โค้ชอย่างไรถึงจะเพิ่มศักยภาพได้อย่างเต็มที่

โค้ชอย่างไรถึงจะเพิ่มศักยภาพได้อย่างเต็มที่

หลายคนอาจคิดว่า การโค้ชเพื่อให้เกิดศักยภาพสูงสุด หมายถึงการโค้ชคนที่มีทักษะความสามารถในระดับสูงอยู่แล้ว แต่นั่นเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้องทั้งหมด

การโค้ชเพื่อศักยภาพระดับสูงอาจทำกับคนที่มีทักษะระดับสูงอยู่แล้ว แต่เราสามารถโค้ชทุกคนเพื่อที่จะบรรลุศักยภาพระดับสูงของตัวเขาได้ นั่นหมายถึงเราสามารถโค้ชใครก็ได้ในองค์กร ทั้งหัวหน้า ผู้จัดการ หรือลูกน้อง เพื่อรีดศักยภาพของเขาให้ทำผลงานออกมาได้เต็มศักยภาพ

ทักษะการโค้ชหยิบยืมมาจากวงการกีฬาและการทหาร ซึ่งมุ่งมั่นผลักดันศักยภาพของคนในทีมให้ไปสู่ระดับสูงสุด โดยการโค้ชจะเริ่มจากการหาจุดตั้งต้น เช่น วิสัยทัศน์ หรือความปรารถนาในชีวิตก่อน แล้วค่อยหาทิศทางที่จะพาคนนั้นไปสู่เป้าหมายดังกล่าวให้ได้

====

ใช้การโค้ชเมื่อไหร่ดี?

วิธีการ High-Performance Coaching จะช่วยให้คนสำรวจแรงกระตุ้นภายในตัวเอง และเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ได้ การโค้ชแบบนี้จึงเป็นทั้งการสนับสนุนและความท้าทายในเวลาเดียวกัน ซึ่งมักจะใช้กับเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้

การวางแผนในระยะยาวตลอดอาชีพ / ชีวิต บางคนอาจจะไม่ชอบวางแผนชีวิต แต่แท้จริงแล้วมีหลักฐานว่าคนที่วางแผนชีวิตนั้นจะประสบความสำเร็จในระยะยาวมากกว่าคนที่ไม่ได้วางแผน

นำทางไปสู่จุดเปลี่ยนในอาชีพ เช่น หาทางก้าวจากคนทำงานระดับธรรมดาไปสู่ระดับผู้จัดการ หรือระดับผู้จัดการไปสู่ผู้นำองค์กร โค้ชที่เก่งจะนำเสนอหนทางที่ชัดเจนและแรงบันดาลใจที่ดี เพื่อนำทางให้คนเดินไปสู่จุดเปลี่ยนของเขาได้สำเร็จ

สร้างการเปลี่ยนแปลงในการทำงานหรือสร้างพฤติกรรมแห่งความสำเร็จ เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ดี หรือฉุดรั้งความสำเร็จ ให้กลายเป็นการสร้างทักษะที่ดีอันเป็นพื้นฐานสำคัญสู่เป้าหมายระยะยาว

การเยียวยาปัญหาชีวิต โค้ชที่รีดเค้นศักยภาพสูงสุดจะช่วยซ่อมแซมธุรกิจหรือปัญหาชีวิตแก่ผู้คน ทำให้ชีวิตกลับสู่ความสมดุล หรือเผชิญหน้ากับปัญหาต่าง ๆ เช่น ภาวะหมดพลังในการทำงาน ได้ดีขึ้น
====

เครื่องมือและทักษะที่คนที่จะโค้ชควรมี ได้แก่

  • เคารพผู้รับการโค้ชในฐานะคนคนหนึ่ง
  • เคารพทักษะของผู้รับการโค้ชและเป้าหมายในชีวิต
  • จริงใจในการให้ feedback ที่มีระบบและท้าทายมากพอ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่ผู้รับการโค้ชต้องการ
  • ระวัง Ego ของตัวเอง ไม่สร้างประเด็นที่มีวาระแฝงซึ่งไม่ตรงกับเป้าหมายของผู้รับการโค้ช
  • เลือกใช้เครื่องมือที่ตัวเองถนัด เพื่อให้ผู้รับการโค้ชได้พบตัวตน อาจจะลองใช้ GROW Model (โมเดลการโค้ชแบบสากล) มาช่วยได้
  • สิ่งที่ต้องระวังคือ Emotional Interference หรือการแทรกแซงทางอารมณ์ของตัวเราเอง

====

หลักการนี้ มาจากสูตรที่เรียบง่ายคือ

Performance = Potential – Interference

ผลงานที่ดีจะมาจากศักยภาพที่ถูกรบกวนน้อยที่สุด แน่นอนว่ามนุษย์มักจะถูกรบกวนแทรกแซงทางอารมณ์เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความกลัว ความรู้สึกผิด และความกังวล

ความกลัว ถือเป็นอารมณ์ที่ชัดเจนที่สุด การกลัวบางเรื่องมาจากข้อเท็จจริงเบื้องหน้า แต่บางครั้งเป็นสิ่งที่คิดไปเอง จิตใจคนเราจะสร้างแง่มุมลบขึ้นมาเพื่อทำให้ชีวิตปลอดภัย แต่ข้อเสียคือ มันจะทำให้เราไม่กล้าทำอะไรใหม่ ๆ และขัดขวางไม่ให้เราเติมเต็มในชีวิต(Fulfillment)

การค้นหาและขจัดความกลัวอาจจะใช้เวลาพอสมควร แต่มีประโยชน์มากมายมหาศาล เพราะเราอาจจะพบจุดอ่อนสำคัญที่รั้งชีวิตมาโดยตลอด

====

ความรู้สึกผิด อารมณ์ที่ทำให้สมดุลของชีวิตและการงานเสียไป คนที่ทำงานหนักกว่าคนอื่นอาจจะมีที่มาจากการรู้สึกว่าตนเองไม่ได้รับความสำเร็จมากพอ จนเขาเลือกเพิ่มชั่วโมงการทำงาน แต่ผลลัพธ์คือการทำลายสมดุลของชีวิตไป

ความกังวล บางคนกังวลกับทุกสิ่ง รวมไปถึงกังวลว่าตนเองจะกังวล สิ่งนี้จะทำให้เกิดปัญหาทางจิตใจตามมา เช่น นอนไม่เต็มอิ่ม เกิดพฤติกรรมการกินที่บ่อนทำลาย ไปจนถึงรู้สึกหมดเรี่ยวแรงในการทำงาน

การบริหารจัดการอารมณ์ด้วยตัวเองคือหนึ่งสิ่งที่ควรทำควบคู่กับการได้รับการโค้ช เรียนรู้และฝึกฝนเรื่อง Emotion Intelligence ได้ที่นี่ 

โค้ชจะช่วยให้คนในองค์กรเห็นว่าศักยภาพของตนเองมีอยู่ในระดับไหน และช่วยลบอุปสรรคทางอารมณ์ที่จะมาขัดขวาง โดยมีเคล็ดลับ เช่น ในส่วนของงาน โค้ชจะมองผู้รับการโค้ชเหมือนนักกีฬาที่จะก้าวสู่เกมอีกระดับ เขาจะรับฟังและเข้าถึงแรงจูงใจ และยอมรับว่ามีอารมณ์อะไรเกิดขึ้น ขณะที่งานอีกส่วนคือการขยายศักยภาพ สำรวจทักษะที่จะต้องเพิ่มหรือพัฒนาเพื่อไปให้ถึงขีดสุด

=====

การโค้ชเพื่อเพิ่มศักยภาพสูงสุดนั้นควรจะทำให้เกิดความสนุกสนาน และต้องมองประเด็นนั้น ๆ ว่าจะทำอะไรเพื่อช่วยให้คนก้าวไปสู่ศักยภาพสูงสุดของเขาเองได้

และถ้าหากคุณต้องการเรียนรู้ทักษะการโค้ชเพื่อเพิ่มศักยภาพทีมงาน ขอแนะนำหลักสูตร High Impact Coaching & Positive Feedback คลิกดูได้ที่นี่ครับ 

บทความโดย Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 093-925-4962

ก้าวแรกสู่การเป็นสุดยอดผู้จัดการ

ก้าวแรกสู่การเป็นสุดยอดผู้จัดการ

สำหรับคนที่คลิกเข้ามาอ่านบทความนี้ เราต้องแสดงความยินดีด้วยที่คุณได้ก้าวเข้าสู่บทบาทใหม่ นั่นคือการกลายเป็น ผู้จัดการ‘ 

บทบาทผู้จัดการหน้าใหม่นั้นทำให้คุณต้องเผชิญความท้าทายที่ไม่รู้จักหรือคุ้นเคยมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายสำหรับทีมที่ต้องพัฒนา  การสร้างกระบวนการ และลงมือทำให้สำเร็จ รวมถึงการสร้างความมั่นใจว่าทุกคนกำลังทำงานของเขาอย่างเต็มความสามารถ

คุณอาจจะเกิดความประหม่าขึ้น เมื่อพบว่ามีคนคาดหวังกับคุณ การก้าวข้ามจากพนักงานผู้เชี่ยวชาญมาเป็นผู้จัดการไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เรามีกลยุทธ์ที่จะทำให้คุณประสบความสำเร็จได้เช่นกัน

สูดลมหายใจเข้าปอดลึก ๆ แล้วลองใช้สิ่งเหล่านี้เป็นตัวช่วยสำหรับก้าวแรกสู่การเป็นผู้จัดการของคุณดูนะครับ 
====

1.ชัดเจนในหน้าที่

คุณต้องเข้าใจบทบาทใหม่ว่ามีหน้าที่รับผิดชอบอะไรบ้าง เป้าหมายและวัตถุประสงค์เป็นอย่างไร ถ้าเอกสารหรือการส่งมอบงานไม่เคลียร์ ก็ขอให้ลองเขียนสิ่งที่คุณคิดว่าควรจะทำจริง ๆ ให้ชัดเจนด้วยตัวเอง

ขอให้คุณรายงานเจ้านายระดับสูงกว่าคุณว่าคุณจะทำอะไรบ้าง ลองเขียนสิ่งที่อีกฝ่ายอยากได้ ลองลิสต์ภาระความรับผิดชอบที่คุณคิดว่าใช่ออกมา ลองบันทึกว่าเป้าหมายมีอะไรบ้าง

และท้ายที่สุด คุณต้องพูดคุยกับว่าที่ลูกน้องที่คุณจะเข้าไปดูแลว่าเขามองหน้าที่ของคุณอย่างไร คาดหวังว่าจะให้คุณทำอะไรให้บ้าง
====

2.หาพี่เลี้ยง

เมื่อเริ่มงานใหม่ การได้พี่เลี้ยงดี ๆ ที่ช่วย feedback การทำงาน และช่วยโค้ชให้คุณสร้างทักษะที่จำเป็นจะพาคุณไปสู่ความสำเร็จ

เพราะไม่เพียงที่เขาจะมีคำแนะนำที่เหมาะสมแล้ว เขายังจะช่วยสร้างความมั่นใจด้วยการสนับสนุนและให้กำลังใจแก่คุณได้ด้วย

แต่การมีพี่เลี้ยงได้คุณก็ต้องสร้างกรอบที่ชัดเจนว่าคุณจะทำอย่างไรบ้าง แรกสุดคือหาพี่เลี้ยงที่ดี โดยเริ่มจากในองค์กร เช่น ผู้นำที่อยู่เหนือคุณขึ้นไป หรือผู้นำที่อยู่อีกฝ่ายขององค์กร

แต่ก็ต้องไม่ลืมว่า จะเป็นเรื่องดีถ้าการช่วยเป็นพี่เลี้ยงหรือที่ปรึกษานั้นจะดำเนินไปแบบความสัมพันธ์สองทาง คือทั้งให้และรับ คุณอาจจะได้ทักษะการเป็นผู้นำ ส่วนอีกฝ่ายอาจจะได้ไอเดียเกี่ยวกับนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ จากคุณ เป็นต้น
====

3.สร้างความสัมพันธ์ที่ดี

การเทรนนิ่งแบบ เดล คาร์เนกี’ (นักเขียน นักพูด และเทรนเนอร์ระดับโลก) ที่ปรากฏใน White Paper บอกว่าการเป็นผู้จัดการที่ดีไม่ใช่แค่การเป็นนักกลยุทธ์ชั้นยอด หรือเป็นนักพูดสร้างแรงบันดาลใจ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลต่าง ๆ ในทีม

แน่นอนว่าผู้จัดการไม่ควรคาดหวังว่าทุกคนในทีมจะเป็นเพื่อนของคุณหรือเป็นเพื่อนกันได้ แต่อย่าลืมว่าหน้าที่แรกของการเป็นผู้นำ คือการสร้างสมดุลที่เหมาะสมในแง่ความสัมพันธ์ มองหน้าคนในทีมอย่างเข้าอกเข้าใจกัน แต่ก็ต้องนำทางพวกเขาได้ด้วย

ประการแรกคือการเปิดอกพูดคุย ด้วยการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ ให้รู้ว่าเราเป็นใคร ทำไมถึงมาอยู่ที่นี่ และทำไมคนในทีมจะต้องเชื่อมั่นคุณ ซึ่งสำคัญมากในการปลุกเร้าพลังของคนในทีม

ฝึกที่จะเคารพความแตกต่างของคนในทีม เพื่อหาทางใช้ความแตกต่างหลากหลายในการสร้างประโยชน์ร่วมกัน แต่อย่าปล่อยให้เกิดวิธีการรวมหัวกันคิด โดยที่ผู้นำไม่ได้มีส่วนชี้นำเลย
====

4.กำหนดและสื่อสารเป้าหมายให้ชัด

หลังจากเป็นผู้ตามมาก่อน เมื่อถึงเวลาที่คุณต้องกลายมาเป็นผู้นำ บางทีคุณอาจจะมีไอเดียที่สะสมมานาน พร้อมจะลุยกับความหวังใหม่ ๆ แต่อย่าเพิ่งร้อนวิชาจนเกินไป การเก็บกวาดของเก่าแล้วสร้างระบบใหม่ๆ จำเป็นต้องได้รับการหนุนหลังจากคนในทีมก่อน

ลองปรับตัวให้เข้ากับหน้าที่ใหม่ก่อน จากนั้นค่อยหาทางเปลี่ยนแปลง เมื่อเข้ามาเป็นผู้นำทีม ลองสร้างชาร์ตการทำงานทั้งหมด เพื่อระบุว่าใครอยู่ตรงไหน มีเป้าหมายอะไร ลองใช้วิธีการตั้งเป้าหมายแบบ OKRs ซึ่งจะทำให้แน่ใจได้ว่าเป้าหมายทั้งหมดสอดคล้องกับองค์กร

การสื่อสารกับทีมได้ดีและสม่ำเสมอจะนำไปสู่เป้าหมาย หนึ่งในวิธีการยุคใหม่ที่ดีคือการสร้างเรื่องเล่าทางธุรกิจที่ทรงพลัง ขณะเดียวกัน คุณก็ต้องสร้างเป้าหมายส่วนตัวซึ่งรวมถึงการพัฒนาทักษะใหม่ๆ ที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในบทบาทใหม่นี้ด้วย
====

5.เป็นต้นแบบที่ดี

ในฐานะผู้จัดการ คุณจำเป็นต้องเป็นตัวอย่างที่ดีในที่ทำงาน ถ้าต้องการให้ลูกน้องมีพฤติกรรมการทำงานหรือพัฒนาผลการทำงาน คนแรกที่จะต้องลงมือทำคือตัวผู้จัดการเอง สิ่งที่ต้องทำคือการแสดงออกทั้งคำพูดและการกระทำ เช่น ถ้าต้องการให้ประชุมทีมวันจันทร์ตอนเช้า ผู้จัดการจะต้องไม่พลาดการประชุมนี้เด็ดขาด

ถ้าต้องการให้คนในทีมไว้วางใจกัน คนแรกที่จะต้องแสดงให้เห็นว่าไว้วางใจคนอื่น คือผู้จัดการที่จะต้องแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเองให้คนอื่นรู้บ้าง การสร้างความชำนาญและทำให้คนในทีมเห็นอย่างสม่ำเสมอ จะเพิ่มความไว้เนื้อเชื่อใจในการตัดสินใจต่างๆ ของผู้จัดการได้มากขึ้น
====

6.ให้ Feedback เป็นระยะๆ

คนเราจะไม่อาจปรับปรุงได้ถ้าไม่รู้ว่าต้องปรับปรุงอะไร และคนในทีมจะไม่รู้สึกว่าถูกกระตุ้นถ้าผู้จัดการไม่รู้จักชื่นชมในการทำงานหนักและความสำเร็จของเขาเสียบ้าง

การวิจารณ์อย่างมีแบบแผนจะช่วยได้อย่างดี การให้ feedback ทันทีหรือไม่นานนักหลังผลงานออกมา จะช่วยให้การปรับปรุงเป็นไปได้มากที่สุด

เคล็ดลับสำคัญของการให้ feedback คือ จะต้องอยู่กับร่องกับรอย มีความชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีความสอดคล้องกันตั้งแต่ต้นจนจบ

ผู้จัดการต้องไม่ลืมว่าการให้ feedback นั้นจะต้องมีมิติการประเมินที่น่าเชื่อถือและทำให้รู้สึกอยาก
ปรับปรุง ต้องไม่ลืมหลักการว่าต้องชมต่อหน้าคนอื่นและวิพากษ์วิจารณ์เป็นการส่วนตัว เพื่อรักษาหน้าของลูกทีมเอาไว้

เรียนรู้วิธีการให้ Feedback อย่างมีประสิทธิภาพได้ในบทความ ให้ Feedback อย่างไรทีมจึงพัฒนาได้ไวขึ้น  คลิก ที่นี่
=====

7.มอบหมายงานให้เป็น

การมอบหมายงานเป็นหน้าที่ของผู้จัดการ แต่การลดภาระงานก็เป็นหน้าที่ผู้จัดการเช่นกัน การบริหารจัดการปริมาณงานของลูกทีมจำต้องใคร่ครวญให้เหมาะสม หลักการลดภาระงานคือการแน่ใจว่าลูกทีมแต่ละคนนั้นเก่งด้านไหน โฟกัสให้คนนั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญและเพิ่มทักษะด้านนั้นๆ ให้เพิ่มมากขึ้น โดยลดภาระอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องหรือไม่จำเป็นออกไป

เมื่อจะมอบหมายงานใหม่ๆ สมาชิกในทีมควรจะได้รู้ว่าผู้จัดการอยากได้ผลลัพธ์แบบไหน โดยไม่จำเป็นต้องบอกวิธีการทำงาน และพยายามหลีกเลี่ยงการเข้าไปแทรกแซงกระบวนการทำงาน แต่ให้คอยดูเป็นระยะๆ ว่าเขาต้องการความช่วยเหลืออะไรบ้าง และช่วยให้เขาได้ประสบความสำเร็จในแบบของเขาเอง
=====

8.ยืดหยุ่นอยู่เสมอ

การบริหารจัดการไม่ใช่เรื่องประเภท “One Size Fit All” หรือทำแบบเดียวกับทุกคนให้เหมือนกันหมด สถานการณ์ที่แตกต่างกันออกไปทำให้ผู้จัดการต้องปรับบทบาทไปเรื่อยๆ

คนที่เก่งจะสามารถหยั่งรู้ได้ว่าจะใช้บทบาทแบบไหนกับลูกทีม เช่น ในเวลาหนึ่งต้องการสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ลูกทีม ผู้จัดการจะปรับตัวให้เข้ากับลักษณะนั้น แต่เมื่อวันต่อมาต้องเป็นตัวกลางคอยเชื่อมโยงหรือเจรจา ผู้จัดการก็จะปรับบทบาทตัวเองไปอีกแบบ ทั้งหมดนี้เพื่อให้ทีมก้าวสู่เป้าหมายได้ในที่สุด

=====

หากคุณต้องการพัฒนาทักษะการเป็นผู้จัดการที่มีประสิทธิภาพ ขอแนะนำหลักสูตรสำหรับองค์กร “High Impact Coaching  & Positive Feedback” ซึ่งทำให้ผู้เข้าอบรมมีวิธีการให้ Feedback ด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง คลิกดูรายละเอียด ที่นี่

บทความโดย Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 093-925-4962

 

โน้มน้าวใจทีมงานอย่างไรจึงจะได้ผลดีที่สุด

โน้มน้าวใจทีมงานอย่างไรจึงจะได้ผลดีที่สุด

หนึ่งในคำถามที่มีคนถามมากที่สุด เมื่อผมได้รับเชิญไปจัดอบรมเรื่องทักษะการสื่อสารให้กับองค์กรต่าง ๆ คือ “จะโน้มน้าวใจทีมงานยังไง ให้ได้ผล”

ผู้คนส่วนใหญ่อยากรู้ว่า มีเทคนิควิธีการอะไร ที่จะโน้มน้าวใจคนอื่นให้คล้อยตามเรา ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า ทีมงาน หรือกระทั่งคนในครอบครัว

ผมอาศัยหลัก Persuasion Mastery ครับ.. หากคุณอยากจะมีพลังในการโน้มน้าวผู้คน นี่คือ 3 สิ่งที่ควรโฟกัส และฝึกทำให้ได้ครับ

====

1. POWER – มีพลังงานสูง

คุณไม่อาจโน้มน้าวใจใครได้ ถ้าเขาสนใจบ้างไม่สนใจบ้าง ดังนั้น คนที่มีพลังงานต่ำ ทำตัวน่าเบื่อ น้ำเสียงท่าทางซังกะตาย ไม่อาจโน้มน้าวใครได้อย่างแน่นอน

การมีพลังงานสูง ไม่ใช่ต้องเสียงดัง ทำตัวไฮเปอร์ตลอดเวลา เทคนิคง่าย ๆ คือ “การดำรงอยู่กับสถานการณ์และคนตรงหน้าอย่างเต็มเปี่ยม ให้พลังในตัวเราโฟกัสกับคน ๆ นั้น และสิ่ง ๆ นั้น เต็มที่”

นั่นก็คือการรับฟัง ให้ความใส่ใจ ให้ความสำคัญ สบตา และกระตือรือร้นที่จะสนทนากับคนตรงหน้าอย่างแท้จริง

====

2. UNDERSTANDING – มีความเข้าใจที่แท้จริง


การสนทนากับใครให้เกิดผลสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นการโน้มน้าว เจรจาต่อรอง นอกจากการมีพลังงานสูงแล้ว คุณต้องมีความเข้าใจในตัวเองอย่างชัดเจน ว่าต้องการอะไร ไม่ต้องการอะไร สิ่งใดทำได้ สิ่งใดไม่สามารถทำได้

ความชัดเจนในตัวเอง ทำให้คุณมีจุดยืนในการเจรจาต่อรอง และสามารถเปิดเผยความรู้สึกและความจริงในใจได้

แต่การรู้ตัวเองก็เป็นเพียงครึ่งเดียว ที่เหลือคือการรับฟัง การทำความเข้าใจ ว่าจุดยืนของอีกฝ่ายเป็นอย่างไร เขาต้องการอะไร รู้สึกอย่างไร อะไรที่เขาสามารถทำได้และไม่ได้

Active Listening ทักษะการฟังที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้คนในทีม คือหนึ่งทักษะสำคัญที่ช่วยให้คุณมีความเข้าใจที่แท้จริง เรียนรู้และฝึกฝนคลิกที่นี่

เมื่อมีความเข้าใจที่แท้จริงจากทั้ง 2 ฝ่ายแล้ว ความสัมพันธ์ที่ดีจะเกิดขึ้น คุณจะเริ่มมองเห็นความเป็นไปได้ร่วมกัน ไม่ใช่เพียงประโยชน์ของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอย่างเดียว และนั่นจะเปิดพื้นที่ตรงกลางในการสนทนาและสื่อสาร ให้มุ่งไปในทิศทางเดียวกัน

ดังนั้น ความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดี จะทำให้ผู้คนไว้วางใจและคล้อยตามในที่สุด

====

3. POSSIBILITY – มองหาความเป็นไปได้ใหม่ ๆ


การตั้งธงไว้ก่อน มีคำตอบล่วงหน้า ย่อมทำให้เกิดการถกเถียงกันได้ง่าย เกิดความเครียด และอาจทำให้บางฝ่ายรู้สึกเสียโอกาส

การพยายามประนีประนอม ก็ยังเป็นการเจรจาต่อรองที่ไม่ได้ผลนัก เพราะต้องยอม ต้องลดสิ่งที่ต้องการ แต่ละฝ่ายอาจรู้สึกว่าต้องยอมแลก หรือต้องสูญเสียบางอย่าง

หากคุณมีความเข้าใจในความต้องการของตัวเองและอีกฝ่ายอย่างชัดเจน คุณพูดคุยอย่างเท่าเทียมไปสักพัก จะตกผลึกจนเจอพื้นที่แห่งความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ซึ่งบางครั้งไม่ได้มีในตัวเลือกเดิม และอาจเป็นสิ่งที่ทั้งสองฝ่ายคิดไม่ถึงมาก่อน

ความเป็นไปได้ใหม่นี้ จะทำให้ทั้งสองฝ่ายได้มากขึ้น เป็น Win-Win Situation เป็นไปในทิศทางที่ทั้งคู่ต้องการ

เมื่อสามารถเปลี่ยนจากการต่อรอง เป็นการเปิดพื้นที่ให้กับสิ่งใหม่ ทำให้สองฝ่ายได้มากกว่าเดิม คุณย่อมจะได้รับความร่วมมือและความเต็มใจกว่าการต่อรองหลายเท่า

กล่าวโดยสรุป การโน้มน้าวใจให้ได้ผล ไม่ได้มาจากว่า ต้องพูดยังไง หรือตั้งธงแค่จะเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว.. คุณควรต้องมี Mindset ที่พร้อมจะรับฟัง ทำความเข้าใจ เปิดรับโอกาสและความเป็นไปได้ใหม่ ๆ จากการสนทนากับอีกฝ่าย นั่นเอง

ลองนำวิธีการทั้งสามนี้ไปปรับใช้ดูนะครับ ผมเชื่อว่าคุณจะได้รับโอกาสดี ๆ และมีคนเต็มใจร่วมมือกับคุณ แน่นอนครับ

====

ถ้าคุณอยากฝึกทักษะการโน้มน้าวใจเพื่อให้คนในทีมของคุณทำสิ่งดีดีเพื่อเป้าหมายขององค์กร ขอแนะนำหลักสูตร Persuasion and Negotiation Mastery ดูรายละเอียด คลิกที่นี่

บทความโดย
CEO เรือรบ
ผู้ก่อตั้ง Learning Hub Thailand

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

 

อะไรเป็นเทคนิคที่ดีที่สุดในการเจรจาต่อรอง

อะไรเป็นเทคนิคที่ดีที่สุดในการเจรจาต่อรอง

โดยปกติแล้วไม่มีใครอยากให้เกิดเรื่องเซอร์ไพรซ์ในการเจรจาต่อรองเพราะคิดว่าจะทำให้สิ่งต่าง ๆ อยู่เหนือการควบคุม

แต่บทความนี้จะบอกคุณว่าทำไมเซอร์ไพรซ์จึงเป็นเทคนิคที่ดีที่สุดในการเจรจาต่อรอง 

หลายคนมักจะนึกถึงคำว่า ‘เซอร์ไพรส์’  เป็นเหตุการณ์ในลักษณะ จู่ๆ ก็ด่ากราด ขอยุติการเจรจา ขอเพิ่มผลประโยชน์ให้มากกว่าเดิม หรือกระทั่งเกิดการใช้กำลัง

 แต่การเซอร์ไพรส์ก็ใช่ว่าจะต้องเป็นไปในทางลบเสมอไป เพราะหากใช้เซอร์ไพรซ์ให้เป็นมันจะสร้างผลลัพธ์ทางบวกได้อย่างไม่น่าเชื่อ เช่น เกิดการร่วมมือ การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ การทำให้ระบบแย่ ๆ ที่อยู่มานานได้รับการแก้ไขนั่นเอง

====

‘เซอร์ไพรส์’ คือ สภาวะที่เกิดกับสมองและความคิดของเรา

ซึ่งประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่

 1) หยุดนิ่ง 
2) หาทางออก
3) ปรับเปลี่ยน 
4) แชร์ 

เมื่อได้ยินหรือได้พบสิ่งที่ไม่คาดฝันเราจะเกิดภาวะหยุดนิ่งก่อน สมองจะเริ่มหาคำอธิบายและทางออกของสิ่งนั้น ไม่นานนักเราจะปรับเปลี่ยนมุมมองและสุดท้ายก็จะส่งต่อแบ่งปันให้แก่คนอื่น

การทำเซอร์ไพรส์กับคู่เจรจาจำเป็นต้องวางแผนเสียก่อนว่าจะเล่นมุกเซอร์ไพรส์อย่างไรให้ผลลัพธ์ออกมาดีที่สุด แต่เราก็ไม่สามารถคาดหวังว่ามันจะลงเอยด้วยดีได้ทุกครั้งไป อย่างไรก็ตาม ถ้าเราหมั่นใช้ทักษะและฝึกฝนให้ดี เซอร์ไพรส์ในทางบวกน่าจะช่วยทำให้การเจรจาสำเร็จพึงพอใจได้ทุกฝ่าย

เช่น เทคนิคดังต่อไปนี้…

====

1.การใช้คำถาม

โดยปกติ แต่ละฝ่ายมักจะมี “ผลลัพธ์ในใจ” ที่คาดหวังอยู่แล้ว และคิดว่าอีกฝ่ายก็มักจะมาเพื่อเจรจา ขอเพิ่ม ขอลด ขอปรับหรือขอให้ชะลอ แต่การทำลายสิ่งที่อีกฝ่ายคาดหวังว่าจะได้ยินก็คือเซอร์ไพรส์ซึ่งอาจจะเปลี่ยนโฉมหน้าการเจรจา นั่นคือ การใช้คำถามที่อีกฝ่ายไม่คิดว่าจะได้ยิน

เช่น เมื่อผู้จัดการจะต้องต่อรองเรื่องค่าแรงกับลูกน้อง แน่นอนว่าฝ่ายลูกน้องจะเรียกเงินที่น่าจะสูงพอสมควร ส่วนฝ่ายเจ้านายก็มักจะต่อรองให้เพิ่มนิดหน่อยหรือไม่ก็ยืนกรานไม่ปรับใดๆ ลูกน้องย่อมคาดหมายว่าจะเจออะไรแบบนี้อยู่แล้ว แต่หากผู้จัดการเปลี่ยนจาก “ที่คุณเสนอมามันเกินงบประมาณของทีม” ไปใช้คำถามที่น่าสนใจอย่าง “ลองเล่าให้ฟังหน่อยสิ ทุกวันนี้คุณประสบปัญหาเรื่องการเงินยังไงบ้าง แชร์ให้ผมเข้าใจหน่อย” 

ผลลัพธ์ที่ตามมาคือ ลูกน้องจะได้แชร์ความต้องการอย่างแท้จริงในชีวิต ทั้งคู่จะมีความเข้าใจกันมากขึ้น เริ่มมองหาความเป็นไปได้ที่จะทำงานและอยู่รอดได้จริงๆ มากขึ้นด้วย

====

2. พูดว่า “ได้ แต่ว่า….”

การเจรจาที่มีแต่ “ได้” และ “ไม่ได้” คือการตั้งกำแพงระหว่างกันทั้งสองฝ่าย ซึ่งทั่วไปก็คาดหวังว่าจะทำลายกำแพงของอีกฝั่งเพื่อที่ตัวเองจะได้ผลประโยชน์ตามที่ต้องการ 

แต่การเซอร์ไพรส์โดยการตอบรับ แต่ยื่นเงื่อนไขเพิ่มเติมในทางสร้างสรรค์ จะช่วยให้อีกฝ่ายเริ่มคิดหาความร่วมมือ ในการสร้างตัวเลือกใหม่ๆ และลดภาวะเผชิญหน้าในการต่อรองลง

ลองนึกถึงการตอบรับแต่สร้างเงื่อนไขดังนี้ 

“ผมอยากได้เงินเพิ่ม 10% “ได้สิ ถ้าคุณลดต้นทุนได้ 10%

“ผมอยากได้ค่าลิขสิทธิ์ในหนังสือเพิ่ม” “ได้สิ ถ้ามันสามารถขายได้ 1 พันเล่ม”

“ผมอยากทำงานทางไกลจากที่บ้าน” “ได้สิ แต่อาจจะต้องลดเงินเดือนลงบ้าง”

====

3.เปิดฉากด้วยการสร้างความร่วมมือและปรองดอง

เมื่อต้องเจรจาในข้อขัดแย้งสักอย่าง ต่างฝ่ายย่อมมีกำแพงและตั้งธงเอาไว้ว่าตัวเองจะต้องได้เท่าไหร่ แต่เซอร์ไพรซ์คือแทนที่จะเกิดการเผชิญหน้าด้วยข้อยัดแย้ง ฝ่ายหนึ่งกลับสร้างสะพานเชื่อมทั้งสองฝ่ายเข้าด้วยกันโดยพูดให้รู้สึกว่านี่คือความร่วมมือที่จะทำให้ทั้งคู่มีความสุขในตอนท้าย 

สมมติว่า เพื่อนบ้านเล่นดนตรีเสียงดังมากๆ เมื่อเราจะเข้าไปเผชิญหน้ากับเพื่อนบ้านในวันหนึ่งเพื่อขอให้เขาลดเสียงลง แทนที่จะเป็นการต่อว่าต่อขานหรือตักเตือนให้ “เงียบๆ หน่อย” แต่กลับสร้างเซอร์ไพรส์ด้วยการชวนคุยเรื่องดนตรี แล้วชวนกันฟังเพลงที่ชอบ จะทำให้โทนของการพูดคุยถูกเซ็ทให้เริ่มด้วยความปรองดอง และการขอให้เบาเสียงในตอนท้ายนั้นกลายเป็นเรื่องเล็กน้อยมากๆ

====

จดจำเอาไว้ว่า การเซอร์ไพรส์ ไม่ใช่การดูถูก การวิพากษ์วิจารณ์ หรือใช้คำเหยียดหยาม แต่จะต้องเป็นเซอร์ไพรส์ในทางบวก เช่น จู่ ๆ ก็เริ่มด้วยการขอโทษ ใช้ความเป็นพวกเดียวกัน หรือแสดงท่าทีเห็นอกเห็นใจอีกฝ่ายด้วยความจริงใจ เป็นต้น

ถ้าคุณกำลังจะต้องไปเจรจาต่อรองหรือเจรจาเพื่อโน้มน้าวใจคนแนะนำให้คุณอ่านสุดยอดเทคนิคเพิ่มพลังโน้มน้าวใจให้ได้ผล คลิกที่นี่

และถ้าคุณต้องการเรียนรู้และฝึกฝนทักษะการเจรจาต่อรองตั้งแต่ระดับพื้นฐานไปจนถึงขั้นแอดวานซ์ เราขอแนะนำหลักสูตร Persuasion & Negotiation Mastery คลิกที่นี่

====

เรียบเรียงจาก “When Surprise Is a Good Negotiation Tactic” โดย Roi Ben-Yehuda and Tania Lunaจาก Harvard Business Review 3 ตุลาคม 2019

เรียบเรียงโดย Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 093-925-4962

5 ขั้นตอนทำ Digital Transformation ด้วยการสร้าง Culture

5 ขั้นตอนทำ Digital Transformation ด้วยการสร้าง Culture

โลกธุรกิจและการทำงานในทุกวันนี้อยู่ในยุคที่ Digital เข้ามาครอบครองพื้นที่ในหลายส่วน และมีแนวโน้มว่าจะขยายพื้นที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้ธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่ไม่ใช้ Digital ต้องล้มหายตายจากไปด้วยความรวดเร็ว

Digital Transformation หรือ การนำเทคโนโลยีมาเปลี่ยนแปลงการทำธุรกิจจึงกลายเป็นคำที่ถูกพูดถึงอย่างแพร่หลายในช่วง 5 ปีที่ผ่านไป แต่ก็ยังมีเจ้าของธุรกิจ ผู้บริหาร และคนทำงานจำนวนมากที่ยังไม่เข้าใจตลอดจนไม่เปิดใจให้กับเรื่องนี้

=====

 เราทุกคนอยู่ในยุคที่ประโยค “จะเปลี่ยนแปลงตัวเองหรือถูกโลกบังคับให้เปลี่ยน” ชัดเจนมากขึ้นทุกที ถึงตอนนี้ ไม่สำคัญแล้วว่าคุณอยากจะนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการทำธุรกิจ หรือ การบริหารจัดการงานของคุณหรือไม่ เพราะถ้าคุณต้องการอยู่รอดและเติบโตคุณก็จำเป็นต้องใช้ ‘เทคโนโลยี’

 การมาถึงของโควิด 19 คงทำให้หลายคนเข้าใจเริ่องนี้มากขึ้น เมื่อผู้คนไม่สามารถออกจากบ้านและใช้ชีวิตได้ตามปกติ ธุรกิจที่ไม่เคยใช้เทคโนโลยี ไม่มีช่องทางออนไลน์ หรือ ไม่ได้ใช้แอพพลิเคชั่นในการดำเนินงานต่างก็ถึงทยอยปิดตัวและสูญหายไปจากโลกใบนี้ในพริบตา

 ผมเชื่อว่าถึงเวลานี้ทุกคนคงจะยอมรับแล้วว่าการนำเทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนแปลงธุรกิจและการทำงานคือเรื่องสำคัญที่ไม่ทำไม่ได้ แต่คำถามก็คือ…แล้วจะเริ่มต้นอย่างไร

=====

ผมตั้งใจเขียนบทความในการทำ Digital Transformation สำหรับเจ้าของธุรกิจ ผู้บริหาร และคนทำงานที่อยากเริ่มต้นแต่ไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร โดยการรวบรวมข้อมูลจากประสบการณ์ตรงที่ใช้ในธุรกิจของตัวเองไปจนถึงธุรกิจของลูกค้าจำนวนมากที่ผมเข้าไปเป็นโค้ชและที่ปรึกษาให้ในช่วงหลายปีที่ผ่านไป  

ต่อไปนี้คือ 5 ขั้นตอนที่คุณสามารถเริ่มต้นทำได้ทันทีที่อ่านจบ โดยมีแก่นหลักในการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่คุณอาจคิดไม่ถึงมาก่อน นั่นคือการรื้อสร้างวัฒนธรรมองค์กรของคุณเอง

=====

ขั้นตอนที่ 1. เริ่มต้นที่ ‘คน’ ของคุณ

 จงปลูกฝัง Mindset ที่ถูกต้องเป็นลำดับแรก

ต้องเข้าใจก่อนว่าคนส่วนใหญ่ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ยิ่งพูดถึงคำว่า Digital ด้วยแล้ว หลายคนมักเข้าใจว่าคือการเอาเทคโนโลยีมาแทนที่คน ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิดอย่างรุนแรง 

เพราะ Digital Transformation ไม่ใช่การเอาเทคโนโลยีเข้ามาแทนการทำงานของคน แต่เป็นการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้การทำงานของคนมีประสิทธิภาพมากขึ้น สะดวกขึ้น รวดเร็วขึ้น และมีประสิทธิภาพขึ้นต่างหาก

=====

คนที่ต่อต้าน Digital Transformation คือ คนที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นคนที่ควรออกจากองค์กรตั้งแต่แรกอยู่แล้ว ไม่ว่าองค์กรนั้นจะนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้หรือไม่ก็ตาม

Digital Transformation คือกระบวนการยกระดับคนให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น มุ่งเน้นที่ทักษะความสามารถหลักที่มีเพียงบุคคนนั้นเท่านั้นที่สามารถทำได้  ซึ่งจะช่วยพัฒนาศักยภาพและยกระดับรายได้ของเขาให้มากขึ้นด้วย

=====

2.จาก Transformation Champion สู่ Change Agent

 ถ้าแบ่งคนออกเป็นสองกลุ่มหลัก ๆ คือ ‘ผู้บริหาร’ กับ ‘คนทำงาน’ ทั้งสองกลุ่มนี้มีบทบาทต่างกันเล็กน้อยในเรื่อง  Digital Transformation

 ผู้บริหารต้องเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง สิ่งที่ผู้บริหารต้องทำคือการหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ให้มากที่สุด เพื่อกำหนดบทบาทตัวเองให้เป็น Transformation Champion หรือ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้วยเทคโนโลยี นั่นเอง

  หลังจากนั้นให้เปิดรับสมัคร Volunteer จากกลุ่มคนทำงานที่จะมาเป็น Change Agent ในการเปลี่ยนแปลง  มองหาคนที่มีหน่วยก้านที่ดี มีทัศนคติที่ดีซึ่งพร้อมจะพัฒนาและเปลี่ยนแปลงตัวเอง คนกลุ่มนี้นี่แหล่ะที่จะเป็นตัวเริ่มต้นสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีให้แก่องค์กรของคุณ

=====

3.ระบุ Workflow แต่ละระดับออกมาให้ชัดเจน

ก่อนจะเปลี่ยนแปลงสิ่งใด เราจำเป็นต้องระบุสิ่งที่ต้องการเปลี่ยนออกมาให้ชัดเจนที่สุดเสียก่อน ขั้นตอนนี้คือการระบุ workflow ออกมาให้เป็นรูปธรรมว่าที่ผ่านมาธุรกิจของคุณมี Workflow อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นในส่วน Executive workflow , Management workflow ไปจนถึง Operation workflow

ถ้าคุณมองทั้งหมดเป็นกลุ่มก่อนคุณก็อาจจะงงและจับต้นชนปลายไม่ถูก  แต่ถ้าระบุ workflow ออกมาให้เป็นลำดับขั้นตอน คุณก็จะสามารถระบุได้ว่าขั้นตอนไหนที่สามารถใช้เทคโนโลยีเข้าไปแทนที่ได้ รวมไปถึงควรใช้เครื่องมือใดมาแทนด้วย

=====

4.หา Goal ในการ Transform

 ถ้าสามารถระบุ Goal หรือ เป้าหมายในการเปลี่ยนแปลงออกมาเป็นตัวเลขที่ชัดเจนได้ คนทำงานก็จะเข้าใจ มีแรงบันดาลใจเพราะเห็นความเชื่อมโยงของการเปลี่ยนแปลงนี้ ตลอดจนสามารถวัดผลได้ว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นไปในทิศทางที่ถูกต้องหรือไม่อีกด้วย

ให้คุณกำหนดเป้าหมายที่เป็นเหตุผลในการ Transform นั้นออกมาให้เป็นรูปธรรม เช่น ลดต้นทุน เพิ่มยอดขาย หรือ ลดคน(เพื่อลดต้นทุนหรือเพิ่มยอดขาย) ก็ตาม

เมื่อกำหนดได้แล้วให้คำนวณออกมาเป็นตัวเลข เช่น ช่วยลดต้นทุน 30% ซึ่งเท่ากับเงินจำนวนเท่าไหร่ ตัวเลขเหล่านี้จะเป็นตัวเลขอ้างอิงในการวัดผลของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้นั่นเอง 

=====

5.Redesign workflow

และ Follow up  อย่างต่อเนื่องจนเกิด Culture ใหม่

เมื่อระบุ workflow และกำหนดเป้าหมายในการ Transform ได้แล้ว ให้ออกแบบ workflow  ใหม่ที่มีเทคโนโลยีเข้าไปช่วย โดยมีเป้าหมายเป็นตัวเลขที่ระบุไว้ในข้อที่ 4 เป็นตัววัดผล

         กระบวนการสำคัญที่ขาดไม่ได้ก็คือการ Follow up หรือ การติดตามผล โดยมีตัวเลขเป้าหมาย(ไม่ว่าจะเป็นลดต้นทุน เพิ่มยอดขาย หรือลดคน) เป็นตัววัดผล สิ่งที่สำคัญกว่าการได้ผลลัพธ์ตามเป้าคือการที่สามารถอธิบายได้ว่าเพราะอะไรองค์กรถึงทำได้ หรือ ทำไม่ได้ตามเป้าหมายนั้น

และที่สำคัญที่สุดก็คือ workflow ใหม่นั้นกลายเป็น Culture หรือยัง ?

 

=====

การรื้อ Culture เดิมเพื่อสร้าง Culture ใหม่จะช่วยให้ Digital Transformation เกิดขึ้นได้จริง เพราะคนคือแกนหลักของทุกธุรกิจ และทุกการอยู่ร่วมกันของคนจะมีสิ่งที่เรียกว่า Culture เกิดขึ้นเสมอ ซึ่งคนก็มักจะทำตาม Culture ของสังคมนั้น ๆ เสมอไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม

การเปลี่ยนแปลงใดใดจะประสบผลสำเร็จได้ล้วนจะต้องอาศัยการสร้าง Culture ใหม่ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนั้น

หนึ่งใน Culture ที่ดีต่อการทำ Digital Transformation คือ Learning Culture เรียนรู้วิธีการสร้าง Culture นี้ในบทความ  4 เทคนิคสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ภายในทีม คลิกที่นี่

=====

กล่าวโดยสรุป การสร้างสิ่งใหม่เข้ามาในวิถีชีวิตเดิมของผู้คนในช่วงแรกก็คือการสร้างระบบ ในขั้นตอนนี้คนจะรู้สึกว่ามีบางอย่างเข้ามาเปลี่ยนแปลงซึ่งมีก็ดีแต่ก็ยังไม่รู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของตัวเองอยู่ดี 

ขั้นต่อมาคือการทำให้คนรู้สึกว่าระบบนั้นคือสิ่งจำเป็น ในขั้นนี้ระบบจะเริ่มเป็นมาตรฐานในการทำงานของคน จนมาถึงขั้นสุดท้ายคือการทำให้เป็น Culture ซึ่งถ้ามาถึงขั้นนี้ผู้คนจะรู้สึกว่า ‘มันจะต้องเป็นแบบนี้เท่านั้น’  ถ้าไม่ใช่แบบนั้นจะรู้สึกแปลกและไม่เป็นธรรมชาติ

ทุกการเปลี่ยนแปลงย่อมจะเกิดแรงต้านเสมอ ถ้าคุณเรียนรู้และสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นลำดับจนกลายเป็น Culture ได้แล้วล่ะก็ ความสำเร็จจาก Digital Transformation จะเป็นขององค์กรคุณอย่างแน่นอนครับ   

=====  

หนึ่งในวิธีตั้งเป้าหมายและสร้างแผนการเพื่อทำให้สำเร็จตามเป้าที่ตั้งคือการใช้ OKRs เข้ามาช่วย เรียนรู้เรื่องนี้ได้ในหลักสูตร OKRs in Action คลิกที่นี่ 

เขียนโดย โค้ชพีท ชวรณ ธีระกุลชัย
Business Transformation Coach

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

The Next Normal Leadership : ผู้นำจะปรับตัวและบริหารองค์กรให้เติบโตได้อย่างไร ในโลกยุค Next Normal

ผู้นำจะปรับตัวและบริหารองค์กรให้เติบโตได้อย่างไร ในโลกยุค Next Normal

เพียงแค่เริ่มปี 2021 สังคมโลกก็มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและคาดการณ์ยากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ  ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยด้านเทคโนโลยี นวัตกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นใหม่จนตามแทบไม่ทัน ความไม่แน่นอนที่เกิดจากภัยธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วิกฤตไวรัสโควิด หรือมลพิษฝุ่น PM 2.5 ซึ่งเราทุกคนกำลังเผชิญอยู่ 

ปัจจัยทั้งหมดนี้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ และวิถีชีวิตของทุกคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  เรียกว่านี่คือยุค ‘Next Normal’ ซึ่งความไม่แน่นอนและการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน กลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาไปเสียแล้ว

=====

ในฐานะผู้นำหรือผู้บริหารในองค์กร การบริหารธุรกิจให้ไปต่อและเติบโตท่ามกลางความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมแบบนี้ไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้ง่ายๆ เพราะเมื่อหลายปัญหาถาโถมรวมกันก็อาจทำให้เราจับต้นชนปลายไม่ถูกว่าจะตัดสินใจแก้ปัญหาอย่างไร แม้แต่วิธีที่เคยได้ผลดีในอดีตก็ไม่อาจการันตีความสำเร็จในอนาคตได้อีกต่อไป 

ผู้นำหรือผู้บริหารองค์กรในยุคนี้จึงต้องมองให้ไกลกว่าภาพในปัจจุบันเท่านั้นไม่ใช่แค่สามารถคาดการณ์แนวโน้มในอนาคตได้ แต่ควรมีหลักคิดและแนวทางในการเตรียมองค์กรเพื่อที่จะปรับตัวและรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงทีด้วย 

ยิ่งไปกว่านั้น ผู้นำควรที่จะมีความสามารถในการออกแบบอนาคตขององค์กรให้เป็นตามที่ต้องการ ไม่ใช่ทำงานแค่พออยู่รอดไปแต่ละวัน หรือนั่งรอดูว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อไป 

เพราะเมื่อบางสิ่งได้เกิดขึ้นไปแล้ว มันอาจสายเกินไปที่จะแก้ไข คุณคงได้เห็นข่าวการปิดตัวของธุรกิจใหญ่ๆในช่วงนี้แทบจะทุกวัน ไม่นับธุรกิจเล็กๆที่ไม่เป็นข่าว ซึ่งคงเยอะกว่าเป็นร้อยเท่าเลยทีเดียว 

=====
เพื่อเป็นแนวทางในการช่วยเหลือผู้นำ ผู้บริหารองค์กร และผู้ประกอบการในประเทศไทยให้อยู่รอดและเติบโต  ผมจึงศึกษางานวิจัยหลายชิ้นในช่วงต้นปีนี้  โดยเฉพาะจากองค์กรที่ปรึกษาชั้นนำระดับโลก เช่น  Mckinsey & Company , PwC, Freeman ซึ่งผมได้นำมาเรียบเรียงและตกผลึกอยู่ในบทความนี้ เพื่อตอบคำถามสำคัญ ที่ได้จั่วหัวไว้ในบรรทัดแรกนั่นเอง 

ผมขอเสนอหลักการ “4Ps of the future” ซึ่งคุณสามารถใช้เป็นหลักคิดในการพาองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต หลักการนี้ประกอบไปด้วย 4P  ได้แก่  Purpose, People, Planet และ Profit

=====

1.Purpose

“จุดมุ่งหมายของธุรกิจ ไม่ใช่แค่คำพูดสวยหรู แต่เป็นหัวใจของวิธีคิดและการตัดสินใจขององค์กร”

Purpose นั้นอธิบายว่า เราเป็นใคร ทำไมเราถึงทำสิ่งที่ทำอยู่นี้ ธุรกิจของเรามีเป้าหมายอย่างไร  การที่ผมยก Purpose ขึ้นมาเป็นข้อแรก เพราะมีประเด็นสำคัญอยู่ 2 ประการ ยิ่งองค์กรมี Purpose ชัดเท่าไหร่ก็จะได้รับความร่วมมือจากพนักงานในองค์กร และได้รับการสนับสนุนจากลูกค้ามากเท่านั้น 

ประการแรก Purpose กำหนดแก่นแท้ของคนในองค์กร 

เมื่อองค์กรมี Purpose ชัดก็จะดึงดูด Talent และคนเก่งๆที่มีเป้าหมายเดียวกันกับองค์กรเข้ามาเพื่อร่วมกันทำให้ภารกิจนั้นกลายเป็นจริง คนที่มีความสามารถสูงไม่ได้เลือกงานที่ได้เงินดีอย่างเดียว เขาอยากทำงานที่มีความหมายและได้เรียนรู้พัฒนาตนเองไปด้วย

เมื่อเกิดปัญหาในการทำงานไม่ว่าจะเรื่องใหญ่เรื่องเล็ก พนักงานจะมั่นใจที่จะตัดสินใจได้โดยไม่รีรอ หากพวกเขาเข้าใจว่า Purpose ขององค์กรคืออะไร โดยพวกเขาจะตัดสินใจเพื่อตอบเป้าหมายเดียวกันนั่นเอง

เมื่อต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ หรือทำสิ่งใหม่ๆ ผู้คนในองค์กรจะไม่หลงทางหรือเสียเวลาไปกับสิ่งที่ไม่ใช่ เพราะเขารู้ว่า Purpose ขององค์กรคืออะไร เขาจะมุ่งตรงไปยังทิศทางเดียวกัน

=====

ประการที่สอง Purpose ช่วยสร้างการสนับสนุนจากลูกค้า

ในอนาคตอันใกล้ องค์กรที่จะเติบโตและได้รับการสนับสนุนจากลูกค้าเป็นอย่างดีจะไม่ใช่องค์กรที่เน้นเป้าหมายในการทำกำไรสูงสุดให้แก่ผู้ถือหุ้น แต่เป็นองค์กรที่ทำ ‘ประโยชน์สูงสุด’ ให้กับโลกและสังคมในวงกว้าง 

แบรนด์ที่จะอยู่ในใจของผู้บริโภคได้ ท่ามกลางแบรนด์คู่แข่งนับร้อยย่อมจะต้องแตกต่าง  จดจำง่าย เข้าถึงได้ และแสดงความเป็นตัวตนที่ชัดเจน 

เมื่อมี Purpose ที่ชัดเจนแล้วต้องประกาศอย่างชัดเจนให้ลูกค้ารู้ถึงเหตุผลของการมีอยู่ขององค์กรผ่านการสื่อสารและการเล่าเรื่องในทุกช่องทาง รวมถึงการดำเนินกิจการที่สอดคล้องกับ Purpose นั้น

เพียงไม่นาน ผู้บริโภคหรือลูกค้าจะรับรู้ได้ว่าเหตุใดเขาถึงควรจะสนับสนุนสินค้าหรือผลิตภัณฑ์องค์กรนี้ไม่ใช่องค์กรคู่แข่งที่พยายาม ลด แลก แจก แถม เพียงเพราะอยากได้ยอดขายมากขึ้น

=====
กรณีศึกษาของบริษัท Learning Hub Thailand 

บริษัทของผม เริ่มก่อตั้งเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ด้วยเป้าประสงค์ (Purpose) ในการพัฒนาคนด้าน Soft Skills เพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพให้ผู้คนทำงานอย่างมีความสุข 

ด้วยเป้าประสงค์นี้ นับตั้งแต่ปีแรกที่เริ่มธุรกิจ นอกจากการจัดอบรมพัฒนาคนในองค์กรเอกชนและมหาชนแล้ว ในวันหยุดเรายังจัดคอร์ส Soft Skills ให้กับคนทั่วไปเป็นประจำทุกเดือน ในราคาเพียง 500 บาท แล้วนำเงินที่ได้ไปบริจาคตามองค์กรการกุศลต่างๆ

เมื่อปีที่แล้วในช่วงโควิด รัฐบาลมีมาตรการให้ Lockdown  เราจึงจัดอบรมแบบปกติไม่ได้ รายได้เริ่มหดหาย ผมจึงริเริ่มจัดอบรมผ่าน Zoom โดยตั้งชื่อว่า ‘Live Training’  โดยเชิญวิทยาการหลายท่านมาสอนฟรี เพียงเวลาไม่นาน ลูกค้าก็ติดต่อมาให้จัดอบรมออนไลน์ ทำให้เรามีรายได้แทบไม่ต่างจากปีก่อนหน้าที่ไม่ได้เกิดโควิดเลย

(ปัจจุบัน Live Training จัดมา 42 ครั้งแล้ว ในปีนี้เราก็ยังจัดอบรมคอร์สใหม่ๆ ทุกเดือน มีสมาชิกอยู่ในกลุ่มไลน์กว่า 1,200 คน  ซึ่งคุณสามารถเข้าร่วมเรียนได้ฟรี โดยคลิกสมัครที่นี่  https://bit.ly/Livetraining-Free)
=====

ส่วนปีนี้เราก็ริเริ่มโครงการใหม่โดยตั้งใจจะนำกำไร 10% ที่ได้ไปจัดกิจกรรมพัฒนา Mindset ให้แก่น้องๆ นักเรียนในชนบทห่างไกลเป็นประจำทุกเดือนด้วย

ยิ่งธุรกิจของเราเติบโตในแต่ละปี เราก็ยิ่งสร้างผลกระทบทางบวกต่อสังคมได้มากขึ้น และเมื่อลูกค้ารับรู้เช่นนั้นเขาก็ยิ่งยินดีที่จะสนับสนุนธุรกิจของเรา เพราะรู้ว่าการจ่ายเงินของเขามีส่วนช่วยสังคมไปพร้อมกัน

ไม่ต้องเล่าต่อคุณก็คงเดาได้ว่า เราได้รับการสนับสนุนจากคนที่มี Purpose เดียวกันเสมอมา ไม่ว่าจะเป็นคนทำงานรุ่นใหม่ที่เข้ามาร่วมทีม วิทยากรเก่งๆ ที่มีจิตใจแห่งการให้ และลูกค้าน่ารักๆ ที่สนับสนุนเราอย่างต่อเนื่องมายาวนาน

เมื่อมีสถานการณ์วิกฤตหรือไม่ปกติ ผมจะไม่ลดราคาเพื่อความอยู่รอด แต่จะสร้างคุณค่าให้ลูกค้าเห็นมากขึ้น ปรับ Business Model ให้ตอบโจทย์ Purpose อย่างชัดเจนขึ้น และนั่นก็ทำให้ธุรกิจของเราเติบโตรวดเร็วกว่าเดิมเมื่อวิกฤตผ่านไป

=====

2.People 

“คน ไม่ใช่ฟันเฟืองขับเคลื่อนองค์กร แต่เป็นหัวใจของการเติบโตที่ยั่งยืน”

องค์กรจะเติบโตได้นั้นสิ่งสำคัญที่ต้องโฟกัสก็คือ ‘คน’ เพราะไม่ว่ากระบวนการทำงานจะเป็นระบบ มีมาตรฐาน มีเทคโนโลยีหรือโปรแกรมที่ล้ำสมัยเพียงใด หากคนไม่มีคุณภาพ คนไม่เรียนรู้ คนไม่ร่วมมือ การลงทุนด้านระบบและโครงสร้างทั้งหมดก็สูญเปล่า

ในช่วง 2-3 ปีมานี้ ผู้นำที่อยากให้องค์กรเติบโตอาจจะพยายามลงทุนในเทคโนโลยีต่างๆ อยากทำ Digital Transformation พยายามผลักดันให้คนปรับตัวเป็นการทำงานแบบ Agile และต้องสามารถ Remote Working ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แต่คนไม่ใช่เครื่องจักรที่สั่งงานได้ทันที เราอาจต้องใช้เวลา และใช้ทักษะหลายอย่างในการผลักดันเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง คำถามคือเราจะพัฒนาเรื่องคนอย่างไร

=====

สิ่งที่ผมได้เรียนรู้จากประสบการณ์ที่ทำงานเรื่องการพัฒนาคนให้กับองค์กรมหาชนมากว่า 7 ปี คือหลักการสำคัญทั้งหมด 3 ข้อ 

  1. รู้ว่าใคร คือคนที่ใช่
  2. รู้ว่าจะช่วยให้คนที่ใช่ ทำงานได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดได้อย่างไร
  3. รู้ว่าจะพัฒนาคนที่ใช่ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างต่อเนื่องได้อย่างไร

คนที่ใช่ 1 คน สามารถทำงานได้มากกว่าคนทั่วไป 3 คน ฉะนั้นการเลือกคนที่ใช่ เป็นกระบวนการที่สำคัญที่สุด หากพยายามเคี่ยวเข็ญคนที่ไม่ใช่ คนที่ไม่เหมาะกับตำแหน่งนั้น นอกจากจะเป็นภาระและสร้างปัญหาให้กับองค์กรแล้ว เรายังเสียโอกาสในการที่จะได้คนที่ใช่มาทำงานด้วย เท่ากับเสียหาย 2 ต่อเลยทีเดียว

กระบวนการคัดเลือกคน บางครั้งเราก็ทำอย่างเร่งรีบจนเกินไป สัมภาษณ์เพียงผิวเผินเกินไป หากคุณสามารถวัด Level of Mindset ของคนทำงานได้ก็จะช่วยป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดตามมาได้มากมาย 

ระดับของ Mindset จะบ่งบอกว่าคนๆ นี้ควรจะทำงานในตำแหน่งไหน ระดับใด หากคุณให้คนที่มี Mindset มองแค่ตัวเองแบบวันต่อวันไปคุมทีม ทีมย่อมพังอย่างแน่นอน 

=====

หากเป็นคนที่มี Mindset ระดับทีมก็จะมองสิ่งต่าง ๆ ระดับเดือนต่อเดือน การจะให้เขาไปทำงานบริหารขับเคลื่อนองค์กรสู่อนาคตด้วยการทำงานเชิงกลยุทธ์นั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้ 

ทักษะเรื่องคนเป็นเรื่องใหญ่และเรื่องสำคัญที่ผู้นำต้องเรียนรู้และสะสมให้มากพอ ถ้าคุณอยากให้องค์กรเติบโต  ก็บอกได้เลยว่า Soft Skills สำคัญกว่า Hard Skills อย่างแน่นอน 

(ผมได้รวบรวม 24 ทักษะ Soft Skills ที่สำคัญสำหรับคนทำงาน ไว้ใน eBook เล่มใหม่ “24 Future Soft Skills” คุณสามารถดาวน์โหลดอ่านได้ฟรี คลิกที่นี่ https://bit.ly/24SoftSkills)

หากต้องการปรึกษาเรื่องการวางระบบในการคัดสรร ประเมินผล และพัฒนาคนในองค์กร โดยใช้หลัก Level of Mindset สามารถส่งอีเมลมาหาผู้ช่วยผมได้ที่ assist@learninghub.1stcraft.com 

=====

3.Planet 

“ธุรกิจที่จะเติบโตได้ในวันนี้และอนาคต คือธุรกิจที่ทำเพื่อโลก”  

กระแสรักษ์โลก อาจเป็นแคมเปญทางการตลาดเมื่อหลายปีก่อน แต่ปัจจุบันได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณาเลือกซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภค เมื่อลูกค้าส่วนใหญ่เริ่มหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมและโลกอย่างจริงจัง พวกเขาย่อมคิดมากขึ้นว่าตัวเองกำลังสนับสนุนบริษัทแบบไหนอยู่

ปัจจุบันสินค้าออร์แกนิคกำลังเป็นเทรนด์ คนมีรายได้สูงหันมาบริโภคสินค้าออร์แกนิคมากขึ้นเพราะปลอดภัยจากสารพิษและช่วยโลกให้ดีขึ้น ในต่างประเทศกระแสการกินแบบ Vegan เติบโตอย่างรวดเร็ว คนรุ่นใหม่ต่างเลิกบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ทำให้ Plant Based Food เป็นธุรกิจที่มาแรงในหลายประเทศ

=====

การที่สินค้ามีราคาสูงไม่ใช่ปัญหาของคนที่รักและห่วงใยโลก เพราะเขารู้ว่าหากโลกอยู่ไม่ได้ เราทุกคนก็จะอยู่ไม่ได้เช่นกัน แบรนด์ที่ใส่ใจโลกสามารถขายสินค้าราคาแพงกว่าแบรนด์คู่แข่งแถมยังเติบโตได้ดีกว่าอีกด้วย 

ในขณะที่ธุรกิจยุคเก่า ยิ่งเติบโตก็ยิ่งเผาผลาญทำลายทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ปล่อยมลพิษสู่อากาศและทะเลมากขึ้น คนรุ่นใหม่ต่างหันมาเริ่มธุรกิจและสร้างอุตสาหกรรมจากพลังงานสะอาดที่ช่วยฟื้นฟูโลกในทุกแง่มุม เพราะพวกเขาเห็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่คนรุ่นเก่าทิ้งไว้ให้มากมาย 

ลองดูกรณีของ Tesla ที่มียอดจองรถยนต์ทะลุเป้า จนมีมูลค่าบริษัทเป็นอันดับหนึ่งของอุตสาหกรรมรถยนต์ได้ ทั้งๆ ที่ก่อตั้งขึ้นมาไม่นาน

อย่าเข้าใจผิดว่า การ Disruption ที่ทำให้ธุรกิจเก่าๆล้มหายตายไป เกิดจากเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเพียงอย่างเดียว อันที่จริงแล้วมันเกิดจากการมองเห็นปัญหาหรือ Pain Point ที่ธุรกิจเก่าๆตอบโจทย์ผู้บริโภคไม่ได้ต่างหาก (เช่น น้ำมันราคาสูง และทำลายสิ่งแวดล้อม)

=====

ผู้นำจึงต้องคิดค้น Business Model และเฟ้นหากลยุทธ์ในการนำพาธุรกิจของตนเองให้เติบโตได้ในระยะยาว บางครั้งต้องมองไกลไปกว่าชั่วอายุของตัวเองด้วยซ้ำ มิใช่คิดแต่จะหาเงินในระยะสั้น เพราะนั่นเท่ากับว่า เราเริ่มธุรกิจที่มีวันหมดอายุระบุตั้งแต่เริ่มแล้ว 

หากธุรกิจของคุณมีส่วนช่วยให้โลกใบนี้น่าอยู่ขึ้น ไม่ว่าจะมากหรือน้อยเพียงใด รับรองได้ว่าคุณจะมีความสุขในทุกๆวันที่ทำงาน และความเจริญรุ่งเรืองจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและเป็นธรรมชาติ คุณสามารถพิสูจน์แนวคิดนี้โดยการไปดูองค์กรที่อยู่ยั่งยืนมากกว่า 100 ปีเพราะพวกเขาล้วนใช้หลักการนี้ทั้งนั้น 

=====

4.Profit

“ผลกำไร ไม่ใช่เพียงตัวเลขทางการเงิน แต่เป็นผลกระทบทางบวกที่ธุรกิจได้สร้างไว้ด้วย” 

ปฏิเสธไม่ได้ว่า เป้าหมายหลักอย่างหนึ่งของการทำธุรกิจคือผลกำไร แต่คงจะเป็นการมองที่แคบไปหากวัดกันที่ตัวเลขเพียงอย่างเดียว เราสามารถวัดผลกำไรของธุรกิจได้ในหลายมิติ โดยวัดจากผลกระทบทางบวกที่ธุรกิจนั้น ๆ ได้สร้างไว้ เช่น

  • มิติทางเศรษฐกิจ ธุรกิจได้ช่วยให้คุณภาพชีวิตของลูกค้าดีขึ้นมากเพียงใด ธุรกิจของเรามีส่วนช่วยให้ลูกค้ามีรายได้มากขึ้น ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นอย่างไร

  • มิติทางสังคม ธุรกิจได้ช่วยพัฒนาสังคมให้น่าอยู่ขึ้นในรูปแบบไหนบ้าง เช่น สินค้าของเราลดปัญหาทางสังคมได้หรือไม่ บริการของเราช่วยให้คนบางกลุ่มมีชีวิตที่ดีขึ้นมากเพียงใด

  • มิติทางการพัฒนา ธุรกิจได้สร้างแนวคิด หรือสร้างอิทธิพลให้ผู้คนหันมาปรับปรุงวิถีการดำเนินชีวิตให้ดีขึ้นมากแค่ไหน มีผู้ที่ได้รับประโยชน์ มีชีวิตที่ดีขึ้น แล้วส่งเสียงสะท้อนกลับมาบอกเรามากเพียงใด

=====

คุณสามารถสร้างตัวชี้วัดเหล่านี้ได้อีกมากมายหลายรูปแบบ ทั้งมิติที่วัดจากภายนอกและมิติที่วัดจากภายในองค์กรเอง 

ผลกำไรที่วัดจากภายใน เช่น ความสุข คุณภาพชีวิตของพนักงาน การเรียนรู้พัฒนาตัวเองของพนักงาน

การที่คุณสามารถวัดผลกระทบทางบวกในการดำเนินธุรกิจของคุณได้ ผมมั่นใจว่าจะสร้างความสุขและกำลังใจให้กับทีมงานทั่วทั้งองค์กร มากกว่าตัวเลขผลกำไรอย่างแน่นอน 

เพราะตัวเลขผลกำไรจะรับรู้ได้ปีละครั้ง แต่ผลกระทบทางบวกสามารถรับรู้ได้ทุกๆวันที่ทำงาน และเรื่องราวทางบวกนั้นจับต้องได้มากกว่าตัวเลขในบัญชีเสียอีก 

ยังไม่นับเรื่องเล่าดีๆ ที่จะกระจายออกไปสู่สังคม โดยพนักงานของพวกเราเองหรือครอบครัวของพวกเขา ไม่ต้องเสียเงินจ้าง Youtuber หรือ Influencer มาโปรโมทองค์กรของคุณเลย

=====

บทสรุป 

บทความนี้นำเสนอหลักการ 4Ps of Future: Purpose, People, Planet และ Profit เพื่อช่วยให้คุณในฐานะผู้นำและผู้บริหารองค์กร นำไปใช้ออกแบบอนาคตของธุรกิจในยุคหลังโควิด หรือยุค Next Normal ให้เกิดการเติบโตที่ยั่งยืน 

ก่อนหน้านี้ ผมเคยได้คุยกับนักธุรกิจท่านหนึ่งที่ทำงานด้านสื่อ เขาถามว่า ผมมีหลักช่วยเหลือ SME ในยุคโควิดอย่างไร ผมก็ได้แนะนำหลักการสร้างความยั่งยืนให้ธุรกิจไป 

เขาตอบกลับมาว่า “เรื่องความยั่งยืนไม่สนใจหรอก เอาหลักการที่ว่า ทำยังไงให้พรุ่งนี้รอดก็พอแล้ว ทำยังไงให้พนักงานทำงานมากขึ้น ขยันขึ้น เก่งขึ้น รวดเร็วขึ้น ทั้งที่่มีรายได้น้อยลง มีมั้ย” 

เมื่อจากมา ผมก็ได้แต่คิดในใจว่า คนที่คิดเอาตัวรอดแค่วันต่อวัน มองแต่ตัวเลขอย่างเดียว จะสร้างอนาคตระยะยาวให้ธุรกิจได้อย่างไร และเมื่อผู้นำมองสั้น ก็ทำให้ธุรกิจของเขาอายุสั้นไปด้วย…

ผู้นำหลายคนโฟกัสที่ Profit หรือผลกำไรทางการเงิน โดยไม่ได้สร้าง P อีก 3 ตัวที่สำคัญก่อนหน้าเลย แล้วจะหวังผลให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างไร เหมือนเราติดกระดุมผิดเม็ดแต่แรก ไม่มีทางที่จะสำเร็จเลย

=====

หากคุณอ่านบทความนี้จบแล้วก็ผ่านเลยไปโดยไม่นำไปคิดปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงอะไร ในที่สุดธุรกิจของคุณก็จะถูกเปลี่ยนอยู่ดี 

แทนที่จะเจอการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ต้องการ ไม่ตั้งใจ และไม่ได้ตั้งตัว จะดีกว่าไหมถ้าเรามาออกแบบอนาคตเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่เราต้องการ

สุดท้าย ผมขอยืนยันอีกหนึ่งเสียงว่าหลักการ 4Ps นี้ ‘ทำได้จริง’  ไม่ใช่แค่แนวคิดสวยหรู เพราะได้ใช้มาตั้งแต่เริ่มโดยไม่ตั้งใจ และไม่ว่าจะเป็น SME หรือ บริษัทมหาชนก็ใช้หลักการนี้ได้ ลองนำไปปรึกษากันในทีมผู้บริหาร และเริ่มออกแบบอนาคตของธุรกิจกันดูนะครับ 

=====

ถ้าคุณต้องการฝึก Mindset และ Skill ในการเป็นผู้นำในโลกยุคใหม่ เราขอแนะนำหลักสูตร The New Leadership Skill คลิกดูรายละเอียดที่นี่

เขียนโดย CEO เรือรบ ผู้ก่อตั้ง Learning Hub Thailand

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

 

ก้าวแรกสู่การเป็นผู้จัดการ

ก้าวแรกสู่การเป็นผู้จัดการ

สำหรับคนที่คลิกเข้ามาอ่านบทความนี้ เราต้องแสดงความยินดีด้วยที่คุณได้ก้าวเข้าสู่บทบาทใหม่ นั่นคือการกลายเป็น ผู้จัดการเป็นครั้งแรก

บทบาทผู้จัดการหน้าใหม่หมายความว่า คุณกำลังเผชิญความท้าทายที่ไม่รู้จักหรือคุ้นเคยมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายสำหรับทีมที่ต้องพัฒนา  การสร้างกระบวนการ และลงมือทำให้สำเร็จ รวมถึงการสร้างความมั่นใจว่าทุกคนกำลังทำงานของเขาอย่างเต็มความสามารถ

คุณอาจจะเกิดความประหม่าขึ้น เมื่อพบว่ามีคนคาดหวังกับคุณ การก้าวข้ามจากพนักงานผู้เชี่ยวชาญมาเป็นผู้จัดการไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เรามีกลยุทธ์ที่จะทำให้คุณประสบความสำเร็จได้เช่นกัน

สูดลมหายใจเข้าปอดลึก ๆ แล้วลองใช้สิ่งเหล่านี้เป็นตัวช่วยสำหรับก้าวแรกสู่การเป็นผู้จัดการของคุณดูนะครับ 
=====

1.ชัดเจนในหน้าที่

ก่อนอื่น คุณต้องเข้าใจบทบาทใหม่ว่ามีหน้าที่รับผิดชอบอะไรบ้าง เป้าหมายและวัตถุประสงค์เป็นอย่างไร ถ้าเอกสารหรือการส่งมอบงานไม่เคลียร์ ก็ขอให้ลองเขียนสิ่งที่คุณคิดว่าควรจะทำจริง ๆ ให้ชัดเจนด้วยตัวเอง

ขอให้คุณรายงานเจ้านายระดับสูงกว่าคุณว่าคุณจะทำอะไรบ้าง ลองเขียนสิ่งที่อีกฝ่ายอยากได้ ลองลิสต์ภาระความรับผิดชอบที่คุณคิดว่าใช่ออกมา ลองบันทึกว่าเป้าหมายมีอะไรบ้าง

และท้ายที่สุด คุณต้องพูดคุยกับว่าที่ลูกน้องที่คุณจะเข้าไปดูแลว่าเขามองหน้าที่ของคุณอย่างไร คาดหวังว่าจะให้คุณทำอะไรให้บ้าง
=====

2.หาพี่เลี้ยง

เมื่อเริ่มงานใหม่ การได้พี่เลี้ยงดี ๆ ที่ช่วย feedback การทำงาน และช่วยโค้ชให้คุณสร้างทักษะที่จำเป็นจะพาคุณไปสู่ความสำเร็จ

เพราะไม่เพียงที่เขาจะมีคำแนะนำที่เหมาะสมแล้ว เขายังจะช่วยสร้างความมั่นใจด้วยการสนับสนุนและให้กำลังใจแก่คุณได้ด้วย

แต่การมีพี่เลี้ยงได้คุณก็ต้องสร้างกรอบที่ชัดเจนว่าคุณจะทำอย่างไรบ้าง แรกสุดคือหาพี่เลี้ยงที่ดี โดยเริ่มจากในองค์กร เช่น ผู้นำที่อยู่เหนือคุณขึ้นไป หรือผู้นำที่อยู่อีกฝ่ายขององค์กร

แต่ก็ต้องไม่ลืมว่า จะเป็นเรื่องดีถ้าการช่วยเป็นพี่เลี้ยงหรือที่ปรึกษานั้นจะดำเนินไปแบบความสัมพันธ์สองทาง คือทั้งให้และรับ คุณอาจจะได้ทักษะการเป็นผู้นำ ส่วนอีกฝ่ายอาจจะได้ไอเดียเกี่ยวกับนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ จากคุณ เป็นต้น
=====

3.สร้างความสัมพันธ์ที่ดี

การเทรนนิ่งแบบ เดล คาร์เนกี’ (นักเขียน นักพูด และเทรนเนอร์ระดับโลก) ที่ปรากฏใน White Paper บอกว่าการเป็นผู้จัดการที่ดีไม่ใช่แค่การเป็นนักกลยุทธ์ชั้นยอด หรือเป็นนักพูดสร้างแรงบันดาลใจ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลต่าง ๆ ในทีม

แน่นอนว่าผู้จัดการไม่ควรคาดหวังว่าทุกคนในทีมจะเป็นเพื่อนของคุณหรือเป็นเพื่อนกันได้ แต่อย่าลืมว่าหน้าที่แรกของการเป็นผู้นำ คือการสร้างสมดุลที่เหมาะสมในแง่ความสัมพันธ์ มองหน้าคนในทีมอย่างเข้าอกเข้าใจกัน แต่ก็ต้องนำทางพวกเขาได้ด้วย

ประการแรกคือการเปิดอกพูดคุย ด้วยการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ ให้รู้ว่าเราเป็นใคร ทำไมถึงมาอยู่ที่นี่ และทำไมคนในทีมจะต้องเชื่อมั่นคุณ ซึ่งสำคัญมากในการปลุกเร้าพลังของคนในทีม

ฝึกที่จะเคารพความแตกต่างของคนในทีม เพื่อหาทางใช้ความแตกต่างหลากหลายในการสร้างประโยชน์ร่วมกัน แต่อย่าปล่อยให้เกิดวิธีการรวมหัวกันคิด โดยที่ผู้นำไม่ได้มีส่วนชี้นำเลย
=====

4.กำหนดและสื่อสารเป้าหมายให้ชัด

หลังจากเป็นผู้ตามมาก่อน เมื่อถึงเวลาที่คุณต้องกลายมาเป็นผู้นำ บางทีคุณอาจจะมีไอเดียที่สะสมมานาน พร้อมจะลุยกับความหวังใหม่ ๆ แต่อย่าเพิ่งร้อนวิชาจนเกินไป การเก็บกวาดของเก่าแล้วสร้างระบบใหม่ๆ จำเป็นต้องได้รับการหนุนหลังจากคนในทีมก่อน

ลองปรับตัวให้เข้ากับหน้าที่ใหม่ก่อน จากนั้นค่อยหาทางเปลี่ยนแปลง เมื่อเข้ามาเป็นผู้นำทีม ลองสร้างชาร์ตการทำงานทั้งหมด เพื่อระบุว่าใครอยู่ตรงไหน มีเป้าหมายอะไร ลองใช้ OKRs (Objectives and Key Results) ซึ่งจะทำให้แน่ใจได้ว่าเป้าหมายทั้งหมดสอดคล้องกับองค์กร

การสื่อสารกับทีมได้ดีและสม่ำเสมอจะนำไปสู่เป้าหมาย หนึ่งในวิธีการยุคใหม่ที่ดีคือการสร้างเรื่องเล่าทางธุรกิจที่ทรงพลัง ขณะเดียวกัน คุณก็ต้องสร้างเป้าหมายส่วนตัวซึ่งรวมถึงการพัฒนาทักษะใหม่ๆ ที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในบทบาทใหม่นี้ด้วย
=====

5.เป็นต้นแบบที่ดี

ในฐานะผู้จัดการ คุณจำเป็นต้องเป็นตัวอย่างที่ดีในที่ทำงาน ถ้าต้องการให้ลูกน้องมีพฤติกรรมการทำงานหรือพัฒนาผลการทำงาน คนแรกที่จะต้องลงมือทำคือตัวผู้จัดการเอง สิ่งที่ต้องทำคือการแสดงออกทั้งคำพูดและการกระทำ เช่น ถ้าต้องการให้ประชุมทีมวันจันทร์ตอนเช้า ผู้จัดการจะต้องไม่พลาดการประชุมนี้เด็ดขาด

ถ้าต้องการให้คนในทีมไว้วางใจกัน คนแรกที่จะต้องแสดงให้เห็นว่าไว้วางใจคนอื่น คือผู้จัดการที่จะต้องแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเองให้คนอื่นรู้บ้าง การสร้างความชำนาญและทำให้คนในทีมเห็นอย่างสม่ำเสมอ จะเพิ่มความไว้เนื้อเชื่อใจในการตัดสินใจต่างๆ ของผู้จัดการได้มากขึ้น
=====

6.ให้ Feedback เป็นระยะๆ

คนเราจะไม่อาจปรับปรุงได้ถ้าไม่รู้ว่าต้องปรับปรุงอะไร และคนในทีมจะไม่รู้สึกว่าถูกกระตุ้นถ้าผู้จัดการไม่รู้จักชื่นชมในการทำงานหนักและความสำเร็จของเขาเสียบ้าง

การวิจารณ์อย่างมีแบบแผนจะช่วยได้อย่างดี การให้ feedback ทันทีหรือไม่นานนักหลังผลงานออกมา จะช่วยให้การปรับปรุงเป็นไปได้มากที่สุด

เคล็ดลับสำคัญของการให้ feedback คือ จะต้องอยู่กับร่องกับรอย มีความชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีความสอดคล้องกันตั้งแต่ต้นจนจบ

ผู้จัดการต้องไม่ลืมว่าการให้ feedback นั้นจะต้องมีมิติการประเมินที่น่าเชื่อถือและทำให้รู้สึกอยาก
ปรับปรุง ต้องไม่ลืมหลักการว่าต้องชมต่อหน้าคนอื่นและวิพากษ์วิจารณ์เป็นการส่วนตัว เพื่อรักษาหน้าของลูกทีมเอาไว้

เรียนรู้วิธีการให้ Feedback อย่างมีประสิทธิภาพได้ในบทความ ให้ Feedback ได้ทีมพัฒนาไวขึ้น คลิกที่นี่
=====

7.มอบหมายงานให้เป็น

การมอบหมายงานเป็นหน้าที่ของผู้จัดการ แต่การลดภาระงานก็เป็นหน้าที่ผู้จัดการเช่นกัน การบริหารจัดการปริมาณงานของลูกทีมจำต้องใคร่ครวญให้เหมาะสม หลักการลดภาระงานคือการแน่ใจว่าลูกทีมแต่ละคนนั้นเก่งด้านไหน โฟกัสให้คนนั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญและเพิ่มทักษะด้านนั้นๆ ให้เพิ่มมากขึ้น โดยลดภาระอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องหรือไม่จำเป็นออกไป

เมื่อจะมอบหมายงานใหม่ๆ สมาชิกในทีมควรจะได้รู้ว่าผู้จัดการอยากได้ผลลัพธ์แบบไหน โดยไม่จำเป็นต้องบอกวิธีการทำงาน และพยายามหลีกเลี่ยงการเข้าไปแทรกแซงกระบวนการทำงาน แต่ให้คอยดูเป็นระยะๆ ว่าเขาต้องการความช่วยเหลืออะไรบ้าง และช่วยให้เขาได้ประสบความสำเร็จในแบบของเขาเอง
=====

8.ยืดหยุ่นอยู่เสมอ

การบริหารจัดการไม่ใช่เรื่องประเภท “One Size Fit All” หรือทำแบบเดียวกับทุกคนให้เหมือนกันหมด สถานการณ์ที่แตกต่างกันออกไปทำให้ผู้จัดการต้องปรับบทบาทไปเรื่อยๆ

คนที่เก่งจะสามารถหยั่งรู้ได้ว่าจะใช้บทบาทแบบไหนกับลูกทีม เช่น ในเวลาหนึ่งต้องการสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ลูกทีม ผู้จัดการจะปรับตัวให้เข้ากับลักษณะนั้น แต่เมื่อวันต่อมาต้องเป็นตัวกลางคอยเชื่อมโยงหรือเจรจา ผู้จัดการก็จะปรับบทบาทตัวเองไปอีกแบบ ทั้งหมดนี้เพื่อให้ทีมก้าวสู่เป้าหมายได้ในที่สุด

=====

ถึงตรงนี้ คุณน่าจะได้ไอเดียในการเป็นผู้จัดการที่ดีและประสบความสำเร็จบ้างแล้ว  แต่ถ้าต้องการตัวช่วยเพื่อฝึกการเป็นผู้จัดการอย่างจริงจัง ขอแนะนำหลักสูตร The New Leadership Skills คลิกที่นี่

เรียบเรียงโดย Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 093 925 4962

โลกหลังวิกฤต โอกาสและความเป็นไปได้ที่รออยู่

โลกหลังวิกฤต โอกาสและความเป็นไปได้ที่รออยู่

“This is not just Disruption but The New Normal”

มั่นใจได้เลยว่า หลังจากนี้ไป โลกใบนี้จะไม่เหมือนเดิม ทุกสิ่งที่คุณมองว่าเป็นวิกฤตในวันนี้ จะกลายเป็น “ความปกติแบบใหม่” ที่ทุกคนจะต้องปรับตัวให้คุ้นชินกับมัน ต่อไปนี้มนุษย์จะไม่สามารถคิดแบบเดิม ทำแบบเดิมได้อีกแล้ว

ไม่ใช่เพราะถูกใครมา Disrupt แต่เป็นเพราะสิ่งแวดล้อมและปัจจัยทั้งหมดจะบีบคั้นให้มนุษย์ทุกคนต้องเปลี่ยน ฉะนั้น ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้บริหาร ผู้ประกอบการ ฟรีแลนซ์ หรือข้าราชการ นี่คือบทความที่คุณจำเป็นจะต้องอ่านให้จบ!
====

สิ่งที่จะแบ่งปันกับคุณไม่ใช่เรื่องผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจ อัตราการว่างงาน หรือการใช้ชีวิตที่หยุดชะงัก ซึ่งทุกคนก็คงเผชิญกันมาหมดแล้ว 

และถึงอย่างไร ไม่ว่าช้าหรือเร็ว “ทุกวิกฤตก็ต้องมีจุดจบเสมอ”
ประเด็นสำคัญจึงไม่ใช่ว่ามันจะจบเมื่อไหร่ แต่อยู่ที่ว่าเราจะเตรียมตัวรับมือกับโลกหลังยุควิกฤตอย่างไรต่างหาก

ตอนนี้หลายคนพยายามให้กำลังใจกันว่า “จงพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส”

ผมอยากจะชี้ให้เห็นอีกมุมว่า ไม่จำเป็นต้องไปพลิกค้นอะไรในวิกฤต เพราะคุณอาจจะหาไม่เจอ และถ้าจะรอโอกาสเข้ามา บางทีก็อาจจะช้าเกินไป

ที่จริงแล้ว คุณสามารถ ‘สร้างโอกาสใหม่’ ได้เสมอในทุกวิกฤต

สมการที่หลายคนคุ้นเคยก็คือ

โชคดี = โอกาส + ความพร้อม

บางคนเห็นโอกาส แต่ไม่พร้อม จึงล้มเหลว บางคนพร้อมกว่าใคร แต่ไม่เห็นโอกาส เพราะยึดติดกับชีวิตเดิม ๆ ก็ไม่ประสบความสำเร็จ 

คนที่โชคดีจึงไม่ใช่เพราะดวงเฮง หรือบุญเก่า แต่คือคนที่เปิดรับโอกาส และมีความพร้อมควบคู่กันเสมอ 

ย้อนกลับมาที่ตัวเรา ถ้าจะรอหาโอกาสหรือเริ่มเตรียมความพร้อมเมื่อวิกฤตจบลงแล้วอาจจะสายเกินไป

ผมอยากชวนคิดว่า ตอนนี้คุณเห็นโอกาสอะไรและถ้าเห็นโอกาสนั้นแล้ว คุณพร้อมแค่ไหนที่จะคว้ามันเอาไว้ 
====

ถ้าคุณยังตอบไม่ได้ก็ไม่เป็นไร เพราะผมมีตัวช่วยให้ ต่อไปนี้เป็นโอกาสและความท้าทายที่รอพวกเราทุกคนอยู่ ในโลกหลังยุคโควิด-19
โดยผมอ้างอิงข้อมูลจาก Gerd Leonhard – One of the Top 10 Futurist, Worldwide – https://www.futuristgerd.com/

Gerd ได้คาดการณ์สถานการณ์ของโลกหลังยุคโควิด-19 เอาไว้ ซึ่งไม่ใช่การทำนายดวงชะตาหรือแค่คาดเดา แต่มาจากการวิเคราะห์ Data มหาศาล จากงานวิจัยและแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือหลากหลายแห่งด้วยกัน  โดยผมนำมาเรียบเรียงใหม่ให้เข้าใจง่ายเป็น  5 ประเด็นดังนี้

====

New Economics ระบบเศรษฐกิจแบบใหม่
เรียกว่า ‘Sustainable Capitalism’ หรือ “ทุนนิยมยั่งยืน”

ซึ่งจะเกิดเป็นกระแสสำคัญในโลกธุรกิจยุคหลังโควิด-19 นี้

มนุษย์ส่วนใหญ่เริ่มเห็นตรงกันว่า ระบบทุนนิยมที่เอาแต่กำไร โดยไม่สนโลก ไม่สนคนอื่น มันเลวร้ายมาก ทำลายโลกและสิ่งแวดล้อม กระทั่งคุณภาพชีวิตมนุษย์คนอื่น ๆ มากแค่ไหน
ธุรกิจที่ต้องการจะเปลี่ยนมาใช้เศรษฐกิจทุนนิยมยั่งยืน จะหันมาโฟกัส 4P ได้แก่

– People : สนใจความเป็นอยู่ ความปลอดภัยของพนักงาน ลูกจ้าง รวมไปถึงคู่ค้าและลูกค้าด้วย

– Planet : ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ทำธุรกิจที่ไม่เบียดเบียนโลก แต่เสริมให้โลกน่าอยู่ขึ้น

– Purpose : เปลี่ยนเป้าประสงค์จากกำไร เป็นการทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม สร้างคุณค่าต่อสังคมและเพื่อนมนุษย์

– Prosperity : โฟกัสที่การเจริญรุ่งเรืองในองค์รวม ไม่ใช่แค่บริษัทตัวเอง แต่เป็นทั้งระบบ Ecosystem ต้องเกื้อกูลและเติบโตไปด้วยกัน

ธุรกิจแบบเดิมจะตายไป ธุรกิจแบบใหม่จะมั่นคงและยั่งยืนกว่า เพราะได้รับการสนับสนุน ถึงแม้ในระยะแรกทุนนิยมแบบใหม่จะมีกำไรน้อยกว่า แต่ในระยะยาวจะเติบโตได้อย่างยั่งยืนกว่า เพราะจะได้รับการสนับสนุนจากพนักงาน คู่ค้า ลูกค้า และคนในสังคมนั่นเอง
====

Remote Everything – ทำทุกอย่างจากทางไกล

อีกไม่นาน เราจะคุ้นเคยกับ Remote Working, Digital Meeting & Conferencing , Virtual Event เพราะเทคโนโลยี 5G จะช่วยเร่งให้สิ่งเหล่านี้เกิดเร็วขึ้น

ผนวกกับพฤติกรรมของคนที่เริ่มคุ้นเคยกับการทำงานที่บ้าน ถ้าไม่จำเป็นก็คงไม่มีใครอยากฝ่ารถติดไปทำงานหรือประชุมอีกต่อไป

เราจะได้เห็นการประชุมรูปแบบใหม่ที่เหมือนในหนัง Sci-Fi 

Microsoft  เปิดตัวเทคโนโลยี Hologram + AI ซึ่งนอกจากจะเห็นคนบรรยายเป็น 3 มิติเหมือนมาปรากฏตัวตรงหน้าเราแล้ว AI จะช่วยแปลคำพูดแบบ Real Time ให้เป็นภาษาท้องถิ่นที่แต่ละคนเข้าใจได้ทันทีอีกด้วย 

ต่อไปนี้ภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีน หรือกระทั่งภาษาอังกฤษ ก็ไม่ใช่อุปสรรคในการสื่อสารอีกต่อไปแล้ว 

ถ้าเป็นเช่นนั้น เราจะเห็นการปฏิรูปอาคารสำนักงานให้เล็กลง ศูนย์ประชุมใหญ่ ๆ ห้องเรียนรวมขนาดใหญ่จะไม่จำเป็นอีกต่อไป รูปแบบการเดินทางไปกลับเพื่อทำงานแบบขับรถฝ่ารถติดวันละสองชั่วโมงก็จะหมดไปด้วยเช่นกัน
====

3. Tech Companies Win – ธุรกิจเทคโนโลยีเท่านั้นที่จะชนะ

ธุรกิจที่เน้น AI Technology, ICT, eCommerce, Digital Media จะเติบโตอย่างมหาศาล เพราะธุรกรรมทั้งหมดที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีและโลกออนไลน์จะเป็นแก่นแกนทุกอย่างของชีวิตมนุษย์

เรากำลังก้าวสู่โลกที่ Everything Online ตั้งแต่ตื่นนอนยันเข้านอน สั่งอาหาร ซื้อของใช้ ฟังเพลง ดูหนัง เล่นเกม เล่นโยคะ วิ่งมาราธอน กู้เงิน หางาน กระทั่งไปผับ หรือไหว้บรรพบุรุษ สั่งซื้อโลงศพ ก็ทำผ่านออนไลน์ได้ทั้งหมด

แต่ใครจะเป็นผู้ชนะก็ขึ้นอยู่กับว่าใครจะสามารถเป็น SuperApp ที่รวมความสามารถตอบโจทย์ชีวิตคนในทุกมิติไว้ในที่ที่เดียวได้ โดยมีตัวชี้วัดคือ “ปริมาณผู้ใช้จำนวนมาก” หรือ “คนใช้เวลาอยู่ในนั้นนานที่สุด” นั่นเอง  

ในภาวะเศรษฐกิจถดถอย เราจะเห็น Startup จำนวนมากล้มตาย เพราะหมดเงินทุนไหลเวียน แต่ธุรกิจใหญ่ ๆ ที่ยืนระยะได้และมองเห็นโอกาสทางเทคโนโลยีจะก้าวเข้ามาเป็น Corporate Startup เสียเอง

ทุกธุรกิจในโลกจะบ่ายหน้าเข้าพึ่งพาธุรกิจเทคโนโลยีและโลกออนไลน์เพื่อเข้าถึงผู้บริโภคซึ่งจะยิ่งทำให้อาณาจักรของบริษัทเทคโนโลยีใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ

แม้กระทั่งขณะนี้ บางบริษัทก็มีรายได้มากกว่า GDP ของหลาย ๆ ประเทศในภูมิภาครวมกันไปแล้ว 
====

4. Under-the-skin Surveillance – ตรวจวัดถึงใต้ผิวหนัง

ในปัจจุบันเราอาจเห็นกล้อง CCTV เพื่อตรวจการณ์สอดส่องความปลอดภัยของทรัพย์สินมีค่า

ในมือถือทุกคนมี GPS ที่บันทึกข้อมูลว่าเราเดินทางไปที่ไหนและพบใครบ้างในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา (แม้จะไม่เคยรู้ตัว แต่เราถูกบันทึกไว้เสมอถ้าเดินทางโดยใช้ Google Map)

แต่ในอนาคตอันใกล้ เราจะถูกตรวจตราและบันทึกมากกว่านั้น

โลกหลังโควิด-19 สิ่งที่รัฐบาลและประชาชนต่างพากันหวาดกลัวคือไวรัสกลายพันธุ์ว่ามันจะกลับมาอีกไหม และจะมาเมื่อไหร่ รูปแบบไหน ดังนั้น สิ่งที่ต้องตรวจการณ์จึงไม่ใช่แค่ตำแหน่งที่อยู่ แต่เป็น “สุขภาพ” ของเราทุกคน

ผมเชื่อว่าคุณผู้อ่านหลายคนใส่ Smart Watch ที่ตรวจวัดชีพจร อัตราการเต้นหัวใจ ทั้งตอนหลับและตอนตื่น เพื่อวัดค่าต่าง ๆ เกี่ยวกับสุขภาพอยู่แล้ว จะแปลกอะไร ถ้าเครื่องมือเหล่านั้นจะพัฒนาไป “วัดถึงใต้ผิวหนัง” ของเราได้ด้วย

หากเครื่องมือยุคใหม่สามารถวัดอุณหภูมิร่างกาย วัดความดันโลหิต วัดทุกค่าที่จะช่วยส่งข้อมูลประมวลผลให้เรารู้ถึงสุขภาพของเราหรือของคนที่เรารักว่าใกล้ป่วยหรือยัง ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร ควรจะไปพบแพทย์ไหม เชื่อว่าเราทุกคนย่อมอยากใช้

สุดท้าย ถ้าข้อมูลทั้งหมดนี้จากทุกคนถูกนำไปรวมเพื่อประมวลผลในที่เดียวกันก็จะสามารถติดตามและคาดการณ์ “สถานการณ์โรคระบาด” ได้แทบจะ Real Time เลยทีเดียว

แล้วมีหรือ ที่รัฐบาลประเทศไหนจะไม่อยากได้

ประเด็นสำคัญก็คือ เราพร้อมที่จะให้ข้อมูลของตัวเองเชิงลึกขนาดนั้นกับบริษัทหรือรัฐบาลไหม

นี่อาจเป็นทั้งโอกาสที่จะปกป้องพวกเราจากวิกฤตไวรัสครั้งใหม่ หรืออาจจะถูกนำไปใช้ประโยชน์ใน
เรื่องอื่นที่น่ากลัวกว่าก็เป็นได้

เพราะเมื่อถึงเวลานั้น บางคนจะรู้จักตัวเราดีกว่าเรารู้จักตัวเองเสียอีก
====

5. Agricultural Industries Shift – การพลิกผันของอุตสาหกรรมการเกษตร

ลองถามตัวเองดูว่าจริง ๆ แล้ว มนุษย์กลัวอะไรมากที่สุดในช่วงวิกฤต

ผมมั่นใจว่าไม่ใช่กลัวติดโรค แต่กลัว “อดตาย” ดูได้จากการแย่งกันกักตุนอาหารและสินค้าอุปโภคบริโภคตามห้างสรรพสินค้าในทุกหนแห่งทั่วโลก

ลองคิดภาพง่าย ๆ ว่า ถ้าวิกฤตโควิด-19 ยาวนานนับปี ประเทศทั้งหลายต่างชัตดาวน์ การขนส่งหยุดชะงัก คนตกงานก็เริ่มหมดเงิน สุดท้ายสิ่งที่เลวร้ายที่สุดที่ทุกคนไม่อยากเจอก็คือ ‘ภาวะขาดแคลนอาหาร’

ผู้นำแต่ละประเทศย่อมจะต้องมีการวางแผนและป้องกันทุกวิถีทาง ไม่ให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น เพราะมันจะเกิดเหตุจลาจล ขึ้นทันทีเหมือนในหนังเกี่ยวกับวันสิ้นโลก

ถ้าคุณอ่านบทความนี้ย้อนหลัง แล้วสิ่งนี้ไม่เกิดก็นับว่ายังเป็นเคราะห์ดีของพวกเราทุกคน แต่ใครจะรู้ว่า วิกฤตไวรัสครั้งหน้าจะรุนแรง หรือยืดเยื้อยาวนานกว่าครั้งนี้ไหม 

Gerd จึงคาดการณ์ว่าจะเกิด “การพลิกผันของอุตสาหกรรมการเกษตร” โดยประเทศต่าง ๆ จะเริ่มหันมาผลิตอาหาร พลังงาน น้ำสะอาด ให้เพียงพอกับการอุปโภคบริโภคในประเทศของตัวเอง  หากมีเหลือเฟือจึงค่อยส่งออก แต่จะไม่ใช่การโฟกัสที่การส่งออกเพื่อทำเงินอีกต่อไป

ย้อนกลับมาใกล้ตัวเราที่สุด ลองจินตนาการว่า หากเราอยู่ในกรุงเทพฯ ที่มีเหตุการณ์ให้ต้องปิดเมืองหนึ่งเดือน เราก็อาจต้องนอนอดตายอยู่ในห้องแคบ ๆ ได้ เพราะมีคนหลายล้านแออัดกันอยู่ในพื้นที่ไม่กี่ ตร.กม.
เราอาจจะเริ่มตระหนักว่าสุดท้ายแล้ว “เงิน” ไม่ทำให้เราอิ่มท้องได้เสมอไป

“อาหาร”ต่างหาก ที่เป็น “ความมั่นคง” ที่แท้จริง

จากวิกฤตครั้งนี้ ผมกับเพื่อน ๆ เริ่มคุยกันถึงการหาที่ผืนเล็ก ๆ ไว้เพาะปลูกผักออแกนิกปลอดสารพิษ เพื่อให้เรามีกินประทังชีวิตได้

เพราะไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น มองในแง่ร้ายที่สุด หากวันหนึ่งเงินเก็บที่มีในตลาดหุ้นทั้งหมดสูญไปเพราะเศรษฐกิจตกต่ำถึงขีดสุด อย่างน้อยเราก็ไม่อดตาย

การหยุดชั่วคราว (Pause) และ ช้าลงเพื่อตัดสินใจที่ดีขึ้น คือทักษะสำคัญที่คุณควรมีในภาวะวิกฤตเช่นนี้ อ่านบทความนี้คลิกที่นี่ 
====

สรุปส่งท้าย ทั้งหมดนี้เป็นการคาดการณ์จาก Futurist หรือนักวิเคราะห์อนาคตซึ่งอาจจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ก็ได้ แต่ขอให้คุณลองกลับไปคิดวิเคราะห์ต่อ ตามข้อมูลที่คุณได้รับเพิ่มเติม

สำหรับผม ในฐานะผู้ประกอบการ เพียง 5 ข้อนี้ ก็ทำให้เห็นความท้าทายมหาศาลที่รออยู่ตรงหน้าแล้ว

ถึงตอนนี้จะบอกว่าไม่เห็นโอกาสก็คงไม่ได้ แต่จะมีความพร้อมในการคว้าโอกาสเหล่านี้ไว้ แล้วเปลี่ยนให้กลายเป็นความโชคดีได้หรือเปล่า เรื่องนี้คงต้องเกี่ยวกับ Mindset และ Skillset ที่แต่ละคนสะสมกันมาแล้ว

แต่อย่างน้อยคุณคงเห็นเหมือนกับผมว่า…

นี่ไม่ใช่เวลาที่จะมานั่งนอนเล่นเฉย ๆ ทำอะไรฆ่าเวลาไปวัน ๆ แต่เป็นเวลาทองที่เราจะลุกขึ้นมาทำอะไรอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการ Reskill & Upskill หรือวางแผนธุรกิจใหม่ 

มีชุดทักษะและองค์ความรู้ใหม่ ๆ มากมายที่ผู้นำอย่างคุณจำเป็นต้องเรียนรู้และฝึกฝนในหลักสูตร The New Leadership Skills ดูรายละเอียดที่นี่

ตอนนี้โอกาสเปิดเข้าหาคุณแล้ว คุณพร้อมรึยังครับ

====

เขียนโดย CEO เรือรบ – ผู้ก่อตั้ง Learning Hub Thailand

 

5 แก่นแท้สู่การเป็นผู้นำชั้นยอด

5 แก่นแท้สู่การเป็นผู้นำชั้นยอด

ทราบไหมว่า สิ่งที่ทำให้ผู้นำหลายคนล้มเหลว คืออะไร ทั้งที่บางคนมีความเฉลียวฉลาดถึงระดับวัดไอคิวได้เป็นอัจฉริยะ ผลงานส่วนบุคคลอยู่ในระดับเหรียญทอง หรือมีบุคลิกภาพดีจนน่าเลื่อมใส แต่สุดท้ายคนเหล่านั้นกลับไม่สามารถคุมองค์กรให้ประสบความสำเร็จได้จนเป็นที่ร่ำลือมาต่อเนื่องยาวนาน

คำตอบก็คือ ผู้นำเหล่านี้ขาดสิ่งที่เรียกว่า ‘ความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence)’

จากการค้นคว้าวิจัย หาความสัมพันธ์ของบรรดาผู้นำในองค์กรและระดับความสำเร็จที่เกิดขึ้น พบว่ายิ่งผู้นำฉลาดทางอารมณ์เท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้องค์กรเดินหน้าไปอย่างสดใสมากเท่านั้น
=====

ความฉลาดทางอารมณ์เป็นสิ่งที่เรียนรู้และพัฒนาได้ ประกอบไปด้วย 5 แก่นหลัก ได้แก่ การรู้จักตัวเอง การควบคุมตนเอง แรงกระตุ้นจูงใจ ความเห็นอกเห็นใจ และทักษะทางสังคม

1.การรู้จักตัวเอง

ไม่ใช่เพียงรู้ว่าตัวเองเป็นใครในองค์กรเท่านั้น แต่ต้องรู้เท่าทันว่าตนเองมีคุณสมบัติอะไร อะไรคือข้อดี อะไรคือข้อเสีย และปรับใช้สิ่งเหล่านั้นให้เหมาะสมกับสถานการณ์

ผู้นำชั้นยอดจะรู้จักปฏิเสธ ถ้าโปรเจคที่ได้รับข้อเสนอมานั้นไม่เหมาะกับตัวเอง เช่น ถ้าเป็นคนค่อนข้างอารมณ์ร้อน แต่ต้องทำงานกับหัวหน้าอารมณ์ร้อนพอๆ กันภายใต้สถานการณ์กดดันตลอดเวลา แบบนั้นก็จะคิดให้หนักก่อน

หรือผู้นำที่รู้จักตัวเองอาจจะรับงานดังกล่าว แต่มอบหมายให้ผู้นำระดับรองลงไปที่มีความอดทนดีกว่า เป็นคนเข้าไปจัดการแทน เป็นต้น

ถ้าคุณคิดว่ารู้และเข้าใจตัวเองดีพอแล้ว คุณจำเป็นต้องนำความรู้ความเข้าใจนั้นมาลงมือเปลี่ยนแปลงตัวเอง ศึกษาวิธีการนำความรู้จักตัวเองมาเป็นการปรับตัวได้ที่นี่
=====

2.การควบคุมตนเอง

ลืมเรื่องเล่าอย่างบอสจอมทำลายข้าวของและด่ากราดไปได้เลย เพราะคนเป็นผู้นำต้องมีน้ำอดน้ำทน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบคุมตัวเองในการทำงานกับคนอื่น ลองนึกถึงผู้นำที่ยังใจเย็นได้ท่ามกลางสถานการณ์ร้อนระอุ เป็นใครก็ย่อมเคารพนับถือ

ผู้นำที่ควบคุมตนเองได้จะถูกมองว่ามีเหตุผลและสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจได้ดี รวมถึงไม่แสดงอาการร้อนรน สามารถพาทีมก้าวข้ามความเปลี่ยนแปลงได้ดีไปด้วยนั่นเอง
=====

3.แรงกระตุ้นจูงใจ

เชื่อว่าคนทำงานที่ไหนต่างก็มีแรงกระตุ้นทั้งนั้น แต่การเป็นหัวหน้าทีม จะต้องแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่าง แรงกระตุ้นในเรื่องเงินกับแรงกระตุ้นในเรื่องงาน

ผู้นำที่ทุ่มเทเพื่อให้ผลงานออกมาดี ด้วยความลุ่มหลงและความรักในงาน มีพลังงานที่จะทำงานอย่างล้นเหลือ ย่อมจะทำให้ลูกทีมเห็นถึงแบบอย่างที่ดี จนอยากจะร่วมมือผลักดันให้งานสำเร็จมากกว่าจะรอจังหวะหยิบฉวยผลประโยชน์เพื่อตัวเอง
=====

4.ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

ไม่ว่าใครก็ล้วนอยากได้ความเข้าใจและความเห็นใจ ในชีวิตส่วนตัวคนอาจจะเห็นใจกันได้แต่เมื่อเข้าสู่เรื่องธุรกิจก็มักจะเต็มไปด้วยความเขี้ยวจนไม่ค่อยคิดถึงจิตใจกันสักเท่าไหร่

เหมือนประโยคที่บอกว่า “นี่ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว แต่เป็นเรื่องธุรกิจ” แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า การทำธุรกิจจะเห็นอกเห็นใจกันไม่ได้

ผู้นำไม่จำเป็นต้องแคร์คนในทีมถึงขนาดที่ต้องทำให้ทุกคนโอเคหรือเอาใจทุกคนเกินเหตุ แต่ในยามที่ต้องตัดสินใจหรือคิดถึงการทำงาน ผู้นำจะนำความรู้สึกของคนในทีมมาใคร่ครวญด้วยเพื่อหาหนทางที่จะสร้างสมดุลระหว่างการตัดสินใจกับความรู้สึกของผู้อื่นให้ได้มากที่สุด
=====

5.ทักษะทางสังคม

ในแก่นของความฉลาดทางอารมณ์ 3 ข้อแรกคือการเน้นไปที่ตัวเอง ส่วน 2 ข้อหลังจะเน้นไปที่คนอื่น ข้อนี้คือการเข้าสังคมที่ไม่ได้หมายความถึงการแต่งตัวเป็น ออกงานบ่อย สร้างภาพดีแต่อย่างใด

ทักษะเข้าสังคมของผู้นำ คือการมีมนุษย์สัมพันธ์อย่างมีจุดมุ่งหมาย รู้ว่าคนในสังคม (หมายถึงคนในทีมและคนภายนอก) เป็นอย่างไร มีทักษะว่าจะจูงใจคนให้มารวมกัน ปลุกเร้าให้คนเดินไปในทิศทางใด ถ้ามีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในธุรกิจ ก็สามารถใช้ทักษะโน้มน้าวคนจำนวนมากให้คล้อยตามได้

แก่นแท้ทั้ง 5 ข้อที่กล่าวมา ทักษะข้อสุดท้ายมีความสำคัญมากที่สุด เพราะลูกทีมย่อมคาดหวังว่าผู้นำจะต้องหลอมคนในทีมให้เป็นหนึ่งเดียว แต่นั่นก็หมายความว่าผู้นำคนนั้นจะต้องมี 4 ข้อก่อนหน้านี้เป็นพื้นฐานก่อนนั่นเอง
=====

ถ้าคุณต้องการเรียนรู้และฝึกฝนทักษะการเป็นผู้นำทั้ง 5 อย่างจริงจัง ขอแนะนำหลักสูตร High Performance Leader ที่เชื่อมโยงทฤษฎีสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมและใช้ได้จริง ดูรายละเอียดที่นี่

เรียบเรียงจาก “What Makes a Leader?” โดย Daniel Goleman จาก Harvard Business Review มกราคม 2014

เรียบเรียงโดย Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 094 959 2645

3 เทคนิคในการยอมรับและชื่นชมลูกน้อง

3 เทคนิคในการยอมรับและชื่นชมลูกน้อง

ถ้าลองไปถามลูกทีมหรือลูกน้องในองค์กรต่าง ๆ ว่าเพราะเหตุใดพวกเขาจึงยังคงทำงานอยู่ที่นั่น คำตอบส่วนใหญ่ที่ออกจากปากพวกเขาก็คือ “ผม / ดิฉันรู้สึกว่าตัวเองยังมีคุณค่าและมีตัวตน”

ซึ่งความรู้สึกนี้สอดคล้องกับหลักการบริหารคนที่เรียกว่า “ต้องแสดงการยอมรับและยกย่องชื่นชม” (Recognition and Appreciation)

ผู้นำที่อยากให้ลูกน้องที่เก่งและดีทำงานด้วยกันต่อหรืออยากให้ลูกน้องพัฒนาผลงานด้วยความเต็มใจ ไม่ควรละเลยหลักการนี้เป็นอันขาด เพราะสองหลักการนี้นำมาซึ่งความรู้สึกภาคภูมิใจ

เมื่อคนทำงานได้รับความภาคภูมิใจ พวกเขาก็จะร่วมผลักดันผลงานอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการคิดสร้างสรรค์ การอดทนทำงาน การซื่อสัตย์ หรือการรีดเค้นผลงานที่ดีที่สุดของตัวเองออกมา
=====

การยอมรับ (Recognition) ไม่ใช่เพียงแค่การแสดงออกว่าจดจำตัวเขาและผลงานที่เขาทำได้ แต่ยังรวมถึงการให้ Feedback เชิงบวก ว่าลูกน้องได้ทำอะไรดี ๆ มาบ้าง บางครั้งอาจอยู่ในรูปของการให้รางวัล ให้โบนัส เลื่อนขั้น หรือบางทีเพียงแค่การพูดว่าขอบคุณหรือเขียนโน้ตเป็นลายมือก็ถือว่ามีคุณค่ามากพอแล้ว

แต่การยอมรับต้องทำอย่างระมัดระวัง เพราะวิธีนี้ไม่สามารถทำได้กับทุกคน ที่สำคัญมันเป็นการให้คุณให้โทษที่ขึ้นอยู่กับผลงานที่เกิดขึ้นจึงต้องทำเป็นวาระโอกาสและเป็นวาระที่มักจะมาจากเจ้านายไปสู่ลูกน้องเป็นหลักด้วย
=====

การยกย่องชื่นชม (Appreciation) มีเพื่อเสริมส่วนที่การยอมรับ (Recognition) ขาดหายไป

เพราะวิธีนี้ไม่ใช่แค่การรอให้เขาทำผลงานดีออกมาก่อนเท่านั้น แต่การยกย่องชื่นชมสามารถทำได้เรื่อย ๆ ในฐานะเพื่อนมนุษย์ที่เห็นว่าอีกฝ่ายทำงานดี

การชื่นชมว่าอีกฝ่ายมีคุณค่านั้น ทำได้หลายวาระกว่า ดังเช่นเทคนิค ต่อไปนี้

=====

รับฟัง

การฟังอีกฝ่ายพูดเป็นแสดงถึงการให้ความสำคัญ หากมีคนมาคุยด้วยตอนเรากำลังเล่นมือถือหรือจ้องหน้าคอมพิวเตอร์อยู่แล้วเราต้องการให้ความสำคัญกับเขา ให้หยุดกิจกรรมนั้นแล้วหันมาสบตาผู้พูดและตั้งใจฟังดีกว่า

หนึ่งในทักษะการฟังที่มีประสิทธิภาพสูง ก็คือ Active Listening ทักษะการฟังที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้คนในทีม ศึกษาและฝึกฝนได้จากบทความนี้
=====

บอกคนอื่นๆ ว่าคนที่เราชื่นชมนั้นเจ๋งอย่างไร

การประกาศให้คนอื่นรู้นั้นไม่ต่างจากการให้ของขวัญที่ล้ำค่า เพราะนอกจากจะทำให้เจ้าตัวปลื้มแล้ว ยังเป็นการสร้างสถานะที่ดีของคนที่ถูกชมต่อหน้าสาธารณะชนอีกด้วย
=====

แสดงออกไปเลย

บอกคนที่เราชื่นชมไปเลย ว่าสิ่งที่เป็นตัวเขานั้นดีเยี่ยมเพียงไร อาจจะถามเขาด้วยว่าเขาทำมันได้อย่างไรเพื่อแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของสิ่งที่เขาทำว่ามันมีมากจนเราสนใจ และแสดงความสนใจว่ามันจะดำเนินไปอย่างไรต่อ

ผลการสำรวจของพนักงานในองค์กรต่างๆ ผลที่ได้มากกว่าครึ่งหนึ่งพบว่า คำชื่นชมจากเจ้านายทำให้พวกเขามีแรงใจที่จะอยู่ที่เดิมต่อไป และแม้ว่าเจ้านายจะชื่นชมบ้างแต่ส่วนใหญ่แล้วพวกเขาก็ยังจะอยากได้มันต่อไปอีกเรื่อย ๆ

แล้วคุณล่ะ วันนี้คุณได้ให้ยอมรับหรือชื่นชมคนอื่นอย่างจริงใจแล้วหรือยัง
=====

หนึ่งในทักษะสำคัญที่ช่วยเพิ่มศักยภาพให้แก่ลูกน้องได้คือการ Coaching และให้ Feedback  ซึ่งคุณสามารถเรียนรู้และฝึกฝนได้จากหลักสูตร High Impact Coaching and Positive Feedback คลิกที่นี่

เรียบเรียงจาก “Why Employees Need Both Recognition and Appreciation” โดย Mike Robbins จาก Harvard Business Review 12 พฤศจิกายน 2019

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 


ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 094 959 2645

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Ads, Google Analytics

    Statistics

  • Google Analytics

    Statistics

  • Facebook

    Marketing/Tracking

  • ActiveCampaign

    Functional

  • ActiveCampaign

    Marketing/Tracking

Save