อุปสรรค ความท้าทายที่เข้ามาเป็นอย่างมาก

ด้วยทัศนคติเช่นนี้ทำให้เขาทำอะไรแบบพอผ่านไปวัน ๆ ไม่คิด ริเริ่มทำอะไรใหม่ ๆ แม้ว่าสิ่งที่ทำอยู่จะไม่เวิร์ค หรือ ยังดีไม่สุด(มันสามารถทำให้ดีเยี่ยมกว่านี้ได้)

ส่วนผู้ประกอบการคือคนที่มองหาความเปลี่ยนแปลง เขารู้ดีว่าทุกวิกฤตและปัญหาที่ผ่านเข้ามามีโอกาสซ่อนอยู่เสมอ เขายอมรับความจริงที่ว่าทุกสิ่งในโลกล้วนเปลี่ยนแปลงและไม่แน่นอนเสมอ พวกเขาจึงไม่กลัวความเปลี่ยนแปลง ไม่กลัว ปัญหา แถมยังพยายามคิดและทำสิ่งใหม่ ๆ ให้ดียิ่งขึ้นอยู่เสมออีกด้วย

===

ด้านอารมณ์

ลูกจ้างจะหวาดกลัว (Fear) VS ผู้ประกอบการจะมีไฟ (Motivation)

สอดคล้องกับด้านเป้าหมายที่ได้บอกไป เมื่ออยู่ด้วยภาวะยึดมั่นในความมั่นคงปลอดภัย ลูกจ้างก็จะเกิดความกลัวท่วมท้นใจ คนกลุ่มนี้จะหวาดผวากับความเปลี่ยนแปลงและปัญหาต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาเป็นอย่างมาก และภาวนาไม่ให้เกิดปัญหาใดใด

รวมถึงเมื่อเกิดปัญหาขึ้นจริง ๆ พวกเขาจะเชี่ยวชาญเป็นอย่างมากในการบ่น ด่า ว่า แก้ตัว และโทษคนอื่น สิ่งอื่นนอกตัว

ส่วนผู้ประกอบการนั้นเมื่อตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด พวกเขาจึงมองว่าทุกปัญหา ทุกการเปลี่ยนแปลงคือเรื่องปกติและโอกาสที่เข้ามาให้ได้เสี่ยง  พวกเขามีไฟอยู่ภายในที่พร้อมจะเผชิญความท้าทายเหล่านั้นและสร้างความสำเร็จจากความท้าทายเหล่านั้นด้วย

===

ด้านคาแรคเตอร์

ลูกจ้างจะเป็นคนล้มแล้วเลิก (Vulnerability) VS ผู้ประกอบการจะเป็นคนล้มแล้วลุก (Resilience)

แน่นอนว่าทุกคนจะต้องพบเจอปัญหา อุปสรรค ความไม่สะดวกสบาย ซึ่งมีทั้งขนาดเล็กๆ ไปจนถึงขนาดใหญ่และซับซ้อน  คนที่มองว่าตัวเองเป็นลูกจ้างเมื่อพบเจอปัญหาจะเข็ดขยาด

เขาอาจไม่กล้าทำสิ่งนั้นต่อ หลีกเลี่ยงการทำอะไรที่ต้องพบเจอเรื่องคล้ายเดิม หรือ แย่ไปกว่านั้นก็คือ ไม่สามารถลุกขึ้นยืนหยัดได้ใหม่ทำให้ปัญหาลุกลามบานปลายหรือสะสมเรื้อรัง

ส่วนผู้ประกอบการคือคนจำพวก Resilience คือ ล้มแล้วลุกขึ้นใหม่อีกครั้ง คนกลุ่มนี้เหมือนคนที่ฆ่าไม่ตาย ไม่ใช่ว่าจะไม่เศร้า เสียใจ หรือไม่ท้อ ไม่เครียดเวลาเจอปัญหา พวกเขามีความรู้สึกเหล่านั้นไม่ต่างจากลูกจ้าง

สิ่งที่ต่างกันคือพวกเขากำหนดขอบเขตความเศร้าเสียใจ ผิดหวังเอาไว้ แล้วสามารถลุกขึ้นมาได้ใหม่อีกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการแก้ปัญหาหรือปล่อยวางเรื่องที่แก้ไม่ได้แล้วทำสิ่งอื่นต่อไป

===

ด้านความรับผิดชอบ

ลูกจ้างจะรับผิดชอบตามหน้าที่ (Responsibility) VS ผู้ประกอบการจะรับผิดชอบต่อผลลัพธ์ (Accountability)

นี่คืออีกหนึ่งความแตกต่างที่ส่งผลอย่างมหาศาล ลูกจ้างทำตามบทบาทหน้าที่แค่ให้เสร็จไปวัน ๆ คำว่า คุณภาพเป็นเลิศ หรือ คุณภาพเหนือกว่าความคาดหวังของลูกค้าเป็นสิ่งที่ไม่เคยอยู่ในหัวของลูกจ้าง

ส่วนผู้ประกอบการจะโฟกัสที่ผลลัพธ์ เขาอาจไม่ได้ทำตาม Job Description ที่วางไว้แบบเป๊ะ ๆ แต่เขาคำนึงถึงคุณภาพของผลลัพธ์ ความพึงพอใจของลูกค้าหรือผู้ที่เขาส่งมอบงานเป็นหลักนั่นเอง

===

สรุปองค์ประกอบของ Entrepreneurship Mindset in Organization

เมื่อเข้าใจความต่างระหว่างคนที่มองว่าตัวเอง(เป็นแค่) ลูกจ้าง กับ คนที่มองว่าตัวเองคือ ผู้ประกอบการ คนหนึ่งแล้ว คุณจะเห็นภาพแล้วว่าเพราะอะไรเราถึงควรปลูกฝังทัศนคติของผู้ประกอบการให้แก่ทีมงานของเรา

และทั้งหมดนี้คือองค์ประกอบที่สำคัญของ Entrepreneurship Mindset

  • Drive for Change (มีแรงขับดันจากภายใน)
  • Self – Motivation (สร้างไฟให้ตัวเองได้)
  • Resilience (ล้มแล้วลุก มีความถึกทน)
  • Accountability (มีความรับผิดชอบที่แท้จริง)

คำถามก็คือ แล้วเราจะปลูกฝังหรือพัฒนา Entrepreneurship Mindset ให้ทีมงานได้อย่างไร ผมจะบอกวิธีการที่ผมใช้จริงกับองค์กรของตัวเองและนำไปถ่ายทอดให้แก่องค์กรที่ผมเป็นที่ปรึกษาแล้วประสบความสำเร็จมากกว่าสิบองค์กร

===

วิธีการพัฒนา Entrepreneurship Mindset ให้พนักงาน

การจะพัฒนา Entrepreneurship Mindset ขึ้นมาได้ คุณกับพนักงานจำเป็นจะต้องรู้เรื่องสำคัญอย่างน้อย 2 เรื่อง

เรื่องที่ 1 ระยะห่างระหว่างจุดสองจุด

จุด A = ตอนนี้เราอยู่ที่ไหน

จุด B = ปลายทางที่เราต้องการจะไปอยู่ที่ไหน

คุณกับคนในทีมจำเป็นต้องพูดคุยเพื่อให้เห็นภาพจุดทั้งสองให้ชัดเจนที่สุด เพื่อจะได้มองเห็นว่าระยะห่างระหว่างจุดทั้งสองมีมากแค่ไหน ต้องใช้เวลาในการเดินทางนานแค่ไหน แล้วระหว่างทางอาจมีอุปสรรคอะไรเกิดขึ้นบ้าง

หนึ่งในอุปสรรคสำคัญของการสร้าง Entrepreneurship Mindset คือ ความคิดที่ว่าทุกสิ่งที่ทำออกมาต้องประสบความสำเร็จตั้งแต่ครั้งแรก ซึ่งแก้ได้โดยการ ปรับวิธีการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงด้วย Agile Mindset คลิกอ่านที่นี่

===

เรื่องที่ 2 Talent Level Model

นี่คือโมเดลที่เปรียบเหมือนแผนที่ Mindset ของคน มันจะช่วยให้คุณเข้าใจคนในองค์กรได้มากขึ้นว่าตอนนี้คนไหนมี Mindset อยู่ ณ จุดไหน นำไปสู่การเลือกวิธีการพัฒนา Mindset ของเขาได้ดีขึ้นด้วย

โมเดลนี้จะแบ่งคนตามระดับ Mindset ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของความคิดและพฤติกรรมของคน ๆ นั้น เราจะสามารถวิเคราะห์ได้ว่าคน ๆ นี้มี Mindset ที่เข้าใกล้ความเป็นผู้ประกอบการมากกว่าลูกจ้างหรือไม่

ประโยชน์ของการเรียนรู้ Talent Level Model

  • ทำให้เข้าใจถึงรากของพฤติกรรมและความคิดของตัวเองและคนในทีม
  • ทำให้เห็นอุปสรรคหรือสิ่งที่ฉุดรั้งการเติบโตของคนแต่ละคน
  • ได้รู้วิธีการและขั้นตอนในการพัฒนา Mindset ของเราและคนในทีมให้เติบโตอย่างยั่งยืน

ซึ่งรายละเอียดเรื่อง Talent Level Model นั้นมีเยอะมาก ไม่สามารถเขียนอธิบายอย่างละเอียดได้ในบทความนี้ ซึ่งถ้าคุณต้องการเรียนรู้และฝึกฝนโมเดลนี้ ตลอดจนเทคนิควิธีการพัฒนา Entrepreneurship Mindset ให้แก่คนในทีมของคุณ ผมมีโปรแกรมที่สามารถพัฒนาและต่อยอดให้พนักงานของคุณกลายเป็นผู้ประกอบการภายในองค์กรอย่างเต็มตัวแม้ว่าเขาจะไม่เคยมีหลักคิดหรือพฤติกรรมแบบผู้ประกอบการมาก่อนเลยก็ตาม

โปรแกรมนี้ชื่อ Corporate Entrepreneurship Program ดูรายละเอียดที่นี่ 

===

บทความโดย

อ.พีท ชวรณ ธีระกุลชัย   

Business Transformation Coach   

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

3 เทคนิคในการยอมรับและชื่นชมลูกน้อง

3 เทคนิคในการยอมรับและชื่นชมลูกน้อง

ถ้าลองไปถามลูกทีมหรือลูกน้องในองค์กรต่าง ๆ ว่าเพราะเหตุใดพวกเขาจึงยังคงทำงานอยู่ที่นั่น คำตอบส่วนใหญ่ที่ออกจากปากพวกเขาก็คือ

“ผม / ดิฉันรู้สึกว่าตัวเองยังมีคุณค่าและมีตัวตน”

ความรู้สึกนี้สอดคล้องกับหลักการบริหารคนที่เรียกว่า “ต้องแสดงการยอมรับและยกย่องชื่นชม” (Recognition and Appreciation)

ผู้นำที่อยากให้ลูกน้องที่เก่งและดีทำงานด้วยกันต่อหรืออยากให้ลูกน้องพัฒนาผลงานด้วยความเต็มใจ ไม่ควรละเลยหลักการนี้เป็นอันขาด เพราะสองหลักการนี้นำมาซึ่งความรู้สึกภาคภูมิใจ

เมื่อคนทำงานได้รับความภาคภูมิใจ พวกเขาจะร่วมผลักดันผลงานอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการคิดสร้างสรรค์ การอดทนทำงาน การซื่อสัตย์ หรือการรีดเค้นผลงานที่ดีที่สุดของตัวเองออกมา
====

การยอมรับ (Recognition) ไม่ใช่เพียงแค่การแสดงออกว่าจดจำตัวเขาและผลงานที่เขาทำได้ แต่ยังรวมถึงการให้ Feedback เชิงบวก ว่าลูกน้องได้ทำอะไรดี ๆ มาบ้าง บางครั้งอาจอยู่ในรูปของการให้รางวัล ให้โบนัส เลื่อนขั้น หรือบางทีเพียงแค่การพูดว่าขอบคุณหรือเขียนโน้ตเป็นลายมือก็ถือว่ามีคุณค่ามากพอแล้ว

แต่การยอมรับต้องทำอย่างระมัดระวัง เพราะวิธีนี้ไม่สามารถทำได้กับทุกคน ที่สำคัญมันเป็นการให้คุณให้โทษที่ขึ้นอยู่กับผลงานที่เกิดขึ้นจึงต้องทำเป็นวาระโอกาสและเป็นวาระที่มักจะมาจากเจ้านายไปสู่ลูกน้องเป็นหลักด้วย
====

การยกย่องชื่นชม (Appreciation) มีเพื่อเสริมส่วนที่การยอมรับ (Recognition) ขาดหายไป เพราะวิธีนี้ไม่ใช่แค่การรอให้เขาทำผลงานดีออกมาก่อนเท่านั้น แต่การยกย่องชื่นชมสามารถทำได้เรื่อย ๆ ในฐานะเพื่อนมนุษย์ที่เห็นว่าอีกฝ่ายทำงานดี

====

การชื่นชมว่าอีกฝ่ายมีคุณค่านั้น ทำได้หลายวาระกว่า เช่นเทคนิคดังต่อไปนี้

รับฟัง

การฟังอีกฝ่ายพูดเป็นแสดงถึงการให้ความสำคัญ หากมีคนมาคุยด้วยตอนเรากำลังเล่นมือถือหรือจ้องหน้าคอมพิวเตอร์อยู่แล้วเราต้องการให้ความสำคัญกับเขา ให้หยุดกิจกรรมนั้นแล้วหันมาสบตาผู้พูดและตั้งใจฟังดีกว่า

หนึ่งในทักษะการฟังที่มีประสิทธิภาพสูง ก็คือ Active Listening ทักษะการฟังที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้คนในทีม ศึกษาและฝึกฝนได้คลิกที่นี่
====

บอกคนอื่นๆ ว่าคนที่เราชื่นชมเจ๋งอย่างไร

การประกาศให้คนอื่นรู้นั้นไม่ต่างจากการให้ของขวัญที่ล้ำค่า เพราะนอกจากจะทำให้เจ้าตัวปลื้มแล้ว ยังเป็นการสร้างสถานะที่ดีของคนที่ถูกชมต่อหน้าสาธารณะชนอีกด้วย
====

แสดงออกไปเลย

บอกคนที่เราชื่นชมไปเลย ว่าสิ่งที่เป็นตัวเขานั้นดีเยี่ยมเพียงไร อาจจะถามเขาด้วยว่าเขาทำมันได้อย่างไรเพื่อแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของสิ่งที่เขาทำว่ามันมีมากจนเราสนใจ และแสดงความสนใจว่ามันจะดำเนินไปอย่างไรต่อ

ผลการสำรวจของพนักงานในองค์กรต่างๆ ผลที่ได้มากกว่าครึ่งหนึ่งพบว่า คำชื่นชมจากเจ้านายทำให้พวกเขามีแรงใจที่จะอยู่ที่เดิมต่อไป และแม้ว่าเจ้านายจะชื่นชมบ้างแต่ส่วนใหญ่แล้วพวกเขาก็ยังจะอยากได้มันต่อไปอีกเรื่อย ๆ

แล้วคุณล่ะ วันนี้ได้ให้ยอมรับหรือชื่นชมคนอื่นอย่างจริงใจแล้วหรือยัง

====

หนึ่งในทักษะสำคัญที่ช่วยเพิ่มศักยภาพให้แก่ลูกน้องได้คือการ Coaching และให้ Feedback  ซึ่งคุณสามารถเรียนรู้และฝึกฝนได้จากหลักสูตร High Impact Coaching and Positive Feedback คลิกที่นี่

เรียบเรียงจาก “Why Employees Need Both Recognition and Appreciation” โดย Mike Robbins จาก Harvard Business Review 12 พฤศจิกายน 2019

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 


ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 094 959 2645

4 คุณสมบัติของผู้นำยุคใหม่

4 คุณสมบัติของผู้นำยุคใหม่

ผู้นำองค์กรคนหนึ่งกำลังนำทีมผ่านพายุแห่งความเปลี่ยนแปลง บริษัทการเงินของเขาต้องเผชิญหน้ากับการตัดสินใจครั้งสำคัญ นั่นคือ…

มีพนักงานคนสำคัญที่นิสัยดีมากแต่ทำงานไม่ได้เรื่อง และมีคำถามในหัวของเขาคือ “จะเชิญพนักงานคนนี้พ้นจากตำแหน่งในบริษัทได้อย่างไร”

โชคร้ายที่ผู้นำองค์กรท่านนั้นไม่กล้าตัดสินใจอย่างเด็ดขาด หรือเขาอาจตัดสินใจไปแล้วแต่ไม่กล้าลงมือ เวลาผ่านไป 3 เดือนเขาก็ยังไม่ยอมเซ็นคำสั่ง เสียงในหัวของเขามีแต่คำต่อว่าตัวเองว่า “อ่อนแอจัง”

====

คุณก็รู้ว่ามนุษย์ทุกคนล้วนมีความรู้สึก น้อยคนมากที่จะทำตามที่คิดเอาไว้ได้ทุกอย่าง หลายครั้งที่เดินมาถึงช่วงเวลาสำคัญที่ต้องตัดสินเชิงกลยุทธ์โดยไม่มีอารมณ์มาปะปน ก็มักจะเป็นช่วงเวลาที่ยากเสมอ

ต่อให้ไม่ใช่ CEO หรือไม่ได้มีตำแหน่งหัวหน้า แต่ถ้าถึงคราวที่ต้องขึ้นมานำทีมหรือนำโปรเจคอะไรสักอย่าง สิ่งที่เราต้องมีก็คือพลังอำนาจ การสร้างแรงดึงดูดเพื่อให้คนยอมทำตามโดยพร้อมพลีกายถวายชีวิตอย่างสุดความสามารถ

แต่การนำทีมแบบแข็งเกินไปก็ไม่ใช่เรื่องดี ผู้นำต้องแสดงถึงความห่วงใยคนในทีม การสื่อสารให้ดีที่สุด การจูงใจอย่างเหมาะสมที่ไม่ยอกย้อนจนดูมีเล่ห์เหลี่ยม

ผู้นำที่ดีควรจะจริงใจและเป็นตัวของตัวเองในขณะเดียวกันก็รับฟังและแสดงความโอบอ้อมอารีแม้ว่าจะถูกท้าทายอย่างหนักหน่วงก็ตาม 

====

จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่ทำงานกับผู้นำประเภทต่าง ๆ มาแล้วมากมายจนสามารถตกผลึก 4 คุณลักษณะที่ผู้นำจะต้องมี ดังนี้

1.มีความมั่นใจในตัวเอง (Confident)

ดูเหมือนจะเป็นเรื่องง่ายที่ผู้นำสอบผ่านกันทุกคน แต่มันไม่เป็นความจริงเลย เป็นเรื่องน่าแปลกที่ผู้นำหลายคนที่ประสบความสำเร็จกลับสอบตกในข้อนี้กันหลายคน

อย่าให้ภาพลักษณ์ภายนอกมาหลอกลวงคุณได้ เพราะแท้จริงแล้วภายในใจของผู้นำหลายคนกลับเปราะบาง

หลายคนทำงานหามรุ่งหามค่ำเพราะต้องการอำพรางความไม่มั่นใจในตนเอง จึงมุ่งสร้างภาพให้คนอื่นเห็นแล้วรู้สึกพึงพอใจที่เห็นเขาทุ่มเทจริงจัง

ความมั่นใจที่แท้จริงคือ ผู้นำจะรู้ว่าตัวเองเป็นใคร สามารถมองภาพอนาคตว่าตัวเองจะเป็นอะไร เขาจะมุ่งหน้าสู่เป้าหมายนั้นโดยไม่วอกแวกระหว่างทาง รวมถึงใช้พลังงาน เวลา ทักษะความสามารถ และเงินอย่างชาญฉลาดและมีกลยุทธ์ ไม่ใช่บ้าพลังทุ่มเททุกสิ่งเหมือนคนเสียสติ

ถ้าการสร้างความมั่นใจในตัวเองเป็นเรื่องยากสำหรับคุณ ขอแนะนำให้อ่าน สุดยอดเทคนิคสร้างความเชื่อมั่นในตัวเองที่เห็นผลสุดๆ คลิกที่นี่

====

2.เชื่อมต่อกับผู้อื่น (Connected)

การสื่อสารกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพจะนำมาซึ่งความเข้าใจในการทำงาน กระทั่งเวลาที่มีความเห็นที่ไม่ลงรอยกันก็ยังทำให้คนอื่นรู้สึกไว้วางใจในตัวเราได้

หมายความว่าเมื่อมีข้อขัดแย้งหรือเกิดปัญหาใดใดอย่าเพิ่งผลีผลามทำอะไรโดยไม่เห็นหัวคนอื่น แต่จะต้องค่อย ๆ หาข้อมูลอย่างรอบด้านเพื่อนำไปสู่ข้อสรุปที่เป็นธรรมกับทุกฝ่าย 

====

3.มีจุดหมายในภารกิจอย่างชัดเจน (Committed)

ผู้นำต้องรู้แน่ชัดว่าอยากจะทำอะไรให้สำเร็จแล้วผลักดันให้คนอื่นมาร่วมทำด้วยตั้งแต่เริ่ม นอกจากนี้ยังต้องเปิดใจให้กว้างและไม่รีรอที่จะขอความช่วยเหลือเพื่อไปสู่ผลลัพธ์ที่วางเอาไว้

หมายความว่า อะไรที่ขัดขวางเป้าหมายนั้น ผู้นำจะต้องจัดการได้อย่างเด็ดขาด

หากมีหัวหน้าพนักงานขายที่ทำงานไม่ได้ตามที่ต้องการ สิ่งที่ผู้นำต้องทำคือการแสดงความเด็ดขาดเพื่อให้ลูกน้องทุกคนได้เห็น ท้ายที่สุดแล้วการไล่ออกไม่ใช่เรื่องเลวร้าย เพราะมันคือภารกิจในการนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ

====

4.มีความกล้าหาญ (Courageous)

เมื่อใดที่เกิดความเสี่ยง เมื่อนั้นผู้นำย่อมรู้สึกเปราะบาง ผู้นำบางคนเลือกที่จะหลีกเลี่ยงและอำพรางสถานการณ์สุ่มเสี่ยงโดยไม่สื่อสารให้ใครรู้ แต่นั่นไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้อง ผู้นำจะต้องเข้มแข็งพอที่จะบอกทุกคนถึงสิ่งที่เกิดขึ้น และต้องตัดสินใจในเรื่องที่ยากลำบากอย่างรวดเร็วด้วย

ถือเป็นเรื่องดีมากหากใครเป็นผู้นำที่สามารถหลอมรวมคุณลักษณะทั้ง 4 ข้อมาไว้ในตัวได้ แต่ถ้าจะไม่มีทั้งหมดก็ไม่ใช่เรื่องแปลก ผู้นำบางคนมีเพียง 1 หรือ 2 ข้อ แต่ทั้งหมดสามารถฝึกฝนได้ และถ้าคุณทำได้ครบทุกข้อ คุณคือผู้นำที่ยอดเยี่ยมที่สุดคนหนึ่งแล้วล่ะ

====

การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพคือทักษะสำคัญที่จะทำให้ผู้นำเชื่อมโยงกับคนในทีม คนในองค์กร และคนภายนอกได้ เรียนรู้และฝึกฝนเรื่องนี้ได้ในหลักสูตร  Executive Communication ดูรายละเอียดคลิกที่นี่

เรียบเรียงจาก “Great Leaders Are Confident, Connected, Committed, and Courageous” โดย Peter Bregman ตีพิมพ์เมื่อ 13 กรกฎาคม 2018 ใน Harvard Business Review

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

 

วิธีทำให้ลูกน้องร่วมมือกับเราอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

วิธีทำให้ลูกน้องร่วมมือกับเราอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

อยากให้ลูกน้องทำงานอย่างเต็มความสามารถ สู้งานหนักแบบไม่ย่อท้อ ทำตามคำสั่งของเราแบบ 100% โดยไม่โต้แย้ง

ไม่ดื้อเงียบหรือรับคำสั่งแล้วไม่ทำ อยากให้ลูกน้องเข้ามาปรึกษาหรือขอคำแนะนำจากเราทันทีที่เกิดปัญหา ฯลฯ

เป็นเรื่องปกติธรรมดาที่หัวหน้างาน ผู้จัดการ และผู้นำหลายคน ‘อยาก’ ให้คนอื่นทำในสิ่งที่เราต้องการ

แม้จะดูยากเย็นขนาดไหน แต่หัวหน้างาน ผู้นำทีมทุกคนสามารถเพิ่มโอกาสในการได้ในสิ่งที่ต้องการทั้งหมดนั้น ขอแค่มีวิธีคิด และวิธีการที่ไม่ได้เริ่มต้นจากการโฟกัสที่ความต้องการของตัวเอง!

====

        ดูเป็นเรื่องที่เหมือนจะย้อนแย้งกันเอง เพราะเราทุกคนมีสิ่งที่ปรารถนาให้คนอื่นทำตาม หรือ ทำในสิ่งที่เราอยากได้ แต่เรากลับต้องเริ่มต้นจากการละวางความต้องการส่วนตัวเหล่านั้นลงก่อน

จากประสบการณ์ในการเป็นที่ปรึกษาให้กับองค์กรมากมายมานานหลายปี ผมและบรรดาผู้นำ ผู้จัดการ และหัวหน้างานหลายร้อยชีวิตได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของตัวเองว่านี่คือวิธีการหลักวิธีเดียวในการที่จะเพิ่มโอกาสให้ลูกน้องของเราร่วมมือกับเราอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนครับ

====

    เพราะอะไรการละวาง ‘ความต้องการ’ ของตัวเองจึงเวิร์ค

        ลองคิดถึงใครสักคนที่มีอำนาจเหนือคุณดูสิครับ จะเป็นหัวหน้า ผู้บริหาร เจ้าของกิจการ หรือ  ลูกค้ารายใหญ่ที่มีอำนาจต่อรอง ฯลฯ คน ๆ นั้นเข้ามาพูด บอก หรือ สั่งให้คุณทำบางสิ่งที่คุณไม่ได้รู้สึกอยากทำ เขาใช้อำนาจจากตำแหน่ง จากบทบาทที่เหนือกว่าในการบีบบังคับให้คุณทำตาม ซึ่งคุณก็อาจจะต้องยอมเขาในที่สุด

        แต่เกิดอะไรขึ้นหลังจากนั้น ในใจของคุณจะรู้สึกแย่กับคน ๆ นั้นมากขึ้นหลายร้อยเท่าใช่ไหม คุณคงหงุดหงิด โมโห ไม่พอใจเขา ไม่เคารพ ไม่เชื่อฟัง ไม่อยากติดต่อ ไม่อยากร่วมงานกับเขา และถ้าเขาเป็นลูกค้าคุณก็อาจจะไม่อยากทำธุรกิจกับเขาอีกต่อไปเลยก็ได้

        สถานการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากที่คนๆ นั้น ‘ได้’ ในสิ่งที่เขาต้องการ ณ ขณะนั้นก็คือ ทุกฝ่ายต้อง ‘สูญเสีย’ สิ่งที่สำคัญมากกว่าอย่าง ความสัมพันธ์ ความไว้วางใจ ความเคารพ ความเชื่อมั่น  ความรู้สึกที่อยากร่วมงานด้วย และความรู้สึกดีดีอีกมากมายไปตลอดกาล

====

     แล้วเราควรทำอย่างไร

        ถ้าท่านเป็นคนหนึ่งที่ไม่อยากได้แค่สิ่งที่ต้องการชั่วคราวแล้วสูญเสียหลายสิ่งที่ยิ่งใหญ่ไปตลอดกาลแบบนั้น คุณต้องเริ่มต้นจากการปลูกฝัง Mindset ให้ถูกเสียก่อน

        ในการทำงานร่วมกันนั้น มีทัศนคติ หรือ Mindset ชุดหนึ่งที่ได้รับการค้นคว้าจากทีมนักวิจัยเรื่องการทำงานในโลกยุคใหม่ซึ่งพัฒนามาเป็นทัศนคติแห่งการร่วมมือร่วมใจที่โด่งดังระดับโลก

ทัศนคติชุดนั้นเรียกว่า Collaborative Mindset หรือ ทัศนคติแห่งการมองโลกด้วยเลนส์ที่คำนึงถึงคนอื่นก่อน

        ในอดีตที่ผ่านมาเราอาจมีทัศนคติหรือเลนส์ในการมองโลกแบบคิดถึงแต่ความต้องการของตัวเองเท่านั้น และนั่นก็ทำให้เราไม่สามารถโน้มน้าว จูงใจ หรือทำให้ใครร่วมมือกับเราได้อย่างแท้จริง แม้ว่าเราจะมีอำนาจ มีตำแหน่งที่ยิ่งใหญ่แค่ไหนก็ตาม

        ขณะที่ Collaborative Mindset เปรียบเหมือนเลนส์หรือแว่นอันใหม่ที่จะช่วยให้คุณมองโลก และมองคนอื่นแบบกลับด้าน นั่นคือการคำนึงถึงความต้องการของคนอื่นก่อน คำนึงถึงความต้องการของลูกน้อง เป้าหมาย ความกังวล และปัจจัยแวดล้อมของพวกเขา รวมถึงเป้าหมายขององค์กรด้วย

====

        Collaborative Mindset in Action การนำทัศนคติแห่งการมองออกนอกตัวมาปรับใช้ในการทำงานจริงสำหรับหัวหน้างาน ผู้จัดการ และผู้นำองค์กร

  1. ให้ความสำคัญกับเป้าหมายของคนทำงานเท่า ๆ กับเป้าหมายขององค์กร

องค์กรทุกองค์กรมีเป้าหมายที่ต้องบรรลุ นี่คือสิ่งที่ผู้บริหารและหัวหน้างานอย่างเรารับรู้กันดี แต่สิ่งที่หัวหน้าทีมอาจจะคำนึงถึงน้อยไปสักนิดก็คือ ลูกน้อง คนในทีม และเพื่อนร่วมงานของเราทุกคนต่างก็มี ‘ความต้องการ’ และ ‘เป้าหมาย’ ส่วนตัวด้วยเช่นกัน

ถ้าคุณใช้อำนาจบีบบังคับให้ลูกน้องทำทุกอย่างเพื่อทีมและบริษัท โดยไม่คำนึงถึงเป้าหมายและความต้องการของพวกเขาก็ไม่ต่างอะไรกับการเข็นรถคันใหญ่ขึ้นภูเขาที่ลาดชัน การทำงานระหว่างคุณกับลูกน้องจะเต็มไปด้วยความเหน็ดเหนื่อย และสูญเสียแรงมากกว่าปกติเพราะมีแรงต้านลึก ๆ ที่เกิดจากลูกน้องนั่นเอง

แต่ถ้าคุณให้เวลาในการสนทนาพูดคุยเพื่อรับรู้ความต้องการและเป้าหมายลึก ๆ ของลูกน้องแต่ละคน และพยายามเชื่อมโยงเป้าหมายของแต่ละคนเข้ากับเป้าหมายของทีม และเป้าหมายของบริษัท ฉายภาพให้ทุกคนเห็นว่าทุกสิ่งที่เขาทำกำลังตอบสนองเป้าหมายส่วนตัวและเป้าหมายของบริษัทไปพร้อม ๆ กัน พวกเขาจะร่วมมือกับคุณมากขึ้น และรถคันนี้ก็จะมีแรงส่งในการพุ่งทะยานขึ้นสู่ทางชันที่มากขึ้นนั่นเอง

====

2. ทีมของเราทุกคนมีความสามารถและมีศักยภาพที่พัฒนาได้

บางทีการที่ใครสักคนไม่ยอมร่วมมือและไม่อยากร่วมงานกับคุณอาจจะเป็นเพราะว่าเขารับรู้ได้ว่าในใจลึก ๆ ของคุณไม่ได้มองว่าเขามีคุณค่า คุณอาจมีอคติที่สื่อแสดงออกมาว่าเขาเป็นคนไม่เก่ง ไม่ฉลาด ไม่ได้เรื่องอยู่ก็ได้

ลองถามตัวเองอย่างตรงไปตรงมาว่าคุณมองเห็นคุณค่าของคนในทีมแต่ละคนจริง ๆ หรือเปล่า ลองระบุสิ่งที่ดี จุดแข็ง ทั้งในด้านทักษะการทำงานและอุปนิสัยของลูกน้องแต่ละคนออกมาให้ชัดเจน จากนั้นสื่อสารให้พวกเขารู้ว่าคุณมองเห็นคุณค่าและศักยภาพของพวกเขาด้วย

สุดท้ายลองพูดคุยกับพวกเขาว่ามีทักษะไหนที่เป็นอุปสรรคต่อการเติบโตในหน้าที่การงานของลูกน้องแต่ละคนบ้าง จากนั้นลองปรึกษากับเขาว่าถ้าสามารถพัฒนาทักษะนั้น ๆ ให้ดียิ่งขึ้นมันจะเป็นประโยชน์ต่อชีวิตการทำงานของพวกเขาอย่างไร แล้วจึงหาวิธีช่วยพัฒนาทักษะนั้นให้แก่พวกเขา

====

 3. สร้างวัฒนธรรมการทำงานในองค์กรแบบมีส่วนร่วม

สุดท้ายในฐานะหัวหน้างานหรือผู้นำทีม คุณสามารถเป็นผู้นำในการสร้างวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมในการทำงานขึ้นได้ โดยสร้างพื้นที่ในการพูดคุยถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจริงแบบไม่ใข่การโฟกัสหาคนผิดหรือทำโทษใคร แต่เป็นการเชิญชวนให้ทุกคนคิดหาวิธีแก้ไขและป้องกันปัญหานั้น

คุณควรเริ่มต้นที่ตัวเอง โดยระบุวิธีการรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้น แม้ว่ามันอาจจะไม่ใช่สิ่งที่คุณก่อขึ้นมาโดยตรงก็ตาม แต่ในฐานะส่วนหนึ่งของทีม คุณต้องแสดงให้ทุกคนเห็นว่าคุณก็มีส่วนรับผิดชอบต่อปัญหานั้นด้วย จากนั้นค่อยขอคำแนะนำหรือขอไอเดียจากคนอื่น ๆ ในทีม แล้วสรุปวิธีการแก้ไขปัญหานั้นออกมาเป็นรูปธรรม และมอบหมายให้ทุกคนมีส่วนในการปฏิบัติอย่างเหมาะสมและเท่าเทียม ไม่ใช่ให้เป็นภาระของคนที่เสนอไอเดียขึ้นมา เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นอาจจะไม่มีใครอยากนำเสนอไอเดียใหม่ ๆ อีกต่อไปในอนาคตก็ได้

        ทั้งหมดนี้คือแนวทางการนำ Collaborative Mindset หรือ ทัศนคติแห่งการคำนึงถึงความต้องการของผู้อื่นและสร้างการมีส่วนร่วมมาประยุกต์ใช้ในการทำงานเป็นทีม คุณจะเห็นว่าวิธีการทั้งหมดแตกต่างจากที่คุณคุ้นชิน ไม่ว่าสิ่งที่คุณเคยทำหรือเคยมีใครทำกับคุณมาตลอดทั้งชีวิตอย่างสิ้นเชิง

เมื่อปรับ Mindset ของตัวเองและลูกทีมได้แล้ว คุณน่าจะต้องการวิธีพัฒนาความสัมพันธ์ภายในทีมให้แข็งแกร่ง อ่าน 6 วิธีสร้างความสัมพันธ์ในทีมให้แข็งแกร่ง คลิกที่นี่

        แม้ว่าวิธีเหล่านี้อาจจะไม่ได้ทำให้เกิดผลที่คุณต้องการในทันที แต่มันคือจุดเริ่มต้นและหนทางไปต่อในการสร้างความร่วมมือร่วมใจที่ออกมาจากใจจริงของบรรดาลูกทีมของคุณอย่างแน่นอน

====

การสร้างความร่วมมือร่วมใจในการทำงานเป็นทีมมี  Mindset และทักษะมากมายที่คุณจำเป็นต้องเรียนรู้และฝึกฝน ขอแนะนำหลักสูตร High Impact Coaching and Feedback  คลิกอ่านรายละเอียดที่นี่

บทความโดย อ.แบท อรรณพ นิยมเดชา

วิทยากร และนักจิตวิทยาองค์กรผู้ใช้แนวคิดจิตวิทยาเชิงบวกเพื่อปลุกศักยภาพคนทำงานให้มีเป้าหมายที่ชัดเจนและสร้างผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 09392549

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Ads, Google Analytics

    Statistics

  • Google Analytics

    Statistics

  • Facebook

    Marketing/Tracking

  • ActiveCampaign

    Functional

  • ActiveCampaign

    Marketing/Tracking

Save